สายด่วนสุขภาพจิตพุ่ง 3 เท่าตัว ชายแห่รับบริการมากกว่าหญิง
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวภายหลังเปิดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2552 ในวาระ 120 ปี สุขภาพจิตไทย ‘พลังสุขภาพจิต อึด ฮึด สู้...สู่ความสำเร็จ’ ว่า ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาพบประชาชนให้ความสนใจขอ รับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตผ่านสายด่วน 1323 มากขึ้น 3 เท่าตัว คือ ปี 2550 จำนวน 9,345 ราย ปี 2551 จำนวน 28,289 ราย และ ปี 2552 จำนวน 83,602 ราย โดยในปีที่ผ่านมา เพศชายขอรับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าเพศหญิง ซึ่งอาจมองได้ว่า ผู้ชายเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพจิตตนเองมากขึ้น มีวิธีจัดการกับปัญหาที่เข้ามารุมเร้าในทางบวกมากยิ่งขึ้น โดยการพึ่งที่ปรึกษา เสริมสร้างกำลังใจให้ตนเอง มากกว่าการแก้ปัญหาด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือเล่นการพนัน ฯลฯ
ปัญหาสุขภาพจิตที่ประชาชนขอรับบริการปรึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1. ปัญหาความเครียด/วิตกกังวล 2. ปัญหาด้านเพศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ปัญหาที่พบ คือ การมีความต้องการทางเพศสูงจนเกิดปัญหากับคู่สมรส 3. ปัญหาความรัก ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ปัญหาที่พบ ได้แก่ อกหัก รักคุด อีกฝ่ายตีตัวออกห่าง แอบชอบแต่ไม่กล้าบอก 4. ปัญหาครอบ ครัว ได้แก่ ปัญหาสามีนอกใจ พฤติกรรมเปลี่ยนไป ไม่รับผิดชอบครอบครัว และ 5. ปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น
ข้าวโพดต้มลดเสี่ยงโรคหัวใจ-มะเร็ง
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลรายงานว่าการกินข้าวโพดต้มสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและมะเร็งได้ โดยพบว่า การต้มทำให้ข้าวโพดปล่อยสารแอนตี้ออกซิแดนท์ออกมาหลายตัว อาทิ กรดเฟอรูลิก ซึ่งเป็นสารสำคัญที่เป็นตัวช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด รักษาสุขภาพของกล้ามเนื้อ ต่อต้านผลกระทบจากรังสีอัลตรา ไวโอเลต
ในข้าวโพดหวานตามธรรมชาติจะมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์อยู่ และมีตัวที่สำคัญคือกรดเฟอรูลิก ในข้าวโพดดิบจะแฝงตัวอยู่ในผนังเซลล์ของพืชในรูปของกลูโคไซด์ (สารที่น้ำตาล กลูโคส เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ข้าวโพดหวาน) ดังนั้น เมื่อต้มข้าวโพด นานๆ สารแอนตี้ออกซิแดนท์และกรด เฟอรูลิกจะถูกปลดปล่อยออกมาเป็นอิสระ นักวิจัยพบว่า ถ้าต้มข้าวโพดยิ่งนาน ปริมาณของสารแอนตี้ออกซิแดนท์ จะถูกปล่อยออกมามากขึ้น ถ้าต้มข้าวโพดที่ 115 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ปริมาณของสารแอนตี้ออกซิแดนท์จะเพิ่มขึ้น 21% ถ้าต้ม 25 นาที จะได้สารแอนตี้ออกซิแดนท์เพิ่มขึ้น 44% และถ้าต้ม 50 นาที จะได้เพิ่มถึง 53%
แต่เมื่อวัดปริมาณเฉพาะกรดเฟอรูลิกที่ถูกปล่อยออกมาพบว่า กรดนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 240% (เมื่อต้ม 10 นาที), 550% (เมื่อต้ม 25 นาที) และ 900% (เมื่อต้ม 50 นาที)
สาร “เคอร์คูมิน” ในขมิ้น ฆ่าเซลล์มะเร็งได้
นักวิจัยไอร์แลนด์พบว่า สารเคมีในขมิ้นที่ทำให้แกงมีสีเหลือง สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งหลอดอาหารในห้องทดลองได้ ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่า อาจพัฒนาสารนี้ไปเป็นยาต้านมะเร็งเพื่อรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งชนิดนี้
ศูนย์วิจัยมะเร็งคอร์ก ในไอร์แลนด์ ตีพิมพ์ผลการศึกษาลงวารสารมะเร็งอังกฤษ โดยระบุว่า การทดลองพบว่า สารเคอร์คูมินสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งหลอดอาหารในห้องทดลองได้ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะกระตุ้นให้เกิด สัญญาณว่าเซลล์ตายแล้วเพื่อให้เซลล์เริ่มย่อยตัวเอง ดร.ชารอน แม็คเคนนา หัวหน้าทีมวิจัยชุดนี้ กล่าวว่า งานวิจัยนี้ปูทางไปสู่การนำเคอร์คูมิน ซึ่งเป็นสารสกัดธรรมชาติในขมิ้นไปพัฒนาเพื่อใช้รักษามะเร็งหลอดอาหารต่อไป
โดยผลการศึกษาก่อนหน้านี้ชี้ว่า เคอร์คูมินสามารถยับยั้งเนื้องอกได้และคนที่กินแกงมากๆ อาจจะเป็นมะเร็ง น้อยกว่าคนทั่วไป ในปี 2007 นักวิจัยอเมริกันก็พบว่า สารเคอร์คูมินอาจช่วยกระตุ้นซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งอาจช่วยรักษาโรคสมองเสื่อม นอกจากนั้น กำลังมีการทดลองใช้ขมิ้นเป็นยารักษาโรคข้ออักเสบด้วย
ปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งนับตั้งแต่หลังปี 1970 โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 5 แสนคน โดยที่อังกฤษตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารรายใหม่ปีละ 7,800 คน เป็นมะเร็งอันดับ 6 ที่คร่าชีวิตคนในอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 5 ของผู้เสียชีวิต เพราะมะเร็งทั้งหมด
ผักผลไม้สีสันสดใส ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
เอมี่ เฮนเดล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า ถ้าไม่อยากเป็นหวัด ต้องรับประทานผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใส เพราะนอกจากจะอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยแล้ว ยังประกอบด้วย สารพฤกษ-เคมีหรือไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดสี และมีประโยชน์โดยรวมต่อสุขภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันโรค แข็งแรง
รายงานการวิจัยเรื่องสารไฟโตนิวเทรียนท์ในสหรัฐ พบว่าคนอเมริกัน 8 ใน 10 คน ไม่บริโภคผักและผลไม้ที่มีสีสันหลากหลาย จึงไม่ได้รับประโยชน์ดังกล่าว โดยได้ศึกษาการบริโภคผักผลไม้ 5 สี เน้นที่สีเขียว แดง ขาว น้ำเงินหรือม่วง และเหลืองหรือส้ม และสารไฟโตนิวเทรียนท์ ที่พบในผักผลไม้แต่ละสี
ผลที่ได้ระบุว่า การรับประทานผัก และผลไม้ที่มีสีสันหลากหลาย เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สุขภาพดี ผักผลไม้ที่มีสีแดง นอกจากจะดีต่อหัวใจแล้ว ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค เช่น มะเขือเทศ ผลทับทิม กระหล่ำแดง ส้มโอสีแดง ซึ่งมีสารไฟโตนิวเทรียนท์, ไลโคพีน(Lycopene) และกรดเอลลาจิก( Ellagic Acid)
ส่วนผักผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือส้ม ช่วยในเรื่องระบบภูมิคุ้มกันโรค การมองเห็นและหัวใจ และยังทำให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้งกร้าน โดยมีสารเบต้า-แคโรทีน( Beta-carotene) อัลฟาแคโรทีน(Alpha- carotene), ลูทีน( Lutein), เคอร์เซทิน (Quercetin) และไฟโตนิวเทรียนท์ ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ เช่น แครอท สับปะรด มันหวาน เป็นต้น
คุยมือถือนาน เสี่ยงเป็นมะเร็งสูง
หนังสือพิมพ์ เดอะ เดลี่ เอ็กซ์เพรส ของอังกฤษ รายงานว่า มีผลจากการศึกษาที่ใช้เวลานาน 10 ปี เตือนว่า ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา
โดยได้สำรวจประชากร 12,800 คน ใน 13 ประเทศ พบว่า การใช้โทรศํพท์มือถือบ่อยๆ มีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดเนื้องอกในสมอง
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้ตรวจสอบงานวิจัยดังกล่าวแล้ว และจะพิมพ์เผยแพร่ภายในปีนี้
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 109 ธันวาคม 2552 โดยธาราทิพย์)
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวภายหลังเปิดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2552 ในวาระ 120 ปี สุขภาพจิตไทย ‘พลังสุขภาพจิต อึด ฮึด สู้...สู่ความสำเร็จ’ ว่า ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาพบประชาชนให้ความสนใจขอ รับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตผ่านสายด่วน 1323 มากขึ้น 3 เท่าตัว คือ ปี 2550 จำนวน 9,345 ราย ปี 2551 จำนวน 28,289 ราย และ ปี 2552 จำนวน 83,602 ราย โดยในปีที่ผ่านมา เพศชายขอรับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าเพศหญิง ซึ่งอาจมองได้ว่า ผู้ชายเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพจิตตนเองมากขึ้น มีวิธีจัดการกับปัญหาที่เข้ามารุมเร้าในทางบวกมากยิ่งขึ้น โดยการพึ่งที่ปรึกษา เสริมสร้างกำลังใจให้ตนเอง มากกว่าการแก้ปัญหาด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือเล่นการพนัน ฯลฯ
ปัญหาสุขภาพจิตที่ประชาชนขอรับบริการปรึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1. ปัญหาความเครียด/วิตกกังวล 2. ปัญหาด้านเพศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ปัญหาที่พบ คือ การมีความต้องการทางเพศสูงจนเกิดปัญหากับคู่สมรส 3. ปัญหาความรัก ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ปัญหาที่พบ ได้แก่ อกหัก รักคุด อีกฝ่ายตีตัวออกห่าง แอบชอบแต่ไม่กล้าบอก 4. ปัญหาครอบ ครัว ได้แก่ ปัญหาสามีนอกใจ พฤติกรรมเปลี่ยนไป ไม่รับผิดชอบครอบครัว และ 5. ปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น
ข้าวโพดต้มลดเสี่ยงโรคหัวใจ-มะเร็ง
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลรายงานว่าการกินข้าวโพดต้มสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและมะเร็งได้ โดยพบว่า การต้มทำให้ข้าวโพดปล่อยสารแอนตี้ออกซิแดนท์ออกมาหลายตัว อาทิ กรดเฟอรูลิก ซึ่งเป็นสารสำคัญที่เป็นตัวช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด รักษาสุขภาพของกล้ามเนื้อ ต่อต้านผลกระทบจากรังสีอัลตรา ไวโอเลต
ในข้าวโพดหวานตามธรรมชาติจะมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์อยู่ และมีตัวที่สำคัญคือกรดเฟอรูลิก ในข้าวโพดดิบจะแฝงตัวอยู่ในผนังเซลล์ของพืชในรูปของกลูโคไซด์ (สารที่น้ำตาล กลูโคส เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ข้าวโพดหวาน) ดังนั้น เมื่อต้มข้าวโพด นานๆ สารแอนตี้ออกซิแดนท์และกรด เฟอรูลิกจะถูกปลดปล่อยออกมาเป็นอิสระ นักวิจัยพบว่า ถ้าต้มข้าวโพดยิ่งนาน ปริมาณของสารแอนตี้ออกซิแดนท์ จะถูกปล่อยออกมามากขึ้น ถ้าต้มข้าวโพดที่ 115 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ปริมาณของสารแอนตี้ออกซิแดนท์จะเพิ่มขึ้น 21% ถ้าต้ม 25 นาที จะได้สารแอนตี้ออกซิแดนท์เพิ่มขึ้น 44% และถ้าต้ม 50 นาที จะได้เพิ่มถึง 53%
แต่เมื่อวัดปริมาณเฉพาะกรดเฟอรูลิกที่ถูกปล่อยออกมาพบว่า กรดนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 240% (เมื่อต้ม 10 นาที), 550% (เมื่อต้ม 25 นาที) และ 900% (เมื่อต้ม 50 นาที)
สาร “เคอร์คูมิน” ในขมิ้น ฆ่าเซลล์มะเร็งได้
นักวิจัยไอร์แลนด์พบว่า สารเคมีในขมิ้นที่ทำให้แกงมีสีเหลือง สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งหลอดอาหารในห้องทดลองได้ ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่า อาจพัฒนาสารนี้ไปเป็นยาต้านมะเร็งเพื่อรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งชนิดนี้
ศูนย์วิจัยมะเร็งคอร์ก ในไอร์แลนด์ ตีพิมพ์ผลการศึกษาลงวารสารมะเร็งอังกฤษ โดยระบุว่า การทดลองพบว่า สารเคอร์คูมินสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งหลอดอาหารในห้องทดลองได้ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะกระตุ้นให้เกิด สัญญาณว่าเซลล์ตายแล้วเพื่อให้เซลล์เริ่มย่อยตัวเอง ดร.ชารอน แม็คเคนนา หัวหน้าทีมวิจัยชุดนี้ กล่าวว่า งานวิจัยนี้ปูทางไปสู่การนำเคอร์คูมิน ซึ่งเป็นสารสกัดธรรมชาติในขมิ้นไปพัฒนาเพื่อใช้รักษามะเร็งหลอดอาหารต่อไป
โดยผลการศึกษาก่อนหน้านี้ชี้ว่า เคอร์คูมินสามารถยับยั้งเนื้องอกได้และคนที่กินแกงมากๆ อาจจะเป็นมะเร็ง น้อยกว่าคนทั่วไป ในปี 2007 นักวิจัยอเมริกันก็พบว่า สารเคอร์คูมินอาจช่วยกระตุ้นซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งอาจช่วยรักษาโรคสมองเสื่อม นอกจากนั้น กำลังมีการทดลองใช้ขมิ้นเป็นยารักษาโรคข้ออักเสบด้วย
ปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งนับตั้งแต่หลังปี 1970 โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 5 แสนคน โดยที่อังกฤษตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารรายใหม่ปีละ 7,800 คน เป็นมะเร็งอันดับ 6 ที่คร่าชีวิตคนในอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 5 ของผู้เสียชีวิต เพราะมะเร็งทั้งหมด
ผักผลไม้สีสันสดใส ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
เอมี่ เฮนเดล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า ถ้าไม่อยากเป็นหวัด ต้องรับประทานผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใส เพราะนอกจากจะอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยแล้ว ยังประกอบด้วย สารพฤกษ-เคมีหรือไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดสี และมีประโยชน์โดยรวมต่อสุขภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันโรค แข็งแรง
รายงานการวิจัยเรื่องสารไฟโตนิวเทรียนท์ในสหรัฐ พบว่าคนอเมริกัน 8 ใน 10 คน ไม่บริโภคผักและผลไม้ที่มีสีสันหลากหลาย จึงไม่ได้รับประโยชน์ดังกล่าว โดยได้ศึกษาการบริโภคผักผลไม้ 5 สี เน้นที่สีเขียว แดง ขาว น้ำเงินหรือม่วง และเหลืองหรือส้ม และสารไฟโตนิวเทรียนท์ ที่พบในผักผลไม้แต่ละสี
ผลที่ได้ระบุว่า การรับประทานผัก และผลไม้ที่มีสีสันหลากหลาย เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สุขภาพดี ผักผลไม้ที่มีสีแดง นอกจากจะดีต่อหัวใจแล้ว ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค เช่น มะเขือเทศ ผลทับทิม กระหล่ำแดง ส้มโอสีแดง ซึ่งมีสารไฟโตนิวเทรียนท์, ไลโคพีน(Lycopene) และกรดเอลลาจิก( Ellagic Acid)
ส่วนผักผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือส้ม ช่วยในเรื่องระบบภูมิคุ้มกันโรค การมองเห็นและหัวใจ และยังทำให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้งกร้าน โดยมีสารเบต้า-แคโรทีน( Beta-carotene) อัลฟาแคโรทีน(Alpha- carotene), ลูทีน( Lutein), เคอร์เซทิน (Quercetin) และไฟโตนิวเทรียนท์ ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ เช่น แครอท สับปะรด มันหวาน เป็นต้น
คุยมือถือนาน เสี่ยงเป็นมะเร็งสูง
หนังสือพิมพ์ เดอะ เดลี่ เอ็กซ์เพรส ของอังกฤษ รายงานว่า มีผลจากการศึกษาที่ใช้เวลานาน 10 ปี เตือนว่า ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา
โดยได้สำรวจประชากร 12,800 คน ใน 13 ประเทศ พบว่า การใช้โทรศํพท์มือถือบ่อยๆ มีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดเนื้องอกในสมอง
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้ตรวจสอบงานวิจัยดังกล่าวแล้ว และจะพิมพ์เผยแพร่ภายในปีนี้
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 109 ธันวาคม 2552 โดยธาราทิพย์)