๕.๔ อารมณ์ปรมัตถ์
ก่อนจะกล่าวถึงอารมณ์ปรมัตถ์จำเป็นต้องกล่าวถึงปรมัตถธรรมเสียก่อน เพราะอารมณ์ปรมัตถ์ก็คือปรมัตถธรรมที่จิตไปรู้เข้าโดยผ่านการกระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจนั่นเอง
ปรมัตถธรรมมีความหมายตามพระปริยัติธรรมว่า “เป็นสิ่งที่มีเนื้อความไม่วิปริตผันแปร เป็นธัมมธาตุ คือ เครื่องดำรงอยู่ของธรรม เป็นธัมมฐีติ คือเครื่องตั้งอยู่ของธรรม เป็นธัมมนิยามคือเครื่องกำหนดหมายของธรรม อันเป็นสิ่งที่เป็นไปเองตามธรรมดา ธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ ไม่มีใครแต่งตั้งขึ้น”
ปรมัตถธรรมมี ๔ อย่างคือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน แต่ละอย่างจะมีลักษณะ ๒ ชนิดคือ (๑) ลักษณะร่วมของปรมัตถธรรมทั้งหลาย เรียกว่าสามัญลักษณะ กับ (๒) ลักษณะเฉพาะที่ทำให้สภาวธรรมอันนั้นแตกต่างจากสภาวธรรมอันอื่น เรียกว่า วิเสสลักษณะ
สามัญลักษณะเป็นลักษณะสามัญธรรมดาที่สภาวธรรมทั้งหลายมีเหมือนๆกัน เรียกว่าไตรลักษณ์ก็ได้ ได้แก่ (๑) อนิจจลักษณะ คือความไม่เที่ยง ไม่มั่นคงยั่งยืนอยู่ได้ตลอดกาล (๒) ทุกขลักษณะ คือความทนอยู่ไม่ได้ จำต้องแตกดับเสื่อมสลายไป และ (๓) อนัตตลักษณะ คือความว่างเปล่าจากตัวตน ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่เป็นไปตามใจชอบ
ปรมัตถธรรมที่มีสามัญลักษณะครบทั้ง ๓ ประการ ได้แก่ จิต เจตสิก และรูป ซึ่งย่อลงมาก็คือรูปกับนามหรือกายกับใจนี่เอง เพราะจิตและเจตสิกจัดเป็นนามธรรมด้วยกัน ส่วนนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถธรรมอีกอย่างหนึ่งมีเฉพาะอนัตตลักษณะเท่านั้น ไม่มีอนิจจลักษณะเพราะนิพพานเที่ยง และไม่มีทุกขลักษณะเพราะนิพพานเป็นสุข แต่นิพพานก็ไม่ใช่อัตตา ดังนั้นหากผู้ใดกล่าวว่านิพพานเป็นอัตตา พวกเราพึงทราบว่าคำกล่าวนั้นไม่ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ปรมัตถธรรมยังมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า วิเสสลักษณะ หรือลักษณะเฉพาะตัวของสภาวธรรมแต่ละอย่างๆ ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถจำแนกได้ว่านี้คือสภาวธรรมอันนี้ๆ เช่น จิตก็มีลักษณะของจิต ความสุขก็มีลักษณะของความสุข ราคะก็มีลักษณะ ของราคะ โทสะก็มีลักษณะของโทสะ สติก็มีลักษณะของสติ รูปก็มีลักษณะของรูป เป็นต้น วิเสสลักษณะของสภาวธรรมแต่ละอย่างมี ๔ ประการ เรียกว่าลักขณาทิจตุกะ ได้แก่ (๑) ลักษณะเฉพาะตัวของสภาวธรรมนั้นๆ (๒) กิจหรือหน้าที่หรือบทบาทของสภาวธรรมนั้นๆ (๓) ผลอันเกิดจากการ แสดงบทบาทของสภาวธรรมนั้นๆ และ (๔) เหตุใกล้ให้เกิดสภาวธรรมนั้นๆ
ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราเรียนพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ (จิต) ๒ (เจตสิก) และ ๖ (รูปและนิพพาน) ส่วนนักปฏิบัติทั้งหลายแม้จะไม่อยากเรียนพระอภิธรรม แต่ก็หนีไม่พ้น ที่จะต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้จากการปฏิบัติ ด้วยการตามรู้ตามดูสภาวะจริงๆของจิต เจตสิกและ รูป จนเกิด (๑) ความรู้จักตัวสภาวธรรม ทั้งหลายทั้งรูปนาม/กายใจว่ามีสภาวะเป็นอย่างไร และ (๒) ความรู้จริงว่าสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านั้นมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ และไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแต่อย่างใด
หากเราไม่รู้จักตัวสภาวธรรมเหล่านี้ เราจะเจริญวิปัสสนาไม่ได้เลย แม้แต่ผู้ที่เรียนพระอภิธรรมแล้ว ถ้ายังรู้เฉพาะตำราแต่ไม่เคยเห็นสภาวะจริงๆของรูปนาม ก็ไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้จริงเช่นกัน
เพราะวิปัสสนากรรมฐานคือการมีสติระลึกรู้สภาวะของรูปนามจนเกิดปัญญาเห็นความจริงว่า รูปนามทั้งหลาย มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ และไม่ใช่ตัวเราแต่อย่างใด ขอให้เพื่อนนักปฏิบัติสังเกตให้ดีว่า ผู้เขียนกล่าวว่าสติเป็นเครื่องระลึกรู้สภาวะของรูปนามที่กำลังปรากฏ ส่วนวิปัสสนาปัญญาเป็นความเข้าใจลักษณะของรูปนามว่าเป็นไตรลักษณ์
เพื่อนนักปฏิบัติควรศึกษาเรื่องปรมัตถ์และบัญญัติให้ดี เพราะถ้าไม่เข้าใจก็จะไปหลงไปกำหนดหรือเพ่งอารมณ์บัญญัติแทนการระลึกรู้อารมณ์ ปรมัตถ์ อันจะกลายเป็นการทำสมถกรรมฐาน แล้วคิดว่ากำลังเจริญ วิปัสสนากรรมฐานอยู่ ตัวอย่างเช่นสิ่งที่มองเห็นทางตานั้น เราต้องจำแนกได้ว่าอันใดเป็นอารมณ์ปรมัตถ์อันใดเป็นอารมณ์บัญญัติ กล่าวคือรูปที่เห็นได้ทางตาคือสีหรือแสงสะท้อนที่ตารับกระทบได้จริงๆ อันนี้เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ เมื่อตากระทบสีแล้ว สัญญาคือความจำได้หมายรู้จะแปลความหมายของสีนั้นไปตามสมมุติบัญญัติ เช่นแปลว่าสีอย่างนี้คือสีเขียว สีแดง หรืออาจจะแปลว่าสีที่ตัดกันเป็นรูปร่างอย่างนี้เรียกว่าคน สุนัข และแมว หรืออาจจะแปลสีออกไปในเชิงสัญลักษณ์ก็ได้ เช่นเมื่อเห็นสีแดงก็แปลว่าห้ามไป สีเขียวแปลว่าให้ไปได้ เหล่านี้เป็นอารมณ์บัญญัติ
ได้กล่าวไว้เนืองๆ แล้วว่าการเจริญวิปัสสนาต้องรู้อารมณ์ปรมัตถ์ อันได้ แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ ที่เป็นรูปนาม ส่วนการเจริญสมถกรรมฐานใช้อารมณ์บัญญัติ ดังนั้นถ้าตาเห็นรูปแล้วปัญญาจำแนกได้ว่าสิ่งที่ตาเห็นเป็นเพียงสีหรือเป็นเพียงรูป อย่างนี้จึงพอจะเจริญวิปัสสนาได้ แต่ถ้าเพ่งลูกแก้ว เพ่งพระพุทธรูป เพ่งศพ เพ่งสีเขียวสีแดง เพ่งเทียน เพ่งน้ำ เพ่งคำบริกรรม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นบัญญัติทั้งสิ้น การเพ่งทั้ง หมดนั้นจึงเป็นการทำสมถกรรมฐาน
ทำนองเดียวกัน การเพ่งลมหายใจ เพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง และเพ่งกายทั้งกาย ก็เป็นการเพ่งอารมณ์อันเป็นบัญญัติ เพราะความจริงไม่มีลมหายใจ มือ เท้า ท้อง และกายทั้งกาย มีแต่รูปหรือธาตุเท่านั้น ดังนั้นถ้าเพ่งกายคืออวัยวะต่างๆ ก็ยังเป็นการทำสมถกรรมฐานอยู่ เช่นการเจริญกายคตาสติหรือการพิจารณากายเป็นส่วนๆ ตามอาการ ๓๒ มีผมขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็น กระดูก เป็นต้น จึงเป็นการทำสมถกรรมฐานอันมีผลเป็นความสงบของจิตจากนิวรณ์ แต่ถ้ารู้รูปคือเห็นกายเป็นเพียงรูปที่เคลื่อนไหว (วิญญัติรูป) หรือเห็นกายโดยความเป็นธาตุ จึงจะเป็นการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 108 พฤศจิกายน 2552 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
ก่อนจะกล่าวถึงอารมณ์ปรมัตถ์จำเป็นต้องกล่าวถึงปรมัตถธรรมเสียก่อน เพราะอารมณ์ปรมัตถ์ก็คือปรมัตถธรรมที่จิตไปรู้เข้าโดยผ่านการกระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจนั่นเอง
ปรมัตถธรรมมีความหมายตามพระปริยัติธรรมว่า “เป็นสิ่งที่มีเนื้อความไม่วิปริตผันแปร เป็นธัมมธาตุ คือ เครื่องดำรงอยู่ของธรรม เป็นธัมมฐีติ คือเครื่องตั้งอยู่ของธรรม เป็นธัมมนิยามคือเครื่องกำหนดหมายของธรรม อันเป็นสิ่งที่เป็นไปเองตามธรรมดา ธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ ไม่มีใครแต่งตั้งขึ้น”
ปรมัตถธรรมมี ๔ อย่างคือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน แต่ละอย่างจะมีลักษณะ ๒ ชนิดคือ (๑) ลักษณะร่วมของปรมัตถธรรมทั้งหลาย เรียกว่าสามัญลักษณะ กับ (๒) ลักษณะเฉพาะที่ทำให้สภาวธรรมอันนั้นแตกต่างจากสภาวธรรมอันอื่น เรียกว่า วิเสสลักษณะ
สามัญลักษณะเป็นลักษณะสามัญธรรมดาที่สภาวธรรมทั้งหลายมีเหมือนๆกัน เรียกว่าไตรลักษณ์ก็ได้ ได้แก่ (๑) อนิจจลักษณะ คือความไม่เที่ยง ไม่มั่นคงยั่งยืนอยู่ได้ตลอดกาล (๒) ทุกขลักษณะ คือความทนอยู่ไม่ได้ จำต้องแตกดับเสื่อมสลายไป และ (๓) อนัตตลักษณะ คือความว่างเปล่าจากตัวตน ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่เป็นไปตามใจชอบ
ปรมัตถธรรมที่มีสามัญลักษณะครบทั้ง ๓ ประการ ได้แก่ จิต เจตสิก และรูป ซึ่งย่อลงมาก็คือรูปกับนามหรือกายกับใจนี่เอง เพราะจิตและเจตสิกจัดเป็นนามธรรมด้วยกัน ส่วนนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถธรรมอีกอย่างหนึ่งมีเฉพาะอนัตตลักษณะเท่านั้น ไม่มีอนิจจลักษณะเพราะนิพพานเที่ยง และไม่มีทุกขลักษณะเพราะนิพพานเป็นสุข แต่นิพพานก็ไม่ใช่อัตตา ดังนั้นหากผู้ใดกล่าวว่านิพพานเป็นอัตตา พวกเราพึงทราบว่าคำกล่าวนั้นไม่ตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ปรมัตถธรรมยังมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า วิเสสลักษณะ หรือลักษณะเฉพาะตัวของสภาวธรรมแต่ละอย่างๆ ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถจำแนกได้ว่านี้คือสภาวธรรมอันนี้ๆ เช่น จิตก็มีลักษณะของจิต ความสุขก็มีลักษณะของความสุข ราคะก็มีลักษณะ ของราคะ โทสะก็มีลักษณะของโทสะ สติก็มีลักษณะของสติ รูปก็มีลักษณะของรูป เป็นต้น วิเสสลักษณะของสภาวธรรมแต่ละอย่างมี ๔ ประการ เรียกว่าลักขณาทิจตุกะ ได้แก่ (๑) ลักษณะเฉพาะตัวของสภาวธรรมนั้นๆ (๒) กิจหรือหน้าที่หรือบทบาทของสภาวธรรมนั้นๆ (๓) ผลอันเกิดจากการ แสดงบทบาทของสภาวธรรมนั้นๆ และ (๔) เหตุใกล้ให้เกิดสภาวธรรมนั้นๆ
ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราเรียนพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ (จิต) ๒ (เจตสิก) และ ๖ (รูปและนิพพาน) ส่วนนักปฏิบัติทั้งหลายแม้จะไม่อยากเรียนพระอภิธรรม แต่ก็หนีไม่พ้น ที่จะต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้จากการปฏิบัติ ด้วยการตามรู้ตามดูสภาวะจริงๆของจิต เจตสิกและ รูป จนเกิด (๑) ความรู้จักตัวสภาวธรรม ทั้งหลายทั้งรูปนาม/กายใจว่ามีสภาวะเป็นอย่างไร และ (๒) ความรู้จริงว่าสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านั้นมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ และไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแต่อย่างใด
หากเราไม่รู้จักตัวสภาวธรรมเหล่านี้ เราจะเจริญวิปัสสนาไม่ได้เลย แม้แต่ผู้ที่เรียนพระอภิธรรมแล้ว ถ้ายังรู้เฉพาะตำราแต่ไม่เคยเห็นสภาวะจริงๆของรูปนาม ก็ไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้จริงเช่นกัน
เพราะวิปัสสนากรรมฐานคือการมีสติระลึกรู้สภาวะของรูปนามจนเกิดปัญญาเห็นความจริงว่า รูปนามทั้งหลาย มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ และไม่ใช่ตัวเราแต่อย่างใด ขอให้เพื่อนนักปฏิบัติสังเกตให้ดีว่า ผู้เขียนกล่าวว่าสติเป็นเครื่องระลึกรู้สภาวะของรูปนามที่กำลังปรากฏ ส่วนวิปัสสนาปัญญาเป็นความเข้าใจลักษณะของรูปนามว่าเป็นไตรลักษณ์
เพื่อนนักปฏิบัติควรศึกษาเรื่องปรมัตถ์และบัญญัติให้ดี เพราะถ้าไม่เข้าใจก็จะไปหลงไปกำหนดหรือเพ่งอารมณ์บัญญัติแทนการระลึกรู้อารมณ์ ปรมัตถ์ อันจะกลายเป็นการทำสมถกรรมฐาน แล้วคิดว่ากำลังเจริญ วิปัสสนากรรมฐานอยู่ ตัวอย่างเช่นสิ่งที่มองเห็นทางตานั้น เราต้องจำแนกได้ว่าอันใดเป็นอารมณ์ปรมัตถ์อันใดเป็นอารมณ์บัญญัติ กล่าวคือรูปที่เห็นได้ทางตาคือสีหรือแสงสะท้อนที่ตารับกระทบได้จริงๆ อันนี้เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ เมื่อตากระทบสีแล้ว สัญญาคือความจำได้หมายรู้จะแปลความหมายของสีนั้นไปตามสมมุติบัญญัติ เช่นแปลว่าสีอย่างนี้คือสีเขียว สีแดง หรืออาจจะแปลว่าสีที่ตัดกันเป็นรูปร่างอย่างนี้เรียกว่าคน สุนัข และแมว หรืออาจจะแปลสีออกไปในเชิงสัญลักษณ์ก็ได้ เช่นเมื่อเห็นสีแดงก็แปลว่าห้ามไป สีเขียวแปลว่าให้ไปได้ เหล่านี้เป็นอารมณ์บัญญัติ
ได้กล่าวไว้เนืองๆ แล้วว่าการเจริญวิปัสสนาต้องรู้อารมณ์ปรมัตถ์ อันได้ แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ ที่เป็นรูปนาม ส่วนการเจริญสมถกรรมฐานใช้อารมณ์บัญญัติ ดังนั้นถ้าตาเห็นรูปแล้วปัญญาจำแนกได้ว่าสิ่งที่ตาเห็นเป็นเพียงสีหรือเป็นเพียงรูป อย่างนี้จึงพอจะเจริญวิปัสสนาได้ แต่ถ้าเพ่งลูกแก้ว เพ่งพระพุทธรูป เพ่งศพ เพ่งสีเขียวสีแดง เพ่งเทียน เพ่งน้ำ เพ่งคำบริกรรม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นบัญญัติทั้งสิ้น การเพ่งทั้ง หมดนั้นจึงเป็นการทำสมถกรรมฐาน
ทำนองเดียวกัน การเพ่งลมหายใจ เพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง และเพ่งกายทั้งกาย ก็เป็นการเพ่งอารมณ์อันเป็นบัญญัติ เพราะความจริงไม่มีลมหายใจ มือ เท้า ท้อง และกายทั้งกาย มีแต่รูปหรือธาตุเท่านั้น ดังนั้นถ้าเพ่งกายคืออวัยวะต่างๆ ก็ยังเป็นการทำสมถกรรมฐานอยู่ เช่นการเจริญกายคตาสติหรือการพิจารณากายเป็นส่วนๆ ตามอาการ ๓๒ มีผมขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็น กระดูก เป็นต้น จึงเป็นการทำสมถกรรมฐานอันมีผลเป็นความสงบของจิตจากนิวรณ์ แต่ถ้ารู้รูปคือเห็นกายเป็นเพียงรูปที่เคลื่อนไหว (วิญญัติรูป) หรือเห็นกายโดยความเป็นธาตุ จึงจะเป็นการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 108 พฤศจิกายน 2552 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)