ความหยั่งรู้ในธรรม
อันปัญญาในธรรมนั้นโดยปริยายคือทางอันหนึ่ง ก็ได้แก่ ธมฺเม ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในธรรม อันได้แก่ ในธรรม คือสัจจะทั้งสี่ และในนิโรธธรรม
ญาณในธรรมคือสัจจะทั้งสี่นั้น ก็ได้แก่ในทุกขสัจจะ สภาพที่จริงคือทุกข์ สมุทัยสัจจะ สภาพที่จริงคือสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ นิโรธสัจจะ สภาพที่จริงคือนิโรธ ความดับทุกข์ มรรคสัจจะ สภาพที่จริงคือมรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ จะพึงหมายถึงญาณในมรรค คือสัจจะทั้งสี่ที่เป็นส่วนมรรค กับในนิโรธธรรม ธรรมคือนิโรธความดับ จะพึงหมายถึงผล ฉะนั้น จึงมีสรุปอีกว่า ธมฺเม ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในธรรม หมายถึงในมรรคและผล นี้เป็นข้อหนึ่ง
ความหยั่งรู้ในอนุคติ
อนฺวเย ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในอนุคติ คือในการดำเนินไปตามญาณข้อแรกนั้น เป็นญาณคือความหยั่งรู้ที่อำนวยต่อญาณข้อแรก อธิบายที่เกี่ยวเนื่องกันว่า ญาณคือความหยั่งรู้ในธรรม คือสัจจะธรรม นิโรธธรรม หรือในมรรคและผลข้อแรกดังกล่าว เป็นญาณคือความหยั่งรู้ในธรรมที่ประจักษ์จำเพาะหน้า
ส่วน อนฺวเย ญาณํ ความหยั่งรู้ในอนุคติ การไปตามญาณข้อแรก หรืออำนวยต่อญาณข้อแรกนั้น ก็หมายถึงความหยั่งรู้ว่า ในปัจจุบันอันเป็นสัจจะที่ประจักษ์ หรือเป็นธรรมที่ประจักษ์ฉันใด ในอดีตก็ฉันนั้น ในอนาคตก็ฉันนั้น ก็คือว่า ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้งห้าเหล่านี้ นี้แหละเป็นตัวทุกข์ ตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากนี้แหละเป็นตัวสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับตัณหาเสียได้นี้แหละเป็นตัวนิโรธ ความดับทุกข์ ทางที่มีองค์แปด มีสัมมาทิฎฐิเป็นต้นนี้แหละเป็นมรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ไม่ว่าจะในอดีต ไม่ว่าจะในอนาคต ไม่ว่าจะในปัจจุบัน ก็ย่อมเป็นอย่างนี้
ฉะนั้น ญาณที่ประจักษ์ในปัจจุบันในสัจจะเหล่านี้เป็นฉันใด ในอดีตก็เป็นสัจจะเหมือนอย่างนี้ฉันนั้น ในอนาคตก็จะเป็นสัจจะเหมือนอย่างนี้ฉันนั้นไม่แตกต่างกัน ดังนี้เรียกว่า อนฺวเย ญาณํ ญาณในความที่ไปตามกัน หรืออำนวยกันในสัจจะที่เป็นอย่างเดียวกัน ไม่แตกต่างกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุมานญาณ และญาณคือความหยั่งรู้ดังนี้ย่อมมีแสดงไว้ในพระสูตรทั้งหลาย ดังเช่นที่ตรัสสอนให้หยั่งรู้ในขันธ์ห้าว่าเป็นอนัตตา เพราะต้องเป็นไปเพื่ออาพาธ บังคับให้เป็นไปตามปรารถนามิได้ และก็ได้ตรัสซักซ้อมว่า ขันธ์ห้าเที่ยงหรือไม่เที่ยง ก็กราบทูลตอบว่าไม่เที่ยง ก็ตรัสถามว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ก็กราบทูลว่าเป็นทุกข์ ก็ตรัสถามว่า สิ่งใดที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ต้องมีความแปรปรวนเปลี่ยน ไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่าเป็นของเรา เราเป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นอัตตาตัวตนของเรา ก็กราบทูลว่าไม่ควรเห็นอย่างนั้น เมื่อกราบทูลตอบเช่นนั้นก็แสดงว่า ผู้ฟังได้ญาณคือความหยั่งรู้ เข้าเขต ธมฺเม ญาณํ ญาณหยั่งรู้ในธรรมคือสัจจะข้อแรก
ต่อจากนั้นก็ตรัสสรุปว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งในอดีตในอนาคต หรือในปัจจุบันก็ตาม ภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตคือดีก็ตาม ตั้งอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมดไม่ใช่เป็นของเรา เราไม่ใช่เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมิใช่เป็นอัตตาตัวตนของเรา เป็นการตรัสสอนเพื่อให้ได้ อนฺวเย ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในสิ่งที่เป็นอย่างเดียวกันทุกๆอย่าง ซึ่งเป็นไปตามกันอำนวยกัน คือสรุปทั้งหมดดังนี้ก็เป็นญาณข้อที่สองนี้
ความหยั่งรู้ในกำหนด
ปริจฺเฉเท ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในการกำหนด อันหมายถึงกำหนดรู้จิต จิตมีราคะหรือปราศจากราคะก็รู้ จิตมีโทสะหรือปราศจากโทสะก็รู้ จิตมีโมหะหรือปราศจากโมหะก็รู้ จิตหดหู่หรือฟุ้งซ่านก็รู้ จิตใหญ่หรือไม่ใหญ่ก็รู้ จิตยิ่งหรือไม่ยิ่งก็รู้ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิหรือไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิก็รู้ จิตวิมุตติหลุดพ้นหรือไม่วิมุตติหลุดพ้นก็รู้ เป็นข้อสาม
ความหยั่งรู้ในสมมติ
สมมติ ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในสมมติเป็นข้อสี่
เมื่อสรุปเข้าแล้วก็เท่ากับหยั่งรู้ในสมมติสัจจะและในปรมัตถสัจจะนั้นเอง คือรู้จักสมมติสัจจะโดยความเป็นปรมัตถสัจจะก็เป็นญาณข้อที่สี่ รู้จักปรมัตถสัจจะโดยความเป็นปรมัตถสัจจะก็เป็นญาณข้อที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ดังกล่าวมานั้น
เมื่อมีความหยั่งรู้ดังนี้ ย่อมไม่ยึดถืออยู่ในสิ่งที่รู้นั้น ญาณคือความหยั่งรู้ดังนี้ แม้จะแสดงไว้เป็นอย่างสิ้นเชิงหรือถึงที่สุด แต่ว่าในทางปฎิบัตินั้นจะให้ถึงที่สุดทีเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องทำโยนิโสมนสิการ เพิ่มเติมปัญญา คือความรู้ หรือญาณคือความหยั่งรู้ไปโดยลำดับ เป็นการรู้ตามพระพุทธเจ้าที่ตรัสสั่งสอนไว้ ดังที่ยกมาแสดงนี้เป็นปรมัตถปัญญา ปัญญาโดยปรมัตถ์ก่อน และก็หัดปฏิบัติพิจารณาไปเพื่อมิให้ยึดถือในสมมติว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา เพื่อให้เข้าถึงปรมัตถสัจจะตามที่จะพึงเป็นไปได้ อันนี้เป็นความรู้ แต่ว่าการปฏิบัตินั้นต้องปฏิบัติให้เหมาะกับสมมติ เพราะสมมตินั้นแม้เป็นสมมติทางพุทธศาสนาก็ยกเป็นสัจจะอย่างหนึ่ง ดังที่เรียกว่า สมมติสัจจะนั้น เพราะเป็นสิ่งที่แม้จะไม่เป็นสัจจะที่แท้จริง แต่ก็เป็นสิ่งที่บุคคลทั้งปวงรับรู้ร่วมกันว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เช่นเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นชายเป็นหญิง เป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ เป็นบรรพชิต เป็นคฤหัสถ์ เป็นนั่นเป็นนี่ อย่างอื่นต่างๆ และก็เป็นของเราเป็นของเขา ซึ่งคนทั้งปวงก็มีมติร่วมกัน รับรู้ร่วมกัน รับรองกันอยู่ว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ทั้งภาษาที่พูดกันเรียกกันก็ต้องเป็นสมมติบัญญัติทั้งนั้น เพราะถ้าไม่มีสมมติบัญญัติก็ไม่มีภาษาที่จะพูด ก็เป็นอันไม่ต้องรู้เรื่องกัน ไม่เข้าใจกัน บรรดาส่วนที่เป็นภายนอกคือเป็นทางกายทั้งหมดเป็นสมมติทั้งนั้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรม่ลีลา ฉบับที่ 107 ตุลาคม 2552 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
อันปัญญาในธรรมนั้นโดยปริยายคือทางอันหนึ่ง ก็ได้แก่ ธมฺเม ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในธรรม อันได้แก่ ในธรรม คือสัจจะทั้งสี่ และในนิโรธธรรม
ญาณในธรรมคือสัจจะทั้งสี่นั้น ก็ได้แก่ในทุกขสัจจะ สภาพที่จริงคือทุกข์ สมุทัยสัจจะ สภาพที่จริงคือสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ นิโรธสัจจะ สภาพที่จริงคือนิโรธ ความดับทุกข์ มรรคสัจจะ สภาพที่จริงคือมรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ จะพึงหมายถึงญาณในมรรค คือสัจจะทั้งสี่ที่เป็นส่วนมรรค กับในนิโรธธรรม ธรรมคือนิโรธความดับ จะพึงหมายถึงผล ฉะนั้น จึงมีสรุปอีกว่า ธมฺเม ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในธรรม หมายถึงในมรรคและผล นี้เป็นข้อหนึ่ง
ความหยั่งรู้ในอนุคติ
อนฺวเย ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในอนุคติ คือในการดำเนินไปตามญาณข้อแรกนั้น เป็นญาณคือความหยั่งรู้ที่อำนวยต่อญาณข้อแรก อธิบายที่เกี่ยวเนื่องกันว่า ญาณคือความหยั่งรู้ในธรรม คือสัจจะธรรม นิโรธธรรม หรือในมรรคและผลข้อแรกดังกล่าว เป็นญาณคือความหยั่งรู้ในธรรมที่ประจักษ์จำเพาะหน้า
ส่วน อนฺวเย ญาณํ ความหยั่งรู้ในอนุคติ การไปตามญาณข้อแรก หรืออำนวยต่อญาณข้อแรกนั้น ก็หมายถึงความหยั่งรู้ว่า ในปัจจุบันอันเป็นสัจจะที่ประจักษ์ หรือเป็นธรรมที่ประจักษ์ฉันใด ในอดีตก็ฉันนั้น ในอนาคตก็ฉันนั้น ก็คือว่า ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้งห้าเหล่านี้ นี้แหละเป็นตัวทุกข์ ตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากนี้แหละเป็นตัวสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับตัณหาเสียได้นี้แหละเป็นตัวนิโรธ ความดับทุกข์ ทางที่มีองค์แปด มีสัมมาทิฎฐิเป็นต้นนี้แหละเป็นมรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ไม่ว่าจะในอดีต ไม่ว่าจะในอนาคต ไม่ว่าจะในปัจจุบัน ก็ย่อมเป็นอย่างนี้
ฉะนั้น ญาณที่ประจักษ์ในปัจจุบันในสัจจะเหล่านี้เป็นฉันใด ในอดีตก็เป็นสัจจะเหมือนอย่างนี้ฉันนั้น ในอนาคตก็จะเป็นสัจจะเหมือนอย่างนี้ฉันนั้นไม่แตกต่างกัน ดังนี้เรียกว่า อนฺวเย ญาณํ ญาณในความที่ไปตามกัน หรืออำนวยกันในสัจจะที่เป็นอย่างเดียวกัน ไม่แตกต่างกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุมานญาณ และญาณคือความหยั่งรู้ดังนี้ย่อมมีแสดงไว้ในพระสูตรทั้งหลาย ดังเช่นที่ตรัสสอนให้หยั่งรู้ในขันธ์ห้าว่าเป็นอนัตตา เพราะต้องเป็นไปเพื่ออาพาธ บังคับให้เป็นไปตามปรารถนามิได้ และก็ได้ตรัสซักซ้อมว่า ขันธ์ห้าเที่ยงหรือไม่เที่ยง ก็กราบทูลตอบว่าไม่เที่ยง ก็ตรัสถามว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ก็กราบทูลว่าเป็นทุกข์ ก็ตรัสถามว่า สิ่งใดที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ต้องมีความแปรปรวนเปลี่ยน ไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่าเป็นของเรา เราเป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นอัตตาตัวตนของเรา ก็กราบทูลว่าไม่ควรเห็นอย่างนั้น เมื่อกราบทูลตอบเช่นนั้นก็แสดงว่า ผู้ฟังได้ญาณคือความหยั่งรู้ เข้าเขต ธมฺเม ญาณํ ญาณหยั่งรู้ในธรรมคือสัจจะข้อแรก
ต่อจากนั้นก็ตรัสสรุปว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งในอดีตในอนาคต หรือในปัจจุบันก็ตาม ภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตคือดีก็ตาม ตั้งอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมดไม่ใช่เป็นของเรา เราไม่ใช่เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมิใช่เป็นอัตตาตัวตนของเรา เป็นการตรัสสอนเพื่อให้ได้ อนฺวเย ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในสิ่งที่เป็นอย่างเดียวกันทุกๆอย่าง ซึ่งเป็นไปตามกันอำนวยกัน คือสรุปทั้งหมดดังนี้ก็เป็นญาณข้อที่สองนี้
ความหยั่งรู้ในกำหนด
ปริจฺเฉเท ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในการกำหนด อันหมายถึงกำหนดรู้จิต จิตมีราคะหรือปราศจากราคะก็รู้ จิตมีโทสะหรือปราศจากโทสะก็รู้ จิตมีโมหะหรือปราศจากโมหะก็รู้ จิตหดหู่หรือฟุ้งซ่านก็รู้ จิตใหญ่หรือไม่ใหญ่ก็รู้ จิตยิ่งหรือไม่ยิ่งก็รู้ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิหรือไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิก็รู้ จิตวิมุตติหลุดพ้นหรือไม่วิมุตติหลุดพ้นก็รู้ เป็นข้อสาม
ความหยั่งรู้ในสมมติ
สมมติ ญาณํ ญาณคือความหยั่งรู้ในสมมติเป็นข้อสี่
เมื่อสรุปเข้าแล้วก็เท่ากับหยั่งรู้ในสมมติสัจจะและในปรมัตถสัจจะนั้นเอง คือรู้จักสมมติสัจจะโดยความเป็นปรมัตถสัจจะก็เป็นญาณข้อที่สี่ รู้จักปรมัตถสัจจะโดยความเป็นปรมัตถสัจจะก็เป็นญาณข้อที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ดังกล่าวมานั้น
เมื่อมีความหยั่งรู้ดังนี้ ย่อมไม่ยึดถืออยู่ในสิ่งที่รู้นั้น ญาณคือความหยั่งรู้ดังนี้ แม้จะแสดงไว้เป็นอย่างสิ้นเชิงหรือถึงที่สุด แต่ว่าในทางปฎิบัตินั้นจะให้ถึงที่สุดทีเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องทำโยนิโสมนสิการ เพิ่มเติมปัญญา คือความรู้ หรือญาณคือความหยั่งรู้ไปโดยลำดับ เป็นการรู้ตามพระพุทธเจ้าที่ตรัสสั่งสอนไว้ ดังที่ยกมาแสดงนี้เป็นปรมัตถปัญญา ปัญญาโดยปรมัตถ์ก่อน และก็หัดปฏิบัติพิจารณาไปเพื่อมิให้ยึดถือในสมมติว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา เพื่อให้เข้าถึงปรมัตถสัจจะตามที่จะพึงเป็นไปได้ อันนี้เป็นความรู้ แต่ว่าการปฏิบัตินั้นต้องปฏิบัติให้เหมาะกับสมมติ เพราะสมมตินั้นแม้เป็นสมมติทางพุทธศาสนาก็ยกเป็นสัจจะอย่างหนึ่ง ดังที่เรียกว่า สมมติสัจจะนั้น เพราะเป็นสิ่งที่แม้จะไม่เป็นสัจจะที่แท้จริง แต่ก็เป็นสิ่งที่บุคคลทั้งปวงรับรู้ร่วมกันว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เช่นเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นชายเป็นหญิง เป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ เป็นบรรพชิต เป็นคฤหัสถ์ เป็นนั่นเป็นนี่ อย่างอื่นต่างๆ และก็เป็นของเราเป็นของเขา ซึ่งคนทั้งปวงก็มีมติร่วมกัน รับรู้ร่วมกัน รับรองกันอยู่ว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ทั้งภาษาที่พูดกันเรียกกันก็ต้องเป็นสมมติบัญญัติทั้งนั้น เพราะถ้าไม่มีสมมติบัญญัติก็ไม่มีภาษาที่จะพูด ก็เป็นอันไม่ต้องรู้เรื่องกัน ไม่เข้าใจกัน บรรดาส่วนที่เป็นภายนอกคือเป็นทางกายทั้งหมดเป็นสมมติทั้งนั้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรม่ลีลา ฉบับที่ 107 ตุลาคม 2552 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)