เราไม่ได้ฝึกเอาทุกข์หรือเอาไม่ทุกข์
แต่ฝึกให้เห็นทั้งกายใจไม่ใช่ตัวเรา
คอยรู้ไปเรื่อย ในที่สุดจะเห็นว่า
ความรู้สึกทุกชนิดเป็นของชั่วคราว เกิดขึ้นแล้วก็หายไป
ต่อไปใจจะอยู่กับโลกแบบเข้าใจโลก ไม่ทุรนทุราย
ครั้งที่ 041 ดูจิตสังขาร
โยม : คือดูจิตไปหลายปี มันไปติด อยู่ตรงที่ไปดูจิตสังขารแล้วไปแช่อยู่ จน วันหนึ่งมันก็ไม่เอา มันเห็นว่าไปแช่แล้วมันก็ทุกข์ มันก็ถอนออกมานิดหนึ่ง มันไปอยู่ระหว่างจิตสังขารกับผู้รู้ ตรงกลางหน้าอก อยู่ตรงนี้แล้วไม่ทุกข์ อยู่ตรงนี้แล้วสบายๆ เป็นกลาง
หลวงพ่อ : เราไม่ได้ฝึกเอาทุกข์หรือเอา ไม่ทุกข์หรอก เราฝึกเพื่อให้เห็นเลยทั้งกายทั้งใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ดูไปเห็นร่างกายเคลื่อนไหวเหมือนดูคนอื่นเคลื่อนไหว เห็นจิตใจเคลื่อนไหวทำงานไปนะเหมือนเราดูเด็กเล็กๆ สักคน เด็กคนนี้เดี๋ยวก็หัวเราะ เด็กคนนี้เดี๋ยวก็ร้องไห้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหลง ดูเหมือนดูคนอื่น ดูแบบไม่มีส่วนได้เสีย วันหนึ่งเราก็รู้เลยจิตใจเรามันทำงานได้เองสารพัดเลยเหมือนเด็กเกเรคนหนึ่ง ทำงานโยเยๆ ได้ทั้งวัน วันหนึ่งก็รู้ความจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก มันเป็นไอ้เด็กเกเรที่ไหนก็ไม่รู้ที่แอบมาอยู่ในบ้านนี้
โยม : เพิ่งเริ่มฝึกครับผม บางทีมันจะเห็นเป็นก้อนๆ ครับ ไม่รู้เรียกชื่ออะไร
หลวงพ่อ : ก้อนๆ นั้นน่ะเป็นวิบากเป็นผลของการกระทำกรรมของเรา ตัวนั้นเป็นก้อนทุกข์นะเราแก้ไม่ได้หรอก ทุกข์นั้นเราต้องทน ต้องชดใช้เอา มันเป็นวิบาก มันเกิดจากการที่เราพยายาม เกิดจากการบังคับตัวเอง จะแน่นๆ ขึ้นมา ถ้าบังคับแรงก็แน่นมาก บังคับน้อยหน่อยก็แน่นน้อยหน่อย ไม่บังคับก็ไม่แน่นหรอก เป็นผลนะ
โยม : ปัญหาหนักของผม คือเรื่องศีล 5 น่ะครับ จะหนักทางข้อ 5 ครับเกรงใจเพื่อน ไม่รู้ทำอย่างไรดีเหมือนกัน
หลวงพ่อ : ต้องเอาอย่างหลวงพ่อนะ สมัยหลวงพ่อหนุ่มๆ อย่างพวกเรา เวลาทำราชการผู้ใหญ่ชอบดื่มเหล้านะ เรียกเราไปนั่งโต๊ะเรื่อยเลย เราก็กินแต่กับแกล้มสิ เลยอ้วนท้วนแข็งแรง ให้เขาดื่มเหล้าไป เขาดื่มเหล้าเราดื่มโซดา ค่อยๆ เปลี่ยนไป พอนานๆ เขาเห็นเราไม่เอาจริงๆ นะ เขาก็ตามใจ เขาก็ ยอม ใครอยากคบเราก็คบ ใครไม่อยากคบเพราะเราไม่ดื่มเหล้า เขาไม่อยากคบก็ช่างเขาไม่เห็นจะน่าคบด้วยเลย แล้วอีกอย่างหนึ่งพอเราโตขึ้นไป ต่อไปใครมานั่งโต๊ะ เรานะไม่มีใครกล้าดื่มเหล้าเลย กลับข้างกันนะ มันอยู่ที่ความเด็ดเดี่ยวของเราด้วย อย่างสมมติเราทำธุรกิจต้องไปเลี้ยงลูกค้า ให้ลูกค้ามันดื่มเหล้าไป เราบอกเราไม่ดื่มนะ เขาไม่พอใจก็อธิบายให้เขาฟังว่า เขามาทำธุรกิจกับคนมีศีลธรรมมันดีแล้วนะ ทีหลังเขาก็เข้าใจนะ ใหม่ๆ ก็ลำบากหน่อย ศีลจำเป็นนะ คนไหนถือศีลได้มีเครดิตในตัวเอง อย่างคุยกับลูกค้าแล้วทำธุรกิจกับคนมีศีลมันสบายใจได้นะ อย่างนี้เขาก็เชื่อเราง่าย ถ้าเผื่อเราทุศีลก็โกงเขาได้ง่าย แต่อย่าไปโกงเขานะ
โยม : รู้สึกว่ายังไม่เห็นกิเลสอะไรเท่าไรค่ะ
หลวงพ่อ : แล้วเห็นอะไรบ้างล่ะ
โยม : บางวันก็รู้สึกว่าขี้เกียจบ้าง พอรู้ตัวมันก็เหนื่อย บางวันก็รู้สึกว่าวันนี้ขี้เกียจ อะไรอย่างนี้ค่ะ
หลวงพ่อ : เคยกลัวไหม
โยม : เคยค่ะ
หลวงพ่อ : เคยเกลียดไหม
โยม : เคยค่ะ
หลวงพ่อ : รู้จักกังวลไหม
โยม : รู้ค่ะ
หลวงพ่อ : เคยอิจฉาบ้างไหม บอกตรงๆ
โยม : เคยค่ะ
หลวงพ่อ : เห็นไหมว่าจริงๆ การดูจิตน่ะง่าย เพราะสภาวะทั้งหลายเป็นสภาวะที่พวกเรารู้จักอยู่แล้ว หน้าที่เราตอนนี้ก็แค่ว่า ตอนนี้สภาวะอะไรปรากฏอยู่ก็คอยรู้บ่อยๆ หน่อย ถ้ารู้บ่อยๆ หน่อยอกุศลทั้งหลายจะครอบงำเราไม่ได้ คอยรู้เรื่อยๆ นะ เด็กเล็กๆ ยังเรียนได้เลย เด็กมันก็รู้จักนะ หลวงพ่อเคยถามเด็ก รู้จักกลัวไหม รู้จัก รู้จักกังวลไหม เรานึกว่าผู้ใหญ่กังวลนะ เรานึกว่าเด็กกังวลไม่เป็น เด็กกลับรู้จักว่ากังวลเป็นอย่างไร เด็กรู้จักนะไม่ใช่ไม่กังวล อย่างพ่อแม่ ทะเลาะกันเด็กกลุ้มใจนะไม่ใช่ไม่กลุ้ม เด็กก็รู้เรื่อง ถามเด็กรู้จักอิจฉาไหม เด็กหันไปมอง น้องหน่อยหนึ่ง พอดีมีน้องมาด้วย รู้จักค่ะรู้จัก รู้สึกไหมว่าแต่ละวันรักแม่ไม่เท่ากัน คราวนี้มองหน้าแม่ไม่กล้าพูดแล้ว กลัวแม่รู้ความจริง ว่าจริงๆ แต่ละวันรักแม่ไม่เท่ากัน เด็กก็รู้นะ
เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องง่ายๆ ความรู้สึกอะไรของเราเกิดขึ้นตอนนี้ก็คอยรู้ไปเรื่อยๆ เช่นเราฟังธรรมะของหลวงพ่อพูด ฟังแล้วงงไปหมดแล้ว รู้ว่ากำลังงงอยู่ นั่นแหละเรียกว่าปฏิบัติ งงอยู่รู้ว่างง ดีใจรู้ว่าดีใจ เสียใจรู้ว่าเสียใจ กลัวรู้ว่ากลัว ความรู้สึกอะไรเกิดอยู่ก็คอยรู้ไปเรื่อย ในที่สุดเราจะเห็นเลยว่าความรู้สึกทุกชนิดเป็นของชั่วคราว เกิดขึ้นมาแล้วก็หายไป ความสุขมาแล้วก็ไป ความทุกข์มาแล้วก็ไป ทุกอย่างมาแล้วก็ไปหมดเลย เราก็จะเห็นว่าชีวิตของเรามีแต่ของชั่วคราวทั้งหมดเลย ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้ถาวร เพราะฉะนั้น ต่อไปเมื่อเราเผชิญกับความทุกข์ เราจะไม่ทุรนทุราย เรามีปัญญาแล้วรู้ว่าความทุกข์มันชั่วคราว เวลาเราไปประสบความสำเร็จ เรามีความสุขขึ้นมาเราก็ไม่หลงระเริง เราก็รู้ว่ามันชั่วคราว ใจจะค่อยเป็นกลางอยู่กับโลกอย่างมีความสุขมีความมั่นคงมากขึ้น อยู่กับโลกแบบเข้าใจโลกก็บาดเจ็บน้อยหน่อย อยู่กับโลกแบบไม่เข้าใจโลก ก็บาดเจ็บเยอะหน่อย
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
นิพพานปรากฏเมื่อใจหมดความปรุงแต่ง)
แต่ฝึกให้เห็นทั้งกายใจไม่ใช่ตัวเรา
คอยรู้ไปเรื่อย ในที่สุดจะเห็นว่า
ความรู้สึกทุกชนิดเป็นของชั่วคราว เกิดขึ้นแล้วก็หายไป
ต่อไปใจจะอยู่กับโลกแบบเข้าใจโลก ไม่ทุรนทุราย
ครั้งที่ 041 ดูจิตสังขาร
โยม : คือดูจิตไปหลายปี มันไปติด อยู่ตรงที่ไปดูจิตสังขารแล้วไปแช่อยู่ จน วันหนึ่งมันก็ไม่เอา มันเห็นว่าไปแช่แล้วมันก็ทุกข์ มันก็ถอนออกมานิดหนึ่ง มันไปอยู่ระหว่างจิตสังขารกับผู้รู้ ตรงกลางหน้าอก อยู่ตรงนี้แล้วไม่ทุกข์ อยู่ตรงนี้แล้วสบายๆ เป็นกลาง
หลวงพ่อ : เราไม่ได้ฝึกเอาทุกข์หรือเอา ไม่ทุกข์หรอก เราฝึกเพื่อให้เห็นเลยทั้งกายทั้งใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ดูไปเห็นร่างกายเคลื่อนไหวเหมือนดูคนอื่นเคลื่อนไหว เห็นจิตใจเคลื่อนไหวทำงานไปนะเหมือนเราดูเด็กเล็กๆ สักคน เด็กคนนี้เดี๋ยวก็หัวเราะ เด็กคนนี้เดี๋ยวก็ร้องไห้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหลง ดูเหมือนดูคนอื่น ดูแบบไม่มีส่วนได้เสีย วันหนึ่งเราก็รู้เลยจิตใจเรามันทำงานได้เองสารพัดเลยเหมือนเด็กเกเรคนหนึ่ง ทำงานโยเยๆ ได้ทั้งวัน วันหนึ่งก็รู้ความจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก มันเป็นไอ้เด็กเกเรที่ไหนก็ไม่รู้ที่แอบมาอยู่ในบ้านนี้
โยม : เพิ่งเริ่มฝึกครับผม บางทีมันจะเห็นเป็นก้อนๆ ครับ ไม่รู้เรียกชื่ออะไร
หลวงพ่อ : ก้อนๆ นั้นน่ะเป็นวิบากเป็นผลของการกระทำกรรมของเรา ตัวนั้นเป็นก้อนทุกข์นะเราแก้ไม่ได้หรอก ทุกข์นั้นเราต้องทน ต้องชดใช้เอา มันเป็นวิบาก มันเกิดจากการที่เราพยายาม เกิดจากการบังคับตัวเอง จะแน่นๆ ขึ้นมา ถ้าบังคับแรงก็แน่นมาก บังคับน้อยหน่อยก็แน่นน้อยหน่อย ไม่บังคับก็ไม่แน่นหรอก เป็นผลนะ
โยม : ปัญหาหนักของผม คือเรื่องศีล 5 น่ะครับ จะหนักทางข้อ 5 ครับเกรงใจเพื่อน ไม่รู้ทำอย่างไรดีเหมือนกัน
หลวงพ่อ : ต้องเอาอย่างหลวงพ่อนะ สมัยหลวงพ่อหนุ่มๆ อย่างพวกเรา เวลาทำราชการผู้ใหญ่ชอบดื่มเหล้านะ เรียกเราไปนั่งโต๊ะเรื่อยเลย เราก็กินแต่กับแกล้มสิ เลยอ้วนท้วนแข็งแรง ให้เขาดื่มเหล้าไป เขาดื่มเหล้าเราดื่มโซดา ค่อยๆ เปลี่ยนไป พอนานๆ เขาเห็นเราไม่เอาจริงๆ นะ เขาก็ตามใจ เขาก็ ยอม ใครอยากคบเราก็คบ ใครไม่อยากคบเพราะเราไม่ดื่มเหล้า เขาไม่อยากคบก็ช่างเขาไม่เห็นจะน่าคบด้วยเลย แล้วอีกอย่างหนึ่งพอเราโตขึ้นไป ต่อไปใครมานั่งโต๊ะ เรานะไม่มีใครกล้าดื่มเหล้าเลย กลับข้างกันนะ มันอยู่ที่ความเด็ดเดี่ยวของเราด้วย อย่างสมมติเราทำธุรกิจต้องไปเลี้ยงลูกค้า ให้ลูกค้ามันดื่มเหล้าไป เราบอกเราไม่ดื่มนะ เขาไม่พอใจก็อธิบายให้เขาฟังว่า เขามาทำธุรกิจกับคนมีศีลธรรมมันดีแล้วนะ ทีหลังเขาก็เข้าใจนะ ใหม่ๆ ก็ลำบากหน่อย ศีลจำเป็นนะ คนไหนถือศีลได้มีเครดิตในตัวเอง อย่างคุยกับลูกค้าแล้วทำธุรกิจกับคนมีศีลมันสบายใจได้นะ อย่างนี้เขาก็เชื่อเราง่าย ถ้าเผื่อเราทุศีลก็โกงเขาได้ง่าย แต่อย่าไปโกงเขานะ
โยม : รู้สึกว่ายังไม่เห็นกิเลสอะไรเท่าไรค่ะ
หลวงพ่อ : แล้วเห็นอะไรบ้างล่ะ
โยม : บางวันก็รู้สึกว่าขี้เกียจบ้าง พอรู้ตัวมันก็เหนื่อย บางวันก็รู้สึกว่าวันนี้ขี้เกียจ อะไรอย่างนี้ค่ะ
หลวงพ่อ : เคยกลัวไหม
โยม : เคยค่ะ
หลวงพ่อ : เคยเกลียดไหม
โยม : เคยค่ะ
หลวงพ่อ : รู้จักกังวลไหม
โยม : รู้ค่ะ
หลวงพ่อ : เคยอิจฉาบ้างไหม บอกตรงๆ
โยม : เคยค่ะ
หลวงพ่อ : เห็นไหมว่าจริงๆ การดูจิตน่ะง่าย เพราะสภาวะทั้งหลายเป็นสภาวะที่พวกเรารู้จักอยู่แล้ว หน้าที่เราตอนนี้ก็แค่ว่า ตอนนี้สภาวะอะไรปรากฏอยู่ก็คอยรู้บ่อยๆ หน่อย ถ้ารู้บ่อยๆ หน่อยอกุศลทั้งหลายจะครอบงำเราไม่ได้ คอยรู้เรื่อยๆ นะ เด็กเล็กๆ ยังเรียนได้เลย เด็กมันก็รู้จักนะ หลวงพ่อเคยถามเด็ก รู้จักกลัวไหม รู้จัก รู้จักกังวลไหม เรานึกว่าผู้ใหญ่กังวลนะ เรานึกว่าเด็กกังวลไม่เป็น เด็กกลับรู้จักว่ากังวลเป็นอย่างไร เด็กรู้จักนะไม่ใช่ไม่กังวล อย่างพ่อแม่ ทะเลาะกันเด็กกลุ้มใจนะไม่ใช่ไม่กลุ้ม เด็กก็รู้เรื่อง ถามเด็กรู้จักอิจฉาไหม เด็กหันไปมอง น้องหน่อยหนึ่ง พอดีมีน้องมาด้วย รู้จักค่ะรู้จัก รู้สึกไหมว่าแต่ละวันรักแม่ไม่เท่ากัน คราวนี้มองหน้าแม่ไม่กล้าพูดแล้ว กลัวแม่รู้ความจริง ว่าจริงๆ แต่ละวันรักแม่ไม่เท่ากัน เด็กก็รู้นะ
เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องง่ายๆ ความรู้สึกอะไรของเราเกิดขึ้นตอนนี้ก็คอยรู้ไปเรื่อยๆ เช่นเราฟังธรรมะของหลวงพ่อพูด ฟังแล้วงงไปหมดแล้ว รู้ว่ากำลังงงอยู่ นั่นแหละเรียกว่าปฏิบัติ งงอยู่รู้ว่างง ดีใจรู้ว่าดีใจ เสียใจรู้ว่าเสียใจ กลัวรู้ว่ากลัว ความรู้สึกอะไรเกิดอยู่ก็คอยรู้ไปเรื่อย ในที่สุดเราจะเห็นเลยว่าความรู้สึกทุกชนิดเป็นของชั่วคราว เกิดขึ้นมาแล้วก็หายไป ความสุขมาแล้วก็ไป ความทุกข์มาแล้วก็ไป ทุกอย่างมาแล้วก็ไปหมดเลย เราก็จะเห็นว่าชีวิตของเรามีแต่ของชั่วคราวทั้งหมดเลย ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้ถาวร เพราะฉะนั้น ต่อไปเมื่อเราเผชิญกับความทุกข์ เราจะไม่ทุรนทุราย เรามีปัญญาแล้วรู้ว่าความทุกข์มันชั่วคราว เวลาเราไปประสบความสำเร็จ เรามีความสุขขึ้นมาเราก็ไม่หลงระเริง เราก็รู้ว่ามันชั่วคราว ใจจะค่อยเป็นกลางอยู่กับโลกอย่างมีความสุขมีความมั่นคงมากขึ้น อยู่กับโลกแบบเข้าใจโลกก็บาดเจ็บน้อยหน่อย อยู่กับโลกแบบไม่เข้าใจโลก ก็บาดเจ็บเยอะหน่อย
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
นิพพานปรากฏเมื่อใจหมดความปรุงแต่ง)