ถ้าจิตของเราหลุดพ้นจากกายจากใจแล้ว
ความทุกข์จะเข้ามาไม่ถึงจิตใจ มีแต่จะร่วงหายไป
หลังจากนั้น เราจะมีชีวิตที่ รู้ ตื่น เบิกบาน ตลอดเวลา
โดยที่ไม่ต้องประคอง ไม่ต้องรักษา
เรื่องที่ 84
หัดรู้ใจด้วยกฎของการดูจิต
ถ้าจะพูดถึงคนคอธรรมะแล้ว ไม่แคล้วที่จะสนใจเรื่องคุณภาพชีวิตควบคู่กันไปด้วย สารเพื่อนเสม ข่าวสารองค์กร เครือข่ายของ มูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป จึงเป็นจดหมายข่าวราย 2 เดือน ที่โดนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะให้ข้อมูลเกี่ยวกับตารางกิจกรรมดีๆ ครบครัน ทั้งด้านการศึกษาเพื่อชีวิต สังคม และธรรมชาติ
จากจดหมายข่าวฉบับเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2552 นี้ มีตารางกิจกรรมดีๆ มากมาย ผู้เขียนจึงคัดย่อมาแนะนำต่อใน คอลัมน์เมนูอาหารใจ ที่อยู่ข้างๆ ในหน้าเดียวกันนี้ เผื่อผู้อ่านที่สนใจ จะได้ไม่พลาดโอกาสทอง
ที่พิเศษยิ่งกว่านั้น สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกใจตนเองให้เข้าใจและเริ่มคุ้นเคยกับความตาย ด้วยการเริ่มต้นเสียแต่เนิ่นๆ เตรียมตัวเพื่อการจากไปอย่างสงบ ลองอ่านหนังสือกึ่งคู่มือเล่มนี้ดูซิคะ ก่อนวันผลัดใบ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแนะนำความรู้และวิธีการเบื้องต้นในการเผชิญหน้ากับความตายอย่างสงบตามธรรมชาติ เสริมด้วยบทความเสนอข้อเท็จจริงเชิงวิทยาศาสตร์การแพทย์ในวาระสุดท้าย หนทางสู่การตายในมิติทางจิตวิญญาณ ตลอดจนการ เตรียมตัวเตรียมใจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนผ่านในชีวิต หนังสือดีๆ อย่างนี้ไม่ได้พิมพ์ขายแต่แจกฟรี ติดต่อขอรับได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) อาคารทิศเหนือสวนสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ นนทบุรี โทร.0-2590-2304 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.thailivingwill.in.th
และขอขอบคุณผู้ที่กรุณาส่งบทความถอดเทปคำสอนของ พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ศูนย์ศึกษาปฏิบัติธรรม สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี มาให้ ท่านให้คำแนะนำกฎของการดูจิต ไว้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พุทธศักราช 2552 มีรายละเอียดช่วยสงเคราะห์ใจให้หายหลง เริ่มด้วยกฎสำคัญ 4 ข้อก่อน ทำอย่างต่อเนื่อง แล้วผลอันเป็นข้อที่ 5 จะตามมาเองค่ะ
*กฎของการดูจิต
1. อย่าอยากดู
ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วก็ค่อยรู้ เช่นโกรธขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ
โลภขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโลภ
2. ระหว่างดูให้ดูห่างๆ อย่ากระโจนลงไปดู
ไม่เหมือนดูโทรทัศน์นะ ใจไหลเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ นั่นใช้ไม่ได้ ให้ดูห่างๆ
3. เมื่อดูแล้ว ต้องไม่เข้าไปแทรกแซง
ให้รู้สภาวะทุกสิ่งทุกอย่างด้วยจิตใจที่เป็นกลาง
ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง
เช่น เราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ
หน้าที่ของเราคือ ก็แค่รู้ไปว่า จิตมันโกรธแล้วนะ ทำตัวเป็นแค่คนดูไม่เข้าไปแทรกแซง จิตโลภขึ้นมา ก็แค่รู้ว่าจิตมันโลภนะ ไม่ต้องไปหาทางทำให้หายโลภ มันมีความทุกข์ขึ้นมาเราก็รู้ว่าจิตมันมีความทุกข์ ไม่ต้องพยายามทำให้จิตให้หายทุกข์ มันมีความสุขขึ้นมาก็ไม่ต้องพยายามรักษาความสุขเอาไว้ มันมีจิตที่เป็นกุศลขึ้นมาก็ไม่ต้องพยายามรักษาไว้ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น เราแค่รู้ลูกเดียว ไม่รักษาไว้ แล้วก็ไม่ปฏิเสธ ไม่ต่อต้านมัน รู้ด้วยความเป็นกลาง จิตใจที่เป็นกลางนี้ เกิดจากการรู้ทัน ว่าจิตมันไปหลงยินดี จิตมันไปหลงยินร้าย อย่าให้มันเป็นกลางเพราะไปบังคับไว้ ไม่ใช่บังคับว่าชั้นจะต้องเป็นกลาง ถ้าบังคับเมื่อไหร่จะเครียด วิปัสสนาไม่มีคำว่าบังคับ ไม่มีคำว่าห้าม ไม่มีคำว่าต้อง มีแต่ว่ามันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น สมมติเราเห็นสาวสวยขึ้นมา ใจเรามีราคะ ไม่ต้องหาทางทำให้ราคะดับไป รู้ลูกเดียวว่าใจมีราคะ แต่ถ้าใจไม่ชอบราคะ เห็นมั้ยไม่เป็นกลาง ใจเกลียดราคะ อยากให้ราคะหายไป รู้ทันว่าใจเราเกลียดราคะ ใจเราไม่เป็นกลาง ถ้ามีความสุขเกิดขึ้น ใจเราชอบให้รู้ทันว่าใจเราชอบ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราไปรู้สภาวะรู้อารมณ์ทั้งหลายแล้วเนี่ย ใจเรายินดีขึ้นมา คือเราชอบขึ้นมาก็ให้รู้ ใจเรายินร้าย คือเกิดความเกลียดชังสภาวะนั้นขึ้นมาก็ให้รู้ ถ้ารู้ทันนะ ต่อไปใจจะค่อยๆ เป็นกลาง เราจะรู้สภาวะทั้งหลายอย่างเป็นกลาง นี่คือกฎข้อที่สาม
4. ทำบ่อยๆ
5. ถ้าทำบ่อยๆ แล้ว กฎข้อที่ห้า วันหนึ่งเราจะบรรลุมรรคผลนิพพาน
เพราะเราทำเหตุที่พอสมควรแล้ว เวลาที่เราบรรลุมรรคผลนิพพานนะ จิตใจเราจะค่อยๆ เปลี่ยนไปนะ ถึงจุดหนึ่งมันเปลี่ยนปั๊บเลย ตอนที่เกิดมรรคผล ความทุกข์ที่มีอยู่เนี่ยตกหายไปเยอะเลย เป็นลำดับๆ ไป แต่ละขั้นแต่ละภูมิ
การเรียนธรรมะนี้ ก็เพื่อวันหนึ่งเราจะไม่มีทุกข์ทางใจเกิดขึ้น วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือ หัดรู้ใจของเรา ความทุกข์มันแอบมาอยู่ในใจของเรา เรารู้ทันนะ ต่อไปความทุกข์มันจะไปเอง เราไม่ต้องไปไล่มันหรอก ถ้าเราหัดรู้ใจของเรา ใจของเรามีความรู้สึกอะไรเกิดขึ้น รู้ไปเรื่อยๆ นะ
มีกฎสามข้อของการรู้ สรุปให้อีกครั้งคือ ก่อนที่จะรู้เนี่ย อย่าไปเที่ยวแสวงหา อย่าไปดักดูไว้ก่อน ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นแล้วค่อยรู้เอา
กฎข้อที่สอง ระหว่างที่รู้เนี่ยนะ อย่ากระโจนลงไปจ้องมัน ดูห่างๆ ดูแบบคนวงนอกไม่ถลำลงไปจ้องมัน ถ้าไปจ้องเมื่อไหร่กลายเป็นสมถะเมื่อนั้น
กฎข้อที่สามคือ รู้ด้วยความเป็นกลาง ถ้าหากเรารู้สภาวะแล้วเกิดความยินดีขึ้นมาเราก็รู้ทัน เกิดความยินร้ายขึ้นมาเราก็รู้ทัน รู้ทันความยินดียินร้ายในใจของเราบ่อยๆ ต่อไปใจเราจะเป็นกลาง เป็นกลางของมันเอง ถ้าเมื่อไรเรารู้สภาวะทั้งหลายด้วยจิตใจที่เป็นกลางไปเรื่อยๆ เราจะเห็นสภาวะทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง มันเป็นยังไงเรารู้ว่าเป็นอย่างนั้นโดยที่เราไม่เข้าไปแทรกแซง
พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า เพราะรู้ตามความเป็นจริง เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายความยึดถือ เพราะคลายความยึดถือจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นจากอะไร หลุดพ้นจากความยึดถือในกายในใจนี้ ก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ไปด้วย เพราะความทุกข์นี้อาศัยอยู่ในกายในใจ
พวกเรารู้สึกมั้ย ความทุกข์ถ้าไม่อยู่ที่กายก็อยู่ที่ใจ ถ้าจิตของเราหลุดพ้นจากกายจากใจแล้วนะ ความทุกข์จะเข้ามาไม่ถึงจิตใจของเราอีกต่อไปแล้ว มีแต่จะร่วงหายไปเลย หลังจากนั้นเราจะมีชีวิตที่ รู้ ตื่น เบิกบาน ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องประคอง ไม่ต้องรักษา
เคยได้ยินใช่มั้ยว่า การศึกษาต้องทำตลอดชีวิต เพราะวิทยาการทางโลกไม่มีที่สิ้นสุด แต่การศึกษาทางธรรมะ เมื่อไรที่เราพ้นจากความยึดถือกายยึดถือใจแล้ว งานศึกษาของเราก็สำเร็จ
ผู้ที่เรียนสำเร็จแล้ว คือ พระอรหันต์ พระอรหันต์จึงชื่อว่าพระอเสขะ อเสขะ แปลว่าผู้ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไปแล้ว เพราะฉะนั้น งานในทางศาสนาพุทธ ถ้าเราเรียนรู้จนแจ่มแจ้งว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ ใจมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ แล้วไม่ต้องเรียนอีกแล้ว ความทุกข์จะเข้ามาสู่ใจไม่ได้อีกแล้ว ไม่เหมือนการศึกษาทางโลกนะ ต้องศึกษาตลอดชีวิต
ปรัชญาการศึกษาทางโลก มันจำเป็นสำหรับชาวโลก เพราะโลกนี้ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ เราก็ต้องตามเรียนรู้ให้ทันความปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ส่วนธรรมะนี้ เราเรียนจนเราพ้นจากความปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องไปเรียนอีกแล้ว เห็นมั้ยว่ามันคนละชั้นกันนะ การศึกษาทางโลกไม่มีที่สิ้นสุด แต่การศึกษาทางธรรมะมีจุดที่สิ้นสุด คือ สิ้นสุดตรงที่ใจเราพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง*
เรามาหัดรู้ใจกันเถอะ หยุดพักการปรนเปรอตนเองด้วยสิ่งปรุงแต่งต่างๆ นานากันสักระยะ ปฏิบัติตามกฎแห่งการดูจิตอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง อย่างน้อยๆ ในช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน ถ้าเข้มงวดกับตัวเองได้อย่างนี้ทุกๆ ปี ก็จะช่วยให้พ้นทุกข์เร็วขึ้น
ชีวิตอันแท้จริง ไม่ได้มีสาระสำคัญใดๆ สำคัญเท่่าการฝึกให้มีความเข้าใจว่า ไม่มีอะไรเป็นจริงเลยในโลกนี้ ที่จะทำให้เราเป็นทุกข์ ฝึกบ่อยๆ ความเป็นคนขี้ทุกข์จะเปลี่ยนไปเป็นหมดทุกข์
ขอให้เราทุกคนหมดทุกข์อันซ้ำซาก ก่อนที่เราจะเหลือ แต่ซาก !!
ความทุกข์จะเข้ามาไม่ถึงจิตใจ มีแต่จะร่วงหายไป
หลังจากนั้น เราจะมีชีวิตที่ รู้ ตื่น เบิกบาน ตลอดเวลา
โดยที่ไม่ต้องประคอง ไม่ต้องรักษา
เรื่องที่ 84
หัดรู้ใจด้วยกฎของการดูจิต
ถ้าจะพูดถึงคนคอธรรมะแล้ว ไม่แคล้วที่จะสนใจเรื่องคุณภาพชีวิตควบคู่กันไปด้วย สารเพื่อนเสม ข่าวสารองค์กร เครือข่ายของ มูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป จึงเป็นจดหมายข่าวราย 2 เดือน ที่โดนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะให้ข้อมูลเกี่ยวกับตารางกิจกรรมดีๆ ครบครัน ทั้งด้านการศึกษาเพื่อชีวิต สังคม และธรรมชาติ
จากจดหมายข่าวฉบับเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2552 นี้ มีตารางกิจกรรมดีๆ มากมาย ผู้เขียนจึงคัดย่อมาแนะนำต่อใน คอลัมน์เมนูอาหารใจ ที่อยู่ข้างๆ ในหน้าเดียวกันนี้ เผื่อผู้อ่านที่สนใจ จะได้ไม่พลาดโอกาสทอง
ที่พิเศษยิ่งกว่านั้น สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกใจตนเองให้เข้าใจและเริ่มคุ้นเคยกับความตาย ด้วยการเริ่มต้นเสียแต่เนิ่นๆ เตรียมตัวเพื่อการจากไปอย่างสงบ ลองอ่านหนังสือกึ่งคู่มือเล่มนี้ดูซิคะ ก่อนวันผลัดใบ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแนะนำความรู้และวิธีการเบื้องต้นในการเผชิญหน้ากับความตายอย่างสงบตามธรรมชาติ เสริมด้วยบทความเสนอข้อเท็จจริงเชิงวิทยาศาสตร์การแพทย์ในวาระสุดท้าย หนทางสู่การตายในมิติทางจิตวิญญาณ ตลอดจนการ เตรียมตัวเตรียมใจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนผ่านในชีวิต หนังสือดีๆ อย่างนี้ไม่ได้พิมพ์ขายแต่แจกฟรี ติดต่อขอรับได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) อาคารทิศเหนือสวนสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ นนทบุรี โทร.0-2590-2304 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.thailivingwill.in.th
และขอขอบคุณผู้ที่กรุณาส่งบทความถอดเทปคำสอนของ พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ศูนย์ศึกษาปฏิบัติธรรม สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี มาให้ ท่านให้คำแนะนำกฎของการดูจิต ไว้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พุทธศักราช 2552 มีรายละเอียดช่วยสงเคราะห์ใจให้หายหลง เริ่มด้วยกฎสำคัญ 4 ข้อก่อน ทำอย่างต่อเนื่อง แล้วผลอันเป็นข้อที่ 5 จะตามมาเองค่ะ
*กฎของการดูจิต
1. อย่าอยากดู
ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วก็ค่อยรู้ เช่นโกรธขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ
โลภขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโลภ
2. ระหว่างดูให้ดูห่างๆ อย่ากระโจนลงไปดู
ไม่เหมือนดูโทรทัศน์นะ ใจไหลเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ นั่นใช้ไม่ได้ ให้ดูห่างๆ
3. เมื่อดูแล้ว ต้องไม่เข้าไปแทรกแซง
ให้รู้สภาวะทุกสิ่งทุกอย่างด้วยจิตใจที่เป็นกลาง
ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง
เช่น เราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ
หน้าที่ของเราคือ ก็แค่รู้ไปว่า จิตมันโกรธแล้วนะ ทำตัวเป็นแค่คนดูไม่เข้าไปแทรกแซง จิตโลภขึ้นมา ก็แค่รู้ว่าจิตมันโลภนะ ไม่ต้องไปหาทางทำให้หายโลภ มันมีความทุกข์ขึ้นมาเราก็รู้ว่าจิตมันมีความทุกข์ ไม่ต้องพยายามทำให้จิตให้หายทุกข์ มันมีความสุขขึ้นมาก็ไม่ต้องพยายามรักษาความสุขเอาไว้ มันมีจิตที่เป็นกุศลขึ้นมาก็ไม่ต้องพยายามรักษาไว้ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น เราแค่รู้ลูกเดียว ไม่รักษาไว้ แล้วก็ไม่ปฏิเสธ ไม่ต่อต้านมัน รู้ด้วยความเป็นกลาง จิตใจที่เป็นกลางนี้ เกิดจากการรู้ทัน ว่าจิตมันไปหลงยินดี จิตมันไปหลงยินร้าย อย่าให้มันเป็นกลางเพราะไปบังคับไว้ ไม่ใช่บังคับว่าชั้นจะต้องเป็นกลาง ถ้าบังคับเมื่อไหร่จะเครียด วิปัสสนาไม่มีคำว่าบังคับ ไม่มีคำว่าห้าม ไม่มีคำว่าต้อง มีแต่ว่ามันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น สมมติเราเห็นสาวสวยขึ้นมา ใจเรามีราคะ ไม่ต้องหาทางทำให้ราคะดับไป รู้ลูกเดียวว่าใจมีราคะ แต่ถ้าใจไม่ชอบราคะ เห็นมั้ยไม่เป็นกลาง ใจเกลียดราคะ อยากให้ราคะหายไป รู้ทันว่าใจเราเกลียดราคะ ใจเราไม่เป็นกลาง ถ้ามีความสุขเกิดขึ้น ใจเราชอบให้รู้ทันว่าใจเราชอบ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราไปรู้สภาวะรู้อารมณ์ทั้งหลายแล้วเนี่ย ใจเรายินดีขึ้นมา คือเราชอบขึ้นมาก็ให้รู้ ใจเรายินร้าย คือเกิดความเกลียดชังสภาวะนั้นขึ้นมาก็ให้รู้ ถ้ารู้ทันนะ ต่อไปใจจะค่อยๆ เป็นกลาง เราจะรู้สภาวะทั้งหลายอย่างเป็นกลาง นี่คือกฎข้อที่สาม
4. ทำบ่อยๆ
5. ถ้าทำบ่อยๆ แล้ว กฎข้อที่ห้า วันหนึ่งเราจะบรรลุมรรคผลนิพพาน
เพราะเราทำเหตุที่พอสมควรแล้ว เวลาที่เราบรรลุมรรคผลนิพพานนะ จิตใจเราจะค่อยๆ เปลี่ยนไปนะ ถึงจุดหนึ่งมันเปลี่ยนปั๊บเลย ตอนที่เกิดมรรคผล ความทุกข์ที่มีอยู่เนี่ยตกหายไปเยอะเลย เป็นลำดับๆ ไป แต่ละขั้นแต่ละภูมิ
การเรียนธรรมะนี้ ก็เพื่อวันหนึ่งเราจะไม่มีทุกข์ทางใจเกิดขึ้น วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือ หัดรู้ใจของเรา ความทุกข์มันแอบมาอยู่ในใจของเรา เรารู้ทันนะ ต่อไปความทุกข์มันจะไปเอง เราไม่ต้องไปไล่มันหรอก ถ้าเราหัดรู้ใจของเรา ใจของเรามีความรู้สึกอะไรเกิดขึ้น รู้ไปเรื่อยๆ นะ
มีกฎสามข้อของการรู้ สรุปให้อีกครั้งคือ ก่อนที่จะรู้เนี่ย อย่าไปเที่ยวแสวงหา อย่าไปดักดูไว้ก่อน ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นแล้วค่อยรู้เอา
กฎข้อที่สอง ระหว่างที่รู้เนี่ยนะ อย่ากระโจนลงไปจ้องมัน ดูห่างๆ ดูแบบคนวงนอกไม่ถลำลงไปจ้องมัน ถ้าไปจ้องเมื่อไหร่กลายเป็นสมถะเมื่อนั้น
กฎข้อที่สามคือ รู้ด้วยความเป็นกลาง ถ้าหากเรารู้สภาวะแล้วเกิดความยินดีขึ้นมาเราก็รู้ทัน เกิดความยินร้ายขึ้นมาเราก็รู้ทัน รู้ทันความยินดียินร้ายในใจของเราบ่อยๆ ต่อไปใจเราจะเป็นกลาง เป็นกลางของมันเอง ถ้าเมื่อไรเรารู้สภาวะทั้งหลายด้วยจิตใจที่เป็นกลางไปเรื่อยๆ เราจะเห็นสภาวะทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง มันเป็นยังไงเรารู้ว่าเป็นอย่างนั้นโดยที่เราไม่เข้าไปแทรกแซง
พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า เพราะรู้ตามความเป็นจริง เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายความยึดถือ เพราะคลายความยึดถือจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นจากอะไร หลุดพ้นจากความยึดถือในกายในใจนี้ ก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ไปด้วย เพราะความทุกข์นี้อาศัยอยู่ในกายในใจ
พวกเรารู้สึกมั้ย ความทุกข์ถ้าไม่อยู่ที่กายก็อยู่ที่ใจ ถ้าจิตของเราหลุดพ้นจากกายจากใจแล้วนะ ความทุกข์จะเข้ามาไม่ถึงจิตใจของเราอีกต่อไปแล้ว มีแต่จะร่วงหายไปเลย หลังจากนั้นเราจะมีชีวิตที่ รู้ ตื่น เบิกบาน ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องประคอง ไม่ต้องรักษา
เคยได้ยินใช่มั้ยว่า การศึกษาต้องทำตลอดชีวิต เพราะวิทยาการทางโลกไม่มีที่สิ้นสุด แต่การศึกษาทางธรรมะ เมื่อไรที่เราพ้นจากความยึดถือกายยึดถือใจแล้ว งานศึกษาของเราก็สำเร็จ
ผู้ที่เรียนสำเร็จแล้ว คือ พระอรหันต์ พระอรหันต์จึงชื่อว่าพระอเสขะ อเสขะ แปลว่าผู้ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไปแล้ว เพราะฉะนั้น งานในทางศาสนาพุทธ ถ้าเราเรียนรู้จนแจ่มแจ้งว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ ใจมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ แล้วไม่ต้องเรียนอีกแล้ว ความทุกข์จะเข้ามาสู่ใจไม่ได้อีกแล้ว ไม่เหมือนการศึกษาทางโลกนะ ต้องศึกษาตลอดชีวิต
ปรัชญาการศึกษาทางโลก มันจำเป็นสำหรับชาวโลก เพราะโลกนี้ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ เราก็ต้องตามเรียนรู้ให้ทันความปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ส่วนธรรมะนี้ เราเรียนจนเราพ้นจากความปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องไปเรียนอีกแล้ว เห็นมั้ยว่ามันคนละชั้นกันนะ การศึกษาทางโลกไม่มีที่สิ้นสุด แต่การศึกษาทางธรรมะมีจุดที่สิ้นสุด คือ สิ้นสุดตรงที่ใจเราพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง*
เรามาหัดรู้ใจกันเถอะ หยุดพักการปรนเปรอตนเองด้วยสิ่งปรุงแต่งต่างๆ นานากันสักระยะ ปฏิบัติตามกฎแห่งการดูจิตอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง อย่างน้อยๆ ในช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน ถ้าเข้มงวดกับตัวเองได้อย่างนี้ทุกๆ ปี ก็จะช่วยให้พ้นทุกข์เร็วขึ้น
ชีวิตอันแท้จริง ไม่ได้มีสาระสำคัญใดๆ สำคัญเท่่าการฝึกให้มีความเข้าใจว่า ไม่มีอะไรเป็นจริงเลยในโลกนี้ ที่จะทำให้เราเป็นทุกข์ ฝึกบ่อยๆ ความเป็นคนขี้ทุกข์จะเปลี่ยนไปเป็นหมดทุกข์
ขอให้เราทุกคนหมดทุกข์อันซ้ำซาก ก่อนที่เราจะเหลือ แต่ซาก !!