เอเอฟพี - หน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ได้รับคำร้องเรียนและคำเตือนมาหลายปีเต็มที เกี่ยวกับความฉ้อฉลในการธุรกรรมของ เบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ อดีตประธานตลาดหุ้นแนสแดคและขาใหญ่รายหนึ่งแห่งวอลล์สตรีท แต่กว่าที่ผู้มีอำนาจจะหันมาสนใจจริงจัง ก็เมื่อกิจการที่เป็น "แชร์ลูกโซ่" ของเขา ถึงกาลล่มสลายลงไปแล้ว
ภายหลังการจับกุมตัวแมดอฟฟ์ในสัปดาห์ที่แล้ว รวมทั้งการค้นพบอันน่าตื่นตะลึงถึงการฉ้อโกงเป็นมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ของเขา ก็ทำให้ใครต่อใครพากันโกรธเกรี้ยว โดยที่รองจากแมดอฟฟ์แล้ว ก็จะพากันแค้นเคืองคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ(เอสอีซี)นั่นแหละ
ในระหว่างการเสนอชื่อ มารี ชาปิโร เป็นประธานคนใหม่ของเอสอีซีเมื่อวันพฤหัสบดี(18)นั้น ว่าที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ยังต้องพูดว่า ความเสียหายจากเรื่องแมดอฟฟ์ "เตือนเราให้เห็นว่าระบบนี้ยังต้องมีการปฏิรูปมากมายเพียงไร โดยเฉพาะในด้านกฏระเบียบและการกำกับดูแลตลาดต่างๆ ของเรา"
บรรดานักลงทุนและประชาชนทั้งหลายต่างก็พากันถามว่า ทำไมเอสอีซีจึงไม่สามารถจะมองเห็นการโกงระดับมโหฬารเช่นนี้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้
ยิ่งกว่านั้น ความสงสัยข้องใจเช่นนี้ยังเพิ่มทวีขึ้นอีก เมื่อมีการเปิดเผยกันว่าบุคคลบางส่วนในประชาคมการเงินของสหรัฐฯ ได้พยายามที่จะเตือนเอสอีซีมาเนิ่นนานปีแล้ว
หนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอร์นัล ฉบับวันพฤหัสบดี ได้ตีพิมพ์รายงานข่าวในหน้าแรกที่พูดถึงความพยายามของ แฮร์รี มาร์โคโปลอส ซึ่งเป็นนักลงทุนคู่แข่งของแมดอฟฟ์ ที่ผันตัวมาเป็นมือสอบสวนคดีฉ้อฉลทางการเงิน
มาร์โคโปลอสเชื่อมาตั้งแต่ต้นๆ ว่าแมดอฟฟ์นั้นกำลังบริหารการลงทุนในแบบแชร์ลูกโซ่ ที่เอาเงินของนักลงทุนรายใหม่มาจ่ายให้กับนักลงทุนรายก่อนๆ หน้า โดยมิให้นำไปลงทุนจริงๆ อย่างที่โฆษณาเอาไว้ การให้ผลตอบแทน 12% ต่อปีอย่างยาวนาน ทำให้มาร์โคโปลอสปักใจเชื่อแน่นอนว่าแมดอฟฟ์กำลังจับเสือมือเปล่า
ข้อกล่าวหาของเขาทำให้เอสอีซีเปิดการสอบปากคำแมดอฟฟ์และผู้ช่วยระดับสูงหลายคนเมื่อวันที่ 4 มกราคมปี 2006 รวมทั้งตัวแทนจาก แฟร์ฟิลด์ กรีนิช กรุ๊ปซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่ง และบัดนี้ก็กลายเป็นเหยื่อรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งไปแล้วเช่นกัน
ผลการสอบข้อเท็จจริงครั้งนั้น เอสอีซีรายงานเอาไว้ว่าตัวแมดอฟฟ์เอง "ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับลักษณะของยุทธศาสตร์การลงทุน" ที่ทำให้กับแฟร์ฟิลด์ ฟันด์ ตลอดจนลูกค้าที่เป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์รายอื่นๆ นอกจากนั้นยัง "ปิดบังพนักงานสอบสวนในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีการลงทุนของลูกค้าเหล่านี้บางราย"
แต่ในที่สุดเอสอีซีก็ปิดคดีไปโดยสรุปว่า "เนื่องจากการละเมิดระเบียบที่เกิดขึ้นไม่ร้ายแรงจนต้องทำให้เอสอีซีต้องดำเนินการตามหน้าที่ที่มีอยู่"
เมื่อวันอังคาร(16)ที่ผ่านมา ประธานเอสอีซีคนปัจจุบัน คริสโตเฟอร์ ค็อกซ์ จึงต้องประกาศให้มีการสอบสวนภายในเอสอีซีเอง เกี่ยวกับความล้มเหลวที่ไม่สามารถตรวจจับความผิดของแมดอฟฟ์ได้ แม้ว่าจะมีคำร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 1999 ก็ตาม
อดีตนักกฎหมายของเอสอีซี โรเบิร์ต ฟัสเฟลด์ ออกมาบอกกับเว็บไซต์ชื่อ "ทอล์กกิ่ง พอยต์ส เมมโม" ว่า หน่วยการคุมกฎทั้งหลายมองข้ามประเด็นผิดปกติฉกรรจ์ๆ ไปอย่างน้อยสามประเด็น นั่นคือ
--การลงทุนอันมหาศาลของแมดอฟฟ์นั้น กลับใช้ผู้ตรวจสอบบัญชี 3 รายซึ่งล้วนอยู่นอกนิวยอร์ก
--แมดอฟฟ์มีสายสัมพันธ์อันสนิทสนมกับผู้ลงทุนของเขามาก จนถึงขั้นผู้ลงทุนไม่คิดที่จะตั้งคำถามอะไรกับเขา
--ไม่มีใครเคยรู้ว่าเขาใช้แนวทางการบริหารการลงทุนอะไร
เอริน อาร์เวดลุนด์ อดีตผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์บาร์รอน จำได้ว่า เธอเคยเขียนบทความชื่อ "อย่าถาม ไม่บอก" มาตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งเป็นการตั้งคำถามว่าทำไมแมดอฟฟ์จึง "ไม่รับเงินเป็นมูลค่าถึงหลายร้อยล้านดอลลาร์" ด้วยการไม่คิดค่าบริหารการลงทุนที่พวกกองทุนทั่วไปต่างเรียกเก็บจากผู้มาลงทุน และ "ทำไมแมดอฟฟ์จึงกำชับให้นักลงทุนอย่าเปิดเผยว่านำเอาเงินมาให้เขาบริหาร และทำไมจึงไม่มีใครเข้าใจเลยว่าเขานำเงินไปลงทุนอย่างไร"
อาร์เวดลุนด์บอกว่าเธอไปถามนักวิเคราะห์จำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ และไม่มีใครที่สามารถอธิบายวิธีการของแมดอฟฟ์ได้
ในปีเดียวกันนั้น ยังมี ไมเคิล โอแครนท์ ที่เขียนลงใน "เอ็มเออาร์/เฮดจ์" จดหมายข่าวในแวดวงกองทุนเฮดจ์ฟันด์ว่า เขางงงวยเป็นอย่างยิ่งกับผลประกอบการของกองทุนแมดอฟฟ์
ภายหลังการจับกุมตัวแมดอฟฟ์ในสัปดาห์ที่แล้ว รวมทั้งการค้นพบอันน่าตื่นตะลึงถึงการฉ้อโกงเป็นมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ของเขา ก็ทำให้ใครต่อใครพากันโกรธเกรี้ยว โดยที่รองจากแมดอฟฟ์แล้ว ก็จะพากันแค้นเคืองคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ(เอสอีซี)นั่นแหละ
ในระหว่างการเสนอชื่อ มารี ชาปิโร เป็นประธานคนใหม่ของเอสอีซีเมื่อวันพฤหัสบดี(18)นั้น ว่าที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ยังต้องพูดว่า ความเสียหายจากเรื่องแมดอฟฟ์ "เตือนเราให้เห็นว่าระบบนี้ยังต้องมีการปฏิรูปมากมายเพียงไร โดยเฉพาะในด้านกฏระเบียบและการกำกับดูแลตลาดต่างๆ ของเรา"
บรรดานักลงทุนและประชาชนทั้งหลายต่างก็พากันถามว่า ทำไมเอสอีซีจึงไม่สามารถจะมองเห็นการโกงระดับมโหฬารเช่นนี้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้
ยิ่งกว่านั้น ความสงสัยข้องใจเช่นนี้ยังเพิ่มทวีขึ้นอีก เมื่อมีการเปิดเผยกันว่าบุคคลบางส่วนในประชาคมการเงินของสหรัฐฯ ได้พยายามที่จะเตือนเอสอีซีมาเนิ่นนานปีแล้ว
หนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอร์นัล ฉบับวันพฤหัสบดี ได้ตีพิมพ์รายงานข่าวในหน้าแรกที่พูดถึงความพยายามของ แฮร์รี มาร์โคโปลอส ซึ่งเป็นนักลงทุนคู่แข่งของแมดอฟฟ์ ที่ผันตัวมาเป็นมือสอบสวนคดีฉ้อฉลทางการเงิน
มาร์โคโปลอสเชื่อมาตั้งแต่ต้นๆ ว่าแมดอฟฟ์นั้นกำลังบริหารการลงทุนในแบบแชร์ลูกโซ่ ที่เอาเงินของนักลงทุนรายใหม่มาจ่ายให้กับนักลงทุนรายก่อนๆ หน้า โดยมิให้นำไปลงทุนจริงๆ อย่างที่โฆษณาเอาไว้ การให้ผลตอบแทน 12% ต่อปีอย่างยาวนาน ทำให้มาร์โคโปลอสปักใจเชื่อแน่นอนว่าแมดอฟฟ์กำลังจับเสือมือเปล่า
ข้อกล่าวหาของเขาทำให้เอสอีซีเปิดการสอบปากคำแมดอฟฟ์และผู้ช่วยระดับสูงหลายคนเมื่อวันที่ 4 มกราคมปี 2006 รวมทั้งตัวแทนจาก แฟร์ฟิลด์ กรีนิช กรุ๊ปซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่ง และบัดนี้ก็กลายเป็นเหยื่อรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งไปแล้วเช่นกัน
ผลการสอบข้อเท็จจริงครั้งนั้น เอสอีซีรายงานเอาไว้ว่าตัวแมดอฟฟ์เอง "ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับลักษณะของยุทธศาสตร์การลงทุน" ที่ทำให้กับแฟร์ฟิลด์ ฟันด์ ตลอดจนลูกค้าที่เป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์รายอื่นๆ นอกจากนั้นยัง "ปิดบังพนักงานสอบสวนในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีการลงทุนของลูกค้าเหล่านี้บางราย"
แต่ในที่สุดเอสอีซีก็ปิดคดีไปโดยสรุปว่า "เนื่องจากการละเมิดระเบียบที่เกิดขึ้นไม่ร้ายแรงจนต้องทำให้เอสอีซีต้องดำเนินการตามหน้าที่ที่มีอยู่"
เมื่อวันอังคาร(16)ที่ผ่านมา ประธานเอสอีซีคนปัจจุบัน คริสโตเฟอร์ ค็อกซ์ จึงต้องประกาศให้มีการสอบสวนภายในเอสอีซีเอง เกี่ยวกับความล้มเหลวที่ไม่สามารถตรวจจับความผิดของแมดอฟฟ์ได้ แม้ว่าจะมีคำร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 1999 ก็ตาม
อดีตนักกฎหมายของเอสอีซี โรเบิร์ต ฟัสเฟลด์ ออกมาบอกกับเว็บไซต์ชื่อ "ทอล์กกิ่ง พอยต์ส เมมโม" ว่า หน่วยการคุมกฎทั้งหลายมองข้ามประเด็นผิดปกติฉกรรจ์ๆ ไปอย่างน้อยสามประเด็น นั่นคือ
--การลงทุนอันมหาศาลของแมดอฟฟ์นั้น กลับใช้ผู้ตรวจสอบบัญชี 3 รายซึ่งล้วนอยู่นอกนิวยอร์ก
--แมดอฟฟ์มีสายสัมพันธ์อันสนิทสนมกับผู้ลงทุนของเขามาก จนถึงขั้นผู้ลงทุนไม่คิดที่จะตั้งคำถามอะไรกับเขา
--ไม่มีใครเคยรู้ว่าเขาใช้แนวทางการบริหารการลงทุนอะไร
เอริน อาร์เวดลุนด์ อดีตผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์บาร์รอน จำได้ว่า เธอเคยเขียนบทความชื่อ "อย่าถาม ไม่บอก" มาตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งเป็นการตั้งคำถามว่าทำไมแมดอฟฟ์จึง "ไม่รับเงินเป็นมูลค่าถึงหลายร้อยล้านดอลลาร์" ด้วยการไม่คิดค่าบริหารการลงทุนที่พวกกองทุนทั่วไปต่างเรียกเก็บจากผู้มาลงทุน และ "ทำไมแมดอฟฟ์จึงกำชับให้นักลงทุนอย่าเปิดเผยว่านำเอาเงินมาให้เขาบริหาร และทำไมจึงไม่มีใครเข้าใจเลยว่าเขานำเงินไปลงทุนอย่างไร"
อาร์เวดลุนด์บอกว่าเธอไปถามนักวิเคราะห์จำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ และไม่มีใครที่สามารถอธิบายวิธีการของแมดอฟฟ์ได้
ในปีเดียวกันนั้น ยังมี ไมเคิล โอแครนท์ ที่เขียนลงใน "เอ็มเออาร์/เฮดจ์" จดหมายข่าวในแวดวงกองทุนเฮดจ์ฟันด์ว่า เขางงงวยเป็นอย่างยิ่งกับผลประกอบการของกองทุนแมดอฟฟ์