เรามักได้ยินได้ฟังเสมอที่มีผู้พูดว่า “เปรียบด้วยพระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า”
ขอเน้นตรงที่ “พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า”
อันนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสจริงๆ เป็นดอก บัว ๓ เหล่า เท่านั้นครับ ๔ เหล่าไม่มี ที่ ๔ เหล่านี้เป็นเนื้อความในอรรถกถาหลายแห่ง เหมือนกันที่ท่านอธิบายบุคคล ๔ จำพวก
บุคคล ๔ จำพวกที่พระพุทธเจ้าตรัสทรงแสดงไว้ในคัมภีร์อังคุตรนิกาย จตุก- นิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๑ ข้อ ๑๓๓
ประเภทที่ ๑ อุคติตัญญู คนที่รู้อะไรได้เร็ว เพียงแต่ยกหัวข้อขึ้นแสดงก็รู้ได้ อย่างที่พระอัสสชิแสดงธรรมแก่พระสารีบุตรหรือท่านอุปติสสะ ตอนนั้นยังเป็นปริพาชก อยู่ พระอัสสชิยกหัวข้อขึ้นแสดงเพียงแต่ว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุของธรรมนั้น และความดับของธรรมเหล่านั้นเพราะเหตุดับไป พระมหาสมณะคือพระพุทธเจ้า มีปกติตรัสอย่างนี้”
เพียงเท่านี้ท่านอุปติสสะหรือพระสารีบุตรในกาลต่อมาก็ได้สำเร็จโสดาปัตติผล
ประเภทที่ ๒ วิปจิตัญญู ต้องจำแนก แจกแจงหัวข้อให้ละเอียดแล้วจึงจะเข้าใจ เพียงแต่ยกหัวข้อขึ้นแสดงไม่สามารถเข้าใจได้ ไม่สามารถจะรู้ธรรมได้ ต้องแจงหัวข้อออกไปให้ละเอียด
ประเภทที่ ๓ เนยยะ เป็นพวกที่พอแนะนำได้ เป็นเวไนยโย เป็นบุคคลที่พอแนะนำได้ ต้องคอยพร่ำสอนกันไปเรื่อยๆ บ่อยๆ
ประเภทที่ ๔ ปทปรมะ ตามตัวแปลว่ามีบทเป็นอย่างยิ่ง คือ สอนให้รู้อะไรมากไม่ได้ พอรู้ได้บ้างเล็กน้อย
นี่แหละครับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงบุคคล ๔ จำพวกเอาไว้ ทีนี้ พระอรรถกถาจารย์ไปอธิบาย ๔ จำพวกนี้เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า
บุคคลประเภทที่ ๑ อุคติตัญญูเปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้ว รอรับ แสงอาทิตย์พร้อมที่จะบาน เมื่อรับแสงอาทิตย์ก็บาน
บุคคลประเภทที่ ๒ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำ ซึ่งจะโผล่มาพ้นน้ำในวันต่อไป
บุคคลประเภทที่ ๓ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ จะโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำในวันต่อไป
บุคคลประเภทที่ ๔ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ติดตม หรือดอกบัวใต้ตม ซึ่งจะตกเป็นเหยื่อของปลาและเต่า
อันนี้เป็นคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ มีในอรรถกถาหลายแห่ง เช่น อรรถกถา-ทีฆนิกาย อรรถกถามัชฌิมนิกาย อรรถกถาสังยุตนิกาย ก็ปรากฏพระอรรถกถาจารย์อธิบายเอาไว้
แต่ที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภจริงๆ นั้น ท่านปรารภถึงดอกบัว ๓ เหล่าเท่านั้น ไม่มี เหล่าที่ ๔!!
ในวินัยปิฎกเล่ม ๔ ข้อ ๙ พระคันธรจนาจารย์ได้เล่าถึงพุทธประวัติสั้นๆย่อๆ มาถึงตรงที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาที่จะไปโปรดหมู่สัตว์ ซึ่งหมู่สัตว์ทั้งหลายมีอินทรีย์แก่บ้างอ่อนบ้าง มีปัญญาที่พอจะแนะนำได้เร็วบ้าง แนะนำได้ช้าบ้าง มีอาการดีบ้าง มีอาการทราม บ้าง พอสอนให้รู้ได้ง่ายบ้าง สอนให้รู้ได้ยากบ้าง เปรียบเหมือนดอกบัวซึ่งมี ๓ เหล่า คือ เหล่าที่ ๑ ก็โผล่ขึ้นมาพ้นน้ำ เหล่าที่ ๒ ก็อยู่ปริ่มน้ำ เหล่าที่ ๓ ก็อยู่ใต้น้ำ มีเท่านี้ครับ ดอกบัวที่อยู่ติดตมไม่มี พระพุทธเจ้าไม่เคยปรารภ ไม่เคยตรัสถึง ไม่เคยพูดถึง
ทีนี้ในพระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ข้อ ๓๒๓ ชื่อปาสราสิสูตร พระพุทธเจ้าทรงเล่าเอง ทรงเล่าความเป็นมาของพระองค์ตั้งแต่ปรารภที่จะเสด็จออกบรรพชา เรื่อยมาจนถึงตรงนี้ คือ ทรงปรารภจะโปรดสัตว์ พระพรหมมาอารธนาให้แสดงธรรม ในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๓ ข้อ ๑๑๕ ก็ มีข้อความเหมือนกัน และปรากฏในสังยุตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๕๕๗ อันนี้ พระคันธรจนาจารย์เป็นผู้เล่า
ตกลงว่าที่พระพุทธเจ้าทรงเล่ามี ๒ แห่ง คือในปาสราสิสูตร พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ กับโพธิราชกุมารสูตร พระไตรปิฎกเล่ม ๑๓ นอกนั้นเป็นคำที่พระคันธรจนาจารย์ผู้รจนา คัมภีร์ได้เล่าเอาไว้ แต่เนื้อหาเหมือนกันทั้ง ๔ แห่ง ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้เพียงแต่ปรากฏอยู่ในที่ต่างกัน พระพุทธเจ้าทรงเล่าเองบ้าง พระคันธรจนาจารย์เป็นผู้เล่าบ้าง
คราวนี้ลองมาพิเคราะห์ดูที่เราพูดกันทั่วไปเกือบจะทั้งบ้านทั้งเมือง “พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเปรียบเหมือนดอกบัว 4 เหล่า” นี่ก็คงเอามาจากอรรถกถาที่พระพุทธเจ้า ตรัสจริงๆ หรือแม้แต่พระคันธรจนาจารย์ เล่า แต่ปรารภว่าพระพุทธเจ้าทรงปรารภก็จะเป็นดอกบัว ๓ เหล่าตลอด ไม่เป็นดอกบัว ๔ เหล่า
ผมมาวินิจฉัยตรงปทปรมะ ที่เปรียบเหมือนดอกบัวที่ติดตม มีแต่จะเป็นเหยื่อของปลาและเต่าตามที่ว่าไว้ในอรรถกถา สำหรับดอกบัวนั้นเป็นไปได้ที่มันอยู่ติดตม ก็จะเป็นเหยื่อของปลาและเต่า แต่พอเรามาพิจารณาถึงบุคคล บุคคลที่เกิดมาแล้วพัฒนาได้ มันจะไม่สูญไปเลยเหมือนดอกบัวเหล่าที่ ๔ ดอกบัวเหล่าที่ ๔ พอปลาหรือเต่ากินแล้วมันก็จะสูญไปเลย
แต่บุคคลประเภทปทปรมะนี้ไม่ได้หมายความว่าให้เราทิ้งบุคคลประเภทนี้ สอนได้ ยาก รู้อะไรได้ยาก แต่สอนได้ คนทุกจำพวกสอนได้ จะสอนได้เร็ว สอนได้ปานกลาง หรือสอนได้ช้าก็ตาม สมมติว่าในชาตินี้เขาเกิดมาเป็นปทปรมะ รู้อะไรได้ช้า สอนให้รู้ได้ช้า แต่ในโอกาสต่อไปเขาค่อยๆพัฒนาขึ้นทีละน้อยๆ เขากลายเป็นคนฉลาดได้ คือมนุษย์เรานี้บางชาติก็ฉลาด บางชาติก็โง่ ดูตัวอย่างพระจูฬปันถก บางชาติก็ฉลาด บางชาติก็โง่แสนโง่ ในชาติที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็โง่เหลือเกินเกือบจะเป็นปทปรมะทีเดียว แต่เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงโปรดให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงบุคคลประเภทที่ ๔ คือปทปรมะก็จริง แต่ไม่น่าจะเปรียบด้วยดอกบัวเหล่าที่ ๔ ซึ่งจะต้องเป็นเหยื่อของปลาและเต่า เพราะว่าดอกบัวเกิดมาแล้วอยู่ติดตม และถ้าเป็นอาหารของปลาและเต่าแล้วก็หายไปเลย ปรากฏอีกไม่ได้ แต่คนเราพัฒนาได้ อย่างที่ผมเรียนแล้วว่า บางชาติจะเป็นคนโง่ บางชาติจะเป็นคนฉลาด หรือคนที่โง่มาก่อน ถ้าพัฒนาให้ถูกต้องก็จะค่อยๆ ฉลาดขึ้นได้ทำนองนี้ ทางพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เราทอดทิ้งบุคคลประเภทนี้ แต่ให้ค่อยๆ สอนไป แล้วเขาก็จะดีได้เหมือนกัน อันนี้เป็นวินิจฉัยของผมครับสำหรับเรื่องดอกบัว ๓ เหล่า หรือดอกบัว ๔ เหล่า
ขอได้โปรดจำไว้เพียงว่า อย่าพูดว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่าบุคคลเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า ถ้าเปรียบด้วยดอกบัวก็เปรียบด้วยดอกบัว ๓ เหล่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสว่าบุคคลเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า แต่ถ้าจะพูดว่าเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า ก็ไม่พูดว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัส เป็นแต่เพียงว่าเป็นข้อความที่ปรากฏในอรรถกถา
ทั้งนี้ขอเสนอให้เป็นแง่คิดเอาไว้นะครับ เรื่องดอกบัว ๓ เหล่า หรือ ๔ เหล่า ที่ถูกต้อง
(จากหนังสือสิ่งที่ควรทำความเข้าใจกันใหม่ เพื่อความถูกต้อง)
(จาก ธรรมลีลา ฉบับ 104 กรกฎาคม 52 โดยอาจารย์วศิน อินทสระ)
ขอเน้นตรงที่ “พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า”
อันนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสจริงๆ เป็นดอก บัว ๓ เหล่า เท่านั้นครับ ๔ เหล่าไม่มี ที่ ๔ เหล่านี้เป็นเนื้อความในอรรถกถาหลายแห่ง เหมือนกันที่ท่านอธิบายบุคคล ๔ จำพวก
บุคคล ๔ จำพวกที่พระพุทธเจ้าตรัสทรงแสดงไว้ในคัมภีร์อังคุตรนิกาย จตุก- นิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๑ ข้อ ๑๓๓
ประเภทที่ ๑ อุคติตัญญู คนที่รู้อะไรได้เร็ว เพียงแต่ยกหัวข้อขึ้นแสดงก็รู้ได้ อย่างที่พระอัสสชิแสดงธรรมแก่พระสารีบุตรหรือท่านอุปติสสะ ตอนนั้นยังเป็นปริพาชก อยู่ พระอัสสชิยกหัวข้อขึ้นแสดงเพียงแต่ว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุของธรรมนั้น และความดับของธรรมเหล่านั้นเพราะเหตุดับไป พระมหาสมณะคือพระพุทธเจ้า มีปกติตรัสอย่างนี้”
เพียงเท่านี้ท่านอุปติสสะหรือพระสารีบุตรในกาลต่อมาก็ได้สำเร็จโสดาปัตติผล
ประเภทที่ ๒ วิปจิตัญญู ต้องจำแนก แจกแจงหัวข้อให้ละเอียดแล้วจึงจะเข้าใจ เพียงแต่ยกหัวข้อขึ้นแสดงไม่สามารถเข้าใจได้ ไม่สามารถจะรู้ธรรมได้ ต้องแจงหัวข้อออกไปให้ละเอียด
ประเภทที่ ๓ เนยยะ เป็นพวกที่พอแนะนำได้ เป็นเวไนยโย เป็นบุคคลที่พอแนะนำได้ ต้องคอยพร่ำสอนกันไปเรื่อยๆ บ่อยๆ
ประเภทที่ ๔ ปทปรมะ ตามตัวแปลว่ามีบทเป็นอย่างยิ่ง คือ สอนให้รู้อะไรมากไม่ได้ พอรู้ได้บ้างเล็กน้อย
นี่แหละครับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงบุคคล ๔ จำพวกเอาไว้ ทีนี้ พระอรรถกถาจารย์ไปอธิบาย ๔ จำพวกนี้เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า
บุคคลประเภทที่ ๑ อุคติตัญญูเปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้ว รอรับ แสงอาทิตย์พร้อมที่จะบาน เมื่อรับแสงอาทิตย์ก็บาน
บุคคลประเภทที่ ๒ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำ ซึ่งจะโผล่มาพ้นน้ำในวันต่อไป
บุคคลประเภทที่ ๓ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ จะโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำในวันต่อไป
บุคคลประเภทที่ ๔ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ติดตม หรือดอกบัวใต้ตม ซึ่งจะตกเป็นเหยื่อของปลาและเต่า
อันนี้เป็นคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ มีในอรรถกถาหลายแห่ง เช่น อรรถกถา-ทีฆนิกาย อรรถกถามัชฌิมนิกาย อรรถกถาสังยุตนิกาย ก็ปรากฏพระอรรถกถาจารย์อธิบายเอาไว้
แต่ที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภจริงๆ นั้น ท่านปรารภถึงดอกบัว ๓ เหล่าเท่านั้น ไม่มี เหล่าที่ ๔!!
ในวินัยปิฎกเล่ม ๔ ข้อ ๙ พระคันธรจนาจารย์ได้เล่าถึงพุทธประวัติสั้นๆย่อๆ มาถึงตรงที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาที่จะไปโปรดหมู่สัตว์ ซึ่งหมู่สัตว์ทั้งหลายมีอินทรีย์แก่บ้างอ่อนบ้าง มีปัญญาที่พอจะแนะนำได้เร็วบ้าง แนะนำได้ช้าบ้าง มีอาการดีบ้าง มีอาการทราม บ้าง พอสอนให้รู้ได้ง่ายบ้าง สอนให้รู้ได้ยากบ้าง เปรียบเหมือนดอกบัวซึ่งมี ๓ เหล่า คือ เหล่าที่ ๑ ก็โผล่ขึ้นมาพ้นน้ำ เหล่าที่ ๒ ก็อยู่ปริ่มน้ำ เหล่าที่ ๓ ก็อยู่ใต้น้ำ มีเท่านี้ครับ ดอกบัวที่อยู่ติดตมไม่มี พระพุทธเจ้าไม่เคยปรารภ ไม่เคยตรัสถึง ไม่เคยพูดถึง
ทีนี้ในพระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ข้อ ๓๒๓ ชื่อปาสราสิสูตร พระพุทธเจ้าทรงเล่าเอง ทรงเล่าความเป็นมาของพระองค์ตั้งแต่ปรารภที่จะเสด็จออกบรรพชา เรื่อยมาจนถึงตรงนี้ คือ ทรงปรารภจะโปรดสัตว์ พระพรหมมาอารธนาให้แสดงธรรม ในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๓ ข้อ ๑๑๕ ก็ มีข้อความเหมือนกัน และปรากฏในสังยุตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๕๕๗ อันนี้ พระคันธรจนาจารย์เป็นผู้เล่า
ตกลงว่าที่พระพุทธเจ้าทรงเล่ามี ๒ แห่ง คือในปาสราสิสูตร พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ กับโพธิราชกุมารสูตร พระไตรปิฎกเล่ม ๑๓ นอกนั้นเป็นคำที่พระคันธรจนาจารย์ผู้รจนา คัมภีร์ได้เล่าเอาไว้ แต่เนื้อหาเหมือนกันทั้ง ๔ แห่ง ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้เพียงแต่ปรากฏอยู่ในที่ต่างกัน พระพุทธเจ้าทรงเล่าเองบ้าง พระคันธรจนาจารย์เป็นผู้เล่าบ้าง
คราวนี้ลองมาพิเคราะห์ดูที่เราพูดกันทั่วไปเกือบจะทั้งบ้านทั้งเมือง “พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเปรียบเหมือนดอกบัว 4 เหล่า” นี่ก็คงเอามาจากอรรถกถาที่พระพุทธเจ้า ตรัสจริงๆ หรือแม้แต่พระคันธรจนาจารย์ เล่า แต่ปรารภว่าพระพุทธเจ้าทรงปรารภก็จะเป็นดอกบัว ๓ เหล่าตลอด ไม่เป็นดอกบัว ๔ เหล่า
ผมมาวินิจฉัยตรงปทปรมะ ที่เปรียบเหมือนดอกบัวที่ติดตม มีแต่จะเป็นเหยื่อของปลาและเต่าตามที่ว่าไว้ในอรรถกถา สำหรับดอกบัวนั้นเป็นไปได้ที่มันอยู่ติดตม ก็จะเป็นเหยื่อของปลาและเต่า แต่พอเรามาพิจารณาถึงบุคคล บุคคลที่เกิดมาแล้วพัฒนาได้ มันจะไม่สูญไปเลยเหมือนดอกบัวเหล่าที่ ๔ ดอกบัวเหล่าที่ ๔ พอปลาหรือเต่ากินแล้วมันก็จะสูญไปเลย
แต่บุคคลประเภทปทปรมะนี้ไม่ได้หมายความว่าให้เราทิ้งบุคคลประเภทนี้ สอนได้ ยาก รู้อะไรได้ยาก แต่สอนได้ คนทุกจำพวกสอนได้ จะสอนได้เร็ว สอนได้ปานกลาง หรือสอนได้ช้าก็ตาม สมมติว่าในชาตินี้เขาเกิดมาเป็นปทปรมะ รู้อะไรได้ช้า สอนให้รู้ได้ช้า แต่ในโอกาสต่อไปเขาค่อยๆพัฒนาขึ้นทีละน้อยๆ เขากลายเป็นคนฉลาดได้ คือมนุษย์เรานี้บางชาติก็ฉลาด บางชาติก็โง่ ดูตัวอย่างพระจูฬปันถก บางชาติก็ฉลาด บางชาติก็โง่แสนโง่ ในชาติที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็โง่เหลือเกินเกือบจะเป็นปทปรมะทีเดียว แต่เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงโปรดให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงบุคคลประเภทที่ ๔ คือปทปรมะก็จริง แต่ไม่น่าจะเปรียบด้วยดอกบัวเหล่าที่ ๔ ซึ่งจะต้องเป็นเหยื่อของปลาและเต่า เพราะว่าดอกบัวเกิดมาแล้วอยู่ติดตม และถ้าเป็นอาหารของปลาและเต่าแล้วก็หายไปเลย ปรากฏอีกไม่ได้ แต่คนเราพัฒนาได้ อย่างที่ผมเรียนแล้วว่า บางชาติจะเป็นคนโง่ บางชาติจะเป็นคนฉลาด หรือคนที่โง่มาก่อน ถ้าพัฒนาให้ถูกต้องก็จะค่อยๆ ฉลาดขึ้นได้ทำนองนี้ ทางพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เราทอดทิ้งบุคคลประเภทนี้ แต่ให้ค่อยๆ สอนไป แล้วเขาก็จะดีได้เหมือนกัน อันนี้เป็นวินิจฉัยของผมครับสำหรับเรื่องดอกบัว ๓ เหล่า หรือดอกบัว ๔ เหล่า
ขอได้โปรดจำไว้เพียงว่า อย่าพูดว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่าบุคคลเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า ถ้าเปรียบด้วยดอกบัวก็เปรียบด้วยดอกบัว ๓ เหล่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสว่าบุคคลเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า แต่ถ้าจะพูดว่าเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า ก็ไม่พูดว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัส เป็นแต่เพียงว่าเป็นข้อความที่ปรากฏในอรรถกถา
ทั้งนี้ขอเสนอให้เป็นแง่คิดเอาไว้นะครับ เรื่องดอกบัว ๓ เหล่า หรือ ๔ เหล่า ที่ถูกต้อง
(จากหนังสือสิ่งที่ควรทำความเข้าใจกันใหม่ เพื่อความถูกต้อง)
(จาก ธรรมลีลา ฉบับ 104 กรกฎาคม 52 โดยอาจารย์วศิน อินทสระ)