สวัสดีค่ะ มาพบกันอีกครั้งแล้วนะคะ ครั้งนี้ ‘ป้าบัว’ นำเรื่องราวของ “โยเกิร์ต” (yoghurt) อาหารที่เป็นยาอายุวัฒนะมาฝากกันค่ะ ตำรับอาหารนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศบัลแกเรีย เป็นอาหารของ ชนเผ่าทราเซียน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษเก่าแก่ที่สุดของชาวบัลแกเรีย
นมเปรี้ยว หรือ โยเกิร์ต ซึ่งภาษาอังกฤษ ใข้คำว่า yoghurt เรียกทั้งนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัสเป็นหลัก ใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยย่อย น้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติค ทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยว นมเปรี้ยว มี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกมีลักษณะเป็นน้ำ เรียกว่านมเปรี้ยว อีกชนิดหนึ่งมีลักษณะเหลวข้นเรียกว่า โยเกิร์ต
อิลยา เมชนิกอฟ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่ได้รับรางวัลโนเบลปี 1908 ซึ่งเคยปฏิบัติงานอยู่ ณ สถาบันปลาสเตอร์ที่กรุงปารีส ได้รวบรวมและศึกษาสถิติจาก 36 ประเทศ พบว่ามีผู้ที่อายุเกิน 100 ปี อาศัยอยู่ในบัลแกเรียมากกว่าประเทศอื่น เขาจึงเชื่อว่าเป็นผลจากโยเกิร์ต ที่เป็นอาหารประจำวันนั่นเอง และเขาได้กล่าวไว้ว่า “โยเกิร์ต คือยาอายุวัฒนะสำหรับมนุษย์”
และจากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ก็พิสูจน์ว่าโยเกิร์ตมีส่วนช่วยรักษาสุขภาพโดยการปกป้องร่างกายจากสารพิษ เชื้อโรค สารกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ แม้กระทั่งมะเร็งบางชนิด
คุณค่าของโยเกิร์ตต่อสุขภาพ
1. ช่วยในระบบการย่อยอาหาร เนื่องจากแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสจะช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดภาวะที่มีปริมาณแลคโตสมากเกินไปและช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในคนที่ไม่สามารถ ย่อยนมได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารที่ลำไส้และช่วยกระตุ้นการบีบตัวของทาง เดินอาหารที่เป็นกลไกตามธรรมชาติ ทำให้อาหารเคลื่อนผ่านสู่ลำไส้ได้ดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆที่บริเวณลำไส้
2. ช่วยให้การดูดซึมแร่ธาตุต่างๆดีขึ้น โยเกิร์ตจะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและวิตามินบี นอก จากนี้กรดแลคติกในโยเกิร์ตยังช่วยย่อยแคลเซียมในนม ทำให้ดูดซึมง่ายขึ้น
3. กระตุ้นระบบภูมิต้านทาน แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสจะยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและเชื้อรา นอกจากนี้ยังสร้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ
4. ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากการศึกษา พบว่าการบริโภคโยเกิร์ตวันละ 2 ถ้วยเป็นประจำ ตลอดเวลา 3 เดือนพบว่า ระดับอินเตอร์เฟอรอนซึ่งเป็นสารในระบบภูมิคุ้มกันมีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการทำลายเชื้อโรค
5. เป็นแหล่งแคลเซียม ในโยเกิร์ต 8 ออนซ์จะมีแคลเซียมมากถึง 450 มิลลิกรัม และเนื่องจากแบคทีเรียในโยเกิร์ตจะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมเป็นไปได้มากขึ้น ดังนั้น การกินโยเกิร์ตจะทำให้ได้รับแคลเซียมมากกว่าการกินนมในปริมาณเท่ากัน
6. เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ในโยเกิร์ต 8 ออนซ์ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 10-14 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณเท่ากับ 20% ของความต้องการโปรตีนในแต่ละวัน และยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายด้วย
7. ต้านสารก่อมะเร็ง แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสสามารถจับกับสารก่อมะเร็ง ทำให้สารดังกล่าวไม่สามารถทำอันตรายกับเซลล์ร่างกายได้ ตลอดจนสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ผลิตสารไนเตรต(เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง) และแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสยังทำปฏิกิริยากับสารฟลาโวนอยด์ทำให้เกิดสารธรรมชาติที่สามารถต้านมะเร็งได้ดี
8. ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล จากการศึกษาพบ ว่าโยเกิร์ตสามารถลดปริมาณโคเลสเตอรอลได้
9. ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ แลคโตบาซิลัสจะช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอลและกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด
วิธีเลือกซื้อโยเกิร์ต
1. โยเกิร์ตที่ดีที่สุดคือรสธรรมชาติ เนื่องจากประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญเพียง 2 อย่าง คือ เชื้อจุลินทรีย์และนม แต่ในโยเกิร์ตรสอื่นจะมีการปรับปรุงรสชาติให้หวานขึ้นด้วยการเติมน้ำตาล นั่นหมายถึงว่าคุณจะได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย(ทั้งนี้เราสามารถเพิ่มรสชาติให้กับโยเกิร์ตรสธรรมชาติของเราได้ด้วยการเติมผลไม้ต่างๆ ลงไปขณะรับประทาน)
2. ปริมาณแคลเซียม โยเกิร์ตที่ดีควรมีปริมาณแคลเซียม 35-40% ต่อปริมาณที่แนะนำข้างถ้วยโยเกิร์ต ขนาด 8 ออนซ์ และไม่ควรต่ำกว่า 30%
3. ไม่ควรบริโภคโยเกิร์ตที่ผ่านขบวนการพาสเจอร์ไรซ์ หลังจากที่เติมเชื้อจุลินทรีย์แล้ว ซึ่งจะทำให้ คุณค่าทางอาหารลดลง เนื่องจากการพาสเจอไรซ์จะทำลายจุลินทรีย์และเอนไซม์แลคเตส
ปัจจุบันในท้องตลาดมีโยเกิร์ตหลากหลายยี่ห้อให้เลือก รวมทั้งยังมีอาหารอื่นๆที่ใช้โยเกิร์ตเป็นส่วนประกอบ เช่น ไอศกรีม เค้ก เป็นต้น ชอบแบบข้นหรือแบบน้ำก็ตามสะดวกค่ะ
นมเปรี้ยว หรือ โยเกิร์ต ซึ่งภาษาอังกฤษ ใข้คำว่า yoghurt เรียกทั้งนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัสเป็นหลัก ใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยย่อย น้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติค ทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยว นมเปรี้ยว มี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกมีลักษณะเป็นน้ำ เรียกว่านมเปรี้ยว อีกชนิดหนึ่งมีลักษณะเหลวข้นเรียกว่า โยเกิร์ต
อิลยา เมชนิกอฟ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่ได้รับรางวัลโนเบลปี 1908 ซึ่งเคยปฏิบัติงานอยู่ ณ สถาบันปลาสเตอร์ที่กรุงปารีส ได้รวบรวมและศึกษาสถิติจาก 36 ประเทศ พบว่ามีผู้ที่อายุเกิน 100 ปี อาศัยอยู่ในบัลแกเรียมากกว่าประเทศอื่น เขาจึงเชื่อว่าเป็นผลจากโยเกิร์ต ที่เป็นอาหารประจำวันนั่นเอง และเขาได้กล่าวไว้ว่า “โยเกิร์ต คือยาอายุวัฒนะสำหรับมนุษย์”
และจากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ก็พิสูจน์ว่าโยเกิร์ตมีส่วนช่วยรักษาสุขภาพโดยการปกป้องร่างกายจากสารพิษ เชื้อโรค สารกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ แม้กระทั่งมะเร็งบางชนิด
คุณค่าของโยเกิร์ตต่อสุขภาพ
1. ช่วยในระบบการย่อยอาหาร เนื่องจากแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสจะช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดภาวะที่มีปริมาณแลคโตสมากเกินไปและช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในคนที่ไม่สามารถ ย่อยนมได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารที่ลำไส้และช่วยกระตุ้นการบีบตัวของทาง เดินอาหารที่เป็นกลไกตามธรรมชาติ ทำให้อาหารเคลื่อนผ่านสู่ลำไส้ได้ดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆที่บริเวณลำไส้
2. ช่วยให้การดูดซึมแร่ธาตุต่างๆดีขึ้น โยเกิร์ตจะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและวิตามินบี นอก จากนี้กรดแลคติกในโยเกิร์ตยังช่วยย่อยแคลเซียมในนม ทำให้ดูดซึมง่ายขึ้น
3. กระตุ้นระบบภูมิต้านทาน แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสจะยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและเชื้อรา นอกจากนี้ยังสร้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ
4. ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากการศึกษา พบว่าการบริโภคโยเกิร์ตวันละ 2 ถ้วยเป็นประจำ ตลอดเวลา 3 เดือนพบว่า ระดับอินเตอร์เฟอรอนซึ่งเป็นสารในระบบภูมิคุ้มกันมีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการทำลายเชื้อโรค
5. เป็นแหล่งแคลเซียม ในโยเกิร์ต 8 ออนซ์จะมีแคลเซียมมากถึง 450 มิลลิกรัม และเนื่องจากแบคทีเรียในโยเกิร์ตจะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมเป็นไปได้มากขึ้น ดังนั้น การกินโยเกิร์ตจะทำให้ได้รับแคลเซียมมากกว่าการกินนมในปริมาณเท่ากัน
6. เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ในโยเกิร์ต 8 ออนซ์ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 10-14 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณเท่ากับ 20% ของความต้องการโปรตีนในแต่ละวัน และยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายด้วย
7. ต้านสารก่อมะเร็ง แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสสามารถจับกับสารก่อมะเร็ง ทำให้สารดังกล่าวไม่สามารถทำอันตรายกับเซลล์ร่างกายได้ ตลอดจนสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ผลิตสารไนเตรต(เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง) และแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสยังทำปฏิกิริยากับสารฟลาโวนอยด์ทำให้เกิดสารธรรมชาติที่สามารถต้านมะเร็งได้ดี
8. ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล จากการศึกษาพบ ว่าโยเกิร์ตสามารถลดปริมาณโคเลสเตอรอลได้
9. ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ แลคโตบาซิลัสจะช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอลและกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด
วิธีเลือกซื้อโยเกิร์ต
1. โยเกิร์ตที่ดีที่สุดคือรสธรรมชาติ เนื่องจากประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญเพียง 2 อย่าง คือ เชื้อจุลินทรีย์และนม แต่ในโยเกิร์ตรสอื่นจะมีการปรับปรุงรสชาติให้หวานขึ้นด้วยการเติมน้ำตาล นั่นหมายถึงว่าคุณจะได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย(ทั้งนี้เราสามารถเพิ่มรสชาติให้กับโยเกิร์ตรสธรรมชาติของเราได้ด้วยการเติมผลไม้ต่างๆ ลงไปขณะรับประทาน)
2. ปริมาณแคลเซียม โยเกิร์ตที่ดีควรมีปริมาณแคลเซียม 35-40% ต่อปริมาณที่แนะนำข้างถ้วยโยเกิร์ต ขนาด 8 ออนซ์ และไม่ควรต่ำกว่า 30%
3. ไม่ควรบริโภคโยเกิร์ตที่ผ่านขบวนการพาสเจอร์ไรซ์ หลังจากที่เติมเชื้อจุลินทรีย์แล้ว ซึ่งจะทำให้ คุณค่าทางอาหารลดลง เนื่องจากการพาสเจอไรซ์จะทำลายจุลินทรีย์และเอนไซม์แลคเตส
ปัจจุบันในท้องตลาดมีโยเกิร์ตหลากหลายยี่ห้อให้เลือก รวมทั้งยังมีอาหารอื่นๆที่ใช้โยเกิร์ตเป็นส่วนประกอบ เช่น ไอศกรีม เค้ก เป็นต้น ชอบแบบข้นหรือแบบน้ำก็ตามสะดวกค่ะ