การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” หรือ “Aged Society” ในปัจจุบันได้กลายเป็นประเด็นปัญหาที่ทั่วโลกต่างจับจ้องและให้ความสนใจกับกระแสดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผลกระทบ อย่างกว้างขวางทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่มีแนวโน้มลดลงเป็นเงาตามตัวและส่งผลกระทบต่อรายได้ต่อหัวของประชากร การออมและการลงทุน งบประมาณของรัฐบาล ตลาดผลิตภัณฑ์และบริการด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพฯลฯ ด้วยเหตุนี้ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้จึงพากันตื่นตัวและเตรียมแผนรองรับสถานการณ์นี้อย่างเร่งด่วน
• ผลสำรวจพบหญิงอายุยืนกว่าชาย
นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ประชากรมี อายุยืนยาวขึ้น ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการวางแผนครอบครัวตั้งแต่ปี 2525 จึงทำให้อัตราการเกิดลดลง สัดส่วนของผู้สูงอายุจึงมากขึ้นตามลำดับ และมีอายุคาดเฉลี่ย(Life Expectancy) เพิ่มสูงขึ้น โดยเพศชายจะมีอายุคาดเฉลี่ยประมาณ 69 ปี ขณะที่เพศหญิงจะมีอายุคาดเฉลี่ยประมาณ 75 ปี
• 2573 คนแก่ครองเมือง
นอกจากนี้ จากการสำรวจของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)พบว่า ในปี 2547 กลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเริ่มมีสัดส่วนมากกว่า 10% และเพิ่มขึ้นเป็น 11% หรือประมาณ 7 ล้านคนในปัจจุบัน ซึ่งคาดการณ์ว่า ในปี 2567 หรือในอีก 15 ปีข้างหน้า ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนมาก กว่า 20% ซึ่งจะเท่ากับสัดส่วนของกลุ่มเด็ก และในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของกลุ่ม เด็ก หรือประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ
• สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย
จำนวนและร้อยละของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2553 จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ และอัตราส่วนเพศทั่วราชอาณาจักร
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยได้ก้าวย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ ปลายปี 2547 เช่นเดียวกับในหลายประเทศทั่วโลกที่มีความก้าวหน้าทางการแพทย์ ซึ่งในเรื่องนี้สหประชาชาติ ได้ให้นิยามว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกิน 10% หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกิน 7% ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี เพิ่มเป็น 20% และอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 14%
“การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิงหรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น ฉะนั้น หมายถึง งบประมาณมหาศาลที่จะต้องนำมาดูแลคนทั้งสองกลุ่ม ซึ่งถือเป็นภาระหนักหน่วงที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่เช่นเดียวกับเรา ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในแถบยุโรปหลายประเทศ หรือประเทศสหรัฐอเมริกา แม้กระทั่งญี่ปุ่นเอง ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ โดยมีการวางแผนให้ประชาชนของเขาทุกคนมีเงินออมตั้งแต่วัยทำงาน เพื่อให้ประชาชนของเขามีเงินเลี้ยงดูตนเองเมื่อถึงวัยเกษียณ โดยรัฐบาลจะจ่ายสมทบให้เดือนละ 5 หมื่นเยนทุกเดือน รวมถึงมีการเตรียมความพร้อมด้านสถานพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มเติมในทุกเมือง
เช่นเดียวกับการปรับภูมิทัศน์ทางเดิน ตลอดจนถนนหนทางให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นมากนัก ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่เราก็ได้เตรียมนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราบ้าง เพราะประเทศไทยเราตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่น เพียงแต่ที่ผ่านมาเรายังไม่มีข้อมูลของกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างเพียงพอสำหรับการวางแผน เพราะกลุ่มผู้สูงอายุของเราส่วนใหญ่จะอยู่ในชนบทมากกว่าในเมือง
ดังนั้น เราจึงได้เริ่มสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง หลังจาก ที่คณะผู้แทนของรัฐบาลไทยได้ไปเข้าร่วมการประชุมผู้สูงอายุโลก หรือที่เรียกว่า การประชุม “Assembly On Aging” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 2525 ซึ่งเป็นการจัดประชุมร่วมกันทั่วโลก หลังจากที่เล็งเห็นว่าต่อไปในอนาคตผู้สูงอายุจะกลายเป็นปัญหาของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งยูเอ็นได้แนะนำให้จัดทำแผนผู้สูงอายุ และเสนอให้มีคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อจัดทำแผนดังกล่าว แต่แผนฉบับแรก ยังไม่ค่อยดีนักเนื่องจากข้อมูลไม่ครบถ้วน ดังนั้น จึงมีการจัดทำแผนที่ 2 ในปี 2545 ซึ่งเป็นแผนผู้สูงอายุที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยสาระสำคัญนั้นเน้นการประกันสุขภาพผู้สูงอายุของไทยให้ครบร้อยเปอร์เซ็นต์ และการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ” นพ.บรรลุ กล่าว
• ประธาน มส.ผส.ระบุ ปัญหาคนแก่ต้องรีบแก้
นอกจากนี้ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ยังกล่าวด้วยว่า การเตรียมพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสำคัญและละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ดังนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย และ จะต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้ เพราะมาตรการเกือบทุกอย่างล้วนต้องใช้เวลาในการดำเนินการนานกว่าจะออกผล ซึ่งจะทำให้บรรยากาศการแข่งขันด้านการค้าและผลผลิตของประเทศเกิดภาวะสูญญากาศทางด้านการแข่งขัน เพราะมีประชากรที่อยู่ในภาวะ พึ่งพิงมากกว่าวัยทำงาน ขณะเดียวกันก็จะต้องสร้างจิตสำนึกให้คนวัยหนุ่มสาวรู้จักการออมและใช้ชีวิตอย่างมีสติ รู้จักที่จะเริ่มต้นดูแลชีวิตและสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่ เสมอ เพื่อที่เมื่อถึงวัยที่ก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะได้เป็นผู้สูงอายุที่เป็นพลังมากกว่าเป็นภาระของครอบครัวและประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม เป้าหมายระยะยาวของการพัฒนาผู้สูงอายุ ไม่ใช่การหาทางช่วยเหลือผู้สูงอายุ เพราะนั่นเป็นการมองอนาคตว่าจะเต็มไปด้วยภาระที่ทุกคนต้องมาช่วยกันรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุที่นับวันแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการสาธารณสุขที่ดีขึ้นเรื่อยๆ
“เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาผู้สูงอายุ คือการทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ซึ่งจะทำได้ นอกเหนือจากการมีสุขภาพที่ดี ยังต้องมีความรู้ความสามารถ และโอกาสในการทำงานต่างๆ รวมทั้งมีเงินสำหรับการจับจ่ายใช้สอย เพื่อสิ่งจำเป็นในชีวิต ซึ่งหากทำได้จะทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้มากกว่าประชากรในวัยอื่นๆ ดังนั้น เราจึงต้องมาช่วยกันสร้างสังคมไทยให้มองผู้สูงอายุเป็นผู้สร้าง มากกว่าการมองผู้สูงอายุด้วยความสงสาร หรือแย่ที่สุดคือมองผู้สูงอายุว่าเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์” นพ.บรรลุ กล่าว
• “สุขภาพ-เศรษฐกิจ-สังคม” ปัญหาใหญ่ของคนวัยตกกระ
ส่วนปัญหาของผู้สูงอายุในประเทศไทย นพ.บรรลุ ระบุว่า ประกอบด้วยปัญหาหลักๆ 3 ประการ คือ
1. ปัญหาสุขภาพ เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้นสุขภาพจะเริ่มเสื่อมโทรมและมีโรคต่างๆ เกิดขึ้นตามมา ดังนั้น ลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวควรจะใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นรวมถึงหมั่นพาไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และควรปรับสภาพภูมิทัศน์ภายในบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุ เช่น พื้นไม่ควรใช้วัสดุที่มีผิวลื่นและไม่มีระดับสูงจนเกินไปนัก ส่วนตัวล็อคประตูก็ควรเปลี่ยนเป็นคันโยกเพื่อให้ผู้สูงอายุเปิดได้ง่ายและสามารถช่วยเหลือตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะทำให้สภาวะแวดล้อมในครอบครัวเป็นสังคมของคนทุกวัยได้อย่างแท้จริง
2. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงิน เนื่องจากผู้สูงอายุของไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และไม่รู้จักการออม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเองเหมือนเก่า จึงทำให้เกิดความขัดสน ยากจน เพราะไม่ได้มีการออมเงินมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ดังนั้นจึงควรปลูกฝังนิสัยให้มีการรักการออมตั้งวัยหนุ่มสาว และรู้จักการทำประกันสุขภาพ โดยเจียดเงินมาไว้สำหรับการออม 5-10% ต่อเดือน เช่นเดียวกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อให้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ
3. ปัญหาทางสังคม แม้ว่าผู้สูงอายุในสังคมไทยจะได้รับการเคารพนับถือจากลูกหลาน แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สนใจและไม่สามารถพัฒนาความรู้เพิ่มเติมให้ทันยุคสมัยได้ ด้วยเหตุนี้จึงมักถูกมองว่าเป็นไดโนเสาร์เต่าล้านปีในสายตาของลูกหลาน และทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคมกับสมาชิกของสังคม ซึ่งเป็นบุคคลในวัยอื่นๆ ดังนั้น ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐก็จะต้องเข้ามาส่งเสริมดูแล เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
• หมอบรรลุเผยเคล็ด 78 ยังแจ๋ว
แม้ว่าอายุของประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยจะล่วงเลยมาถึง 78 ปี แต่สุขภาพและความจำของของ นพ.บรรลุ ศิริพานิช นั้นไม่แพ้คนในวัยหนุ่มสาว จึงอดไม่ได้ที่จะถามถึงเคล็ดลับในการดูแลรักษาสุขภาพของคุณหมอท่านนี้ ซึ่งท่านเผยว่า จะต้องเริ่มจาก “การกิน” กล่าวคือ จะต้องรู้จักกิน “You Are What You Eat” โดยจะต้องรู้ว่า สรีระร่างกายของตนเองที่สมส่วนจะต้องเป็นอย่างไร ดังนั้น จึงไม่ควรกินจุบกินจิบ และเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา หลีกเลี่ยงการบริโภคสัตว์ใหญ่ และอิ่มก่อนที่กลไกในร่างกายจะบอกว่าอิ่ม โดยในช่วงเช้าจะรับประทานอาหารในปริมาณมากกว่าปกติ ขณะที่มื้อกลางวันจะลดลงมา ส่วนมื้อเย็นจะไม่รับประทานอาหารหนัก แต่จะรับประทานเพียงผลไม้เท่านั้น โดยไม่รับประทานอาหารเสริมแต่อย่างใด จากนั้น จึงออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เช่น การเดิน และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญจะต้องทำสุขภาพจิตให้ดี โดยพยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
“ความเครียดมักเกิดจากความต้องการมาก ความสามารถน้อย จะทำให้เครียด แต่เมื่อไหร่ที่ความต้องการน้อย แต่ความสามารถมาก เราก็จะไม่เครียด เพราะความเครียดคือความต้องการในด้านต่างๆ ของมนุษย์ หารด้วยความสามารถนั่นเอง ซึ่งหากเราสามารถควบคุมตนเองให้ คิดดี ทำดี รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ สุขภาพดี รับรองว่าอายุยืนแน่นอน” นพ.บรรลุ กล่าว
• ผอ.สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุเผย หมอรักษาคนแก่ขาดแคลนหนัก
ขณะที่ นพ.นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข ได้แสดงความวิตกถึงการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย โดยเฉพาะปัญหาโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ไขข้อ และมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งยังคงเป็นโรคที่มีแนวโน้มพบมากในผู้สูงอายุ ในขณะที่สถานพยาบาลของไทยที่จะรองรับการรักษาผู้สูงอายุแบบเฉพาะทางเช่นเดียวกับในต่างประเทศนั้นยังมีน้อยมาก เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เรียกว่า “Geriatric Medicine” ทั่วประเทศนั้นมีเพียง 10 คนเท่านั้น ขณะที่จำนวนผู้ป่วยสูงอายุมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลาย เท่าตัว ดังนั้น โรงพยาบาลทั่วไปส่วนใหญ่จึงใช้แพทย์ทางด้านอายุรศาสตร์ในการดูแล รักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุแทน
“อีกหน่อยเวลาเราไปโรงพยาบาล มองไปทางไหนเราก็จะเจอแต่ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ เพราะสังคมบ้านเราในปัจจุบันก็เป็นสังคมของผู้สูงอายุ ดังนั้น 30-40% ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลตอนนี้ก็จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเสียส่วนใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ จะมีแนวทางในการดูแลรักษาที่แตกต่างจากผู้ป่วยในวัยอื่นๆ ด้วยสภาวะร่างกายที่เปลี่ยนแปลงและข้อจำกัดอื่นๆ ซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละบุคคล ดังนั้น จึงต้องรักษาแบบองค์รวมและมีการฟื้นฟูควบคู่กันไปด้วย
ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วในหลายประเทศ เขาจะตื่นตัวและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จึงมีการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพื่อดูแลผู้สูงอายุเฉพาะด้านขึ้นมาเป็นจำนวนมากทั้งในญี่ปุ่นและอเมริกา แต่บ้านเราด้วยข้อจำกัดของการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ที่ยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับจำนวนประชากร ซึ่งเป็นปัญหาดั้งเดิมที่มีมานานแล้ว ดังนั้น การที่จะผลิตแพทย์เฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุจึงค่อนข้างยาก ด้วยเหตุนี้ สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุจึงมีหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุให้แก่โรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป” นพ.นันทศักดิ์ กล่าว
• ผลการศึกษาพบผู้สูงอายุร้อยละ 70 มีโรคมากกว่า1 โรค !!!
นอกจากนี้ นพ.นันทศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุได้ ร่วมมือกับโรงพยาบาลศูนย์ของจังหวัดในประเทศไทยทั้ง 25 แห่งของกระทรวงสาธารณสุข และสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี โรงพยาบาลทรวงอก และโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ ในการอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุให้บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล
พร้อมทั้งปรับสภาพภูมิทัศน์ภายในโรงพยาบาลให้เหมาะสมสำหรับการรองรับผู้ป่วยสูงอายุ เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลต้นแบบในการนำร่องโครงการนี้ และช่วยให้ประชาชน ผู้สูงอายุมีสถานพยาบาลใกล้บ้านใกล้ชุมชน ที่เหมาะสมกับการรักษาโรคในผู้สูงอายุ มากที่สุด เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพในผู้สูงอายุจะพบได้บ่อย ทั้งนี้ เนื่องจากผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงที่ถดถอยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม
จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุ 1 ใน 4 คนจะมีปัญหาสุขภาพ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ และมีประชากรสูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่มีปัญหาภาวะโรคมากกว่า 1 โรค และจากการศึกษาของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาต้องการรับการรักษาถึง 62 เปอร์เซ็นต์
ด้านทุกข์ทางใจและทุกข์ทางสังคมพบว่า ผู้สูงอายุไทยมีทุกข์ คือเหงาและซึมเศร้าจากการถูกทอดทิ้ง รู้สึกไร้ค่า มีความยากไร้ ภาระครอบครัว ปัญหาการทารุณกรรมที่ แฝงอยู่ และการขาดหลักประกันความมั่นคงทางสังคมด้านต่างๆในยามสูงอายุ โดยมีผู้ สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ถูกทอดทิ้ง
“เราต้องมองว่า ผู้สูงอายุไม่ใช่ภาระของสังคม แต่เป็นพลังของสังคม หรือที่เรียกกันว่า “พฤฒิพลัง (Active Aging)” ซึ่งทำประโยชน์ให้กับสังคมมามาก และเป็นปูชนียบุคคล ที่เราควรให้ความสำคัญและเข้ามาร่วมมือกันในการดูแล ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เราคงร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อช่วยเยียวยาสภาพจิตใจของผู้สูงวัย และเป็นการแก้ปัญหาในระหว่างที่เรายังขาด แคลนสถานพยาบาลและบุคคลากรเฉพาะทาง” นพ.นันทศักดิ์ กล่าว
• ผู้สูงอายุดีเด่นแห่งชาติชี้ ผู้สูงอายุมีหน้าที่ช่วยกันพัฒนาคนรุ่นใหม่
ด้าน นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว วัย 98 ปี ปูชนียบุคคลด้านการแพทย์ของไทยซึ่งได้รับรางวัลผู้สูงอายุดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2551 กล่าวว่า สิ่งที่ผู้สูงอายุควรทำ คือให้ตระหนักและระลึกอยู่เสมอว่า ตนเองมีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม และช่วยกันพัฒนาให้คนรุ่นใหม่ดีกว่าคนรุ่นเก่า ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าจะทำอย่างไรจึงจะมีเงินมากๆ เพราะบั้นปลายชีวิตของทุกคนนั้นหลีกหนีไม่พ้นความตาย ซึ่งถือเป็นเครื่องเตือนสติที่ดี ดังนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่จึงควรทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม เพื่อทดแทนคุณแผ่นดินเกิด ดีกว่ามุ่งที่จะหาเงินแต่เพียงอย่างเดียว
“สิ่งใดๆ ในโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจัง ความเป็นจริงคือ คนเราทุกคนจะต้องทรุดโทรม ลงไปทุกวัน เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ความจำก็ไม่ค่อยดี ร่างกายก็ไม่ค่อยดี ดังนั้น เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า ความตายเป็นธรรมชาติ เราจึงต้องเตรียมตัวตายอย่างมีคุณค่า ด้วยการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ ให้แผ่นดิน ให้คนรุ่นหลัง โดยการพัฒนาความรู้ของตนเองตลอดเวลา เพื่อนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง ในขณะเดียวกันเราก็ต้องทำตัวเองให้มีร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอ ควบคู่ไปกับการทำจิตใจให้สะอาด งดเว้นจากอกุศลกรรมทุกประการ และมีสติในทุกอริยาบถ เพื่อให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้มากที่สุด” นพ.เสม กล่าว
• หมอเสมแนะดูแลคนแก่ตามวิถีพุทธ
นอกจากนี้ นพ.เสมยังเผยเคล็ดลับของการมีสุขภาพดีด้วยว่า ควรจะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และควรมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอรวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องไปหาสถานที่ออกกำลังกายให้เสียเงิน แต่ให้หาพื้นที่ที่เหมาะสมในบริเวณบ้านแทน และที่สำคัญ ลูกหลานควรหาเวลาพาผู้สูงอายุไปวัดเพื่อฟังเทศน์และทำบุญ เพื่อให้ศาสนาชำระล้างจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ เพราะธรรมะเป็นยาอายุวัฒนะที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุและผู้คนทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ เพราะเป็นวิถีตามครรลองของพุทธศาสนิกชนที่ดี
• เจ้าคุณพิพิธฯ ชี้ อายุยืนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ “บุญ” และ “กรรม”
ส่วนพระราชวิจิตรปฏิภาณ (พระพิพิธธรรมสุนทร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม กล่าวว่า ผู้สูงอายุถือเป็นบุคคลที่สร้างคุณูปการให้กับประเทศชาติเป็นอย่างมาก ดังนั้น คนรุ่นหลังจึงควรให้ความเคารพและหมั่นใส่ใจดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้ดีเหมือนกับ ที่ท่านดูแลเรา และหมั่นระลึกถึงพระคุณของท่านตลอดเวลา โดยเฉพาะพ่อแม่ ซึ่งเปรียบเสมือนพระในบ้าน ส่วนการที่จะทำให้มีอายุยืนยาวนั้นเจ้าคุณพิพิธกล่าวว่า ขึ้นอยู่กับบุญและกรรมที่แต่ละคนทำมา โดยท่านได้อนุมานจากคำสอนใน “จูฬกัมมวิภังคสูตร” อัน เป็นหลักปัจจุบันชาติของผู้มีอายุยืนดังนี้
1. มีความประพฤติดี
2. มีวิชาดี
3. มีเงินทองสำรองเลี้ยงชีวิต
4. เมื่อทำผิดต้องรู้จักขอโทษและให้อภัย
5. ได้รับอะไรต้องรู้จักชอบใจและให้พร
6. ไม่ทำตนเป็นคนเจ้าแง่แสนงอน
7. ก่อนนอนและตื่นนอนสวดมนต์ไหว้พระ
8. ไม่ละเรื่องทานศีลภาวนา
ทั้งนี้ เจ้าคุณพิพิธฯ ยังได้ให้ข้อคิดทิ้งท้ายว่า วัฏจักรชีวิตของมนุษย์ล้วนเป็นธรรมดาของโลก ดังนั้น ตราบที่ยังมีชีวิต ทุกคนควรหมั่นทำความดีก่อนที่จะลาลับจากโลกนี้ไป เพราะความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกหนีไม่พ้น โดยเฉพาะการดูแลพ่อแม่ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของลูกที่ดี เพราะความดีเหล่านี้จะช่วยส่งให้ชีวิตแต่ละคนไปสู่ภพภูมิที่ดีเมื่อถึงเวลา ที่ลาจากโลกนี้ไป และยังมีความดีหลงเหลือให้ผู้คนสรรเสริญและจดจำ
เคล็ดลับชะลอความชรา
1. กินอาหารดี มีประโยชน์ และหลากหลาย
-หลีกเลี่ยงอาหารที่กินแล้วเจ็บป่วย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมเร็ว ได้แก่ อาหารที่มีไขมันสูง อาหารหวานจัด อาหารเค็มจัด อาหาร ปนเปื้อนสารพิษ เป็นต้น อย่าตามใจปากจนเกินไป และอย่ากินให้อิ่มจนเกินไป
- กินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่และหลากหลาย เน้นปลา ผัก ผลไม้ เช่น บรอคโคลี่ มะละกอ รวมทั้งธัญพืช เช่น เมล็ดทานตะวัน และถั่วต่างๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่คอยทำลายเซลล์ของคนเรา แหล่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือผักและผลไม้ที่มีสีส้ม สีเหลือง สีแดง เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ เป็นต้น
- เครื่องดื่มหลายชนิดก็มีสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน เช่น ชาเขียว กระเจี๊ยบ มะตูม ใบบัวบก เก๊กฮวย เป็นต้น และอย่าลืมดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว รวมทั้งหลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา และยาเสพติด ซึ่งเป็นตัวบ่อนทำลายร่างกายของเราให้เสื่อมเร็วกว่าวัยอันควร
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- การออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สมส่วน และกระชับ ไม่หย่อนยานช่วยให้ระบบโลหิตไหลเวียนดีขึ้น ทำให้ผิวหนังและอวัยวะต่างๆ ได้รับสารอาหารและออกซิเจนอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังทำให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า “เอนดอร์ฟิน” ทำให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใส
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
-ในช่วงที่เรานอนหลับ จะเป็นเวลาที่ร่างกายได้พักและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังเป็นช่วงเวลาที่เราได้หยุดขบคิดเรื่องราวปัญหาต่างๆ ผู้ที่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจึงมีหน้าตาสดใส จิตใจเบิกบาน ดังนั้นควรให้เวลากับการนอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น
4. ถนอมผิวและป้องกันริ้วรอยเหี่ยวย่น
-แสงแดดเป็นตัวการทำลายผิว พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดแรงๆ ในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. หากเลี่ยงไม่ได้ควรปกป้องผิวด้วยครีมกันแดดที่มีค่า SPF15 ขึ้นไป โดยทาก่อนออกแดดประมาณ 30 นาที และเมื่อต้องอยู่กลางแดด ก็ควรสวมแว่น กันแดด หมวก หรือกางร่ม เพื่อลดอาการหยีตา ซึ่งจะเพิ่มรอยตีนกาบริเวณหางตาได้ ใบหน้า ลำคอ และมือ เป็นส่วนที่ฟ้องอายุของคนเราได้ดีที่สุด ดังนั้น อย่าลืมดูแลถนอมผิวพรรณในส่วนนี้ให้ดี นอกจากนี้ ท่านอนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ควรเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ เพื่อป้องกันผิวหนังย่นจากรอยทับ
คาถากันแก่
คลายเครียด
ความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ร่วมกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ จะช่วยกันซ้ำเติมให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมเร็วขึ้น หากไม่อยากแก่เร็ว ก็จงอย่าเครียดเกินไปนัก หาเวลาพักผ่อนจากการทำงานประจำ ทำงานอดิเรกที่คุณชื่นชอบจะช่วยผ่อนคลายความเบื่อหน่ายจากงานประจำได้ วางปัญหาต่างๆ ลงชั่วขณะ ให้เวลากับครอบครัวและเพื่อนให้มากขึ้น หลีกหนีมลพิษในเมืองกรุง ไปท่อง เที่ยวชื่นชมธรรมชาติ และหาเวลาอ่านหนังสือบำรุงสมองบ้าง
ม อ ง โ ล ก ใ น แ ง่ ดี
การมองโลกในแง่ดี จะทำให้เรามีจิตใจที่เบิกบานแจ่มใส พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ รู้จักให้อภัย ไม่เก็บความขุ่นข้องหมองใจไว้ทำร้าย ตัวเอง จำไว้ว่าการยิ้มทำให้เกิดริ้วรอยน้อยกว่าหน้าบึ้งหน้างอ ที่สำคัญก็คือ อย่ายึดติดกับอดีตที่ผ่านไป และอย่ากังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ถ้ามัวหมกมุ่นอยู่กับมัน คุณจะได้แต่ผมหงอก ผมร่วง ตีนกา ขอบตาที่ดำคล้ำ และโรคที่รุมเร้า จงอยู่กับปัจจุบัน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด และพร้อมยิ้มรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
มี ค ว า ม รั ก
ความรักทำให้เรากินข้าวอร่อย นอนหลับสบาย อารมณ์ดี สดชื่น กระชุ่มกระชวย มีพลังสร้างสรรค์ มีกำลังใจต่อสู้ปัญหาฟันฝ่าอุปสรรค มองทุกอย่างงดงามแม้เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย เช่น ดอกหญ้าข้างทางก็ยังว่าสวย
คนที่ไม่มีความรัก ก็เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำหล่อเลี้ยง รอวันแต่จะเหี่ยวเฉาและร่วงโรยไปในที่สุด
ต้ อ ง ไ ม่ อ ย า ก แ ก่
ข้อนี้สำคัญมาก บอกกับตัวเองเสมอว่า “ฉันยังไม่แก่” เมื่อตั้งใจมั่นได้อย่างนี้แล้ว คุณก็จะมีกำลังใจปฏิบัติตามเคล็ดลับและคาถาทั้งหมดที่กล่าวมา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะทำทุกอย่างเต็มที่แล้ว ในที่สุดวันหนึ่งคุณก็ต้องแก่อย่างหนีไม่พ้น ควรยอมรับความจริง อยู่กับความจริง แล้วงามไปตามวัย ให้กำลังใจตัวเองว่า ยิ่งอายุมากขึ้น คุณยิ่งเรียนรู้อะไรได้มากขึ้น ฉลาดขึ้นประสบความสำเร็จในชีวิตมากขึ้น แล้วชื่นชมตัวเองว่า “ฉันแก่อย่างมีคุณค่า”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยฟาริดา เหล่าพัชรกุล)
• ผลสำรวจพบหญิงอายุยืนกว่าชาย
นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ประชากรมี อายุยืนยาวขึ้น ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการวางแผนครอบครัวตั้งแต่ปี 2525 จึงทำให้อัตราการเกิดลดลง สัดส่วนของผู้สูงอายุจึงมากขึ้นตามลำดับ และมีอายุคาดเฉลี่ย(Life Expectancy) เพิ่มสูงขึ้น โดยเพศชายจะมีอายุคาดเฉลี่ยประมาณ 69 ปี ขณะที่เพศหญิงจะมีอายุคาดเฉลี่ยประมาณ 75 ปี
• 2573 คนแก่ครองเมือง
นอกจากนี้ จากการสำรวจของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)พบว่า ในปี 2547 กลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเริ่มมีสัดส่วนมากกว่า 10% และเพิ่มขึ้นเป็น 11% หรือประมาณ 7 ล้านคนในปัจจุบัน ซึ่งคาดการณ์ว่า ในปี 2567 หรือในอีก 15 ปีข้างหน้า ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนมาก กว่า 20% ซึ่งจะเท่ากับสัดส่วนของกลุ่มเด็ก และในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของกลุ่ม เด็ก หรือประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ
• สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย
จำนวนและร้อยละของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2553 จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ และอัตราส่วนเพศทั่วราชอาณาจักร
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยได้ก้าวย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ ปลายปี 2547 เช่นเดียวกับในหลายประเทศทั่วโลกที่มีความก้าวหน้าทางการแพทย์ ซึ่งในเรื่องนี้สหประชาชาติ ได้ให้นิยามว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกิน 10% หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกิน 7% ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี เพิ่มเป็น 20% และอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 14%
“การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิงหรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น ฉะนั้น หมายถึง งบประมาณมหาศาลที่จะต้องนำมาดูแลคนทั้งสองกลุ่ม ซึ่งถือเป็นภาระหนักหน่วงที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่เช่นเดียวกับเรา ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในแถบยุโรปหลายประเทศ หรือประเทศสหรัฐอเมริกา แม้กระทั่งญี่ปุ่นเอง ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ โดยมีการวางแผนให้ประชาชนของเขาทุกคนมีเงินออมตั้งแต่วัยทำงาน เพื่อให้ประชาชนของเขามีเงินเลี้ยงดูตนเองเมื่อถึงวัยเกษียณ โดยรัฐบาลจะจ่ายสมทบให้เดือนละ 5 หมื่นเยนทุกเดือน รวมถึงมีการเตรียมความพร้อมด้านสถานพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มเติมในทุกเมือง
เช่นเดียวกับการปรับภูมิทัศน์ทางเดิน ตลอดจนถนนหนทางให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นมากนัก ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่เราก็ได้เตรียมนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราบ้าง เพราะประเทศไทยเราตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่น เพียงแต่ที่ผ่านมาเรายังไม่มีข้อมูลของกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างเพียงพอสำหรับการวางแผน เพราะกลุ่มผู้สูงอายุของเราส่วนใหญ่จะอยู่ในชนบทมากกว่าในเมือง
ดังนั้น เราจึงได้เริ่มสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง หลังจาก ที่คณะผู้แทนของรัฐบาลไทยได้ไปเข้าร่วมการประชุมผู้สูงอายุโลก หรือที่เรียกว่า การประชุม “Assembly On Aging” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 2525 ซึ่งเป็นการจัดประชุมร่วมกันทั่วโลก หลังจากที่เล็งเห็นว่าต่อไปในอนาคตผู้สูงอายุจะกลายเป็นปัญหาของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งยูเอ็นได้แนะนำให้จัดทำแผนผู้สูงอายุ และเสนอให้มีคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อจัดทำแผนดังกล่าว แต่แผนฉบับแรก ยังไม่ค่อยดีนักเนื่องจากข้อมูลไม่ครบถ้วน ดังนั้น จึงมีการจัดทำแผนที่ 2 ในปี 2545 ซึ่งเป็นแผนผู้สูงอายุที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยสาระสำคัญนั้นเน้นการประกันสุขภาพผู้สูงอายุของไทยให้ครบร้อยเปอร์เซ็นต์ และการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ” นพ.บรรลุ กล่าว
• ประธาน มส.ผส.ระบุ ปัญหาคนแก่ต้องรีบแก้
นอกจากนี้ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ยังกล่าวด้วยว่า การเตรียมพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสำคัญและละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ดังนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย และ จะต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้ เพราะมาตรการเกือบทุกอย่างล้วนต้องใช้เวลาในการดำเนินการนานกว่าจะออกผล ซึ่งจะทำให้บรรยากาศการแข่งขันด้านการค้าและผลผลิตของประเทศเกิดภาวะสูญญากาศทางด้านการแข่งขัน เพราะมีประชากรที่อยู่ในภาวะ พึ่งพิงมากกว่าวัยทำงาน ขณะเดียวกันก็จะต้องสร้างจิตสำนึกให้คนวัยหนุ่มสาวรู้จักการออมและใช้ชีวิตอย่างมีสติ รู้จักที่จะเริ่มต้นดูแลชีวิตและสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่ เสมอ เพื่อที่เมื่อถึงวัยที่ก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะได้เป็นผู้สูงอายุที่เป็นพลังมากกว่าเป็นภาระของครอบครัวและประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม เป้าหมายระยะยาวของการพัฒนาผู้สูงอายุ ไม่ใช่การหาทางช่วยเหลือผู้สูงอายุ เพราะนั่นเป็นการมองอนาคตว่าจะเต็มไปด้วยภาระที่ทุกคนต้องมาช่วยกันรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุที่นับวันแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการสาธารณสุขที่ดีขึ้นเรื่อยๆ
“เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาผู้สูงอายุ คือการทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ซึ่งจะทำได้ นอกเหนือจากการมีสุขภาพที่ดี ยังต้องมีความรู้ความสามารถ และโอกาสในการทำงานต่างๆ รวมทั้งมีเงินสำหรับการจับจ่ายใช้สอย เพื่อสิ่งจำเป็นในชีวิต ซึ่งหากทำได้จะทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้มากกว่าประชากรในวัยอื่นๆ ดังนั้น เราจึงต้องมาช่วยกันสร้างสังคมไทยให้มองผู้สูงอายุเป็นผู้สร้าง มากกว่าการมองผู้สูงอายุด้วยความสงสาร หรือแย่ที่สุดคือมองผู้สูงอายุว่าเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์” นพ.บรรลุ กล่าว
• “สุขภาพ-เศรษฐกิจ-สังคม” ปัญหาใหญ่ของคนวัยตกกระ
ส่วนปัญหาของผู้สูงอายุในประเทศไทย นพ.บรรลุ ระบุว่า ประกอบด้วยปัญหาหลักๆ 3 ประการ คือ
1. ปัญหาสุขภาพ เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้นสุขภาพจะเริ่มเสื่อมโทรมและมีโรคต่างๆ เกิดขึ้นตามมา ดังนั้น ลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวควรจะใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นรวมถึงหมั่นพาไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และควรปรับสภาพภูมิทัศน์ภายในบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุ เช่น พื้นไม่ควรใช้วัสดุที่มีผิวลื่นและไม่มีระดับสูงจนเกินไปนัก ส่วนตัวล็อคประตูก็ควรเปลี่ยนเป็นคันโยกเพื่อให้ผู้สูงอายุเปิดได้ง่ายและสามารถช่วยเหลือตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะทำให้สภาวะแวดล้อมในครอบครัวเป็นสังคมของคนทุกวัยได้อย่างแท้จริง
2. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงิน เนื่องจากผู้สูงอายุของไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และไม่รู้จักการออม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเองเหมือนเก่า จึงทำให้เกิดความขัดสน ยากจน เพราะไม่ได้มีการออมเงินมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ดังนั้นจึงควรปลูกฝังนิสัยให้มีการรักการออมตั้งวัยหนุ่มสาว และรู้จักการทำประกันสุขภาพ โดยเจียดเงินมาไว้สำหรับการออม 5-10% ต่อเดือน เช่นเดียวกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อให้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ
3. ปัญหาทางสังคม แม้ว่าผู้สูงอายุในสังคมไทยจะได้รับการเคารพนับถือจากลูกหลาน แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สนใจและไม่สามารถพัฒนาความรู้เพิ่มเติมให้ทันยุคสมัยได้ ด้วยเหตุนี้จึงมักถูกมองว่าเป็นไดโนเสาร์เต่าล้านปีในสายตาของลูกหลาน และทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคมกับสมาชิกของสังคม ซึ่งเป็นบุคคลในวัยอื่นๆ ดังนั้น ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐก็จะต้องเข้ามาส่งเสริมดูแล เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
• หมอบรรลุเผยเคล็ด 78 ยังแจ๋ว
แม้ว่าอายุของประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยจะล่วงเลยมาถึง 78 ปี แต่สุขภาพและความจำของของ นพ.บรรลุ ศิริพานิช นั้นไม่แพ้คนในวัยหนุ่มสาว จึงอดไม่ได้ที่จะถามถึงเคล็ดลับในการดูแลรักษาสุขภาพของคุณหมอท่านนี้ ซึ่งท่านเผยว่า จะต้องเริ่มจาก “การกิน” กล่าวคือ จะต้องรู้จักกิน “You Are What You Eat” โดยจะต้องรู้ว่า สรีระร่างกายของตนเองที่สมส่วนจะต้องเป็นอย่างไร ดังนั้น จึงไม่ควรกินจุบกินจิบ และเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา หลีกเลี่ยงการบริโภคสัตว์ใหญ่ และอิ่มก่อนที่กลไกในร่างกายจะบอกว่าอิ่ม โดยในช่วงเช้าจะรับประทานอาหารในปริมาณมากกว่าปกติ ขณะที่มื้อกลางวันจะลดลงมา ส่วนมื้อเย็นจะไม่รับประทานอาหารหนัก แต่จะรับประทานเพียงผลไม้เท่านั้น โดยไม่รับประทานอาหารเสริมแต่อย่างใด จากนั้น จึงออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เช่น การเดิน และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญจะต้องทำสุขภาพจิตให้ดี โดยพยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
“ความเครียดมักเกิดจากความต้องการมาก ความสามารถน้อย จะทำให้เครียด แต่เมื่อไหร่ที่ความต้องการน้อย แต่ความสามารถมาก เราก็จะไม่เครียด เพราะความเครียดคือความต้องการในด้านต่างๆ ของมนุษย์ หารด้วยความสามารถนั่นเอง ซึ่งหากเราสามารถควบคุมตนเองให้ คิดดี ทำดี รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ สุขภาพดี รับรองว่าอายุยืนแน่นอน” นพ.บรรลุ กล่าว
• ผอ.สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุเผย หมอรักษาคนแก่ขาดแคลนหนัก
ขณะที่ นพ.นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข ได้แสดงความวิตกถึงการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย โดยเฉพาะปัญหาโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ไขข้อ และมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งยังคงเป็นโรคที่มีแนวโน้มพบมากในผู้สูงอายุ ในขณะที่สถานพยาบาลของไทยที่จะรองรับการรักษาผู้สูงอายุแบบเฉพาะทางเช่นเดียวกับในต่างประเทศนั้นยังมีน้อยมาก เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เรียกว่า “Geriatric Medicine” ทั่วประเทศนั้นมีเพียง 10 คนเท่านั้น ขณะที่จำนวนผู้ป่วยสูงอายุมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลาย เท่าตัว ดังนั้น โรงพยาบาลทั่วไปส่วนใหญ่จึงใช้แพทย์ทางด้านอายุรศาสตร์ในการดูแล รักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุแทน
“อีกหน่อยเวลาเราไปโรงพยาบาล มองไปทางไหนเราก็จะเจอแต่ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ เพราะสังคมบ้านเราในปัจจุบันก็เป็นสังคมของผู้สูงอายุ ดังนั้น 30-40% ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลตอนนี้ก็จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเสียส่วนใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ จะมีแนวทางในการดูแลรักษาที่แตกต่างจากผู้ป่วยในวัยอื่นๆ ด้วยสภาวะร่างกายที่เปลี่ยนแปลงและข้อจำกัดอื่นๆ ซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละบุคคล ดังนั้น จึงต้องรักษาแบบองค์รวมและมีการฟื้นฟูควบคู่กันไปด้วย
ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วในหลายประเทศ เขาจะตื่นตัวและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จึงมีการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพื่อดูแลผู้สูงอายุเฉพาะด้านขึ้นมาเป็นจำนวนมากทั้งในญี่ปุ่นและอเมริกา แต่บ้านเราด้วยข้อจำกัดของการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ที่ยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับจำนวนประชากร ซึ่งเป็นปัญหาดั้งเดิมที่มีมานานแล้ว ดังนั้น การที่จะผลิตแพทย์เฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุจึงค่อนข้างยาก ด้วยเหตุนี้ สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุจึงมีหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุให้แก่โรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป” นพ.นันทศักดิ์ กล่าว
• ผลการศึกษาพบผู้สูงอายุร้อยละ 70 มีโรคมากกว่า1 โรค !!!
นอกจากนี้ นพ.นันทศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุได้ ร่วมมือกับโรงพยาบาลศูนย์ของจังหวัดในประเทศไทยทั้ง 25 แห่งของกระทรวงสาธารณสุข และสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี โรงพยาบาลทรวงอก และโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ ในการอบรมองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุให้บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล
พร้อมทั้งปรับสภาพภูมิทัศน์ภายในโรงพยาบาลให้เหมาะสมสำหรับการรองรับผู้ป่วยสูงอายุ เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลต้นแบบในการนำร่องโครงการนี้ และช่วยให้ประชาชน ผู้สูงอายุมีสถานพยาบาลใกล้บ้านใกล้ชุมชน ที่เหมาะสมกับการรักษาโรคในผู้สูงอายุ มากที่สุด เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพในผู้สูงอายุจะพบได้บ่อย ทั้งนี้ เนื่องจากผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงที่ถดถอยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม
จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุ 1 ใน 4 คนจะมีปัญหาสุขภาพ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ และมีประชากรสูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่มีปัญหาภาวะโรคมากกว่า 1 โรค และจากการศึกษาของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาต้องการรับการรักษาถึง 62 เปอร์เซ็นต์
ด้านทุกข์ทางใจและทุกข์ทางสังคมพบว่า ผู้สูงอายุไทยมีทุกข์ คือเหงาและซึมเศร้าจากการถูกทอดทิ้ง รู้สึกไร้ค่า มีความยากไร้ ภาระครอบครัว ปัญหาการทารุณกรรมที่ แฝงอยู่ และการขาดหลักประกันความมั่นคงทางสังคมด้านต่างๆในยามสูงอายุ โดยมีผู้ สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ถูกทอดทิ้ง
“เราต้องมองว่า ผู้สูงอายุไม่ใช่ภาระของสังคม แต่เป็นพลังของสังคม หรือที่เรียกกันว่า “พฤฒิพลัง (Active Aging)” ซึ่งทำประโยชน์ให้กับสังคมมามาก และเป็นปูชนียบุคคล ที่เราควรให้ความสำคัญและเข้ามาร่วมมือกันในการดูแล ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เราคงร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อช่วยเยียวยาสภาพจิตใจของผู้สูงวัย และเป็นการแก้ปัญหาในระหว่างที่เรายังขาด แคลนสถานพยาบาลและบุคคลากรเฉพาะทาง” นพ.นันทศักดิ์ กล่าว
• ผู้สูงอายุดีเด่นแห่งชาติชี้ ผู้สูงอายุมีหน้าที่ช่วยกันพัฒนาคนรุ่นใหม่
ด้าน นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว วัย 98 ปี ปูชนียบุคคลด้านการแพทย์ของไทยซึ่งได้รับรางวัลผู้สูงอายุดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2551 กล่าวว่า สิ่งที่ผู้สูงอายุควรทำ คือให้ตระหนักและระลึกอยู่เสมอว่า ตนเองมีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม และช่วยกันพัฒนาให้คนรุ่นใหม่ดีกว่าคนรุ่นเก่า ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าจะทำอย่างไรจึงจะมีเงินมากๆ เพราะบั้นปลายชีวิตของทุกคนนั้นหลีกหนีไม่พ้นความตาย ซึ่งถือเป็นเครื่องเตือนสติที่ดี ดังนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่จึงควรทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม เพื่อทดแทนคุณแผ่นดินเกิด ดีกว่ามุ่งที่จะหาเงินแต่เพียงอย่างเดียว
“สิ่งใดๆ ในโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจัง ความเป็นจริงคือ คนเราทุกคนจะต้องทรุดโทรม ลงไปทุกวัน เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ความจำก็ไม่ค่อยดี ร่างกายก็ไม่ค่อยดี ดังนั้น เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า ความตายเป็นธรรมชาติ เราจึงต้องเตรียมตัวตายอย่างมีคุณค่า ด้วยการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ ให้แผ่นดิน ให้คนรุ่นหลัง โดยการพัฒนาความรู้ของตนเองตลอดเวลา เพื่อนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง ในขณะเดียวกันเราก็ต้องทำตัวเองให้มีร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอ ควบคู่ไปกับการทำจิตใจให้สะอาด งดเว้นจากอกุศลกรรมทุกประการ และมีสติในทุกอริยาบถ เพื่อให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้มากที่สุด” นพ.เสม กล่าว
• หมอเสมแนะดูแลคนแก่ตามวิถีพุทธ
นอกจากนี้ นพ.เสมยังเผยเคล็ดลับของการมีสุขภาพดีด้วยว่า ควรจะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และควรมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอรวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องไปหาสถานที่ออกกำลังกายให้เสียเงิน แต่ให้หาพื้นที่ที่เหมาะสมในบริเวณบ้านแทน และที่สำคัญ ลูกหลานควรหาเวลาพาผู้สูงอายุไปวัดเพื่อฟังเทศน์และทำบุญ เพื่อให้ศาสนาชำระล้างจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ เพราะธรรมะเป็นยาอายุวัฒนะที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุและผู้คนทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ เพราะเป็นวิถีตามครรลองของพุทธศาสนิกชนที่ดี
• เจ้าคุณพิพิธฯ ชี้ อายุยืนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ “บุญ” และ “กรรม”
ส่วนพระราชวิจิตรปฏิภาณ (พระพิพิธธรรมสุนทร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม กล่าวว่า ผู้สูงอายุถือเป็นบุคคลที่สร้างคุณูปการให้กับประเทศชาติเป็นอย่างมาก ดังนั้น คนรุ่นหลังจึงควรให้ความเคารพและหมั่นใส่ใจดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้ดีเหมือนกับ ที่ท่านดูแลเรา และหมั่นระลึกถึงพระคุณของท่านตลอดเวลา โดยเฉพาะพ่อแม่ ซึ่งเปรียบเสมือนพระในบ้าน ส่วนการที่จะทำให้มีอายุยืนยาวนั้นเจ้าคุณพิพิธกล่าวว่า ขึ้นอยู่กับบุญและกรรมที่แต่ละคนทำมา โดยท่านได้อนุมานจากคำสอนใน “จูฬกัมมวิภังคสูตร” อัน เป็นหลักปัจจุบันชาติของผู้มีอายุยืนดังนี้
1. มีความประพฤติดี
2. มีวิชาดี
3. มีเงินทองสำรองเลี้ยงชีวิต
4. เมื่อทำผิดต้องรู้จักขอโทษและให้อภัย
5. ได้รับอะไรต้องรู้จักชอบใจและให้พร
6. ไม่ทำตนเป็นคนเจ้าแง่แสนงอน
7. ก่อนนอนและตื่นนอนสวดมนต์ไหว้พระ
8. ไม่ละเรื่องทานศีลภาวนา
ทั้งนี้ เจ้าคุณพิพิธฯ ยังได้ให้ข้อคิดทิ้งท้ายว่า วัฏจักรชีวิตของมนุษย์ล้วนเป็นธรรมดาของโลก ดังนั้น ตราบที่ยังมีชีวิต ทุกคนควรหมั่นทำความดีก่อนที่จะลาลับจากโลกนี้ไป เพราะความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกหนีไม่พ้น โดยเฉพาะการดูแลพ่อแม่ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของลูกที่ดี เพราะความดีเหล่านี้จะช่วยส่งให้ชีวิตแต่ละคนไปสู่ภพภูมิที่ดีเมื่อถึงเวลา ที่ลาจากโลกนี้ไป และยังมีความดีหลงเหลือให้ผู้คนสรรเสริญและจดจำ
เคล็ดลับชะลอความชรา
1. กินอาหารดี มีประโยชน์ และหลากหลาย
-หลีกเลี่ยงอาหารที่กินแล้วเจ็บป่วย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมเร็ว ได้แก่ อาหารที่มีไขมันสูง อาหารหวานจัด อาหารเค็มจัด อาหาร ปนเปื้อนสารพิษ เป็นต้น อย่าตามใจปากจนเกินไป และอย่ากินให้อิ่มจนเกินไป
- กินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่และหลากหลาย เน้นปลา ผัก ผลไม้ เช่น บรอคโคลี่ มะละกอ รวมทั้งธัญพืช เช่น เมล็ดทานตะวัน และถั่วต่างๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่คอยทำลายเซลล์ของคนเรา แหล่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือผักและผลไม้ที่มีสีส้ม สีเหลือง สีแดง เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ เป็นต้น
- เครื่องดื่มหลายชนิดก็มีสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน เช่น ชาเขียว กระเจี๊ยบ มะตูม ใบบัวบก เก๊กฮวย เป็นต้น และอย่าลืมดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว รวมทั้งหลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา และยาเสพติด ซึ่งเป็นตัวบ่อนทำลายร่างกายของเราให้เสื่อมเร็วกว่าวัยอันควร
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- การออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สมส่วน และกระชับ ไม่หย่อนยานช่วยให้ระบบโลหิตไหลเวียนดีขึ้น ทำให้ผิวหนังและอวัยวะต่างๆ ได้รับสารอาหารและออกซิเจนอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังทำให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า “เอนดอร์ฟิน” ทำให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใส
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
-ในช่วงที่เรานอนหลับ จะเป็นเวลาที่ร่างกายได้พักและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังเป็นช่วงเวลาที่เราได้หยุดขบคิดเรื่องราวปัญหาต่างๆ ผู้ที่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจึงมีหน้าตาสดใส จิตใจเบิกบาน ดังนั้นควรให้เวลากับการนอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น
4. ถนอมผิวและป้องกันริ้วรอยเหี่ยวย่น
-แสงแดดเป็นตัวการทำลายผิว พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดแรงๆ ในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. หากเลี่ยงไม่ได้ควรปกป้องผิวด้วยครีมกันแดดที่มีค่า SPF15 ขึ้นไป โดยทาก่อนออกแดดประมาณ 30 นาที และเมื่อต้องอยู่กลางแดด ก็ควรสวมแว่น กันแดด หมวก หรือกางร่ม เพื่อลดอาการหยีตา ซึ่งจะเพิ่มรอยตีนกาบริเวณหางตาได้ ใบหน้า ลำคอ และมือ เป็นส่วนที่ฟ้องอายุของคนเราได้ดีที่สุด ดังนั้น อย่าลืมดูแลถนอมผิวพรรณในส่วนนี้ให้ดี นอกจากนี้ ท่านอนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ควรเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ เพื่อป้องกันผิวหนังย่นจากรอยทับ
คาถากันแก่
คลายเครียด
ความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ร่วมกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ จะช่วยกันซ้ำเติมให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมเร็วขึ้น หากไม่อยากแก่เร็ว ก็จงอย่าเครียดเกินไปนัก หาเวลาพักผ่อนจากการทำงานประจำ ทำงานอดิเรกที่คุณชื่นชอบจะช่วยผ่อนคลายความเบื่อหน่ายจากงานประจำได้ วางปัญหาต่างๆ ลงชั่วขณะ ให้เวลากับครอบครัวและเพื่อนให้มากขึ้น หลีกหนีมลพิษในเมืองกรุง ไปท่อง เที่ยวชื่นชมธรรมชาติ และหาเวลาอ่านหนังสือบำรุงสมองบ้าง
ม อ ง โ ล ก ใ น แ ง่ ดี
การมองโลกในแง่ดี จะทำให้เรามีจิตใจที่เบิกบานแจ่มใส พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ รู้จักให้อภัย ไม่เก็บความขุ่นข้องหมองใจไว้ทำร้าย ตัวเอง จำไว้ว่าการยิ้มทำให้เกิดริ้วรอยน้อยกว่าหน้าบึ้งหน้างอ ที่สำคัญก็คือ อย่ายึดติดกับอดีตที่ผ่านไป และอย่ากังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ถ้ามัวหมกมุ่นอยู่กับมัน คุณจะได้แต่ผมหงอก ผมร่วง ตีนกา ขอบตาที่ดำคล้ำ และโรคที่รุมเร้า จงอยู่กับปัจจุบัน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด และพร้อมยิ้มรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
มี ค ว า ม รั ก
ความรักทำให้เรากินข้าวอร่อย นอนหลับสบาย อารมณ์ดี สดชื่น กระชุ่มกระชวย มีพลังสร้างสรรค์ มีกำลังใจต่อสู้ปัญหาฟันฝ่าอุปสรรค มองทุกอย่างงดงามแม้เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย เช่น ดอกหญ้าข้างทางก็ยังว่าสวย
คนที่ไม่มีความรัก ก็เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำหล่อเลี้ยง รอวันแต่จะเหี่ยวเฉาและร่วงโรยไปในที่สุด
ต้ อ ง ไ ม่ อ ย า ก แ ก่
ข้อนี้สำคัญมาก บอกกับตัวเองเสมอว่า “ฉันยังไม่แก่” เมื่อตั้งใจมั่นได้อย่างนี้แล้ว คุณก็จะมีกำลังใจปฏิบัติตามเคล็ดลับและคาถาทั้งหมดที่กล่าวมา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะทำทุกอย่างเต็มที่แล้ว ในที่สุดวันหนึ่งคุณก็ต้องแก่อย่างหนีไม่พ้น ควรยอมรับความจริง อยู่กับความจริง แล้วงามไปตามวัย ให้กำลังใจตัวเองว่า ยิ่งอายุมากขึ้น คุณยิ่งเรียนรู้อะไรได้มากขึ้น ฉลาดขึ้นประสบความสำเร็จในชีวิตมากขึ้น แล้วชื่นชมตัวเองว่า “ฉันแก่อย่างมีคุณค่า”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยฟาริดา เหล่าพัชรกุล)