วันที่ ๖ เมษายนนี้ เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ของชนชาวไทยวันหนึ่ง เพราะเป็นวันรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในพ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นองค์พระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ ตราบจนทุกวันนี้
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีกรุงธนบุรี มาสร้างกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฟากตะวันออก ฝั่งตรงกันข้าม แม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์จะต้องทำศึกสงครามกับพม่าอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่กระนั้นพระองค์ก็ทรงสนพระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้ว-มรกต) และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้พระนครใหม่นี้ เจริญรุ่งเรืองด้วยวัดวาอาราม เสมือนที่มีอยู่ในกรุงศรีอยุธยา สมัยก่อน จะเห็นได้ว่าพระบรมมหาราชวังก็ดี วัดวาอาราม ต่างๆก็ดี ล้วนสร้างตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น ทรงทำนุบำรุงวัดวาอารามต่างๆ มากมาย เช่น วัดพระเชตุ พนวิมลมังคลาราม วัดสระเกศ วัดระฆัง และวัดอรุณ-ราชวราราม เป็นต้น
นอกจากนี้ ทรงปรารภว่า พระพุทธรูปโบราณได้ถูกทอดทิ้งให้ชำรุดทรุดโทรมตามวัดร้างต่างๆ ในพระนคร- ศรีอยุธยา ธนบุรี และสุโขทัย เป็นต้น เป็นจำนวนมาก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ตามวัด ต่างๆ มากถึง ๑,๒๐๐ องค์ เช่น พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม ก็อัญเชิญมาจากกรุงสุโขทัย พระโลกนาถ ก็อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
อนึ่ง พระองค์ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกอันเป็น หลักสำคัญของพระพุทธศาสนา มีความวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่มาก จึงได้อาราธนาสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะ พระฐานานุกรม และเปรียญ ๑๐๐ รูป ช่วยกันทำสังคยานาจนถูกต้องครบถ้วน แล้วทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกไปไว้ตามวัดวาอารามต่างๆ เพื่อพระภิกษุสงฆ์ได้ศึกษาต่อไป
ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและพระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์ จะเห็นได้จากบทร้อยกรองของนรินทรธิเบศร์ ที่ว่า
อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมืองฯ
เพราะฉะนั้น ชื่อของราชธานีใหม่ที่ว่า “กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์” นั้น จึงเป็นเสมือนเมืองฟ้า เมืองสวรรค์ ที่มีพระอินทร์ ผู้เป็นจอมแห่งเทพเป็นผู้ปกครอง เพราะ คำว่า “โกสินทร์” เป็นชื่อของพระอินทร์
เรื่องของพระอินทร์หรือท้าวสักกะจอมเทพนั้น มีปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนามากมายหลายแห่ง ในเรื่องสักกปัญหาสูตร (๖๓ ธมฺ. ๒/๘๗. ชว. ๑/๒) พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบเจ้าสิจฉวี พระนามว่ามหาลิ ในนครไพศาลีว่า พระองค์ทรงรู้จักพระอินทร์ ได้ทอด พระเนตรพระอินทร์ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ถึงธรรมอันจะทำบุคคลให้เป็นพระอินทร์ด้วย ดังนี้
ท้าวสักกเทวานมินทร เมื่อครั้งท้าวเธอเป็นมนุษย์ ได้เกิดเป็นมาณพชื่อมฆะ เขาจึงเรียกกันว่า “ท้าวมฆวาน”
ที่ได้ชื่อว่า“ท้าวปุรินททะ” เพราะสมัยเป็นมนุษย์ได้ทำบุญก่อนใคร
ที่ได้ชื่อว่า “ท้าวสักกะ” เพราะสมัยเป็นมนุษย์ได้ให้ทานโดยเคารพ
ที่ได้ชื่อว่า “ท้าววาสวะ” เพราะสมัยเป็นมนุษย์ได้ให้ที่พักอาศัย
ที่ได้ชื่อว่า “ท้าวสหัสสักขะ” หรือ “ท้าวสหัสสเนตร” หรือ “ท้าวสหัสสนัยน์” หรือ "ท้าวพันตา” เพราะคิดข้อความได้ตั้งพันเรื่องในเวลาครู่เดียว
ที่ได้ชื่อว่า “ท้าวสุชัมบดี” เพราะมีพระชายาชื่อว่า “สุชาดา”
ที่ได้ชื่อว่า “ท้าวเทวานมินทร” เพราะครอบครองราชอิสสริยาธิปัตย์ แห่งเทพชั้นดาวดึงส์
พระพุทธองค์ได้ตรัสต่ออีกว่า พระอินทร์เข้าถึงความเป็นท้าวสักกะได้ เพราะสมาทานธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านั้น เรียกกันว่า “วัตตบท” มีอยู่ ๗ ประการ ได้แก่
๑.เลี้ยงบิดา มารดา เป็นอย่างดี
๒.เคารพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้ใหญ่ในตระกูล
๓.พูดถ้อยคำสุภาพอ่อนโยน
๔.ไม่พูดคำส่อเสียดยุยง ให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน
๕. ไม่มีใจเป็นคนตระหนี่ ยินดีในการทำบุญให้ทาน
๖. พูดจาสัตย์จริง ไม่โกหกมดเท็จ
๗. ไม่เป็นคนมักโกรธ ถ้าความโกรธเกิดขึ้น ก็รีบขจัดเสียโดยเร็ว
วัตตบททั้ง ๗ ประการนี้ ท้าวสักกะได้สมาทานให้บริบูรณ์ตลอดชีวิต ตั้งแต่เกิดเป็นมนุษย์ จึงถึงความเป็นท้าวสักกะ ได้ด้วยประการฉะนี้
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า ชื่อของพระอินทร์มีหลายชื่อ แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติ และบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ตั้งแต่สมัยเป็นมนุษย์ แต่ไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างออกไปอย่างไร คนไทยเราก็นิยมและรู้จักพระอินทร์เป็นอย่างดี
จึงไม่แปลกใจเลย ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงนำชื่อของพระอินทร์มาตั้งเป็นราชธานี แห่งใหม่ คือกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นมงคลนาม และเป็นสิริมงคล แผ่ความร่มเย็นแก่พสกนิกรของพระองค์ ได้มีชีวิตอยู่ด้วยความผาสุกเป็นนิจ และบำเพ็ญตนตามวัตตบท ๗ ประการ ตามที่พระอินทร์ทรงบำเพ็ญมา อันนับเป็นกุศโลบายที่แยบคายยิ่งนัก
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยธมฺมจรถ)
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีกรุงธนบุรี มาสร้างกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฟากตะวันออก ฝั่งตรงกันข้าม แม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์จะต้องทำศึกสงครามกับพม่าอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่กระนั้นพระองค์ก็ทรงสนพระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้ว-มรกต) และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้พระนครใหม่นี้ เจริญรุ่งเรืองด้วยวัดวาอาราม เสมือนที่มีอยู่ในกรุงศรีอยุธยา สมัยก่อน จะเห็นได้ว่าพระบรมมหาราชวังก็ดี วัดวาอาราม ต่างๆก็ดี ล้วนสร้างตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น ทรงทำนุบำรุงวัดวาอารามต่างๆ มากมาย เช่น วัดพระเชตุ พนวิมลมังคลาราม วัดสระเกศ วัดระฆัง และวัดอรุณ-ราชวราราม เป็นต้น
นอกจากนี้ ทรงปรารภว่า พระพุทธรูปโบราณได้ถูกทอดทิ้งให้ชำรุดทรุดโทรมตามวัดร้างต่างๆ ในพระนคร- ศรีอยุธยา ธนบุรี และสุโขทัย เป็นต้น เป็นจำนวนมาก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ตามวัด ต่างๆ มากถึง ๑,๒๐๐ องค์ เช่น พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม ก็อัญเชิญมาจากกรุงสุโขทัย พระโลกนาถ ก็อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
อนึ่ง พระองค์ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกอันเป็น หลักสำคัญของพระพุทธศาสนา มีความวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่มาก จึงได้อาราธนาสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะ พระฐานานุกรม และเปรียญ ๑๐๐ รูป ช่วยกันทำสังคยานาจนถูกต้องครบถ้วน แล้วทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกไปไว้ตามวัดวาอารามต่างๆ เพื่อพระภิกษุสงฆ์ได้ศึกษาต่อไป
ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและพระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์ จะเห็นได้จากบทร้อยกรองของนรินทรธิเบศร์ ที่ว่า
อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมืองฯ
เพราะฉะนั้น ชื่อของราชธานีใหม่ที่ว่า “กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์” นั้น จึงเป็นเสมือนเมืองฟ้า เมืองสวรรค์ ที่มีพระอินทร์ ผู้เป็นจอมแห่งเทพเป็นผู้ปกครอง เพราะ คำว่า “โกสินทร์” เป็นชื่อของพระอินทร์
เรื่องของพระอินทร์หรือท้าวสักกะจอมเทพนั้น มีปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนามากมายหลายแห่ง ในเรื่องสักกปัญหาสูตร (๖๓ ธมฺ. ๒/๘๗. ชว. ๑/๒) พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบเจ้าสิจฉวี พระนามว่ามหาลิ ในนครไพศาลีว่า พระองค์ทรงรู้จักพระอินทร์ ได้ทอด พระเนตรพระอินทร์ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ถึงธรรมอันจะทำบุคคลให้เป็นพระอินทร์ด้วย ดังนี้
ท้าวสักกเทวานมินทร เมื่อครั้งท้าวเธอเป็นมนุษย์ ได้เกิดเป็นมาณพชื่อมฆะ เขาจึงเรียกกันว่า “ท้าวมฆวาน”
ที่ได้ชื่อว่า“ท้าวปุรินททะ” เพราะสมัยเป็นมนุษย์ได้ทำบุญก่อนใคร
ที่ได้ชื่อว่า “ท้าวสักกะ” เพราะสมัยเป็นมนุษย์ได้ให้ทานโดยเคารพ
ที่ได้ชื่อว่า “ท้าววาสวะ” เพราะสมัยเป็นมนุษย์ได้ให้ที่พักอาศัย
ที่ได้ชื่อว่า “ท้าวสหัสสักขะ” หรือ “ท้าวสหัสสเนตร” หรือ “ท้าวสหัสสนัยน์” หรือ "ท้าวพันตา” เพราะคิดข้อความได้ตั้งพันเรื่องในเวลาครู่เดียว
ที่ได้ชื่อว่า “ท้าวสุชัมบดี” เพราะมีพระชายาชื่อว่า “สุชาดา”
ที่ได้ชื่อว่า “ท้าวเทวานมินทร” เพราะครอบครองราชอิสสริยาธิปัตย์ แห่งเทพชั้นดาวดึงส์
พระพุทธองค์ได้ตรัสต่ออีกว่า พระอินทร์เข้าถึงความเป็นท้าวสักกะได้ เพราะสมาทานธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านั้น เรียกกันว่า “วัตตบท” มีอยู่ ๗ ประการ ได้แก่
๑.เลี้ยงบิดา มารดา เป็นอย่างดี
๒.เคารพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้ใหญ่ในตระกูล
๓.พูดถ้อยคำสุภาพอ่อนโยน
๔.ไม่พูดคำส่อเสียดยุยง ให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน
๕. ไม่มีใจเป็นคนตระหนี่ ยินดีในการทำบุญให้ทาน
๖. พูดจาสัตย์จริง ไม่โกหกมดเท็จ
๗. ไม่เป็นคนมักโกรธ ถ้าความโกรธเกิดขึ้น ก็รีบขจัดเสียโดยเร็ว
วัตตบททั้ง ๗ ประการนี้ ท้าวสักกะได้สมาทานให้บริบูรณ์ตลอดชีวิต ตั้งแต่เกิดเป็นมนุษย์ จึงถึงความเป็นท้าวสักกะ ได้ด้วยประการฉะนี้
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า ชื่อของพระอินทร์มีหลายชื่อ แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติ และบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ตั้งแต่สมัยเป็นมนุษย์ แต่ไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างออกไปอย่างไร คนไทยเราก็นิยมและรู้จักพระอินทร์เป็นอย่างดี
จึงไม่แปลกใจเลย ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงนำชื่อของพระอินทร์มาตั้งเป็นราชธานี แห่งใหม่ คือกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นมงคลนาม และเป็นสิริมงคล แผ่ความร่มเย็นแก่พสกนิกรของพระองค์ ได้มีชีวิตอยู่ด้วยความผาสุกเป็นนิจ และบำเพ็ญตนตามวัตตบท ๗ ประการ ตามที่พระอินทร์ทรงบำเพ็ญมา อันนับเป็นกุศโลบายที่แยบคายยิ่งนัก
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยธมฺมจรถ)