xs
xsm
sm
md
lg

พระบรมราโชวาท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

..ความสามัคคีนั้น อาจหมายความถึงเห็นชอบเห็นพ้องกันโดยไม่แย้งกัน ความจริงงานทุกอย่างหรือการอยู่เป็นสังคมย่อมต้องมีความขัดแย้งกัน ความคิดต่างกัน ซึ่งไม่เสียหาย แต่อยู่ที่จิตใจของเรา ถ้าเราใช้หลักวิชาและความปรองดองด้วยการใช้ปัญญา การแย้งต่างๆ ย่อมเป็นประโยชน์ ถ้ามีรากฐานของความคิดอย่างเดียวกัน รากฐานของความคิดนั้นคือ แต่ละคนจะต้องทำให้บ้านเมืองมีความสุขมีความเป็นปึกแผ่น...

...ความจริงงานทุกอย่างถ้าทำด้วยน้ำใจรัก ย่อมมีทางสำเร็จได้ผลดี เมื่อพบอุปสรรคใดๆ อย่าเพิ่งท้อแท้จะหมดกำลังใจง่ายๆ จงตั้งใจทำให้ดี คิดหาทางที่จะแก้ไขผ่อนคลายอุปสรรคต่างๆ ด้วยเหตุผลและหลักวิชา ไตร่ตองด้วยความสุขุมรอบคอบและเยือกเย็น งานจะลุล่วงไปด้วยดี การทำงานด้วยน้ำใจรักต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ...

... คนเราจะแสวงหาแต่วิชา การฝ่ายเดียวไม่ได้ ผู้มีวิชาการจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติในตัวเอง นอกจากวิชาความรู้ด้วย จึงจะนำตนนำชาติให้รอดและเจริญได้ คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับทุกคนนั้น ที่สำคัญได้แก่ ความรู้จักผิดชอบ ชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิด และการกระทำ ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความไม่ มักง่าย หยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเป็นพิเศษ คือความขยัน หมั่นเพียร พยายามฝึกหัดประกอบการงานทุกอย่างด้วยตนเอง ด้วยความตั้งใจ ไม่ละเลย ไม่ทอดทิ้ง คุณสมบัติเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะทำให้การศึกษาสมบูรณ์เป็นประโยชน์จริง...

...ผู้ที่ควรแก่นามว่า “บัณฑิต” นั้น นอกจากความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจสูง มีศีลธรรม มีสติสัมปชัญญะ อดทน อดกลั้น ประพฤติแต่ในสิ่งที่ชอบที่ควร วางตนให้สมเกียรติ เป็นผู้ที่ควรแก่การ นับถือเป็นแบบอย่าง...

...อันการคิดโดยอิสระนั้น ทุกวันนี้ คนบางส่วนมักเข้าใจว่าคือการคิดให้ผิดแปลกแตกต่างจากคนอื่นๆ ความเข้าใจเช่นนั้นยังไม่ถูกแท้ จุดประสงค์สำคัญโดยตรงของการคิด คือคิดให้ออก คิดให้เห็น ชัดแจ้งว่าอะไรเป็นอะไร สมมติว่าจะคิดหาทางปฏิบัติสำหรับการหนึ่งการใด ก็ต้องคิดให้แยบคาย อย่างละเอียดรอบคอบ ประกอบด้วย เหตุผล จนเห็นแจ้งถึงจุดมุ่งหมายอันถูกต้องเที่ยงตรงของการที่จะทำนั้น รวมทั้งวิถีทางปฏิบัติครบทุกขั้นตอนด้วย ...

...ความเข้มแข็งในจิตใจนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องฝึกฝนแต่เล็กเพราะว่าต่อไป ถ้ามีชีวิตที่ลำบาก ไปประสบอุปสรรคใดๆ ถ้าไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีความรู้ ไม่มีทางที่จะผ่านอุปสรรคนั้นได้ เพราะว่าถ้าไปเจออุปสรรคอะไร ก็ไม่มีอะไรที่จะมาช่วยเราได้แต่ถ้ามีความรู้ มีอัธยาศัยที่ดี และมีความเข้มแข็ง ในกาย ในใจ ก็สามารถที่จะผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ นั้นได้...

...ความจริงงานทุกอย่างถ้าทำด้วยน้ำใจรัก ย่อมมีทางสำเร็จได้ผลดี เมื่อพบอุปสรรคใดๆ อย่าเพิ่งท้อแท้จะหมดกำลังใจง่ายๆ จงตั้งใจทำให้ดี คิดหาทางที่จะแก้ไขผ่อนคลายอุปสรรคต่างๆ ด้วยเหตุผลและหลักวิชา ไตร่ตองด้วยความสุขุมรอบคอบและเยือกเย็น งานจะลุล่วงไปด้วยดี การทำงานด้วยน้ำใจรักต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ...

... คนเราจะแสวงหาแต่วิชา การฝ่ายเดียวไม่ได้ ผู้มีวิชาการจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติในตัวเอง นอกจากวิชาความรู้ด้วย จึงจะนำตนนำชาติให้รอดและเจริญได้ คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับทุกคนนั้น ที่สำคัญได้แก่ ความรู้จักผิดชอบ ชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิด และการกระทำ ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความไม่ มักง่าย หยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเป็นพิเศษ คือความขยัน หมั่นเพียร พยายามฝึกหัดประกอบการงานทุกอย่างด้วยตนเอง ด้วยความตั้งใจ ไม่ละเลย ไม่ทอดทิ้ง คุณสมบัติเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะทำให้การศึกษาสมบูรณ์เป็นประโยชน์จริง...

...ผู้ที่ควรแก่นามว่า “บัณฑิต” นั้น นอกจากความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจสูง มีศีลธรรม มีสติสัมปชัญญะ อดทน อดกลั้น ประพฤติแต่ในสิ่งที่ชอบที่ควร วางตนให้สมเกียรติ เป็นผู้ที่ควรแก่การ นับถือเป็นแบบอย่าง...

...อันการคิดโดยอิสระนั้น ทุกวันนี้ คนบางส่วนมักเข้าใจว่าคือการคิดให้ผิดแปลกแตกต่างจากคนอื่นๆ ความเข้าใจเช่นนั้นยังไม่ถูกแท้ จุดประสงค์สำคัญโดยตรงของการคิด คือคิดให้ออก คิดให้เห็น ชัดแจ้งว่าอะไรเป็นอะไร สมมติว่าจะคิดหาทางปฏิบัติสำหรับการหนึ่งการใด ก็ต้องคิดให้แยบคาย อย่างละเอียดรอบคอบ ประกอบด้วย เหตุผล จนเห็นแจ้งถึงจุดมุ่งหมายอันถูกต้องเที่ยงตรงของการที่จะทำนั้น รวมทั้งวิถีทางปฏิบัติครบทุกขั้นตอนด้วย ...

...ความเข้มแข็งในจิตใจนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องฝึกฝนแต่เล็กเพราะว่าต่อไป ถ้ามีชีวิตที่ลำบาก ไปประสบอุปสรรคใดๆ ถ้าไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีความรู้ ไม่มีทางที่จะผ่านอุปสรรคนั้นได้ เพราะว่าถ้าไปเจออุปสรรคอะไร ก็ไม่มีอะไรที่จะมาช่วยเราได้แต่ถ้ามีความรู้ มีอัธยาศัยที่ดี และมีความเข้มแข็ง ในกาย ในใจ ก็สามารถที่จะผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ นั้นได้...

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉ.101 เม.ย.52)
กำลังโหลดความคิดเห็น