ครั้งที่ 018
การรู้กายรู้ใจ (ไม่ใช่เพ่งกายเพ่งใจ)
รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดความอยากก่อน คืออยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าสติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมจะทราบ
สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอย แต่จิตใจของเราชอบเลื่อนลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา... ตอนนี้ลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไปที่กายที่เวทนาหรือที่จิต
การที่จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้น ไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม การเพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่าถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนาเสมอไป นี่ไม่จำเป็นนะ
จริงอยู่ที่การทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ จะไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้
พระอริยเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์ รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติ คือเรื่องราวที่คิด กับอารมณ์ รูปนาม โดยการเพ่งรูปเพ่งนาม อย่างนี้เป็นสมถะ ส่วนวิปัสสนาไม่ใช่แค่การเพ่งรูปนามเฉยๆ แต่จะต้องเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนามจึงจะเป็นวิปัสสนาจริงๆ
อย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ เป็นการทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยกายด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันต้องรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของก้อนธาตุ จะไม่ รู้สึกว่าเราไหวหรือเราเดิน หรือว่าก้อนธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้น ไม่ต้อง บริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรม เมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย
สมมติว่าเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะเห็นความจริงตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊บ ดึงไว้ปั๊บ นี่เป็นสมถะนะ แต่ถ้าใจลอยแล้วเรา ก็เผลอลอยตามมันไปด้วยเลย อันนั้นคือหลงไป
ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อ ไม่ใช่เรียนปริยัติ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อ พูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญอภิธรรมคือเรื่องของสภาวะนั่นเอง นี่สภาวะที่เราเห็นด้วยการ ปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ๊ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย
หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันนี้ หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ พอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการ สำคัญ
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
ฝึกรู้ขันธ์ตามจริง อย่าไปปรุงแต่งขันธ์)
การรู้กายรู้ใจ (ไม่ใช่เพ่งกายเพ่งใจ)
รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดความอยากก่อน คืออยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าสติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมจะทราบ
สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอย แต่จิตใจของเราชอบเลื่อนลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา... ตอนนี้ลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไปที่กายที่เวทนาหรือที่จิต
การที่จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้น ไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม การเพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่าถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนาเสมอไป นี่ไม่จำเป็นนะ
จริงอยู่ที่การทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ จะไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้
พระอริยเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์ รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติ คือเรื่องราวที่คิด กับอารมณ์ รูปนาม โดยการเพ่งรูปเพ่งนาม อย่างนี้เป็นสมถะ ส่วนวิปัสสนาไม่ใช่แค่การเพ่งรูปนามเฉยๆ แต่จะต้องเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนามจึงจะเป็นวิปัสสนาจริงๆ
อย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ เป็นการทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยกายด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันต้องรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของก้อนธาตุ จะไม่ รู้สึกว่าเราไหวหรือเราเดิน หรือว่าก้อนธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้น ไม่ต้อง บริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรม เมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย
สมมติว่าเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะเห็นความจริงตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊บ ดึงไว้ปั๊บ นี่เป็นสมถะนะ แต่ถ้าใจลอยแล้วเรา ก็เผลอลอยตามมันไปด้วยเลย อันนั้นคือหลงไป
ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อ ไม่ใช่เรียนปริยัติ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อ พูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญอภิธรรมคือเรื่องของสภาวะนั่นเอง นี่สภาวะที่เราเห็นด้วยการ ปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ๊ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย
หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันนี้ หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ พอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการ สำคัญ
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
ฝึกรู้ขันธ์ตามจริง อย่าไปปรุงแต่งขันธ์)