อากาศเย็นสบายยามนี้ เห็นผัก “ขึ้นฉ่าย” ต้นอวบๆน่ารับประทาน ราคาก็ไม่แพง แถมมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการช่วยลดความดันโลหิตสูง โรคที่คนสูงวัยเป็นกันมาก เพราะฉะนั้นเลยอยากชวนมารับประทานผักดีมีคุณค่ากันค่ะ
มาดูกันหน่อยนะคะ ว่าเจ้าผักตัวนี้ มีความเป็นมาอย่างไร ประกอบด้วยสารที่ประโยชน์อะไรบ้าง และเท่าที่ ‘ป้าบัว’ ค้นคว้ามาได้ความดังนี้ค่ะ
ขึ้นฉ่ายนั้นมีทั้งในยุโรปและเอเซีย ในยุโรปนั้นถือเป็นพืชพื้นเมืองของยุโรปตอนใต้ ชาวกรีกโบราณมีการทำไวน์ขึ้นฉ่ายเพื่อให้นักกีฬากิน และใช้เป็นยาสมุนไพรมานานแล้วด้วย มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ ต้นสีขาว สีเขียว และน้ำตาลเขียว ต้นอวบใหญ่มาก สูงราว 40-60 ซม. ส่วนในเอเชียนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าคือสูงราว 30 ซม. ที่บ้านเรารับประทานกันอยู่นั้นเป็นพันธุ์จากเมืองจีน
สารสำคัญในขึ้นฉ่ายที่ช่วยลดความ ดันโลหิต ลดปริมาณโคเลสเตอรอล และมีฤทธิ์เป็นยาระงับประสาท ก็คือ3-เอ็น-บิวทิล ฟทาไลด์ (3-n-butyl phthalide)
นอกจากนี้ขึ้นฉ่ายยังอุดมไปด้วยธาตุโพแทสเซียม ซึ่งช่วยปรับระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ และมีสารจำพวกเกลือแร่ แคลเซียม และฟอสฟอรัสอยู่มาก จึงช่วยให้ให้กระดูกและ ฟันแข็งแรง และช่วยบำรุงครรภ์ด้วย
รวมทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระคือ ฟีนอลิคอยู่มาก จึงสามารถนำมาใช้ชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ดีพอสมควร มีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระ รักษาไข้หวัด และช่วยทำให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง ทั้งยังมีสารเบตาแคโรทีนช่วยต้านมะเร็งและหัวใจขาดเลือดอีกด้วย
และคุณสมบัติทางยาของขึ้นฉ่ายตามตำราจีนอีกอย่างหนึ่งก็คือช่วยขับปัสสาวะ และน้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายยังช่วยลดอาการบวมน้ำ เช่นอาการบวมน้ำก่อนมีประจำเดือน แก้โรคไขข้อ แก้ อาการอักเสบและอาการปวดตามข้อ
ชาวเอเชียรู้จักใช้ขึ้นฉ่ายเป็นยาลดความดันมาเป็นพันปีแล้วค่ะ ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้รับประทานวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ ซึ่งมีข้อมูลว่าในปีค.ศ.1992 นายมินห์ เล ( Minh Le)ชาวเวียดนาม บิดาของนักศึกษามหาวิทยาลัยแพทย์ชิคาโก ถูกวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และแพทย์ได้ สั่งยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาความดันโลหิตสูง แต่นายเลไม่ยอมกินยาแผนปัจจุบัน กลับไปกินขึ้นฉ่ายวันละ 454 กรัม ไม่นานก็พบ ว่าความดันลดลงจาก 158/96 เหลือ 118/82 ต่อมาลูกชายของเขานายกว่าง เล (Quang Le) และนักเภสัชวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ชิคาโก ดร.วิลเลียม เอลลิออต(Willium Elliot) ได้แยกสารชื่อว่า 3-n-butyl phathalide และเมื่อฉีดเข้าไปในหนูพบว่า ความดัน โลหิตสูงลดลงร้อยละ 15 และโคเลสเตอรอลลดลงร้อยละ 7
ส่วนแพทย์อายุรเวทในอินเดียจะใช้เมล็ดขึ้นฉ่าย เพื่อขับปัสสาวะสำหรับ ผู้ป่วยที่บวมน้ำ
เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ถ้ากินขึ้นฉ่ายสดเป็นประจำจะมีผลดีในการรักษา แต่ไม่ควรจะผัดหรือต้มให้สุกมากเกินไป เพราะความร้อนสามารถทำลายวิตามินและเกลือแร่ในขึ้นฉ่ายได้
ตำรายาไทยโบราณบอกว่าขึ้นฉ่ายมีรสหวาน เย็น เผ็ดเล็กน้อย ไม่มีพิษ และได้ระบุถึงสรรพคุณของผักชนิดนี้ ว่า ราก แก้จุกเสียด ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ ต้น ขับระดู แก้ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ แก้อาการเมาเหล้า แก้อาเจียน รับประทานมากทำให้เป็นหมันได้ ใบ แก้โรคความดันโลหิตสูง แก้อาการตกเลือด แก้โรคลมพิษ เมล็ด ขับลม ขับระดู ขับปัสสาวะ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นยาบำรุงหัวใจ เป็นต้น
สอดคล้องกับการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบว่า ขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม คุมกำเนิด ลดจำนวนอสุจิ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง เนื้องอก ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว มีฤทธิ์กล่อมประสาท เป็นต้น
ส่วนสาเหตุที่นิยมนำขึ้นฉ่ายมาใช้ในการปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวปลาหรือ เนื้อ หรือเพิ่มความ หอมของน้ำซุป ก็เพราะว่าในขึ้นฉ่ายมีสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ ไลโมนีน (Limonene) ซีลินีน (Selinene) และฟทาไลด์ (Phthalides) ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นหอมเฉพาะตัวของขึ้นฉ่าย และช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร
เดี๋ยวนี้คนทั่วโลกหันมานิยมรับประทานขึ้นฉ่ายกันมากขึ้น มีทั้งรับประทานกันแบบสดๆหรือนำไปคั้นเป็นน้ำดื่มแบบสดๆ หรือนำไปปรุงอาหารสารพัดรูปแบบ
ปีใหม่นี้ ฉลองกันแต่พอดีนะคะ เลือกรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์กับสุขภาพกันด้วย ส่วน ‘ป้าบัว’ ต้องขอตัวไปซื้อขึ้นฉ่ายมารับประทานสัก หน่อย เพราะอาการของโรคความดันโลหิตสูงกำลังมาเยือนแล้ว
สวัสดีปีใหม่ 2552 ขอให้มีความสุขและสุขภาพดีกันทุกท่านค่ะ
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 98 ม.ค. 52 โดยป้าบัว)
มาดูกันหน่อยนะคะ ว่าเจ้าผักตัวนี้ มีความเป็นมาอย่างไร ประกอบด้วยสารที่ประโยชน์อะไรบ้าง และเท่าที่ ‘ป้าบัว’ ค้นคว้ามาได้ความดังนี้ค่ะ
ขึ้นฉ่ายนั้นมีทั้งในยุโรปและเอเซีย ในยุโรปนั้นถือเป็นพืชพื้นเมืองของยุโรปตอนใต้ ชาวกรีกโบราณมีการทำไวน์ขึ้นฉ่ายเพื่อให้นักกีฬากิน และใช้เป็นยาสมุนไพรมานานแล้วด้วย มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ ต้นสีขาว สีเขียว และน้ำตาลเขียว ต้นอวบใหญ่มาก สูงราว 40-60 ซม. ส่วนในเอเชียนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าคือสูงราว 30 ซม. ที่บ้านเรารับประทานกันอยู่นั้นเป็นพันธุ์จากเมืองจีน
สารสำคัญในขึ้นฉ่ายที่ช่วยลดความ ดันโลหิต ลดปริมาณโคเลสเตอรอล และมีฤทธิ์เป็นยาระงับประสาท ก็คือ3-เอ็น-บิวทิล ฟทาไลด์ (3-n-butyl phthalide)
นอกจากนี้ขึ้นฉ่ายยังอุดมไปด้วยธาตุโพแทสเซียม ซึ่งช่วยปรับระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ และมีสารจำพวกเกลือแร่ แคลเซียม และฟอสฟอรัสอยู่มาก จึงช่วยให้ให้กระดูกและ ฟันแข็งแรง และช่วยบำรุงครรภ์ด้วย
รวมทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระคือ ฟีนอลิคอยู่มาก จึงสามารถนำมาใช้ชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ดีพอสมควร มีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระ รักษาไข้หวัด และช่วยทำให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง ทั้งยังมีสารเบตาแคโรทีนช่วยต้านมะเร็งและหัวใจขาดเลือดอีกด้วย
และคุณสมบัติทางยาของขึ้นฉ่ายตามตำราจีนอีกอย่างหนึ่งก็คือช่วยขับปัสสาวะ และน้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายยังช่วยลดอาการบวมน้ำ เช่นอาการบวมน้ำก่อนมีประจำเดือน แก้โรคไขข้อ แก้ อาการอักเสบและอาการปวดตามข้อ
ชาวเอเชียรู้จักใช้ขึ้นฉ่ายเป็นยาลดความดันมาเป็นพันปีแล้วค่ะ ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้รับประทานวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ ซึ่งมีข้อมูลว่าในปีค.ศ.1992 นายมินห์ เล ( Minh Le)ชาวเวียดนาม บิดาของนักศึกษามหาวิทยาลัยแพทย์ชิคาโก ถูกวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และแพทย์ได้ สั่งยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาความดันโลหิตสูง แต่นายเลไม่ยอมกินยาแผนปัจจุบัน กลับไปกินขึ้นฉ่ายวันละ 454 กรัม ไม่นานก็พบ ว่าความดันลดลงจาก 158/96 เหลือ 118/82 ต่อมาลูกชายของเขานายกว่าง เล (Quang Le) และนักเภสัชวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ชิคาโก ดร.วิลเลียม เอลลิออต(Willium Elliot) ได้แยกสารชื่อว่า 3-n-butyl phathalide และเมื่อฉีดเข้าไปในหนูพบว่า ความดัน โลหิตสูงลดลงร้อยละ 15 และโคเลสเตอรอลลดลงร้อยละ 7
ส่วนแพทย์อายุรเวทในอินเดียจะใช้เมล็ดขึ้นฉ่าย เพื่อขับปัสสาวะสำหรับ ผู้ป่วยที่บวมน้ำ
เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ถ้ากินขึ้นฉ่ายสดเป็นประจำจะมีผลดีในการรักษา แต่ไม่ควรจะผัดหรือต้มให้สุกมากเกินไป เพราะความร้อนสามารถทำลายวิตามินและเกลือแร่ในขึ้นฉ่ายได้
ตำรายาไทยโบราณบอกว่าขึ้นฉ่ายมีรสหวาน เย็น เผ็ดเล็กน้อย ไม่มีพิษ และได้ระบุถึงสรรพคุณของผักชนิดนี้ ว่า ราก แก้จุกเสียด ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ ต้น ขับระดู แก้ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ แก้อาการเมาเหล้า แก้อาเจียน รับประทานมากทำให้เป็นหมันได้ ใบ แก้โรคความดันโลหิตสูง แก้อาการตกเลือด แก้โรคลมพิษ เมล็ด ขับลม ขับระดู ขับปัสสาวะ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นยาบำรุงหัวใจ เป็นต้น
สอดคล้องกับการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบว่า ขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม คุมกำเนิด ลดจำนวนอสุจิ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง เนื้องอก ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว มีฤทธิ์กล่อมประสาท เป็นต้น
ส่วนสาเหตุที่นิยมนำขึ้นฉ่ายมาใช้ในการปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวปลาหรือ เนื้อ หรือเพิ่มความ หอมของน้ำซุป ก็เพราะว่าในขึ้นฉ่ายมีสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ ไลโมนีน (Limonene) ซีลินีน (Selinene) และฟทาไลด์ (Phthalides) ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นหอมเฉพาะตัวของขึ้นฉ่าย และช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร
เดี๋ยวนี้คนทั่วโลกหันมานิยมรับประทานขึ้นฉ่ายกันมากขึ้น มีทั้งรับประทานกันแบบสดๆหรือนำไปคั้นเป็นน้ำดื่มแบบสดๆ หรือนำไปปรุงอาหารสารพัดรูปแบบ
ปีใหม่นี้ ฉลองกันแต่พอดีนะคะ เลือกรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์กับสุขภาพกันด้วย ส่วน ‘ป้าบัว’ ต้องขอตัวไปซื้อขึ้นฉ่ายมารับประทานสัก หน่อย เพราะอาการของโรคความดันโลหิตสูงกำลังมาเยือนแล้ว
สวัสดีปีใหม่ 2552 ขอให้มีความสุขและสุขภาพดีกันทุกท่านค่ะ
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 98 ม.ค. 52 โดยป้าบัว)