ปุจฉา
จิตตกอยู่เสมอ
ขอความเมตตาหลวงปู่ให้คำชี้แนะด้วยเจ้าค่ะ ลูกมีสภาวะจิตตกอยู่เสมอ มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นอนุสัย เป็นสันดาน เป็นกรรมอันใดหรือไม่ หลวงปู่เคยสอนว่าน้ำจะไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ เราต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการดึงมันขึ้นมา แต่ด้วยสติที่มีอยู่น้อยนิด คงไม่อาจสู้กับการฉุดกระชากลากถูของพญามารได้จะทำอย่างไรดีเจ้าคะ
วิสัชนา
แน่นอน น้ำย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่เสมอ เมื่อคุณรู้อย่างนี้ก็อย่าให้น้ำมันไหลไวเกินไป และสมควรอย่างยิ่งที่ต้องหาภาชนะหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดมารองน้ำหรือกั้นน้ำนั้นไว้บ้าง อย่างน้อยจะได้ เอาไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่นเดียวกัน คนเรามักจะมีอารมณ์ใฝ่ต่ำเสมอ ต้องหาเครื่องกรอง เครื่องกั้นอารมณ์เอาไว้บ้าง และเครื่องกรองเครื่องกั้นนั้นก็คือ สติ สมาธิ ปัญญา ที่เกิดจากการฝึกหัดศึกษาปฏิบัติธรรม
ปุจฉา
ซึมเศร้า หมดหวัง
กราบนมัสการหลวงปู่ หลวงปู่ครับ...
1. เราจะมีวิธีสร้างแรงจูงใจ ให้ รัก เพียรพยายาม เอาใจใส่ ตรวจสอบใคร่ครวญในการงาน ไปตลอดได้อย่างไรครับ
2. ในการฝึกสตินั้น สำหรับคนที่มีกิเลสมากนั้นต้องใช้เวลา เท่าไรจึงจะได้ผลครับ และมีวิธีใดบ้างที่ฝึกง่ายๆ (ถึงแม้ต้องใช้เวลามากๆ)สำหรับคนที่ไม่ชอบการฝึกแบบเป็นพิธีการ
3.เราจะใช้ธรรมะข้อใด ที่ช่วยให้เรารอดพ้นจากความโกรธ หงุดหงิด รำคาญ ได้บ้างครับ
4. อาการซึมเศร้า ท้อแท้ หมดหวัง ในความสามารถของตัวเองนั้น เราจะทำอย่างไรให้เรา และคนอื่นๆ ไม่มีอาการอย่างนี้
วิสัชนา
1. มีสติคอยเตือนตนให้สนใจใส่ใจ รักที่จะทำอะไรให้สำเร็จลุล่วง ด้วยความจดจ่อ จับจ้อง จริงจัง ตั้งใจ เพียรพยายาม พร้อมกับใช้ปัญญาใคร่ครวญพิจารณาในการงานที่ลงมือกระทำ คำที่พูด สูตรที่คิด เมื่อกิจกรรมที่ทำแล้วมีผลสำเร็จ เรายิ่งรู้สึกภาคภูมิ ยินดี เหล่านี้ก็เป็น วิธีสร้างแรงจูงใจให้เรามีกำลังที่ จะทำงานต่อไปอย่างไม่เบื่อหน่าย
2. ฝึกทุกลมหายใจที่เข้าออกจนกว่าชีวิตคุณจะหาไม่ มีสติรู้ลมหายใจเข้า มีสติรู้ลมหายใจออก นี่เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ต้องอาศัยพิธีการใดๆ
3. สติ เมตตา ปัญญา
4. เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะคุณไม่มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ที่ปรากฏ แก่คุณ เมื่อไม่รู้เท่าทันก็ระงับอารมณ์นั้นๆ ไม่ได้ ผลก็จะเป็นอย่างที่คุณกล่าว อีกอย่าง การซึมเศร้า ท้อแท้ และหมดหวัง อาจจะเกิดจากความทะยานอยาก ตัณหา และอุปาทาน คือความยึดถือ เกิดการแปรเปลี่ยน เหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดอาการซึม เศร้า ท้อแท้ และความหมดหวังทั้งนั้น สิ่งที่แก้ได้ดีที่สุดคือ สติ สมาธิ ปัญญา
ปุจฉา
วินัยในตัวเอง
ผมขอเรียนถามหลวงปู่ว่า วินัยในตัวเองคืออะไร
วิสัชนา
วินัยในตัวเองมันเริ่มต้นด้วยคุณคิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น พูดอย่างไร ก็ทำอย่างเดียวกัน ด้วยความไม่ขัด ไม่เขิน ไม่ทำให้ตน และคนอื่นเดือดร้อน วินัยในตนเองนี้ต้องรวมไปถึงการมีสัมพันธภาพอันดีต่อกันและแม้แต่ในตนและคนอื่น
ปุจฉา
โลกของพุทธะ
กราบนมัสการองค์หลวงปู่พุทธอิสระที่เคารพอย่างสูง ในโลกของพุทธะจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร ลูกขอความ เมตตาด้วยครับ
วิสัชนา
เริ่มต้นจากการมีน้ำใจ รู้จักให้ เมตตา อาทรต่อเพื่อนผู้ร่วม เกิดแก่เจ็บตาย เพียรพยายามรักษากาย วาจา ให้เป็นปกติ รักษาใจให้สงบ ปลอดจากอารมณ์และมลพิษทั้งปวง
ทำทุกวิถีเพื่อให้เข้าถึงความรู้เห็นตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง สรรพสัตว์ สรรพชีวิต มีความขยันหมั่นเพียรที่จะประกอบคุณงามความดีรู้ และละชั่ว
ทำการทุกอย่างดังกล่าวมาแล้ว ด้วยความอดทน อดกลั้น มีความจริงใจต่อเรื่องที่เราทำ คำที่เราพูด สูตรที่เราคิด ทั้งกับตนและคนอื่น
มีความตั้งมั่นในการกระทำคุณงามความดีอย่างไม่ย่นย่อ ไม่ท้อถอย รู้จักวางเฉยในอารมณ์ที่มากระทบ จากตาเห็นรูป หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส อย่าให้เกิดอารมณ์ใดๆ กับใจ ทุกอย่างนี้ทำด้วยสติตั้งมั่น
จิตตกอยู่เสมอ
ขอความเมตตาหลวงปู่ให้คำชี้แนะด้วยเจ้าค่ะ ลูกมีสภาวะจิตตกอยู่เสมอ มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นอนุสัย เป็นสันดาน เป็นกรรมอันใดหรือไม่ หลวงปู่เคยสอนว่าน้ำจะไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ เราต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการดึงมันขึ้นมา แต่ด้วยสติที่มีอยู่น้อยนิด คงไม่อาจสู้กับการฉุดกระชากลากถูของพญามารได้จะทำอย่างไรดีเจ้าคะ
วิสัชนา
แน่นอน น้ำย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่เสมอ เมื่อคุณรู้อย่างนี้ก็อย่าให้น้ำมันไหลไวเกินไป และสมควรอย่างยิ่งที่ต้องหาภาชนะหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดมารองน้ำหรือกั้นน้ำนั้นไว้บ้าง อย่างน้อยจะได้ เอาไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่นเดียวกัน คนเรามักจะมีอารมณ์ใฝ่ต่ำเสมอ ต้องหาเครื่องกรอง เครื่องกั้นอารมณ์เอาไว้บ้าง และเครื่องกรองเครื่องกั้นนั้นก็คือ สติ สมาธิ ปัญญา ที่เกิดจากการฝึกหัดศึกษาปฏิบัติธรรม
ปุจฉา
ซึมเศร้า หมดหวัง
กราบนมัสการหลวงปู่ หลวงปู่ครับ...
1. เราจะมีวิธีสร้างแรงจูงใจ ให้ รัก เพียรพยายาม เอาใจใส่ ตรวจสอบใคร่ครวญในการงาน ไปตลอดได้อย่างไรครับ
2. ในการฝึกสตินั้น สำหรับคนที่มีกิเลสมากนั้นต้องใช้เวลา เท่าไรจึงจะได้ผลครับ และมีวิธีใดบ้างที่ฝึกง่ายๆ (ถึงแม้ต้องใช้เวลามากๆ)สำหรับคนที่ไม่ชอบการฝึกแบบเป็นพิธีการ
3.เราจะใช้ธรรมะข้อใด ที่ช่วยให้เรารอดพ้นจากความโกรธ หงุดหงิด รำคาญ ได้บ้างครับ
4. อาการซึมเศร้า ท้อแท้ หมดหวัง ในความสามารถของตัวเองนั้น เราจะทำอย่างไรให้เรา และคนอื่นๆ ไม่มีอาการอย่างนี้
วิสัชนา
1. มีสติคอยเตือนตนให้สนใจใส่ใจ รักที่จะทำอะไรให้สำเร็จลุล่วง ด้วยความจดจ่อ จับจ้อง จริงจัง ตั้งใจ เพียรพยายาม พร้อมกับใช้ปัญญาใคร่ครวญพิจารณาในการงานที่ลงมือกระทำ คำที่พูด สูตรที่คิด เมื่อกิจกรรมที่ทำแล้วมีผลสำเร็จ เรายิ่งรู้สึกภาคภูมิ ยินดี เหล่านี้ก็เป็น วิธีสร้างแรงจูงใจให้เรามีกำลังที่ จะทำงานต่อไปอย่างไม่เบื่อหน่าย
2. ฝึกทุกลมหายใจที่เข้าออกจนกว่าชีวิตคุณจะหาไม่ มีสติรู้ลมหายใจเข้า มีสติรู้ลมหายใจออก นี่เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ต้องอาศัยพิธีการใดๆ
3. สติ เมตตา ปัญญา
4. เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะคุณไม่มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ที่ปรากฏ แก่คุณ เมื่อไม่รู้เท่าทันก็ระงับอารมณ์นั้นๆ ไม่ได้ ผลก็จะเป็นอย่างที่คุณกล่าว อีกอย่าง การซึมเศร้า ท้อแท้ และหมดหวัง อาจจะเกิดจากความทะยานอยาก ตัณหา และอุปาทาน คือความยึดถือ เกิดการแปรเปลี่ยน เหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดอาการซึม เศร้า ท้อแท้ และความหมดหวังทั้งนั้น สิ่งที่แก้ได้ดีที่สุดคือ สติ สมาธิ ปัญญา
ปุจฉา
วินัยในตัวเอง
ผมขอเรียนถามหลวงปู่ว่า วินัยในตัวเองคืออะไร
วิสัชนา
วินัยในตัวเองมันเริ่มต้นด้วยคุณคิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น พูดอย่างไร ก็ทำอย่างเดียวกัน ด้วยความไม่ขัด ไม่เขิน ไม่ทำให้ตน และคนอื่นเดือดร้อน วินัยในตนเองนี้ต้องรวมไปถึงการมีสัมพันธภาพอันดีต่อกันและแม้แต่ในตนและคนอื่น
ปุจฉา
โลกของพุทธะ
กราบนมัสการองค์หลวงปู่พุทธอิสระที่เคารพอย่างสูง ในโลกของพุทธะจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร ลูกขอความ เมตตาด้วยครับ
วิสัชนา
เริ่มต้นจากการมีน้ำใจ รู้จักให้ เมตตา อาทรต่อเพื่อนผู้ร่วม เกิดแก่เจ็บตาย เพียรพยายามรักษากาย วาจา ให้เป็นปกติ รักษาใจให้สงบ ปลอดจากอารมณ์และมลพิษทั้งปวง
ทำทุกวิถีเพื่อให้เข้าถึงความรู้เห็นตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง สรรพสัตว์ สรรพชีวิต มีความขยันหมั่นเพียรที่จะประกอบคุณงามความดีรู้ และละชั่ว
ทำการทุกอย่างดังกล่าวมาแล้ว ด้วยความอดทน อดกลั้น มีความจริงใจต่อเรื่องที่เราทำ คำที่เราพูด สูตรที่เราคิด ทั้งกับตนและคนอื่น
มีความตั้งมั่นในการกระทำคุณงามความดีอย่างไม่ย่นย่อ ไม่ท้อถอย รู้จักวางเฉยในอารมณ์ที่มากระทบ จากตาเห็นรูป หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส อย่าให้เกิดอารมณ์ใดๆ กับใจ ทุกอย่างนี้ทำด้วยสติตั้งมั่น