สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นปรุงออกไปจากจิต
ถ้าเราแค่เอามือปิดเครื่องฉายหนังไม่ให้ทำงาน
ภาพในจอทั้งหมดก็ว่างเปล่า ตามสภาพเดิมของมัน
ครั้งที่ 007
สิ่งทั้งหลายคือภาพลวงตา
ธรรมดาใจมันคุ้นเคยว่ากายนี้ใจนี้คือตัวเรา พอมันเริ่มเห็นความจริงว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ มันชักกลัว ก็ให้รู้ไป กลัวก็รู้ว่ากลัวน่ะ กายอันหนึ่ง ใจอันหนึ่ง ความกลัวอันหนึ่ง คนละอันกัน
การที่จิตเรายึดถือขันธ์นั่นเอง ยึดถือจิต ยึดถือขันธ์ พอยึดถือขึ้นมาแล้วไม่ถือเฉยๆ นะ ทันทีที่ความอยากใดๆ เกิดขึ้น มันจะบิด มันจะขยำไปเรื่อยๆ บิดไปเรื่อยๆ มันจะเกิด ทุกข์อันที่สองขึ้น ทุกข์เพราะแรงเค้น ทุกข์เพราะการกระทำของใจ เรียกว่าทุกข์เพราะภพ ภพคือการกระทำทางใจ รากของมันคือตัณหา อยากอย่างโน้นอย่างนี้ พอไปหยิบมาก็คิดว่ามันเป็นของเราเป็นตัวเรา อยากให้มีความสุข อยากให้มันดีนะก็บิด ทั้งบิดทั้งเค้น ตราบใดที่ยังหยิบฉวยอยู่ ก็จะบิดๆ เค้นๆ ไปเรื่อย ต้องเข้าถึงธรรม สามครั้งก็จะหยิบขึ้นมา เอามาดูนิดๆ หน่อยๆ ไม่บิดไม่เค้นนะ หยิบๆ วางๆ เดี๋ยวก็หยิบอีก ถ้าเข้าถึงธรรมครั้งที่สี่แล้วก็จะทิ้ง ไม่หยิบมาอีก ตรงนี้เข้าใจหรือยัง เห็นไหมเห็นตรงที่จิตไปหยิบมาไหม หยิบมาแล้วมาเค้น ถ้าเราภาวนาถึงขีดสุดเนี่ย จะวางลงไป มันจะสลัดคืน ไม่ไปหยิบมาอีกก็ไม่มีการเค้น แล้วความเครียดในใจจะมีไม่ได้เลย ไม่เกิดความเครียดขึ้น มันจะเกิดแต่ความทุกข์ของธาตุของขันธ์ ธาตุขันธ์ก็ทำงานของมันตามปกตินั่นแหละ ไม่ใช่ว่าผิดมนุษย์มนาอะไรนะ ธาตุขันธ์ก็ทำงานอย่างปกติ แต่ใจนี้ไม่ไปหยิบฉวย ไม่หยิบฉวยจิตขึ้นมา สิ่งที่ หยิบฉวยก็คือจิตนั่นแหละ จิตหยิบฉวยจิตขึ้นมา สังเกตไหม มันไม่ได้ไปหยิบฉวยกาย
มันหยิบฉวยจิต พอหยิบฉวยจิตแล้วก็มาเค้นๆๆ ก็ทุกข์ พอรู้ทันตัณหา ตัดต้นทาง ของมันก็ไม่เค้น หยิบเฉยๆ แต่ไม่เค้น ถ้าเผลอแล้วเค้นอีก งั้นวันใดสามารถวางความ ยึดถือจิตลงไปแล้วนั่นแหละถึงจะหมดภาระ หมดความทุกข์แล้ว ก็เหลือแต่ความทุกข์ของขันธ์ล้วนๆ เลยตอนนี้ การปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เราชอบไปวาดภาพให้มันเกินจริง แค่เรามีสติ เรารู้ทันการทำงานของกายของใจ โดยเฉพาะของใจ กายมันเคลื่อนไปได้เพราะว่าใจมันสั่งนั่นแหละ พอรู้ทันเข้ามาถึงจิตถึงใจนะ ถึงต้นตอของมัน แล้ววางตัวต้นตอไปได้ก็สบาย ส่วนมากเราชอบไปแก้อาการ แก้ปรากฏการณ์ซึ่งบังคับไม่ได้
คล้ายๆ เคยเห็นเขาฉายหนังกลางแปลงไหม เดี๋ยวนี้ยังมีบ้างไหม หนังตามงาน วัดใครเคยเห็นไหม ทำไมต้องหนังงานวัด เพราะมันเห็นเครื่องฉาย มันมีเครื่องฉาย ตั้งอยู่ จออยู่โน่น คนทั้งหลายนะไปหลงภาพในจอ ทวนเข้ามาไม่ถึงต้นตอของมัน ไปเห็นตัวนางเอกในหนัง ไปไล่คว้า คว้าเงานั่นแหละ ขันธ์มันก็เหมือนภาพลวงตา ขันธ์นะ... เหมือนภาพลวงตา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราพบเราเห็นนั้นก็แค่ภาพลวงตาเหมือนภาพในจอหนังนั่นเอง จริงๆ เราบังคับมันไม่ได้ งั้นเราจะไปไล่ตะครุบไล่จับไล่ควบคุมขันธ์น่ะทำไม่ได้ เหมือนไล่ตะครุบภาพในจอหนัง ทำไม่ได้ ถ้าทวนกระแสเข้ามาถึงตัวต้นตอของมันคือจิตนั่นเอง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นปรุงออกไปจากจิตนั่นเอง ถ้าเราแค่เอามือปิดเครื่องฉายหนังซะ ไม่ให้ทำงานต่อ ภาพในจอทั้งหมดก็ว่างเปล่า ตามสภาพเดิมของมัน งั้นการปฏิบัติไม่ใช่นั่งแก้อาการทีละอาการ การปฏิบัติถ้าจะให้ได้ผลรวบรัดนะ เรียนรู้เข้ามาให้ถึงต้นตอของความปรุงแต่ง ถ้ารู้เข้ามาถึงต้นตอของความปรุงแต่ง มันอยู่ที่จิตนั่นเอง จิตมันปรุงแต่ง ถ้ารู้ถึงความปรุงแต่ง จนความปรุงแต่งขาดไปนะ ไม่ต้องไปตามแก้อาการอีกแล้ว คนทั้งหลายได้แต่แค่พยายามแก้อาการ พยายามทำได้แค่นั้นเองเพราะสติปัญญาไม่แก่รอบ ไม่รู้ว่าวิธีจัดการกับความทุกข์ที่จะพ้นทุกข์อย่างแท้จริงนั้นคือทวนกระแสเข้ามา มาเรียนรู้ที่ต้นตอของมัน จนเราเห็นเลย กระทั่งจิตนี้ก็ไม่ใช่เรานะ คืนให้ธรรมชาติไป งั้นโยนเครื่องฉายหนังทิ้งไปด้วย ใครก็เอามาฉายอีก ไม่ได้แล้ว แต่สติปัญญาของคนบนโลกมันทำได้แค่ตะครุบภาพในจอหนัง เผอิญรูปภาพ ในจอมันยืนอยู่นิ่งๆ บางทีมันยืนคุยกันนิ่งๆ ไม่ได้เคลื่อนไหว ไปจับไว้ นึกว่าจับได้แล้ว หยุดได้ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็หนีไปอีก หนีอีกก็วิ่งไล่จับอีก โง่นะ ศาสนาพุทธเราสอนให้เรียนย้อนเข้ามาหาต้นตอของมัน ต้นตอของความปรุงแต่งอยู่ที่จิตนี่เอง วันหนึ่งรู้ทันต้นตอของมันนะ คล้ายๆ เอามือไปปิดไอ้ตรงที่มันฉายไฟออกมา ภาพในจอหนังก็หายไป ไม่หลงออกไปข้างนอกแล้ว สุดท้ายนะโยนเครื่องฉายหนังลงน้ำไป สุดท้ายคือเราโยนจิตทิ้งไปนั่นเอง สลัดทิ้ง มันก็จะฉายอีกไม่ได้ ทีนี้เราเอามือปิดไว้นะ พอหมดแรงปิดมันก็ฉายอีก พวกที่เดินฌาน ไม่หลงไปกับความปรุงแต่งทางตา หู จมูก ลิ้น กายแล้ว แต่เครื่องฉายหนังยังเดินอยู่ เพียงแต่ไม่ทำงานออกไปสู่กามภพ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดอยู่ หมดแรงปิดเมื่อไหร่นะ เผลอหลุดมือเมื่อไหร่นะ มันฉายออกไปอีกแล้ว พวกพรหมสำรวมจิตเข้ามา แต่ว่าจิตก็ยังปรุงแต่งอยู่ คือหนังยังฉายอยู่แต่ว่ามันไปที่จอไม่ได้เท่านั้นเอง รูปมันไปไม่ถึงจอ
การภาวนาเป็นขั้นเป็นตอน คนทั้งหลาย มันไล่จับเงา ไล่ในกามนั่นเอง รู้สึกสนุกสนานเอร็ดอร่อยสวยงาม รูปในจอหนังสวยกว่าตัวเครื่องฉายหนังใช่มั้ย แต่ไม่ใช่ของจริง กามก็เป็นอย่างนั้นแหละ สวยงามล่อลวงให้วิ่งไล่จับ เหมือนๆ จะได้แต่ไม่เคยได้ ไม่เคยอิ่มไม่เคยเต็มหรอก สำรวมจิตสำรวมใจเข้ามานะ ไม่ออกไปภายนอก สงบอยู่ภายใน อันนี้ก็ได้ความสงบ ได้ความสุข แก้ปัญหาได้ชั่วครั้งชั่วคราว เหมือนการทำสมถะ ถ้ามาเรียนรู้จนเราทำลายเครื่องฉายไปนะ คือเราสามารถปล่อยวางขันธ์ห้าได้ ขันธ์ห้าตัวสุดท้ายที่จะวางคือจิตนั่นเอง ตราบใดที่ยังปล่อยวางจิตไม่ได้นะ ก็จะเกิดขันธ์ห้าใหม่ๆ ขึ้นมาอีก เพราะจิตดวงเดียวนี่แหละสร้างขันธ์ห้าขึ้นมาใหม่ได้ทั้งขันธ์ห้าแน่ะ จิตดวงเดียว นี่แหละเหมือนเมล็ดพันธุ์ เดี๋ยวไปงอกเป็นต้นไม้ใหญ่ๆ ออกลูกออกหลานได้อีกเยอะแยะ งั้นเรียนเข้ามาถึงจิตถึงใจ วันหนึ่ง ทำลายเมล็ดพันธุ์คืออวิชชาลงไป ทำลายเชื้อพันธุ์ของมัน เป็นเมล็ดที่ไม่งอกอีกแล้ว มันก็ยังทรงรูปของเมล็ดที่ไม่งอกไปอีกช่วงหนึ่ง ต่อไปก็แตกสลายหายไป
การปฏิบัติมีความสุขอยู่ข้างหน้ามากมาย เรามัวแต่ตะครุบเงานะ อย่าหลงนะเสียเวลา ไม่ฉลาดเลย ความสุขที่เป็นภาพลวงตา พระพุทธเจ้าตรัสว่าขันธ์มันเป็นภาพลวงตา เหมือนพยับแดดนะ พยับแดด อย่างเราขับรถไปมองเห็นไกลๆ เห็นเหมือนเป็นน้ำบ้าง เห็นเหมือนไอน้ำเส้นยิบยับๆ เข้าใกล้ๆ แล้วหายไปหมดเลย ความสุขก็ล่อเราอย่างนี้แหละ ให้วิ่งไป พอเข้าไปใกล้ๆ นะก็หายไปละ ไปอยู่ข้างหน้าอีกแล้ว เราก็วนเวียนนะ น่าสงสารมาก ถ้ายังวนเวียนอยู่ก็ยังไม่รู้สึกน่าสงสารหรอก ยังรู้สึกว่าบางครั้งก็เอร็ดอร่อย สนุก บางครั้งก็เศร้าโศก บางครั้งก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เวียนอยู่อย่างนั้น ก็ยังพอทน รู้สึกทุกข์บ้างสุขบ้าง รู้สึกไม่ใช่เราทุกข์คนเดียว ใครๆ เขาก็เป็นอย่างนี้เหมือนๆ กันหมดทั้งโลก นี่เพราะว่าไม่มีสติปัญญาที่จะพ้นไปจากวังวนของความปรุงแต่งอันนี้ ค่อยๆ เรียนเข้ามานะ เข้ามาหาจิตหาใจ ตัวเอง ไม่หลงปรุงแต่งออกไปภายนอก แล้ววันหนึ่งหมดความปรุงแต่งสิ้นเชิง มันจะหมดความปรุงแต่งสิ้นเชิงเมื่อมันปล่อยวางความยึดถือจิตได้ หลวงปู่ดูลย์ถึงสอนบอกว่า 'จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค' คำสอนนี้สูงมากนะ ไม่ใช่ คนรุ่นหลังๆ บางคนเอาไปเล่นเฝือ ไปแต่งไอ้โน่นเป็นมรรค ไอ้นี่เป็นทุกข์ ไอ้นี่เป็นนิโรธนะ แต่งกันเฝือเยอะแยะ ทำลายหลักธรรมแท้ๆ ลงไปด้วยความคะนอง จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค นี่ท่านเล็งเห็นไปถึงอรหัตตมรรคนะ งั้นถ้าเมื่อไรจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง รู้ว่าจิตนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วปล่อยวางจิตได้ นั่นแหละจะพ้นทุกข์อย่างแท้จริง เดี๋ยวนี้เห็นคนไปแต่งเป็นหนังสือนะ นักการเมืองเป็นทุกข์ เพราะว่าอยากจะได้ตำแหน่งเป็นสมุทัย อะไรยังงี้ โอ้... ไปกันใหญ่นะ ทำลายธรรมะแท้ๆ ลงไป งั้นเรียนเข้ามานะ เรียนเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจ
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
การเห็นจิตตสังขารเมื่อเริ่มดูจิต)
ถ้าเราแค่เอามือปิดเครื่องฉายหนังไม่ให้ทำงาน
ภาพในจอทั้งหมดก็ว่างเปล่า ตามสภาพเดิมของมัน
ครั้งที่ 007
สิ่งทั้งหลายคือภาพลวงตา
ธรรมดาใจมันคุ้นเคยว่ากายนี้ใจนี้คือตัวเรา พอมันเริ่มเห็นความจริงว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ มันชักกลัว ก็ให้รู้ไป กลัวก็รู้ว่ากลัวน่ะ กายอันหนึ่ง ใจอันหนึ่ง ความกลัวอันหนึ่ง คนละอันกัน
การที่จิตเรายึดถือขันธ์นั่นเอง ยึดถือจิต ยึดถือขันธ์ พอยึดถือขึ้นมาแล้วไม่ถือเฉยๆ นะ ทันทีที่ความอยากใดๆ เกิดขึ้น มันจะบิด มันจะขยำไปเรื่อยๆ บิดไปเรื่อยๆ มันจะเกิด ทุกข์อันที่สองขึ้น ทุกข์เพราะแรงเค้น ทุกข์เพราะการกระทำของใจ เรียกว่าทุกข์เพราะภพ ภพคือการกระทำทางใจ รากของมันคือตัณหา อยากอย่างโน้นอย่างนี้ พอไปหยิบมาก็คิดว่ามันเป็นของเราเป็นตัวเรา อยากให้มีความสุข อยากให้มันดีนะก็บิด ทั้งบิดทั้งเค้น ตราบใดที่ยังหยิบฉวยอยู่ ก็จะบิดๆ เค้นๆ ไปเรื่อย ต้องเข้าถึงธรรม สามครั้งก็จะหยิบขึ้นมา เอามาดูนิดๆ หน่อยๆ ไม่บิดไม่เค้นนะ หยิบๆ วางๆ เดี๋ยวก็หยิบอีก ถ้าเข้าถึงธรรมครั้งที่สี่แล้วก็จะทิ้ง ไม่หยิบมาอีก ตรงนี้เข้าใจหรือยัง เห็นไหมเห็นตรงที่จิตไปหยิบมาไหม หยิบมาแล้วมาเค้น ถ้าเราภาวนาถึงขีดสุดเนี่ย จะวางลงไป มันจะสลัดคืน ไม่ไปหยิบมาอีกก็ไม่มีการเค้น แล้วความเครียดในใจจะมีไม่ได้เลย ไม่เกิดความเครียดขึ้น มันจะเกิดแต่ความทุกข์ของธาตุของขันธ์ ธาตุขันธ์ก็ทำงานของมันตามปกตินั่นแหละ ไม่ใช่ว่าผิดมนุษย์มนาอะไรนะ ธาตุขันธ์ก็ทำงานอย่างปกติ แต่ใจนี้ไม่ไปหยิบฉวย ไม่หยิบฉวยจิตขึ้นมา สิ่งที่ หยิบฉวยก็คือจิตนั่นแหละ จิตหยิบฉวยจิตขึ้นมา สังเกตไหม มันไม่ได้ไปหยิบฉวยกาย
มันหยิบฉวยจิต พอหยิบฉวยจิตแล้วก็มาเค้นๆๆ ก็ทุกข์ พอรู้ทันตัณหา ตัดต้นทาง ของมันก็ไม่เค้น หยิบเฉยๆ แต่ไม่เค้น ถ้าเผลอแล้วเค้นอีก งั้นวันใดสามารถวางความ ยึดถือจิตลงไปแล้วนั่นแหละถึงจะหมดภาระ หมดความทุกข์แล้ว ก็เหลือแต่ความทุกข์ของขันธ์ล้วนๆ เลยตอนนี้ การปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เราชอบไปวาดภาพให้มันเกินจริง แค่เรามีสติ เรารู้ทันการทำงานของกายของใจ โดยเฉพาะของใจ กายมันเคลื่อนไปได้เพราะว่าใจมันสั่งนั่นแหละ พอรู้ทันเข้ามาถึงจิตถึงใจนะ ถึงต้นตอของมัน แล้ววางตัวต้นตอไปได้ก็สบาย ส่วนมากเราชอบไปแก้อาการ แก้ปรากฏการณ์ซึ่งบังคับไม่ได้
คล้ายๆ เคยเห็นเขาฉายหนังกลางแปลงไหม เดี๋ยวนี้ยังมีบ้างไหม หนังตามงาน วัดใครเคยเห็นไหม ทำไมต้องหนังงานวัด เพราะมันเห็นเครื่องฉาย มันมีเครื่องฉาย ตั้งอยู่ จออยู่โน่น คนทั้งหลายนะไปหลงภาพในจอ ทวนเข้ามาไม่ถึงต้นตอของมัน ไปเห็นตัวนางเอกในหนัง ไปไล่คว้า คว้าเงานั่นแหละ ขันธ์มันก็เหมือนภาพลวงตา ขันธ์นะ... เหมือนภาพลวงตา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราพบเราเห็นนั้นก็แค่ภาพลวงตาเหมือนภาพในจอหนังนั่นเอง จริงๆ เราบังคับมันไม่ได้ งั้นเราจะไปไล่ตะครุบไล่จับไล่ควบคุมขันธ์น่ะทำไม่ได้ เหมือนไล่ตะครุบภาพในจอหนัง ทำไม่ได้ ถ้าทวนกระแสเข้ามาถึงตัวต้นตอของมันคือจิตนั่นเอง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นปรุงออกไปจากจิตนั่นเอง ถ้าเราแค่เอามือปิดเครื่องฉายหนังซะ ไม่ให้ทำงานต่อ ภาพในจอทั้งหมดก็ว่างเปล่า ตามสภาพเดิมของมัน งั้นการปฏิบัติไม่ใช่นั่งแก้อาการทีละอาการ การปฏิบัติถ้าจะให้ได้ผลรวบรัดนะ เรียนรู้เข้ามาให้ถึงต้นตอของความปรุงแต่ง ถ้ารู้เข้ามาถึงต้นตอของความปรุงแต่ง มันอยู่ที่จิตนั่นเอง จิตมันปรุงแต่ง ถ้ารู้ถึงความปรุงแต่ง จนความปรุงแต่งขาดไปนะ ไม่ต้องไปตามแก้อาการอีกแล้ว คนทั้งหลายได้แต่แค่พยายามแก้อาการ พยายามทำได้แค่นั้นเองเพราะสติปัญญาไม่แก่รอบ ไม่รู้ว่าวิธีจัดการกับความทุกข์ที่จะพ้นทุกข์อย่างแท้จริงนั้นคือทวนกระแสเข้ามา มาเรียนรู้ที่ต้นตอของมัน จนเราเห็นเลย กระทั่งจิตนี้ก็ไม่ใช่เรานะ คืนให้ธรรมชาติไป งั้นโยนเครื่องฉายหนังทิ้งไปด้วย ใครก็เอามาฉายอีก ไม่ได้แล้ว แต่สติปัญญาของคนบนโลกมันทำได้แค่ตะครุบภาพในจอหนัง เผอิญรูปภาพ ในจอมันยืนอยู่นิ่งๆ บางทีมันยืนคุยกันนิ่งๆ ไม่ได้เคลื่อนไหว ไปจับไว้ นึกว่าจับได้แล้ว หยุดได้ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็หนีไปอีก หนีอีกก็วิ่งไล่จับอีก โง่นะ ศาสนาพุทธเราสอนให้เรียนย้อนเข้ามาหาต้นตอของมัน ต้นตอของความปรุงแต่งอยู่ที่จิตนี่เอง วันหนึ่งรู้ทันต้นตอของมันนะ คล้ายๆ เอามือไปปิดไอ้ตรงที่มันฉายไฟออกมา ภาพในจอหนังก็หายไป ไม่หลงออกไปข้างนอกแล้ว สุดท้ายนะโยนเครื่องฉายหนังลงน้ำไป สุดท้ายคือเราโยนจิตทิ้งไปนั่นเอง สลัดทิ้ง มันก็จะฉายอีกไม่ได้ ทีนี้เราเอามือปิดไว้นะ พอหมดแรงปิดมันก็ฉายอีก พวกที่เดินฌาน ไม่หลงไปกับความปรุงแต่งทางตา หู จมูก ลิ้น กายแล้ว แต่เครื่องฉายหนังยังเดินอยู่ เพียงแต่ไม่ทำงานออกไปสู่กามภพ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดอยู่ หมดแรงปิดเมื่อไหร่นะ เผลอหลุดมือเมื่อไหร่นะ มันฉายออกไปอีกแล้ว พวกพรหมสำรวมจิตเข้ามา แต่ว่าจิตก็ยังปรุงแต่งอยู่ คือหนังยังฉายอยู่แต่ว่ามันไปที่จอไม่ได้เท่านั้นเอง รูปมันไปไม่ถึงจอ
การภาวนาเป็นขั้นเป็นตอน คนทั้งหลาย มันไล่จับเงา ไล่ในกามนั่นเอง รู้สึกสนุกสนานเอร็ดอร่อยสวยงาม รูปในจอหนังสวยกว่าตัวเครื่องฉายหนังใช่มั้ย แต่ไม่ใช่ของจริง กามก็เป็นอย่างนั้นแหละ สวยงามล่อลวงให้วิ่งไล่จับ เหมือนๆ จะได้แต่ไม่เคยได้ ไม่เคยอิ่มไม่เคยเต็มหรอก สำรวมจิตสำรวมใจเข้ามานะ ไม่ออกไปภายนอก สงบอยู่ภายใน อันนี้ก็ได้ความสงบ ได้ความสุข แก้ปัญหาได้ชั่วครั้งชั่วคราว เหมือนการทำสมถะ ถ้ามาเรียนรู้จนเราทำลายเครื่องฉายไปนะ คือเราสามารถปล่อยวางขันธ์ห้าได้ ขันธ์ห้าตัวสุดท้ายที่จะวางคือจิตนั่นเอง ตราบใดที่ยังปล่อยวางจิตไม่ได้นะ ก็จะเกิดขันธ์ห้าใหม่ๆ ขึ้นมาอีก เพราะจิตดวงเดียวนี่แหละสร้างขันธ์ห้าขึ้นมาใหม่ได้ทั้งขันธ์ห้าแน่ะ จิตดวงเดียว นี่แหละเหมือนเมล็ดพันธุ์ เดี๋ยวไปงอกเป็นต้นไม้ใหญ่ๆ ออกลูกออกหลานได้อีกเยอะแยะ งั้นเรียนเข้ามาถึงจิตถึงใจ วันหนึ่ง ทำลายเมล็ดพันธุ์คืออวิชชาลงไป ทำลายเชื้อพันธุ์ของมัน เป็นเมล็ดที่ไม่งอกอีกแล้ว มันก็ยังทรงรูปของเมล็ดที่ไม่งอกไปอีกช่วงหนึ่ง ต่อไปก็แตกสลายหายไป
การปฏิบัติมีความสุขอยู่ข้างหน้ามากมาย เรามัวแต่ตะครุบเงานะ อย่าหลงนะเสียเวลา ไม่ฉลาดเลย ความสุขที่เป็นภาพลวงตา พระพุทธเจ้าตรัสว่าขันธ์มันเป็นภาพลวงตา เหมือนพยับแดดนะ พยับแดด อย่างเราขับรถไปมองเห็นไกลๆ เห็นเหมือนเป็นน้ำบ้าง เห็นเหมือนไอน้ำเส้นยิบยับๆ เข้าใกล้ๆ แล้วหายไปหมดเลย ความสุขก็ล่อเราอย่างนี้แหละ ให้วิ่งไป พอเข้าไปใกล้ๆ นะก็หายไปละ ไปอยู่ข้างหน้าอีกแล้ว เราก็วนเวียนนะ น่าสงสารมาก ถ้ายังวนเวียนอยู่ก็ยังไม่รู้สึกน่าสงสารหรอก ยังรู้สึกว่าบางครั้งก็เอร็ดอร่อย สนุก บางครั้งก็เศร้าโศก บางครั้งก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เวียนอยู่อย่างนั้น ก็ยังพอทน รู้สึกทุกข์บ้างสุขบ้าง รู้สึกไม่ใช่เราทุกข์คนเดียว ใครๆ เขาก็เป็นอย่างนี้เหมือนๆ กันหมดทั้งโลก นี่เพราะว่าไม่มีสติปัญญาที่จะพ้นไปจากวังวนของความปรุงแต่งอันนี้ ค่อยๆ เรียนเข้ามานะ เข้ามาหาจิตหาใจ ตัวเอง ไม่หลงปรุงแต่งออกไปภายนอก แล้ววันหนึ่งหมดความปรุงแต่งสิ้นเชิง มันจะหมดความปรุงแต่งสิ้นเชิงเมื่อมันปล่อยวางความยึดถือจิตได้ หลวงปู่ดูลย์ถึงสอนบอกว่า 'จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค' คำสอนนี้สูงมากนะ ไม่ใช่ คนรุ่นหลังๆ บางคนเอาไปเล่นเฝือ ไปแต่งไอ้โน่นเป็นมรรค ไอ้นี่เป็นทุกข์ ไอ้นี่เป็นนิโรธนะ แต่งกันเฝือเยอะแยะ ทำลายหลักธรรมแท้ๆ ลงไปด้วยความคะนอง จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค นี่ท่านเล็งเห็นไปถึงอรหัตตมรรคนะ งั้นถ้าเมื่อไรจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง รู้ว่าจิตนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วปล่อยวางจิตได้ นั่นแหละจะพ้นทุกข์อย่างแท้จริง เดี๋ยวนี้เห็นคนไปแต่งเป็นหนังสือนะ นักการเมืองเป็นทุกข์ เพราะว่าอยากจะได้ตำแหน่งเป็นสมุทัย อะไรยังงี้ โอ้... ไปกันใหญ่นะ ทำลายธรรมะแท้ๆ ลงไป งั้นเรียนเข้ามานะ เรียนเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจ
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
การเห็นจิตตสังขารเมื่อเริ่มดูจิต)