• สมาธิบำบัดโรค(ต่อ)
วิธีการทำสมาธิ
การทำสมาธิแบบสมถะทำได้หลายวิถีแล้วแต่ความถนัดและอัธยาศัยของแต่ละบุคคลในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านกล่าวไว้ 40 วิธี เช่น กสิณ 10 อสุภ 10 อนุสติ 10 พรหมวิหาร 4 อาหารเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัตถาน 4 และอรูป 4 เป็นต้น
ในที่นี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงวิธีที่เรานำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เริ่มแรกเราควรเตรียมการหาที่สงบสงัดปราศจากการรบกวนจากเสียง ยุง และแมลงต่างๆ อากาศเย็นสบายช่วยได้มาก อยู่ในที่คนเดียวไม่ระคนด้วยหมู่คณะ การทำสมาธิให้นั่งในท่าสบายขาไขว้กัน หรือซ้อนกัน หรือนั่งแบบสมาธิเพชรก็ได้ มือขวาทับมือซ้าย นั่งหลังตรง ไหล่หย่อนลงในท่าที่ผ่อนคลาย หายใจเข้าออกช้าๆ ตามธรรมชาติ ไม่บังคับกดข่มใดๆ เราอาจจะใช้วัตถุต่างๆ เป็นเครื่องมือในการทำสมาธิให้จิตกำหนดรู้ได้หลายวิธีดังนี้ คือ
ก.กำหนดที่ลมกระทบบริเวณจมูก (Breathing Meditation) เวลาหายใจเข้าและออก ใช้สติตามดูลมที่กระทบปลายจมูกตลอดเวลา อาจารย์บางท่านแนะนำ
ให้ใช้การบริกรรมช่วย เช่น หายใจเข้าบริกรรมว่า “พุท” หายใจออกบริกรรมว่า “โธ” ปฏิบัติเช่นนี้ไปตลอด อาจจะปฏิบัติวันละ 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ทำทุกๆวันก็จะชำนาญมากขึ้น ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับปฏิบัติ คือ ช่วงเช้ามืด เวลาสี่หรือห้านาฬิกา เพราะเป็นเวลาที่สงัด อากาศเย็นสบาย จิตได้พักมาตลอดคืน จิตยังไม่ค่อยได้รับอารมณ์ต่างๆ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
บางท่านอาจจะกำหนดที่หน้าท้องก็ได้ เวลาหายใจเข้าท้องพอง ก็กำหนดว่า “พองหนอ” เวลาหายใจออกก็บริกรรมว่า “ยุบหนอ” ดูอาการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง การที่เราใช้หน้าท้องเป็นวัตถุให้จิตกำหนดรู้มีข้อดี คือ หน้าท้องมีบริเวณกว้าง มีการเคลื่อนไหวชัดเจนทำให้กำหนดได้ง่าย โดยเฉพาะคนที่เริ่มฝึกหัดใหม่ๆ เรากำหนดที่หน้าท้องแห่งเดียว กำหนดต่อกันไปเรื่อยๆ จิตก็เป็นสมาธิมากขึ้น ใจสงบมากขึ้น
การกำหนดที่ปลายจมูกมีบริเวณแคบ เวลาที่ลมหายใจละเอียดมากขึ้นการกำหนดรู้จะทำได้ยากโดยเฉพาะผู้ที่ฝึกหัดใหม่ แต่ทั้ง 2 บริเวณก็ใช้เป็นจุดที่ให้จิตกำหนดรู้ได้ ขึ้นอยู่กับความละเอียดของบุคคลด้วย
วิธีการที่ง่ายอีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้การนับเลขช่วย โดยหายใจเข้านับ 1 หายใจออกนับ 2 สลับกันไปจนถึง 5 แล้วหายใจเข้านับ 1 ใหม่ จนถึง 6 แล้วนับ 1 ใหม่ จนถึง 7 แล้วนับ 1 ใหม่ จนถึง 8 แล้วนับ 1 ใหม่ จนถึง 9 แล้วนับ 1 ใหม่ จนถึง 10 ก็พอ ไม่ให้นับเกิน 10 แต่ทำซ้ำได้หลายๆ รอบ ถ้านับผิดให้เริ่มต้นนับใหม่ นับช้าๆ หายใจเข้าแล้วนับ หายใจออกแล้วนับ เช่นนี้สลับกันไป จิตก็จะสงบลง ซึ่งถือว่าใช้ได้แล้ว อาศัยการฝึกบ่อยๆ สมาธิค่อยๆเกิดขึ้น เป็นวิธีที่ง่ายอีกวิธีหนึ่ง
ข.วิธีทำสมาธิแบบโยคะ คือ ใช้คำพูด (Mantra) บริกรรมในใจตลอดเวลา เช่น คำว่า “โอม” คำว่า “พุทโธ” ใจจดจ่ออยู่ที่คำบริกรรมตลอดเวลา อาจจะหายใจเข้าออกช้าๆ พร้อมกับบริกรรมสลับกันไป หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” คำบริกรรมอาจจะใช้คำอื่นๆ ก็ได้แล้ว แต่ศาสนาที่ตนเคารพ
ค.บางท่านอาจจะใช้ลูกประคำ 108 ลูก (Mala Meditation) นับไปทีละลูก ใจจดจ่ออยู่กับมือที่สัมผัสกับลูกประคำตลอดเวลา ถ้านับผิดก็ให้เริ่มใหม่ ทำเป็นประจำจนชำนาญ
ง.บางท่านใช้เพ่งเปลวเทียน (Candle Meditation) หรือใช้ภาพติดไว้ที่ฝาผนังสำหรับเพ่ง ใช้ดินเหนียวแผ่เป็นวงกลมขนาด 1 คืบ 4 นิ้ว ติดไว้ที่ผนังสำหรับเพ่ง หรือบางท่านอาจจะใช้แผ่นกระดาษสี เขียว แดง เหลือง ขาวก็ได้ ตัดเป็นวงกลมขนาด 1 คืบ 4 นิ้ว บางท่านใช้ลูกแก้วกลมใส บางท่านใช้องค์พระเพ่งจนติดตา หลับตาแล้วก็ยังเห็นชัดเจน เรียกว่า “เพ่งกสิณ” ใจจดจ่ออยู่กับภาพที่เห็นตลอดเวลา
จ.บางท่านทำสมาธิโดยการสวดมนต์ (chanting) จะใช้บทสวดอะไรก็ได้ในศาสนาที่ตนนับถือ บริกรรมติดต่อ กันแล้วให้ใจจดจ่ออยู่กับคำสวดมนต์ตลอดเวลา วิธีนี้นิยมใช้กันมากทั้งในทางตะวันออกและตะวันตก บางท่านใช้การทำเมตตาภาวนา (Loving kindness Meditation) โดยใช้คำบริกรรมสั้นๆ เช่น” บริกรรมติดต่อกันซ้ำๆกัน และเอาใจ จดจ่อน้อมจิตให้เกิดความเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลาย ในขณะเดินจงกรมและนั่งสมาธิติดต่อกันไป
วิธีต่างๆ เหล่านี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่ใช้ได้ผล และมีผู้นิยม ปฏิบัติทั่วไป เทคนิควิธีการไม่ยากอะไร ให้ปฏิบัติบ่อยๆ ซ้ำๆกันทุกๆวัน เราก็จะเกิดความชำนาญขึ้น แน่นอนการฝึกสมาธิในเบื้องต้นย่อมต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ต้องใช้เวลานานพอควร จะต้องรักษาศีล 5 ศีล 8 สำหรับฆราวาส และศีล 227 สำหรับบรรพชิต เพราะศีลจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะทำให้สมาธิเกิดขึ้น
การปฏิบัติจะทำได้ถูกต้อง จะต้องอาศัยผู้รู้ช่วยแนะนำแก้ไขปัญหาต่างๆ ช่วยชี้แนะเทคนิคต่างๆ ข้อปฏิบัติปลีกย่อยต่างๆ ซึ่งจะทำให้เราปฏิบัติได้ถูกต้อง มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติ การฝึกสมาธิเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นเรื่องการฝึกจิตซึ่งเป็นนามธรรม เป็นเรื่องที่มองไม่เห็น วัดไม่ได้ จับต้องไม่ได้ จึงต้องใช้ความ อดทนค่อยๆปฏิบัติทีละเล็กทีละน้อย โดยอาศัยคำแนะนำของครูบาอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลาย จะให้ได้ผลเร็วดังใจย่อมเป็นไปไม่ได้ อีกประการหนึ่งคือในขณะปฏิบัติย่อมต้องมีปัญหาและอุปสรรคไม่มากก็น้อย ซึ่งต้องอาศัยครูบาอาจารย์ช่วยสอบอารมณ์ แก้ไขให้ เราก็จะปฏิบัติก้าวหน้าต่อไปได้ การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจึง เป็นเรื่องสำคัญ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 93 ส.ค. 51 โดยนพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)
วิธีการทำสมาธิ
การทำสมาธิแบบสมถะทำได้หลายวิถีแล้วแต่ความถนัดและอัธยาศัยของแต่ละบุคคลในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านกล่าวไว้ 40 วิธี เช่น กสิณ 10 อสุภ 10 อนุสติ 10 พรหมวิหาร 4 อาหารเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัตถาน 4 และอรูป 4 เป็นต้น
ในที่นี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงวิธีที่เรานำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เริ่มแรกเราควรเตรียมการหาที่สงบสงัดปราศจากการรบกวนจากเสียง ยุง และแมลงต่างๆ อากาศเย็นสบายช่วยได้มาก อยู่ในที่คนเดียวไม่ระคนด้วยหมู่คณะ การทำสมาธิให้นั่งในท่าสบายขาไขว้กัน หรือซ้อนกัน หรือนั่งแบบสมาธิเพชรก็ได้ มือขวาทับมือซ้าย นั่งหลังตรง ไหล่หย่อนลงในท่าที่ผ่อนคลาย หายใจเข้าออกช้าๆ ตามธรรมชาติ ไม่บังคับกดข่มใดๆ เราอาจจะใช้วัตถุต่างๆ เป็นเครื่องมือในการทำสมาธิให้จิตกำหนดรู้ได้หลายวิธีดังนี้ คือ
ก.กำหนดที่ลมกระทบบริเวณจมูก (Breathing Meditation) เวลาหายใจเข้าและออก ใช้สติตามดูลมที่กระทบปลายจมูกตลอดเวลา อาจารย์บางท่านแนะนำ
ให้ใช้การบริกรรมช่วย เช่น หายใจเข้าบริกรรมว่า “พุท” หายใจออกบริกรรมว่า “โธ” ปฏิบัติเช่นนี้ไปตลอด อาจจะปฏิบัติวันละ 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ทำทุกๆวันก็จะชำนาญมากขึ้น ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับปฏิบัติ คือ ช่วงเช้ามืด เวลาสี่หรือห้านาฬิกา เพราะเป็นเวลาที่สงัด อากาศเย็นสบาย จิตได้พักมาตลอดคืน จิตยังไม่ค่อยได้รับอารมณ์ต่างๆ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
บางท่านอาจจะกำหนดที่หน้าท้องก็ได้ เวลาหายใจเข้าท้องพอง ก็กำหนดว่า “พองหนอ” เวลาหายใจออกก็บริกรรมว่า “ยุบหนอ” ดูอาการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง การที่เราใช้หน้าท้องเป็นวัตถุให้จิตกำหนดรู้มีข้อดี คือ หน้าท้องมีบริเวณกว้าง มีการเคลื่อนไหวชัดเจนทำให้กำหนดได้ง่าย โดยเฉพาะคนที่เริ่มฝึกหัดใหม่ๆ เรากำหนดที่หน้าท้องแห่งเดียว กำหนดต่อกันไปเรื่อยๆ จิตก็เป็นสมาธิมากขึ้น ใจสงบมากขึ้น
การกำหนดที่ปลายจมูกมีบริเวณแคบ เวลาที่ลมหายใจละเอียดมากขึ้นการกำหนดรู้จะทำได้ยากโดยเฉพาะผู้ที่ฝึกหัดใหม่ แต่ทั้ง 2 บริเวณก็ใช้เป็นจุดที่ให้จิตกำหนดรู้ได้ ขึ้นอยู่กับความละเอียดของบุคคลด้วย
วิธีการที่ง่ายอีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้การนับเลขช่วย โดยหายใจเข้านับ 1 หายใจออกนับ 2 สลับกันไปจนถึง 5 แล้วหายใจเข้านับ 1 ใหม่ จนถึง 6 แล้วนับ 1 ใหม่ จนถึง 7 แล้วนับ 1 ใหม่ จนถึง 8 แล้วนับ 1 ใหม่ จนถึง 9 แล้วนับ 1 ใหม่ จนถึง 10 ก็พอ ไม่ให้นับเกิน 10 แต่ทำซ้ำได้หลายๆ รอบ ถ้านับผิดให้เริ่มต้นนับใหม่ นับช้าๆ หายใจเข้าแล้วนับ หายใจออกแล้วนับ เช่นนี้สลับกันไป จิตก็จะสงบลง ซึ่งถือว่าใช้ได้แล้ว อาศัยการฝึกบ่อยๆ สมาธิค่อยๆเกิดขึ้น เป็นวิธีที่ง่ายอีกวิธีหนึ่ง
ข.วิธีทำสมาธิแบบโยคะ คือ ใช้คำพูด (Mantra) บริกรรมในใจตลอดเวลา เช่น คำว่า “โอม” คำว่า “พุทโธ” ใจจดจ่ออยู่ที่คำบริกรรมตลอดเวลา อาจจะหายใจเข้าออกช้าๆ พร้อมกับบริกรรมสลับกันไป หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” คำบริกรรมอาจจะใช้คำอื่นๆ ก็ได้แล้ว แต่ศาสนาที่ตนเคารพ
ค.บางท่านอาจจะใช้ลูกประคำ 108 ลูก (Mala Meditation) นับไปทีละลูก ใจจดจ่ออยู่กับมือที่สัมผัสกับลูกประคำตลอดเวลา ถ้านับผิดก็ให้เริ่มใหม่ ทำเป็นประจำจนชำนาญ
ง.บางท่านใช้เพ่งเปลวเทียน (Candle Meditation) หรือใช้ภาพติดไว้ที่ฝาผนังสำหรับเพ่ง ใช้ดินเหนียวแผ่เป็นวงกลมขนาด 1 คืบ 4 นิ้ว ติดไว้ที่ผนังสำหรับเพ่ง หรือบางท่านอาจจะใช้แผ่นกระดาษสี เขียว แดง เหลือง ขาวก็ได้ ตัดเป็นวงกลมขนาด 1 คืบ 4 นิ้ว บางท่านใช้ลูกแก้วกลมใส บางท่านใช้องค์พระเพ่งจนติดตา หลับตาแล้วก็ยังเห็นชัดเจน เรียกว่า “เพ่งกสิณ” ใจจดจ่ออยู่กับภาพที่เห็นตลอดเวลา
จ.บางท่านทำสมาธิโดยการสวดมนต์ (chanting) จะใช้บทสวดอะไรก็ได้ในศาสนาที่ตนนับถือ บริกรรมติดต่อ กันแล้วให้ใจจดจ่ออยู่กับคำสวดมนต์ตลอดเวลา วิธีนี้นิยมใช้กันมากทั้งในทางตะวันออกและตะวันตก บางท่านใช้การทำเมตตาภาวนา (Loving kindness Meditation) โดยใช้คำบริกรรมสั้นๆ เช่น
วิธีต่างๆ เหล่านี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่ใช้ได้ผล และมีผู้นิยม ปฏิบัติทั่วไป เทคนิควิธีการไม่ยากอะไร ให้ปฏิบัติบ่อยๆ ซ้ำๆกันทุกๆวัน เราก็จะเกิดความชำนาญขึ้น แน่นอนการฝึกสมาธิในเบื้องต้นย่อมต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ต้องใช้เวลานานพอควร จะต้องรักษาศีล 5 ศีล 8 สำหรับฆราวาส และศีล 227 สำหรับบรรพชิต เพราะศีลจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะทำให้สมาธิเกิดขึ้น
การปฏิบัติจะทำได้ถูกต้อง จะต้องอาศัยผู้รู้ช่วยแนะนำแก้ไขปัญหาต่างๆ ช่วยชี้แนะเทคนิคต่างๆ ข้อปฏิบัติปลีกย่อยต่างๆ ซึ่งจะทำให้เราปฏิบัติได้ถูกต้อง มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติ การฝึกสมาธิเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นเรื่องการฝึกจิตซึ่งเป็นนามธรรม เป็นเรื่องที่มองไม่เห็น วัดไม่ได้ จับต้องไม่ได้ จึงต้องใช้ความ อดทนค่อยๆปฏิบัติทีละเล็กทีละน้อย โดยอาศัยคำแนะนำของครูบาอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลาย จะให้ได้ผลเร็วดังใจย่อมเป็นไปไม่ได้ อีกประการหนึ่งคือในขณะปฏิบัติย่อมต้องมีปัญหาและอุปสรรคไม่มากก็น้อย ซึ่งต้องอาศัยครูบาอาจารย์ช่วยสอบอารมณ์ แก้ไขให้ เราก็จะปฏิบัติก้าวหน้าต่อไปได้ การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจึง เป็นเรื่องสำคัญ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 93 ส.ค. 51 โดยนพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)