xs
xsm
sm
md
lg

วิมุตติมรรค:การรู้ทันนี้แหละเป็นงานของสติ การรู้ความจริงนี้แหละเป็นงานของปัญญา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ครั้งที่ 002. ศีลสิกขา

3. ศีลสิกขา

3.1 วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องศีล เพื่อให้กายวาจาสงบเรียบร้อย อันจะเป“น พื้นฐานให้จิตเกิดสัมมาสมาธิในลำดับต่อไป

3.2 ชนิดของศีล ศีลมีหลายระดับ แต่หากจะจำแนกง่ายๆ ก็อาจจะแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ (1) ศีลในระดับจริยธรรม (2) ศีลเพื่อการปฏิบัติธรรม และ (3) ศีลของพระอริยบุคคล

3.2.1 ศีลในระดับจริยธรรม ได้แก่การงดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายและวาจา เช่นศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และศีล 227 เป็นต้น ศีลชนิดนี้เกิดจากเจตนามั่นที่จะงดเว้นการทำความชั่วหยาบทางกายและวาจา ผู้มีศีลเหล่านี้จะสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติสุข และตัดเครื่องรบกวนจิตใจให้ฟุ้งซ่าน ลงได้ ศีลระดับนี้จำเป็นมากสำหรับนักปฏิบัติ อย่างน้อยที่สุดผู้ปฏิบัติจะต้องตั้งใจงดเว้น การทำบาปอกุศล 5 ประการคือการฆ่าและทำร้ายคนและสัตว์ทั้งหลาย การเบียดเบียนประทุษร้ายทรัพย์สินของผู้อื่น การเบียดเบียน ประทุษร้ายของรักของหวง เช่น บุตรภรรยา ของผู้อื่น การกล่าวเท็จ กล่าวส่อเสียด กล่าวคำหยาบและกล่าวเพ้อเจ้อ และการเสพสิ่งเสพติดอันเป็นเครื่องส่งเสริมความประมาทขาดสติของตน

3.2.2 ศีลเพื่อการปฏิบัติธรรม ได้แก่ อินทรียสังวรศีล เป“นศีลที่พัฒนาไปจากศีลใน เชิงจริยธรรมอีกชั้นหนึ่ง เกิดจากการมีสติคุ้มครองรักษาจิตไม่ให้ถูกกิเลสครอบงำเมื่อมี การกระทบอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เช่น เมื่อเห็นคนอื่นทำกระเป๋าสตางค์ ตก จิตเกิดความอยากได้ก็มีสติรู้ทันความอยากได้ของตน ความอยากนั้นจะครอบงำจิตไม่ได้ จิตจะเกิดความสงบตั้งมั่นเป็นปกติ อยู่ และเรียกเจ้าของใหญ่หยิบกระเป๋ากลับไปได้อย่างมีความสุขด้วยกันทั้งสองฝ่าย หรือเมื่อถูกคนด่าว่า จิตเกิดความโกรธก็มีสติรู้ทันความโกรธที่เกิดขึ้น ความโกรธนั้นจะครอบงำจิตไม่ได้ จิตจะเกิดความสงบตั้งมั่นเป็นปกติอยู่ ไม่มีเรื่องต้องทะเลาะวิวาทด่าทอหรือทำร้ายกัน เป็นต้น

อินทรียสังวรศีลนี้เป็นเครื่องมือฝึกสติได้เป็นอย่างดี นอกจากจะเป็นศีลแล้ว ยังเกื้อกูลต่อการเจริญวิปสสนาด้วยการดูจิตในชีวิตประจำวันด้วย จึงเป“นสิ่งที่เพื่อนนักปฏิบัติควรฝึกให้มีขึ้นในชีวิตประจำวันให้ได้

3.2.3 ศีลของพระอริยบุคคล เป็นศีลที่พัฒนาไปจากอินทรียสังวรศีลอีกชั้นหนึ่ง เป็นศีลอัตโนมัติที่ไม่ต้องจงใจรักษา เพราะพระอริยบุคคลตั้งแต่ระดับพระโสดาบันขึ้นไปถึงพระอนาคามีจะไม่กังวลสนใจคอยนับศีลเป็นข้อๆ แต่จะมีธรรม มีสติ สัมมาสมาธิ และปัญญาเป็นเครื่องรักษาจิตให้เป็นปกติ ไม่ถูกกิเลสหยาบๆ ครอบงำจนถึงขั้นการทำผิดศีลในเชิงจริยธรรมได้ ส่วนพระอรหันต์ นั้นจิตปราศจากอาสวกิเลสห่อหุ้ม จึงไม่มีทาง ที่จะเกิดกิเลสย่อมจิตได้อีก ดังนั้นจึงไม่ จำเป็นต้องมีธรรมใดเป็นเครื่องรักษาจิตจากกิเลสอีกต่อไป

3.3 วิธีมีศีล คนทั่วไปรักษาศีลด้วยการ ข่มใจไม่ให้ทำชั่ว แต่นักปฏิบัติควรรักษาศีลด้วยสติปัญญา คือเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายกระทบสัมผัส หรือใจรู้ธัมมารมณ์ต่างๆ หากจิตเกิดความยินดีพอใจก็รู้ทัน หากจิตเกิดความยินร้ายไม่พอใจก็รู้ทัน และหากจิตเฉยอยู่ก็รู้ทัน การรู้ทัน นี้แหละเป็นงานของสติ เมื่อรู้ทันแล้วอกุศลที่ยังไม่เกิดจะไม่เกิด อกุศลที่เกิดอยู่แล้วจะดับไป กุศลที่ยังไม่เกิดจะเกิด กุศลที่เกิดแล้วก็จะเกิดง่ายยิ่งขึ้น และจะดียิ่งขึ้นไปอีกหากความรู้ทันสภาวธรรมที่เกิดขึ้นนั้น จะประกอบไปด้วยความรู้จริงหรือความเข้าใจด้วย คือรู้ว่าความยินดีพอใจหรือความยินร้ายไมพอใจตลอดจนความเฉยๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงหรือเป็นสิ่งแปลกปลอมหรือเป็นสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาเป็นคราวๆ ห้ามก็ไม่ได้ บังคับก็ไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ชั่วขณะก็ดับไป การรู้ความจริงนี้แหละเป็นงาน ของปัญญา

3.4 ผลของการศึกษาเรื่องศีล มีหลายประการที่สำคัญคือ (1) สามารถดำรงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และได้รับการยอมรับนับถือจากสังคม (2) ทำให้จิตใจเป็นปกติไม่ถูกกิเลสชั่วหยาบครอบงำ และพร้อมที่จะพัฒนาจิตให้เกิดสัมมาสมาธิและปัญญาต่อไป (3) เป็นการฝ–กหัดการเจริญ วิปัสสนาไปในตัว และ (4) ทำให้จิตใจเข้มแข็ง ขึ้นและอนุสัยกิเลสจะค่อยๆ อ่อนกำลังลงเพราะกิเลสชั่วหยาบไม่ได้รับการตอบสนอง เป็นต้น สรุปแล้วการรักษาศีลด้วยการข่มใจ ทำให้จิตสงบจากกิเลสชั่วคราว แต่การรักษาศีลด้วยสติปัญญาเป็นการเจริญ วิปัสสนาไปในตัว จะทำให้จิตพ้นกิเลสถาวรในอนาคตได้

(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/จิตสิกขา)
กำลังโหลดความคิดเห็น