เดือนมีนาคมและเดือนเมษายนของทุกปี จะมีกิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นประจำก็คือ การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เพราะในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่โรงเรียนทั้งหลายปิดเทอม เด็กๆจึงมีเวลาว่างจากการเรียนกันเป็นส่วนใหญ่ และเพื่อมิให้เวลาล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งวัดและบ้านจึงดำริให้มีการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนขึ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เด็กได้ศึกษาและเรียนรู้พระพุทธศาสนาโดยตรง ไม่ใช่การ ศึกษาในภาคทฤษฎีที่เรียนรู้จากคัมภีร์หรือตำรับตำรา หรือการได้ยินได้ฟัง หากแต่จะต้อง เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติโดยตนเองทั้งหมด นับตั้งแต่ที่ได้บรรพชาเป็นสามเณร จึงเป็นการปลูก ฝังศรัทธาความเชื่อเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และสติปัญญาให้เกิดขึ้นในจิตใจอย่างแท้จริง จนเรียกได้ว่า เป็นผู้ใกล้ชิดหรือเข้าถึงคำสอนในพระพุทธศาสนา ตามสมควรแก่วัยและวุฒิภาวะที่จะอำนวยให้เป็นไป
โดยปกติเด็กนั้นท่านเปรียบเสมือนผ้าขาวที่บริสุทธิ์ พร้อมที่จะย้อมสีใดๆ ลงไปก็ได้ เมื่อเป็นดังนี้ทำให้มองเห็นว่า สังคมไทยเราในปัจจุบันมีสภาพที่หลากหลายไปในทางไม่ดีไม่งาม ต่างๆ นานา ที่เด็กจะประพฤติตัวคล้อยตามไปได้โดยง่าย เช่น การตั้งกันเป็นแก๊งยกพวกทำร้ายกัน การตั้งกลุ่มเสพของมึนเมาและเสพติด และโทษที่เรายังมองไม่เห็นชัดเจนก็คือ การ เล่นเกมจนติดงอมแงม จนเด็กมีพฤติกรรมคล้อยตามเกมที่เล่น แม้ว่าพ่อแม่-ผู้ปกครองจะเห็นว่าไม่ดี แต่ก็ยังเบาใจได้ว่าเด็กจะไม่ไปทำอะไรเป็นการเสียหายเหมือนเด็กกลุ่มอื่น และอีกหลายๆสาเหตุที่จะย้อมใจที่บริสุทธิ์ของเด็กให้เป็นสีเทาหรือสีดำได้
เพราะฉะนั้น การที่เด็กได้มีโอกาสเข้าไปบรรพชาเป็นสามเณร แม้ชั่วระยะเวลาสั้นๆ ของชีวิต ก็จะทำให้พวกเขาได้หลุดพ้นจากสภาพที่ไม่ดีของสังคมดังกล่าว ทำให้สภาพจิตของพวกเขายังอยู่ในฝ่ายของความขาวสะอาดได้มากกว่าเด็กกลุ่มอื่น
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า การบรรพชาเป็นสามเณรนั้น เป็นการเรียนรู้พระพุทธศาสนาโดยตรง เพราะต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ความคุ้นในความเป็นฆราวาส หรือความเป็นเด็กชาวบ้าน จะประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร ก็ทำได้ตามที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่เมื่อได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว อาการกิริยาใดที่เป็นอาการของฆราวาสก็จะต้องละลดไป ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน ดื่ม กิน ทำ พูด คิด จะต้องสำรวมไปทุกอิริยาบถ จะทำอย่างฆราวาสไม่ได้อีกต่อไป นี่เป็นการฝึกอบรมภายนอก คือทางกาย
ส่วนการอบรมทางจิตใจนั้น ก็ย่อมละเอียดประณีตขึ้น จะคิดอะไรตามอารมณ์ตามความ ต้องการไม่ได้ เพราะต้องมีสติควบคุมหรือรู้ตัวตลอดเวลาว่า ความคิดนั้นดีเลวอย่างไร อะไรที่คิดแล้วดีก็ดำเนินไป อะไรที่คิดแล้วไม่ดีก็ต้องละเลิก พูดตามภาษาธรรมก็คือ คิดดีเป็นกุศล คิดไม่ดีเป็นอกุศลนั่นเอง กุศลและอกุศลจึงเป็นหัวข้อที่เน้นหนักในการฝึกอบรมจิต ซึ่งแต่ละสำนักหรือแต่ละวัดที่จัดให้มีการบรรพชาเป็นสามเณรจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการ ฝึกอบรมไว้เป็นอย่างดี แต่จะได้ผลดีมากน้อยเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับอุปนิสัยของผู้บรรพชาด้วยเหมือนกัน เพราะพื้นเพบุญกุศลในอดีตชาติของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน คือบางคนมีบุญที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อนมาก ก็ทำให้มองเห็นอรรถเห็นธรรมง่าย ผู้ที่ไม่ค่อยมีบุญ กุศลสั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน ก็เห็นอรรถเห็นธรรมได้น้อย อันนี้ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย
การบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อน จะทำให้ผู้ที่เคยบรรพชาเป็นคนที่มีความอดทนอดกลั้นต่อความทุกข์ยาก เพราะจากการกินอยู่สามมื้อ ก็ต้องกินสองมื้อ อาหารที่จะกินเข้า ไปก็เลือกไม่ได้ มีอย่างไรต้องกินอย่างนั้น นี่คือการฝึกในเรื่องของการกินเรื่องปากเรื่องท้อง ที่จะต้องฝึกให้เป็นนิสัยติดตัวไปตลอดเวลาการบรรพชา ที่ต้องมีความอดทนต่อความหิว และจะต้องเอาชนะความหิว โดยไม่ต้องแสวงหาวัตถุสิ่งของใดๆ มาบำบัดความหิวและเป็นการชนะใจตนเองอีกด้วย
อีกประการหนึ่ง ความหิวนั้นจะเป็นเครื่องสอนใจ ว่าความหิวนั้นมีอานุภาพรุนแรงเพียงใด เมื่อได้พบได้เห็นคนหิวโหย ก็จะเข้าใจในความทุกข์ของเขาได้ ก็จะอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ผู้หิวโหยตามสมควรแก่ฐานะ จะไม่เป็นคนที่เห็นแก่ตน แต่จะมีใจอารีโอบอ้อมแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก
การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ก็เหมือนเป็นการฝากลูกไว้กับพระพุทธศาสนา เหมือนที่ชาวบ้านฝากบ้านไว้กับตำรวจ ซึ่งถือว่าปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย แม้จะมีการโจรกรรมบ้างก็นับว่าน้อยราย การฝากลูกไว้กับพระพุทธศาสนาไม่เพียงแต่จะปลอดภัยอย่าง เดียว แต่ว่าผู้บรรพชาย่อมได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ลงในพื้นที่ของจิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมปัจจุบันโหยหากันอยู่ ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัดที่จัดบรรพชาเป็นสำคัญ ถ้าวัดนั้นๆ มีการอบรมประพฤติปฏิบัติธรรมจริงจังเข้มแข็ง ผู้ที่เข้าไปบรรพชาก็จะได้การอบรมที่ดีและย่อมได้ผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 88 มี.ค. 51 โดย ธมฺมจรถ)
โดยปกติเด็กนั้นท่านเปรียบเสมือนผ้าขาวที่บริสุทธิ์ พร้อมที่จะย้อมสีใดๆ ลงไปก็ได้ เมื่อเป็นดังนี้ทำให้มองเห็นว่า สังคมไทยเราในปัจจุบันมีสภาพที่หลากหลายไปในทางไม่ดีไม่งาม ต่างๆ นานา ที่เด็กจะประพฤติตัวคล้อยตามไปได้โดยง่าย เช่น การตั้งกันเป็นแก๊งยกพวกทำร้ายกัน การตั้งกลุ่มเสพของมึนเมาและเสพติด และโทษที่เรายังมองไม่เห็นชัดเจนก็คือ การ เล่นเกมจนติดงอมแงม จนเด็กมีพฤติกรรมคล้อยตามเกมที่เล่น แม้ว่าพ่อแม่-ผู้ปกครองจะเห็นว่าไม่ดี แต่ก็ยังเบาใจได้ว่าเด็กจะไม่ไปทำอะไรเป็นการเสียหายเหมือนเด็กกลุ่มอื่น และอีกหลายๆสาเหตุที่จะย้อมใจที่บริสุทธิ์ของเด็กให้เป็นสีเทาหรือสีดำได้
เพราะฉะนั้น การที่เด็กได้มีโอกาสเข้าไปบรรพชาเป็นสามเณร แม้ชั่วระยะเวลาสั้นๆ ของชีวิต ก็จะทำให้พวกเขาได้หลุดพ้นจากสภาพที่ไม่ดีของสังคมดังกล่าว ทำให้สภาพจิตของพวกเขายังอยู่ในฝ่ายของความขาวสะอาดได้มากกว่าเด็กกลุ่มอื่น
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า การบรรพชาเป็นสามเณรนั้น เป็นการเรียนรู้พระพุทธศาสนาโดยตรง เพราะต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ความคุ้นในความเป็นฆราวาส หรือความเป็นเด็กชาวบ้าน จะประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร ก็ทำได้ตามที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่เมื่อได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว อาการกิริยาใดที่เป็นอาการของฆราวาสก็จะต้องละลดไป ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน ดื่ม กิน ทำ พูด คิด จะต้องสำรวมไปทุกอิริยาบถ จะทำอย่างฆราวาสไม่ได้อีกต่อไป นี่เป็นการฝึกอบรมภายนอก คือทางกาย
ส่วนการอบรมทางจิตใจนั้น ก็ย่อมละเอียดประณีตขึ้น จะคิดอะไรตามอารมณ์ตามความ ต้องการไม่ได้ เพราะต้องมีสติควบคุมหรือรู้ตัวตลอดเวลาว่า ความคิดนั้นดีเลวอย่างไร อะไรที่คิดแล้วดีก็ดำเนินไป อะไรที่คิดแล้วไม่ดีก็ต้องละเลิก พูดตามภาษาธรรมก็คือ คิดดีเป็นกุศล คิดไม่ดีเป็นอกุศลนั่นเอง กุศลและอกุศลจึงเป็นหัวข้อที่เน้นหนักในการฝึกอบรมจิต ซึ่งแต่ละสำนักหรือแต่ละวัดที่จัดให้มีการบรรพชาเป็นสามเณรจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการ ฝึกอบรมไว้เป็นอย่างดี แต่จะได้ผลดีมากน้อยเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับอุปนิสัยของผู้บรรพชาด้วยเหมือนกัน เพราะพื้นเพบุญกุศลในอดีตชาติของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน คือบางคนมีบุญที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อนมาก ก็ทำให้มองเห็นอรรถเห็นธรรมง่าย ผู้ที่ไม่ค่อยมีบุญ กุศลสั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน ก็เห็นอรรถเห็นธรรมได้น้อย อันนี้ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย
การบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อน จะทำให้ผู้ที่เคยบรรพชาเป็นคนที่มีความอดทนอดกลั้นต่อความทุกข์ยาก เพราะจากการกินอยู่สามมื้อ ก็ต้องกินสองมื้อ อาหารที่จะกินเข้า ไปก็เลือกไม่ได้ มีอย่างไรต้องกินอย่างนั้น นี่คือการฝึกในเรื่องของการกินเรื่องปากเรื่องท้อง ที่จะต้องฝึกให้เป็นนิสัยติดตัวไปตลอดเวลาการบรรพชา ที่ต้องมีความอดทนต่อความหิว และจะต้องเอาชนะความหิว โดยไม่ต้องแสวงหาวัตถุสิ่งของใดๆ มาบำบัดความหิวและเป็นการชนะใจตนเองอีกด้วย
อีกประการหนึ่ง ความหิวนั้นจะเป็นเครื่องสอนใจ ว่าความหิวนั้นมีอานุภาพรุนแรงเพียงใด เมื่อได้พบได้เห็นคนหิวโหย ก็จะเข้าใจในความทุกข์ของเขาได้ ก็จะอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ผู้หิวโหยตามสมควรแก่ฐานะ จะไม่เป็นคนที่เห็นแก่ตน แต่จะมีใจอารีโอบอ้อมแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก
การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ก็เหมือนเป็นการฝากลูกไว้กับพระพุทธศาสนา เหมือนที่ชาวบ้านฝากบ้านไว้กับตำรวจ ซึ่งถือว่าปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย แม้จะมีการโจรกรรมบ้างก็นับว่าน้อยราย การฝากลูกไว้กับพระพุทธศาสนาไม่เพียงแต่จะปลอดภัยอย่าง เดียว แต่ว่าผู้บรรพชาย่อมได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ลงในพื้นที่ของจิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมปัจจุบันโหยหากันอยู่ ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัดที่จัดบรรพชาเป็นสำคัญ ถ้าวัดนั้นๆ มีการอบรมประพฤติปฏิบัติธรรมจริงจังเข้มแข็ง ผู้ที่เข้าไปบรรพชาก็จะได้การอบรมที่ดีและย่อมได้ผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 88 มี.ค. 51 โดย ธมฺมจรถ)