เรื่องเกี่ยวกับการเจริญวิปัสสนานี้ ผู้เขียนได้เขียนไว้มากแล้ว ในหนังสือประทีปส่องธรรม และเพื่อนนักปฏิบัติก็ได้ช่วยกันพิมพ์แจกจ่ายกันอ่านในหมู่ผู้ปฏิบัติไปมากพอสมควรแล้ว จึงขอให้ท่านที่สนใจลองหาอ่านเอาได้ หรือจะศึกษาจากตำราเรียนพระอภิ-ธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ ก็ได้ ถ้าเราปฏิบัติโดยไม่ศึกษาเสียก่อน เราอาจ จะไปหลงเพ่ง หลงกำหนด หลงบริกรรม หลงตั้งท่าปฏิบัติ หลงแสวงหาอารมณ์รูปนาม และหลงแทรกแซงอารมณ์ได้ง่ายๆทีเดียว เพราะเราเคยชินที่จะ “ทำ” ไม่เคยชินที่จะ “รู้ตามความเป็นจริง” หรือเคยชินที่จะ “ปรุงแต่ง” ไม่เคยชินที่จะ “รู้ทันความปรุงแต่ง”
๓) ต้องรู้เนืองๆ คือต้องตามรู้รูปนาม เรื่อยๆไป ไม่ใช่รู้เพียงครั้งสองครั้งก็จะเรียกหามรรคผลนิพพานกันแล้ว ในสังสารวัฏนี้เราพอกพูนความรู้ผิด เข้าใจ
ผิดเอาไว้มาก ดังนั้น กว่าจิตจะยอมจำนนกับข้อเท็จจริงที่ว่า “เราไม่มี มีแต่ รูปนาม และรูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา” ได้ ก็ต้องหมั่นป้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรูปนามให้จิตดูเนืองๆ จนจิตยอมรับความจริงด้วยปัญญาไม่ใช่ด้วยการน้อมใจเชื่อโดยการคิดพิจารณา หรือด้วยการบังคับจิตให้เชื่อ แท้จริงการเจริญวิปัสสนาก็คือ การเอาของจริงคือรูปกับนามมาให้จิตดู จนจิต ยอมจำนนกับข้อเท็จจริง และหมดความ เข้าใจผิดและความยึดถือว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราไปเอง
๔.๓.๓ พัฒนาการทางปัญญา การเจริญวิปัสสนาจะทำให้เกิดปัญญาไปตามลำดับ หากกล่าวในเชิงพระปริยัติธรรมก็กล่าวได้ว่าจะเกิดวิปัสสนาปัญญาตามลำดับในโสฬสญาณ นับแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป ส่วนญาณก่อนหน้า นี้ยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาญาณเพราะยังเจือด้วยความคิดอยู่ เรื่องนี้พวกเราสามารถศึกษาได้จากตำรับตำราพระอภิธรรม ซึ่งเวลานี้ก็มีสำนักสอนอยู่หลายแห่ง สำหรับในที่นี้เราจะพูดกันในวงผู้ปฏิบัติ ก็อาจจะกล่าวได้ว่าปัญญามีอยู่ ๓ ระดับ คือ
ปัญญาเบื้องต้น เป็นปัญญาที่รู้ว่ารูปนามมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ซึ่งพระโสดาบันและพระสกิทาคามีจะมีปัญญาในระดับนี้ คือในระดับที่รู้ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นปัญญาที่เห็นว่า “รูปนามไม่ใช่ตัวตนของตน” นั่นเอง เพราะเห็นดังนี้จึงทำลายสักกายทิฏฐิหรือความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราลงได้
ปัญญาขั้นกลาง เป็นปัญญาในระดับพระอนาคามี คือรู้ว่า “แม้รูปนามจะมีอยู่ แต่ถ้าจิตไม่หลงเข้าไปยึดถือรูปนาม ความทุกข์ทางใจก็จะไม่เกิดขึ้น” กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการ มีปัญญารู้ว่า “ถ้าจิตเป็นจิตผู้รู้ ไม่ใช่ผู้หลงผู้ไหลเข้าไปยึดอารมณ์ จิตก็ไม่ทุกข์” ปัญญาระดับนี้จะทำให้สมาธิบริบูรณ์ คือจิตที่มีปัญญาระดับนี้จะไม่หลง ไม่ไหล แส่ส่าย ไปหาอารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย อันจัดเป็นกามอารมณ์ แต่พอใจที่ระลึกอยู่กับจิตผู้รู้ หรือจิตที่ตั้งมั่นบริบูรณ์ เป็นตัวของตัวเองอยู่ เพราะเห็น ว่าถ้าแส่ส่ายออกไปแล้วความทุกข์จะเกิดขึ้น
สำหรับปัญญาขั้นสูงนั้น จะเป็นปัญญาในระดับของพระอรหันต์ที่รู้แจ้งอริยสัจจ์อย่างบริบูรณ์ คือรู้ว่ารูปนามโดยเฉพาะตัวจิต แม้กระทั่งจิตผู้รู้นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ สมดังพระพุทธวัจนะที่ว่า “อุปาทานขันธ์เป็นตัวทุกข์” พอเห็นดังนี้ก็ปล่อยวางจิตแล้วเข้าไปประจักษ์นิพพานที่เต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพียงแต่จิตก่อนหน้านี้ไม่มีคุณภาพพอที่จะรู้เห็นนิพพาน ได้อย่างแจ่มแจ้งและเข้าใจเท่านั้น
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า วิปัสสนาปัญญาเกิดจากการเจริญวิปัสสนา หรือการตามรู้รูปนามของตนเองตามความเป็นจริง ซึ่งผู้ปฏิบัติจะตามรู้รูปนามของตนเองตามความเป็นจริงได้ ถ้าจิตมีสัมมาสมาธิ คือมีความตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว หรืออยู่กับกายกับใจ แต่ถ้าจิตไม่มีสัมมาสมาธิ จิตย่อมหลงไปรู้อารมณ์ อันเป็นสมมติบัญญัติ หรือหลงไปรู้อารมณ์ภายนอกทั้งปวง หรือแม้กระทั่งหลง/ไหลเข้าไปเพ่งจ้องจมแช่อยู่กับอารมณ์รูปนาม อันมีลักษณะเป็นการเพ่งอารมณ์หรืออารัมมณูปนิชฌาน ไม่ใช่การรู้ลักษณะหรืออันเป็นวิธีการเจริญวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติย่อมไม่สามารถจะตามรู้ลักษณะของกายและใจของตนเองได้ จึงไม่มี ทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาหรือ ความรู้ถูกเข้าใจถูก ว่าตัวเราไม่มี มีแต่รูปกับนาม
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 88 มี.ค. 51 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
๓) ต้องรู้เนืองๆ คือต้องตามรู้รูปนาม เรื่อยๆไป ไม่ใช่รู้เพียงครั้งสองครั้งก็จะเรียกหามรรคผลนิพพานกันแล้ว ในสังสารวัฏนี้เราพอกพูนความรู้ผิด เข้าใจ
ผิดเอาไว้มาก ดังนั้น กว่าจิตจะยอมจำนนกับข้อเท็จจริงที่ว่า “เราไม่มี มีแต่ รูปนาม และรูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา” ได้ ก็ต้องหมั่นป้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรูปนามให้จิตดูเนืองๆ จนจิตยอมรับความจริงด้วยปัญญาไม่ใช่ด้วยการน้อมใจเชื่อโดยการคิดพิจารณา หรือด้วยการบังคับจิตให้เชื่อ แท้จริงการเจริญวิปัสสนาก็คือ การเอาของจริงคือรูปกับนามมาให้จิตดู จนจิต ยอมจำนนกับข้อเท็จจริง และหมดความ เข้าใจผิดและความยึดถือว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราไปเอง
๔.๓.๓ พัฒนาการทางปัญญา การเจริญวิปัสสนาจะทำให้เกิดปัญญาไปตามลำดับ หากกล่าวในเชิงพระปริยัติธรรมก็กล่าวได้ว่าจะเกิดวิปัสสนาปัญญาตามลำดับในโสฬสญาณ นับแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป ส่วนญาณก่อนหน้า นี้ยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาญาณเพราะยังเจือด้วยความคิดอยู่ เรื่องนี้พวกเราสามารถศึกษาได้จากตำรับตำราพระอภิธรรม ซึ่งเวลานี้ก็มีสำนักสอนอยู่หลายแห่ง สำหรับในที่นี้เราจะพูดกันในวงผู้ปฏิบัติ ก็อาจจะกล่าวได้ว่าปัญญามีอยู่ ๓ ระดับ คือ
ปัญญาเบื้องต้น เป็นปัญญาที่รู้ว่ารูปนามมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ซึ่งพระโสดาบันและพระสกิทาคามีจะมีปัญญาในระดับนี้ คือในระดับที่รู้ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นปัญญาที่เห็นว่า “รูปนามไม่ใช่ตัวตนของตน” นั่นเอง เพราะเห็นดังนี้จึงทำลายสักกายทิฏฐิหรือความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราลงได้
ปัญญาขั้นกลาง เป็นปัญญาในระดับพระอนาคามี คือรู้ว่า “แม้รูปนามจะมีอยู่ แต่ถ้าจิตไม่หลงเข้าไปยึดถือรูปนาม ความทุกข์ทางใจก็จะไม่เกิดขึ้น” กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการ มีปัญญารู้ว่า “ถ้าจิตเป็นจิตผู้รู้ ไม่ใช่ผู้หลงผู้ไหลเข้าไปยึดอารมณ์ จิตก็ไม่ทุกข์” ปัญญาระดับนี้จะทำให้สมาธิบริบูรณ์ คือจิตที่มีปัญญาระดับนี้จะไม่หลง ไม่ไหล แส่ส่าย ไปหาอารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย อันจัดเป็นกามอารมณ์ แต่พอใจที่ระลึกอยู่กับจิตผู้รู้ หรือจิตที่ตั้งมั่นบริบูรณ์ เป็นตัวของตัวเองอยู่ เพราะเห็น ว่าถ้าแส่ส่ายออกไปแล้วความทุกข์จะเกิดขึ้น
สำหรับปัญญาขั้นสูงนั้น จะเป็นปัญญาในระดับของพระอรหันต์ที่รู้แจ้งอริยสัจจ์อย่างบริบูรณ์ คือรู้ว่ารูปนามโดยเฉพาะตัวจิต แม้กระทั่งจิตผู้รู้นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ สมดังพระพุทธวัจนะที่ว่า “อุปาทานขันธ์เป็นตัวทุกข์” พอเห็นดังนี้ก็ปล่อยวางจิตแล้วเข้าไปประจักษ์นิพพานที่เต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพียงแต่จิตก่อนหน้านี้ไม่มีคุณภาพพอที่จะรู้เห็นนิพพาน ได้อย่างแจ่มแจ้งและเข้าใจเท่านั้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 88 มี.ค. 51 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)