พัทลุง – “ผ้าทอเมืองลุง” ยังเป็นที่ต้องการของตลาด ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าสหกรณ์พนมวังก์ ยัน แม้ผลผลิตกลุ่มจะสร้างรายได้ให้กันชุมชนในจำนวนเงินที่น่าพอใจ แต่ผ้าทอที่ผลิตได้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด วอนรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สนับสนุนเทคโนโลยี เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น
นางปรีญานุช กรณ์ทอง ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าสหกรณ์พนมวังก์ ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า สหกรณ์กลุ่มสตรีทอผ้าปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 27 ราย โดยทำการผลิตผ้าทอลายสัก สามารถผลิตได้ประมาณ 1,200 หลา/เดือน จำหน่ายราคาหลาละ 120 บาท ผ้ามัดหมี่ผลิตได้ 30 ชิ้น/เดือน ราคาชิ้นละ 250 บาท ผ้าขาวม้า ผลิตได้ 30 ผืน/เดือน ราคาผืนละ 120 บาท และผ้าทอยกดอกผลิตได้ 450 หลา/เดือน จำหน่ายราคาหลาละ 200 บาท
ทั้งนี้ ทางกลุ่มสามารถทำรายได้เข้าประมาณ 40,000 บาท/เดือน ซึ่งเป็นรายได้เสริมที่งดงามาก โดยทางการตลาดนั้นในช่วงระยะแรกมีอุปสรรค แต่ได้ปรึกษากับสหกรณ์การเกษตรพนมวังก์ จึงได้ให้การช่วยเหลือ โดยมอบอาคารเป็นที่ทำการผลิตและจำหน่ายให้ ผ้าทอส่งไปจำหน่ายยังอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพัทลุง ตลอดจนถึงห้างเทสโก้โลตัสและศูนย์การค้าโอทอป
นางปรีญานุช ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันทางกลุ่มมีอุปสรรคคืออุปกรณ์การผลิตยังไม่ทันสมัย ผลิตไม่ทันและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด หากได้รับการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีจะสามารถต่อยอดผลิตได้มาก และโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นจุดขายที่สำคัญของจังหวัดพัทลุงและผลิตภัณฑ์ด้วย
“ทางกลุ่มอยู่ติดถนนสายเอเชีย ส่ายพัทลุง-นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งทำเลทองของการผลิตและธุรกิจซื้อมาขายไป ทั้งนี้เป้าหมายในปี 2552 จะทำการบูรณาการให้เป็นศูนย์รวมผ้าทอของจังหวัดพัทลุงอย่างเต็มรูปแบบ” นางปรีญานุช กล่าว
นางปรีญานุช กรณ์ทอง ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าสหกรณ์พนมวังก์ ต.แพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า สหกรณ์กลุ่มสตรีทอผ้าปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 27 ราย โดยทำการผลิตผ้าทอลายสัก สามารถผลิตได้ประมาณ 1,200 หลา/เดือน จำหน่ายราคาหลาละ 120 บาท ผ้ามัดหมี่ผลิตได้ 30 ชิ้น/เดือน ราคาชิ้นละ 250 บาท ผ้าขาวม้า ผลิตได้ 30 ผืน/เดือน ราคาผืนละ 120 บาท และผ้าทอยกดอกผลิตได้ 450 หลา/เดือน จำหน่ายราคาหลาละ 200 บาท
ทั้งนี้ ทางกลุ่มสามารถทำรายได้เข้าประมาณ 40,000 บาท/เดือน ซึ่งเป็นรายได้เสริมที่งดงามาก โดยทางการตลาดนั้นในช่วงระยะแรกมีอุปสรรค แต่ได้ปรึกษากับสหกรณ์การเกษตรพนมวังก์ จึงได้ให้การช่วยเหลือ โดยมอบอาคารเป็นที่ทำการผลิตและจำหน่ายให้ ผ้าทอส่งไปจำหน่ายยังอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพัทลุง ตลอดจนถึงห้างเทสโก้โลตัสและศูนย์การค้าโอทอป
นางปรีญานุช ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันทางกลุ่มมีอุปสรรคคืออุปกรณ์การผลิตยังไม่ทันสมัย ผลิตไม่ทันและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด หากได้รับการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีจะสามารถต่อยอดผลิตได้มาก และโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นจุดขายที่สำคัญของจังหวัดพัทลุงและผลิตภัณฑ์ด้วย
“ทางกลุ่มอยู่ติดถนนสายเอเชีย ส่ายพัทลุง-นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งทำเลทองของการผลิตและธุรกิจซื้อมาขายไป ทั้งนี้เป้าหมายในปี 2552 จะทำการบูรณาการให้เป็นศูนย์รวมผ้าทอของจังหวัดพัทลุงอย่างเต็มรูปแบบ” นางปรีญานุช กล่าว