โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ หรือในชื่อใหม่ว่า “ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์” ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดยก่อตั้งครั้งแรกที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร โดยนำแบบอย่างการศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกาที่จัดการเรียนการสอนแก่เด็กและเยาวชนในวันอาทิตย์มาเป็นแนวทางการศึกษาพระพุทธศาสนาของเด็กและเยาวชน ไทยเรา และก็ได้แพร่หลายขยายสาขาออกไปทั่วประเทศ
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่เกิดขึ้นในประเทศศรีลังกา และประเทศไทยนั้น มีปรารภเหตุที่แตกต่างกันของที่มา แต่มีความมุ่งหมายในแนวทางเดียวกัน คือ ต้อง การให้เด็กและเยาวชนได้มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา เรียนรู้หลักธรรมคำสอนแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ เมื่อเติบ โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีจริยธรรมและคุณธรรม เป็นแบบอย่างในสังคม
ตามที่กล่าวว่า มีปรารภเหตุที่แตกต่างกันของที่มานั้น กล่าวคือ ประเทศศรีลังกาได้ถูกปกครองโดยประเทศนักล่าอาณานิคมมานานหลายสิบปี พุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ก็ถูกเบียดเบียนจากนักปกครองชาวต่างชาติต่าง ศาสนา ที่ต้องการให้ผู้คนของศรีลังกาหันไปนับถือศาสนา ของพวกเขา วัดวาอารามหรือพุทธสถานบางแห่งจะถูกพวก ต่างชาติที่เข้ามาปกครองยึดไปเป็นศาสนสถานของตน ทำให้ชาวศรีลังกาที่หนักแน่นศรัทธาในพระพุทธศาสนาขมขื่นใจไม่ใช่น้อย
ครั้นเมื่อประเทศศรีลังกาได้รับอิสรภาพแล้ว ก็มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ จึงจัดให้มีโรงเรียนศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดเรียนของทางราชการ ให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษากันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ทำให้สถานะของพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกากลับมามีบทบาทในสังคมศรีลังกาอย่างสำคัญอีกครั้ง ซึ่งนับวันจะยิ่งมั่นคงแข็งแรงขึ้นตามลำดับ
สำหรับประเทศไทยที่ได้มีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น ก็โดยปรารภถึงเด็กและเยาวชนของ ชาติที่นับวันจะเหินห่างพระพุทธศาสนามากขึ้นทุกที เพราะโรงเรียนที่เคยมีอยู่ในวัดวาอารามต่างๆ ก็ไปมีอยู่นอกวัด ทำให้เด็กห่างวัด การศึกษาแผนใหม่แม้ไม่ขัดแย้งกับคำสอน ในพระพุทธศาสนา แต่ก็จะไม่เกื้อกูลต่อพระศาสนา ถ้าครูผู้สอนไม่รู้จักนำธรรมะในพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิชาการสมัยใหม่ อีกทั้งสังคมเมืองใหญ่ก็ล้วน มีสิ่งล่อสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กและเยาวชนหันเหไปในทางผิดได้เสมอ และก็มีตัวอย่างที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นแก่เด็กและเยาวชนให้ เป็นข่าวปรากฏตามสื่อมวลชนอยู่ไม่น้อย ทำอย่างไรที่จะให้ เด็กและเยาวชนได้รู้ถึงคำสอนในพระพุทธศาสนา แล้วนำไป ประพฤติปฏิบัติ เป็นภูมิคุ้มกันให้พวกเขาก้าวพ้นห้วงเหวของความไม่ดีไม่งามต่างๆไปได้ จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียน พุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของไทยเราตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่ได้สอนเฉพาะเรื่องพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ได้จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาการต่างๆ เข้ามาเสริมด้วย เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ดนตรี นาฏศิลป์ และวัฒนธรรมไทย เป็นต้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่มีใจรักในวิชาการเหล่านี้ได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ และเกื้อกูลกับวิชาที่เด็ก เรียนในโรงเรียนประจำ
แต่ปัญหาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่หนักอกผู้บริหารมาตลอด ก็คือ ขาดทุนทรัพย์ในด้านการจัดการศึกษา ในสำนักเรียนใหญ่หรือวัดใหญ่ในเมืองที่มีฐานะดี เพราะมีรายได้จากศาสนสมบัติของวัด เช่น ค่าเช่าตึกอาคารพาณิชย์ และที่ดินของวัด(ที่กัลปนาสงฆ์)ก็สามารถจัดการศึกษาได้อย่างยั่งยืนถาวร แต่ถ้าเป็นสำนักเรียนเล็กๆ หรือวัดเล็กๆ ไม่มีทุนทรัพย์ก็ไม่สามารถจะจัดการศึกษาให้ดำเนินไปได้โดยตลอด ต้องอาศัยกำลังศรัทธาของชาวบ้าน และครูบาอาจารย์จากโรงเรียนภายนอกเข้ามาช่วยสอน ซึ่งก็เป็นการเสียสละของพวกเขาที่น่าสรรเสริญ
นอกจากนั้น ก็จะมีปัญหาบุคลากร คือ พระที่สอน ถ้าเป็นสำนักเรียนเล็กๆ จะหาพระเป็นอาจารย์สอนยากอยู่ เพราะไม่ใช่ว่าเป็นพระแล้วจะสอนธรรมะได้ทุกรูปทุกองค์ ไป หรือสอนได้ แต่ไม่ค่อยดี เด็กไม่เข้าใจ ก็เกิดการเบื่อหน่าย เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าในระยะแรกของการเปิดเรียน จะมีเด็กมาสมัครเรียนจำนวนมาก แต่เรียนไป 3-4 อาทิตย์ เด็กจะเริ่มถอยห่างออกมา เพราะเกิดการเบื่อเรียนแล้วไม่เข้าใจ จำนวนของนักเรียนก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
หลักสูตรการเรียนการสอนก็เป็นอีกปัญหาที่สำคัญ เพราะถ้าเขียนหลักสูตรยากไป การเรียนการสอนก็ยากตาม เด็กไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะวุฒิภาวะไม่ถึงขั้นที่จะรู้ได้ ก็เรียนไปโดยท่องจำอย่างเดียว เด็กก็เบื่อหน่าย กลายเป็นนกแก้วนกขุนทองที่พูดภาษาคนได้ แต่ไม่รู้ความหมายที่ แท้จริงคืออะไร
ปัญหาที่หนักมากก็คือ เรื่องงบประมาณในการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยงานวิจัยโรงเรียน พุทธศาสนาวันอาทิตย์ปี 2548 ระบุว่า วัดที่จัดการเรียนการ สอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์นั้น ได้รับเงินอุดหนุนเพียง 5 บาทต่อเด็ก 1 คน ซึ่งทางกรมกรมการศาสนากล่าวถึงสาเหตุ ที่งบประมาณมีน้อยว่า เนื่องจากมีการนับจำนวนที่ซับซ้อน และมีการประเมินในลักษณะธุรกิจ คือ ถ้าลงทุนไปแล้ว ประชาชนจะได้อะไร
การที่วัดจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นมา ก็มีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า ต้องการให้เด็กและเยาวชนของชาติได้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนา เพื่อจะได้นำความรู้ คือ หลักธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เป็นการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมแก่เด็ก และเยาวชน ให้เป็นคนดีของสังคม ก็จะทำให้สังคมสงบสุขอยู่ได้
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่ให้การศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชนอย่างถูกต้อง เด็กและเยาวชนก็จะมีความ คิดที่ไม่ดี การพูดก็ไม่ดี การกระทำก็ไม่ดี สังคมเดือดร้อน เป็นเรื่องที่รู้เห็นกันอยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรมองกันในด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องของวัตถุนิยมเพียงฝ่ายเดียว ต้องมองถึงเรื่องศาสนาด้วย เพราะศาสนา เป็นเรื่องของจิตใจ ถ้าจิตใจไม่ดีเสียแล้ว ก็ไม่สามารถจะสร้างเศรษฐกิจ หรือรักษาเศรษฐกิจให้ดำรงอยู่ได้ หลายคนล้มเหลวในทางเศรษฐกิจมีให้เห็นกันอยู่มากมาย สงครามเล็กใหญ่ การก่อการร้าย ก็ล้วนเรื่องวัตถุนิยม มุ่งผลที่เป็นวัตถุที่ตนจะได้รับเป็นที่ตั้ง สังคมจึงเดือดร้อนกันจนทุกวันนี้ นั่นก็คือเราขาดการปลูกฝังด้านคุณธรรมให้ เกิดขึ้นในใจนั่นเอง
เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่า ถ้าลงทุนไปแล้ว ประชาชนจะได้อะไร จึงเป็นคำถามของคนที่ไม่เข้าใจอะไรเลย เหมือนกับตักบาตรพระแล้วถามว่าจะได้อะไร และถ้าคนในสังคมไทยเรายังติดอยู่กับวัตถุนิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตาอย่างนี้ โอกาสที่จะพัฒนาการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะในชื่อของโรงเรียน หรือชื่อของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ก็ไม่มีโอกาสขยายให้กว้างขวางออกไป ได้อย่างที่วาดฝันไว้ว่า จะมีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทุกตำบลทั่วประเทศ
เพราะที่ผ่านมา เห็นมีแค่การตั้งตัวเลขและจำนวนอย่าง สวยหรูเท่านั้นเอง!!
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 ม.ค. 51 โดย ธมฺมจรถ)
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่เกิดขึ้นในประเทศศรีลังกา และประเทศไทยนั้น มีปรารภเหตุที่แตกต่างกันของที่มา แต่มีความมุ่งหมายในแนวทางเดียวกัน คือ ต้อง การให้เด็กและเยาวชนได้มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา เรียนรู้หลักธรรมคำสอนแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ เมื่อเติบ โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีจริยธรรมและคุณธรรม เป็นแบบอย่างในสังคม
ตามที่กล่าวว่า มีปรารภเหตุที่แตกต่างกันของที่มานั้น กล่าวคือ ประเทศศรีลังกาได้ถูกปกครองโดยประเทศนักล่าอาณานิคมมานานหลายสิบปี พุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ก็ถูกเบียดเบียนจากนักปกครองชาวต่างชาติต่าง ศาสนา ที่ต้องการให้ผู้คนของศรีลังกาหันไปนับถือศาสนา ของพวกเขา วัดวาอารามหรือพุทธสถานบางแห่งจะถูกพวก ต่างชาติที่เข้ามาปกครองยึดไปเป็นศาสนสถานของตน ทำให้ชาวศรีลังกาที่หนักแน่นศรัทธาในพระพุทธศาสนาขมขื่นใจไม่ใช่น้อย
ครั้นเมื่อประเทศศรีลังกาได้รับอิสรภาพแล้ว ก็มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ จึงจัดให้มีโรงเรียนศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดเรียนของทางราชการ ให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษากันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ทำให้สถานะของพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกากลับมามีบทบาทในสังคมศรีลังกาอย่างสำคัญอีกครั้ง ซึ่งนับวันจะยิ่งมั่นคงแข็งแรงขึ้นตามลำดับ
สำหรับประเทศไทยที่ได้มีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น ก็โดยปรารภถึงเด็กและเยาวชนของ ชาติที่นับวันจะเหินห่างพระพุทธศาสนามากขึ้นทุกที เพราะโรงเรียนที่เคยมีอยู่ในวัดวาอารามต่างๆ ก็ไปมีอยู่นอกวัด ทำให้เด็กห่างวัด การศึกษาแผนใหม่แม้ไม่ขัดแย้งกับคำสอน ในพระพุทธศาสนา แต่ก็จะไม่เกื้อกูลต่อพระศาสนา ถ้าครูผู้สอนไม่รู้จักนำธรรมะในพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิชาการสมัยใหม่ อีกทั้งสังคมเมืองใหญ่ก็ล้วน มีสิ่งล่อสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กและเยาวชนหันเหไปในทางผิดได้เสมอ และก็มีตัวอย่างที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นแก่เด็กและเยาวชนให้ เป็นข่าวปรากฏตามสื่อมวลชนอยู่ไม่น้อย ทำอย่างไรที่จะให้ เด็กและเยาวชนได้รู้ถึงคำสอนในพระพุทธศาสนา แล้วนำไป ประพฤติปฏิบัติ เป็นภูมิคุ้มกันให้พวกเขาก้าวพ้นห้วงเหวของความไม่ดีไม่งามต่างๆไปได้ จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียน พุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของไทยเราตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่ได้สอนเฉพาะเรื่องพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ได้จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาการต่างๆ เข้ามาเสริมด้วย เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ดนตรี นาฏศิลป์ และวัฒนธรรมไทย เป็นต้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่มีใจรักในวิชาการเหล่านี้ได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ และเกื้อกูลกับวิชาที่เด็ก เรียนในโรงเรียนประจำ
แต่ปัญหาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่หนักอกผู้บริหารมาตลอด ก็คือ ขาดทุนทรัพย์ในด้านการจัดการศึกษา ในสำนักเรียนใหญ่หรือวัดใหญ่ในเมืองที่มีฐานะดี เพราะมีรายได้จากศาสนสมบัติของวัด เช่น ค่าเช่าตึกอาคารพาณิชย์ และที่ดินของวัด(ที่กัลปนาสงฆ์)ก็สามารถจัดการศึกษาได้อย่างยั่งยืนถาวร แต่ถ้าเป็นสำนักเรียนเล็กๆ หรือวัดเล็กๆ ไม่มีทุนทรัพย์ก็ไม่สามารถจะจัดการศึกษาให้ดำเนินไปได้โดยตลอด ต้องอาศัยกำลังศรัทธาของชาวบ้าน และครูบาอาจารย์จากโรงเรียนภายนอกเข้ามาช่วยสอน ซึ่งก็เป็นการเสียสละของพวกเขาที่น่าสรรเสริญ
นอกจากนั้น ก็จะมีปัญหาบุคลากร คือ พระที่สอน ถ้าเป็นสำนักเรียนเล็กๆ จะหาพระเป็นอาจารย์สอนยากอยู่ เพราะไม่ใช่ว่าเป็นพระแล้วจะสอนธรรมะได้ทุกรูปทุกองค์ ไป หรือสอนได้ แต่ไม่ค่อยดี เด็กไม่เข้าใจ ก็เกิดการเบื่อหน่าย เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าในระยะแรกของการเปิดเรียน จะมีเด็กมาสมัครเรียนจำนวนมาก แต่เรียนไป 3-4 อาทิตย์ เด็กจะเริ่มถอยห่างออกมา เพราะเกิดการเบื่อเรียนแล้วไม่เข้าใจ จำนวนของนักเรียนก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
หลักสูตรการเรียนการสอนก็เป็นอีกปัญหาที่สำคัญ เพราะถ้าเขียนหลักสูตรยากไป การเรียนการสอนก็ยากตาม เด็กไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะวุฒิภาวะไม่ถึงขั้นที่จะรู้ได้ ก็เรียนไปโดยท่องจำอย่างเดียว เด็กก็เบื่อหน่าย กลายเป็นนกแก้วนกขุนทองที่พูดภาษาคนได้ แต่ไม่รู้ความหมายที่ แท้จริงคืออะไร
ปัญหาที่หนักมากก็คือ เรื่องงบประมาณในการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยงานวิจัยโรงเรียน พุทธศาสนาวันอาทิตย์ปี 2548 ระบุว่า วัดที่จัดการเรียนการ สอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์นั้น ได้รับเงินอุดหนุนเพียง 5 บาทต่อเด็ก 1 คน ซึ่งทางกรมกรมการศาสนากล่าวถึงสาเหตุ ที่งบประมาณมีน้อยว่า เนื่องจากมีการนับจำนวนที่ซับซ้อน และมีการประเมินในลักษณะธุรกิจ คือ ถ้าลงทุนไปแล้ว ประชาชนจะได้อะไร
การที่วัดจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นมา ก็มีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า ต้องการให้เด็กและเยาวชนของชาติได้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนา เพื่อจะได้นำความรู้ คือ หลักธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เป็นการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมแก่เด็ก และเยาวชน ให้เป็นคนดีของสังคม ก็จะทำให้สังคมสงบสุขอยู่ได้
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่ให้การศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชนอย่างถูกต้อง เด็กและเยาวชนก็จะมีความ คิดที่ไม่ดี การพูดก็ไม่ดี การกระทำก็ไม่ดี สังคมเดือดร้อน เป็นเรื่องที่รู้เห็นกันอยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรมองกันในด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องของวัตถุนิยมเพียงฝ่ายเดียว ต้องมองถึงเรื่องศาสนาด้วย เพราะศาสนา เป็นเรื่องของจิตใจ ถ้าจิตใจไม่ดีเสียแล้ว ก็ไม่สามารถจะสร้างเศรษฐกิจ หรือรักษาเศรษฐกิจให้ดำรงอยู่ได้ หลายคนล้มเหลวในทางเศรษฐกิจมีให้เห็นกันอยู่มากมาย สงครามเล็กใหญ่ การก่อการร้าย ก็ล้วนเรื่องวัตถุนิยม มุ่งผลที่เป็นวัตถุที่ตนจะได้รับเป็นที่ตั้ง สังคมจึงเดือดร้อนกันจนทุกวันนี้ นั่นก็คือเราขาดการปลูกฝังด้านคุณธรรมให้ เกิดขึ้นในใจนั่นเอง
เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่า ถ้าลงทุนไปแล้ว ประชาชนจะได้อะไร จึงเป็นคำถามของคนที่ไม่เข้าใจอะไรเลย เหมือนกับตักบาตรพระแล้วถามว่าจะได้อะไร และถ้าคนในสังคมไทยเรายังติดอยู่กับวัตถุนิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตาอย่างนี้ โอกาสที่จะพัฒนาการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะในชื่อของโรงเรียน หรือชื่อของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ก็ไม่มีโอกาสขยายให้กว้างขวางออกไป ได้อย่างที่วาดฝันไว้ว่า จะมีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทุกตำบลทั่วประเทศ
เพราะที่ผ่านมา เห็นมีแค่การตั้งตัวเลขและจำนวนอย่าง สวยหรูเท่านั้นเอง!!
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 ม.ค. 51 โดย ธมฺมจรถ)