คนแคระบนบ่ายักษ์
ไชยันต์ ไชยพร
ในตอนก่อนๆ ผู้เขียนได้กล่าวถึงกรอบแนวคิดในการทำความเข้าใจ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์สวีเดน” และเค้าโครงของประวัติศาสตร์ของกฎหมายในฐานะที่เป็นกรอบกติกาการปกครองหรือ “รัฐธรรมนูญ” รวมทั้งโครงสร้างทางสังคมของสวีเดนก่อนการสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในช่วง ค.ศ. 1680 ไปบางส่วน
ในตอนนี้จะขอกล่าวต่อไปจากประเด็นความขัดแย้งต่อนโยบายเวนคืนไปสู่ความขัดแย้งเห็นต่างในเรื่องพระราชอำนาจในการออกกฎหมายและพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
ในปี ค.ศ. 1682 ทูตเดนมาร์กประจำสวีเดนขณะนั้นได้มีบันทึกต่อสถานะอันทรงอำนาจยิ่งของพระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ดไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ไม่ทรงถูกผูกมัดโดยกฎหมายอีกต่อไป และพระองค์ได้ขึ้นเป็นองค์อธิปัตย์ (sovereignty) เพราะต่อเรื่องที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด พระองค์ไม่ทรงต้องการความเห็นพ้องยอมรับจากราษฎรของพระองค์อีกต่อไป”
การคุกคามที่เกิดจากการที่ “เลขาธิการของพระมหากษัตริย์ได้เข้าไปรับรู้การอภิปรายโต้เถียงในการประชุมในทุกๆฐานันดร และมีการเก็บบันทึกรายละเอียดการประชุมไว้ และในที่ประชุมสภาอภิชนได้มีทหารรักษาพระองค์อยู่ด้วย ทำให้ไม่มีใครพูดต่อต้าน”
จากข้างต้น สามารถสรุปความได้ว่า การรวมศูนย์อำนาจของพระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาระหว่างการประชุมฐานันดรในปี ค.ศ.1680 และ ค.ศ.1682
โดยก่อนหน้าที่จะมีการประชุมฐานันดรในเดือนตุลาคม ค.ศ.1680 นั้น มีกระแสข่าวลือสะพัดในกรุงสต๊อกโฮล์มว่าจะเกิดการรัฐประหารเพื่อนำไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างไรก็ดี ไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ถึงการเตรียมการรัฐประหาร และ Charles XI ก็ปฏิเสธอย่างแข็งขันอยู่เสมอว่าพระองค์ไม่มีพระราชประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง
ที่ประชุมฐานันดรของสวีเดนไม่ใช่เวทีที่เปิดเสรีแก่การถกเถียงอภิปราย หากแต่ สถาบันพระมหากษัตริย์มีอิทธิพลและบทบาทในการควบคุมทิศทางของที่ประชุมฐานันดรหลายทาง ตั้งแต่การกำหนดข้อเสนอที่เป็นวาระการประชุม (Propositions) การอนุมัติมติเปิดประชุม จนไปถึงพระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาฐานันดรอภิชน ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการลับ (Secret Committee) ด้วยที่ทำหน้าที่ปรึกษาหารือประเด็นที่มีความอ่อนไหว นั่นคือ กิจการระหว่างประเทศ ซึ่งในปี ค.ศ.1660 ได้ขยายรวมกิจการภายในประเทศด้วย คณะกรรมาธิการลับมีสมาชิกเป็นผู้แทนของฐานันดรอภิชน ฐานันดรพระสงฆ์และฐานันดรชาวเมือง จะมีแต่เพียงสภาฐานันดรที่เข้าร่วมการประชุมสภาฐานันดรด้วยเท่านั้นที่พอจะเป็นศูนย์รวมทัดทานอิทธิพลของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้
การประชุมฐานันดรในปี ค.ศ.1680 มีวาระการประชุมสี่วาระได้แก่ การเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของราชราชอาณาจักร การเสริมสมรรถนะของกองทัพเรือ การเสริมสมรรถนะของกองทัพบก และการจัดหากำลังบำรุง อันล้วนเป็นวาระที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหรือรูปแบบการปกครองแต่อย่างใด สะท้อนว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้คำนึงถึงประเด็นวาระดังกล่าว
ประเด็นติดพันที่สำคัญคือคำถามว่าด้วยแหล่งที่มาของงบประมาณในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง
1) การจัดตั้งคณะตุลาการหรือคณะตุลาการเพื่อสอบสวนคณะผู้สำเร็จราชการและริบทรัพย์สินเข้าคลัง ซึ่งมุ่งโจมตีกลุ่มอภิชนระดับสูงและเป็นเครื่องมือปราบฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองได้เป็นอย่างดี
และ 2) การขยายการบังคับใช้นโยบายเวนคือ (Reduktion) เกินไปกว่าที่ตกลงไว้ในปี ค.ศ.1655 ซึ่งมีความไม่แน่นอนอยู่ที่ว่า ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าที่ดินใดเคยเป็นหรือไม่เคยเป็นของพระมหากษัตริย์สวีเดนมาก่อน ณ เวลาหนึ่ง พระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ดทรงดำเนินผลักดันวาระดังกล่าวผ่านคนสนิทในที่ประชุมฐานันดรอย่าง Hans Wachtmeister (นายทหารเรือ) โดยที่ทรงวางพระองค์อยู่เหนือการถกเถียงที่เกิดขึ้น Wachtmeister โน้มน้าวฐานันดรอภิชนให้เห็นด้วยกับการจัดตั้งคณะตุลาการคณะตุลาการเพื่อเรียกทรัพย์สินคืนให้แก่ราชราชอาณาจักร แต่อภิชนระดับสูงอย่าง P. Sparre เรียกร้องให้มีกระบวนการยุติธรรมตามรูปแบบที่เปิดให้จำเลยได้แก้ต่างด้วย ความขัดแย้งปะทุดุเดือดขึ้นจนมีการกล่าวขึ้นว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย “จะถูกแจ้งชื่อต่อพระมหากษัตริย์และต่อ Wachtmeister”
ต่อมา Charles XI ได้มีพระราชประสงค์ให้ตั้งคณะตุลาการขึ้นโดยมีคณะลูกขุนมาจากทั้งสี่ฐานันดร ในประเด็นนี้ Sparre เห็นค้าน แต่ประธานฐานันดรอภิชนยืนยันว่าเป็นพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว มิอาจก้าวล่วงได้ อันสะท้อนว่า “ในสายตาของพสกนิกร แม้กระทั่งกลุ่มอภิชน พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์เป็นที่สิ้นสุด ไม่อาจตั้งคำถามได้”
ประเด็นการเวน (Reduktion) ถูกอภิปรายในคณะกรรมาธิการลับเป็นหลัก โดยฐานันดรชาวนาเป็นผู้รื้อฟื้นเสนอ “นโยบายเวนคืนอย่างเต็มรูปแบบ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฐานันดรชาวเมืองในทันทีและจากฐานันดรนักบวชในเวลาต่อมา ฐานันดรอภิชนเมื่อได้ทราบเรื่องก็ตื่นตระหนกและพยายามขัดขวางประเด็นดังกล่าว สภาบริหารเสนอแนะให้ฐานันดรอภิชนแถลงจุดยืนและทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์ แต่ Charles XI ทรงรีบปฏิเสธและให้สภาบริหารและฐานันดรอภิชนแก้ไขข้อขัดแย้งเอง
ภายในกลุ่มอภิชนมีทั้งฝ่ายที่เห็นว่า การพระราชทานที่ดินเป็นพระราชอำนาจส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ที่ฐานันดรชาวนาไม่อาจก้าวล่วงได้ และก็มีฝ่ายที่เห็นว่ามีกลุ่มบุคคลจำนวนน้อยที่ได้รับผลประโยชน์ในทรัพยากรแผ่นดินเกินกว่าที่ควรจะได้รับ
ภายใต้ความสับสนวุ่นวายนี้ อภิชนระดับล่างประกาศสนับสนุนนโยบายการเวนคืน พร้อมกับอ้างว่ากลุ่มอภิชนให้ความเห็นชอบด้วย
Sparre และกลุ่มอภิชนระดับสูงที่เห็นค้านตัดสินใจเดินออกจากที่ประชุมเพื่อเข้าเฝ้าฯ Charles XI โดยไม่ฟังประธานฐานันดรอภิชนที่เรียกกลุ่มดังกล่าวให้กลับเข้าห้องประชุม ซึ่งทำให้ประธานฐานันดรอภิชนตัดสินว่าที่ประชุมสภาอภิชนเห็นชอบกับนโยบายการเวนคืนในหลักการ และให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่างข้อเสนอในรายละเอียด
ทางด้าน Sparre นั้น กล่าวแก่ Charles XI ว่าพร้อมที่จะคืนที่ดินให้แก่พระองค์ “โดยอาสาสมัคร” Charles XI ทรงใช้จังหวะดังกล่าวประกาศสนับสนุนความเป็นหนึ่งเดียวกันของฐานันดรอภิชน อันทำให้พระองค์ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะลำบากในการตัดสินใจ
อย่างไรก็ดี กลุ่มของ Sparre ยังคาดหวังให้สภาบริหารเข้าคัดค้านการบังคับใช้นโยบายการเวนคืนอย่างเต็มที่ (full reduction) Sten Bielke นำคณะสมาชิกสภาบริหารเข้าเฝ้าฯ Charles XI และให้เหตุผลคัดค้านโดยอ้อมว่า ความพยายามของกลุ่มสามัญชนเป็นการละเมิดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการพระราชทานที่ดินและอภิสิทธิแก่กลุ่มอภิชน
Charles XI ปฏิเสธโดยอ้างถึงฉันทามติของที่ประชุมฐานันดรทั้งสี่ ด้วยเหตุนี้ สภาบริหารจึงปล่อยโอกาสในการขัดขวางการลดทอนอำนาจของฝ่ายอภิชนให้หลุดไปโดยไม่ได้มีความพยายามต่อต้านอย่างแข็งขัน ฐานันดรอภิชนเห็นพ้องในการคืนที่ดินติดฐานันดรศักดิ์อย่างไร้เงื่อนไข ขณะที่ที่ดินอื่นสามารถเรียกคืนได้โดยมีข้อแม้ว่าอภิชนจะต้องได้รับเงินรายปีจำนวนหนึ่ง เมื่อเกิดการโต้เถียงอีกครั้งหนึ่ง Charles XI ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยผ่านประธานฐานันดรอภิชนให้ทุกฝ่ายยุติข้อถกเถียงดังกล่าวลง
หลังจากที่ Charles XI ได้มาซึ่งคณะตุลาการและนโยบายการเวนคืนแล้ว พระองค์ยังทรงโปรดให้มีการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมขึ้นอีก ซึ่งทุกฐานันดรต่างยินยอมตามพระราชประสงค์แม้ว่าจะสร้างภาระหรือแรงกดดันเพิ่มเติมแก่ตนก็ตาม
สรุปก็คือ การประชุมฐานันดรในปี ค.ศ.1680 แสดงถึงพระราชอำนาจของพระองค์ในราชราชอาณาจักร เพียงแค่การเสนอเป็นนัยหรือพระราชดำรัสแนะนำก็เพียงพอต่อการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ในที่ประชุมฐานันดรแล้ว
(โปรดติดตามอ่านต่อไปสัปดาห์หน้า)
ไชยันต์ ไชยพร
ในตอนก่อนๆ ผู้เขียนได้กล่าวถึงกรอบแนวคิดในการทำความเข้าใจ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์สวีเดน” และเค้าโครงของประวัติศาสตร์ของกฎหมายในฐานะที่เป็นกรอบกติกาการปกครองหรือ “รัฐธรรมนูญ” รวมทั้งโครงสร้างทางสังคมของสวีเดนก่อนการสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในช่วง ค.ศ. 1680 ไปบางส่วน
ในตอนนี้จะขอกล่าวต่อไปจากประเด็นความขัดแย้งต่อนโยบายเวนคืนไปสู่ความขัดแย้งเห็นต่างในเรื่องพระราชอำนาจในการออกกฎหมายและพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
ในปี ค.ศ. 1682 ทูตเดนมาร์กประจำสวีเดนขณะนั้นได้มีบันทึกต่อสถานะอันทรงอำนาจยิ่งของพระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ดไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ไม่ทรงถูกผูกมัดโดยกฎหมายอีกต่อไป และพระองค์ได้ขึ้นเป็นองค์อธิปัตย์ (sovereignty) เพราะต่อเรื่องที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด พระองค์ไม่ทรงต้องการความเห็นพ้องยอมรับจากราษฎรของพระองค์อีกต่อไป”
การคุกคามที่เกิดจากการที่ “เลขาธิการของพระมหากษัตริย์ได้เข้าไปรับรู้การอภิปรายโต้เถียงในการประชุมในทุกๆฐานันดร และมีการเก็บบันทึกรายละเอียดการประชุมไว้ และในที่ประชุมสภาอภิชนได้มีทหารรักษาพระองค์อยู่ด้วย ทำให้ไม่มีใครพูดต่อต้าน”
จากข้างต้น สามารถสรุปความได้ว่า การรวมศูนย์อำนาจของพระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาระหว่างการประชุมฐานันดรในปี ค.ศ.1680 และ ค.ศ.1682
โดยก่อนหน้าที่จะมีการประชุมฐานันดรในเดือนตุลาคม ค.ศ.1680 นั้น มีกระแสข่าวลือสะพัดในกรุงสต๊อกโฮล์มว่าจะเกิดการรัฐประหารเพื่อนำไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างไรก็ดี ไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ถึงการเตรียมการรัฐประหาร และ Charles XI ก็ปฏิเสธอย่างแข็งขันอยู่เสมอว่าพระองค์ไม่มีพระราชประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง
ที่ประชุมฐานันดรของสวีเดนไม่ใช่เวทีที่เปิดเสรีแก่การถกเถียงอภิปราย หากแต่ สถาบันพระมหากษัตริย์มีอิทธิพลและบทบาทในการควบคุมทิศทางของที่ประชุมฐานันดรหลายทาง ตั้งแต่การกำหนดข้อเสนอที่เป็นวาระการประชุม (Propositions) การอนุมัติมติเปิดประชุม จนไปถึงพระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาฐานันดรอภิชน ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการลับ (Secret Committee) ด้วยที่ทำหน้าที่ปรึกษาหารือประเด็นที่มีความอ่อนไหว นั่นคือ กิจการระหว่างประเทศ ซึ่งในปี ค.ศ.1660 ได้ขยายรวมกิจการภายในประเทศด้วย คณะกรรมาธิการลับมีสมาชิกเป็นผู้แทนของฐานันดรอภิชน ฐานันดรพระสงฆ์และฐานันดรชาวเมือง จะมีแต่เพียงสภาฐานันดรที่เข้าร่วมการประชุมสภาฐานันดรด้วยเท่านั้นที่พอจะเป็นศูนย์รวมทัดทานอิทธิพลของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้
การประชุมฐานันดรในปี ค.ศ.1680 มีวาระการประชุมสี่วาระได้แก่ การเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของราชราชอาณาจักร การเสริมสมรรถนะของกองทัพเรือ การเสริมสมรรถนะของกองทัพบก และการจัดหากำลังบำรุง อันล้วนเป็นวาระที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหรือรูปแบบการปกครองแต่อย่างใด สะท้อนว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้คำนึงถึงประเด็นวาระดังกล่าว
ประเด็นติดพันที่สำคัญคือคำถามว่าด้วยแหล่งที่มาของงบประมาณในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง
1) การจัดตั้งคณะตุลาการหรือคณะตุลาการเพื่อสอบสวนคณะผู้สำเร็จราชการและริบทรัพย์สินเข้าคลัง ซึ่งมุ่งโจมตีกลุ่มอภิชนระดับสูงและเป็นเครื่องมือปราบฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองได้เป็นอย่างดี
และ 2) การขยายการบังคับใช้นโยบายเวนคือ (Reduktion) เกินไปกว่าที่ตกลงไว้ในปี ค.ศ.1655 ซึ่งมีความไม่แน่นอนอยู่ที่ว่า ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าที่ดินใดเคยเป็นหรือไม่เคยเป็นของพระมหากษัตริย์สวีเดนมาก่อน ณ เวลาหนึ่ง พระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ดทรงดำเนินผลักดันวาระดังกล่าวผ่านคนสนิทในที่ประชุมฐานันดรอย่าง Hans Wachtmeister (นายทหารเรือ) โดยที่ทรงวางพระองค์อยู่เหนือการถกเถียงที่เกิดขึ้น Wachtmeister โน้มน้าวฐานันดรอภิชนให้เห็นด้วยกับการจัดตั้งคณะตุลาการคณะตุลาการเพื่อเรียกทรัพย์สินคืนให้แก่ราชราชอาณาจักร แต่อภิชนระดับสูงอย่าง P. Sparre เรียกร้องให้มีกระบวนการยุติธรรมตามรูปแบบที่เปิดให้จำเลยได้แก้ต่างด้วย ความขัดแย้งปะทุดุเดือดขึ้นจนมีการกล่าวขึ้นว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย “จะถูกแจ้งชื่อต่อพระมหากษัตริย์และต่อ Wachtmeister”
ต่อมา Charles XI ได้มีพระราชประสงค์ให้ตั้งคณะตุลาการขึ้นโดยมีคณะลูกขุนมาจากทั้งสี่ฐานันดร ในประเด็นนี้ Sparre เห็นค้าน แต่ประธานฐานันดรอภิชนยืนยันว่าเป็นพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว มิอาจก้าวล่วงได้ อันสะท้อนว่า “ในสายตาของพสกนิกร แม้กระทั่งกลุ่มอภิชน พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์เป็นที่สิ้นสุด ไม่อาจตั้งคำถามได้”
ประเด็นการเวน (Reduktion) ถูกอภิปรายในคณะกรรมาธิการลับเป็นหลัก โดยฐานันดรชาวนาเป็นผู้รื้อฟื้นเสนอ “นโยบายเวนคืนอย่างเต็มรูปแบบ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฐานันดรชาวเมืองในทันทีและจากฐานันดรนักบวชในเวลาต่อมา ฐานันดรอภิชนเมื่อได้ทราบเรื่องก็ตื่นตระหนกและพยายามขัดขวางประเด็นดังกล่าว สภาบริหารเสนอแนะให้ฐานันดรอภิชนแถลงจุดยืนและทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์ แต่ Charles XI ทรงรีบปฏิเสธและให้สภาบริหารและฐานันดรอภิชนแก้ไขข้อขัดแย้งเอง
ภายในกลุ่มอภิชนมีทั้งฝ่ายที่เห็นว่า การพระราชทานที่ดินเป็นพระราชอำนาจส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ที่ฐานันดรชาวนาไม่อาจก้าวล่วงได้ และก็มีฝ่ายที่เห็นว่ามีกลุ่มบุคคลจำนวนน้อยที่ได้รับผลประโยชน์ในทรัพยากรแผ่นดินเกินกว่าที่ควรจะได้รับ
ภายใต้ความสับสนวุ่นวายนี้ อภิชนระดับล่างประกาศสนับสนุนนโยบายการเวนคืน พร้อมกับอ้างว่ากลุ่มอภิชนให้ความเห็นชอบด้วย
Sparre และกลุ่มอภิชนระดับสูงที่เห็นค้านตัดสินใจเดินออกจากที่ประชุมเพื่อเข้าเฝ้าฯ Charles XI โดยไม่ฟังประธานฐานันดรอภิชนที่เรียกกลุ่มดังกล่าวให้กลับเข้าห้องประชุม ซึ่งทำให้ประธานฐานันดรอภิชนตัดสินว่าที่ประชุมสภาอภิชนเห็นชอบกับนโยบายการเวนคืนในหลักการ และให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่างข้อเสนอในรายละเอียด
ทางด้าน Sparre นั้น กล่าวแก่ Charles XI ว่าพร้อมที่จะคืนที่ดินให้แก่พระองค์ “โดยอาสาสมัคร” Charles XI ทรงใช้จังหวะดังกล่าวประกาศสนับสนุนความเป็นหนึ่งเดียวกันของฐานันดรอภิชน อันทำให้พระองค์ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะลำบากในการตัดสินใจ
อย่างไรก็ดี กลุ่มของ Sparre ยังคาดหวังให้สภาบริหารเข้าคัดค้านการบังคับใช้นโยบายการเวนคืนอย่างเต็มที่ (full reduction) Sten Bielke นำคณะสมาชิกสภาบริหารเข้าเฝ้าฯ Charles XI และให้เหตุผลคัดค้านโดยอ้อมว่า ความพยายามของกลุ่มสามัญชนเป็นการละเมิดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการพระราชทานที่ดินและอภิสิทธิแก่กลุ่มอภิชน
Charles XI ปฏิเสธโดยอ้างถึงฉันทามติของที่ประชุมฐานันดรทั้งสี่ ด้วยเหตุนี้ สภาบริหารจึงปล่อยโอกาสในการขัดขวางการลดทอนอำนาจของฝ่ายอภิชนให้หลุดไปโดยไม่ได้มีความพยายามต่อต้านอย่างแข็งขัน ฐานันดรอภิชนเห็นพ้องในการคืนที่ดินติดฐานันดรศักดิ์อย่างไร้เงื่อนไข ขณะที่ที่ดินอื่นสามารถเรียกคืนได้โดยมีข้อแม้ว่าอภิชนจะต้องได้รับเงินรายปีจำนวนหนึ่ง เมื่อเกิดการโต้เถียงอีกครั้งหนึ่ง Charles XI ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยผ่านประธานฐานันดรอภิชนให้ทุกฝ่ายยุติข้อถกเถียงดังกล่าวลง
หลังจากที่ Charles XI ได้มาซึ่งคณะตุลาการและนโยบายการเวนคืนแล้ว พระองค์ยังทรงโปรดให้มีการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมขึ้นอีก ซึ่งทุกฐานันดรต่างยินยอมตามพระราชประสงค์แม้ว่าจะสร้างภาระหรือแรงกดดันเพิ่มเติมแก่ตนก็ตาม
สรุปก็คือ การประชุมฐานันดรในปี ค.ศ.1680 แสดงถึงพระราชอำนาจของพระองค์ในราชราชอาณาจักร เพียงแค่การเสนอเป็นนัยหรือพระราชดำรัสแนะนำก็เพียงพอต่อการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ในที่ประชุมฐานันดรแล้ว
(โปรดติดตามอ่านต่อไปสัปดาห์หน้า)