xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ย้อนมอง “เฮียขับรถ” ป่วนถนนไทย ทางม้าลาย…เร่งเครื่องไม่มีเบรก!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เฉลยแล้วหลังจากโลกออนไลน์แชร์คลิป “BMW ป้ายแดง”  มีพฤติกรรมขับปาดหน้ากระบะจนพุ่งชนแบริเออร์ เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย บน ถ.กาญจนาภิเษกหมายเลข 9 เมื่อช่วงเช้าของ วันที่ 16 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา คือ “นายสมิทธิพัฒน์ หลีนวรัตน์” หรือ “พีช” ลูกชายของ “นายกฤษฎา หลีนวรัตน์” หรือ “นายกฯ เบี้ยว” อดีตนายกเทศมนตรีตำบลธัญบุรี 
แถมสืบไปสืบมาเรื่องก็บานปลายเพราะไม่ใช่แค่เป็น  “ลูกชายนักการเมืองระดับท้องถิ่น” เท่านั้น หากแต่ยังมีสายสัมพันธ์กับ  นักการเมืองระดับชาติ”  อีกด้วย ด้วยในงานบวนของ “พีช” เมื่อวัน 8 มิถุนายน 2567 นั้น มี “นายทักษิณ ชินวัตร” เป็นประธานในงานเลี้ยงฉลองบวช พร้อมด้วย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญ เข้าร่วมอีกมากมาย

อย่างไรก็ตาม หลังเกิดเหตุเฉี่ยวชน นายสมิทธิพัฒน์ผู้ก่อเหตุ ยืนรอพบตำรวจ รวมทั้งมีตรวจเบื้องต้นไม่พบปริมาณแอลกอฮอล์อย่างใด โดยทางตำรวจได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายต่อไป พร้อมประกาศชัดว่า “ความเป็นลูกนักการเมือง ไม่เป็นอุปสรรค ทุกอย่างเป็นไปตามพยานหลักฐาน หากพบว่าผิดก็จะต้องถูกดำเนินคดี”

ขณะที่  พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์  ผบ.ตร. กล่าวภายหลังดูคลิปเหตุการณ์ที่เผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ระบุว่าพฤติกรรมของผู้ขับรถ BMW เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ และไม่สมควรเกิดขึ้นในสังคม

นอกจากนี้ เรื่องร้อนดังกล่าวแล้ว หากย้อนกลับไปดูสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์แม้ตัวเลขจะไม่มาก แต่ก็ต้องถือว่า มีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน โดยพบอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 6 วันของการรณรงค์ (11 - 16 เม.ย. 2568) พบเกิดอุบัติเหตุรวม 1,377 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 1,362 คน ผู้เสียชีวิต รวม 200 ราย

โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 39.35 ตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 19.35 และทัศนวิสัยไม่ดี ร้อยละ 18.06 ส่วนยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 83.76 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 82.58 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.42 ถนนในอบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 32.90 ถนนในเมือง (เทศบาล) ร้อยละ 15.48

และช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 15.01 -18.00 น. ร้อยละ 21.29 เวลา 18.01 – 21.00 น. ร้อยละ 17.42 และเวลา 12.01 – 15.00 น. ร้อยละ 14.19 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 16.96 จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,754 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 50,860 คน

อ้างอิงรายงานล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) และเว็บไซต์ Statista ชี้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุดในโลก โดยมีอัตราการเสียชีวิตถึง 25.4 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกอย่างมาก

ขณะที่ Statista ระบุว่าประเทศไทยติดอันดับ 10 ของประเทศที่อันตรายที่สุดในการใช้รถใช้ถนน ประกอบด้วย อันดับที่ 1 ประเทศกินี อันดับที่ 2 ประเทศลิเบีย อันดับที่ 3 ประเทศเคนยา อันดับที่ 4 ประเทศไทย อันดับที่ 5 ประเทศซาอุดีอาระเบีย อันดับที่ 6 ประเทศบราซิล อันดับที่ 7 ประเทศอินเดีย อันดับที่ 8 ประเทศสหรัฐอเมริกา อันดับที่ 9 ประเทศเวเนซุเอลา อันดับที่ 10 ประเทศรัสเซีย

และอีกหนึ่งสถานการณ์อุบัติเหตุบนท้องถนนที่ต้องจับตา กรณีการขับขี่นรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ชนคนขณะข้ามทางม้าลายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากพฤติกรรมการขับขี่ของคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดจิตสำนึกสาธารณะ ขาดพร่องวินัยจราจร ขับขี่โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้ใช้ถนนบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดันตัวเลขสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองไทยพุ่ง

ย้อนกลับไปมกราคาคม 2568 เกิดอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ ฝ่าไฟแดงพุ่งชนชาวเกาหลีใต้ ขณะข้ามทางม้าลาย จนได้รับบาดเจ็บศีรษะแตก บริเวณ ถ.พญาไท จ.กรุงเทพฯ จุดเดียวกับอุบัติเหตุเสทือนสังคมไทย ปี 2565 รถบิ๊กไบค์ชน “หมอกระต่าย” หรือ “พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล ประสบอุบัติเหตุบิ๊กไบค์พุ่งชนขณะกำลังเดินข้ามทางม้าลาย จนได้รับบาดเจ็บสาหัสก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้สังคมไทยเกิดการตื่นตัวในเรื่องจิตสำนึก

ขณะที่ เวลาไล่เรี่ยกัน จ.นครศรีธรรมราช เกิดอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์เด็กชายขณะวิ่งข้ามทางม้าลายจนได้รับบาดเจ็บ, จ.กาญจนบุรี เกิดอุบัติเหตุรถยนต์พุ่งชนนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส ขณะเดินข้ามทางม้าลาย ได้รับบาดเจ็บอาการสาหัญก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา หรือ ล่าสุด จ.พังงา เกิดอุบัตเหตุรถกระบะโดยสารขับพุ่งชนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2 ราย ขณะเข็นรถพาลูกน้อยข้ามทางม้าลาย ซึ่งทั้งคู่ได้รับบาดเจ็บสาหัญส่วนเด็กปลอดภัย

ภาพรวมอุบัติเหตุรถชนขณะข้ามทางม้าลายสะท้อนการขาดจิตสำนึกในการขับขี่และไร้วินัยจราจรได้เป็นอย่างดี เป็นหนึ่งในปัจจัยดันตัวเลขสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองไทย
ทั้งนี้ สถิติการตายและบาดเจ็บจากจักรยานยนต์ในประเทศไทยไม่เคยลดลงเลยตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา อ้างอิงจากการสำรวจขององค์กรอนามัยโลก ประเทศไทยมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้บาดเจ็บสาหัส จากอุบัติเหตุทางถนน เฉลี่ย 228,740 และในทศวรรษที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เฉลี่ย 17,914 คนต่อปีและมีผู้พิการอีกกว่า 10,000 คน

 นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) เปิดเผยผลสํารวจของ สสส. และ มูลนิธิไทยโรดส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร เทียบระหว่างเดือน ม.ค. 2565 และ ม.ค. 2566 พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนการหยุดรถบริเวณทางข้ามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 11% เป็น 13% รถจักรยานยนต์มีแนวโน้มรถบริเวณทางข้ามเพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 11%

อย่างไรก็ดี บริเวณทางม้าลายที่ตามกฎหมาย ซึ่งควรชะลอความเร็วเพื่อให้ทางสำหรับคนข้ามถนน หรือรอให้คนข้ามถนนก่อน โดยทาง ศวปถ. ข้อเสนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ดังนี้

1. ด้านกายภาพที่ต้องทำให้ชัดเจน เช่น การทำสัญลักษณ์ การขีดสี ตีเส้น บนพื้นถนน ทาสีแดง มีลูกระนาด เส้นบีบเลน เพื่อเตือน และชะลอความเร็ว รวมทั้งสัญญาณไฟกดรถหยุดเพื่อข้าม ต้องมีการประเมินความเร็ว และการชะลอหยุดได้ทันตามที่ได้ออกแบบมาหรือไม่ เช่น หากไม่สามารถหยุดตามที่กำหนดได้ ต้องเพิ่มเครื่องหมายที่ชัดเจน ไฟแดงหยุดที่มีระยะแดงทั้ง 2 ทิศทางครอบคลุมทุกเลนถนน 2-3 วินาที เพื่อเพิ่มจังหวะเตือนให้คนข้าม และรถหยุดพร้อมกัน

และ 2. ด้านพฤติกรรมคน โดยเฉพาะคนขับขี่จักรยานยนต์ ต้องสื่อสารให้รับรู้ว่าเมื่อเห็นรถชะลอก่อนทางม้าลาย ต้องชะลอหยุด ไม่แซงออกขวา เพราะอาจไม่เห็น และเสี่ยงต่อการชนคนข้าม รวมทั้งต้องมีมาตรการกำกับหรือเอาผิดกรณีไม่ชะลอหยุดอย่างจริงจังมากขึ้น คนข้ามถนน ควรเพิ่มการเรียนรู้ และสร้างความตระหนักให้มีการประเมินซ้ำก่อนข้ามเสมอ แม้สัญญาณไฟเขียวคนข้าม แต่ก็ควรประเมินซ้ำ โดยมองซ้ายก่อนข้ามอีกครั้ง เพราะอาจมีผู้ฝ่าฝืน ซึ่งกรณีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา ควรเพิ่มการแจ้งเตือนเพิ่มเติมถึงการสัญจรบนถนนในไทย

ตลอดจนพิจารณาจุดข้ามทางม้าลายที่ตั้งกลางระหว่างแยก (Mid-Block) ควรทบทวนปรับ/ย้าย หรือจัดทำสะพานลอย อุโมงค์ข้าม เพราะรถที่มาจากทางแยก เมื่อได้ไฟสัญญาณหรือซ้ายผ่านตลอด มักจะทำความเร็ว และชะลอหยุดได้จำกัดขณะที่ ราชกิจจานุเบกษาประกาศการใช้ความเร็วเขตเมืองที่จำกัด 60 กม. ต่อ ชม. ทำอย่างไรจะมีการบังคับใช้ได้จริง

ทั้งนี้ เมื่อความความเร็วเฉลี่ยในการขับขี่ลดลง ก็สามารถชะลอรถลดได้ง่ายลดสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งนับโจทย์ท้าทายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะทำอย่างไรให้ทางม้าลายจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนข้ามถนน

 สถานการณ์อุบัติบนท้องถนนเมืองไทยนับเป็นเรื่องท้าทายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แม้มีการรณรงค์ พฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย หรือกระตุ้นเตือนจิตสำนักการขับขี่ ตลอดจนการประกาศใช้กฎหมายจราจรด้วยบทลงโทษหนัก แต่สถานการณ์อุบัติเหตุบนท้องถนนเมืองไทยยังปรากฎเป็นข่าวสั่นเสทือนสังอยู่เป็นระยะๆ  


กำลังโหลดความคิดเห็น