คนแคระบนบ่ายักษ์
ไชยันต์ ไชยพร
คณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นโดยสภาฐานันดรในปี ค.ศ. 1675 ได้ส่งผลรายงานที่ทำการศึกษาตรวจสอบไปยังคณะกรรมาธิการลับ ฐานันดรอื่นๆ ต่างเห็นด้วยโดยทันทีที่จะให้มีกราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง คณะตุลาการ ขึ้น อันทำให้เกิดการถกเถียงใน สภาฐานันดรอภิชน (Riddarhus)
โดย Wachmeister -----ผู้ซึ่งพวกอภิชนให้ความสนใจรับฟังความเห็นของเขาเพราะรู้ว่าเขามีความใกล้ชิดพระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ด----ให้ความเห็นว่า หน้าที่ของคณะตุลาการคือการประเมินโทษของบุคคลที่พบว่ามีความผิด
แต่ P. Sparre ผู้นำของกลุ่มอภิชนชั้นสูงเห็นว่า ควรมีกระบวนการยุติธรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถแก้ต่างข้อกล่าวหาของตนได้ ทำให้เกิดการประท้วงเกิดขึ้น และผู้สนับสนุน P. Sparre ได้อ้างว่ามีการขู่และคุกคามบรรดาผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการยุติธรรมโดยจะมีการส่งชื่อผู้ประท้วงไปยัง Wachmeister และพระมหากษัตริย์
ในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1680 พระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ด ทรงส่งหนังสือไปยังฐานันดรต่างๆ แจ้งว่าพระองค์ได้ทรงอนุมัติให้มีการแต่งตั้งคณะตุลาการขึ้น และให้แต่ละฐานันดรแต่งตั้งสมาชิกของตนเข้าไปเป็นกรรมการในคณะตุลาการดังกล่าว
สภาพการณ์ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกต่ออภิชนจำนวนหนึ่งในฐานันดรอภิชน ส่วนอภิชนที่มีความเห็นพ้องกับสามัญชนส่วนใหญ่ต้องการให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตุลาการและทรงรับผิดชอบต่อการลงโทษตระกูลอภิชนที่ยิ่งใหญ่ๆ บางตระกูลของสวีเดน แต่พระมหากษัตริย์ทรงต้องการที่จะให้ตัวแทนของชุมชนทั้งหมด---นั่นคือ ฐานันดรทั้งสี่---เข้ามามีส่วนในกระบวนการดังกล่าวนี้
ส่วน P. Sparre พยายามที่จะตั้งคำถามต่อกระบวนการยุติธรรมขึ้นอีกครั้ง แต่ประธานสภาฐานันดรอภิชนยืนยันว่า สภาฐานันดรอภิชนไม่สามารถลงคะแนนเสียงอะไรอีกได้ เพราะพระมหากษัตริย์ได้ทรงตัดสินพระทัยไปแล้ว และได้ตอบต่อ Sparre ว่า
“เราจะลงคะแนนเสียงในสิ่งที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงมีพระบรมราชโองการแล้วได้อย่างไร”
ตรงจุดนี้เองที่เป็นนัยสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นหมุดหมายของการเริ่มต้นของพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ในแบบสมบูรณาญาสิทธิ์ของสวีเดน นั่นคือ พระบรมราชโองการที่ออกมาจากพระมหากษัตริย์จะไม่สามารถถูกตั้งคำถามทักท้วงได้ ไม่ว่าจะโดยบุคคลใดหรือสถาบันทางการเมืองใดๆ
จะเห็นได้ว่า การสถาปนาพระราชอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ของพระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ดในปี ค.ศ. 1680 ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังความรุนแรงในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองและร่างรัฐธรมนูญใหม่ แต่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจการเมืองที่นำไปสู่การเกิดเจตจำนงร่วมกันของทุกฝ่ายในการหาทางออกผ่านนโยบายการเวนคืนที่เริ่มต้นจากการยึดทรัพย์สินกลุ่มอภิชนที่ทุจริตคอร์รัปชั่นในช่วงที่ครองอำนาจในฐานะคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่พระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ดยังทรงพระเยาว์ และเจตจำนงร่วมที่ว่านี้ได้ยินยอมให้พระบรมราชโองการของพระองค์เป็นกฎหมายที่ตัดสินชี้ขาดสุดท้าย
ดังนั้น การตั้งคำถามของ Sparre จึงไม่เป็นผล ฐานันดรต่างๆ ตกลงที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะตุลาการที่เป็นคณะกรรมาธิการสำคัญ อันประกอบไปด้วยตัวแทนจากแต่ละฐานันดรมีหน้าที่ตัดสินและลงโทษ อันเป็นโทษที่เกิดจากความรับผิดชอบของรัฐบาลในช่วงทำหน้าที่สำเร็จราชการแทนพระองค์
จะเห็นได้ว่า ประเด็นการพิจารณาตัดสินการทุจริตคอร์รัปชั่นและนโยบายการเวนคืนยึดทรัพย์อภิชนของพระมหากษัตริย์ได้ลุล่วงผ่านไปได้อย่างไม่มีอุปสรรคใดๆ
ประเด็นต่อไปคือ การตั้งงบประมาณให้สมดุลระหว่างรายรับรายและรายจ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีปัญหามาก หรืออีกนัยหนึ่งคือ จะกำหนดขอบเขตการเวนคืนทรัพย์สินกว้างขวางขนาดไหนถึงจะเป็นรายรับที่สมดุลหรือเกินรายจ่าย
ประเด็นนี้ได้มีการอภิปรายในสภาบริหาร ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม และสภาบริหารได้เสนอให้มีการจำกัดการขยายขอบเขตการเวนคืน ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการพิจารณาประเด็นมาตรการการจัดหางบประมาณให้ได้สมดุลในคณะกรรมาธิการลับในวันที่ 17 ตุลาคม แต่ไม่สามารถมีข้อตกลงใดๆ คณะกรรมาธิการลับได้มีมติให้สมาชิกแต่ละฐานันดรในคณะกรรมาธิการลับนำเรื่องกลับไปให้แต่ละฐานันดรของตนพิจารณาหามาตรการดังกล่าว
ความเห็นของแต่ละฐานันดรมีดังนี้คือ
ฐานันดรชาวนา : มีความเห็นพ้องต้องกันที่จะเดินหน้าสนับสนุนการขยายขอบเขตการเวนคืนอย่างเต็มที่ เพราะฐานันดรชาวนาได้ริเริ่มให้มีการฟื้นฟูนโยบายเวนคืนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1650 แล้ว
ฐานันดรพ่อค้าคนเมือง : ได้มีการประชุมหารือในเรื่องนี้ในวันที่ 15 ตุลาคม และเรียกร้องให้หาแนวทางต่อเรื่องการเวนคืนร่วมกันจากทุกๆฐานันดร
ฐานันดรนักบวช : ในวันที่ 19 ตุลาคม ฐานันดรนักบวชได้เข้าร่วมการอภิปรายกับฐานันดรอื่นๆ ในขณะที่ฐานันดรพ่อค้าคนเมืองได้แสดงการสนับสนุนนโยบายการขยายการเวนคืนโดยทันที แต่ฐานันดรนักบวชยังมีข้อสงวน โดยอาร์คบิชอบได้กล่าวกับฐานันดรพ่อค้าคนเมืองว่า ฐานันดรนักบวชตกลงในหลักการ แต่ขอเวลาในการอภิปรายหารือเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ
ฐานันดรอภิชน : ที่ประชุมของฐานันดรอภิชน มีการอภิปรายถึงความเป็นไปได้ในเรื่องการจัดหางบประมาณจากการเวนคืน และตระหนักถึงอันตรายความเสียหายจากนโยบายการเวนคืนที่จะเกิดขึ้นกับฐานันดรของตน เพราะน้อยมากที่จะมีทรัพย์สินของพวกตนที่ไม่เคยเป็นทรัพย์สินของพระมหา กษัตริย์มาก่อน ดังนั้น นโยบายการเวนคืนทรัพย์สินที่พวกอภิชนได้รับพระราชทานย่อมจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อครอบครัวในตระกูลอภิชน ดังนั้น จึงมีการเสนอให้ อภิชนที่ได้รับพระราชทานทรัพย์สินเป็นจำนวนมากรีบคืนทรัพย์สินบางส่วนของตระกูลไปเองโดยสมัครใจไปเสียก่อนเลย โดยไม่ต้องให้มีการถูกบังคับเวนคืน
ในวันที่ 23 ตุลาคม ฐานันดรนักบวชได้ยินยอมต่อแรงกดดัน และตกลงอย่างไม่หนักแน่นเท่าไรนักที่จะเข้ารวมกับฐานันดรชาวนาและฐานันดรพ่อค้าคนเมืองในการส่งหนังสือร่วมกันไปยังพระมหากษัตริย์ขอให้มีการเวนคืนทรัพย์สินพระราชทานได้อย่างเต็มที่ (a full reduction of donations)
หลังจากที่ฐานันดรสามัญทั้งสาม อันได้แก่ ชาวนา พ่อค้าและนักบวชเห็นพ้องต้องกันต่อการให้มีออกนโยบายเวนคืนได้อย่างเต็มที่ จากนั้น สภาบริหารได้แนะนำให้ฐานันดรอภิชนแสดงเหตุผลที่ชอบธรรมต่อสถานะของตนอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ และกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อแสดงท่าทีในการประท้วงความเห็นต่อนโยบายเวนคืนของฐานันดรสามัญทั้งสาม แต่พระมหากษัตริย์ทรงเลี่ยงโดยมีพระราชดำรัสตอบว่า พระองค์ทรงปล่อยให้เป็นเรื่องของสภาบริหารและที่ประชุมของพวกอภิชนในการหามาตรา การที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา
ในที่ประชุมของฐานันดรอภิชน P. Sparre และผู้สนับสนุน ได้กล่าวโทษอย่างแรงต่อสามัญชนที่มาโจมตีอภิสิทธิ์ในทรัพย์สินของพวกอภิชน และโน้มน้าวให้ที่ประชุมอภิชนเริ่มต้นร่างหนังสือประท้วงต่อพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ
ดังนั้น พระราโชบายในการแก้ปัญหาการคลังแผ่นดินของพระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ด จึงไม่สามารถเดินหน้าไปได้ตราบเท่าที่ยังมีความขัดแย้งระหว่างฐานันดร (the Estates) ยังคงดำเนินอยู่
ในที่ประชุมสภาอภิชน ในวันที่ 29 ตุลาคม Wachtmeister ได้อ้างว่าเขามีข้อเสนอใหม่ที่เขาได้หารือกับพระมหากษัตริย์แล้ว แต่ประธานที่ประชุมสภาอภิชนยังไม่ได้รับรู้เรื่องที่ Wachtmeister ได้ไปหารือกับ Charles XI จึงเกิดการไม่ประสานกันระหว่างประธานสภากับ Wachmeister ทำให้เกิดความสับสนปั่นป่วนขึ้นในที่ประชุมสภาอภิชน เริ่มมีอภิปรายประท้วงอย่างเกลียดชังรุนแรงต่อพวกสามัญชน
แต่ Wachmeister ได้กล่าวเตือนที่ประชุมสภาอภิชนว่า การกล่าวโจมตีเช่นนี้ต่อฐานันดรสามัญชนจะไม่ได้ผล เพราะสามัญชนมีความชอบธรรมในการอ้างว่าการตัดสินใจต่อนโยบายเวนคืนเต็มที่นั้นเป็นไปเพื่อผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักร นั่นคือ การแก้ปัญหาการคลังของแผ่นดิน ดังนั้น สิ่งที่พวกอภิชนจะต้องทำได้หรือขัดขวางข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาการคลังแผ่นดินของฐานันดรสามัญชนก็คือ ฐานันดรอภิชนจะต้องมีข้อเสนอของฐานันดรของตน
Wachmeister เสนอว่า ทางที่ดี อภิชนควรยอมรับนโยบายการเวนคืนในหลักการไปก่อน และให้ทำหนังสือร้องเรียนกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อให้ทรงพระกรุณามีพระบรมราชโองการผ่อนปรน (relief) สำหรับอภิชนที่ไม่ได้มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย นั่นคือ บรรดา “ผู้ที่ไม่ได้มีมากและบางทีอาจมีรายได้ 10 ถึง 20 หรือน้อยกว่าไม่กี่ร้อยดาเลอร์ (few hundred silver dalers/ dsm.) จะสามารถคงทรัพย์สินของตนไว้ได้”
จะเห็นได้ว่า คำแนะนำดังกล่าวของ Wachmeister เป็นการเปิดทางที่ชัดเจนให้กับอภิชนระดับล่าง (Class III) ที่จะรับข้อเสนอดังกล่าว และแน่นอนการรับข้อเสนอดังกล่าวของอภิชนระดับล่างย่อมนำไปสู่การแตกแถวออกจากอภิชนที่เหลือ
โดยเฉพาะแตกออกจากกลุ่มอภิชนที่เป็นเครือข่ายของ Sparre Sparre และผู้สนับสนุนไม่สามารถเขามีความเห็นต่าง และยังเดินหน้ายืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องปกป้องรักษาอภิสิทธิ์ของตนโดยอ้างว่า สิ่งที่สามัญชนเสนอมานั้นเป็นละเมิดพระราชอำนาจ (the royal prerogative) เป็นข้อเสนอที่ละเมิด “ข้อตกลง. เพราะใน “ข้อเสนอ (the Propositions)” จากสภาบริหารและแจ้งให้สภาอภิชนรับทราบในวันที่ 5 ตุลาคมว่า “พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงมีพระราชดำรัสอะไรเกี่ยวกับการเวนคืน (reduction) ดังนั้น จึงไม่สามารถมีข้อเสนอการเวนคืนได้ ยกเว้นจะมาจากพระมหากษัตริย์”
หลังจากนั้น ได้เกิดการถกเถียงกันอย่างรุนแรงในที่ประชุมสภาอภิชน อันแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ภายในพวกอภิชนด้วยกันเอง อภิชนกลุ่มหนึ่งตะโกนว่า “พวกคนจนทำงานมากที่สุดและพวกเขาต้องจ่ายภาษี (contributions) แต่ คนที่มีอำนาจและร่ำรวย (the great and the rich) ผู้ซึ่งได้ทรัพย์สินของแผ่นดินไปเฉยๆโดยไม่ต้องทำอะไรเลย”
และ Conrad Gyllenstierna ยืนยันว่า “ ทุกคนทำงานรับใช้โดยไม่ได้รับเงิน แต่มีคนไม่กี่คนที่นั่งเฉยๆและมีความสุขจากการถือครองที่ดินของราชอาณาจักร”
เมื่อถึงจุดที่ไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ในที่ประชุมฐานันดรอภิชน จึงได้มีการอภิปรายว่า ควรมีการตัดสินหาข้อยุติโดยการลงคะแนนเสียงหรือไม่ และควรลงคะแนนเสียงด้วยวิธีการอย่างไร ?
ไชยันต์ ไชยพร
คณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นโดยสภาฐานันดรในปี ค.ศ. 1675 ได้ส่งผลรายงานที่ทำการศึกษาตรวจสอบไปยังคณะกรรมาธิการลับ ฐานันดรอื่นๆ ต่างเห็นด้วยโดยทันทีที่จะให้มีกราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง คณะตุลาการ ขึ้น อันทำให้เกิดการถกเถียงใน สภาฐานันดรอภิชน (Riddarhus)
โดย Wachmeister -----ผู้ซึ่งพวกอภิชนให้ความสนใจรับฟังความเห็นของเขาเพราะรู้ว่าเขามีความใกล้ชิดพระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ด----ให้ความเห็นว่า หน้าที่ของคณะตุลาการคือการประเมินโทษของบุคคลที่พบว่ามีความผิด
แต่ P. Sparre ผู้นำของกลุ่มอภิชนชั้นสูงเห็นว่า ควรมีกระบวนการยุติธรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถแก้ต่างข้อกล่าวหาของตนได้ ทำให้เกิดการประท้วงเกิดขึ้น และผู้สนับสนุน P. Sparre ได้อ้างว่ามีการขู่และคุกคามบรรดาผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการยุติธรรมโดยจะมีการส่งชื่อผู้ประท้วงไปยัง Wachmeister และพระมหากษัตริย์
ในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1680 พระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ด ทรงส่งหนังสือไปยังฐานันดรต่างๆ แจ้งว่าพระองค์ได้ทรงอนุมัติให้มีการแต่งตั้งคณะตุลาการขึ้น และให้แต่ละฐานันดรแต่งตั้งสมาชิกของตนเข้าไปเป็นกรรมการในคณะตุลาการดังกล่าว
สภาพการณ์ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกต่ออภิชนจำนวนหนึ่งในฐานันดรอภิชน ส่วนอภิชนที่มีความเห็นพ้องกับสามัญชนส่วนใหญ่ต้องการให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตุลาการและทรงรับผิดชอบต่อการลงโทษตระกูลอภิชนที่ยิ่งใหญ่ๆ บางตระกูลของสวีเดน แต่พระมหากษัตริย์ทรงต้องการที่จะให้ตัวแทนของชุมชนทั้งหมด---นั่นคือ ฐานันดรทั้งสี่---เข้ามามีส่วนในกระบวนการดังกล่าวนี้
ส่วน P. Sparre พยายามที่จะตั้งคำถามต่อกระบวนการยุติธรรมขึ้นอีกครั้ง แต่ประธานสภาฐานันดรอภิชนยืนยันว่า สภาฐานันดรอภิชนไม่สามารถลงคะแนนเสียงอะไรอีกได้ เพราะพระมหากษัตริย์ได้ทรงตัดสินพระทัยไปแล้ว และได้ตอบต่อ Sparre ว่า
“เราจะลงคะแนนเสียงในสิ่งที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงมีพระบรมราชโองการแล้วได้อย่างไร”
ตรงจุดนี้เองที่เป็นนัยสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นหมุดหมายของการเริ่มต้นของพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ในแบบสมบูรณาญาสิทธิ์ของสวีเดน นั่นคือ พระบรมราชโองการที่ออกมาจากพระมหากษัตริย์จะไม่สามารถถูกตั้งคำถามทักท้วงได้ ไม่ว่าจะโดยบุคคลใดหรือสถาบันทางการเมืองใดๆ
จะเห็นได้ว่า การสถาปนาพระราชอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ของพระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ดในปี ค.ศ. 1680 ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังความรุนแรงในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองและร่างรัฐธรมนูญใหม่ แต่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจการเมืองที่นำไปสู่การเกิดเจตจำนงร่วมกันของทุกฝ่ายในการหาทางออกผ่านนโยบายการเวนคืนที่เริ่มต้นจากการยึดทรัพย์สินกลุ่มอภิชนที่ทุจริตคอร์รัปชั่นในช่วงที่ครองอำนาจในฐานะคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่พระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ดยังทรงพระเยาว์ และเจตจำนงร่วมที่ว่านี้ได้ยินยอมให้พระบรมราชโองการของพระองค์เป็นกฎหมายที่ตัดสินชี้ขาดสุดท้าย
ดังนั้น การตั้งคำถามของ Sparre จึงไม่เป็นผล ฐานันดรต่างๆ ตกลงที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะตุลาการที่เป็นคณะกรรมาธิการสำคัญ อันประกอบไปด้วยตัวแทนจากแต่ละฐานันดรมีหน้าที่ตัดสินและลงโทษ อันเป็นโทษที่เกิดจากความรับผิดชอบของรัฐบาลในช่วงทำหน้าที่สำเร็จราชการแทนพระองค์
จะเห็นได้ว่า ประเด็นการพิจารณาตัดสินการทุจริตคอร์รัปชั่นและนโยบายการเวนคืนยึดทรัพย์อภิชนของพระมหากษัตริย์ได้ลุล่วงผ่านไปได้อย่างไม่มีอุปสรรคใดๆ
ประเด็นต่อไปคือ การตั้งงบประมาณให้สมดุลระหว่างรายรับรายและรายจ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีปัญหามาก หรืออีกนัยหนึ่งคือ จะกำหนดขอบเขตการเวนคืนทรัพย์สินกว้างขวางขนาดไหนถึงจะเป็นรายรับที่สมดุลหรือเกินรายจ่าย
ประเด็นนี้ได้มีการอภิปรายในสภาบริหาร ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม และสภาบริหารได้เสนอให้มีการจำกัดการขยายขอบเขตการเวนคืน ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการพิจารณาประเด็นมาตรการการจัดหางบประมาณให้ได้สมดุลในคณะกรรมาธิการลับในวันที่ 17 ตุลาคม แต่ไม่สามารถมีข้อตกลงใดๆ คณะกรรมาธิการลับได้มีมติให้สมาชิกแต่ละฐานันดรในคณะกรรมาธิการลับนำเรื่องกลับไปให้แต่ละฐานันดรของตนพิจารณาหามาตรการดังกล่าว
ความเห็นของแต่ละฐานันดรมีดังนี้คือ
ฐานันดรชาวนา : มีความเห็นพ้องต้องกันที่จะเดินหน้าสนับสนุนการขยายขอบเขตการเวนคืนอย่างเต็มที่ เพราะฐานันดรชาวนาได้ริเริ่มให้มีการฟื้นฟูนโยบายเวนคืนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1650 แล้ว
ฐานันดรพ่อค้าคนเมือง : ได้มีการประชุมหารือในเรื่องนี้ในวันที่ 15 ตุลาคม และเรียกร้องให้หาแนวทางต่อเรื่องการเวนคืนร่วมกันจากทุกๆฐานันดร
ฐานันดรนักบวช : ในวันที่ 19 ตุลาคม ฐานันดรนักบวชได้เข้าร่วมการอภิปรายกับฐานันดรอื่นๆ ในขณะที่ฐานันดรพ่อค้าคนเมืองได้แสดงการสนับสนุนนโยบายการขยายการเวนคืนโดยทันที แต่ฐานันดรนักบวชยังมีข้อสงวน โดยอาร์คบิชอบได้กล่าวกับฐานันดรพ่อค้าคนเมืองว่า ฐานันดรนักบวชตกลงในหลักการ แต่ขอเวลาในการอภิปรายหารือเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ
ฐานันดรอภิชน : ที่ประชุมของฐานันดรอภิชน มีการอภิปรายถึงความเป็นไปได้ในเรื่องการจัดหางบประมาณจากการเวนคืน และตระหนักถึงอันตรายความเสียหายจากนโยบายการเวนคืนที่จะเกิดขึ้นกับฐานันดรของตน เพราะน้อยมากที่จะมีทรัพย์สินของพวกตนที่ไม่เคยเป็นทรัพย์สินของพระมหา กษัตริย์มาก่อน ดังนั้น นโยบายการเวนคืนทรัพย์สินที่พวกอภิชนได้รับพระราชทานย่อมจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อครอบครัวในตระกูลอภิชน ดังนั้น จึงมีการเสนอให้ อภิชนที่ได้รับพระราชทานทรัพย์สินเป็นจำนวนมากรีบคืนทรัพย์สินบางส่วนของตระกูลไปเองโดยสมัครใจไปเสียก่อนเลย โดยไม่ต้องให้มีการถูกบังคับเวนคืน
ในวันที่ 23 ตุลาคม ฐานันดรนักบวชได้ยินยอมต่อแรงกดดัน และตกลงอย่างไม่หนักแน่นเท่าไรนักที่จะเข้ารวมกับฐานันดรชาวนาและฐานันดรพ่อค้าคนเมืองในการส่งหนังสือร่วมกันไปยังพระมหากษัตริย์ขอให้มีการเวนคืนทรัพย์สินพระราชทานได้อย่างเต็มที่ (a full reduction of donations)
หลังจากที่ฐานันดรสามัญทั้งสาม อันได้แก่ ชาวนา พ่อค้าและนักบวชเห็นพ้องต้องกันต่อการให้มีออกนโยบายเวนคืนได้อย่างเต็มที่ จากนั้น สภาบริหารได้แนะนำให้ฐานันดรอภิชนแสดงเหตุผลที่ชอบธรรมต่อสถานะของตนอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ และกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อแสดงท่าทีในการประท้วงความเห็นต่อนโยบายเวนคืนของฐานันดรสามัญทั้งสาม แต่พระมหากษัตริย์ทรงเลี่ยงโดยมีพระราชดำรัสตอบว่า พระองค์ทรงปล่อยให้เป็นเรื่องของสภาบริหารและที่ประชุมของพวกอภิชนในการหามาตรา การที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา
ในที่ประชุมของฐานันดรอภิชน P. Sparre และผู้สนับสนุน ได้กล่าวโทษอย่างแรงต่อสามัญชนที่มาโจมตีอภิสิทธิ์ในทรัพย์สินของพวกอภิชน และโน้มน้าวให้ที่ประชุมอภิชนเริ่มต้นร่างหนังสือประท้วงต่อพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ
ดังนั้น พระราโชบายในการแก้ปัญหาการคลังแผ่นดินของพระเจ้าชาร์ลสที่สิบเอ็ด จึงไม่สามารถเดินหน้าไปได้ตราบเท่าที่ยังมีความขัดแย้งระหว่างฐานันดร (the Estates) ยังคงดำเนินอยู่
ในที่ประชุมสภาอภิชน ในวันที่ 29 ตุลาคม Wachtmeister ได้อ้างว่าเขามีข้อเสนอใหม่ที่เขาได้หารือกับพระมหากษัตริย์แล้ว แต่ประธานที่ประชุมสภาอภิชนยังไม่ได้รับรู้เรื่องที่ Wachtmeister ได้ไปหารือกับ Charles XI จึงเกิดการไม่ประสานกันระหว่างประธานสภากับ Wachmeister ทำให้เกิดความสับสนปั่นป่วนขึ้นในที่ประชุมสภาอภิชน เริ่มมีอภิปรายประท้วงอย่างเกลียดชังรุนแรงต่อพวกสามัญชน
แต่ Wachmeister ได้กล่าวเตือนที่ประชุมสภาอภิชนว่า การกล่าวโจมตีเช่นนี้ต่อฐานันดรสามัญชนจะไม่ได้ผล เพราะสามัญชนมีความชอบธรรมในการอ้างว่าการตัดสินใจต่อนโยบายเวนคืนเต็มที่นั้นเป็นไปเพื่อผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักร นั่นคือ การแก้ปัญหาการคลังของแผ่นดิน ดังนั้น สิ่งที่พวกอภิชนจะต้องทำได้หรือขัดขวางข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาการคลังแผ่นดินของฐานันดรสามัญชนก็คือ ฐานันดรอภิชนจะต้องมีข้อเสนอของฐานันดรของตน
Wachmeister เสนอว่า ทางที่ดี อภิชนควรยอมรับนโยบายการเวนคืนในหลักการไปก่อน และให้ทำหนังสือร้องเรียนกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อให้ทรงพระกรุณามีพระบรมราชโองการผ่อนปรน (relief) สำหรับอภิชนที่ไม่ได้มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย นั่นคือ บรรดา “ผู้ที่ไม่ได้มีมากและบางทีอาจมีรายได้ 10 ถึง 20 หรือน้อยกว่าไม่กี่ร้อยดาเลอร์ (few hundred silver dalers/ dsm.) จะสามารถคงทรัพย์สินของตนไว้ได้”
จะเห็นได้ว่า คำแนะนำดังกล่าวของ Wachmeister เป็นการเปิดทางที่ชัดเจนให้กับอภิชนระดับล่าง (Class III) ที่จะรับข้อเสนอดังกล่าว และแน่นอนการรับข้อเสนอดังกล่าวของอภิชนระดับล่างย่อมนำไปสู่การแตกแถวออกจากอภิชนที่เหลือ
โดยเฉพาะแตกออกจากกลุ่มอภิชนที่เป็นเครือข่ายของ Sparre Sparre และผู้สนับสนุนไม่สามารถเขามีความเห็นต่าง และยังเดินหน้ายืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องปกป้องรักษาอภิสิทธิ์ของตนโดยอ้างว่า สิ่งที่สามัญชนเสนอมานั้นเป็นละเมิดพระราชอำนาจ (the royal prerogative) เป็นข้อเสนอที่ละเมิด “ข้อตกลง. เพราะใน “ข้อเสนอ (the Propositions)” จากสภาบริหารและแจ้งให้สภาอภิชนรับทราบในวันที่ 5 ตุลาคมว่า “พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงมีพระราชดำรัสอะไรเกี่ยวกับการเวนคืน (reduction) ดังนั้น จึงไม่สามารถมีข้อเสนอการเวนคืนได้ ยกเว้นจะมาจากพระมหากษัตริย์”
หลังจากนั้น ได้เกิดการถกเถียงกันอย่างรุนแรงในที่ประชุมสภาอภิชน อันแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ภายในพวกอภิชนด้วยกันเอง อภิชนกลุ่มหนึ่งตะโกนว่า “พวกคนจนทำงานมากที่สุดและพวกเขาต้องจ่ายภาษี (contributions) แต่ คนที่มีอำนาจและร่ำรวย (the great and the rich) ผู้ซึ่งได้ทรัพย์สินของแผ่นดินไปเฉยๆโดยไม่ต้องทำอะไรเลย”
และ Conrad Gyllenstierna ยืนยันว่า “ ทุกคนทำงานรับใช้โดยไม่ได้รับเงิน แต่มีคนไม่กี่คนที่นั่งเฉยๆและมีความสุขจากการถือครองที่ดินของราชอาณาจักร”
เมื่อถึงจุดที่ไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ในที่ประชุมฐานันดรอภิชน จึงได้มีการอภิปรายว่า ควรมีการตัดสินหาข้อยุติโดยการลงคะแนนเสียงหรือไม่ และควรลงคะแนนเสียงด้วยวิธีการอย่างไร ?