ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - การที่ “ทักษิณ ชินวัตร”ได้รับการแต่งตั้งจาก “อันวาร์ อิบราฮิม”นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ให้เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของเขาในวาระที่จะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปีนี้ มีคำถามตัวโตๆ ว่า เหตุผลที่แท้จริงคืออะไร
ทำไม “อันวาร์ อิบราฮิม” ถึงต้องใช้บริการคนที่ชื่อ “ทักษิณ” แถมถึงขั้นยกย่องว่าเป็น “รัฐบุรุษ” อีกต่างหาก
ทั้งนี้ เมื่อสำรวจตรวจสอบ “วิสัยทัศน์แห่งอาเซียน” ภายใต้การนำของ “อันวาร์ อิบราฮิม” ที่จะเวียนมารับตำแหน่งต่อจากลาวในปี 2568 ก็พบว่า หนึ่งในวาระสำคัญที่ถูกจับตามอง หนีไม่พ้นการผลักดันฉันทามติ 5 ข้อในการหาทางออกจากวิกฤตความรุนแรงในเมียนมาให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปสูงว่า เหตุผลที่อันวาร์ อิบราฮิมตั้งทักษิณเป็นที่ปรึกษาก็เพราะต้องการขับเคลื่อนปัญหาในเมียนมา ด้วยเมื่อไม่นานมานี้ ทักษิณเคยพยายามสำแดงตนเพื่อหาทางมีบทบาทเป็นคนกลางในความขัดแย้งในประเทศนี้มาก่อน
บีบีซี แผนกภาษาพม่า และวีโอเอ ภาคภาษาพม่า รายงานว่า นายทักษิณได้พบปะผู้นำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเมียนมาหลายกลุ่มในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายนที่ผ่านมาโดยมีทั้งฝ่ายรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (The National Unity Government - NUG) หรือรัฐบาลเงาของเมียนมา และผู้นำกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ อาทิ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union - KNU), พรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนี (Karenni National Progressive Party - KNPP) และองค์การแห่งชาติคะฉิ่น (Kachin National Organization-KNO)
การเคลื่อนไหวของทักษิณในครั้งนั้น ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงความเหมาะสมด้วยนอกจากอยู่ระหว่างการพักโทษแล้ว ยังทำตัวประหนึ่งเป็นตัวแทนของรัฐไทยในการเจรจาในเวทีระหว่างประเทศอีกต่างหาก ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศของไทยก็ยอมรับ แต่อ้อมแอ้มอธิบายว่า เป็นการกระทำในนามส่วนตัว
มีรายงานออกมาด้วยว่า ผู้ประสานงานให้ทักษิณมิใช่ใครอื่น หากแต่คือทีมงานนักการเมืองท้องถิ่น ใน “เครือข่ายเจ๊แดง” ซึ่งการเลือกเจรจากับรัฐบาล NUG ,กะเหรี่ยง KNLA และกะเหรี่ยงแดง KNPP มีการวิเคราะห์กันว่า ผิดพลาด เพราะเป็นกลุ่มที่ทหารเมียนมา มองว่าเป็นผู้ก่อการร้าย
แต่ถ้าพูดคุยเฉพาะ “เจ้ายอดศึก” ประธานสภาฟื้นฟูกอบกู้รัฐฉาน(RCSS) น่าจะเหมาะสมมากกว่า เพราะเจ้ายอดศึกยังมีดีลกับพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย
สำหรับการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของอันวาร์ อิบราฮิมในครั้งนี้ มีกระแสไม่เห็นด้วยจากทางฝั่งมาเลเซียเองอยู่ไม่น้อย
ยกตัวอย่างเช่น “อาห์หมัด ฟัดห์ลี ชารี” หัวหน้าฝ่ายข้อมูลข่าวสารของพรรคฝ่ายค้านมาเลเซีย ให้คำจำกัดความความเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่า “ไม่เคยมีมาก่อน” และตั้งข้อสงสัยว่าการแต่งตั้งครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับอาเซียนอย่างไร เช่นเดียวกับคำถามที่ว่ามันจะส่งเสริมภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในประชาคมนานาชาติได้อย่างไร
“ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน ที่ผู้นำของประเทศเลือกอดีตผู้นำของประเทศอื่นเป็นที่ปรึกษาส่วนตัว?” อาห์หมัดตั้งคำถามและบอกด้วยว่า “ปกติแล้ว ผู้นำประเทศจะเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านการทูต อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ หรือนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นที่ปรึกษา แต่คราวนี้ อันวาร์ เลือกอดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกลงโทษจำคุกในประเทศของเขาเอง ฐานใช้อำนาจโดยมิชอบและคอร์รัปชัน”
ขณะที่ “มหาเธร์ โมฮัมหมัด” อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ก็ตั้งคำถามกับตัวเลือกนี้เช่นกัน โดยบอกว่า “ผมไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงเลือกทักษิณ เรามีคนมากมายให้เลือก และทักษิณ มีประเด็นปัญหาทางกฎหมายของเขาเอง แต่มันเป็นสิทธิของอันวาร์ ที่จะแต่งตั้งใครก็ตามที่เขาต้องการ”
ด้าน “Kasthuri Prameswaren” นักวิชาการแห่งคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ เห็นด้วยว่า มันเป็นความเสี่ยงสำหรับอันวาร์ที่หันไปแต่งตั้งเหล่าผู้นำต่างชาติในฐานะที่ปรึกษาอาเซียน แม้จะให้คำจำกัดความว่า “อย่างไม่เป็นทางการ” แทนที่จะเป็นเหล่าผู้แทนทูตหรือผู้เชี่ยวชาญของมาเลเซียเอง เนื่องจากความเคลื่อนไหวลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ส่วนในฝั่งไทย แน่นอน พลพรรค “ไข่แม้ว” ย่อมยินดีปรีดาที่ผู้เป็นนายได้รับการแต่งตั้งครั้งนี้ ดังนั้น น้ำเสียงจากบรรดารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจึงเป็นไปทิศทาง “อวย” ร้อยเปอร์เซ็นต์
“ดร.ปณิธาน วัฒนายากร” นักวิชาการด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ให้ความเห็นเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ในส่วนของผู้นำมาเลเซีย อาจมีความเห็นอกเห็นใจทักษิณ ในฐานะที่ส่วนตัวเคยถูกดำเนินคดีทางการเมืองมาก่อน ซึ่งการพยายามยกบทบาทของอดีตนายกรัฐมนตรีไทยเป็นให้รัฐบุรุษ เป็นในมุมยกย่องส่วนตัวของอันวาร์เท่านั้น
“การยกให้เป็นรัฐบุรุษ อาจเป็นความเห็นใจที่มีต่อคุณทักษิณ และเป็นการแสดงให้นานาชาติรับรู้ว่าทั้งเขา (อันวาร์) และอดีตนายกฯ ไทย มีลักษณะใกล้เคียงกันคือถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง แต่ข้อเท็จจริงคุณทักษิณถูกดำเนินคดีและมีคำตัดสินว่ามีความผิด มันก็ไม่สามารถไปลบล้างอะไรได้ ซึ่งมาเลเซียจะยกให้ใครเป็นรัฐบุรุษก็ได้ แต่ก็เป็นแค่มุมเขาเราไม่ได้ยก แต่ความสัมพันธ์หลังจากหมดยุคของรัฐบาลเพื่อไทยไปแล้ว ก็อาจจะมีปัญหาแรงกว่าเดินหลังจากนี้”อาจารย์ปณิธานให้ความเห็น
กล่าวสำหรับ “ทักษิณ” นั้น เป็นที่รับรู้กันว่า เขามีความสนิทสนมกับผู้นำทหารเมียนมาร์หลายต่อหลายคน ไม่ว่าจะเป็นพล.อ.อาวุโส มิน อ่องหล่าย พล.อ.หม่องเอ และ พล.อ.ตาน ฉ่วย
“ผมรู้จักมักคุ้นกับทหารมานาน เพราะตานฉ่วยเป็นเคาเตอร์พาร์ทมาหลายปี ขอความร่วมมือก็ยอมทุกอย่าง พวกนี้กลัวเช็กบิลก็เลยสืบทอดอำนาจ เหมือนบ้านเรานี่แหละ..” ทักษิณเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้
นอกจากนั้น หากยังจำกันได้ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2556 ทักษิณและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เข้ารดน้ำปีใหม่ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย บ้านพักในเมืองปยินอูลวิ่น (เหม่เมี้ยว) มาแล้ว ซึ่งแสดงว่า ระดับความสัมพันธ์กับผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาอยู่ในขั้นไม่ธรรมดา
กระนั้นก็ดี ต้องยอมรับว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับเมียนมาในปัจจุบันก็มีปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากยังจำกันได้ ในช่วงที่ “ทักษิณ” พยายามทำตัวเป็นคนกลางในการเจรจาสันติภาพในเมียนมาร์นั้น มีรายงานยืนยันตรงกันว่า “เอกอัครราชทูตเมียนมา” ประจำประเทศไทยคนใหม่ ซึ่งเข้าแสดงความยินดีกับ “พล.ต.อ.รอย อิงคะไพโรจน์” ที่เพิ่งได้รับมอบหมายให้ไปนั่งเก้าอี้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้มีการสอบถามจุดยืนของรัฐบาลไทยไม่ให้กลุ่มต่อต้านใช้ไทยเป็นฐานโจมตีรัฐบาลเมียนมา
และเป็นคำถามเดียวกับที่ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เคยสอบถามมายังกองทัพไทยมาแล้ว
ขณะที่พล.ต.อ.รอย ยืนยันกับเอกอัครราชทูตเมียนมาว่า รัฐบาลไทยจะไม่ให้กลุ่มต่อต้านใช้ไทยเป็นฐานโจมตีรัฐบาลเมียนมา พร้อมย้ำการดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาลไทยอยู่ภายใต้กรอบอาเซียน ไม่แทรกแซงเรื่องภายในของประเทศสมาชิก แต่ไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบตามหลักสิทธิมนุษยชน
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่ใช่แค่ทักษิณเท่านั้นที่พยายามเข้าไปยุ่งเรื่องเมียนมา แต่ “เพื่อนรัก” อย่าง “สมเด็จฯ ฮุนเซน” อดีตนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ซึ่งเคยแต่งตั้งให้ทักษิณเป็นที่ปรึกษา ก็มีความพยายามในเรื่องนี้ไม่ต่างกัน
กล่าวคือ ในครั้งที่ “ทักษิณ” เล่นบทผู้ไกล่เกลี่ยในสงครามกลางเมืองเมียนมา โดยเชื้อเชิญตัวแทนกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ และรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติมาพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ “สมเด็จฯ ฮุนเซน” ก็ได้ร้องขอไปยัง พล.อ.อาวุโส มิน อ่องหล่าย ผู้นำรัฐบาลสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) เพื่อขอพูดคุยกับ อองซาน ซูจี อดีตประธานที่ปรึกษาแห่งรัฐ
ทว่า ได้รับการปฏิเสธจาก “พล.ต.ซอ มินตุน” โฆษกรัฐบาลสภาบริหารแห่งรัฐ(SAC) โดยบอกว่า “ไม่มีเหตุผลที่จะอำนวยความสะดวก(การพูดคุย)ในเวลานี้”
นอกจากนั้น โฆษกรัฐบาลเมียนมา ยังแถลงด้วยว่า แม้ว่าตัวเขาจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอดีตนายกรัฐมนตรีไทย แต่ว่า นายทักษิณก็ไม่ควรจะสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่ต่อต้านรัฐบาลเมียนมา(SAC)
อย่างไรก็ดี ปมประเด็นสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ก็คือ “ทักษิณ” คือเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ของไทย ดังนั้น การที่ “อันวาร์” ตั้งให้เป็นที่ปรึกษา จึงต้องจับตาว่า จะมีผลบวกหรือผลลบมากกว่ากัน ด้วยอาจเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มผู้ก่อการร้ายในการก่อความรุนแรงได้
ขณะเดียวกันที่ต้องขีดเส้นใต้สองเส้นก็คือ ในระหว่างที่ทักษิณเป็นนายกรัฐนตรีของไทยก็เคยกระทำการอันเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนเองในเมียนมาร์จนกลายเป็นคดีความมาแล้ว
นั่นก็คือคดีที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับรัฐบาลเมียนมาวงเงิน 4,000 ล้านบาท เพื่อสั่งซื้ออุปกรณ์จาก บริษัท ชินแซทเทอร์ไลท์ บริษัทในเครือชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชินวัตร
และคดีนี้ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา
ดังนั้น จึงจำต้องติดตามอย่างไม่กระพริบตาว่า การได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียนในครั้งนี้ จะเกิดประโยชน์กับอาเซียน เกิดประโยชน์กับมาเลเซีย เกิดประโยชน์กับประเทศไทย หรือเกิดประโยชน์ตัวตัวทักษิณ ชินวัตรมากกว่ากัน
เพราะคนอย่างทักษิณนั้น คงไม่ทำงานเพื่อ “เอากล่อง” แต่เพียงอย่างเดียวแน่นอน
ด้าน “Kasthuri Prameswaren” นักวิชาการแห่งคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ เห็นด้วยว่า มันเป็นความเสี่ยงสำหรับอันวาร์ที่หันไปแต่งตั้งเหล่าผู้นำต่างชาติในฐานะที่ปรึกษาอาเซียน แม้จะให้คำจำกัดความว่า “อย่างไม่เป็นทางการ” แทนที่จะเป็นเหล่าผู้แทนทูตหรือผู้เชี่ยวชาญของมาเลเซียเอง เนื่องจากความเคลื่อนไหวลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ส่วนในฝั่งไทย แน่นอน พลพรรค “ไข่แม้ว” ย่อมยินดีปรีดาที่ผู้เป็นนายได้รับการแต่งตั้งครั้งนี้ ดังนั้น น้ำเสียงจากบรรดารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจึงเป็นไปทิศทาง “อวย” ร้อยเปอร์เซ็นต์
“ดร.ปณิธาน วัฒนายากร” นักวิชาการด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ให้ความเห็นเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ในส่วนของผู้นำมาเลเซีย อาจมีความเห็นอกเห็นใจทักษิณ ในฐานะที่ส่วนตัวเคยถูกดำเนินคดีทางการเมืองมาก่อน ซึ่งการพยายามยกบทบาทของอดีตนายกรัฐมนตรีไทยเป็นให้รัฐบุรุษ เป็นในมุมยกย่องส่วนตัวของอันวาร์เท่านั้น
“การยกให้เป็นรัฐบุรุษ อาจเป็นความเห็นใจที่มีต่อคุณทักษิณ และเป็นการแสดงให้นานาชาติรับรู้ว่าทั้งเขา (อันวาร์) และอดีตนายกฯ ไทย มีลักษณะใกล้เคียงกันคือถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง แต่ข้อเท็จจริงคุณทักษิณถูกดำเนินคดีและมีคำตัดสินว่ามีความผิด มันก็ไม่สามารถไปลบล้างอะไรได้ ซึ่งมาเลเซียจะยกให้ใครเป็นรัฐบุรุษก็ได้ แต่ก็เป็นแค่มุมเขาเราไม่ได้ยก แต่ความสัมพันธ์หลังจากหมดยุคของรัฐบาลเพื่อไทยไปแล้ว ก็อาจจะมีปัญหาแรงกว่าเดินหลังจากนี้”อาจารย์ปณิธานให้ความเห็น
กล่าวสำหรับ “ทักษิณ” นั้น เป็นที่รับรู้กันว่า เขามีความสนิทสนมกับผู้นำทหารเมียนมาร์หลายต่อหลายคน ไม่ว่าจะเป็นพล.อ.อาวุโส มิน อ่องหล่าย พล.อ.หม่องเอ และ พล.อ.ตาน ฉ่วย
“ผมรู้จักมักคุ้นกับทหารมานาน เพราะตานฉ่วยเป็นเคาเตอร์พาร์ทมาหลายปี ขอความร่วมมือก็ยอมทุกอย่าง พวกนี้กลัวเช็กบิลก็เลยสืบทอดอำนาจ เหมือนบ้านเรานี่แหละ..” ทักษิณเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้
นอกจากนั้น หากยังจำกันได้ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2556 ทักษิณและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เข้ารดน้ำปีใหม่ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย บ้านพักในเมืองปยินอูลวิ่น (เหม่เมี้ยว) มาแล้ว ซึ่งแสดงว่า ระดับความสัมพันธ์กับผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาอยู่ในขั้นไม่ธรรมดา
กระนั้นก็ดี ต้องยอมรับว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับเมียนมาในปัจจุบันก็มีปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากยังจำกันได้ ในช่วงที่ “ทักษิณ” พยายามทำตัวเป็นคนกลางในการเจรจาสันติภาพในเมียนมาร์นั้น มีรายงานยืนยันตรงกันว่า “เอกอัครราชทูตเมียนมา” ประจำประเทศไทยคนใหม่ ซึ่งเข้าแสดงความยินดีกับ “พล.ต.อ.รอย อิงคะไพโรจน์” ที่เพิ่งได้รับมอบหมายให้ไปนั่งเก้าอี้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้มีการสอบถามจุดยืนของรัฐบาลไทยไม่ให้กลุ่มต่อต้านใช้ไทยเป็นฐานโจมตีรัฐบาลเมียนมา
และเป็นคำถามเดียวกับที่ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เคยสอบถามมายังกองทัพไทยมาแล้ว
ขณะที่พล.ต.อ.รอย ยืนยันกับเอกอัครราชทูตเมียนมาว่า รัฐบาลไทยจะไม่ให้กลุ่มต่อต้านใช้ไทยเป็นฐานโจมตีรัฐบาลเมียนมา พร้อมย้ำการดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาลไทยอยู่ภายใต้กรอบอาเซียน ไม่แทรกแซงเรื่องภายในของประเทศสมาชิก แต่ไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบตามหลักสิทธิมนุษยชน
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่ใช่แค่ทักษิณเท่านั้นที่พยายามเข้าไปยุ่งเรื่องเมียนมา แต่ “เพื่อนรัก” อย่าง “สมเด็จฯ ฮุนเซน” อดีตนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ซึ่งเคยแต่งตั้งให้ทักษิณเป็นที่ปรึกษา ก็มีความพยายามในเรื่องนี้ไม่ต่างกัน
กล่าวคือ ในครั้งที่ “ทักษิณ” เล่นบทผู้ไกล่เกลี่ยในสงครามกลางเมืองเมียนมา โดยเชื้อเชิญตัวแทนกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ และรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติมาพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ “สมเด็จฯ ฮุนเซน” ก็ได้ร้องขอไปยัง พล.อ.อาวุโส มิน อ่องหล่าย ผู้นำรัฐบาลสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) เพื่อขอพูดคุยกับ อองซาน ซูจี อดีตประธานที่ปรึกษาแห่งรัฐ
ทว่า ได้รับการปฏิเสธจาก “พล.ต.ซอ มินตุน” โฆษกรัฐบาลสภาบริหารแห่งรัฐ(SAC) โดยบอกว่า “ไม่มีเหตุผลที่จะอำนวยความสะดวก(การพูดคุย)ในเวลานี้”
นอกจากนั้น โฆษกรัฐบาลเมียนมา ยังแถลงด้วยว่า แม้ว่าตัวเขาจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอดีตนายกรัฐมนตรีไทย แต่ว่า นายทักษิณก็ไม่ควรจะสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่ต่อต้านรัฐบาลเมียนมา(SAC)
อย่างไรก็ดี ปมประเด็นสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ก็คือ “ทักษิณ” คือเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ของไทย ดังนั้น การที่ “อันวาร์” ตั้งให้เป็นที่ปรึกษา จึงต้องจับตาว่า จะมีผลบวกหรือผลลบมากกว่ากัน ด้วยอาจเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มผู้ก่อการร้ายในการก่อความรุนแรงได้
ขณะเดียวกันที่ต้องขีดเส้นใต้สองเส้นก็คือ ในระหว่างที่ทักษิณเป็นนายกรัฐนตรีของไทยก็เคยกระทำการอันเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนเองในเมียนมาร์จนกลายเป็นคดีความมาแล้ว
นั่นก็คือคดีที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับรัฐบาลเมียนมาวงเงิน 4,000 ล้านบาท เพื่อสั่งซื้ออุปกรณ์จาก บริษัท ชินแซทเทอร์ไลท์ บริษัทในเครือชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชินวัตร
และคดีนี้ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา
ดังนั้น จึงจำต้องติดตามอย่างไม่กระพริบตาว่า การได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียนในครั้งนี้ จะเกิดประโยชน์กับอาเซียน เกิดประโยชน์กับมาเลเซีย เกิดประโยชน์กับประเทศไทย หรือเกิดประโยชน์ตัวตัวทักษิณ ชินวัตรมากกว่ากัน
เพราะคนอย่างทักษิณนั้น คงไม่ทำงานเพื่อ “เอากล่อง” แต่เพียงอย่างเดียวแน่นอน