โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
จากพงศาวดารสุยชู้ (隋书) จักรพรรดิสุยหยางตี้ทรงต้องการค้าขายกับต่างประเทศจึงส่งทูตฉางจุ้นหรือเซี่ยงจุ๊น (常骏) ฝ่ายทหารและหวังจุ้นเจิ้ง (王君政) ฝ่ายพลเรือนเป็นทูตไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีพ.ศ.1150-1153 โดยลงเรือที่กว่างโจวผ่านฟิลิปปินส์ บอร์เนียว จามปาและปูโลคอนดอร์ ไปยังเมืองเมืองเซียก-ทั่วแปลว่าดินแดงและลา-ชัท (囉刹หลัว-ช้า) หรือรักษสา [Kuwata 1971; Kurz 2013] ขามาเดินเรือจากกว่างโจวไป 100 วันทางตะวันออก ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พร้อมกับผ้าไหม 500 ม้วน เขามองภูเขาทางตะวันตกของลังกาสุกะอยู่ กษัตริย์อาศัยอยู่ที่เมืองเซิ่ง-เจี๊ย (สิงหนคร) ที่มีประตู 3 ชั้นห่างกันเป็น 100 ฟุต บานประตูทุกบานวาดด้วยภาพเทวดากำลังเหาะ (เซียนในความคิดของคนจีน) พระโพธิสัตว์และเซียนอื่นๆ ผู้หญิงนับ 10 คนเล่นดนตรี มีผู้ชายสี่คนแต่งเป็นท้าวจตุโลกบาลอยู่รอบสถูปทั้ง 4 ด้าน มีฝนตกชุกตลอดปีและมีอากาศอบอุ่น พลเมืองกินข้าวฟ่าง ถั่วขาว (เม็ดสาคู?) และดื่มเหล้าทำจากน้ำอ้อย กษัตริย์มีนามว่า ลี-ฮก-ตา-เซ็ก (利富多塞หลี่-ฟู่-ตั้ว-เสอ) ปกครองมา 16 ปีมีพระมเหสี 3 คน เป็นธิดาของเจ้าเมืองใกล้เคียง และของเจ้าชายคือ น่า-เซีย-เกียหรือนายะกะ (那邪迦หน่า-เซี่ย-เจีย) มีเส่งเจี้ย (僧祗เซิ้ง-จื๊อ) หรือสิงหนครน่าจะเป็นแถวอ.สิงหนคร จ.สงขลา ในท๊งเตี๋ยนและไท่ผิงหวนหยู่จี๊ด้วยเป็นเมืองหลวงของรักตมฤติกาแล้วขากลับได้นำเจ้าชายแห่งรักตมฤติกาตามคำของของพราหมณ์ประจำเมืองไปยังประเทศจีนด้วยและขึ้นเรือที่เจี๊ยวจื้อ (ฮานอย) การเจริญสัมพันธไมตรีในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จอย่างมาก กษัตริย์เมืองนี้ส่งพราหมณ์ชื่อ “กุมาร” ไปกับเรือแบบออสโตรเนเซียน 30 ลำเพื่อต้อนรับคณะทูตที่ด่านเพื่อพาเข้าเมืองหลวง และเมืองนี้ส่งทูตไปจีนในปีพ.ศ.1151 และ พ.ศ.1152 ก่อนที่ฉางจุ้นจะเดินทางกลับพร้อมกับเจ้าชายนายะกะแห่งรักตมฤติกา [Kuwata 1971; O’Reilly 2007; Wade 2004; Wang Gongwu 1998, 61-63; Wheatley 1961; Wolters 1967, 173-174]
ผู้บังคับเรือคณะทูตอาจไม่ใช่ชาวจีน รักตมฤติกาส่งทูตไปจีนทันทีหลังจากได้ต้อนรับฉางจุ้นซึ่งเดินทางกลับหลังจากแวะเมืองลา-ชัต (รักชษะ) มีการใช้โซ่ทองคำลากเรือใหญ่ของคณะทูตแล้วมีการประโคมดนตรีและงานเลี้ยงบนเรือตลอดทางจนถึงเมืองหลวง ไม่นานหลังจากนั้นคณะทูตถึงชายแดนลงใต้ไปอีกหน่อย เพราะว่าใช้เวลาจากชายแดนถึงเมืองหลวงประมาณ 1 เดือนหวังกงอู่เชื่อว่าการเดินทางของคณะทูตสิ้นสุดที่เกาะสุมาตราและรักตมฤติกาคืออาณาจักรอันยิ่งใหญ่สืบทอดจากคันธารีก่อนจะมีศรีวิชัยราชวงศ์ที่ปกครองคือ โคตมะหรือเกียว-ดัม (瞿昙ฉู่-ถัน) เป็นราชวงศ์เดียวกับที่ปกครองกัน-ดา-ลิ (干陀利กัน-ถัว-ลี่) ในเกาะสุมาตราซึ่งในปัจจุบันคือปาเล็มบัง ซึ่งพงศาวดารเหลียงชู้และสุยชู้ใช้อักษรจีนตัวเดียวกันในการบันทึก และโคตมะสุภัทรเป็นกษัตริย์ของคันธารีในเหลียงชู้ อย่างไรก็ตามเมืองคันธารีเปลี่ยนชื่อเป็นวิชัยโดยตรงในปีพ.ศ.1193 ดังนั้นรักตมฤติกาน่าจะเป็นสาขามากกว่าเมืองที่สืบต่อมาจากคันธารี ซึ่งการเดินทางนี้อาจเป็นการเดินทางรอบทะเลสาบสงขลามากกว่าที่จะไปคันธารีบนเกาะสุมาตราก็ได้เพราะมีการใช้โซ่ทองคำลากเรือ เมืองรักตมฤติกาและคันธารีไม่ใช่เมืองเดียวกันแต่ปกครองด้วยราชวงศ์เดียวกันเพราะเอกสารไท่ผิงยู่หลัน (太平御览) เล่มที่ 787 และไท่ผิงหวนหยู่จี๊ เล่มที่ 176-179 บันทึกว่า กัน-ดา-ลิและเซียก-ทั่วว่าเป็นคนละเมืองกัน
ราชวงศ์โคตมะอาจเป็นใหญ่ในช่องแคบมะละกาและควบคุมเครือข่ายการค้าในภูมิภาคนี้ก่อนสมาพันธรัฐศรีวิชัยกับกา-ลิงหลังจากการล่มสลายของพนม ชาวออสโตรเนเซียนมักจะตั้งสถานีการค้าด้วยการอพยพคนดังนั้นราชวงศ์โคตมะอาจจะอพยพประชาชนจากคันดิสแถวปาเล็มบังในเกาะสุมาตราไปตั้งถิ่นฐานที่รักตมฤติกาในแหลมมลายูเพื่อขยายเครือข่ายการค้า เรือสินค้าจากพนมจำเป็นต้องแวะที่รักตมฤติกาบนแหลมมลายูก่อนที่จะบ่ายหน้าไปที่ช่องแคบมะละกาเพื่อแวะที่คันดิส ราชวงศ์โคตมะที่รักตมฤติกาอาจจะเป็นสาขาที่มาจากคันดิสและ ฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศอาจจะเป็นผู้โค่นล้มราชวงศ์นี้เพื่อก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็เป็นได้ พลเมืองเป็นชาวสุมาตรา (ออสโตรเนเซียน) ผสมกับชาวพนม (อินเดีย-มอญ-เขมร) จากปากแม่น้ำโขง
赤土国,扶南之别种也。在南海中,水行百余日而达所都。土色多赤,因以为号。东波罗刺国,西婆罗娑国,南诃罗旦国,北拒大海,地方数千里
[Chinese Text Project: ctext.org]
อาณาจักรดินแดง (รักตมฤติกา) แตกสาขามาจากพนมตั้งอยู่ในทะเล (จีน) ใต้ใช้เดินทางทางเรือนานกว่าร้อยวันเพื่อไปถึงเมืองหลวง สีของดินเมืองนี้ส่วนใหญ่เป็นสีแดงซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมือง ทางทิศตะวันออกคืออาณาจักรปารารา (波罗刺โบ-โลว-ลา) ทางตะวันตกคือปาราสะ (婆罗娑โผ-หลัว-ซัว) ทางใต้คือ กา-หล่า-ตัน 诃罗旦เหอ-หลัว-ตัน หรือ กลันตัน?) ทางเหนือติดทะเล มีพื้นที่เป็นพันๆตารางกิโลเมตร
จากข้อความในสุยชู้แสดงว่าพลเมืองของรักตมฤติกาน่าจะอพยพมาจากปากแม่น้ำโขงซึ่งการสำรวจดีเอ็นเอล่าสุดจากโครงกระดูกที่บริเวณปากแม่น้ำโขงสันนิษฐานได้ว่าพลเมืองส่วนใหญ่ของพนมเป็นลูกครึ่งอินเดียใต้ผสมกับออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) [Piya Changmai et al. 2020] จึงสันนิษฐานว่าชาวอินเดียอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ปากแม่น้ำโขงประมาณ 2000 กว่าปีมาแล้วต่างจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่อพยพเข้ามาเพียง 500 ปี และเมืองนี้อาจเคยส่งบรรณาการให้พนม
เอกสารอ้างอิง
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1971. “A Study of Ch’ih-t’u 赤土, an Ancient Kingdom in Southeast Asia.” Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 29:31–56.
Kurz, Johannes. 2022. “Sanfoqi 三佛齐 as a Designation for Srivijaya.” China and Asia 4 (1): 3–37.
O’Reilly, Dougald J. W. 2007. Early Civilizations of Southeast Asia. Lanham, MD: Rowman Altamira.
Piya Changmai, Ron Pinhasi, Michael Pietrusewsky, and et al. 2022. “Ancient DNA from Protohistoric Period Cambodia Indicates That South Asians Admixed with Local Populations as Early as 1st–3rd Centuries CE.” Scientific Report 12 (22507). https://doi.org/10.1038/s41598-022-26799-3.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wade, Geoff. 2004. "From Chaiya to Pahang: The Eastern Seaboard of the Peninsula as Recorded in Classical Chinese Texts." In Daniel Perret, Ammara Sisuchat and Thanasuk Sombun Études sur l'histoire du sultanat de Patani, 37-78. Paris: EFEO.
Wang Gongwu (Wang Gengwu 王賡武). 1998. The Nanhai Trade: The Early History of Chinese Trade in South China Ocean. Singapore: Time Academic Research.
Wheatley, Paul. 1961. The Golden Khersonese: Studies in the Historical Geography of Malay Peninsula before AD1500. Kuala Lumpur: University of Malaya Press.
Wolters, Oliver Williams. 1967. Early Indonesian Commerce: A Study of the Origins of Srivijaya. Ithaca, NY: Cornell University Press.
จากพงศาวดารสุยชู้ (隋书) จักรพรรดิสุยหยางตี้ทรงต้องการค้าขายกับต่างประเทศจึงส่งทูตฉางจุ้นหรือเซี่ยงจุ๊น (常骏) ฝ่ายทหารและหวังจุ้นเจิ้ง (王君政) ฝ่ายพลเรือนเป็นทูตไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีพ.ศ.1150-1153 โดยลงเรือที่กว่างโจวผ่านฟิลิปปินส์ บอร์เนียว จามปาและปูโลคอนดอร์ ไปยังเมืองเมืองเซียก-ทั่วแปลว่าดินแดงและลา-ชัท (囉刹หลัว-ช้า) หรือรักษสา [Kuwata 1971; Kurz 2013] ขามาเดินเรือจากกว่างโจวไป 100 วันทางตะวันออก ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พร้อมกับผ้าไหม 500 ม้วน เขามองภูเขาทางตะวันตกของลังกาสุกะอยู่ กษัตริย์อาศัยอยู่ที่เมืองเซิ่ง-เจี๊ย (สิงหนคร) ที่มีประตู 3 ชั้นห่างกันเป็น 100 ฟุต บานประตูทุกบานวาดด้วยภาพเทวดากำลังเหาะ (เซียนในความคิดของคนจีน) พระโพธิสัตว์และเซียนอื่นๆ ผู้หญิงนับ 10 คนเล่นดนตรี มีผู้ชายสี่คนแต่งเป็นท้าวจตุโลกบาลอยู่รอบสถูปทั้ง 4 ด้าน มีฝนตกชุกตลอดปีและมีอากาศอบอุ่น พลเมืองกินข้าวฟ่าง ถั่วขาว (เม็ดสาคู?) และดื่มเหล้าทำจากน้ำอ้อย กษัตริย์มีนามว่า ลี-ฮก-ตา-เซ็ก (利富多塞หลี่-ฟู่-ตั้ว-เสอ) ปกครองมา 16 ปีมีพระมเหสี 3 คน เป็นธิดาของเจ้าเมืองใกล้เคียง และของเจ้าชายคือ น่า-เซีย-เกียหรือนายะกะ (那邪迦หน่า-เซี่ย-เจีย) มีเส่งเจี้ย (僧祗เซิ้ง-จื๊อ) หรือสิงหนครน่าจะเป็นแถวอ.สิงหนคร จ.สงขลา ในท๊งเตี๋ยนและไท่ผิงหวนหยู่จี๊ด้วยเป็นเมืองหลวงของรักตมฤติกาแล้วขากลับได้นำเจ้าชายแห่งรักตมฤติกาตามคำของของพราหมณ์ประจำเมืองไปยังประเทศจีนด้วยและขึ้นเรือที่เจี๊ยวจื้อ (ฮานอย) การเจริญสัมพันธไมตรีในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จอย่างมาก กษัตริย์เมืองนี้ส่งพราหมณ์ชื่อ “กุมาร” ไปกับเรือแบบออสโตรเนเซียน 30 ลำเพื่อต้อนรับคณะทูตที่ด่านเพื่อพาเข้าเมืองหลวง และเมืองนี้ส่งทูตไปจีนในปีพ.ศ.1151 และ พ.ศ.1152 ก่อนที่ฉางจุ้นจะเดินทางกลับพร้อมกับเจ้าชายนายะกะแห่งรักตมฤติกา [Kuwata 1971; O’Reilly 2007; Wade 2004; Wang Gongwu 1998, 61-63; Wheatley 1961; Wolters 1967, 173-174]
ผู้บังคับเรือคณะทูตอาจไม่ใช่ชาวจีน รักตมฤติกาส่งทูตไปจีนทันทีหลังจากได้ต้อนรับฉางจุ้นซึ่งเดินทางกลับหลังจากแวะเมืองลา-ชัต (รักชษะ) มีการใช้โซ่ทองคำลากเรือใหญ่ของคณะทูตแล้วมีการประโคมดนตรีและงานเลี้ยงบนเรือตลอดทางจนถึงเมืองหลวง ไม่นานหลังจากนั้นคณะทูตถึงชายแดนลงใต้ไปอีกหน่อย เพราะว่าใช้เวลาจากชายแดนถึงเมืองหลวงประมาณ 1 เดือนหวังกงอู่เชื่อว่าการเดินทางของคณะทูตสิ้นสุดที่เกาะสุมาตราและรักตมฤติกาคืออาณาจักรอันยิ่งใหญ่สืบทอดจากคันธารีก่อนจะมีศรีวิชัยราชวงศ์ที่ปกครองคือ โคตมะหรือเกียว-ดัม (瞿昙ฉู่-ถัน) เป็นราชวงศ์เดียวกับที่ปกครองกัน-ดา-ลิ (干陀利กัน-ถัว-ลี่) ในเกาะสุมาตราซึ่งในปัจจุบันคือปาเล็มบัง ซึ่งพงศาวดารเหลียงชู้และสุยชู้ใช้อักษรจีนตัวเดียวกันในการบันทึก และโคตมะสุภัทรเป็นกษัตริย์ของคันธารีในเหลียงชู้ อย่างไรก็ตามเมืองคันธารีเปลี่ยนชื่อเป็นวิชัยโดยตรงในปีพ.ศ.1193 ดังนั้นรักตมฤติกาน่าจะเป็นสาขามากกว่าเมืองที่สืบต่อมาจากคันธารี ซึ่งการเดินทางนี้อาจเป็นการเดินทางรอบทะเลสาบสงขลามากกว่าที่จะไปคันธารีบนเกาะสุมาตราก็ได้เพราะมีการใช้โซ่ทองคำลากเรือ เมืองรักตมฤติกาและคันธารีไม่ใช่เมืองเดียวกันแต่ปกครองด้วยราชวงศ์เดียวกันเพราะเอกสารไท่ผิงยู่หลัน (太平御览) เล่มที่ 787 และไท่ผิงหวนหยู่จี๊ เล่มที่ 176-179 บันทึกว่า กัน-ดา-ลิและเซียก-ทั่วว่าเป็นคนละเมืองกัน
ราชวงศ์โคตมะอาจเป็นใหญ่ในช่องแคบมะละกาและควบคุมเครือข่ายการค้าในภูมิภาคนี้ก่อนสมาพันธรัฐศรีวิชัยกับกา-ลิงหลังจากการล่มสลายของพนม ชาวออสโตรเนเซียนมักจะตั้งสถานีการค้าด้วยการอพยพคนดังนั้นราชวงศ์โคตมะอาจจะอพยพประชาชนจากคันดิสแถวปาเล็มบังในเกาะสุมาตราไปตั้งถิ่นฐานที่รักตมฤติกาในแหลมมลายูเพื่อขยายเครือข่ายการค้า เรือสินค้าจากพนมจำเป็นต้องแวะที่รักตมฤติกาบนแหลมมลายูก่อนที่จะบ่ายหน้าไปที่ช่องแคบมะละกาเพื่อแวะที่คันดิส ราชวงศ์โคตมะที่รักตมฤติกาอาจจะเป็นสาขาที่มาจากคันดิสและ ฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศอาจจะเป็นผู้โค่นล้มราชวงศ์นี้เพื่อก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็เป็นได้ พลเมืองเป็นชาวสุมาตรา (ออสโตรเนเซียน) ผสมกับชาวพนม (อินเดีย-มอญ-เขมร) จากปากแม่น้ำโขง
赤土国,扶南之别种也。在南海中,水行百余日而达所都。土色多赤,因以为号。东波罗刺国,西婆罗娑国,南诃罗旦国,北拒大海,地方数千里
[Chinese Text Project: ctext.org]
อาณาจักรดินแดง (รักตมฤติกา) แตกสาขามาจากพนมตั้งอยู่ในทะเล (จีน) ใต้ใช้เดินทางทางเรือนานกว่าร้อยวันเพื่อไปถึงเมืองหลวง สีของดินเมืองนี้ส่วนใหญ่เป็นสีแดงซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมือง ทางทิศตะวันออกคืออาณาจักรปารารา (波罗刺โบ-โลว-ลา) ทางตะวันตกคือปาราสะ (婆罗娑โผ-หลัว-ซัว) ทางใต้คือ กา-หล่า-ตัน 诃罗旦เหอ-หลัว-ตัน หรือ กลันตัน?) ทางเหนือติดทะเล มีพื้นที่เป็นพันๆตารางกิโลเมตร
จากข้อความในสุยชู้แสดงว่าพลเมืองของรักตมฤติกาน่าจะอพยพมาจากปากแม่น้ำโขงซึ่งการสำรวจดีเอ็นเอล่าสุดจากโครงกระดูกที่บริเวณปากแม่น้ำโขงสันนิษฐานได้ว่าพลเมืองส่วนใหญ่ของพนมเป็นลูกครึ่งอินเดียใต้ผสมกับออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) [Piya Changmai et al. 2020] จึงสันนิษฐานว่าชาวอินเดียอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ปากแม่น้ำโขงประมาณ 2000 กว่าปีมาแล้วต่างจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่อพยพเข้ามาเพียง 500 ปี และเมืองนี้อาจเคยส่งบรรณาการให้พนม
เอกสารอ้างอิง
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1971. “A Study of Ch’ih-t’u 赤土, an Ancient Kingdom in Southeast Asia.” Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 29:31–56.
Kurz, Johannes. 2022. “Sanfoqi 三佛齐 as a Designation for Srivijaya.” China and Asia 4 (1): 3–37.
O’Reilly, Dougald J. W. 2007. Early Civilizations of Southeast Asia. Lanham, MD: Rowman Altamira.
Piya Changmai, Ron Pinhasi, Michael Pietrusewsky, and et al. 2022. “Ancient DNA from Protohistoric Period Cambodia Indicates That South Asians Admixed with Local Populations as Early as 1st–3rd Centuries CE.” Scientific Report 12 (22507). https://doi.org/10.1038/s41598-022-26799-3.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wade, Geoff. 2004. "From Chaiya to Pahang: The Eastern Seaboard of the Peninsula as Recorded in Classical Chinese Texts." In Daniel Perret, Ammara Sisuchat and Thanasuk Sombun Études sur l'histoire du sultanat de Patani, 37-78. Paris: EFEO.
Wang Gongwu (Wang Gengwu 王賡武). 1998. The Nanhai Trade: The Early History of Chinese Trade in South China Ocean. Singapore: Time Academic Research.
Wheatley, Paul. 1961. The Golden Khersonese: Studies in the Historical Geography of Malay Peninsula before AD1500. Kuala Lumpur: University of Malaya Press.
Wolters, Oliver Williams. 1967. Early Indonesian Commerce: A Study of the Origins of Srivijaya. Ithaca, NY: Cornell University Press.