xs
xsm
sm
md
lg

เส้นทางศรีวิชัย : เครือข่ายทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทะเลใต้ยุคโบราณ ตอน ภูมิหลังในการศึกษาเรื่องศรีวิชัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ดร.เกียรติกำจร มีขนอน

ในปี พ.ศ.2261 บาทหลวงยูเซเบ้ เรอโนโดท์ แปลหนังสือ อักบาร์ อัล-ซิน วา อัล-ฮินด์ ของอบู ซัยยัด อัล-ซิราฟีและสุไลมาน อัล-ทาจีร์จากภาษาอาหรับเป็นภาษาฝรั่งเศสซึ่งกล่าวถึงสถานที่ชื่อว่า ศรีบูซ่า และ ซาบาก ดังนั้นศรีวิชัยคือศรีบูซ่าในภาษาอาหรับ ในปีพ.ศ. 2321 มีการก่อตั้งสมาคมศิลปะและวิทยายศาสตร์แห่งบาตาเวียในอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ในอินโดนีเซีย (Bataviaasch Genootschap van Kunsten en Wetenschappen) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี

เซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลเขียนประวัติศาสตร์ชวาในปีพ.ศ.2360 และจอห์น ครอว์เฟิร์ดเขียนหนังสือประวัติศาสตร์อินโดนีเซียในปีพ.ศ.2363 สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาและคาริบเบียนแห่งเนเธอร์แลนด์ (Konninklijk Instituut voor Tall-, Land- en Volkenkunder (KITLV) ซึ่งตีพิมพ์วารสาร Tijdschift voor Indische, Taal-, Land- en Volkenkunder ศึกษาภาษาดินแดนและชาติพันธุ์อินโดนีเซีย และสถาบัน BKI ตีพิมพ์วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในเอเชียอาคเนย์และโอเซียนเนีย (Bijdragen tot de Taal-, Land- en Volkenkunde) ในปีพ.ศ.2414 เอมิล เบรตชไนเดอร์เขียนหนังสือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับโลกอาหรับจากเอกสารจีนในปีพ.ศ.2419 ไมเยอร์ได้แปลเรื่องราวของเจิ้งเหอจากเอกสารจีนในปีพ.ศ.2419 และสจ็วต โคเฮนเริ่มอ่านจารึกในอักษรกวิก่อนที่กรุนเฟลท์จะระบุชื่อ ซื่อ-ลี่-โฝ-ซื่อและซัน-โฝ-ฉี จากการศึกษาเอกสารจีนในปี พ.ศ.2419 ในปีพ.ศ.2420 สหราชอาณาจักรได้ก่อตั้งสมาคมศึกษาเรื่องเอเชียในสิงคโปร์ปัจจุบันคือ Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์มาเลเซียและสิงคโปร์ซึ่งครอบคลุมเรื่องศรีวิชัย กุสตาฟ ชเลเกลนักวิชาการชาวดัตช์ก่อตั้งวารสารถงเป้า通报เพื่อศึกษาเอกสารจีน ในปีพ.ศ.2428 เจ ดับบลิว ไอเซอร์มัน ก่อตั้งสมาคมโบราณคดีในอินโดนีเซีย แซมมวล บีล นักบูรพาวิทยาชาวอังกฤษได้ระบุว่าซื่อ-ลี่-โฝ-ซื่อ อยู่ที่ปาเล็มบังเป็นคนแรกหลังจากอ่านหนังสือของอี้จิงในระหว่างปีพ.ศ.2426-2429 ในปีพ.ศ.2439 จุนจิโร ทาคากุสุได้แปลบันทึกหนานไห่จี้กุ๊ยเน่ยฝาจ๋วนเป็นภาษาอังกฤษตามคำร้องขอของศาสตราจารย์มักซ์ มึลเลอร์ให้แปลต่อจากเคนจิ คาซาวาระที่เสียชีวิตไป และกลายเป็นปริญญานิพนธ์ปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยไลป์ซิกและมีศาสตราจารย์ชาวรัสเซียชื่อ วาสิลิเยฟได้แปลเป็นภาษารัสเซีย และศาสตราจารย์ชาแวนน์ได้สรุปความจากบันทึกต้าถังฉิวฝ่าเกาเซิ่งจ๋วนเป็นภาษาฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2440 และนักโบราณคดีชาวดัตช์ได้เริ่มอ่านจารึกต่างๆในอินโดนีเซีย

สำนักศึกษาฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพาทิศได้ก่อตั้งที่ไซ่ง่อน (ปัจจุบันคือโฮจิมินห์ ซิตี้) ในปีพ.ศ.2441 และตีพิมพ์วารสารสำนักศึกษาฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพาทิศตั้งแต่ปีพ.ศ.2444 และปอล เปลลิโอต์ ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดียซึ่งกล่าวถึงศรีวิชัยในปีพ.ศ.2448 ในเนเธอร์แลนด์อินดี้ (อินโดนีเซีย) ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสำหรับการวิจัยทางโบราณคดีในชวาและมาดูร่า (Commissie in Nederlandsch Indië voor Oudheidkundig Ondezoek op Java en Madura) ซึ่งได้จัดตั้งแผนกโบราณคดี (Oudheidkundig Dienst) ในปีพ.ศ. 2456 โดยมีนิโคลาส โยฮัน ครอมเป็นหัวหน้า โดยเฟรดเดริค ดาวิด คาน บอสช์ รับช่วงในปี พ.ศ.2459 และเฟรดเดริค สตึเตอร์ไฮม์รับช่วงในปีพ.ศ.2479 ส่วนงานแปลของทาคาคุสุ เป็นแรงบันดาลใจให้ โทโยฮาชิ ฟูจิตะตีพิมพ์บทความเรื่องลังกาสุกะจากเอกสารจีนในปี พ.ศ.2459 ส่วนฌอร์จ เซเดซ์ได้ตีพิมพ์เรื่อง อาณาจักรศรีวิชัยเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2461 และ ในปีพ.ศ.2462-2463 รกคุโร่ คุวาตะได้ศึกษาเรื่องรักตมฤติกา (เมืองดินแดง) จากเอกสารจีน

จากนั้นนักอ่านจารึกชาวดัตช์หลายท่าน เช่น ฌองส์ ฟิลลิป โฟเกล เฆเรท ปีเตอร์ โรวเฟล์ ยาน โลดเวค มูนส์ ฟิลิปส์ ซามูเอล ฟาน รองเคล ฟรีดีช มาร์ติน ชนิตเกอร์ ปีเตอร์ วินเซนต์ ฟาน สไตน์ กาเลเฟลส์ และโยฮันส์ เกยเบร์ตุส เดอ คาสปาริส นักบูรพาวิทยาชาวฝรั่งเศส เช่น หลุยส์ ชาร์ลส์ เดเมส์และกาเบรียล แฟร์รองด์ และพระสารศาสน์พลขันท์ (เจอโรชาโม่ เยรินี่) ชาวอิตาเลียนได้ศึกษาจารึกและเอกสารในอินโดนีเซีย ไทยมาเลเซียและเวียดนามเกี่ยวกับศรีวิชัย ในปีพ.ศ.2467 ได้มีการก่อตั้งโตโยบุงโค (ห้องสมุดบูรพาทิศ) เพื่อศึกษาเอกสารจีนในญี่ปุ่น และในปีพ.ศ.2471 ญี่ปุ่นได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งจักรวรรดิไทโฮกุ ในไทเปซึ่งเป็นอาณานิคมของตน (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนักวิชาการญี่ปุ่นจะใช้เอกสารภาษาจีนและดัตช์เป็นหลัก ซึ่งงานของนักวิชาการเหล่านี้เช่น คุวาตะ คุวาบาร่า เอโนกิ และอิชิดะ ตีพิมพ์ในภาษาญี่ปุ่นจึงไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการชาวอินเดียอย่างราเมศ จันทรา มาชุมดาร์และนีละกัณฐะ ศาสตรีได้เข้ามาอ่านศิลาจารึกเกี่ยวกับศรีวิชัยซึ่งชัดเจนกว่านักอ่านชาวตะวันตก และในปีพ.ศ.2492 ศาสตรีได้ตีพิมพ์หนังสือ ประวัติศาสตร์ศรีวิชัย ในอินเดีย ยังมีนักบูรพาศึกษาชาวอังกฤษ เช่นเซอร์ ริชชาร์ด โอลาฟ วินสเตดท์ และฮอร์เรส เจฟฟรี ควอริทซ์ เวลส์ เข้ามาศึกษาเรื่องศรีวิชัยในมาเลเซียและไทย

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและญี่ปุ่นสูญเสียอาณานิคม นักวิชาการเหล่านี้จึงเดินทางกลับหลังจากสถาบันต่างๆถูกปิด หลังจากที่อินโดนีเซียได้รับเอกราชในปีพ.ศ.2490 นักอ่านจารึกชาวอินโดนีเซียอย่างปูรบัตจาราคา บุคฮารีและซุกโมโน สลาเม็ต มุลยานะและโมฮัมหมัด ยามิน และหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี ยังคงศึกษาเรื่องศรีวิชัยต่อไป ซึ่งนักวิชาการเหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกศึกษาหลักฐานชั้นต้นทางโบราณคดี ได้แก่ ปิแอร์ อีฟ-มองแกง เบนเน็ต บรอนสัน แจน วิสเซอร์แมน รอย ยอร์ดาน เอ็ดมันด์ แมคคินนอน แฮร์มาน คูลเค่ อูลี่ โคโซก มิเชล ฌัคส์-แอร์กูอัลช อาร์โล กริฟฟิทส์ โดมินิค โบนาสซ์ แสง มณวิทูร มานิตและศรีศักร วัลลิโภดม จิรพัฒน์ ประพันธุ์วิทยา จิตร ภูมิศักดิ์ ปรีชาและวัณณสาสน์ นุ่นสุข โทมัส ฮันเตอร์ เอริค ฟาน ไรน์ โนบุรุ คาราชิมา ยูทากะ อิวาโมโตะ จอห์น นอร์แมน มิคซิค อันโตน ซาคารอฟ ฯลฯ กลุ่มที่ 2 ศึกษาเอกสารจีนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับศรีวิชัย มีนักวิชาการชาวญี่ปุ่น เช่น นาโอจิโร่ ซุกิโมโต้ ฮิซะโมริ วาดะ โคโซ นาคาดะและนักวิชาการชาวจีน เช่น หันเจิ้นหัว ไต่อี้ซวน กู๋ไห่ หลินเจี่ยจิน และเฉินเอี้ยน แต่งานในภาษาญี่ปุ่นและจีนเหล่านี้ไม่เป็นที่แพร่หลายในระดับนานาชาติ แต่โชคยังดีที่มีนักวิชาการชาวจีนโพ้นทะเลที่รู้ภาษาอังกฤษ เช่น สวีหยุนเฉียว หวังกงอู่ เฉินยู่สง ดีเร็ค เฮงเทียมสูน และบิลลี่ โซเคียนลง และนักวิชาการชาวญี่ปุ่นที่รู้ภาษาอังกฤษ เช่น ซูมิโอะ ฟูกามิ ทาเคชิ ซูซูกิ นักวิชาการชาวอินเดียที่รู้ภาษาจีน เช่น เซน ตันเซน ละติกา ลาหิรี และนักวิชาการตะวันตกที่รู้ภาษาจีน เช่น พอล วีทลีย์ โอลิเวอร์ วอลเตอร์ โยฮันส์ คูร์ซ อังเคล่า ซ๊อทเทนฮามเมอร์ โคลดีน ลงบาร์ด-ซัลมง ยังแปลเอกสารจีนเกี่ยวกับศรีวิชัยเป็นภาษาอังกฤษอยู่ คูร์ซและวาดะได้ศึกษาเอกสารจีนอย่างละเอียด พบว่ามีการคัดลอกต่อๆกันมาจากเอกสารที่เก่ากว่า

มหาวิทยาลัยทั้งในและนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงศึกษาเรื่องศรีวิชัยได้แก่ School of Oriental and African Studies Cornell University, Leiden University สำนักศึกษาฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ โตโยบุงโค มหาวิทยาลัยเกียวโตและอื่นๆในญี่ปุ่น ศูนย์นาลันทา-ศรีวิชัย ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซียและมหาวิทยาลัยแห่งอินโดนีเซีย ในปีพ.ศ.2528 องค์กรรัฐมนตรีศึกษาแห่งอาเซียนได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีหลายโครงการรวมทั้งศรีวิชัยซึ่งการค้นคว้าทางโบราณคดีมีความก้าวหน้าไปมาก มีการใช้วิชาพันธุกรรมศาสตร์และภาษาศาสตร์เข้ามาช่วยค้นคว้าเป็นจำนวนมาก การขุดค้นทางโบราณคดีทั้งบนบกและใต้ทะเลเพิ่มเติมทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และหมู่เกาะทางชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาทำให้ทราบหลักฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายทางการค้าของสมาพันธรัฐศรีวิชัยเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
Beal, Samuel. 1883-1886. "Some Remarks Respecting a Place called Shi-li-fo-tsai Frequently Named in the Works of the Chinese Buddhist Pilgrim I-tsing, circ. 672." In Livre des merveilles de l’Inde par le capitaine Bozorg bin Sahriyar de Ramhormoz, by Peter Antonie Van der Lith, translated by Marcel Devic, 251-253. Leiden: EJ Brill.

Bretschneider, Emil. 1871. On the Knowledge the Ancient Chinese Possessed of the Arabs and the Arabian Colonies and other Western Countries Mentioned in Chinese Books. London: Trübner.

Cœdès, Georges. 1918. "Le Royaume de Çrīvijaya." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 18 (6): 1-36.

Crowfurd, John J. 1820. History of the Archipelago Containing an Account of the Manners, Arts, Languages, Religions, Institutions, and Commerce of his Inhabitants. Vol. 2. Edinburg: A. Constable and Company.

Fujita Toyohachi 藤田丰八. 1913. "狼牙脩国考 [A Study of The Country of Lang-Kae-Siu (Langkasuka)]." Toyo Gakuho 东洋学报 (The Journal of the Research Department of the Toyo Bunko) 3 (1-2).

Groeneveldt, Willem Pieter. 1876. Notes on the Malay Archipelago and Malacca Complied from Chinese Sources. Vol. XXIX. Batavia: W. Bruining.

Kurz, Johannes L. 2022. "Sanfoqi 三佛齐 as a Designation for Srivijaya." China and Asia 4 (1): 3-37.

Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1919. "赤土考 [A Study of Chi-Tu]." Toyo Gakuho 东洋学报 (Journal of the Research Department of the Toyo Bunko) 9 (3): 347-382.
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1920. "赤土考补遗 [A Further Study of Chi-Tu]." Toyo Gakuho 东洋学报 (Journal of the Research Department of the Toyo Bunko) 10 (1): 127-148.

Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1936. "三佛齐考 赤土, 室季佛逝, 三佛齐 [A New Study of Srivijaya: Chi-Tu, Shi-Li-Fo-Shi, San-Fo-Qi]." 文政学部史学科研究年报 (History Research Annual Report of the Faculty of Arts and Political Science) (Taihoku (Taipei) Imperial University 台北帝国大学) 3.

Mayers, W. F. 1875. "Chinese Explorations of the Indian Ocean during the Fifteenth Century." The China Review 4 (3): 173-190.

Nakazumi Akira 永積昭. 1988b. "Historical Studies." Bijdragen tot de Taal-, Land-en Volkenkunde 144 (2/3): 215-229.

Nakazumi Akira 永積昭. 1988a. "Japanese Studies on Indonesia." Bijdragen tot de Taal-, Land-en Volkenkunde 144 (2/3): 211-214.

Pelliot, Paul. 1904. "Deux Itinéraires de Chine en Inde à la fin du VIIIe siècle." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient IV.

Raffles, Th. S. 1817. The History of Java II. London.

Soejono, Raden Panji. 2009. "The Genesis of Indonesian Archeology." In The Indonesia Reader: History, Culture, Politics, by Tineke Hellwig and Eric Fagliacozz, 27-33. Durham, NC: Duke University Press.

Wada Hisamori 和田久徳. 1950. "唐代の南海遣使 [A Chinese Embassy to the Southern Seas Countries in the Middle of Seventh Century]." Toyo Gakuho 东洋学报 (Journal of the Research Department of the Toyo Bunko) 33 (1): 64-74.
Yijing 义净. 1966 (1896). A Record of the Buddhist Religion as Practised in India and the Malay Archipelago (AD671-695) Entitled Nanhai jigui neifazhuan 南海寄归内法传. Translated by Takakusu Junjiro 高楠顺次郎. Delhi: Munshiram Manoharlal.

Yijing 义净. 1897. Voyages des Pèlerins bouddhistes. Mémoire, Composé à L’époque de la grande Dynastie T’ang sur les Religieux éminents quiallèrent chercher la Loi dans les Pays d'Occident, par I-tsing Entitled Datang xiyu qiufa gaosengzhuan大唐西域求法高僧传. Translated by Édouard Chavanne. Paris: Ernest Leroux.



กำลังโหลดความคิดเห็น