โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
พงศาวดารหมิงสือ (明史) หลังจากราชวงศ์หมิงขับไล่จักรพรรดิหยวนฮุ่ยจงออกไปจากจีนในปีพ.ศ.1911 จักรพรรดิหมิงไท่จู่ (พ.ศ.1871-1941) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงส่งทูตไปหลายอาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม จามปา เป็นต้น เพื่อรื้อฟื้นระบบบรรณาการและสถานภาพของจีน โดยมีทูตชื่อจ้าวจู่ถูกส่งมาที่เกาะสุมาตราในปีพ.ศ.1913 เพื่อตอบแทนคณะทูตที่จักรพรรดิหมิงไท่จู่ส่งมาที่เกาะสุมาตรา มหาราชาหลายองค์จากอาณาจักรที่แตกไปจากมลายูปุระ เช่น มหาราชาปรภู (马哈剌刹八拉卜 หม่า-ฮา-ลา-ชา-ป๊า-หล่า-ผู่) ส่งทูตชื่อ ยู่-ตี้-ลี่-หม่า-ฮั่น-อี้-ลี่-หย่า-ซือ (玉的力马罕亦里牙思) ไปจีน ในปี พ.ศ.1914 มหาราชาธรรมชนัตโช (พ.ศ.1893-1918) หรือ (怛麻沙那阿者 ต้า-หมา-ช้า-น่า-อา-เจื๋อ) ได้ส่งทูตไปราชสำนักหมิงชื่อปาติห์ (八蹄足翰 บา-ตี่-ซู่-หัน) จากวันที่ 8 ตุลาคม-4 พฤศจิกายน พ.ศ.1917 และกู-เจ้า-เสียน-เฉิง-อู่ (库朝鲜生路) ในเดือนมีนาคม พ.ศ.1918 ธรรมะชนัตโชน่าจะประทับอยู่ที่ธรรมศรายา ในปีพ.ศ.1916 มหาราชาแห่งปาเล็มบัง (麻那哈寳林邦ม้า-น่า-ฮา-เป้า-หลิน-ปัง) ส่งทูตชื่อ ม่อ-หน่า-เซื่อ-เติ้ง (沒那遐噔) ไปจีนในปีพ.ศ.1917 และมหาราชาศรี สันนะกลิยา (僧伽烈宇兰 เซิ้ง-เจี้ย-เลี่ย-หยู-หลัน) ส่งทูตชื่อถัน-เมิ่ง-หม่า-ฮา-หมอ (谈蒙马哈麻) ไปจีนในปีพ.ศ.1918 วอลเตอร์เชื่อว่าเป็นคนๆเดียวกับอาทิตยวรมันในพงศาวดารหยวนสือ มหาราชาแห่งธรรมศรายาพยายามชิงพื้นที่อิทธิพลที่สูญเสียไปของสมาพันธรัฐศรีวิชัยกลับคืนมาแต่ล้มเหลวเพราะการต่อต้านอย่างเข้มแข็งของเมืองทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราในช่วงนี้เมืองลัมบรี เคอลิ ทาเมียง ศรีวิชัย (จัมบิ) ปาเล็มบัง ลิงคะโฟร์ สิงคโปร์ กาลมาตา สมุทราค้าขายกับจีน
มหาราชาวูนิ (พ.ศ.1918-1920) (麻那者巫里ม้า-น่า-เจื๋อ-อู๊-หลี) ขึ้นครองราชย์ต่อจากมหาราชาธรรมชนัตโชที่ธรรมศรายาในปีพ.ศ.1919 พระองค์ซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์เมาลิต้องการเป็นอิสระจากอาณาจักรมัชปาหิตจึงส่งทูตชื่อเซิ๊ง-อา-เลี่ย-จู่-เจี่ยน (生阿烈足谏) เข้าเฝ้าจักรพรรดิหมิงไท่จู่แจ้งข่าวการสวรรคตของพระราชบิดาและขอให้ราชสำนักหมิงให้รับรองว่าอาณาจักรธรรมศรายาของพระองค์เป็นผู้สืบทอดของศรีวิชัยโดยชอบธรรมเนื่องจากทูตราชวงศ์หมิงที่บรูไนไม่รับรองอำนาจของมัชปาหิตเหนือบรูไนทั้งๆที่เคยรับรองมาก่อน แม้ว่าราชสำนักหมิงเคยรับรองอำนาจมัชปาหิตเหนือศรีวิชัยมาก่อน แต่วูนิต้องการเป็นอิสระ ทูตคณะนี้เป็นคณะสุดท้ายจากศรีวิชัยไปจีน เนื่องจากวูนิไม่กล้าสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาโดยที่ราชวงศ์หมิงไม่รับรอง จักรพรรดิหมิงไท่จู่ส่งทูตพิเศษไปแต่งตั้งวูนิเป็นมหาราชาแห่งศรีวิชัย แต่อาณาจักรมัชปาหิตดักจับทูตพิเศษจีนที่ราชสำนักหมิงส่งมาเพื่อรับรองแล้วฆ่าเสียที่รู้เรื่องนี้ เนื่องจากจีนไม่รับรองอำนาจของมัชปาหิตเหนือเกาะสุมาตรา พระเจ้าฮายัม วูรูคแห่งมัชปาหิตส่งกองทัพเรือชวาบุกเมืองต่างๆในเกาะสุมาตราและสกัดกั้นไม่ให้ส่งทูตไปจีน เรือรบมัชปาหิตติดปืนใหญ่เซตบังและใหญ่กว่าเรือรบจีนในยุคนั้นหรือโปรตุเกสในยุคถัดมามาก ศรีวิชัยสู้กองทัพเรือมัชปาหิตไม่ได้ ในปีพ.ศ.1920 พระเจ้าฮายัม วูรุคแห่งอาณาจักรมัชปาหิตจึงส่งกองทัพมาโจมตีปาเล็มบังและจัมบิไม่มีผู้ใดทราบชะตากรรมของพระองค์
ทูตจากมัชปาหิตไปจีนในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.1920 ได้รับการต้อนรับจากราชสำนักหมิงเป็นอย่างดีแต่ทูตในปีพ.ศ.1921 ถูกจับกุม จากหนังสือหวงหมิง สือฝ่าลู่ (皇明世法录บันทึกกฎหมายโลกของจักรพรรดิหมิง) จักรพรรดิหมิงไท่จู่ทรงทราบว่ามัชปาหิตฆ่าทูตที่ส่งไปรับรองวูนิแต่ราชสำนักหมิงก็ไม่ได้ทำการตอบโต้เนื่องจากกองทัพเรือจีนในยุคนั้นไม่เข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับอาณาจักรมัชปาหิตได้ พงศาวดารหมิงสือบันทึกว่าจักรพรรดิหมิงไท่จู่กักขังทูตมัชปาหิตไว้เกิน 1 เดือนเป็นการลงโทษในการฆ่าทูตจีนที่ส่งไปศรีวิชัย กิจกรรมทางการค้าย้ายจากจัมบิไปปาเล็มบังและในที่สุดอาณาจักรมัชปาหิตจึงผนวกอาณาจักรธรรมศรายาและมลายูปุระที่สืบทอดมาจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปีพ.ศ.1940 โดยส่งขุนนางจากโทรวูลันไปปกครองจึงถือว่าสิ้นสุดสมาพันธรัฐศรีวิชัยซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนครินทราธิราช (พ.ศ.1938-1959) แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ลูกหลานของราชวงศ์เมาลิก็ได้ไปตั้งอาณาจักรทูมาสิก (เทมาเส็ก) อาณาจักรมะละกาและอาณาจักรยะโฮร์ในเวลาต่อมา
สมมติฐานเกี่ยวกับวาระสุดท้ายของสมาพันธรัฐศรีวิชัยนั้นมีอยู่ 2 ทฤษฎี ทฤษฎีแรกเชื่อว่าหลังจากมหาราชาอุทัยอาทิตยวรมันย้ายเมืองหลวงหนีอาณาจักรมัชปาหิตไปปะการุยุงประมาณพ.ศ.1890 หลังจากรายาปัตนิกายาตรีสวรรคตในปีพ.ศ.1893 และอาทิตยวรมันสวรรคตในปีพ.ศ.1918 โดยเชื่อว่าพระองค์เปลี่ยนชื่อเป็นมหาราชาปรภูและธรรมชนัตโชและปาเล็มบังส่งทูต 2 คณะ จัมบิ 1 คณะและอาทิตยวรมันกับลูกหลาน 3 คณะทฤษฎีที่ 2 อ้างจากหลักฐานบรรณาการไปราชสำนักหมิงที่มีชื่อมหาราชาหลายพระองค์ สันนิษฐานว่าหลังจากอาทิตยวรมันย้ายไปปะการุยุงประมาณปีพ.ศ.1890 แล้ว คชา มาดาห์อาจจะแบ่งธรรมศรายาเป็นหลายเมืองอาณาจักรมัชปาหิตจึงแต่งตั้งเจ้าชายเชื้อสายราชวงศ์เมาลิองค์อื่นปกครองธรรมศรายาและเมืองที่แบ่งออกไปต่อไปในฐานะเมืองขึ้นของมัชปาหิต อาณาจักรมัชปาหิตปล่อยให้พระองค์ปกครองมลายูปุระที่อยู่ตอนในเกาะสุมาตราจนถึงปีพ.ศ.1921 พระองค์แต่งตั้งอนังควรมันให้เป็นรัชทายาทแต่ไม่ได้ขึ้นครองราชย์เพราะปะการุยุงล่มสลายหลังจากอาณาจักรมัชปาหิตทำลายปาเล็มบังและจัมบิในปี พ.ศ.1921 อย่างไรก็ตามทฤษฎีที่ 2 เป็นไปได้มากกว่า เพราะชื่อเซิ้ง-เจี้ย-เลี่ย-หยู-หลัน ในหยวนสือหมายถึงอาทิตยวรมันในหมิงสือ ดังนั้นปรภูและธรรมะธนัตโชเป็นกษัตริย์องค์อื่นและวูนิไม่ใช่อนังควรมัน เมืองผู้นำศรีวิชัยตั้งอยู่ที่จัมบิ ในปลายพุทธศตวรรษที่ 14 หรือก่อนหน้านั้นในกลางพุทธศตวรรษที่ 13 เพราะว่าบันดาหรา (Bendahara) เขียนพงศาวดารมลายูในปีพ.ศ.2155ความแม่นยำจึงเป็นที่น่าสงสัย
เอกสารอ้างอิง
Bonatz, Dominik, John Norman Miksic, J. David Neidel, and Mai Lin Tjoa-Bonatz. 2009. From Distant Tales: Archeology and Ethnohistory in the Highland of Sumatra. Newcastle, UK: Cambridge Scholar Publishing.
Chen Renxi 陈仁锡. 1965 (1628-1644). Huangming shifalu 皇明世法录 [Records of Ming Emperor's World Law]. Edited by Wu Xiangxiang 吴相湘. Taipei: Taiwan xuesheng shuju 台湾学生书局.
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.
Song Lian 宋濂. 1976 (1370). Yuanshi 元史 [Yuan Annals]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wolters, Oliver Williams. 1970. The Fall of Srivijaya in Malay History. Ithaca, NY: Cornell University Press.
Zhang Tingyu 张廷玉 et al. 1995 (1739). Mingshi 明史 [Ming Annals]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.
พงศาวดารหมิงสือ (明史) หลังจากราชวงศ์หมิงขับไล่จักรพรรดิหยวนฮุ่ยจงออกไปจากจีนในปีพ.ศ.1911 จักรพรรดิหมิงไท่จู่ (พ.ศ.1871-1941) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงส่งทูตไปหลายอาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม จามปา เป็นต้น เพื่อรื้อฟื้นระบบบรรณาการและสถานภาพของจีน โดยมีทูตชื่อจ้าวจู่ถูกส่งมาที่เกาะสุมาตราในปีพ.ศ.1913 เพื่อตอบแทนคณะทูตที่จักรพรรดิหมิงไท่จู่ส่งมาที่เกาะสุมาตรา มหาราชาหลายองค์จากอาณาจักรที่แตกไปจากมลายูปุระ เช่น มหาราชาปรภู (马哈剌刹八拉卜 หม่า-ฮา-ลา-ชา-ป๊า-หล่า-ผู่) ส่งทูตชื่อ ยู่-ตี้-ลี่-หม่า-ฮั่น-อี้-ลี่-หย่า-ซือ (玉的力马罕亦里牙思) ไปจีน ในปี พ.ศ.1914 มหาราชาธรรมชนัตโช (พ.ศ.1893-1918) หรือ (怛麻沙那阿者 ต้า-หมา-ช้า-น่า-อา-เจื๋อ) ได้ส่งทูตไปราชสำนักหมิงชื่อปาติห์ (八蹄足翰 บา-ตี่-ซู่-หัน) จากวันที่ 8 ตุลาคม-4 พฤศจิกายน พ.ศ.1917 และกู-เจ้า-เสียน-เฉิง-อู่ (库朝鲜生路) ในเดือนมีนาคม พ.ศ.1918 ธรรมะชนัตโชน่าจะประทับอยู่ที่ธรรมศรายา ในปีพ.ศ.1916 มหาราชาแห่งปาเล็มบัง (麻那哈寳林邦ม้า-น่า-ฮา-เป้า-หลิน-ปัง) ส่งทูตชื่อ ม่อ-หน่า-เซื่อ-เติ้ง (沒那遐噔) ไปจีนในปีพ.ศ.1917 และมหาราชาศรี สันนะกลิยา (僧伽烈宇兰 เซิ้ง-เจี้ย-เลี่ย-หยู-หลัน) ส่งทูตชื่อถัน-เมิ่ง-หม่า-ฮา-หมอ (谈蒙马哈麻) ไปจีนในปีพ.ศ.1918 วอลเตอร์เชื่อว่าเป็นคนๆเดียวกับอาทิตยวรมันในพงศาวดารหยวนสือ มหาราชาแห่งธรรมศรายาพยายามชิงพื้นที่อิทธิพลที่สูญเสียไปของสมาพันธรัฐศรีวิชัยกลับคืนมาแต่ล้มเหลวเพราะการต่อต้านอย่างเข้มแข็งของเมืองทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราในช่วงนี้เมืองลัมบรี เคอลิ ทาเมียง ศรีวิชัย (จัมบิ) ปาเล็มบัง ลิงคะโฟร์ สิงคโปร์ กาลมาตา สมุทราค้าขายกับจีน
มหาราชาวูนิ (พ.ศ.1918-1920) (麻那者巫里ม้า-น่า-เจื๋อ-อู๊-หลี) ขึ้นครองราชย์ต่อจากมหาราชาธรรมชนัตโชที่ธรรมศรายาในปีพ.ศ.1919 พระองค์ซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์เมาลิต้องการเป็นอิสระจากอาณาจักรมัชปาหิตจึงส่งทูตชื่อเซิ๊ง-อา-เลี่ย-จู่-เจี่ยน (生阿烈足谏) เข้าเฝ้าจักรพรรดิหมิงไท่จู่แจ้งข่าวการสวรรคตของพระราชบิดาและขอให้ราชสำนักหมิงให้รับรองว่าอาณาจักรธรรมศรายาของพระองค์เป็นผู้สืบทอดของศรีวิชัยโดยชอบธรรมเนื่องจากทูตราชวงศ์หมิงที่บรูไนไม่รับรองอำนาจของมัชปาหิตเหนือบรูไนทั้งๆที่เคยรับรองมาก่อน แม้ว่าราชสำนักหมิงเคยรับรองอำนาจมัชปาหิตเหนือศรีวิชัยมาก่อน แต่วูนิต้องการเป็นอิสระ ทูตคณะนี้เป็นคณะสุดท้ายจากศรีวิชัยไปจีน เนื่องจากวูนิไม่กล้าสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาโดยที่ราชวงศ์หมิงไม่รับรอง จักรพรรดิหมิงไท่จู่ส่งทูตพิเศษไปแต่งตั้งวูนิเป็นมหาราชาแห่งศรีวิชัย แต่อาณาจักรมัชปาหิตดักจับทูตพิเศษจีนที่ราชสำนักหมิงส่งมาเพื่อรับรองแล้วฆ่าเสียที่รู้เรื่องนี้ เนื่องจากจีนไม่รับรองอำนาจของมัชปาหิตเหนือเกาะสุมาตรา พระเจ้าฮายัม วูรูคแห่งมัชปาหิตส่งกองทัพเรือชวาบุกเมืองต่างๆในเกาะสุมาตราและสกัดกั้นไม่ให้ส่งทูตไปจีน เรือรบมัชปาหิตติดปืนใหญ่เซตบังและใหญ่กว่าเรือรบจีนในยุคนั้นหรือโปรตุเกสในยุคถัดมามาก ศรีวิชัยสู้กองทัพเรือมัชปาหิตไม่ได้ ในปีพ.ศ.1920 พระเจ้าฮายัม วูรุคแห่งอาณาจักรมัชปาหิตจึงส่งกองทัพมาโจมตีปาเล็มบังและจัมบิไม่มีผู้ใดทราบชะตากรรมของพระองค์
ทูตจากมัชปาหิตไปจีนในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.1920 ได้รับการต้อนรับจากราชสำนักหมิงเป็นอย่างดีแต่ทูตในปีพ.ศ.1921 ถูกจับกุม จากหนังสือหวงหมิง สือฝ่าลู่ (皇明世法录บันทึกกฎหมายโลกของจักรพรรดิหมิง) จักรพรรดิหมิงไท่จู่ทรงทราบว่ามัชปาหิตฆ่าทูตที่ส่งไปรับรองวูนิแต่ราชสำนักหมิงก็ไม่ได้ทำการตอบโต้เนื่องจากกองทัพเรือจีนในยุคนั้นไม่เข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับอาณาจักรมัชปาหิตได้ พงศาวดารหมิงสือบันทึกว่าจักรพรรดิหมิงไท่จู่กักขังทูตมัชปาหิตไว้เกิน 1 เดือนเป็นการลงโทษในการฆ่าทูตจีนที่ส่งไปศรีวิชัย กิจกรรมทางการค้าย้ายจากจัมบิไปปาเล็มบังและในที่สุดอาณาจักรมัชปาหิตจึงผนวกอาณาจักรธรรมศรายาและมลายูปุระที่สืบทอดมาจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปีพ.ศ.1940 โดยส่งขุนนางจากโทรวูลันไปปกครองจึงถือว่าสิ้นสุดสมาพันธรัฐศรีวิชัยซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนครินทราธิราช (พ.ศ.1938-1959) แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ลูกหลานของราชวงศ์เมาลิก็ได้ไปตั้งอาณาจักรทูมาสิก (เทมาเส็ก) อาณาจักรมะละกาและอาณาจักรยะโฮร์ในเวลาต่อมา
สมมติฐานเกี่ยวกับวาระสุดท้ายของสมาพันธรัฐศรีวิชัยนั้นมีอยู่ 2 ทฤษฎี ทฤษฎีแรกเชื่อว่าหลังจากมหาราชาอุทัยอาทิตยวรมันย้ายเมืองหลวงหนีอาณาจักรมัชปาหิตไปปะการุยุงประมาณพ.ศ.1890 หลังจากรายาปัตนิกายาตรีสวรรคตในปีพ.ศ.1893 และอาทิตยวรมันสวรรคตในปีพ.ศ.1918 โดยเชื่อว่าพระองค์เปลี่ยนชื่อเป็นมหาราชาปรภูและธรรมชนัตโชและปาเล็มบังส่งทูต 2 คณะ จัมบิ 1 คณะและอาทิตยวรมันกับลูกหลาน 3 คณะทฤษฎีที่ 2 อ้างจากหลักฐานบรรณาการไปราชสำนักหมิงที่มีชื่อมหาราชาหลายพระองค์ สันนิษฐานว่าหลังจากอาทิตยวรมันย้ายไปปะการุยุงประมาณปีพ.ศ.1890 แล้ว คชา มาดาห์อาจจะแบ่งธรรมศรายาเป็นหลายเมืองอาณาจักรมัชปาหิตจึงแต่งตั้งเจ้าชายเชื้อสายราชวงศ์เมาลิองค์อื่นปกครองธรรมศรายาและเมืองที่แบ่งออกไปต่อไปในฐานะเมืองขึ้นของมัชปาหิต อาณาจักรมัชปาหิตปล่อยให้พระองค์ปกครองมลายูปุระที่อยู่ตอนในเกาะสุมาตราจนถึงปีพ.ศ.1921 พระองค์แต่งตั้งอนังควรมันให้เป็นรัชทายาทแต่ไม่ได้ขึ้นครองราชย์เพราะปะการุยุงล่มสลายหลังจากอาณาจักรมัชปาหิตทำลายปาเล็มบังและจัมบิในปี พ.ศ.1921 อย่างไรก็ตามทฤษฎีที่ 2 เป็นไปได้มากกว่า เพราะชื่อเซิ้ง-เจี้ย-เลี่ย-หยู-หลัน ในหยวนสือหมายถึงอาทิตยวรมันในหมิงสือ ดังนั้นปรภูและธรรมะธนัตโชเป็นกษัตริย์องค์อื่นและวูนิไม่ใช่อนังควรมัน เมืองผู้นำศรีวิชัยตั้งอยู่ที่จัมบิ ในปลายพุทธศตวรรษที่ 14 หรือก่อนหน้านั้นในกลางพุทธศตวรรษที่ 13 เพราะว่าบันดาหรา (Bendahara) เขียนพงศาวดารมลายูในปีพ.ศ.2155ความแม่นยำจึงเป็นที่น่าสงสัย
เอกสารอ้างอิง
Bonatz, Dominik, John Norman Miksic, J. David Neidel, and Mai Lin Tjoa-Bonatz. 2009. From Distant Tales: Archeology and Ethnohistory in the Highland of Sumatra. Newcastle, UK: Cambridge Scholar Publishing.
Chen Renxi 陈仁锡. 1965 (1628-1644). Huangming shifalu 皇明世法录 [Records of Ming Emperor's World Law]. Edited by Wu Xiangxiang 吴相湘. Taipei: Taiwan xuesheng shuju 台湾学生书局.
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.
Song Lian 宋濂. 1976 (1370). Yuanshi 元史 [Yuan Annals]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wolters, Oliver Williams. 1970. The Fall of Srivijaya in Malay History. Ithaca, NY: Cornell University Press.
Zhang Tingyu 张廷玉 et al. 1995 (1739). Mingshi 明史 [Ming Annals]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.