โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
บาททุกา ศรี มหาราชาธิราช ศรีมัตตะ ศรี อัคเรนทราวรมัน (ประมาณ พ.ศ.1859-1890) ในจารึกปะการุยุงที่ 8 (พ.ศ.1859) กล่าวว่าพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากมหาราชา ศรีมัตตะ ตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะและก่อนมหาราชา ศรีมัตตะ ศรี อุทัยอาทิตยวรมัน ในปีพ.ศ.1859 พระองค์รับสั่งให้ขุดคลองสร้างระบบชลประทานเพื่อการเกษตรที่สุระวษา (ปัจจุบันคือซูรัวโซ) แต่ระบบชลประทานนี้เสร็จสิ้นลงในรัชสมัยของมหาราชา ศรีอุทัยอาทิตยวรมันซึ่งเป็นหลานของพระองค์ พระองค์สร้างระบบชลประทานเนื่องจากธรรมศรายาต้องหันมาพึ่งเกษตรกรรมแทนการค้าต่างประเทศเพราะอิทธิพลของสมาพันธรัฐศรีวิชัยลดลงจนไม่สามารถพึ่งพาการค้าต่างประเทศได้อีก ในเวลาเดียวกันกับบาทหลวงโอเดริกแห่งโปรเดโนเน่แวะที่ศรีวิชัยในราวปีพ.ศ.1873 และอิบึน บาตตูต้า (Ibn Battutah) นักเดินทางชาวมอรอคโค ได้เดินทางมาที่สมุทราในปีพ.ศ.1888-1889 ก็พบว่าผู้ปกครองที่นั่นนับถือศาสนาอิสลามลัทธิซูฟียะห์ ซึ่งแพร่หลายมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาจนถึงยุคปัจจุบัน
ในปี พ.ศ 1889 อัครมหาเสนาบดีคชา มาดา (Gadjah Mada) มหาเสนาบดีผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรมัชปาหิตได้ส่งกองทัพเรือเข้ามายึดครองซึ่งเรือรบมัชปาหิตนั้นมีต้นแบบจากเรือรบสิงหส่าหรีที่ใหญ่กว่าเรือรบศรีวิชัยหลายเท่าและติดตั้งปืนใหญ่เซตบังจึงรบชนะได้ และได้แต่งตั้งให้หลานของพระองค์ที่เป็นขุนนางของมัชปาหิตขึ้นเป็นกษัตริย์ที่ธรรมศรายาแทน ในช่วงนี้นครศรีธรรมราชเป็นอิสระจากอาณาจักรสุโขทัยและได้แผ่อำนาจเข้ามาทางตอนใต้ของแหลมมลายูอีก พระองค์มีพระโอรสชื่อพิชเยนทราวรมันแต่ไม่ได้ขึ้นครองราชย์เนื่องจากถูกอาณาจักรมัชปาหิตยึดครอง ในช่วงนี้เมืองทาเมียง ลัมบรี เตอลี่ จัมบิ ปาเล็มบัง สิงคโปร์ สมุทรา ค้าขายโดยตรงกับจีน
มหาราชา ศรีมัตตะ ศรี อุทัยอาทิตยวรมัน ประทัปปาปะระกรม ราเชนทรา เมาลิมาลิ วรมะเทวะ (ประมาณพ.ศ.1890-พ.ศ.1918) หรือเรียกสั้นๆว่ามหาราชาอาทิตยวรมันในจารึกคุโบราโชที่ 1 (พ.ศ.1890) ที่พบที่ ลิโม คาอุมทางตะวันตกของเกาะสุมาตราระบุว่าพระองค์มีพระราชมารดาคือ เจ้าหญิงดาราจิงกา เจ้าหญิงแห่งธรรมศรายาซึ่งมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับรายาปัตนิกายาตรีพระราชธิดาองค์สุดท้องของพระเจ้าเขตร์นครซึ่งต่อมาเป็นกษัตริย์ของมัชปาหิตและกายาตรีคอยปกป้องพระองค์เสมอ บิดาของพระองค์เป็นขุนนางของอาณาจักรมัชปาหิตชื่ออัทวายาวรมัน พระองค์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าชัยนครกษัตริย์ของมัชปาหิต (พ.ศ.1852-1871) และเป็นหลานตาของมหาราชา ศรีมัตตะ ตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะพระราชบิดาของเจ้าหญิงดาราจิงกา อัครมหาเสนาบดีคชา มาดาแต่งตั้งพระองค์เป็นข้าหลวงเดินทางมาธรรมศรายาประมาณพ.ศ.1886-1890 หลังจากปราบธรรมศรายาและโค่นมหาราชา ศรีอัคเรนทราวรมันลง หลังจากรบชนะบาหลีพระองค์ได้รับตำแห่งเป็นวเรทมนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางสำคัญของอาณาจักรมัชปาหิตและเอาตำแหน่งนี้ใช้ทหารมัชปาหิตบุกยึดภาคตะวันออกของเกาะสุมาตราและตั้งตนเป็นกษัตริย์โดยอ้างการเป็นหลานตาของมหาราชา ศรีมัตตะ ตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะ ในปีพ.ศ.๑๘๙๓ หลังจากรายาปัตนิกายาตรีที่เคยปกป้องพระองค์ในราชสำนักมัชปาหิตมาโดยตลอดเสด็จสวรรคต พระองค์จึงย้ายเมืองหลวงจากธรรมศรายาแถวสุไหงลางสาตตอนกลางแม่น้ำบาตังฮารีลึกเข้าไปที่ปะการุยุงเพื่อควบคุมการค้าทองคำระหว่าง พ.ศ.1890-1918 และตั้งชื่อเมืองหลวงใหม่นี้ว่ามลายูปุระ พระองค์มีพระโอรสชื่อ อนังควรมัน การย้ายครั้งนี้เพื่อหนีอิทธิพลของมัชปาหิต จากนั้นจึงประกาศอิสรภาพ
พงศาวดารหยวนสือระบุว่าพระองค์เป็นราชทูตของอาณาจักรมัชปาหิตไปจีน 2 ครั้งเมื่อปีพ.ศ.1868 ในสมัยจักรพรรดิหยวนไท่ติ้ง (พ.ศ.1866-1871) และปีพ.ศ.1875 ในสมัยจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง (พ.ศ.1875-1911) ซึ่งพงศาวดารหยวนสือเรียกพระองค์ในชื่อว่าเซิ้ง-เจี้ย-เลี่ย-หยู-หลัน (僧伽烈宇兰) น่าจะเป็นคนเดียวกันกับมหาราชาศรี สันนะกลิยาในหมิงสือ จากบทกวีของพราราตอน พระองค์น่าจะเกิดในช่วงปีพ.ศ.1837-1853 ที่โทรวูลันเมืองหลวงของอาณาจักรมัชปาหิตทางตะวันออกของเกาะชวา
ในปี พ.ศ.1886 พระองค์ช่วยบูรณะเทวรูปพระโพธิสัตว์มัญชูศรีที่จันฑิจาโกทางตะวันออกของเกาะชวาที่พระเจ้าเขตร์นครแห่งอาณาจักรสิงหส่าหรีสร้างเพื่ออุทิศให้แก่พระเจ้าวิษณุธาราที่เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าเขตร์นครก่อนหน้านี้ มีการค้นพบจารึกเกี่ยวกับพระองค์เป็นจำนวนมากในบริเวณหลายๆเมืองในเกาะสุมาตรา เช่นจารึกคุโบราโชที่ 1 (พ.ศ.1890) เรียกพระองค์ว่า กนกเมทินทรา หรือ เจ้าแห่งโลกทองคำ ในจารึกภาษาสันสกฤตแบบมลายูด้านหลังของเทวรูปพระโพธิสัตว์อโมกฆบาศโลเกศวรพระองค์ย้ายมาจากสุไหงลางสาตมายังที่ค้นพบที่รามบาฮัน ทางตะวันตกของเกาะสุมาตราจารึกในปีพ.ศ.1890 อาจจะแต่งโดยพระองค์เอง สร้างไว้เพื่อระลึกถึงบทบาทของพระองค์ในฐานะที่เป็นผู้ปกป้องและให้สวัสดิการแก่ประชาชนชาวมลายูปุระด้วยอำนาจแห่งพระโพธิสัตว์อโมกฆบาศโลเกศวร ที่มลายูปุระพระองค์ใช้พระนามว่า “มหาราชาศรีมัตตะศรีอุทัยอาทิตยวรมัน ประทัปปาปรากรม ราเชนทรา เมาลิมาลิ วรมะเทวะ” ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าเป็นผนวกราชทินนามที่ใช้ในสมาพันธรัฐศรีวิชัยและอาณาจักรมลายูเข้าด้วยกันโดยใส่พระนาม “ศรีมัตตะ” และ “เมาลิ” เพื่อความชอบธรรมในการครองราชย์ในจารึกของพระองค์ระบุว่าพระองค์นับถือพุทธศาสนาแบบตันตระ พระองค์ครองราชย์ถึงปี พ.ศ.1918 ซึ่งมีจารึกชิ้นสุดท้ายกล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นเจ้าแห่งสุระวษา และซูรัวโซหมายถึงอาณาบริเวณปะการูยูง อาณาจักรของชาวมินังกระเบา พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่ออายุ 80 ปี โดยพระองค์สร้างจารึกไว้ที่ปะการุยุงแถวทหนาห์ ดาตาร์ทั้งหมด 30 หลักเช่น ปะการุยุงที่ 1 (บุกิต กอมบัก พ.ศ.1879) ปะการุยุงที่ 2 (พ.ศ.1916) ปะการุยุงที่ 9 (พ.ศ.1912) รัมบาฮัน (พ.ศ.1912) และสุระวสา (ซูรัวโซ่ที่ 1 พ.ศ.1918) แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่ทนาห์ ดาตาร์ บูกิต กอมบักและบูกิต คินาร์แสดงระบบการตั้งถิ่นฐานในใจกลางมินังกระเบา สุมาตราตะวันตกอันเป็นที่ประทับตอนในของอาทิตยวรมัน พระองค์ได้นำรูปแบบราชสำนักและกฎหมายลายลักษณ์อักษรจากมัชปาหิตในเกาะชวามาใช้แทนกฎหมายจารีตในมลายูปุระที่สืบทอดมาจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยแต่เดิมโดยตั้งชื่อว่านิติสาระธัมมัจยาค้นพบที่เกรินจี (Kerinci) บนเกาะสุมาตรา
บทกวีนครเขตร์คามระบุว่าเมืองศรีวิชัยหลายเมืองเป็นเมืองขึ้นมัชปาหิต วังต้าหยวนกล่าวถึงทัน-ยาง (ทัม-เยียง) หรือทาเมียงใกล้กับอ่าอารุหรือฮารุในบันทึกหม่าหวน ลามูรีส่งออกสินค้าจากบารุส ปา-ทา (ประดับ?) ตั้งอยู่ระหว่างปาไซกับอารุ เจี้ยน-ผีคือแคมเบย์ (คัมปาย) ในนครเขตร์คามซึ่งต้องเดินเรือ 5 วันจากลามูรีใกล้กับโกตา ราชาในอาเจะห์ ฮารุ (อารุ) หรือทาเมียงอยู่ใกล้กับเกาะคัมปาย นครเขตร์คามและพาราราตอนกล่าวถึง ตูมิฮัง เฟยซิน กล่าวว่าตูมิฮังอยู่ใกล้ฮารุ แต่เดินเรือใช้เวลา 2 วันจากมะละกา คัมปายเป็นเมืองขึ้นของจัมบิ เจ้าเมืองทาเมียง-อารุส่งน้องชายไปเป็นตัวประกันที่ราชสำนักหยวน
เอกสารอ้างอิง
Bonatz, Dominik, John Norman Miksic, J. David Neidel, and Mai Lin Tjoa-Bonatz. 2009. From Distant Tales: Archeology and Ethnohistory in the Highland of Sumatra. Newcastle, UK: Cambridge Scholar Publishing.
Fei Xin 费信. 1996. Hsing-chʻa-sheng-lan 星槎胜览: the Overall Survey of the Star Raft. Edited by Roderich Ptak. Translated by J. V. G. Mills. Wiesbaden, Germany: Otto Harrassowitz Verlag.
Fei Xin 费信. 1969 (1436). Xingchashenglan 星槎胜览 [Description of the Starry Raft]. New Taipei: Guangwen Shuju 广文书局.
Fukami Sumio 深見純生. 2004. "The Long 13th Century of Tambralinga: From Javaka to Siam." Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 62: 45-79.
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Maspero, Georges. 2002. The Champa Kingdom: The Mistory of an Extinct Vietnam Culture. Pattaya, Pattaya: White Lotus.
Miksic, John Norman. 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, Maryland: Scarecrow Press.
Miksic, John Norman. 2015. "Kerinci and the Ancient History of Jambi." In A 14th Century Malay Code of Laws: The Nitisarasmuccaya, by Uli Kozok, 17-49. Singapore: ISEAS.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.
Ricklefs, Merle Calvin, Bounce Lockhart, Albert Lau, Portia Reyes, and Maitrii Aung-Thwin. 2010. A New History of Southeast Asia. New York: PalgraveMacmillan.
Tjoa-bonatz, Mai Lin. 2020. A View from the Highland Archeology and Settlement History of West Sumatra, Indonesia Singapore: ISEAS-Yusof Ishak Institute.
บาททุกา ศรี มหาราชาธิราช ศรีมัตตะ ศรี อัคเรนทราวรมัน (ประมาณ พ.ศ.1859-1890) ในจารึกปะการุยุงที่ 8 (พ.ศ.1859) กล่าวว่าพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากมหาราชา ศรีมัตตะ ตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะและก่อนมหาราชา ศรีมัตตะ ศรี อุทัยอาทิตยวรมัน ในปีพ.ศ.1859 พระองค์รับสั่งให้ขุดคลองสร้างระบบชลประทานเพื่อการเกษตรที่สุระวษา (ปัจจุบันคือซูรัวโซ) แต่ระบบชลประทานนี้เสร็จสิ้นลงในรัชสมัยของมหาราชา ศรีอุทัยอาทิตยวรมันซึ่งเป็นหลานของพระองค์ พระองค์สร้างระบบชลประทานเนื่องจากธรรมศรายาต้องหันมาพึ่งเกษตรกรรมแทนการค้าต่างประเทศเพราะอิทธิพลของสมาพันธรัฐศรีวิชัยลดลงจนไม่สามารถพึ่งพาการค้าต่างประเทศได้อีก ในเวลาเดียวกันกับบาทหลวงโอเดริกแห่งโปรเดโนเน่แวะที่ศรีวิชัยในราวปีพ.ศ.1873 และอิบึน บาตตูต้า (Ibn Battutah) นักเดินทางชาวมอรอคโค ได้เดินทางมาที่สมุทราในปีพ.ศ.1888-1889 ก็พบว่าผู้ปกครองที่นั่นนับถือศาสนาอิสลามลัทธิซูฟียะห์ ซึ่งแพร่หลายมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาจนถึงยุคปัจจุบัน
ในปี พ.ศ 1889 อัครมหาเสนาบดีคชา มาดา (Gadjah Mada) มหาเสนาบดีผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรมัชปาหิตได้ส่งกองทัพเรือเข้ามายึดครองซึ่งเรือรบมัชปาหิตนั้นมีต้นแบบจากเรือรบสิงหส่าหรีที่ใหญ่กว่าเรือรบศรีวิชัยหลายเท่าและติดตั้งปืนใหญ่เซตบังจึงรบชนะได้ และได้แต่งตั้งให้หลานของพระองค์ที่เป็นขุนนางของมัชปาหิตขึ้นเป็นกษัตริย์ที่ธรรมศรายาแทน ในช่วงนี้นครศรีธรรมราชเป็นอิสระจากอาณาจักรสุโขทัยและได้แผ่อำนาจเข้ามาทางตอนใต้ของแหลมมลายูอีก พระองค์มีพระโอรสชื่อพิชเยนทราวรมันแต่ไม่ได้ขึ้นครองราชย์เนื่องจากถูกอาณาจักรมัชปาหิตยึดครอง ในช่วงนี้เมืองทาเมียง ลัมบรี เตอลี่ จัมบิ ปาเล็มบัง สิงคโปร์ สมุทรา ค้าขายโดยตรงกับจีน
มหาราชา ศรีมัตตะ ศรี อุทัยอาทิตยวรมัน ประทัปปาปะระกรม ราเชนทรา เมาลิมาลิ วรมะเทวะ (ประมาณพ.ศ.1890-พ.ศ.1918) หรือเรียกสั้นๆว่ามหาราชาอาทิตยวรมันในจารึกคุโบราโชที่ 1 (พ.ศ.1890) ที่พบที่ ลิโม คาอุมทางตะวันตกของเกาะสุมาตราระบุว่าพระองค์มีพระราชมารดาคือ เจ้าหญิงดาราจิงกา เจ้าหญิงแห่งธรรมศรายาซึ่งมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับรายาปัตนิกายาตรีพระราชธิดาองค์สุดท้องของพระเจ้าเขตร์นครซึ่งต่อมาเป็นกษัตริย์ของมัชปาหิตและกายาตรีคอยปกป้องพระองค์เสมอ บิดาของพระองค์เป็นขุนนางของอาณาจักรมัชปาหิตชื่ออัทวายาวรมัน พระองค์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าชัยนครกษัตริย์ของมัชปาหิต (พ.ศ.1852-1871) และเป็นหลานตาของมหาราชา ศรีมัตตะ ตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะพระราชบิดาของเจ้าหญิงดาราจิงกา อัครมหาเสนาบดีคชา มาดาแต่งตั้งพระองค์เป็นข้าหลวงเดินทางมาธรรมศรายาประมาณพ.ศ.1886-1890 หลังจากปราบธรรมศรายาและโค่นมหาราชา ศรีอัคเรนทราวรมันลง หลังจากรบชนะบาหลีพระองค์ได้รับตำแห่งเป็นวเรทมนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางสำคัญของอาณาจักรมัชปาหิตและเอาตำแหน่งนี้ใช้ทหารมัชปาหิตบุกยึดภาคตะวันออกของเกาะสุมาตราและตั้งตนเป็นกษัตริย์โดยอ้างการเป็นหลานตาของมหาราชา ศรีมัตตะ ตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะ ในปีพ.ศ.๑๘๙๓ หลังจากรายาปัตนิกายาตรีที่เคยปกป้องพระองค์ในราชสำนักมัชปาหิตมาโดยตลอดเสด็จสวรรคต พระองค์จึงย้ายเมืองหลวงจากธรรมศรายาแถวสุไหงลางสาตตอนกลางแม่น้ำบาตังฮารีลึกเข้าไปที่ปะการุยุงเพื่อควบคุมการค้าทองคำระหว่าง พ.ศ.1890-1918 และตั้งชื่อเมืองหลวงใหม่นี้ว่ามลายูปุระ พระองค์มีพระโอรสชื่อ อนังควรมัน การย้ายครั้งนี้เพื่อหนีอิทธิพลของมัชปาหิต จากนั้นจึงประกาศอิสรภาพ
พงศาวดารหยวนสือระบุว่าพระองค์เป็นราชทูตของอาณาจักรมัชปาหิตไปจีน 2 ครั้งเมื่อปีพ.ศ.1868 ในสมัยจักรพรรดิหยวนไท่ติ้ง (พ.ศ.1866-1871) และปีพ.ศ.1875 ในสมัยจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง (พ.ศ.1875-1911) ซึ่งพงศาวดารหยวนสือเรียกพระองค์ในชื่อว่าเซิ้ง-เจี้ย-เลี่ย-หยู-หลัน (僧伽烈宇兰) น่าจะเป็นคนเดียวกันกับมหาราชาศรี สันนะกลิยาในหมิงสือ จากบทกวีของพราราตอน พระองค์น่าจะเกิดในช่วงปีพ.ศ.1837-1853 ที่โทรวูลันเมืองหลวงของอาณาจักรมัชปาหิตทางตะวันออกของเกาะชวา
ในปี พ.ศ.1886 พระองค์ช่วยบูรณะเทวรูปพระโพธิสัตว์มัญชูศรีที่จันฑิจาโกทางตะวันออกของเกาะชวาที่พระเจ้าเขตร์นครแห่งอาณาจักรสิงหส่าหรีสร้างเพื่ออุทิศให้แก่พระเจ้าวิษณุธาราที่เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าเขตร์นครก่อนหน้านี้ มีการค้นพบจารึกเกี่ยวกับพระองค์เป็นจำนวนมากในบริเวณหลายๆเมืองในเกาะสุมาตรา เช่นจารึกคุโบราโชที่ 1 (พ.ศ.1890) เรียกพระองค์ว่า กนกเมทินทรา หรือ เจ้าแห่งโลกทองคำ ในจารึกภาษาสันสกฤตแบบมลายูด้านหลังของเทวรูปพระโพธิสัตว์อโมกฆบาศโลเกศวรพระองค์ย้ายมาจากสุไหงลางสาตมายังที่ค้นพบที่รามบาฮัน ทางตะวันตกของเกาะสุมาตราจารึกในปีพ.ศ.1890 อาจจะแต่งโดยพระองค์เอง สร้างไว้เพื่อระลึกถึงบทบาทของพระองค์ในฐานะที่เป็นผู้ปกป้องและให้สวัสดิการแก่ประชาชนชาวมลายูปุระด้วยอำนาจแห่งพระโพธิสัตว์อโมกฆบาศโลเกศวร ที่มลายูปุระพระองค์ใช้พระนามว่า “มหาราชาศรีมัตตะศรีอุทัยอาทิตยวรมัน ประทัปปาปรากรม ราเชนทรา เมาลิมาลิ วรมะเทวะ” ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าเป็นผนวกราชทินนามที่ใช้ในสมาพันธรัฐศรีวิชัยและอาณาจักรมลายูเข้าด้วยกันโดยใส่พระนาม “ศรีมัตตะ” และ “เมาลิ” เพื่อความชอบธรรมในการครองราชย์ในจารึกของพระองค์ระบุว่าพระองค์นับถือพุทธศาสนาแบบตันตระ พระองค์ครองราชย์ถึงปี พ.ศ.1918 ซึ่งมีจารึกชิ้นสุดท้ายกล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นเจ้าแห่งสุระวษา และซูรัวโซหมายถึงอาณาบริเวณปะการูยูง อาณาจักรของชาวมินังกระเบา พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่ออายุ 80 ปี โดยพระองค์สร้างจารึกไว้ที่ปะการุยุงแถวทหนาห์ ดาตาร์ทั้งหมด 30 หลักเช่น ปะการุยุงที่ 1 (บุกิต กอมบัก พ.ศ.1879) ปะการุยุงที่ 2 (พ.ศ.1916) ปะการุยุงที่ 9 (พ.ศ.1912) รัมบาฮัน (พ.ศ.1912) และสุระวสา (ซูรัวโซ่ที่ 1 พ.ศ.1918) แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่ทนาห์ ดาตาร์ บูกิต กอมบักและบูกิต คินาร์แสดงระบบการตั้งถิ่นฐานในใจกลางมินังกระเบา สุมาตราตะวันตกอันเป็นที่ประทับตอนในของอาทิตยวรมัน พระองค์ได้นำรูปแบบราชสำนักและกฎหมายลายลักษณ์อักษรจากมัชปาหิตในเกาะชวามาใช้แทนกฎหมายจารีตในมลายูปุระที่สืบทอดมาจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยแต่เดิมโดยตั้งชื่อว่านิติสาระธัมมัจยาค้นพบที่เกรินจี (Kerinci) บนเกาะสุมาตรา
บทกวีนครเขตร์คามระบุว่าเมืองศรีวิชัยหลายเมืองเป็นเมืองขึ้นมัชปาหิต วังต้าหยวนกล่าวถึงทัน-ยาง (ทัม-เยียง) หรือทาเมียงใกล้กับอ่าอารุหรือฮารุในบันทึกหม่าหวน ลามูรีส่งออกสินค้าจากบารุส ปา-ทา (ประดับ?) ตั้งอยู่ระหว่างปาไซกับอารุ เจี้ยน-ผีคือแคมเบย์ (คัมปาย) ในนครเขตร์คามซึ่งต้องเดินเรือ 5 วันจากลามูรีใกล้กับโกตา ราชาในอาเจะห์ ฮารุ (อารุ) หรือทาเมียงอยู่ใกล้กับเกาะคัมปาย นครเขตร์คามและพาราราตอนกล่าวถึง ตูมิฮัง เฟยซิน กล่าวว่าตูมิฮังอยู่ใกล้ฮารุ แต่เดินเรือใช้เวลา 2 วันจากมะละกา คัมปายเป็นเมืองขึ้นของจัมบิ เจ้าเมืองทาเมียง-อารุส่งน้องชายไปเป็นตัวประกันที่ราชสำนักหยวน
เอกสารอ้างอิง
Bonatz, Dominik, John Norman Miksic, J. David Neidel, and Mai Lin Tjoa-Bonatz. 2009. From Distant Tales: Archeology and Ethnohistory in the Highland of Sumatra. Newcastle, UK: Cambridge Scholar Publishing.
Fei Xin 费信. 1996. Hsing-chʻa-sheng-lan 星槎胜览: the Overall Survey of the Star Raft. Edited by Roderich Ptak. Translated by J. V. G. Mills. Wiesbaden, Germany: Otto Harrassowitz Verlag.
Fei Xin 费信. 1969 (1436). Xingchashenglan 星槎胜览 [Description of the Starry Raft]. New Taipei: Guangwen Shuju 广文书局.
Fukami Sumio 深見純生. 2004. "The Long 13th Century of Tambralinga: From Javaka to Siam." Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 62: 45-79.
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Maspero, Georges. 2002. The Champa Kingdom: The Mistory of an Extinct Vietnam Culture. Pattaya, Pattaya: White Lotus.
Miksic, John Norman. 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, Maryland: Scarecrow Press.
Miksic, John Norman. 2015. "Kerinci and the Ancient History of Jambi." In A 14th Century Malay Code of Laws: The Nitisarasmuccaya, by Uli Kozok, 17-49. Singapore: ISEAS.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.
Ricklefs, Merle Calvin, Bounce Lockhart, Albert Lau, Portia Reyes, and Maitrii Aung-Thwin. 2010. A New History of Southeast Asia. New York: PalgraveMacmillan.
Tjoa-bonatz, Mai Lin. 2020. A View from the Highland Archeology and Settlement History of West Sumatra, Indonesia Singapore: ISEAS-Yusof Ishak Institute.