โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
ในยุคนี้การแยกตัวออกไปของสมาพันธรัฐตามพรลิงค์ในปีพ.ศ.1773 ทำให้เครือข่ายการค้าแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือศรีวิชัย ตามพรลิงค์และชวา สมาพันธรัฐศรีวิชัยก็หดตัวเหลือแค่บนเกาะสุมาตราเท่านั้นคุมช่องแคบมะละกาไม่ได้และต้องเปลี่ยนจากเมืองท่าขนถ่ายสินค้ามาเป็นเมืองท่าส่งออก สมาพันธรัฐศรีวิชัยในนามของธรรมศรายายังติดต่อกับราชวงศ์หยวนอยู่ แต่เมืองต่างๆก็หันไปค้าขายกับจีนโดยตรง พ่อค้าชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองศรีวิชัยหลายแห่ง อันดายากล่าวว่าโกตา ซินาซื้อสินค้าจากบารุสส่งออกไปจีนและที่อื่น ๆ หลังจากตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีที่บารุส โกตา ซินาและโลบุ ทัวที่ปาดัง ลาวาสใกล้บารุส เมื่อสมาพันธรัฐตามพรลิงค์อ่อนแอลงศรีวิชัยก็ส่งคนไปปกครองพัทลุงที่เป็นอดีตเมืองขึ้นอีกในปี พ.ศ.1813
ศาสนาอิสลามจากตะวันออกกลางและอินเดียเผยแผ่เข้ามาในเกาะสุมาตรา ฮิโรซูเอะนักวิชาการชาวญี่ปุ่นกล่าวว่ากษัตริย์อาเจะห์ ปาไซ บารุสตามชายฝั่งเกาะสุมาตรา ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามเพื่อขยายการค้ากับโลกมุสลิมในอินเดีย เปอร์เซียและตะวันออกกลางเพื่อความมั่งคั่ง แต่ประชากรตอนในยังนับถือผี พุทธและพราหมณ์อยู่ เมืองชายฝั่งทะเลเจริญกว่าแต่ยังต้องหาของป่าเป็นสินค้าจากตอนในเกาะมาค้าขาย กษัตริย์นี้อาศัยศาสนาพราหมณ์ พุทธและอิสลามมาสร้างเกียรติให้กับตน เมืองเหล่านี้สามารถสร้างเครือข่ายทางการค้าที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางเผยแผ่ศาสนาอิสลามที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองปาไซก่อตั้งราวปี พ.ศ.1793 และผู้ปกครองหันไปนับถืออิสลามหลังจากที่มาร์โค โปโลมาแวะที่นี่ได้ไม่นาน อีบึน บัตตูตาบอกว่ากษัตริย์ที่นี่นับถืออิสลามอย่างเคร่งครัดตามคำสอนของชะฟีอะห์ อุลามัส (Shafi’ite ulamas) จากชิราซ (Shirāz) และอิสฟาฮาน (Isfahān) และมีความใกล้ชิดกับสุลต่านแห่งเดลีที่ยังไม่ขึ้นกับจักรวรรดิมองโกล หลักฐานของการเข้ามาของศาสนาอิสลามได้แก่ ป้ายหลุมศพของสุลต่าน สุไลมาน บิน อับดุลเลาะห์ บิน อัล-บาซีร์สิ้นพระชนม์ที่ลามูรีเมื่อพ.ศ.1754 และสุลต่านมาลิค อัล-ซาลีห์แห่งสมุทราสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.1840
จากพงศาวดารหยวนสือ เล่มที่ 131 ในปีพ.ศ.1823 ราชวงศ์หยวนให้ศรีวิชัยหรือมลายูที่จัมบิส่งบรรณาการ แต่ศรีวิชัยยังคงติดพันสงครามกับอาณาจักรสิงหส่าหรีแห่งเกาะชวาที่รุกรานตามโองการพะมลายูแต่ก็ขับไล่ไปได้ในปีพ.ศ.1829 และเริ่มต้นค้าขายกับจีนต่อ ราชวงศ์หยวนส่งกองเรือค้าขายในมหาสมุทรอินเดียโดยตรงทำให้บทบาทของสมาพันธรัฐศรีวิชัยในช่องแคบมะละกาหมดไป เส้นทางการค้าของศรีวิชัยในช่วงนี้หดตัวลงมาจนคล้ายคลีงกับสมัยก่อนก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยจึงหันมาพึ่งพิงการเกษตรมากขึ้นเพื่อทดแทนการค้าที่ขาดหายไป ในปีพ.ศ.1823 กษัตริย์สมุทรายอมส่งบรรณาการให้ราชวงศ์หยวนและส่งทูตไปปี พ.ศ.1825 ส่วนกษัตริย์ลามูรีส่งทูตไปจีนในปี พ.ศ.1827 อย่างไรก็ตามหยวนสือพูดถึงอ่าวฮารุกับทาเมียงแต่ไม่พูดถึงแคมเบย์ ศรีวิชัยพยายามบุกตีอดีตเมืองขึ้นบนเกาะสุมาตราเหนือในปี พ.ศ.1842 แต่ล้มเหลวและราชวงศ์หยวนส่งทูตมาปาเล็มบัง พ.ศ.1852 มัชปาหิตก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.1836 และบุกเข้ายึดศรีวิชัยที่มลายูปุระในปีพ.ศ.1890 แต่อุปราชที่มัชปาหิตส่งมาปกครองศรีวิชัยตั้งตัวเป็นกษัตริย์และย้ายที่ประทับไปอยู่ตอนในเกาะสุมาตรา จนกระทั่งจีนเข้าสู่สมัยราชวงศ์หมิง อาณาจักรมัชปาหิตจึงเข้าครอบครองเส้นทางที่เคยเป็นเครือข่ายทางการค้าของศรีวิชัยทั้งหมด ศรีวิชัยไม่เคยพัฒนาเรือที่ใช้ในการค้าและเรือรบเลย เคยใช้เรือแบบไหนก็ใช้เรือแบบนั้นโดยตลอดจึงไม่ทันการพัฒนาเรือของจีนและเกาะชวาที่เหนือกว่าจนกระทั่งเรือของศรีวิชัยไม่สามาถสู้ได้ทั้งในเชิงการค้าและการทหาร อย่างไรก็ตามในปีพ.ศ.1918 เมืองต่างๆในสุมาตรายังคงส่งบรรณาการให้ราชวงศ์หมิง เช่นในปี พ.ศ.1926 ปาไซส่งทูตไปจีนฝ่ามัชปาหิตออกไป ดังนั้น มัชปาหิตจึงตัดสินใจปราบเมืองที่กระด้างกระเดื่องเหล่านี้ เช่น ทำลายปาเล็มบังอันเป็นสถานที่ก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปี พ.ศ.1934
เอกสารอ้างอิง
Andaya, Leonard Y. 2002. "The Trans-Sumatra Trade and the Ethnicization of the "Batak"." Bijdragen tot de Taal-, Land- en Volkenkunde 158 (3): 367-409.
Fukami Sumio 深見純生. 2004. "The Long 13th Century of Tambralinga: From Javaka to Siam." Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 62: 45-79.
Heng, Derek Thiam Soon. 2013. "State Formation and the Evolution of Naval Strategies in the Melaka Straits c.500-1500CE." Journal of Southeast Asian Studies 44 (3): 380-399.
Hirosue Masashi 弘末雅士. 2017. "The Rise of Muslim Coastal States in North Sumatra: Coastal Rulers and Power over Hinterland Fertility." In State Formation and Social Integration in Pre-Islamic South and Southeast Asia: A Comparative Study of Asian Society, by Noburu Karashima and Masashi Hirosue, 263-284. Tokyo: Toyo Bunko.
Wada Hisamori 和田久徳. 1954. "Daoyizazhi 島夷雜誌: 宋代南海史料としての島夷雑誌 [A New Chinese Source of the History of Indian Ocean during the Song Dynasty (990-1279CE)]." お茶の水女子大学人文科学紀要 (Bulletin of Ochanomizu University) 5: 27-63.
Wolters, Oliver Williams 1970. The Fall of Srivijaya in Malay History. Ithaca, NY: Cornell University Press.
ในยุคนี้การแยกตัวออกไปของสมาพันธรัฐตามพรลิงค์ในปีพ.ศ.1773 ทำให้เครือข่ายการค้าแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือศรีวิชัย ตามพรลิงค์และชวา สมาพันธรัฐศรีวิชัยก็หดตัวเหลือแค่บนเกาะสุมาตราเท่านั้นคุมช่องแคบมะละกาไม่ได้และต้องเปลี่ยนจากเมืองท่าขนถ่ายสินค้ามาเป็นเมืองท่าส่งออก สมาพันธรัฐศรีวิชัยในนามของธรรมศรายายังติดต่อกับราชวงศ์หยวนอยู่ แต่เมืองต่างๆก็หันไปค้าขายกับจีนโดยตรง พ่อค้าชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองศรีวิชัยหลายแห่ง อันดายากล่าวว่าโกตา ซินาซื้อสินค้าจากบารุสส่งออกไปจีนและที่อื่น ๆ หลังจากตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีที่บารุส โกตา ซินาและโลบุ ทัวที่ปาดัง ลาวาสใกล้บารุส เมื่อสมาพันธรัฐตามพรลิงค์อ่อนแอลงศรีวิชัยก็ส่งคนไปปกครองพัทลุงที่เป็นอดีตเมืองขึ้นอีกในปี พ.ศ.1813
ศาสนาอิสลามจากตะวันออกกลางและอินเดียเผยแผ่เข้ามาในเกาะสุมาตรา ฮิโรซูเอะนักวิชาการชาวญี่ปุ่นกล่าวว่ากษัตริย์อาเจะห์ ปาไซ บารุสตามชายฝั่งเกาะสุมาตรา ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามเพื่อขยายการค้ากับโลกมุสลิมในอินเดีย เปอร์เซียและตะวันออกกลางเพื่อความมั่งคั่ง แต่ประชากรตอนในยังนับถือผี พุทธและพราหมณ์อยู่ เมืองชายฝั่งทะเลเจริญกว่าแต่ยังต้องหาของป่าเป็นสินค้าจากตอนในเกาะมาค้าขาย กษัตริย์นี้อาศัยศาสนาพราหมณ์ พุทธและอิสลามมาสร้างเกียรติให้กับตน เมืองเหล่านี้สามารถสร้างเครือข่ายทางการค้าที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางเผยแผ่ศาสนาอิสลามที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองปาไซก่อตั้งราวปี พ.ศ.1793 และผู้ปกครองหันไปนับถืออิสลามหลังจากที่มาร์โค โปโลมาแวะที่นี่ได้ไม่นาน อีบึน บัตตูตาบอกว่ากษัตริย์ที่นี่นับถืออิสลามอย่างเคร่งครัดตามคำสอนของชะฟีอะห์ อุลามัส (Shafi’ite ulamas) จากชิราซ (Shirāz) และอิสฟาฮาน (Isfahān) และมีความใกล้ชิดกับสุลต่านแห่งเดลีที่ยังไม่ขึ้นกับจักรวรรดิมองโกล หลักฐานของการเข้ามาของศาสนาอิสลามได้แก่ ป้ายหลุมศพของสุลต่าน สุไลมาน บิน อับดุลเลาะห์ บิน อัล-บาซีร์สิ้นพระชนม์ที่ลามูรีเมื่อพ.ศ.1754 และสุลต่านมาลิค อัล-ซาลีห์แห่งสมุทราสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.1840
จากพงศาวดารหยวนสือ เล่มที่ 131 ในปีพ.ศ.1823 ราชวงศ์หยวนให้ศรีวิชัยหรือมลายูที่จัมบิส่งบรรณาการ แต่ศรีวิชัยยังคงติดพันสงครามกับอาณาจักรสิงหส่าหรีแห่งเกาะชวาที่รุกรานตามโองการพะมลายูแต่ก็ขับไล่ไปได้ในปีพ.ศ.1829 และเริ่มต้นค้าขายกับจีนต่อ ราชวงศ์หยวนส่งกองเรือค้าขายในมหาสมุทรอินเดียโดยตรงทำให้บทบาทของสมาพันธรัฐศรีวิชัยในช่องแคบมะละกาหมดไป เส้นทางการค้าของศรีวิชัยในช่วงนี้หดตัวลงมาจนคล้ายคลีงกับสมัยก่อนก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยจึงหันมาพึ่งพิงการเกษตรมากขึ้นเพื่อทดแทนการค้าที่ขาดหายไป ในปีพ.ศ.1823 กษัตริย์สมุทรายอมส่งบรรณาการให้ราชวงศ์หยวนและส่งทูตไปปี พ.ศ.1825 ส่วนกษัตริย์ลามูรีส่งทูตไปจีนในปี พ.ศ.1827 อย่างไรก็ตามหยวนสือพูดถึงอ่าวฮารุกับทาเมียงแต่ไม่พูดถึงแคมเบย์ ศรีวิชัยพยายามบุกตีอดีตเมืองขึ้นบนเกาะสุมาตราเหนือในปี พ.ศ.1842 แต่ล้มเหลวและราชวงศ์หยวนส่งทูตมาปาเล็มบัง พ.ศ.1852 มัชปาหิตก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.1836 และบุกเข้ายึดศรีวิชัยที่มลายูปุระในปีพ.ศ.1890 แต่อุปราชที่มัชปาหิตส่งมาปกครองศรีวิชัยตั้งตัวเป็นกษัตริย์และย้ายที่ประทับไปอยู่ตอนในเกาะสุมาตรา จนกระทั่งจีนเข้าสู่สมัยราชวงศ์หมิง อาณาจักรมัชปาหิตจึงเข้าครอบครองเส้นทางที่เคยเป็นเครือข่ายทางการค้าของศรีวิชัยทั้งหมด ศรีวิชัยไม่เคยพัฒนาเรือที่ใช้ในการค้าและเรือรบเลย เคยใช้เรือแบบไหนก็ใช้เรือแบบนั้นโดยตลอดจึงไม่ทันการพัฒนาเรือของจีนและเกาะชวาที่เหนือกว่าจนกระทั่งเรือของศรีวิชัยไม่สามาถสู้ได้ทั้งในเชิงการค้าและการทหาร อย่างไรก็ตามในปีพ.ศ.1918 เมืองต่างๆในสุมาตรายังคงส่งบรรณาการให้ราชวงศ์หมิง เช่นในปี พ.ศ.1926 ปาไซส่งทูตไปจีนฝ่ามัชปาหิตออกไป ดังนั้น มัชปาหิตจึงตัดสินใจปราบเมืองที่กระด้างกระเดื่องเหล่านี้ เช่น ทำลายปาเล็มบังอันเป็นสถานที่ก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปี พ.ศ.1934
เอกสารอ้างอิง
Andaya, Leonard Y. 2002. "The Trans-Sumatra Trade and the Ethnicization of the "Batak"." Bijdragen tot de Taal-, Land- en Volkenkunde 158 (3): 367-409.
Fukami Sumio 深見純生. 2004. "The Long 13th Century of Tambralinga: From Javaka to Siam." Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 62: 45-79.
Heng, Derek Thiam Soon. 2013. "State Formation and the Evolution of Naval Strategies in the Melaka Straits c.500-1500CE." Journal of Southeast Asian Studies 44 (3): 380-399.
Hirosue Masashi 弘末雅士. 2017. "The Rise of Muslim Coastal States in North Sumatra: Coastal Rulers and Power over Hinterland Fertility." In State Formation and Social Integration in Pre-Islamic South and Southeast Asia: A Comparative Study of Asian Society, by Noburu Karashima and Masashi Hirosue, 263-284. Tokyo: Toyo Bunko.
Wada Hisamori 和田久徳. 1954. "Daoyizazhi 島夷雜誌: 宋代南海史料としての島夷雑誌 [A New Chinese Source of the History of Indian Ocean during the Song Dynasty (990-1279CE)]." お茶の水女子大学人文科学紀要 (Bulletin of Ochanomizu University) 5: 27-63.
Wolters, Oliver Williams 1970. The Fall of Srivijaya in Malay History. Ithaca, NY: Cornell University Press.