xs
xsm
sm
md
lg

โควิดความจริงที่ถูกเปิดเผย (ตอนที่ 5)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา



ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายงานฉบับเต็มของรัฐสภาสหรัฐมีความยาว 301 หน้า ออกในเดือนมกราคม 2023 และเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปในเดือนเมษายน 2023 ทั้งนี้มีหลักฐานยืนยันประกอบไม่น้อยกว่า 1570 รายการ

รายงานฉบับนี้ มีความสมบูรณ์และเป็นหลักฐาน ทำให้มีการเรียกสอบสวนบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในรัฐสภาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

กลับมาถึงประเด็นสำคัญที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ของเรา ยุติการทำงานและการรับทุนจากสหรัฐ เกิดขึ้นเมื่อมีการประชุมผ่านซูมกับ Daszak EHA ในวันที่ 6 มิถุนายน 2019 ทั้งนี้องค์กรมีการเสนอขอรับทุนจาก NIH และต้องการให้ศูนย์วิทยาศาสตร์รับผิดชอบ ตั้งศูนย์ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เรียกว่า CREID ทั้งนี้ โดยจากการติดต่อครั้งต่อมา ในวันที่ 18 สิงหาคม และวันที่ 16 ตุลาคม 2020 นั้น มีสิงคโปร์และสถาบันไวรัสอู่ฮั่นร่วมอยู่ด้วย


เอกสารรายละเอียดของโครงการได้ระบุชัดเจนว่า จะมีการนำตัวอย่างส่งไปต่างประเทศ เพื่อทำการพัฒนา ทั้งในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง ในการตัดต่อพันธุกรรม เพื่อให้เข้ามนุษย์และสัตว์ที่ปรับเปลี่ยนคล้ายมนุษย์ให้ได้ดียิ่งขึ้น โดยเจาะจงไวรัสที่เกิดโรคระบาด ในตระกูลโคโรนา อีโบลา และ นิปาห์

การทาบทามดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดโควิด จนกระทั่งถึงหลังระบาดแล้วใหม่ๆ และเป็นเหตุผลสำคัญที่เราไม่ร่วมมือด้วย


หลักฐานที่สำคัญจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพคือ การพบกล่องตัวอย่างไวรัส ที่เตรียมนำส่งไปยังสิงคโปร์ โดยคนไทยคนหนึ่ง

นอกจากนั้นทางศูนย์ ไม่รับข้อเสนอของสิงคโปร์ ที่จะให้นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ไปทำปริญญาเอกต่อ โดยนำไวรัสโคโรนา จากค้างคาว ไปด้วยเพื่อไปศึกษา ตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้เข้ามนุษย์ได้ดีขึ้น

และโครงการนี้ไม่ได้ให้ความสนใจในการวินิจฉัยหาโรคในมนุษย์และไม่มีการยืนยันว่าจะมีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากการประชุมในวันที่ 19 สิงหาคม 2020

ในเดือนเมษายน 2022 ทางศูนย์ได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทรวงกลาโหมสหรัฐและจาก Los Alamos ถึงท่าทีในการจะทำงานสัตว์ป่าต่อหรือไม่ ซึ่งเราได้ยืนยันชัดเจนว่า ไม่ร่วมด้วยและถือว่า โรคในคนเป็นจุดสำคัญที่สุดซึ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์ได้ และการได้รับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุดนั้น สามารถบอกได้ว่ามีโรคอุบัติใหม่เข้ามาในมนุษย์หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับคำอธิบายดังกล่าว เราได้แสดงว่า ระยะเวลาเป็น 10 ปีในการรวบรวมไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า ไม่ได้นำมาถึงการคาดคะเนหรือการพยากรณ์ว่าตัวใดจะทำให้เกิดโรคระบาด


ศูนย์ได้ประกาศแจ้งชัดในจุดยืนต่อองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมด รวมทั้งแสดงจุดยืนใน GOARN survey (global outbreak alert and response work) ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2021 ซึ่งเป็นเครือข่ายร่วม ระหว่างองค์การอนามัยโลก และองค์กรอื่นๆ ถึงจุดยืนที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดและการปฏิบัติ ในการรับมือโรคอุบัติใหม่ และ ต้องยุติการหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวซึ่งไม่คุ้มค่าและอาจเกิดอันตรายอย่างสูง

รวมทั้งการประชุมผ่าน ซูม ขององค์การอนามัยโลกเจนีวาในวันที่ 8 ธันวาคม 2021 รวมทั้ง การประชุมร่วมขององค์การอนามัยโลกและองค์การอนามัยสัตว์โลก ที่กรุงปารีสในเดือนธันวาคม 2022 ซึ่ง นายแพทย์ธีระวัฒน์ ได้รับเชิญให้ไปบรรยาย

จากนั้น ได้แสดงจุดยืน ในการประชุมของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ได้รับเชิญจากเลขาธิการสภาความมั่นคง ในเดือนมีนาคม 2023 รวมทั้งการบรรยายในการประชุมที่จัดโดยกรมควบคุมโรคในวันที่ 23 มีนาคม 2023 และย้ำถึงอันตรายจากการเสาะหาค้างคาวและไวรัสต่างๆ

การที่ต้องปรับเปลี่ยน กระบวนการวิธีการ ในโรคอุบัติใหม่นั้น มีความจำเป็นมาก ทั้งนี้ 50 ถึง 80% ของโรคติดเชื้อในมนุษย์นั้น โดยเฉพาะโรคสมองอักเสบ ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ ดังนั้น ต้องใช้งบประมาณ ทุ่มเทในเรื่องของการวินิจฉัยโรคในคนป่วยเป็นสำคัญ และถ้าสามารถวินิจฉัยเชื้อในคนที่ติดโรคได้ จะสามารถบอกได้ว่าเป็นเชื้อใหม่ที่เป็นโรคอุบัติใหม่ได้เลยโดยที่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างทันท่วงที

ในส่วนของตัวอย่างไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าที่เก็บตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2011 โดยได้รับทุนจากในประเทศ และตั้งแต่ 2012 จากองค์กรต่างประเทศ จนกระทั่งถึงที่ศูนย์ยุติโครงการทั้งหมดนั้น อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ทั้งสิ้น ทั้งนี้โดยทุนผ่านทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจากต่างประเทศผ่านมหาวิทยาลัยและจัดการผ่านศูนย์วิทยบริการโดย หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ คือศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพและโรคอุบัติใหม่ และศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกทางด้านค้นคว้าและอบรมโรคไวรัสสัตว์สู่คน

โครงการสุดท้ายที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ รับผิดชอบโดยโครงการจบสิ้นในวันที่ 14 มิถุนายน 2020 และมีการรายงานในวันที่ 8 กันยายน 2020

โครงการจัดตั้งศูนย์ภาคพื้นตะวันออกเฉียงใต้ CREID Daszak ได้ประกาศในเว็บ ทั้งนี้ สืบค้นในเดือนธันวาคม 2022 ถึงหัวหน้าโครงการและผู้ร่วม โดยมีการระบุชื่อนายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ทั้งนี้ ได้รับการสอบถามจากทางหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ว่ายังร่วม อยู่อีกหรือ?

และได้ตอบไปด้วยความตกใจว่า ยุติไปตั้งนานแล้ว


ทั้งนี้ หน่วยงานอิสระของรัฐบาลสหรัฐ GAO (US government accountability office) ได้สอบถามนายแพทย์ธีระวัฒน์ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2023 โดยหน่วยงานนี้ ไม่ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองใด และทำหน้าที่ตรวจสอบการให้ทุนของรัฐบาลสหรัฐต่อสถาบันในประเทศและต่างประเทศ

ในส่วนที่ถามนั้น เกี่ยวข้องกับการหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวว่า ได้ประโยชน์หรือไม่ในการคาดคะเนว่าจะเกิดโรคอุบัติใหม่ และได้ประโยชน์หรือไม่ ในการพัฒนาการเตรียมพร้อมและรับมือสำหรับโรคอุบัติใหม่ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี และมีความเสี่ยงหรือไม่ในการหาไวรัสดังกล่าว และมีความพร้อมเพรียงระดับใดในการป้องกันจากการติดเชื้อและการแพร่ออกไปสู่ชุมชนภายนอก

ทางศูนย์ได้ตอบไปว่าไม่ได้ประโยชน์ และมีอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องความเสี่ยงระดับนี้ โดยที่นักวิทยาศาสตร์จากกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ควบคุมโครงการ ขณะที่มาเยี่ยมก็ไม่ได้มีการเคร่งครัดในเรื่องความปลอดภัยใดๆ จากที่ทำอยู่ และจากความที่รู้สึกว่า ไม่มีใครตายจากการศึกษาวิจัยดังกล่าว

จากพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในปี 2558 ระบุชัดเจน จากที่ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น มีโทษทั้งปรับและจำตามระดับความเสียหายที่เกิดขึ้น

จากการที่ไม่สามารถคาดคะเน ถึงระดับความร้ายแรงของเชื้อที่ไม่ทราบชื่อจากค้างคาว รวมทั้งมีการระบาดของโควิดตั้งแต่ปลายปี 2019 และหลักฐานจากการตัดต่อพันธุกรรมและการหลุดจากแล็บ ตอกย้ำถึงการที่ต้องยุติและทำลายตัวอย่างเหล่านี้ทั้งหมด


กำลังโหลดความคิดเห็น