โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
พระภิกษุอทิศา (พ.ศ.1525-1597) ไทย อธิศาทีปังกรศรีชญาน สันสกฤต Atīśa Dīpaṃkara Śrījñāna เบงกาลี অতীশদীপংকরশ্রীজ্ঞান; ทิเบตมาตรฐาน ཇོ་བོ་རྗེ་དཔལ་ལྡན་ཨ་ཏི་ཤ།; อักษรจีน 燃灯吉祥智 (หรั่น-เติ่ง-จี-เซี้ยง-จื่อ หรือ เนี่ยน-ทง-ขยิต-ซย่าง-เตรีย) แห่งเบงกอลเป็นหนึ่งในพระภิกษุชาวเบงกาลีมีนามก่อนบวชว่า จันทรครรภ์ เมื่อบวชแล้วได้นามว่าทีปังกรศรีชญาน ได้รับฐานะเป็นอธิศา ท่านเป็นภิกษุองค์สำคัญที่เผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานและวัชรยานในเอเชียในพุทธศตวรรษที่ 16 ในปี พ.ศ.1556 เมื่อท่านอายุได้ 26 ปี ท่านได้ติดตามพระภิกษุธรรมกีรติศิริซึ่งเป็นพระโอรสของมหาราชาแห่งสุวรรณทวีปหรือศรีวิชัยที่ไปแสวงบุญที่พุทธคยาอยุ่ 7 ปีแล้วบวชที่นั่นซึ่งเดินทางกลับศรีวิชัยนครหรือมาลายูคีรีในสมาพันธรัฐศรีวิชัยในรัชสมัยมหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะ
ในหนังสือบุซนที่เป็นภาษาทิเบตระบุว่าท่านอาศัยอยู่ที่เกาะสุมาตราในสมาพันธรัฐศรีวิชัยเป็นเวลา 12 ปีโดยได้ศึกษาธรรมะกับท่านธรรมกีรติศิริซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์แห่งสุวรรณทวีปหรือเกาะสุมาตราและกล่าวถึงศรีวิชัยและศรีจุฑามณีวรมะเทวะอาจจะเป็นจัมบิที่มีซากโบราณสถานเป็นจำนวนมาก ต่อมาท่านได้เดินทางกลับอินเดียก่อนหน้าที่อาณาจักรโจฬะจะบุกสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปี พ.ศ.1568 หลังจากกลับมาแล้วท่านมีความรู้ในพุทธศาสนามากขึ้นในการสั่งสอน การปุจฉา-วิสัชนา และพุทธปรัชญา และสามารถทำการปุจฉา-วิสัชชนาชนะพวกสุดโต่งต่างศาสนาได้ถึง 3 ครั้ง เมื่อท่านเห็นว่ามีการใช้คำสอนทางพุทธศาสนาในทางที่เสื่อมหรือผิดเพี้ยนไปท่านจะรีบแก้ไขทันที
จากนั้นท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดวิกรมศิลาที่สร้างโดยพระเจ้าธรรมะปาละ ท่านโดดเด่นและมีอิทธิพลต่อสานุศิษย์ในช่วงที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในแถบอ่าวเบงกอลและบริเวณพุทธคยา ท่านได้ย้ายไปทิเบตเมื่อปีพ.ศ.1583 ท่านได้แปลคัมภีร์ของพระธรรมกีรติศิริที่ชื่อว่า “ธุรโพธโลกะ” ที่รจนาขึ้นในปีที่ 10 ในรัชกาลมหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะเป็นภาษาทิเบตซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานเอกสารในสมัยศรีวิชัยที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันและมรณภาพที่นั่นในปีพ.ศ.1597 ศิษย์เอกคนหนึ่งของท่านคือพระภิกษุดรอมเตินได้ไปปฏิรูปพุทธศาสนาที่ทิเบตโดยก่อตั้งสำนักคาดัมสำหรับแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่นั่น
เอกสารอ้างอิง
Miksic, John Norman. 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, Maryland: Scarecrow Press.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Skilling, Peter. 1996. "Dharmakirti's Durbhaloka and the Literature of Srivijaya." Journal of the Siam Society 85 (1&2): 187-194.
Tulku, Ringu, and Ann Helm. 2006. The Ri-Me Philosophy of Jamgon Kongtrul the Great: A Study of the Buddhist Lineages of Tibet. Boston, MA: Shambala Publications.
พระภิกษุอทิศา (พ.ศ.1525-1597) ไทย อธิศาทีปังกรศรีชญาน สันสกฤต Atīśa Dīpaṃkara Śrījñāna เบงกาลี অতীশদীপংকরশ্রীজ্ঞান; ทิเบตมาตรฐาน ཇོ་བོ་རྗེ་དཔལ་ལྡན་ཨ་ཏི་ཤ།; อักษรจีน 燃灯吉祥智 (หรั่น-เติ่ง-จี-เซี้ยง-จื่อ หรือ เนี่ยน-ทง-ขยิต-ซย่าง-เตรีย) แห่งเบงกอลเป็นหนึ่งในพระภิกษุชาวเบงกาลีมีนามก่อนบวชว่า จันทรครรภ์ เมื่อบวชแล้วได้นามว่าทีปังกรศรีชญาน ได้รับฐานะเป็นอธิศา ท่านเป็นภิกษุองค์สำคัญที่เผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานและวัชรยานในเอเชียในพุทธศตวรรษที่ 16 ในปี พ.ศ.1556 เมื่อท่านอายุได้ 26 ปี ท่านได้ติดตามพระภิกษุธรรมกีรติศิริซึ่งเป็นพระโอรสของมหาราชาแห่งสุวรรณทวีปหรือศรีวิชัยที่ไปแสวงบุญที่พุทธคยาอยุ่ 7 ปีแล้วบวชที่นั่นซึ่งเดินทางกลับศรีวิชัยนครหรือมาลายูคีรีในสมาพันธรัฐศรีวิชัยในรัชสมัยมหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะ
ในหนังสือบุซนที่เป็นภาษาทิเบตระบุว่าท่านอาศัยอยู่ที่เกาะสุมาตราในสมาพันธรัฐศรีวิชัยเป็นเวลา 12 ปีโดยได้ศึกษาธรรมะกับท่านธรรมกีรติศิริซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์แห่งสุวรรณทวีปหรือเกาะสุมาตราและกล่าวถึงศรีวิชัยและศรีจุฑามณีวรมะเทวะอาจจะเป็นจัมบิที่มีซากโบราณสถานเป็นจำนวนมาก ต่อมาท่านได้เดินทางกลับอินเดียก่อนหน้าที่อาณาจักรโจฬะจะบุกสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปี พ.ศ.1568 หลังจากกลับมาแล้วท่านมีความรู้ในพุทธศาสนามากขึ้นในการสั่งสอน การปุจฉา-วิสัชนา และพุทธปรัชญา และสามารถทำการปุจฉา-วิสัชชนาชนะพวกสุดโต่งต่างศาสนาได้ถึง 3 ครั้ง เมื่อท่านเห็นว่ามีการใช้คำสอนทางพุทธศาสนาในทางที่เสื่อมหรือผิดเพี้ยนไปท่านจะรีบแก้ไขทันที
จากนั้นท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดวิกรมศิลาที่สร้างโดยพระเจ้าธรรมะปาละ ท่านโดดเด่นและมีอิทธิพลต่อสานุศิษย์ในช่วงที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในแถบอ่าวเบงกอลและบริเวณพุทธคยา ท่านได้ย้ายไปทิเบตเมื่อปีพ.ศ.1583 ท่านได้แปลคัมภีร์ของพระธรรมกีรติศิริที่ชื่อว่า “ธุรโพธโลกะ” ที่รจนาขึ้นในปีที่ 10 ในรัชกาลมหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะเป็นภาษาทิเบตซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานเอกสารในสมัยศรีวิชัยที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันและมรณภาพที่นั่นในปีพ.ศ.1597 ศิษย์เอกคนหนึ่งของท่านคือพระภิกษุดรอมเตินได้ไปปฏิรูปพุทธศาสนาที่ทิเบตโดยก่อตั้งสำนักคาดัมสำหรับแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่นั่น
เอกสารอ้างอิง
Miksic, John Norman. 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, Maryland: Scarecrow Press.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Skilling, Peter. 1996. "Dharmakirti's Durbhaloka and the Literature of Srivijaya." Journal of the Siam Society 85 (1&2): 187-194.
Tulku, Ringu, and Ann Helm. 2006. The Ri-Me Philosophy of Jamgon Kongtrul the Great: A Study of the Buddhist Lineages of Tibet. Boston, MA: Shambala Publications.