โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
การแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างจัมบิและเคดาห์ภายใต้อิทธิพลของโจฬะดำนเนินไปในช่วงระหว่างปี พ.ศ.1623-1633 เมื่อกุโลตุงคะยุ่งกับสงครามในอินเดียใต้ จากการศึกษาเรื่องศรีวิชัยของรคคุโร่ คุวาตะ (桑田六郎) ในปี พ.ศ.2515 เป็นการรวบรวมงานภาษาญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2479 และ พ.ศ.2488 แล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยคุวาตะกล่าวว่าในสือหลินเอี้ยนหยู (石林燕语) และเหวินฉางจ๋าลู่ (文昌杂录) บันทึกว่า สัม-พุท-เจย-จู้-เหลียน เป็นเมืองขึ้นของโจฬะที่เคดาห์ ในขณะที่ซ่งฮุ่ยเย่าและสู่จื่อจื้อหลง เจี้ยนฉางเปี่ยนเขียนว่าทูตจาก สัม-พุท-เจย-เคี่ยม-ปี่ (三佛齐占卑 ซัน-โฝ-ฉี-จ้าน-เป่ย) ไม่มีคนของโจฬะ สัม-พุท-เจย เป็นคำที่เรียกอาณาจักรในช่องแคบมะละกาโดยทั่วไป เช่น เอกสารริวกิวอ้างถึงปาเล็มบัง เป็น สัม-พุท-เจย-ปวด-ลิม-แพง (三佛齐浡淋邦 ซัน-โฝ-ฉี-ป่อ-หลิน-ปัง)
ในระยะแรกราชสำนักซ่งปฏิเสธทูตจาก สัม-พุท-เจย-เคี่ยม-ปี่ แต่ยอมรับทูตจากสัม-พุท-เจย-จู้-เหลียน จากนั้นจึงยอมรับจากทั้ง 2 เมือง ดังนั้นระหว่างปี พ.ศ.1620-1633 ศรีวิชัยที่จัมบิและเคดาห์ที่พ่วงคนของโจฬะส่งทูตไปจีน โดยเฉพาะในปี พ.ศ.1622-1625 ที่เข้าเฝ้าจักรพรรดิซ่งเจิ้นจงจากทั้ง 2 เมืองไม่มีการระบุพระนามมหาราชา ดังนั้นมิคซิค ซูซูกิ ฟูกามิ คาราชิม่าและคุวาตะสรุปว่าเป็นการชิงอำนาจระหว่างเคดาห์และจัมบิจากพ.ศ.1622-1625 (ดูตาราง) สัม-พุท-เจย-จู้-เหลียน ไม่ใช่ปาเล็มบังอย่างที่นักประวัติศาสตร์หลายท่านอย่างวอลเตอร์ คูลเก้หรือมูญอซเข้าใจ ปาเล็มบังควรเป็นเป็นซัน-โฝ-ฉี-ป่อ-หลิน-ปัง (สัม-พุท-เชย-ปวท-ลิม-แพยง) ราชวงศ์ไศเลนทร์อยู่ที่เคดาห์อาจจะควบคุมปาเล็มบังเหมือนในสมัยที่ยังอยู่มะธะรัมในอดีตเมื่อ 200 ปีก่อน จากการขุดค้นที่โบราณสถานเมอร์บ๊อก ที่เคดาห์มีโบราณสถานฮินดูที่น่าจะสร้างในสมัยโจฬะปกครอง ดังนั้นโจฬะมีอิทธิพลเหนือราชวงศ์ไศเลนทร์และมุ่งควบคุมช่องแคบมะละกาที่เคดาห์ ตักโกละ ปาเล็มบัง จัมบิและลามุรีที่มีโบราณวัตถุโจฬะอยู่
ในปี พ.ศ.1625 จดหมายเหตุเมืองกว่างโจว (广州史กว่างโจวสือ) บันทึกว่าเจ้าหญิงของศรีวิชัยจากจัมบิส่งการบูรและผ้ามาจีนและคนของสมาพันธรัฐศรีวิชัยสามารถเข้าถึงศูนย์อำนาจในราชสำนักซ่ง ในปีพ.ศ.1627 สมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เคดาห์ส่งทูตชื่อโควินราชะเกศารีปันนาไปเข้าเฝ้าพระเจ้ากุโลตุงคะโจฬะที่ 1 ที่โจฬะและในปีพ.ศ.1632-1633 มหาราชาแห่งเคดาห์ขอให้พระเจ้ากุโลตุงคะโจฬะที่ 1 ทรงออกพระราชโองการใหม่ที่โจฬะในการให้เงินสนับสนุนวัดจุฑามณีวรมะวิหารที่นาคปฏินัม ซึ่งจากจารึกแผ่นทองแดงเล็กปัจจุบันอยู่ที่เลย์เดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ (พ.ศ.1633) กล่าวว่าพระองค์ทรงมีพระราชโองการให้ยกเว้นภาษีแก่หมู่บ้านปาลลิคันตัมที่เป็นสถานที่ปาลลิสในพุทธศาสนาซึ่งนำรายได้เป็นกัลปนาของวัดพระพุทธศาสนาซึ่งมหาราชาศรีมาราวิชโยตุงคะวรมัน ทรงสร้างพระวิหารนี้ไว้เพื่ออุทิศให้แก่มหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะหลังจากได้รับสาส์นของราชทูตจากเมืองเคดาห์ในสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่ชื่อว่า ราชวิทยาธระศรีสมันตะและอภิมาโนชตุงคะศรีสมันตะซึ่งเป็นหลักฐานว่ามหาราชาแห่งเคดาห์เป็นพวกราชวงศ์ไศเลนทร์ หมู่บ้านทั้ง 2 แห่งมีชื่อว่า คือราเชนทราโจฬัมเปรุมปาลลิ และจุฑามณีวรมันวิหารคือราชราชาเปรุมปาลลิ
ในปี พ.ศ.1631 และ พ.ศ.1633 สมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เคดาห์ส่งทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิซ่งเจ๋อจง (พ.ศ.1628-1643) ทูตทั้งสองคณะนี้เป็นชุดสุดท้ายที่มีคนของโจฬะพ่วงไปด้วย เพราะหลังจากนั้นในปีพ.ศ.1637 และพ.ศ.1638 ไม่มีคนของโจฬะพ่วงไปกับคณะทูตศรีวิชัยไปจีนและไม่แจ้งชื่อมหาราชาแห่งศรีวิชัยด้วยทูตที่จัมบิส่งไปจีนในช่วงนี้มีชื่อว่า ศรีวิศวกุมาร ธิวะการะ ศรีสมันตะและสตวรมัน ดังนั้นในสมัยที่โจฬะควบคุมช่องแคบมะละกาสมาพันธรัฐศรีวิชัยส่งทูตไปจีนและโจฬะจากเคดาห์ไม่ใช่ปาเล็มบังตามที่นักประวัติศาสตร์ทั้งชาวตะวันตก อินโดนีเซียและมาเลเซียส่วนใหญ่เข้าใจ (ดูตาราง)
ฉวนโจวกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของฝูเจี้ยนในจีนในปีพ.ศ.1630 และมีชุมชนชาวมลายูจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและมีจารึกอิสลามและทมิฬอยู่ และในปีพ.ศ.1631 ศูนย์กลางทางการเมืองที่เคดาห์และการค้าที่ปาเล็มบังเริ่มย้ายมาที่จัมบิทำให้ราชวงศ์เมาลิที่จัมบิเริ่มได้เปรียบราชวงศ์ไศเลนทร์ใต้อิทธิพลโจฬะที่เคดาห์ในการชิงอำนาจ มีจารึกลูบอค ทัว (พ.ศ.1631) และจารึกปาดัง ลาวาส เป็นภาษาทมิฬที่เมืองบาโรชบนเกาะสุมาตรากล่าวถึงนาคสา เสนาปติ และจารึกกุโลตุงคะที่ 1 ที่นิวสุในอาเจะห์แสดงร่องรอยของพวกทมิฬโจฬะอยู่ เมื่อเมืองทางเหนือของสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เป็นอิสระจากโจฬะอยู่เช่น ไชยา ตามพรลิงค์และลังกาสุกะเข้มแข็งขึ้นก็สนับสนุนเมืองจัมบิขับไล่พวกโจฬะที่เคดาห์ออกไปในปีพ.ศ.1633 เมื่อกุโลตุงคะต้องการหลีกเลี่ยงสงครามโดยไม่จำเป็นจึงไม่สามารถควบคุมช่องแคบมะละกาได้ในที่สุดโจฬะต้องสูญเสียอิทธิพลเหนือศรีวิชัย หลังจากเคดาห์สูญเสียอำนาจทูตศรีวิชัยที่ไปจีนไม่พ่วงทูตจากอาณาจักรโจฬะอีกเลยจนถึงสมัยพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 2 แห่งอาณาจักรโจฬะได้ส่งทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิซ่งเกาจง (พ.ศ.1670-1705) ที่เมืองหังโจวในปีพ.ศ.1699 พร้อมกับทูตของสมาพันธรัฐศรีวิชัยอีก จากนั้นอาณาจักรโจฬะได้เสื่อมอำนาจลงจนล่มสลายไปในปี พ.ศ.1758 ราชวงศ์เมาลิแห่งจัมบิจึงเข้ามามีอำนาจแทนราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งเคดาห์หลังจากการแย่งชิงอำนาจกันยาวนานเมื่อกุโลตุงคะที่ 1 ตัดสินพระทัยปล่อยศรีวิชัยไปเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามที่ไม่จำเป็น
เอกสารอ้างอิง
ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ.ดิศกุล พ.ศ.2535. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ.2000. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์.
Chen Dasheng 陈达生. 1984. Quanzhou yisilanjiao shike 泉州伊斯兰教石刻 [Islamic Inscription in Quanzhou (Zaitun)]. Fuzhou: Ningxia & Fujian People's Publishing House 宁夏人民出版社 ; 福建人民出版社.
Dalayan, Duraiswamy. 2019. "Ancient Seaports on the Eastern Coast of India: The Hub of the Maritime Silk Route Network." Acta via Serica 4 (1): 25-69.
Fukami Sumio 深见纯生. 1987. "Reexamination of San-fo-ch'i: Change of Perspective of the Study on Early History of the Western Part of Insular Southeast Asia." Japanese Journal of Southeast Asian Studies 25 (2): 205-232.
Fukami Sumio 深见纯生. 1999. "San-Fo-Qi, Srivijaya and the Historiography of Insular Southeast Asia." In Commerce et Navigation en Asie du Sud-Est (XIVe-XIXe siècle), by Nguýên Thê Anh and Y. Ishigawa, 31-45. Paris and Tokyo: L'Harmattan and Sophia University.
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Karashima Noburu 辛岛昇, and Y. Subbarayalu. 2009. "Appendix I: Ancient and Medieval Tamil and Sanskrit Inscriptions Relating to Southeast Asia and China." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 271-291. Singapore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1936. "三佛齐考 赤土, 室季佛逝, 三佛齐 [A New Study of Srivijaya: Chi-Tu, Shi-Li-Fo-Shi, San-Fo-Qi]." 文政学部史学科研究年报 (History Research Annual Report of the Faculty of Arts and Political Science) (Taihoku (Taipei) Imperial University 台北帝国大学) 3.
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1945. 三佛齐考 附补考 [A Further Study of San-Fo-Qi]. Tokyo: Nanpo jinbun kenkyujo 南方人文研究所
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1972. "A Study of Srivijaya." Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko 30: 1-33.
Miksic, John Norman. 2013. Singapore and the Silk Road of the Sea 1300-1800. Singapore: NUS Press.
Miksic, John Norman. 2015. "Kerinci and the Ancient History of Jambi." In A 14th Century Malay Code of Laws: The Nitisarasmuccaya, by Uli Kozok, 17-49. Singapore: ISEAS.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wisserman-Christie, Jan. 1998. "The Midieval Tamil Language Inscriptions in Southeast Asia and China." Journal of Southeast Asian Studies 29 (2): 239-268.
การแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างจัมบิและเคดาห์ภายใต้อิทธิพลของโจฬะดำนเนินไปในช่วงระหว่างปี พ.ศ.1623-1633 เมื่อกุโลตุงคะยุ่งกับสงครามในอินเดียใต้ จากการศึกษาเรื่องศรีวิชัยของรคคุโร่ คุวาตะ (桑田六郎) ในปี พ.ศ.2515 เป็นการรวบรวมงานภาษาญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2479 และ พ.ศ.2488 แล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยคุวาตะกล่าวว่าในสือหลินเอี้ยนหยู (石林燕语) และเหวินฉางจ๋าลู่ (文昌杂录) บันทึกว่า สัม-พุท-เจย-จู้-เหลียน เป็นเมืองขึ้นของโจฬะที่เคดาห์ ในขณะที่ซ่งฮุ่ยเย่าและสู่จื่อจื้อหลง เจี้ยนฉางเปี่ยนเขียนว่าทูตจาก สัม-พุท-เจย-เคี่ยม-ปี่ (三佛齐占卑 ซัน-โฝ-ฉี-จ้าน-เป่ย) ไม่มีคนของโจฬะ สัม-พุท-เจย เป็นคำที่เรียกอาณาจักรในช่องแคบมะละกาโดยทั่วไป เช่น เอกสารริวกิวอ้างถึงปาเล็มบัง เป็น สัม-พุท-เจย-ปวด-ลิม-แพง (三佛齐浡淋邦 ซัน-โฝ-ฉี-ป่อ-หลิน-ปัง)
ในระยะแรกราชสำนักซ่งปฏิเสธทูตจาก สัม-พุท-เจย-เคี่ยม-ปี่ แต่ยอมรับทูตจากสัม-พุท-เจย-จู้-เหลียน จากนั้นจึงยอมรับจากทั้ง 2 เมือง ดังนั้นระหว่างปี พ.ศ.1620-1633 ศรีวิชัยที่จัมบิและเคดาห์ที่พ่วงคนของโจฬะส่งทูตไปจีน โดยเฉพาะในปี พ.ศ.1622-1625 ที่เข้าเฝ้าจักรพรรดิซ่งเจิ้นจงจากทั้ง 2 เมืองไม่มีการระบุพระนามมหาราชา ดังนั้นมิคซิค ซูซูกิ ฟูกามิ คาราชิม่าและคุวาตะสรุปว่าเป็นการชิงอำนาจระหว่างเคดาห์และจัมบิจากพ.ศ.1622-1625 (ดูตาราง) สัม-พุท-เจย-จู้-เหลียน ไม่ใช่ปาเล็มบังอย่างที่นักประวัติศาสตร์หลายท่านอย่างวอลเตอร์ คูลเก้หรือมูญอซเข้าใจ ปาเล็มบังควรเป็นเป็นซัน-โฝ-ฉี-ป่อ-หลิน-ปัง (สัม-พุท-เชย-ปวท-ลิม-แพยง) ราชวงศ์ไศเลนทร์อยู่ที่เคดาห์อาจจะควบคุมปาเล็มบังเหมือนในสมัยที่ยังอยู่มะธะรัมในอดีตเมื่อ 200 ปีก่อน จากการขุดค้นที่โบราณสถานเมอร์บ๊อก ที่เคดาห์มีโบราณสถานฮินดูที่น่าจะสร้างในสมัยโจฬะปกครอง ดังนั้นโจฬะมีอิทธิพลเหนือราชวงศ์ไศเลนทร์และมุ่งควบคุมช่องแคบมะละกาที่เคดาห์ ตักโกละ ปาเล็มบัง จัมบิและลามุรีที่มีโบราณวัตถุโจฬะอยู่
ในปี พ.ศ.1625 จดหมายเหตุเมืองกว่างโจว (广州史กว่างโจวสือ) บันทึกว่าเจ้าหญิงของศรีวิชัยจากจัมบิส่งการบูรและผ้ามาจีนและคนของสมาพันธรัฐศรีวิชัยสามารถเข้าถึงศูนย์อำนาจในราชสำนักซ่ง ในปีพ.ศ.1627 สมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เคดาห์ส่งทูตชื่อโควินราชะเกศารีปันนาไปเข้าเฝ้าพระเจ้ากุโลตุงคะโจฬะที่ 1 ที่โจฬะและในปีพ.ศ.1632-1633 มหาราชาแห่งเคดาห์ขอให้พระเจ้ากุโลตุงคะโจฬะที่ 1 ทรงออกพระราชโองการใหม่ที่โจฬะในการให้เงินสนับสนุนวัดจุฑามณีวรมะวิหารที่นาคปฏินัม ซึ่งจากจารึกแผ่นทองแดงเล็กปัจจุบันอยู่ที่เลย์เดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ (พ.ศ.1633) กล่าวว่าพระองค์ทรงมีพระราชโองการให้ยกเว้นภาษีแก่หมู่บ้านปาลลิคันตัมที่เป็นสถานที่ปาลลิสในพุทธศาสนาซึ่งนำรายได้เป็นกัลปนาของวัดพระพุทธศาสนาซึ่งมหาราชาศรีมาราวิชโยตุงคะวรมัน ทรงสร้างพระวิหารนี้ไว้เพื่ออุทิศให้แก่มหาราชาศรีจุฑามณีวรมะเทวะหลังจากได้รับสาส์นของราชทูตจากเมืองเคดาห์ในสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่ชื่อว่า ราชวิทยาธระศรีสมันตะและอภิมาโนชตุงคะศรีสมันตะซึ่งเป็นหลักฐานว่ามหาราชาแห่งเคดาห์เป็นพวกราชวงศ์ไศเลนทร์ หมู่บ้านทั้ง 2 แห่งมีชื่อว่า คือราเชนทราโจฬัมเปรุมปาลลิ และจุฑามณีวรมันวิหารคือราชราชาเปรุมปาลลิ
ในปี พ.ศ.1631 และ พ.ศ.1633 สมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เคดาห์ส่งทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิซ่งเจ๋อจง (พ.ศ.1628-1643) ทูตทั้งสองคณะนี้เป็นชุดสุดท้ายที่มีคนของโจฬะพ่วงไปด้วย เพราะหลังจากนั้นในปีพ.ศ.1637 และพ.ศ.1638 ไม่มีคนของโจฬะพ่วงไปกับคณะทูตศรีวิชัยไปจีนและไม่แจ้งชื่อมหาราชาแห่งศรีวิชัยด้วยทูตที่จัมบิส่งไปจีนในช่วงนี้มีชื่อว่า ศรีวิศวกุมาร ธิวะการะ ศรีสมันตะและสตวรมัน ดังนั้นในสมัยที่โจฬะควบคุมช่องแคบมะละกาสมาพันธรัฐศรีวิชัยส่งทูตไปจีนและโจฬะจากเคดาห์ไม่ใช่ปาเล็มบังตามที่นักประวัติศาสตร์ทั้งชาวตะวันตก อินโดนีเซียและมาเลเซียส่วนใหญ่เข้าใจ (ดูตาราง)
ฉวนโจวกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของฝูเจี้ยนในจีนในปีพ.ศ.1630 และมีชุมชนชาวมลายูจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและมีจารึกอิสลามและทมิฬอยู่ และในปีพ.ศ.1631 ศูนย์กลางทางการเมืองที่เคดาห์และการค้าที่ปาเล็มบังเริ่มย้ายมาที่จัมบิทำให้ราชวงศ์เมาลิที่จัมบิเริ่มได้เปรียบราชวงศ์ไศเลนทร์ใต้อิทธิพลโจฬะที่เคดาห์ในการชิงอำนาจ มีจารึกลูบอค ทัว (พ.ศ.1631) และจารึกปาดัง ลาวาส เป็นภาษาทมิฬที่เมืองบาโรชบนเกาะสุมาตรากล่าวถึงนาคสา เสนาปติ และจารึกกุโลตุงคะที่ 1 ที่นิวสุในอาเจะห์แสดงร่องรอยของพวกทมิฬโจฬะอยู่ เมื่อเมืองทางเหนือของสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เป็นอิสระจากโจฬะอยู่เช่น ไชยา ตามพรลิงค์และลังกาสุกะเข้มแข็งขึ้นก็สนับสนุนเมืองจัมบิขับไล่พวกโจฬะที่เคดาห์ออกไปในปีพ.ศ.1633 เมื่อกุโลตุงคะต้องการหลีกเลี่ยงสงครามโดยไม่จำเป็นจึงไม่สามารถควบคุมช่องแคบมะละกาได้ในที่สุดโจฬะต้องสูญเสียอิทธิพลเหนือศรีวิชัย หลังจากเคดาห์สูญเสียอำนาจทูตศรีวิชัยที่ไปจีนไม่พ่วงทูตจากอาณาจักรโจฬะอีกเลยจนถึงสมัยพระเจ้าราชราชาโจฬะที่ 2 แห่งอาณาจักรโจฬะได้ส่งทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิซ่งเกาจง (พ.ศ.1670-1705) ที่เมืองหังโจวในปีพ.ศ.1699 พร้อมกับทูตของสมาพันธรัฐศรีวิชัยอีก จากนั้นอาณาจักรโจฬะได้เสื่อมอำนาจลงจนล่มสลายไปในปี พ.ศ.1758 ราชวงศ์เมาลิแห่งจัมบิจึงเข้ามามีอำนาจแทนราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งเคดาห์หลังจากการแย่งชิงอำนาจกันยาวนานเมื่อกุโลตุงคะที่ 1 ตัดสินพระทัยปล่อยศรีวิชัยไปเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามที่ไม่จำเป็น
เอกสารอ้างอิง
ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ.ดิศกุล พ.ศ.2535. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ.2000. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์.
Chen Dasheng 陈达生. 1984. Quanzhou yisilanjiao shike 泉州伊斯兰教石刻 [Islamic Inscription in Quanzhou (Zaitun)]. Fuzhou: Ningxia & Fujian People's Publishing House 宁夏人民出版社 ; 福建人民出版社.
Dalayan, Duraiswamy. 2019. "Ancient Seaports on the Eastern Coast of India: The Hub of the Maritime Silk Route Network." Acta via Serica 4 (1): 25-69.
Fukami Sumio 深见纯生. 1987. "Reexamination of San-fo-ch'i: Change of Perspective of the Study on Early History of the Western Part of Insular Southeast Asia." Japanese Journal of Southeast Asian Studies 25 (2): 205-232.
Fukami Sumio 深见纯生. 1999. "San-Fo-Qi, Srivijaya and the Historiography of Insular Southeast Asia." In Commerce et Navigation en Asie du Sud-Est (XIVe-XIXe siècle), by Nguýên Thê Anh and Y. Ishigawa, 31-45. Paris and Tokyo: L'Harmattan and Sophia University.
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Karashima Noburu 辛岛昇, and Y. Subbarayalu. 2009. "Appendix I: Ancient and Medieval Tamil and Sanskrit Inscriptions Relating to Southeast Asia and China." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 271-291. Singapore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1936. "三佛齐考 赤土, 室季佛逝, 三佛齐 [A New Study of Srivijaya: Chi-Tu, Shi-Li-Fo-Shi, San-Fo-Qi]." 文政学部史学科研究年报 (History Research Annual Report of the Faculty of Arts and Political Science) (Taihoku (Taipei) Imperial University 台北帝国大学) 3.
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1945. 三佛齐考 附补考 [A Further Study of San-Fo-Qi]. Tokyo: Nanpo jinbun kenkyujo 南方人文研究所
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1972. "A Study of Srivijaya." Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko 30: 1-33.
Miksic, John Norman. 2013. Singapore and the Silk Road of the Sea 1300-1800. Singapore: NUS Press.
Miksic, John Norman. 2015. "Kerinci and the Ancient History of Jambi." In A 14th Century Malay Code of Laws: The Nitisarasmuccaya, by Uli Kozok, 17-49. Singapore: ISEAS.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wisserman-Christie, Jan. 1998. "The Midieval Tamil Language Inscriptions in Southeast Asia and China." Journal of Southeast Asian Studies 29 (2): 239-268.