xs
xsm
sm
md
lg

เส้นทางศรีวิชัย : เครือข่ายทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทะเลใต้ยุคโบราณ ตอน การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของราชวงศ์ซ่งเหนือที่มีผลต่อคณะทูตศรีวิชัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ดร.เกียรติกำจร มีขนอน


(ซ้าย) กู่ เอี้ยนอู๋ (???) และ (ขวา) หนังสือเทียนเซี่ยจงกั๋ว ลี่ปิงชู้(???????)
โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน

ราชวงศ์ซ่งเหนือเริ่มแยกทูตบรรณาการ (Diplomatic Mission) กับทูตการค้า (Trade Mission) ออกจากกันคณะทูตบรรณาการจะถูกบันทึกไว้ในพงศาวดารซ่งสือและซ่งฮุ่ยเย่าส่วนคณะทูตการค้าจะถูกบันทึกไว้ในหอจดหมายเหตุของเมืองกว่างโจว สำนักการค้าทางทะเลและสำนักขนส่งเมืองกว่างโจวอนุญาตให้ชาวต่างชาติตั้งถิ่นฐานในกว่างโจวได้ จารึกวัดเทียนชิ่งกวน (พ.ศ.1622) ที่ค้นพบในปี พ.ศ.2500 กล่าวว่าระหว่างปี พ.ศ.1607-1609 เรือของตี่-ฮวา-เกีย-ลาหรือธิว่าการะ (地华伽罗 ตี้-หัว-เจี้ย-หลัว) มาถึงกว่างโจวนำโดยพระญาติชื่อหรือเกีย-ลา-ลา (奇囉囉 ชี่-หลัว-หลัว) ราชทูตของพระองค์เห็นวัดเทียนซิ่งกวนของลัทธิเต๋ากว่างโจวที่สร้างในสมัยราชวงศ์ถังถูกจอมโจรล่างทำลายในปี พ.ศ.1595 เมื่อกลับไปเคดาห์จึงกราบทูลให้ธิวาการะทรงทราบเกี่ยวกับวัดที่ถูกทำลาย

ในปี พ.ศ.1610 ธิวาการะส่งศรีสมันตะหรือซิ-เลีย-ซูว-มยุน (思离沙文 ซื่อ-ลี่-ฉา-เหวิน) มาบูรณะวัดนี้ ระหว่างปีพ.ศ.1607-1613 ธิวาการะส่งเรือไปกลับระหว่างศรีวิชัยกับจีนถึง 4 เที่ยว เพื่อการบูรณะวัดแห่งนี้ เมื่อธิวาการะหรือทูตเดินทางไปกลับกว่างโจวและเคดาห์ในปีเดียวกันตั้งแต่ปี พ.ศ.1607-1613 จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเดินทางไปอินเดียใต้ในปีเดียวกันเนื่องจากการเดินเรื่องต้องอาศัยลมมรสุมตามฤดูกาล

กู่ เอี้ยนอู๋顾炎武 (พ.ศ.2156-2225) ยกข้อความมาจากจดหมายเหตุเมืองกว่างโจว (广州史กว่างโจวสือ) ในหนังสือเทียนเซี่ยจงกั๋ว ลี่ปิงชู้(天下郡国利病书)ว่า ธิวาการะส่งชี่-หลัว-หลัวมาพร้อมเครื่องบรรณาการมาให้ราชสำนักซ่งในช่วงก่อนปี พ.ศ.1607 ซึ่งเป็นคณะทูตการค้าเพราะไม่บันทึกในพงศาวดารราชวงศ์ซ่งแสดงว่าธิวาการะขึ้นครองราชย์ก่อนปี พ.ศ.1607 จดหมายเหตุเมืองกว่างโจวระบุว่าการบูรณะวัดเสร็จสิ้นในปีพ.ศ.1623 จักรพรรดิซ่งเสิ่นจงจึงพระราชทานยศให้ธิวาการะเป็นผู้ว่าราชการใหญ่ที่สนับสนุนความจงรักภักดีและระลึกถึงการบูรณะครั้งนี้โดยมัธลาหรือมา-ตัว-ฮัว-ลา (麻圖华囖 หม่า-ถู-หัว-หลัว) รับพระราชทานในฐานะทูต และในปีพ.ศ.1622 ได้มีการจารึกเหตุการณ์นี้ไว้ที่วัด

ต่อมาเมืองเคดาห์จึงก่อกบฏขึ้นในปี พ.ศ.1611 สมาพันธรัฐศรีวิชัยจึงขอร้องให้พระเจ้าวีระราเชนทราโจฬะ (พ.ศ.1606-1613 ที่โจฬะ) มาปราบกบฏที่เคดาห์ที่ธิวาการะปกครองอยู่ วีระราเชนทราโจฬะบุกเคดาห์เพื่อปราบกบฏจนสำเร็จและกลับมาขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยตามเดิม (จารึกเพรุมเบอร์ พ.ศ.1613) กบฏนี้อาจต้องการปลดแอกจากอิทธิพลของโจฬะ ในปีพ.ศ.1613 พงศาวดารซ่งฮุ่ยเย่ากล่าวว่าเมืองตามพรลิงค์หรือทัน-ลิว-มีย์ (丹流眉ตั๊น-หลิว-เหม่ย) โดยทศกะหรือทา-ซิ๊ว-กี่ (多須机 ตั้ว-ซื่อ-จี๊) ได้ส่งทูตอิสระไปจีนอีก แสดงว่าเมืองตามพรลิงค์เป็นอิสระจากอิทธิพลโจฬะที่ช่องแคบมะละกาตั้งแต่ปี พ.ศ.1587 พร้อมกับลังกาสุกะ เนื่องจากกษัตริย์ตามพรลิงค์ใช้ชื่อเดียวกันทั้งในปีพ.ศ.1544 และ 1613 ชื่อนี้น่าจะเป็นตำแหน่งกษัตริย์มากกว่าพระนามส่วนพระองค์

หลังจากที่ศรีลังกาขับไล่โจฬะออกไปเมื่อปี พ.ศ.1613 แล้วอิทธิพลของโจฬะในช่องแคบมะละกาก็เสื่อมลงทำให้จัมบิเริ่มมีอำนาจขึ้นมา ดังนั้นธิวาการะไม่เคยขึ้นครองราชย์ที่อินเดียใต้แต่ขึ้นครองราชย์ที่เคดาห์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะกษัตริย์ที่ปกครองโจฬะคือวีระราเชนทราโจฬะ (พ.ศ.1606-1612) อธิราเชนทราโจฬะ (พ.ศ.1613) และกุโลตุงคะที่ 1 (พ.ศ.1613-1661) พระองค์อาจเป็นลูกครึ่งทมิฬ-มลายู ในปี พ.ศ.1623 สมาพันธรัฐศรีวิชัยได้แจ้งราชสำนักซ่งว่าธิวาการะสิ้นพระชนม์โดยส่งผมและเล็บมาทำพิธีที่วัดที่พระองค์ช่วยซ่อมแซมที่กวางตุ้ง เมื่อกุโลตุงคะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1613 จักรววรดิ์โจฬะมีเรื่องวุ่นวายมากทำให้ต้องจัดการกับความวุ่นวายเหล่านี้ในอินเดียหลายปีไม่มีเวลาเดินทางไปจีน พระมารดาของกุโลตุงคะคือพระนางอัมมันไรเทวี เป็นเจ้าหญิงแห่งโจฬะไม่ใช่เจ้าหญิงศรีวิชัย ธิวาการะจึงไม่ใช่กุโลตุงคะตามที่นักประวัติศาสตร์หลายท่านเชื่อกัน

พวกโจฬะไม่สามารถคงกำลังทหารในสมาพันธรัฐศรีวิชัย หลังโจฬะยึดครองศรีวิชัย พุกามเริ่มยึดเมืองศรีวิชัยทางตอนเหนือริมชายฝั่งอันดามันได้มีการค้นพบจารึกอาณาจักรพุกามลงปี พ.ศ.1620 ที่เมืองมะริดซึ่งเคยอยู่ภายใต้อิทธิพลสมาพันธรัฐศรีวิชัยมาก่อนซึ่งแสดงว่าสมาพันธรัฐศรีวิชัยสูญเสียอิทธิพลบริเวณคอคอดกระเนื่องจากการชิงอำนาจระหว่างจักรวรรดิ์เขมรกับพุกาม

จากพงศาวดารซ่งสือเรื่องศรีวิชัยกล่าวว่า ในปี พ.ศ.1620 สมาพันธรัฐศรีวิชัยส่งผู้ว่าราชการใหญ่ (大首領) นามว่าตี้-หัว-เจี้ย-หลัวหรือตี-ฮวา-เกีย-ลาหรือธิวาการะเป็นราชทูตไปจีนในสมัยจักรพรรดิซ่งเสิ่นจง (พ.ศ.1610-1628) สมาพันธรัฐศรีวิชัย และในจากพงศาวดารซ่งสือเรื่องโจฬะ ธิวาการะหรือตี-ฮวา-เกีย-ลา (地华伽罗 ตี้-หัว-เจี้ย-หลัว) เป็นกษัตริย์แห่งโจฬะหรือจู-เนี่ยน (จู้-เหลียน) ส่งทูตชื่อชี่-หลัว-หลัวหรือเกีย-ลา-ลา มาถวายบรรณาการแก่จักรพรรดิซ่งเสิ่นจง ในทั้ง 2 เรื่องน่าจะเป็นบุคคลคนเดียวกันในฐานะที่เป็นผู้ว่าราชการใหญ่จากเคดาห์ทำให้ราชสำนักซ่งเข้าใจว่าอาณาจักรโจฬะเป็นเมืองขึ้นของสมาพันธรัฐศรีวิชัย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วตรงกันข้ามราชสำนักซ่งรู้จักธิวาการะเป็นอย่างดี

เมื่อคณะทูตชุดนี้บริจาคทองคำ 6 แสนแท่งซ่อมวัดเต๋าแห่งนี้จีนจึงรับรู้ว่าศรีวิชัยขึ้นกับโจฬะและกล่าวว่าศรีวิชัยไม่กลัวภัยทางทะเลอีกต่อไป ดังนั้นในระหว่างปีพ.ศ.1571-1620 ยังคงมีการค้าขายระหว่างศรีวิชัยกับจีนอย่างต่อเนื่องดังนั้นคณะทูตช่วงนี้เป็นทูตการค้าจึงมีการเดินเรือสินค้าตามปกติระหว่างจีนกับศรีวิชัย ซึ่งคณะทูตชุดนี้ใช้ชื่อว่าสัม-พุท-เชย-จู้-เหลียน (三佛齐注輦 ซัน-โฝ-ฉี-จู-เนี่ยน) ซ่งสือและซ่งฮุ่ยเย่าอธิบายว่าธิวาการะเป็นกษัตริย์โจฬะ ราชทูตของธิวาการะในปีพ.ศ.1620 ได้ใช้พิธีที่เรียกในภาษาจีนว่า 撒殿 (ซา-เตี้ยน) ที่แสดงความเคารพอย่างสูงในโจฬะ โดยราชทูตขึ้นแท่นบัลลังก์ในท้องพระโรง โดยถือขันทองคำที่มีไข่มุก การบูรและอัญมณีต่างๆและหมอบลงบนแท่นแล้วใช้ทัพพีตักสิ่งของต่างๆในขันโปรยลงต่อหน้าจักรพรรดิจีนที่ประทับอยู่บนบัลลังก์ พงศาวดารจีนกล่าวถึงซาเตี้ยน (撒殿) ถึง 5 ครั้ง คือราชทูตโจฬะพ.ศ.1558 และ พ.ศ.1576 ธิวาการะ พ.ศ.1620 ซัน-โฝ-ฉี-จู-เหนี่ยน พ.ศ.1625 และซัน-โฝ-ฉี พ.ศ.1630 มีพ่อค้าชาวมุสลิมควบคุมคณะทูตของโจฬะไปจีน ธิวาการะจึงน่าจะเป็นผู้ปกครองศรีวิชัยเชื้อสายโจฬะ

ในปี พ.ศ.1622 ราชสำนักซ่งแต่งตั้งผู้ช่วยทูตในคณะทูตศรีวิชัยปีพ.ศ.1621 เป็นหัวหน้าชุมชนมลายูขึ้นกับผู้ว่าเมืองกว่างโจวนอกเหนือจากหัวหน้าชุมชนอาหรับ ในปีพ.ศ.1625 และ 1626 ราชสำนักซ่งแต่งตั้งทูต 4 คนจากคณะทูตศรีวิชัยเป็นหัวหน้าชุมชนต่างชาติเพิ่ม โดยกษัตริย์ศรีวิชัยใช้โอกาสนี้แต่งตั้งผู้บังคับเรือให้ดูและการค้าระหว่างศรีวิชัยกับจีนที่กว่างโจว ในปีพ.ศ.1633 ราชสำนักซ่งอนุญาตให้พ่อค้าจีนออกทะเลไปค้าขายเอง ซึ่งยังคงมีชาวศรีวิชัยยังคงดำรงตำแหน่งหัวหน้าชุมชนมลายูในกว่างโจวในอีก 100 ปีต่อมาซึ่งทำให้ศรีวิชัยไม่ต้องส่งบรรณาการไปรักษาสิทธิทางการค้าจนถึงปีพ.ศ.1680 โดยเมืองท่ากว่างโจวดูแลการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรอินเดีย

เอกสารอ้างอิง
ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ.ดิศกุล พ.ศ.2535. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ.2000. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์.

Anderson, James A. 2020. "Pearls and Power: Chola's Tribute Mission to the Northern Song Court within the Maritime Silk Road Trade Network." In Silk Roads: From Local Realities to Global Narratives, by Jeffrey D. Lerner and Yaohua Shi, 223-235. Philadelphia: Oxbow Book.

Chakravarti, R. 2019. "A Subcontinent in Enduring Ties with an Enclosed Ocean (c.1000-1500CE): South Asia's Maritime Profile before European Hegemony." Journal of Medieval World 1 (2): 27-56.

Fukami Sumio 深见纯生. 1999. "San-Fo-Qi, Srivijaya and the Historiography of Insular Southeast Asia." In Commerce et Navigation en Asie du Sud-Est (XIVe-XIXe siècle), by Nguýên Thê Anh and Y. Ishigawa, 31-45. Paris: L'Harmattan

Heng, Derek Thiam Soon. 2005. Economic Interaction between China and the Malacca Straits Region: Tenth to Fourteenth A.D. Doctoral Thesis, Hull, UK: University of Hull.

Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.

Kulke, Hermann. 2009. "The Naval Expedition of the Cholas in the Context of Asian History." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 1-19. Singaore: ISEAS.

Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.

Sen, Tansen. 2009. "The Military Campaign of Rajendra Chola I and the China-Chola-Srivijaya Triangle." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 61-75. Singapore: ISEAS.

Tan Yeok Seong (Chen Yusong 陈育崧). 1964. "Sri Vijayan Inscription in Canton (AD 1079)." Journal of Southeast Asian History 5 (2): 17-24.



กำลังโหลดความคิดเห็น