โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
แม้ว่าสมาพันธรัฐศรีวิชัยถูกโจมตีเสียหายยับเยิน มีหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการยึดครองของโจฬะในภาคใต้ของไทย มาเลเซียและเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย มหาราชาศรีเทวะหรือซยิต-เถี่ย-เต็พ-ฮแว (室离叠华 ซื่อ-หลี-เตี๊ยะ-หัว) จึงขึ้นครองราชย์และส่งทูตชื่อปู่-แอป-ตา-ลา-เซียท (蒲押陀罗歇ผู่-ย้า-ถัว-หลัว-เซียะ) ไปจีนในสมัยจักรพรรดิซ่งเหวินจง (พ.ศ.1565-1606) เมื่อปี พ.ศ.1571 จากพงศาวดารซ่งสือในปี พ.ศ.1576 ศรีราเชนทราโจฬะหรือ ซยิต-เถี่ย-ลา-ต้า-จิน-ตา-จู้-ลา (尸离囉茶印陁注囉 ซื่อ-หลี-หลัว-ฉา-อิ๊น-ถัว-จู่-หลัว) หรือราเชนทราโจฬะที่ 1 ส่งทูตชื่อปู่-แอป-ตา-ลา (蒲押陀罗ผู่-ย้า-ถัว-หลัว) ไปจีนในรัชกาลเดียวกัน ทูต 2 ชื่อนี้อาจเป็นคน ๆ เดียวกันกับที่มหาราชาศรีเทวะส่งไปจีนก่อนหน้านี้
มหาราชาศรีเทวะอาจเอาชื่อพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 มาใช้และอาณาจักรโจฬะเป็นคนแต่งตั้งพระองค์ซึ่งในปี พ.ศ.1571 โจฬะอาจส่งทูตไปจีนนามศรีวิชัย ซึ่งหมายความว่าโจฬะควบคุมสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้หลังจากชนะสงครามในปีพ.ศ.1568 ซึ่งเคดาห์อยู่ภายใต้อิทธิพลของโจฬะมีหลักฐานคือซากวัดฮินดูแบบโจฬะที่นั่น ซึ่งแสดงว่าอาณาจักรโจฬะเข้าควบคุมสมาพันธรัฐศรีวิชัยในระดับหนึ่ง การค้าต่าง ๆ ก็ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่กลุ่มพ่อค้าชาวทมิฬ เช่น ไอนุรุวาร์ มานิกรามัม นานาเดสิ ปาดิเนน-วิชายัม ปัดเมน-ภูมิและอันจุรานัม เข้ามามีอิทธิพลในการค้าขายแถบช่องแคบมะละกาแต่ว่าไม่มากเท่าอิทธิพลของชาวมลายูเพราะค้าขายเฉพาะบริเวณเกาะสุมาตราทางเหนือเท่านั้น และความสัมพันธ์ระหว่างสมาพันธรัฐศรีวิชัยและโจฬะก็ดีขึ้น ขุนนางของโจฬะสามารถเข้ามารับราชการในราชสำนักของศรีวิชัยได้ โจฬะน่าจะเน้นการควบคุมช่องแคบมะละกาตามเมือง เคดาห์ ตักโกละ ลามูรี ปาเล็มบัง จัมบิและบารุสมากกว่าตามพรลิงค์หรือลังกาสุกะ (ตารางบรรณาการไปจีน) พ่อค้าชาวทมิฬเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ ตักโกละ โกตา ซินา นิวสุ (อาเจะห์) และโลบุ ทัว ใกล้กับบารุสซึ่งไม่ได้ถูกโจฬะโจมตี
เมื่ออิทธิพลของสมาพันธรัฐศรีวิชัยลดลงและอาณาจักรคะหุริปันทางชวาตะวันออกซึ่งเน้นการเกษตรมากกว่าการค้าต่างประเทศสามารถตั้งตัวเป็นอิสระได้ การรุกรานของอาณาจักรโจฬะทำให้พระนางศรีสงครามวิชายาธรรมาประสาทโธตุงคะเทวีพระราชธิดาของมหาราชาสงครามวิชโยตุงคะวรมันเสด็จหนีออกจากเคดาห์ไปยังอาณาจักรคะหุริปันทางชวาตะวันออกของพระเจ้าไอร์ลังคะและได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าไอร์ลังคะ จารึกบารุ (พ.ศ.1573) กล่าวว่าพระเจ้าไอร์ลังคะออกราชโองการควบคุมการค้าทาสจากแอฟริกา ในปีพ.ศ.1578 พระเจ้าไอร์ลังคะได้สร้างวัดพุทธศรีวิชัยยัสรามาอุทิศให้กับพระนางธรรมาประสาทโธตุงคะเทวีซึ่งเป็นมเหสีของพระองค์ ต่อมาในปีพ.ศ.1587 เมืองลังกาสุกะแยกตัวออกจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยภายใต้อิทธิพลของโจฬะสำเร็จหรือไม่ก็โจฬะไม่สามารถเอาชนะลังกาสุกะได้อาจรวมเมืองตามพรลิงค์และเมืองอื่นๆที่อยู่ตอนเหนือขึ้นไปด้วยซึ่งโจฬะก็ทำอะไรไม่ได้ จากตาราง 1 หลังจากการรุกรานของโจฬะราชวงศ์ไศเลนทร์ที่เคดาห์กลายเป็นตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวของศรีวิชัยจาก พ.ศ.1571-1613
มีการค้นพบศิลปวัตถุแบบโจฬะทั้งในแหลมมลายูและเกาะสุมาตรา มีการค้นพบศิลาจารึกภาษาทมิฬที่เขาพระนารายณ์ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ที่วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชที่กล่าวถึงทันมาเสนาปติอนุญาตพราหมณ์เทยะและที่นิวสุแถวอาเจะห์บนเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย มีการค้นพบซากโบสถ์พราหมณ์ที่อ.เวียงสระและเทวรูปสุริยเทพอิทธิพลศิลปะโจฬะที่อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เทวรูปโลกนารถ (Lokanarth) และตาราที่โกตา ซินาลงปีพ.ศ.1582 ที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะโจฬะ มีการค้นพบรูปหล่อสำริดแบบโจฬะลงปีพ.ศ.1582 โดยจารึกเป็นภาษามลายูโบราณที่กูนุง ทัว (Gunung Tua) ทปานุลิ (Tapanuli) ในเกาะสุมาตราเป็นหลักฐานอิทธิพลโจฬะในสมาพันธรัฐศรีวิชัย
ศาสตราจารย์เสนารัต ประนะวิธาน (Senarat Pranavitana) ได้ศึกษาค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐศรีลังกากับคาบสมุทรมลายูในสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ 16 โดยอ้างจารึกที่อยู่ในวิหารมาดิรีกิรี (พ.ศ.1604) และจารึกโบลันดาที่ศรีลังกาว่ามีมหาราชาสมรวิชโยตุงคะวรมัน เป็นพระอนุชาของมหาราชาศรีสงครามวิชโยตุงคะวรมันส่งพระโอรสคือมานพรามาหรือปุรันดารามาวางแผนลอบสังหารสังหารพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 แล้วยกกองทัพขับไล่โจฬะออกจากศรีวิชัยในปีพ.ศ.1587 ทำให้ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี และนีละกัณฐะ ศาสตรี และนักประวัติศาสตร์ชาวมาเลเซียหลายท่านเชื่อว่าอาณาจักรโจฬะปกครองสมาพันธรัฐศรีวิชัยตั้งแต่พ.ศ.1568-1587 แล้วถูกขับไล่ออกไปเพราะพงศาวดารมลายูที่กล่าวว่าพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโอนังกิว พระราชธิดาของมหาราชาสงครามวิชโยตุงคะวรมัน และปล้นสะดมโจมตีเมืองต่างๆของสมาพันธรัฐศรีวิชัยต่อไปตลอด 20 ปี พระองค์ได้เป็นราชาแห่งลามูรีทางเหนือของเกาะสุมาตราและเสด็จไปที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยกับพระมเหสีและสิ้นพระชนม์ที่นั่นในปี พ.ศ.1587 นักวิชาการชาวศรีลังกาหลายท่าน เช่น เฟร์นันโด กูรูเก้และวีรักโกดี พบหลักฐานที่หักล้างการอ่านจารึกมาดิรีกิรีระหว่างบรรทัดของประนะวิธานไม่น่าเชื่อถือเพราะอ่านได้อยู่คนเดียว
นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างโอ ดับบลิว วอลเตอร์ก็ไม่เชื่อถือและเคยทักท้วง ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของประนะวิธาน ดังนั้นมหาราชาสมรวิชัยโยตุงคะวรมัน ปุรันดาราหรือมานพรามาไม่มีตัวตนอยู่ในโลก จารึกโจฬะหลายแผ่น คัมภีร์จุลวงศ์ของศรีลังกาและหลักฐานจากศรีวิชัยไม่สนับสนุนทฤษฎีของประนะวิธาน ต่อมาได้มีการอ่านจารึกของพระเจ้าราชาธิราชาโจฬะที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 กล่าวว่า พระนางวีระมาเดวิยาร์ได้ทำพิธีสตีสิ้นพระชนม์ตามพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 และได้นำอัฐิของพระนางไปฝังไว้ที่สุสานของพระสวามีที่พรหมเดศัมที่ปัจจุบันอยู่ในเขตอาร์คอทเหนือ รัฐทมิฬนาดู ประเทศอินเดีย
การอ่านจารึกนี้ทำให้ทราบว่าพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 สิ้นพระชนม์ในอินเดียซึ่งหักล้างกับทฤษฎีของประนะวิธานและพงศาวดารมลายู จารึกตูรูน ฮยังและการามัน (พ.ศ.1596) บันทึกว่าอาณาจักรในชวาใช้ทาสจาก เจิงจิ (แซนซิบาร์) ปูจุต (ออสเตรเลีย) และบันดัน (ปาปัว) สำหรับเกษตรกรรมและจัดของส่งออกตามท่าเรือและยังกล่าวถึงชาวต่างชาติอย่างมลายูและเขมรในชวา ดังนั้นการค้าระหว่างศรีวิชัย ชวา กัมพูชาและแอฟริกาตะวันออกยังคงรุ่งเรือง หลักฐานฝ่ายจีนและโจฬะระบุว่าอาณาจักรโจฬะมีบทบาทในราชสำนักศรีวิชัยทางอ้อมจนถึงพ.ศ.1633 ที่อาณาจักรโจฬะหมดอิทธิพลเหนือสมาพันธรัฐศรีวิชัย
ในปี พ.ศ.1593 กองกำลังต่อต้านโจฬะในศรีลังกาเริ่มเข้มแข็งขึ้น ทำให้อิทธิพลโจฬะในศรีวิชัยอ่อนแอลง ในปีพ.ศ.1603 พระเจ้าอโนธรา (พ.ศ.1587-1620) แห่งอาณาจักรพุกามในเมียนมาร์ได้ยึดเมืองปัพลามาหรือปัพผาละที่อาจอยู่แถวเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งทางใต้ของสะเทิมจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้เป็นเมืองแรกหลังจากยึดสะเทิมหรือตะโต้งจากพวกมอญในปีพ.ศ.1600เมืองนี้เคยถูกโจฬะโจมตีในปีพ.ศ.1568 ดูเหมือนโจฬะจะไม่ทำอะไรเพราะมุ่งควบคุมช่องแคบมะละกาเป็นหลักจึงไม่สนใจการแผ่อิทธิพลของอาณาจักรพุกามลงมาที่คอคอดกระซึ่งทำให้ต้องแย่งชิงอิทธิพลกับจักรวรรดิ์เขมรที่แผ่อิทธิพลมาที่คอคอดกระเช่นกัน มีการค้นพบรูปสลักธรรมวีระมกรแห่งโซลกลงปีพ.ศ.1607 ที่จัมบิ พระเจ้าธรรมวีระแห่งโสลกอาจผู้ครองเมืองจัมบิก่อนราชวงศ์เมาลิ
เอกสารอ้างอิง
ศ.ดร.ครองชัย หัตถา. พ.ศ.2552. อาณาจักรลังกาสุกะ ประวัติศาสตร์ยุคต้นของชายแดนใต้. ปัตตานี: ภูริปริ๊นช๊อบ.
ม.จ.จันทร์จิรายุรัชนี พ.ศ.2530. อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา. กรุงเทพ: อรุณวิทยา.
ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ.ดิศกุล พ.ศ.2535. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ.2000. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์.
Cēsāttiri, S. K. 1998. The Great Temple of Thājavūr. Nile Book.
Chakravarti, R. 2019. "A Subcontinent in Enduring Ties with an Enclosed Ocean (c.1000-1500CE): South Asia's Maritime Profile before European Hegemony." Journal of Medieval World 1 (2): 27-56.
Fernando, P. E. E. 1976. "Sri Vijaya and Malaysia in Simhala Inscriptions." Sri Lanka Journal of Humanities 2 (2): 138-145.
Fukami Sumio 深见纯生. 1999. "San-Fo-Qi, Srivijaya and the Historiography of Insular Southeast Asia." In Commerce et Navigation en Asie du Sud-Est (XIVe-XIXe siècle), by Nguýên Thê Anh and Y. Ishigawa, 31-45. Paris: L'Harmattan
Guruge, Ananda W.P. 1996. "Senarat Paranavitana as a Writer of Historical Fiction in Sanskrit." Vidyodaya Journal of Social Sciences 7 (1-2): 157-179.
Hall, Kenneth R. 2004. "Local and International Trade and Traders in the Straits of Melaka Region: 600-1500." Journal of the Economic and Social History of the Orient 47 (2): 213-260.
Kulke, Hermann. 2009. "The Naval Expedition of the Cholas in the Context of Asian History." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 1-19. Singaore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Paranavitana, Senarat. 1966. Ceylon and Malaysia. Colombo: Lake House.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Weerakkoddy, D. P.M. 1997. Taprobanê: Ancient Sri Lanka as known to Greeks and Romans. Turnhout, Belgium: Brépols.
แม้ว่าสมาพันธรัฐศรีวิชัยถูกโจมตีเสียหายยับเยิน มีหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการยึดครองของโจฬะในภาคใต้ของไทย มาเลเซียและเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย มหาราชาศรีเทวะหรือซยิต-เถี่ย-เต็พ-ฮแว (室离叠华 ซื่อ-หลี-เตี๊ยะ-หัว) จึงขึ้นครองราชย์และส่งทูตชื่อปู่-แอป-ตา-ลา-เซียท (蒲押陀罗歇ผู่-ย้า-ถัว-หลัว-เซียะ) ไปจีนในสมัยจักรพรรดิซ่งเหวินจง (พ.ศ.1565-1606) เมื่อปี พ.ศ.1571 จากพงศาวดารซ่งสือในปี พ.ศ.1576 ศรีราเชนทราโจฬะหรือ ซยิต-เถี่ย-ลา-ต้า-จิน-ตา-จู้-ลา (尸离囉茶印陁注囉 ซื่อ-หลี-หลัว-ฉา-อิ๊น-ถัว-จู่-หลัว) หรือราเชนทราโจฬะที่ 1 ส่งทูตชื่อปู่-แอป-ตา-ลา (蒲押陀罗ผู่-ย้า-ถัว-หลัว) ไปจีนในรัชกาลเดียวกัน ทูต 2 ชื่อนี้อาจเป็นคน ๆ เดียวกันกับที่มหาราชาศรีเทวะส่งไปจีนก่อนหน้านี้
มหาราชาศรีเทวะอาจเอาชื่อพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 มาใช้และอาณาจักรโจฬะเป็นคนแต่งตั้งพระองค์ซึ่งในปี พ.ศ.1571 โจฬะอาจส่งทูตไปจีนนามศรีวิชัย ซึ่งหมายความว่าโจฬะควบคุมสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้หลังจากชนะสงครามในปีพ.ศ.1568 ซึ่งเคดาห์อยู่ภายใต้อิทธิพลของโจฬะมีหลักฐานคือซากวัดฮินดูแบบโจฬะที่นั่น ซึ่งแสดงว่าอาณาจักรโจฬะเข้าควบคุมสมาพันธรัฐศรีวิชัยในระดับหนึ่ง การค้าต่าง ๆ ก็ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่กลุ่มพ่อค้าชาวทมิฬ เช่น ไอนุรุวาร์ มานิกรามัม นานาเดสิ ปาดิเนน-วิชายัม ปัดเมน-ภูมิและอันจุรานัม เข้ามามีอิทธิพลในการค้าขายแถบช่องแคบมะละกาแต่ว่าไม่มากเท่าอิทธิพลของชาวมลายูเพราะค้าขายเฉพาะบริเวณเกาะสุมาตราทางเหนือเท่านั้น และความสัมพันธ์ระหว่างสมาพันธรัฐศรีวิชัยและโจฬะก็ดีขึ้น ขุนนางของโจฬะสามารถเข้ามารับราชการในราชสำนักของศรีวิชัยได้ โจฬะน่าจะเน้นการควบคุมช่องแคบมะละกาตามเมือง เคดาห์ ตักโกละ ลามูรี ปาเล็มบัง จัมบิและบารุสมากกว่าตามพรลิงค์หรือลังกาสุกะ (ตารางบรรณาการไปจีน) พ่อค้าชาวทมิฬเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ ตักโกละ โกตา ซินา นิวสุ (อาเจะห์) และโลบุ ทัว ใกล้กับบารุสซึ่งไม่ได้ถูกโจฬะโจมตี
เมื่ออิทธิพลของสมาพันธรัฐศรีวิชัยลดลงและอาณาจักรคะหุริปันทางชวาตะวันออกซึ่งเน้นการเกษตรมากกว่าการค้าต่างประเทศสามารถตั้งตัวเป็นอิสระได้ การรุกรานของอาณาจักรโจฬะทำให้พระนางศรีสงครามวิชายาธรรมาประสาทโธตุงคะเทวีพระราชธิดาของมหาราชาสงครามวิชโยตุงคะวรมันเสด็จหนีออกจากเคดาห์ไปยังอาณาจักรคะหุริปันทางชวาตะวันออกของพระเจ้าไอร์ลังคะและได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าไอร์ลังคะ จารึกบารุ (พ.ศ.1573) กล่าวว่าพระเจ้าไอร์ลังคะออกราชโองการควบคุมการค้าทาสจากแอฟริกา ในปีพ.ศ.1578 พระเจ้าไอร์ลังคะได้สร้างวัดพุทธศรีวิชัยยัสรามาอุทิศให้กับพระนางธรรมาประสาทโธตุงคะเทวีซึ่งเป็นมเหสีของพระองค์ ต่อมาในปีพ.ศ.1587 เมืองลังกาสุกะแยกตัวออกจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยภายใต้อิทธิพลของโจฬะสำเร็จหรือไม่ก็โจฬะไม่สามารถเอาชนะลังกาสุกะได้อาจรวมเมืองตามพรลิงค์และเมืองอื่นๆที่อยู่ตอนเหนือขึ้นไปด้วยซึ่งโจฬะก็ทำอะไรไม่ได้ จากตาราง 1 หลังจากการรุกรานของโจฬะราชวงศ์ไศเลนทร์ที่เคดาห์กลายเป็นตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวของศรีวิชัยจาก พ.ศ.1571-1613
มีการค้นพบศิลปวัตถุแบบโจฬะทั้งในแหลมมลายูและเกาะสุมาตรา มีการค้นพบศิลาจารึกภาษาทมิฬที่เขาพระนารายณ์ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ที่วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชที่กล่าวถึงทันมาเสนาปติอนุญาตพราหมณ์เทยะและที่นิวสุแถวอาเจะห์บนเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย มีการค้นพบซากโบสถ์พราหมณ์ที่อ.เวียงสระและเทวรูปสุริยเทพอิทธิพลศิลปะโจฬะที่อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เทวรูปโลกนารถ (Lokanarth) และตาราที่โกตา ซินาลงปีพ.ศ.1582 ที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะโจฬะ มีการค้นพบรูปหล่อสำริดแบบโจฬะลงปีพ.ศ.1582 โดยจารึกเป็นภาษามลายูโบราณที่กูนุง ทัว (Gunung Tua) ทปานุลิ (Tapanuli) ในเกาะสุมาตราเป็นหลักฐานอิทธิพลโจฬะในสมาพันธรัฐศรีวิชัย
ศาสตราจารย์เสนารัต ประนะวิธาน (Senarat Pranavitana) ได้ศึกษาค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐศรีลังกากับคาบสมุทรมลายูในสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ 16 โดยอ้างจารึกที่อยู่ในวิหารมาดิรีกิรี (พ.ศ.1604) และจารึกโบลันดาที่ศรีลังกาว่ามีมหาราชาสมรวิชโยตุงคะวรมัน เป็นพระอนุชาของมหาราชาศรีสงครามวิชโยตุงคะวรมันส่งพระโอรสคือมานพรามาหรือปุรันดารามาวางแผนลอบสังหารสังหารพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 แล้วยกกองทัพขับไล่โจฬะออกจากศรีวิชัยในปีพ.ศ.1587 ทำให้ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี และนีละกัณฐะ ศาสตรี และนักประวัติศาสตร์ชาวมาเลเซียหลายท่านเชื่อว่าอาณาจักรโจฬะปกครองสมาพันธรัฐศรีวิชัยตั้งแต่พ.ศ.1568-1587 แล้วถูกขับไล่ออกไปเพราะพงศาวดารมลายูที่กล่าวว่าพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโอนังกิว พระราชธิดาของมหาราชาสงครามวิชโยตุงคะวรมัน และปล้นสะดมโจมตีเมืองต่างๆของสมาพันธรัฐศรีวิชัยต่อไปตลอด 20 ปี พระองค์ได้เป็นราชาแห่งลามูรีทางเหนือของเกาะสุมาตราและเสด็จไปที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยกับพระมเหสีและสิ้นพระชนม์ที่นั่นในปี พ.ศ.1587 นักวิชาการชาวศรีลังกาหลายท่าน เช่น เฟร์นันโด กูรูเก้และวีรักโกดี พบหลักฐานที่หักล้างการอ่านจารึกมาดิรีกิรีระหว่างบรรทัดของประนะวิธานไม่น่าเชื่อถือเพราะอ่านได้อยู่คนเดียว
นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างโอ ดับบลิว วอลเตอร์ก็ไม่เชื่อถือและเคยทักท้วง ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของประนะวิธาน ดังนั้นมหาราชาสมรวิชัยโยตุงคะวรมัน ปุรันดาราหรือมานพรามาไม่มีตัวตนอยู่ในโลก จารึกโจฬะหลายแผ่น คัมภีร์จุลวงศ์ของศรีลังกาและหลักฐานจากศรีวิชัยไม่สนับสนุนทฤษฎีของประนะวิธาน ต่อมาได้มีการอ่านจารึกของพระเจ้าราชาธิราชาโจฬะที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 กล่าวว่า พระนางวีระมาเดวิยาร์ได้ทำพิธีสตีสิ้นพระชนม์ตามพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 และได้นำอัฐิของพระนางไปฝังไว้ที่สุสานของพระสวามีที่พรหมเดศัมที่ปัจจุบันอยู่ในเขตอาร์คอทเหนือ รัฐทมิฬนาดู ประเทศอินเดีย
การอ่านจารึกนี้ทำให้ทราบว่าพระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 สิ้นพระชนม์ในอินเดียซึ่งหักล้างกับทฤษฎีของประนะวิธานและพงศาวดารมลายู จารึกตูรูน ฮยังและการามัน (พ.ศ.1596) บันทึกว่าอาณาจักรในชวาใช้ทาสจาก เจิงจิ (แซนซิบาร์) ปูจุต (ออสเตรเลีย) และบันดัน (ปาปัว) สำหรับเกษตรกรรมและจัดของส่งออกตามท่าเรือและยังกล่าวถึงชาวต่างชาติอย่างมลายูและเขมรในชวา ดังนั้นการค้าระหว่างศรีวิชัย ชวา กัมพูชาและแอฟริกาตะวันออกยังคงรุ่งเรือง หลักฐานฝ่ายจีนและโจฬะระบุว่าอาณาจักรโจฬะมีบทบาทในราชสำนักศรีวิชัยทางอ้อมจนถึงพ.ศ.1633 ที่อาณาจักรโจฬะหมดอิทธิพลเหนือสมาพันธรัฐศรีวิชัย
ในปี พ.ศ.1593 กองกำลังต่อต้านโจฬะในศรีลังกาเริ่มเข้มแข็งขึ้น ทำให้อิทธิพลโจฬะในศรีวิชัยอ่อนแอลง ในปีพ.ศ.1603 พระเจ้าอโนธรา (พ.ศ.1587-1620) แห่งอาณาจักรพุกามในเมียนมาร์ได้ยึดเมืองปัพลามาหรือปัพผาละที่อาจอยู่แถวเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งทางใต้ของสะเทิมจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้เป็นเมืองแรกหลังจากยึดสะเทิมหรือตะโต้งจากพวกมอญในปีพ.ศ.1600เมืองนี้เคยถูกโจฬะโจมตีในปีพ.ศ.1568 ดูเหมือนโจฬะจะไม่ทำอะไรเพราะมุ่งควบคุมช่องแคบมะละกาเป็นหลักจึงไม่สนใจการแผ่อิทธิพลของอาณาจักรพุกามลงมาที่คอคอดกระซึ่งทำให้ต้องแย่งชิงอิทธิพลกับจักรวรรดิ์เขมรที่แผ่อิทธิพลมาที่คอคอดกระเช่นกัน มีการค้นพบรูปสลักธรรมวีระมกรแห่งโซลกลงปีพ.ศ.1607 ที่จัมบิ พระเจ้าธรรมวีระแห่งโสลกอาจผู้ครองเมืองจัมบิก่อนราชวงศ์เมาลิ
เอกสารอ้างอิง
ศ.ดร.ครองชัย หัตถา. พ.ศ.2552. อาณาจักรลังกาสุกะ ประวัติศาสตร์ยุคต้นของชายแดนใต้. ปัตตานี: ภูริปริ๊นช๊อบ.
ม.จ.จันทร์จิรายุรัชนี พ.ศ.2530. อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา. กรุงเทพ: อรุณวิทยา.
ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ.ดิศกุล พ.ศ.2535. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ.2000. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์.
Cēsāttiri, S. K. 1998. The Great Temple of Thājavūr. Nile Book.
Chakravarti, R. 2019. "A Subcontinent in Enduring Ties with an Enclosed Ocean (c.1000-1500CE): South Asia's Maritime Profile before European Hegemony." Journal of Medieval World 1 (2): 27-56.
Fernando, P. E. E. 1976. "Sri Vijaya and Malaysia in Simhala Inscriptions." Sri Lanka Journal of Humanities 2 (2): 138-145.
Fukami Sumio 深见纯生. 1999. "San-Fo-Qi, Srivijaya and the Historiography of Insular Southeast Asia." In Commerce et Navigation en Asie du Sud-Est (XIVe-XIXe siècle), by Nguýên Thê Anh and Y. Ishigawa, 31-45. Paris: L'Harmattan
Guruge, Ananda W.P. 1996. "Senarat Paranavitana as a Writer of Historical Fiction in Sanskrit." Vidyodaya Journal of Social Sciences 7 (1-2): 157-179.
Hall, Kenneth R. 2004. "Local and International Trade and Traders in the Straits of Melaka Region: 600-1500." Journal of the Economic and Social History of the Orient 47 (2): 213-260.
Kulke, Hermann. 2009. "The Naval Expedition of the Cholas in the Context of Asian History." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 1-19. Singaore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Paranavitana, Senarat. 1966. Ceylon and Malaysia. Colombo: Lake House.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Weerakkoddy, D. P.M. 1997. Taprobanê: Ancient Sri Lanka as known to Greeks and Romans. Turnhout, Belgium: Brépols.