โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
มหาราชาฮาจีสุมาตราภูมีหรือที่พงศาวดารซ่งสือเรียกพระองค์ว่าฮา-ทิย์-สุ-มยุท-ต้วน-ปู-เมย (霞迟苏勿吨蒲迷เสีย-ฉือ-ชู-อู้-ตุ้น-ผู่-หมี) ส่งทูตไปจีน 3 ครั้งระหว่างปี พ.ศ. 1560-1562) ในสมัยจักรพรรดิซ่งเจิ้นจง (พ.ศ.1540-1565) แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านบอกว่ามหาราชาศรีสงครามวิชโยตุงคะวรมันเป็นบุตรของมหาราชาศรีมาราวิชโยตุงคะวรมันแต่ครองอำนาจทีหลังมหาราชาฮาจีสุวรรณภูมีการแข่งขันระหว่างกษัตริย์หลายพระองค์ในสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้กลับมาอีกครั้งเมื่อ มหาราชาฮาจีสุวรรณภูมีอาจอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งบนเกาะสุมาตรา (สุววรณภูมิหรือสุวรรณทวีป) เช่น จัมบิ ปาเล็มบังหรือบารุส ต้องการแสดงความเป็นอิสระจากเคดาห์ที่อยู่บนแหลมมลายูโดยส่งทูตไปจีน 3 ปีติดกัน ในปีพ.ศ.1560 ทูตศรีวิชัยได้เที่ยวชมพระราชวังไคฟง ในปีพ.ศ.1561 ทูตศรีวิชัยไปเที่ยวเขาไท้ซานในกว่างตง
มหาราชาศรีสงครามวิชโยตุงคะวรมัน (พ.ศ.1559-1568) ช่วงนี้อาบู ไรฮาน อัลบิรูนี (Abu Rayhan al-Biruni) (พ.ศ.1516-1569) นักปราชญ์ชาวเปอร์เซียซึ่งเดินทางไปอินเดียในปีพ.ศ.1568-1569 (ปีที่โจฬะบุกศรีวิชัย) กล่าวว่าเมืองท่าโสมนาถ (ซุมนาลิในภาษาอาหรับ) เป็นจุดที่นักเดินเรือจากจีนไปแอฟริกาแวะในการเดินทางไปกลับ ได้พูดถึงการติดต่อระหว่างอินเดียและเกาะแซนซิบาร์ในแอฟริกาตะวันออก ได้บันทึกเกี่ยวกับสุวรรณทวีปหรือเกาะสุมาตราและกล่าวว่ามักมีเรือมาจากจีนผ่านช่องแคบมะละกาไปโซฟาลาที่โมซัมบิกทางชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาในหนังสือทาริค อัลฮินด์ (Tarikh al-Hind ประวัติศาสตร์อินเดีย) ในปีพ.ศ.1561 สมาพันธรัฐศรีวิชัยส่งศรี กุรุตัน เกสุธรรมเป็นหัวหน้าคณะทูตไปอาณาจักรโจฬะเพื่อถวายทองคำเป็นจำนวนมากจากจีนเพื่อสร้างวัดฮินดูเพื่อคลี่คลายความหวาดระแวงของโจฬะแสดงว่าความขัดแย้งกับอาณาจักรโจฬะได้เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว ในปีพ.ศ.1562 ศรีวิชัยส่งทองคำไปให้โจฬะเพื่อสร้างวิหาร จารึกเลย์เดนแผ่นใหญ่ภาคสันสกฤต (พ.ศ.1562) ยืนยันการสร้างวัดพุทธที่นาคปฏินัม ในปีพ.ศ.1563 อาณาจักรโจฬะส่งทูตไปจีนอีกครั้งโดยแวะที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยอีก จารึกคาเน (พ.ศ.1564) ในเกาะชวากล่าวว่าอาณาจักรคะหุริปันใช้ทาสจากแอฟริกาตะวันออกซึ่งศรีวิชัยอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
ในปี พ.ศ.1565 มหาราชาศรีสงครามวิชโยตุงคะวรมันส่งทูตไปจีนสมัยจักรพรรดิซ่งเจิ้นจง (พ.ศ.1540-1565) หรือซ่งเหรินจง (พ.ศ.1565-1606) การค้าขายในมหาสมุทรอินเดียเริ่มสั่นคลอนเมื่อราชวงศ์ฟาติมิยะห์ (Fatidmid) ที่อียิปต์มีอำนาจแทนที่ราชวงศ์อับบาซิยะห์ (Abbasid) ที่กรุงแบกแดด การค้าจึงย้ายจากท่าเรือในอ่าวเปอร์เซียมาทะเลแดงทำให้ท่าเรือที่มะละบาร์ (Malabar) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียมีความสำคัญทำให้โจฬะเริ่มแผ่ขยายอำนาจไปศรีลังกาและมัลดีฟและปราบเบงกอลในช่วงพ.ศ.1565-1566 เพื่อหลึกเลี่ยงพวกซีเซี่ยราชวงศ์ซ่งจึงส่งเสริมการค้าทางทะเล ตั้งสำนักการค้าส่งทูต 4 คณะไปยังอาณาจักรต่างๆในทะเลใต้เพื่อชักชวนให้ส่งสินค้าไปจีน มีการแข่งขันระหว่างศรีวิชัยกับชวา ในปีพ.ศ.1566 การแข่งขันทางการค้าระหว่างโจฬะและสมาพันธรัฐศรีวิชัยรุนแรงขึ้นเมื่อราชสำนักซ่งขอร้องให้พ่อค้าชาวอาหรับเปลี่ยนเส้นทางจากทางบกที่ผ่านเอเชียกลางมาเป็นเส้นทางทางทะเลที่ช่องแคบมะละกาเพื่อหลีกเลี่ยงอาณาจักรซีเซี่ยที่เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นทางตะวันตกของจีน
ต่อมาในปี พ.ศ.1568 สมาพันธรัฐศรีวิชัยได้ขัดแย้งกับอาณาจักรโจฬะ พระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 จึงส่งกองทัพเรือในปีพ.ศ.1568 เข้าโจมตีหลายเมืองของสมาพันธรัฐศรีวิชัย เช่น ปาเล็มบัง เคดาห์ (ไทรบุรี) ลังกาสุกะ ตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ตักโกละ (ตะกั่วป่า) เป็นต้นและเข้ายึดเมืองเคดาห์และจับมหาราชาสงครามวิชโยตุงคะวรมันได้แล้วขังเอาไว้ที่อินเดียในปีพ.ศ.1568 จากจารึกในวัดราชราเชศวร (Rajarajesvara) ที่ธันจาวูร์กล่าวถึงการที่โจฬะโจมตีศรีวิชัยในปีพ.ศ.1568 โจฬะโจมตีศรีวิชัยเพราะศรีวิชัยขัดขวางและแทรกแซงการค้าโดยตรงระหว่างโจฬะกับจีนผ่านทางช่องแคบมะละกา จารึกธิรุกกระไดยูร์ภาษาทมิฬบอกว่าโจฬะบุกศรีวิชัยพ.ศ.1560 แต่ไม่น่าเป็นไปได้เพราะยังติดพันสงครามหลายแห่ง นักประวัติศาสตร์หลายท่านยังเชื่อว่าปาเล็มบังยังเป็นศูนย์กลางมากกว่าเคดาห์ทั้งๆที่จารึกโจฬะหลายหลักบอกว่ามหาราชาแห่งไศเลนทร์ประทับอยู่ที่เคดาห์ วัดจุฑามณีสร้างโดยเงินบริจาคจากมหาราชาแห่งเคดาห์ โดยจารึกที่นาคปฏินัมกล่าวถึงเคดาห์ 2 แผ่นและศรีวิชัย 1 แผ่น
เอกสารอ้างอิง
Chakravarti, R. 2019. "A Subcontinent in Enduring Ties with an Enclosed Ocean (c.1000-1500CE): South Asia's Maritime Profile before European Hegemony." Journal of Medieval World 1 (2): 27-56.
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2009. "The Naval Expedition of the Cholas in the Context of Asian History." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 1-19. Singaore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.
Kumar, Ann. 2011. "The Single Most Astonishing Fact of Human Geography: Indonesia's Far West Colony." Indonesia 92: 59-95.
Kumar, Ann. 2012. "Dominion over Palm and Pine; Early Indonesia's Maritime Reach." In Anthony Reid and the Study of the Southeast Asian Part, by Geoff Wade and Tina Li, 101-112. Singapore: ISEAS.
Lombard-Salmon, Claudine. 2002. "Srivijaya, la Chine et les Marchands chinois (Xe-XIIe s.). Quelques Réflexion sur la Société de l’Empire sumatranais." Archipel 63: 67-78.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wolters, Oliver Williams. 2002. "Tambralinga." In Classical civilization of Southeast Asia, by Vladimir Braginsky. London: RoutledgeCurzon.
มหาราชาฮาจีสุมาตราภูมีหรือที่พงศาวดารซ่งสือเรียกพระองค์ว่าฮา-ทิย์-สุ-มยุท-ต้วน-ปู-เมย (霞迟苏勿吨蒲迷เสีย-ฉือ-ชู-อู้-ตุ้น-ผู่-หมี) ส่งทูตไปจีน 3 ครั้งระหว่างปี พ.ศ. 1560-1562) ในสมัยจักรพรรดิซ่งเจิ้นจง (พ.ศ.1540-1565) แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านบอกว่ามหาราชาศรีสงครามวิชโยตุงคะวรมันเป็นบุตรของมหาราชาศรีมาราวิชโยตุงคะวรมันแต่ครองอำนาจทีหลังมหาราชาฮาจีสุวรรณภูมีการแข่งขันระหว่างกษัตริย์หลายพระองค์ในสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้กลับมาอีกครั้งเมื่อ มหาราชาฮาจีสุวรรณภูมีอาจอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งบนเกาะสุมาตรา (สุววรณภูมิหรือสุวรรณทวีป) เช่น จัมบิ ปาเล็มบังหรือบารุส ต้องการแสดงความเป็นอิสระจากเคดาห์ที่อยู่บนแหลมมลายูโดยส่งทูตไปจีน 3 ปีติดกัน ในปีพ.ศ.1560 ทูตศรีวิชัยได้เที่ยวชมพระราชวังไคฟง ในปีพ.ศ.1561 ทูตศรีวิชัยไปเที่ยวเขาไท้ซานในกว่างตง
มหาราชาศรีสงครามวิชโยตุงคะวรมัน (พ.ศ.1559-1568) ช่วงนี้อาบู ไรฮาน อัลบิรูนี (Abu Rayhan al-Biruni) (พ.ศ.1516-1569) นักปราชญ์ชาวเปอร์เซียซึ่งเดินทางไปอินเดียในปีพ.ศ.1568-1569 (ปีที่โจฬะบุกศรีวิชัย) กล่าวว่าเมืองท่าโสมนาถ (ซุมนาลิในภาษาอาหรับ) เป็นจุดที่นักเดินเรือจากจีนไปแอฟริกาแวะในการเดินทางไปกลับ ได้พูดถึงการติดต่อระหว่างอินเดียและเกาะแซนซิบาร์ในแอฟริกาตะวันออก ได้บันทึกเกี่ยวกับสุวรรณทวีปหรือเกาะสุมาตราและกล่าวว่ามักมีเรือมาจากจีนผ่านช่องแคบมะละกาไปโซฟาลาที่โมซัมบิกทางชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาในหนังสือทาริค อัลฮินด์ (Tarikh al-Hind ประวัติศาสตร์อินเดีย) ในปีพ.ศ.1561 สมาพันธรัฐศรีวิชัยส่งศรี กุรุตัน เกสุธรรมเป็นหัวหน้าคณะทูตไปอาณาจักรโจฬะเพื่อถวายทองคำเป็นจำนวนมากจากจีนเพื่อสร้างวัดฮินดูเพื่อคลี่คลายความหวาดระแวงของโจฬะแสดงว่าความขัดแย้งกับอาณาจักรโจฬะได้เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว ในปีพ.ศ.1562 ศรีวิชัยส่งทองคำไปให้โจฬะเพื่อสร้างวิหาร จารึกเลย์เดนแผ่นใหญ่ภาคสันสกฤต (พ.ศ.1562) ยืนยันการสร้างวัดพุทธที่นาคปฏินัม ในปีพ.ศ.1563 อาณาจักรโจฬะส่งทูตไปจีนอีกครั้งโดยแวะที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยอีก จารึกคาเน (พ.ศ.1564) ในเกาะชวากล่าวว่าอาณาจักรคะหุริปันใช้ทาสจากแอฟริกาตะวันออกซึ่งศรีวิชัยอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
ในปี พ.ศ.1565 มหาราชาศรีสงครามวิชโยตุงคะวรมันส่งทูตไปจีนสมัยจักรพรรดิซ่งเจิ้นจง (พ.ศ.1540-1565) หรือซ่งเหรินจง (พ.ศ.1565-1606) การค้าขายในมหาสมุทรอินเดียเริ่มสั่นคลอนเมื่อราชวงศ์ฟาติมิยะห์ (Fatidmid) ที่อียิปต์มีอำนาจแทนที่ราชวงศ์อับบาซิยะห์ (Abbasid) ที่กรุงแบกแดด การค้าจึงย้ายจากท่าเรือในอ่าวเปอร์เซียมาทะเลแดงทำให้ท่าเรือที่มะละบาร์ (Malabar) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียมีความสำคัญทำให้โจฬะเริ่มแผ่ขยายอำนาจไปศรีลังกาและมัลดีฟและปราบเบงกอลในช่วงพ.ศ.1565-1566 เพื่อหลึกเลี่ยงพวกซีเซี่ยราชวงศ์ซ่งจึงส่งเสริมการค้าทางทะเล ตั้งสำนักการค้าส่งทูต 4 คณะไปยังอาณาจักรต่างๆในทะเลใต้เพื่อชักชวนให้ส่งสินค้าไปจีน มีการแข่งขันระหว่างศรีวิชัยกับชวา ในปีพ.ศ.1566 การแข่งขันทางการค้าระหว่างโจฬะและสมาพันธรัฐศรีวิชัยรุนแรงขึ้นเมื่อราชสำนักซ่งขอร้องให้พ่อค้าชาวอาหรับเปลี่ยนเส้นทางจากทางบกที่ผ่านเอเชียกลางมาเป็นเส้นทางทางทะเลที่ช่องแคบมะละกาเพื่อหลีกเลี่ยงอาณาจักรซีเซี่ยที่เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นทางตะวันตกของจีน
ต่อมาในปี พ.ศ.1568 สมาพันธรัฐศรีวิชัยได้ขัดแย้งกับอาณาจักรโจฬะ พระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 จึงส่งกองทัพเรือในปีพ.ศ.1568 เข้าโจมตีหลายเมืองของสมาพันธรัฐศรีวิชัย เช่น ปาเล็มบัง เคดาห์ (ไทรบุรี) ลังกาสุกะ ตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ตักโกละ (ตะกั่วป่า) เป็นต้นและเข้ายึดเมืองเคดาห์และจับมหาราชาสงครามวิชโยตุงคะวรมันได้แล้วขังเอาไว้ที่อินเดียในปีพ.ศ.1568 จากจารึกในวัดราชราเชศวร (Rajarajesvara) ที่ธันจาวูร์กล่าวถึงการที่โจฬะโจมตีศรีวิชัยในปีพ.ศ.1568 โจฬะโจมตีศรีวิชัยเพราะศรีวิชัยขัดขวางและแทรกแซงการค้าโดยตรงระหว่างโจฬะกับจีนผ่านทางช่องแคบมะละกา จารึกธิรุกกระไดยูร์ภาษาทมิฬบอกว่าโจฬะบุกศรีวิชัยพ.ศ.1560 แต่ไม่น่าเป็นไปได้เพราะยังติดพันสงครามหลายแห่ง นักประวัติศาสตร์หลายท่านยังเชื่อว่าปาเล็มบังยังเป็นศูนย์กลางมากกว่าเคดาห์ทั้งๆที่จารึกโจฬะหลายหลักบอกว่ามหาราชาแห่งไศเลนทร์ประทับอยู่ที่เคดาห์ วัดจุฑามณีสร้างโดยเงินบริจาคจากมหาราชาแห่งเคดาห์ โดยจารึกที่นาคปฏินัมกล่าวถึงเคดาห์ 2 แผ่นและศรีวิชัย 1 แผ่น
เอกสารอ้างอิง
Chakravarti, R. 2019. "A Subcontinent in Enduring Ties with an Enclosed Ocean (c.1000-1500CE): South Asia's Maritime Profile before European Hegemony." Journal of Medieval World 1 (2): 27-56.
Heng, Derek Thiam Soon. 2009. Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2009. "The Naval Expedition of the Cholas in the Context of Asian History." In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on Chola Naval Expeditions to Southeast Asia, by Hermann Kulke, K. Kesavapany and Vijay Sakhuja, 1-19. Singaore: ISEAS.
Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.
Kumar, Ann. 2011. "The Single Most Astonishing Fact of Human Geography: Indonesia's Far West Colony." Indonesia 92: 59-95.
Kumar, Ann. 2012. "Dominion over Palm and Pine; Early Indonesia's Maritime Reach." In Anthony Reid and the Study of the Southeast Asian Part, by Geoff Wade and Tina Li, 101-112. Singapore: ISEAS.
Lombard-Salmon, Claudine. 2002. "Srivijaya, la Chine et les Marchands chinois (Xe-XIIe s.). Quelques Réflexion sur la Société de l’Empire sumatranais." Archipel 63: 67-78.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wolters, Oliver Williams. 2002. "Tambralinga." In Classical civilization of Southeast Asia, by Vladimir Braginsky. London: RoutledgeCurzon.