**ดร.ปรเมศวร์ กุมารบุญ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บรรยายให้แก่ นิสิต ป.โท และ ป.เอก หลักสูตรอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2566
ทิศทางความวุ่นวายของโลกในระยะสั้นและระยะยาว จากเอกสารสำคัญหลายฉบับที่เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นแนวโน้ม “สงครามและการก่อการร้าย” มีไซเบอร์เทคโนโลยีเป็นตัวแปรสำคัญ
"ยุคสมัยนี้เป็นสงครามไร้ตัวตน Invisible army แตกต่างจากสมัยก่อนที่จะประกาศสงครามระหว่างกันก่อน แล้วยกกองทัพเข้าชนกัน มีข้อตกลงร่วมกันไม่ยิงทหารที่ยกธงยอมแพ้ ไม่ยิงพลเรือนเด็กหรือผู้หญิงที่อ่อนแอ ไม่ทรมานเชลยศึก ตลอดจนไม่ทำลายบ้านเรือนประชาชนและโรงพยาบาล ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นอาชญากรสงคราม
แต่เหตุที่สงครามเปลี่ยนรูปไปอย่างไร้ตัวตน โดยใช้ไซเบอร์เทคโนโลยีเป็นอาวุธสำคัญในการปะทะสังสรรและปรับยุทธวิธีรบเป็น Hybrid warfare ทั้งตามแบบและนอกรูปแบบ นั่นก็เพราะความขัดแย้งของหลายประเทศถึงจุดแตกหักที่ไม่อาจจะอยู่ร่วมกันได้อีกแล้ว จึงมุ่งเอาชนะจนไม่สนใจวิธีการอย่างมีมนุษยธรรมอีกต่อไปแล้ว"
ศูนย์รวมนักอนาคตศาสตร์อย่าง World Economic Forum ได้ตีพิมพ์รายงานความเสี่ยงของโลก Global Risks Report 2023 ที่ชี้ให้เห็นว่าความเสี่ยงต่อผลกระทบร้ายแรงของสังคมโลกในช่วง 2-10 ปีต่อจากนี้คือ ค่าครองชีพ เศรษฐกิจผันผวน ภัยจากธรรมชาติในหลากหลายมิติ อาชญากรรมไซเบอร์และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
กล่าวได้ว่า โลกกำลังปฏิเสธทุกอย่างที่เป็นผลผลิตจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ผลพวงจากก๊าซและน้ำมันปีโตเลียม ส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างที่ทุกคนทราบดีเรื่อง Climate change หรือภาวะโลกร้อน ซึ่งมนุษย์ทั้งโลกต้องร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ แต่กว่ามนุษย์จะกลับมาจับมือร่วมกันแก้ปัญหา Climate change จะเกิดความขัดแย้งลุกลามมากมายไปยาวนาน จากนั้นโลกจะก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
ในระยะใกล้ ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสังคมโลกมากมาย อาทิ ความเป็นอยู่ โรคร้าย ภัยธรรมชาติ ขาดแคลนทรัพยากร วิกฤติพลังงาน เงินเฟ้อ หนี้จากโควิด การอพยพของผู้คน สินทรัพย์ฟองสบู่แตก การถดถอยของระบบเศรษฐกิจโลก การก่อการร้าย การแย่งชิงทรัพยากรของมหาอำนาจด้วย
ความกดดันบีบคั้นให้เกิดสงครามจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ (Interstate conflict) ที่มีมานานจนปะทุในสมัยนี้ จาก Proxy war โดยมีชนวนสำคัญในการรุกรานจนลุกลามความขัดแย้งด้วย Cybercrime and Cyber insecurity
World Economic Forum แยกเป็น 2 คำสำคัญ คือ Cybercrime กับ Cyber insecurity โดย Cybercrime นั้น ดร.ปรเมศวร์ ได้อธิบายถึงการก่อคดีอาญาทุกรูปแบบบนโลกไซเบอร์ รวมถึงสงครามจิตวิทยา แต่ Cyber insecurity นั้นคือการมุ่งเป้าหาช่องโหว่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างความเสียหายเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีที่สำคัญของหลายประเทศและกลุ่มก่อการร้ายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่เดิมต่างฝ่ายต่างต้องการสร้างกองทัพนักรบไซเบอร์ แต่อย่างไรก็ตามกลับเปลี่ยนมาใช้บริการนักรบไซเบอร์รับจ้างแทนหรือที่เรียกว่า Cyber mercenary
นักรบรับจ้างหรือทหารรับจ้าง (Mercenary) ทั้งอเมริกาและรัสเซีย ใช้งบประมาณว่าจ้างกองทัพเอกชนอย่างเป็นเรื่องเป็นราว โดยกองทัพเอกชนหรือ Private Military Company (PMC) เป็นบริษัทเอกชนในรูปแบบบริษัท ที่รัฐประกาศ TOR แล้วหาบริษัทมารับงาน ทำงานอารักขาและให้คำปรึกษา ถ้าออกรบก็ทำหน้าที่ในนามรัฐบาล แน่นอนว่าบริษัทเหล่านี้ก็คือ อดีตนายทหารและบริษัทค้าอาวุธร่วมมือกัน
ส่วนทหารรับจ้างที่เรียกว่า Mercenary แบบดั้งเดิมไม่ใช่บริษัท ไม่ได้ทำหน้าที่ในนามรัฐบาลแต่มีรูปแบบองค์กรอาชญากรรมหรือมาเฟีย ผู้มีอิทธิพล กองโจรหรือกลุ่มก่อการร้าย ที่รบตามคำสั่งประเทศนั้นๆ ว่าจ้าง อาจจะไม่ได้ประกวดราคา แต่ใช้งบลับหรือรัฐบาลให้งบสนับสนุน รู้กันว่าฝ่ายใดส่งมาปฏิบัติการ ส่วนใหญ่เป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ กลุ่มก่อการร้าย
และเมื่อการรบด้วยอาวุธไซเบอร์ (Cyber weapon) เป็นที่ต้องการของหลายประเทศ และกลุ่มก่อการร้าย แต่ส่วนใหญ่กลุ่มก่อการร้ายไม่อาจสร้างกองทัพนักรบไซเบอร์ได้สำเร็จ อาจจะด้วยเหตุผลวัฒนธรรมองค์กรหรือรายได้หรือรูปแบบองค์กรทหาร ผู้เชี่ยวชาญไซเบอร์ที่ผันตัวเป็นโจร (Cyber criminals) จึงกลายร่างเป็นนักรบรับจ้างทางไซเบอร์ บอกเป้าหมายภารกิจมาก็พอ เป็นประเทศใดหรือองค์กรใด ไม่ต้องใส่เครื่องแบบ และเป็นธุรกิจมืดที่เติบโตที่สุดในยุคโควิดที่ผ่านมา
"ไมโครซอฟต์ ได้ตีพิมพ์เอกสารที่จัดว่าเด็ดมากชื่อ Microsoft Digital Defense Report 2023 นอกจากรายงานภาพรวมภัยคุกคามจากไซเบอร์ทั่วโลกครอบคลุมแล้ว ยังเปิดเผยข้อมูลสำคัญของกลุ่มก่อการร้าย ปฏิบัติการภารกิจพิเศษ การปะทะกันกับประเทศต่างๆ ในสมรภูมิสำคัญ อาทิ รัสเซีย ยูเครน จีน อิหร่าน เกาหลีเหนือ และแม้แต่ร่องรอยการเริ่มโจมตีอิสราเอล อาทิ โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะสำคัญ พลังงาน ระบบโทรคมนาคมและกองทัพ ที่มีทิศทางอาวุธไซเบอร์มาจากฉนวนกาซ่าและคาดว่าน่าจะเป็นมือของกลุ่มฮามาส นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา"
"รายงานฉบับนี้ของไมโครซอฟต์ยังกล่าวว่า ในปี 2023 นี้ หากวัดอุณภูมิความขัดแย้งบนโลกไซเบอร์ เรียกได้ว่าปีนี้อุณหภูมิถึงจุดเดือดแล้ว"
ไมโครซอฟต์ ได้จัดรูปแบบกลุ่มอาชญากรไซเบอร์หรือนักรบไซเบอร์รับจ้างที่ปฏิบัติการในแต่ละภูมิภาคออกเป็น theme of weather หรือรูปแบบลักษณะอากาศดังนี้
กลุ่มประเทศรัสเซีย จะเรียกว่า Blizzard หรือพายุหิมะ เช่น Seashell Blizzard, Midnight Blizzard, Star Blizzard, Aqua Blizzard และ Cadet Blizzard มีลักษณะการโจมตีด้วย worm เพื่อทำ phishing attacks, social engineering, information operation และอีกหลายรูปแบบวิธีเพื่อโจมตีกลุ่มประเทศนาโต้ ข่าวว่ารัสเซียสนับสนุนปฏิบัติการเหล่านี้
กลุ่มประเทศจีนจะเรียกว่า Typhoon หรือ ใต้ฝุ่น เช่น Volt Typhoon, Rapsberry Typhoon, Flax Typhoon, Circle Typhoon และ Mulberry Typhoon มีลักษณะการโจมตีมุ่งไปที่โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะสำคัญของสหรัฐอเมริกา สงครามข้อมูลข่าวสาร ข่าวว่าจีนสนับสนุนปฏิบัติการเหล่านี้
กลุ่มประเทศอิหร่านจะเรียกว่า Sandstorm หรือพายุทะเลทราย เช่น Mango Sandstorm, cotton Sandstorm, Peach Sandstorm, Mint Sandstorm และ Pumpkin Sandstorm มีลักษณะการโจมตีเพื่อควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายระยะไกล สร้างความปั่นป่วนทางธุรกิจ โจมตีโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะสำคัญ โจมตีแบบ APT ข่าวว่าอิหร่านสนับสนุนปฏิบัติการเหล่านี้
และยังมีอีกหลายๆ กลุ่ม โดย The Carnegie Endowment for International Peace ให้ข้อมูลว่าอาจมีถึง 74 รัฐบาลที่มีการทำสัญญาจ้างนักรบไซเบอร์รับจ้างปฏิบัติการภารกิจพิเศษทั้ง Spyware และ digital forensic
ความขัดแย้งระหว่าง State actor กับคู่ขัดแย้งหรือ Terrorist actor และ Proxy actor ใครครอบครองศักยภาพด้าน Cyber technology สูงกว่า คนนั้นย่อมได้เปรียบและเพิ่มอำนาจต่อรองข้อเรียกร้องต่างๆ โดยตัวแปรที่สำคัญกลายเป็นนักรบไซเบอร์รับจ้างที่อยู่เบื้องหลัง และกลายเป็นธุรกิจใหญ่ที่เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะอาจจะมีงบลับมหาศาลคอยสนับสนุน
นั่นหมายความบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูงบนโลกของเรากำลังมุ่งสู่อุตสาหกรรมทำลายล้างกันเองของมนุษยชาติ ธุรกิจสงครามกำลังเติบโต ผนวกกับสิ่งแวดล้อมที่นับวันทวีความวิกฤติ ขาดแคลน อดยาก หลายชีวิตบนโลกกำลังจะเผชิญชะตากรรมที่ทุกข์ทรมาน แล้วประเทศไทยจะทำอะไรดี?
“หากมองการโลกปัจจุบันผ่านสายตานักรัฐศาสตร์ ด้านอาชญาวิทยา ประเทศต้องวางยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดินแบบ National crisis management เหมือนการบริหารธุรกิจในภาวะวิกฤติ รัดเข็มขัด รัดกุมในทุกประเด็น เพราะสถานการณ์แวดล้อมรอบโลกไม่มีปัจจัยเอื้อให้ GDP เติบโต ตรงกันข้ามหากความขัดแย้งลุกลาม หลายประเทศที่เราเคยได้ดุลการค้าคงจะขาดกำลังซื้อ เราก็ไม่สามารถอยู่ได้เพราะพึ่งพาการส่งออกอย่างเดียวในตอนนี้ การท่องเที่ยวก็ยังไม่กลับมา แล้วการนำเข้าจะทำอย่างไรดีไม่ให้ขาดดุลมาก อยู่อย่างพอเพียงให้ริดได้หรือไม่
ไม่มีใครตอบได้ว่าสงครามจะลุกลามหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ Climate change สร้างปัญหาแน่นอน ประเทศไทยอาจมีโอกาสจะยกระดับความปลอดภัยเป็น Safe zone ให้ชาวต่างชาติที่มีกำลังจ่ายเข้ามาหลบภัยได้หรือไม่ เรามีอาหารและบริการที่ดี แต่ก็วางใจไม่ได้กับการถูกหางเลขจากกลุ่มก่อการร้าย เพราะมีเหตุการณ์หลายครั้งมาแล้วในอดีต ทั้งที่เราเป็นกลาง คนไทยรักสงบ ไม่เลือกปฏิบัติกับคนต่างชาติต่างศาสนา แต่ก็ไม่พ้นถูกมองเป็นพันธมิตรประเทศมหาอำนาจ การวางท่าทีเป็นกลางต้องชัดเจน อีกทั้งการจัดเตรียมความพร้อมด้านวิศวกรรมป้องกันประเทศ แม้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ แต่รัฐต้องเพิ่มให้ถูกทาง จริงๆ แล้วการเพิ่มขีดความสามารถกองทัพทำไปเพื่อไม่ให้รบ ไม่ใช่เพิ่มขีดความสามารถกองทัพเพื่อรบ การสวนสนาม การจัดงานอีเว้นต์ การทำสารคดี เป็นทฤษฎีเกมแต่ประชนชาชนไม่เข้าใจ รัฐก็ไม่อธิบาย อยากให้ประชาชนคิดได้เอง
แต่หากสงครามจะลุกลามจริงๆ นักรบไซเบอร์รับจ้างจะเป็นตัวแปรให้ใครชนะหรือแพ้ แต่เรื่องที่แย่หน่อยคือพวกเขาทำเพื่อเงิน ยังไม่มีกลุ่มใดมีอุดมการณ์ออกมาทำเพื่อสันติภาพ ประเทศผู้ชนะคือประเทศที่มีเงิน ประเทศผู้ชนะจะได้ครอบครองทรัพยากร และจัดระเบียบโลกใหม่ โลกของเราจะย้อนกลับไปสมัยโบราณยุคล่าอาณานิคม ดังทฤษฎี Mahan’s theory ประเทศใดมีกองทัพยิ่งใหญ่ ประเทศนั้นจะมั่งคั่ง ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองทางวิชาการ เป็นความเห็นส่วนตัวโปรดใช้วิจารณญาณ ไม่ได้มีเจตนาให้หวาดกลัวครับ ขอให้โลกสงบสุข และมีสันติภาพครับ”
บรรยายให้แก่ นิสิต ป.โท และ ป.เอก หลักสูตรอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2566
ทิศทางความวุ่นวายของโลกในระยะสั้นและระยะยาว จากเอกสารสำคัญหลายฉบับที่เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นแนวโน้ม “สงครามและการก่อการร้าย” มีไซเบอร์เทคโนโลยีเป็นตัวแปรสำคัญ
"ยุคสมัยนี้เป็นสงครามไร้ตัวตน Invisible army แตกต่างจากสมัยก่อนที่จะประกาศสงครามระหว่างกันก่อน แล้วยกกองทัพเข้าชนกัน มีข้อตกลงร่วมกันไม่ยิงทหารที่ยกธงยอมแพ้ ไม่ยิงพลเรือนเด็กหรือผู้หญิงที่อ่อนแอ ไม่ทรมานเชลยศึก ตลอดจนไม่ทำลายบ้านเรือนประชาชนและโรงพยาบาล ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นอาชญากรสงคราม
แต่เหตุที่สงครามเปลี่ยนรูปไปอย่างไร้ตัวตน โดยใช้ไซเบอร์เทคโนโลยีเป็นอาวุธสำคัญในการปะทะสังสรรและปรับยุทธวิธีรบเป็น Hybrid warfare ทั้งตามแบบและนอกรูปแบบ นั่นก็เพราะความขัดแย้งของหลายประเทศถึงจุดแตกหักที่ไม่อาจจะอยู่ร่วมกันได้อีกแล้ว จึงมุ่งเอาชนะจนไม่สนใจวิธีการอย่างมีมนุษยธรรมอีกต่อไปแล้ว"
ศูนย์รวมนักอนาคตศาสตร์อย่าง World Economic Forum ได้ตีพิมพ์รายงานความเสี่ยงของโลก Global Risks Report 2023 ที่ชี้ให้เห็นว่าความเสี่ยงต่อผลกระทบร้ายแรงของสังคมโลกในช่วง 2-10 ปีต่อจากนี้คือ ค่าครองชีพ เศรษฐกิจผันผวน ภัยจากธรรมชาติในหลากหลายมิติ อาชญากรรมไซเบอร์และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
กล่าวได้ว่า โลกกำลังปฏิเสธทุกอย่างที่เป็นผลผลิตจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ผลพวงจากก๊าซและน้ำมันปีโตเลียม ส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างที่ทุกคนทราบดีเรื่อง Climate change หรือภาวะโลกร้อน ซึ่งมนุษย์ทั้งโลกต้องร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ แต่กว่ามนุษย์จะกลับมาจับมือร่วมกันแก้ปัญหา Climate change จะเกิดความขัดแย้งลุกลามมากมายไปยาวนาน จากนั้นโลกจะก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
ในระยะใกล้ ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสังคมโลกมากมาย อาทิ ความเป็นอยู่ โรคร้าย ภัยธรรมชาติ ขาดแคลนทรัพยากร วิกฤติพลังงาน เงินเฟ้อ หนี้จากโควิด การอพยพของผู้คน สินทรัพย์ฟองสบู่แตก การถดถอยของระบบเศรษฐกิจโลก การก่อการร้าย การแย่งชิงทรัพยากรของมหาอำนาจด้วย
ความกดดันบีบคั้นให้เกิดสงครามจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ (Interstate conflict) ที่มีมานานจนปะทุในสมัยนี้ จาก Proxy war โดยมีชนวนสำคัญในการรุกรานจนลุกลามความขัดแย้งด้วย Cybercrime and Cyber insecurity
World Economic Forum แยกเป็น 2 คำสำคัญ คือ Cybercrime กับ Cyber insecurity โดย Cybercrime นั้น ดร.ปรเมศวร์ ได้อธิบายถึงการก่อคดีอาญาทุกรูปแบบบนโลกไซเบอร์ รวมถึงสงครามจิตวิทยา แต่ Cyber insecurity นั้นคือการมุ่งเป้าหาช่องโหว่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างความเสียหายเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีที่สำคัญของหลายประเทศและกลุ่มก่อการร้ายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่เดิมต่างฝ่ายต่างต้องการสร้างกองทัพนักรบไซเบอร์ แต่อย่างไรก็ตามกลับเปลี่ยนมาใช้บริการนักรบไซเบอร์รับจ้างแทนหรือที่เรียกว่า Cyber mercenary
นักรบรับจ้างหรือทหารรับจ้าง (Mercenary) ทั้งอเมริกาและรัสเซีย ใช้งบประมาณว่าจ้างกองทัพเอกชนอย่างเป็นเรื่องเป็นราว โดยกองทัพเอกชนหรือ Private Military Company (PMC) เป็นบริษัทเอกชนในรูปแบบบริษัท ที่รัฐประกาศ TOR แล้วหาบริษัทมารับงาน ทำงานอารักขาและให้คำปรึกษา ถ้าออกรบก็ทำหน้าที่ในนามรัฐบาล แน่นอนว่าบริษัทเหล่านี้ก็คือ อดีตนายทหารและบริษัทค้าอาวุธร่วมมือกัน
ส่วนทหารรับจ้างที่เรียกว่า Mercenary แบบดั้งเดิมไม่ใช่บริษัท ไม่ได้ทำหน้าที่ในนามรัฐบาลแต่มีรูปแบบองค์กรอาชญากรรมหรือมาเฟีย ผู้มีอิทธิพล กองโจรหรือกลุ่มก่อการร้าย ที่รบตามคำสั่งประเทศนั้นๆ ว่าจ้าง อาจจะไม่ได้ประกวดราคา แต่ใช้งบลับหรือรัฐบาลให้งบสนับสนุน รู้กันว่าฝ่ายใดส่งมาปฏิบัติการ ส่วนใหญ่เป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ กลุ่มก่อการร้าย
และเมื่อการรบด้วยอาวุธไซเบอร์ (Cyber weapon) เป็นที่ต้องการของหลายประเทศ และกลุ่มก่อการร้าย แต่ส่วนใหญ่กลุ่มก่อการร้ายไม่อาจสร้างกองทัพนักรบไซเบอร์ได้สำเร็จ อาจจะด้วยเหตุผลวัฒนธรรมองค์กรหรือรายได้หรือรูปแบบองค์กรทหาร ผู้เชี่ยวชาญไซเบอร์ที่ผันตัวเป็นโจร (Cyber criminals) จึงกลายร่างเป็นนักรบรับจ้างทางไซเบอร์ บอกเป้าหมายภารกิจมาก็พอ เป็นประเทศใดหรือองค์กรใด ไม่ต้องใส่เครื่องแบบ และเป็นธุรกิจมืดที่เติบโตที่สุดในยุคโควิดที่ผ่านมา
"ไมโครซอฟต์ ได้ตีพิมพ์เอกสารที่จัดว่าเด็ดมากชื่อ Microsoft Digital Defense Report 2023 นอกจากรายงานภาพรวมภัยคุกคามจากไซเบอร์ทั่วโลกครอบคลุมแล้ว ยังเปิดเผยข้อมูลสำคัญของกลุ่มก่อการร้าย ปฏิบัติการภารกิจพิเศษ การปะทะกันกับประเทศต่างๆ ในสมรภูมิสำคัญ อาทิ รัสเซีย ยูเครน จีน อิหร่าน เกาหลีเหนือ และแม้แต่ร่องรอยการเริ่มโจมตีอิสราเอล อาทิ โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะสำคัญ พลังงาน ระบบโทรคมนาคมและกองทัพ ที่มีทิศทางอาวุธไซเบอร์มาจากฉนวนกาซ่าและคาดว่าน่าจะเป็นมือของกลุ่มฮามาส นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา"
"รายงานฉบับนี้ของไมโครซอฟต์ยังกล่าวว่า ในปี 2023 นี้ หากวัดอุณภูมิความขัดแย้งบนโลกไซเบอร์ เรียกได้ว่าปีนี้อุณหภูมิถึงจุดเดือดแล้ว"
ไมโครซอฟต์ ได้จัดรูปแบบกลุ่มอาชญากรไซเบอร์หรือนักรบไซเบอร์รับจ้างที่ปฏิบัติการในแต่ละภูมิภาคออกเป็น theme of weather หรือรูปแบบลักษณะอากาศดังนี้
กลุ่มประเทศรัสเซีย จะเรียกว่า Blizzard หรือพายุหิมะ เช่น Seashell Blizzard, Midnight Blizzard, Star Blizzard, Aqua Blizzard และ Cadet Blizzard มีลักษณะการโจมตีด้วย worm เพื่อทำ phishing attacks, social engineering, information operation และอีกหลายรูปแบบวิธีเพื่อโจมตีกลุ่มประเทศนาโต้ ข่าวว่ารัสเซียสนับสนุนปฏิบัติการเหล่านี้
กลุ่มประเทศจีนจะเรียกว่า Typhoon หรือ ใต้ฝุ่น เช่น Volt Typhoon, Rapsberry Typhoon, Flax Typhoon, Circle Typhoon และ Mulberry Typhoon มีลักษณะการโจมตีมุ่งไปที่โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะสำคัญของสหรัฐอเมริกา สงครามข้อมูลข่าวสาร ข่าวว่าจีนสนับสนุนปฏิบัติการเหล่านี้
กลุ่มประเทศอิหร่านจะเรียกว่า Sandstorm หรือพายุทะเลทราย เช่น Mango Sandstorm, cotton Sandstorm, Peach Sandstorm, Mint Sandstorm และ Pumpkin Sandstorm มีลักษณะการโจมตีเพื่อควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายระยะไกล สร้างความปั่นป่วนทางธุรกิจ โจมตีโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะสำคัญ โจมตีแบบ APT ข่าวว่าอิหร่านสนับสนุนปฏิบัติการเหล่านี้
และยังมีอีกหลายๆ กลุ่ม โดย The Carnegie Endowment for International Peace ให้ข้อมูลว่าอาจมีถึง 74 รัฐบาลที่มีการทำสัญญาจ้างนักรบไซเบอร์รับจ้างปฏิบัติการภารกิจพิเศษทั้ง Spyware และ digital forensic
ความขัดแย้งระหว่าง State actor กับคู่ขัดแย้งหรือ Terrorist actor และ Proxy actor ใครครอบครองศักยภาพด้าน Cyber technology สูงกว่า คนนั้นย่อมได้เปรียบและเพิ่มอำนาจต่อรองข้อเรียกร้องต่างๆ โดยตัวแปรที่สำคัญกลายเป็นนักรบไซเบอร์รับจ้างที่อยู่เบื้องหลัง และกลายเป็นธุรกิจใหญ่ที่เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะอาจจะมีงบลับมหาศาลคอยสนับสนุน
นั่นหมายความบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูงบนโลกของเรากำลังมุ่งสู่อุตสาหกรรมทำลายล้างกันเองของมนุษยชาติ ธุรกิจสงครามกำลังเติบโต ผนวกกับสิ่งแวดล้อมที่นับวันทวีความวิกฤติ ขาดแคลน อดยาก หลายชีวิตบนโลกกำลังจะเผชิญชะตากรรมที่ทุกข์ทรมาน แล้วประเทศไทยจะทำอะไรดี?
“หากมองการโลกปัจจุบันผ่านสายตานักรัฐศาสตร์ ด้านอาชญาวิทยา ประเทศต้องวางยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดินแบบ National crisis management เหมือนการบริหารธุรกิจในภาวะวิกฤติ รัดเข็มขัด รัดกุมในทุกประเด็น เพราะสถานการณ์แวดล้อมรอบโลกไม่มีปัจจัยเอื้อให้ GDP เติบโต ตรงกันข้ามหากความขัดแย้งลุกลาม หลายประเทศที่เราเคยได้ดุลการค้าคงจะขาดกำลังซื้อ เราก็ไม่สามารถอยู่ได้เพราะพึ่งพาการส่งออกอย่างเดียวในตอนนี้ การท่องเที่ยวก็ยังไม่กลับมา แล้วการนำเข้าจะทำอย่างไรดีไม่ให้ขาดดุลมาก อยู่อย่างพอเพียงให้ริดได้หรือไม่
ไม่มีใครตอบได้ว่าสงครามจะลุกลามหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ Climate change สร้างปัญหาแน่นอน ประเทศไทยอาจมีโอกาสจะยกระดับความปลอดภัยเป็น Safe zone ให้ชาวต่างชาติที่มีกำลังจ่ายเข้ามาหลบภัยได้หรือไม่ เรามีอาหารและบริการที่ดี แต่ก็วางใจไม่ได้กับการถูกหางเลขจากกลุ่มก่อการร้าย เพราะมีเหตุการณ์หลายครั้งมาแล้วในอดีต ทั้งที่เราเป็นกลาง คนไทยรักสงบ ไม่เลือกปฏิบัติกับคนต่างชาติต่างศาสนา แต่ก็ไม่พ้นถูกมองเป็นพันธมิตรประเทศมหาอำนาจ การวางท่าทีเป็นกลางต้องชัดเจน อีกทั้งการจัดเตรียมความพร้อมด้านวิศวกรรมป้องกันประเทศ แม้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ แต่รัฐต้องเพิ่มให้ถูกทาง จริงๆ แล้วการเพิ่มขีดความสามารถกองทัพทำไปเพื่อไม่ให้รบ ไม่ใช่เพิ่มขีดความสามารถกองทัพเพื่อรบ การสวนสนาม การจัดงานอีเว้นต์ การทำสารคดี เป็นทฤษฎีเกมแต่ประชนชาชนไม่เข้าใจ รัฐก็ไม่อธิบาย อยากให้ประชาชนคิดได้เอง
แต่หากสงครามจะลุกลามจริงๆ นักรบไซเบอร์รับจ้างจะเป็นตัวแปรให้ใครชนะหรือแพ้ แต่เรื่องที่แย่หน่อยคือพวกเขาทำเพื่อเงิน ยังไม่มีกลุ่มใดมีอุดมการณ์ออกมาทำเพื่อสันติภาพ ประเทศผู้ชนะคือประเทศที่มีเงิน ประเทศผู้ชนะจะได้ครอบครองทรัพยากร และจัดระเบียบโลกใหม่ โลกของเราจะย้อนกลับไปสมัยโบราณยุคล่าอาณานิคม ดังทฤษฎี Mahan’s theory ประเทศใดมีกองทัพยิ่งใหญ่ ประเทศนั้นจะมั่งคั่ง ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองทางวิชาการ เป็นความเห็นส่วนตัวโปรดใช้วิจารณญาณ ไม่ได้มีเจตนาให้หวาดกลัวครับ ขอให้โลกสงบสุข และมีสันติภาพครับ”