โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
มหาราชาสมรตุงคะหรือสมรกรวิระ (ประมาณพ.ศ.1343-1375) สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระราชโอรสของมหาราชาธรณินทราชาอภิเษกได้สมรสกับเทวี ตาราพระราชธิดาของราชาธรรมเสตุซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์ในสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปี พ.ศ.1335 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสมาพันธรัฐศรีวิชัยและราชวงศ์ไศเลนทร์ใกล้ชิดกันมากขึ้น จากจารึกการังเต็งกะ (พ.ศ.1367 และ 1390) ระบุว่าพระองค์เป็นเป็นอัญมณีแห่งไศเลนทรวงศ์ (ดิลกไศเลนทรวงศ์) เป็นหัวหน้าของราชวงศ์ไศเลนทร์ สมรกระวีระหรือสมรตุงคะครองราชย์ต่อจากมหาราชาธรณินทราชาในปีพ.ศ.1343 ต่อมาในปีพ.ศ.1344 ตู้โย่ว (杜祐) นักเขียนชาวจีนในสมัยจักรพรรดิถังเต๋อจง (พ.ศ.1323-1348) ได้ตีพิมพ์สารานุกรมชื่อ ท้งเตี๋ยน (通典) กล่าวถึงวัดพุทธศาสนา 11 แห่งที่ปัน-ปันในสมัยของพระองค์
แต่มีอยู่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ทฤษฎีที่ 1 เชื่อว่าพระองค์อาจจะเป็นพระโอรสของมหาราชาธรณินทราชาซึ่งก่อนหน้านี้ กรอมหรือเซเดซ์ระบุว่ามหาราชาสมรกรวิระเป็นคนๆเดียวกับมหาราชาสมรตุงคะซึ่งนักประวัติศาสตร์รุ่นเก่าอย่าง บอสและเดอ คาสปาริสเชื่อว่ามหาราชาพาลบุตรเป็นพระองค์โอรสองค์เล็กของมหาราชาสมรตุงคะและเป็นพระอนุชาของพระนางประโมทวรรธนี ตามทฤษฎีที่ 2 สลาเม็ต มุลยานะและแจน วิสเซอร์มัน สันนิษฐานว่าราไควรักคือสมรกระวีระ พระบิดาของพาลบุตรกษัตริย์แห่งศรีวิชัยและมุลยานะยังสันนิษฐานอีกว่าสมรตุงคะคือราไคการุงผู้ปกครองมะธะรัมคนที่ 4 ตามจารึกมันธยาสิ ถ้าเป็นจริงสมรตุงคะสืบราชสมบัติต่อจากสมรกระวีระและพาลบุตรที่เป็นลูกของสมรกระวีระเป็นน้องชายของสมรตุงคะและอาของประโมทวรรธนี พาลบุตรอ้างสิทธิในมะธะรัมในชวาที่เป็นของหลานสาวและหลานเขยอย่างราไคปิกะตันปกครองอยู่
แต่ถ้าดูตามจารึกมันทยาสิ (พ.ศ.1450) และวันนัว เต็งกะที่ 3 (พ.ศ.1451) หลังจากราไคสัญชัยเป็นราไคปนมกรณ์ ราไคปนุงกลัน (พ.ศ.1327-1346) ราไควรัก (พ.ศ.1346-1370) และราไคการุงตามลำดับ ซุนเบอร์กเชื่อว่าสมรตุงคะคือปนาราบันและพาลบุตรคือวรัค จารึกศรีมงคลที่ 1 จากที่ราบสูงเดียง (พ.ศ.1352) จารึกแผ่นทองแดงแห่งกูรง (พ.ศ.1362) และกันดาซุลิ (พ.ศ.1375) ได้สลักขึ้น ราไคปนุงกลันไม่ใช่มหาราชาธรณินทราชาที่ครองราชย์ต่อจากราไคปนมกรณที่มะธะรัมในชวา ทำให้สมมติฐานของสลาเม็ต มุลยานะนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ว่ามีกษัตริย์มะธะรัมขึ้นครองราชย์เป็นมหาราชาแห่งศรีวิชัยในครั้งนี้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้เห็นด้วยกับทฤษฎีที่ 1 บางส่วน มหาราชาสมรตุงคะเป็นคนละคนกับราไควรักและเป็นมหาราชาแห่งศรีวิชัยไม่ใช่กษัตริย์แห่งมะธะรัมเช่นเดียวกับมหาราชาธรณินทราชาพระราชบิดาของพระองค์ พระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นมหาราชาแห่งสมาพันธรัฐศรีวิชัยต่อจากมหาราชาธรณินทราชาเท่านั้น เพราะไม่มีพระนามของพระองค์ปรากฏในจารึกมันทยาสิและวันนัว เต็งกะที่ 3 เช่นเดียวกับพระนามของพระราชบิดาของพระองค์ ส่วนราไควรัก (พ.ศ.1346-1370) ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากราไคปนุงกลัน (พ.ศ.1327-1346) ในปี พ.ศ.1346 เป็นกษัตริย์ที่มะธะรัมเท่านั้น
ในจารึกนาลันทา (พ.ศ.1403) กล่าวว่ามหาราชาสมรกรวิระเป็นพระราชบิดาของมหาราชาพาลบุตรกษัตริย์ศรีวิชัยและเป็นพระราชบุตรของไศเลนทราวงศาดิลก (อัญมณีแห่งราชวงค์ไศเลนทร์) ฉายาศรีวิระไวรีวาระวิระมัธนะ (ผู้พิฆาตศัตรูที่กล้าหาญ) อันหมายถึงมหาราชาธรณินทราชาและกล่าวว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ของชวาที่ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเทวีตาราพระราชธิดาของราชาธรรมเสตุแห่งราชวงศ์ศรีชยนาศ พระนาม “สมรกรวิระ” แปลว่าผู้กล้าในสงคราม น่าจะเป็นฉายาของพระองค์กว่าจะเป็นพระนามของพระองค์ ซึ่งน่าจะหมายถึงมหาราชาสมรตุงคะนั่นเองจึงเป็นอันว่าราชวงศ์ไศเลนทร์และราชวงศ์ศรีชยนาศได้รวมตัวกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากการอภิเษกสมรสในครั้งนี้ เซเดซ์เชื่อว่าในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 15 ชวาและสุมาตรารวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ไศเลนทร์ครองราชย์ที่มะธะรัมในเกาะชวาแต่มีศูนย์กลางการค้าบริเวณช่องแคบมะละกาที่ปาเล็มบังซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของสมาพันธรัฐศรีวิชัยแต่พงศาวดารซินถังชู้เล่มที่ 222 ระบุว่าศูนย์กลางการปกครองสมาพันธรัฐศรีวิชัยแบ่งเป็น 2 เขตโดยมีปาเล็มบังซึ่งอยู่ใกล้ช่องแคบมะละกาและซุนดาอันเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและปกครองเมืองต่างๆของชาวมลายูบนแหลมมลายูและเกาะสุมาตรา โดยมอบหมายให้กษัตริย์แห่งมะธะรัมตามจารึกมันทยาสิปกครองเมืองต่างๆของชาวชวาที่มะธะรัม มหาราชาแห่งศรีวิชัยและกษัตริย์แห่งมะธะรัมไม่ใช่บุคคลคนเดียวกันตามที่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่สันนิษฐาน เป็นไปได้ที่พระองค์เสด็จไปๆมาๆระหว่างมะธะรัมที่เป็นฐานอำนาจทางการเมืองของราชวงศ์ไศเลนทร์และปาเล็มบังอันอยู่ใกล้แหล่งรายได้และสร้างพุทธศาสนสถานขนาดใหญ่ในเกาะชวาเนื่องจากราชวงศ์นี้ขึ้นเป็นใหญ่ในชวาทั้งๆที่อาจจะอพยพมาจากแหลมมลายูหรือเกาะสุมาตรา
พระองค์นั้นรักสงบต่างจากพระองค์นั้นรักสงบต่างจากมหาราชาธรณินทราชา พระองค์มุ่งสร้างบรมพุทโธที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าธรณินทราชาให้เสร็จพระองค์มีพระราชธิดาพระนามว่าประโมทวรรธนีหรือพระนางศรีคหุลุนานซึ่งในจารึกกะรังเต็งกะหรือกายุมรูนกัน (พ.ศ.1367) มหาราชาสมรตุงคะให้เจ้าหญิงประโมทวรรธนีให้ช่วยสร้างวัดจินนะละยาและวิหารเวนุวนะ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า ป่าไผ่ ไว้เป็นที่เก็บพระอัฐิของพระราชบิดาคือมหาราชาธรณินทราชาอาจเป็นจันฑิปาวนในปัจจุบัน การออกแบบจันฑิปาวนและพระบรมธาตุไชยามีความคล้ายคลึงกัน บรมพุทโธสร้างเสร็จในปีพ.ศ.1364 ในรัชสมัยของพระองค์ สมรตุงคะขยายจันฑิเซวูโดยสร้างวิหารมัญชูศรีคฤหะในปีพ.ศ.1335 เพื่อฉลองการขึ้นครองราชย์เป็นมหาราชาแห่งศรีวิชัยไม่ใช่มะธะรัม และอาจสร้างวัดสิงหลรามในปีพ.ศ.1337 ณ ที่ราบสูงระตู บากา จากจารึกอภัยคีรี (พ.ศ.1444) ที่ระตู บากา สมรตุงคะสร้างวัดเพิ่มบนเขาชื่อว่า อภัยคีรี (ปราศจากภัย) แต่ในระตู บากามีเทวรูปฮินดู เช่นโยนี ทุรคา คเณศ ซุนเบอร์กได้ตรวจสอบจารึกทองคำ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาจากพุทธศตวรรษที่ 15 ที่ระตู บากา แต่งโดยชาวสิงหลที่อภัยคีรีวิหารในปีพ.ศ.1368 พระองค์เริ่มสร้างจันฑิเพลาสานโดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหญิงประโมทวรรธนีพระธิดาและราไคปิกะตันราชบุตรเขย แต่ไม่ทันเสร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อนในปีพ.ศ.1375 ดังนั้นพระธิดาได้ทำต่อจนเสร็จ
พระองค์มีพระราชโอรสทรงพระนามว่าปาละปุตระเทวะ (พาลบุตร) ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปีพ.ศ.1375 ในปีพ.ศ.1372 ราไคกะรุงขึ้นครองราชย์ต่อจากดยาห์ กุลาที่มะธะรัม ในปีพ.ศ.1373 สมาพันธรัฐศรีวิชัยได้ส่งคนไปตั้งถิ่นฐานที่เกาะมาดากัสการ์ชายฝั่งทวีปแอฟริกานักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าพระองค์คือผู้แต่งตั้งเจ้าชายชัยวรมันชาวเขมรไปปกครองอนินทิตปุระบริเวณปากแม่น้ำโขง เมื่อเจ้าชายองค์นี้ขึ้นครองราชย์ที่กัมพูชาในปีพ.ศ.1343 เป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จึงได้ขับไล่สมาพันธรัฐศรีวิชัยออกไปจากกัมพูชาในปีพ.ศ.1345 และย้ายเมืองหลวงหนีจากตนเลสาบไปมเหนธาปารวตะ (จารึกปราสาทสด๊อกก๊อกธมหลักที่ 2 ในประเทศไทย) พระองค์อาจจะส่งทูตในนามของกลิงคะหรือกา-ลิง (诃陵เหอ-หลิง) ไปจีนในปี พ.ศ. 1356 พ.ศ.1358 และพ.ศ.1361 ในสมัยจักรพรรดิถังเซวียนจง (พ.ศ.1349-1363) และปีพ.ศ.1370-1376 ในสมัยจักรพรรดิถังเหวินจง (พ.ศ.1369-1383) อวานิการาม (Avani-nagaram) เป็นกษัตริย์อินเดียใต้ ซึ่งครองราชย์พ.ศ.1369-1392 อาจเป็นคนสร้างจารึกภาษาทมิฬที่อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
เอกสารอ้างอิง
Boechari. 2012. Melacak Sejarah Kuma Indonesia Lewet Prasasti (Tracing Ancient Indonesian History through Inscription). Jakarta: Kepustakaan Populer Gramedi.
Cœdès, Georges. 1968. The Indianized States of Southeast Asia. Edited by Walter F. Vella. Translated by Susan Brown Cowing. Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press.
De Casparis, Johannes Gijbertus. 1950. Prasasti I: Inscripties uit de Cailendra-tijd. Bandung: AC Nix.
Hoogervost, Tom, and Nicole L. Boivin. 2018. "Invisible Agents of Eastern Trade: Foregrounding Islands Southeast Asian Agency in Pre-modern Globalization." In Globalization in Prehistory: Contact Exchange and "the People without History", by Michael D. Frachetti and Nicole L. Boivin, 205-231. Cambridge: Cambridge University Press.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Muljana, Slamet. 2006. Sriwijaya. Yogyakarta: LKiS.
Sundberg, Jeffrey Roger. 2003. "A Buddhist Mantra Recovered from the Ratu Baka Plateau: A Preliminary Study of its Implications for Sailendra-era Java." Bijdragen tot de Taal-, Land-en Volkenkunde 159 (1): 163-188.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wisserman-Christie, Jan. 1995. "State Formation in Early Maritime Southeast Asia: A Consideration of the Theories and the Data." Bijdragen tot de Taal-, Land-en Volkenkunde 151 (2): 235-288.
Zakharov, Anton O. 2019. The Shailendra Reconsidered. Singapore: ISEAS.
มหาราชาสมรตุงคะหรือสมรกรวิระ (ประมาณพ.ศ.1343-1375) สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระราชโอรสของมหาราชาธรณินทราชาอภิเษกได้สมรสกับเทวี ตาราพระราชธิดาของราชาธรรมเสตุซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์ในสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปี พ.ศ.1335 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสมาพันธรัฐศรีวิชัยและราชวงศ์ไศเลนทร์ใกล้ชิดกันมากขึ้น จากจารึกการังเต็งกะ (พ.ศ.1367 และ 1390) ระบุว่าพระองค์เป็นเป็นอัญมณีแห่งไศเลนทรวงศ์ (ดิลกไศเลนทรวงศ์) เป็นหัวหน้าของราชวงศ์ไศเลนทร์ สมรกระวีระหรือสมรตุงคะครองราชย์ต่อจากมหาราชาธรณินทราชาในปีพ.ศ.1343 ต่อมาในปีพ.ศ.1344 ตู้โย่ว (杜祐) นักเขียนชาวจีนในสมัยจักรพรรดิถังเต๋อจง (พ.ศ.1323-1348) ได้ตีพิมพ์สารานุกรมชื่อ ท้งเตี๋ยน (通典) กล่าวถึงวัดพุทธศาสนา 11 แห่งที่ปัน-ปันในสมัยของพระองค์
แต่มีอยู่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ทฤษฎีที่ 1 เชื่อว่าพระองค์อาจจะเป็นพระโอรสของมหาราชาธรณินทราชาซึ่งก่อนหน้านี้ กรอมหรือเซเดซ์ระบุว่ามหาราชาสมรกรวิระเป็นคนๆเดียวกับมหาราชาสมรตุงคะซึ่งนักประวัติศาสตร์รุ่นเก่าอย่าง บอสและเดอ คาสปาริสเชื่อว่ามหาราชาพาลบุตรเป็นพระองค์โอรสองค์เล็กของมหาราชาสมรตุงคะและเป็นพระอนุชาของพระนางประโมทวรรธนี ตามทฤษฎีที่ 2 สลาเม็ต มุลยานะและแจน วิสเซอร์มัน สันนิษฐานว่าราไควรักคือสมรกระวีระ พระบิดาของพาลบุตรกษัตริย์แห่งศรีวิชัยและมุลยานะยังสันนิษฐานอีกว่าสมรตุงคะคือราไคการุงผู้ปกครองมะธะรัมคนที่ 4 ตามจารึกมันธยาสิ ถ้าเป็นจริงสมรตุงคะสืบราชสมบัติต่อจากสมรกระวีระและพาลบุตรที่เป็นลูกของสมรกระวีระเป็นน้องชายของสมรตุงคะและอาของประโมทวรรธนี พาลบุตรอ้างสิทธิในมะธะรัมในชวาที่เป็นของหลานสาวและหลานเขยอย่างราไคปิกะตันปกครองอยู่
แต่ถ้าดูตามจารึกมันทยาสิ (พ.ศ.1450) และวันนัว เต็งกะที่ 3 (พ.ศ.1451) หลังจากราไคสัญชัยเป็นราไคปนมกรณ์ ราไคปนุงกลัน (พ.ศ.1327-1346) ราไควรัก (พ.ศ.1346-1370) และราไคการุงตามลำดับ ซุนเบอร์กเชื่อว่าสมรตุงคะคือปนาราบันและพาลบุตรคือวรัค จารึกศรีมงคลที่ 1 จากที่ราบสูงเดียง (พ.ศ.1352) จารึกแผ่นทองแดงแห่งกูรง (พ.ศ.1362) และกันดาซุลิ (พ.ศ.1375) ได้สลักขึ้น ราไคปนุงกลันไม่ใช่มหาราชาธรณินทราชาที่ครองราชย์ต่อจากราไคปนมกรณที่มะธะรัมในชวา ทำให้สมมติฐานของสลาเม็ต มุลยานะนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ว่ามีกษัตริย์มะธะรัมขึ้นครองราชย์เป็นมหาราชาแห่งศรีวิชัยในครั้งนี้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้เห็นด้วยกับทฤษฎีที่ 1 บางส่วน มหาราชาสมรตุงคะเป็นคนละคนกับราไควรักและเป็นมหาราชาแห่งศรีวิชัยไม่ใช่กษัตริย์แห่งมะธะรัมเช่นเดียวกับมหาราชาธรณินทราชาพระราชบิดาของพระองค์ พระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นมหาราชาแห่งสมาพันธรัฐศรีวิชัยต่อจากมหาราชาธรณินทราชาเท่านั้น เพราะไม่มีพระนามของพระองค์ปรากฏในจารึกมันทยาสิและวันนัว เต็งกะที่ 3 เช่นเดียวกับพระนามของพระราชบิดาของพระองค์ ส่วนราไควรัก (พ.ศ.1346-1370) ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากราไคปนุงกลัน (พ.ศ.1327-1346) ในปี พ.ศ.1346 เป็นกษัตริย์ที่มะธะรัมเท่านั้น
ในจารึกนาลันทา (พ.ศ.1403) กล่าวว่ามหาราชาสมรกรวิระเป็นพระราชบิดาของมหาราชาพาลบุตรกษัตริย์ศรีวิชัยและเป็นพระราชบุตรของไศเลนทราวงศาดิลก (อัญมณีแห่งราชวงค์ไศเลนทร์) ฉายาศรีวิระไวรีวาระวิระมัธนะ (ผู้พิฆาตศัตรูที่กล้าหาญ) อันหมายถึงมหาราชาธรณินทราชาและกล่าวว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ของชวาที่ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเทวีตาราพระราชธิดาของราชาธรรมเสตุแห่งราชวงศ์ศรีชยนาศ พระนาม “สมรกรวิระ” แปลว่าผู้กล้าในสงคราม น่าจะเป็นฉายาของพระองค์กว่าจะเป็นพระนามของพระองค์ ซึ่งน่าจะหมายถึงมหาราชาสมรตุงคะนั่นเองจึงเป็นอันว่าราชวงศ์ไศเลนทร์และราชวงศ์ศรีชยนาศได้รวมตัวกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากการอภิเษกสมรสในครั้งนี้ เซเดซ์เชื่อว่าในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 15 ชวาและสุมาตรารวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ไศเลนทร์ครองราชย์ที่มะธะรัมในเกาะชวาแต่มีศูนย์กลางการค้าบริเวณช่องแคบมะละกาที่ปาเล็มบังซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของสมาพันธรัฐศรีวิชัยแต่พงศาวดารซินถังชู้เล่มที่ 222 ระบุว่าศูนย์กลางการปกครองสมาพันธรัฐศรีวิชัยแบ่งเป็น 2 เขตโดยมีปาเล็มบังซึ่งอยู่ใกล้ช่องแคบมะละกาและซุนดาอันเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและปกครองเมืองต่างๆของชาวมลายูบนแหลมมลายูและเกาะสุมาตรา โดยมอบหมายให้กษัตริย์แห่งมะธะรัมตามจารึกมันทยาสิปกครองเมืองต่างๆของชาวชวาที่มะธะรัม มหาราชาแห่งศรีวิชัยและกษัตริย์แห่งมะธะรัมไม่ใช่บุคคลคนเดียวกันตามที่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่สันนิษฐาน เป็นไปได้ที่พระองค์เสด็จไปๆมาๆระหว่างมะธะรัมที่เป็นฐานอำนาจทางการเมืองของราชวงศ์ไศเลนทร์และปาเล็มบังอันอยู่ใกล้แหล่งรายได้และสร้างพุทธศาสนสถานขนาดใหญ่ในเกาะชวาเนื่องจากราชวงศ์นี้ขึ้นเป็นใหญ่ในชวาทั้งๆที่อาจจะอพยพมาจากแหลมมลายูหรือเกาะสุมาตรา
พระองค์นั้นรักสงบต่างจากพระองค์นั้นรักสงบต่างจากมหาราชาธรณินทราชา พระองค์มุ่งสร้างบรมพุทโธที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าธรณินทราชาให้เสร็จพระองค์มีพระราชธิดาพระนามว่าประโมทวรรธนีหรือพระนางศรีคหุลุนานซึ่งในจารึกกะรังเต็งกะหรือกายุมรูนกัน (พ.ศ.1367) มหาราชาสมรตุงคะให้เจ้าหญิงประโมทวรรธนีให้ช่วยสร้างวัดจินนะละยาและวิหารเวนุวนะ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า ป่าไผ่ ไว้เป็นที่เก็บพระอัฐิของพระราชบิดาคือมหาราชาธรณินทราชาอาจเป็นจันฑิปาวนในปัจจุบัน การออกแบบจันฑิปาวนและพระบรมธาตุไชยามีความคล้ายคลึงกัน บรมพุทโธสร้างเสร็จในปีพ.ศ.1364 ในรัชสมัยของพระองค์ สมรตุงคะขยายจันฑิเซวูโดยสร้างวิหารมัญชูศรีคฤหะในปีพ.ศ.1335 เพื่อฉลองการขึ้นครองราชย์เป็นมหาราชาแห่งศรีวิชัยไม่ใช่มะธะรัม และอาจสร้างวัดสิงหลรามในปีพ.ศ.1337 ณ ที่ราบสูงระตู บากา จากจารึกอภัยคีรี (พ.ศ.1444) ที่ระตู บากา สมรตุงคะสร้างวัดเพิ่มบนเขาชื่อว่า อภัยคีรี (ปราศจากภัย) แต่ในระตู บากามีเทวรูปฮินดู เช่นโยนี ทุรคา คเณศ ซุนเบอร์กได้ตรวจสอบจารึกทองคำ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาจากพุทธศตวรรษที่ 15 ที่ระตู บากา แต่งโดยชาวสิงหลที่อภัยคีรีวิหารในปีพ.ศ.1368 พระองค์เริ่มสร้างจันฑิเพลาสานโดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหญิงประโมทวรรธนีพระธิดาและราไคปิกะตันราชบุตรเขย แต่ไม่ทันเสร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อนในปีพ.ศ.1375 ดังนั้นพระธิดาได้ทำต่อจนเสร็จ
พระองค์มีพระราชโอรสทรงพระนามว่าปาละปุตระเทวะ (พาลบุตร) ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปีพ.ศ.1375 ในปีพ.ศ.1372 ราไคกะรุงขึ้นครองราชย์ต่อจากดยาห์ กุลาที่มะธะรัม ในปีพ.ศ.1373 สมาพันธรัฐศรีวิชัยได้ส่งคนไปตั้งถิ่นฐานที่เกาะมาดากัสการ์ชายฝั่งทวีปแอฟริกานักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าพระองค์คือผู้แต่งตั้งเจ้าชายชัยวรมันชาวเขมรไปปกครองอนินทิตปุระบริเวณปากแม่น้ำโขง เมื่อเจ้าชายองค์นี้ขึ้นครองราชย์ที่กัมพูชาในปีพ.ศ.1343 เป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จึงได้ขับไล่สมาพันธรัฐศรีวิชัยออกไปจากกัมพูชาในปีพ.ศ.1345 และย้ายเมืองหลวงหนีจากตนเลสาบไปมเหนธาปารวตะ (จารึกปราสาทสด๊อกก๊อกธมหลักที่ 2 ในประเทศไทย) พระองค์อาจจะส่งทูตในนามของกลิงคะหรือกา-ลิง (诃陵เหอ-หลิง) ไปจีนในปี พ.ศ. 1356 พ.ศ.1358 และพ.ศ.1361 ในสมัยจักรพรรดิถังเซวียนจง (พ.ศ.1349-1363) และปีพ.ศ.1370-1376 ในสมัยจักรพรรดิถังเหวินจง (พ.ศ.1369-1383) อวานิการาม (Avani-nagaram) เป็นกษัตริย์อินเดียใต้ ซึ่งครองราชย์พ.ศ.1369-1392 อาจเป็นคนสร้างจารึกภาษาทมิฬที่อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
เอกสารอ้างอิง
Boechari. 2012. Melacak Sejarah Kuma Indonesia Lewet Prasasti (Tracing Ancient Indonesian History through Inscription). Jakarta: Kepustakaan Populer Gramedi.
Cœdès, Georges. 1968. The Indianized States of Southeast Asia. Edited by Walter F. Vella. Translated by Susan Brown Cowing. Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press.
De Casparis, Johannes Gijbertus. 1950. Prasasti I: Inscripties uit de Cailendra-tijd. Bandung: AC Nix.
Hoogervost, Tom, and Nicole L. Boivin. 2018. "Invisible Agents of Eastern Trade: Foregrounding Islands Southeast Asian Agency in Pre-modern Globalization." In Globalization in Prehistory: Contact Exchange and "the People without History", by Michael D. Frachetti and Nicole L. Boivin, 205-231. Cambridge: Cambridge University Press.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Muljana, Slamet. 2006. Sriwijaya. Yogyakarta: LKiS.
Sundberg, Jeffrey Roger. 2003. "A Buddhist Mantra Recovered from the Ratu Baka Plateau: A Preliminary Study of its Implications for Sailendra-era Java." Bijdragen tot de Taal-, Land-en Volkenkunde 159 (1): 163-188.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wisserman-Christie, Jan. 1995. "State Formation in Early Maritime Southeast Asia: A Consideration of the Theories and the Data." Bijdragen tot de Taal-, Land-en Volkenkunde 151 (2): 235-288.
Zakharov, Anton O. 2019. The Shailendra Reconsidered. Singapore: ISEAS.