xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ขอบเขตพระราชอำนาจและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์เบลเยี่ยม (ตอนที่ ๕๓)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


 เจ้าชายเลโอพ็อลท์
คนแคระบนบ่ายักษ์
ไชยันต์ ไชยพร

เบลเยี่ยมแยกตัวออกจากเนเธอร์แลนด์และเป็นเอกราชในปี ค.ศ. 1830 และเลือกที่จะปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยประเทศที่อยู่ติดกับเบลเยี่ยมขณะนั้น คือ ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ก็ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
 
และจากการที่เบลเยี่ยมไม่เคยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ของตัวเองมาก่อน ดังนั้น สภาแห่งชาติของเบลเยี่ยมจึงต้องลงมติเลือกบุคคลที่จะมาเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศ ซึ่งสภาแห่งชาติได้ลงมติเลือกเจ้าชายเลโอพ็อลท์ เคลเม็นท์แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (Leopold of Saxe-Coburg and Gotha) และประกาศแต่งตั้งพระองค์ให้เป็นพระมหากษัตริย์ในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1831 ในพระนาม พระเจ้าเลโอพ็อลท์ที่หนึ่ง (Leopold I) แห่งราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์ค ซึ่งมีการสืบราชสันตติวงศ์มาจนถึงปัจจุบัน

และเนื่องจากเบลเยี่ยมไม่เคยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ของตนเองมาก่อน จึงต้องบัญญัติเงื่อนไขในการสืบราชสันตติวงศ์ไว้อย่างละเอียดชัดเจน เพราะไม่เคยมีการสืบราชสันตติวงศ์มาก่อนหน้านี้ และไม่เคยมีกฎมณเฑียรบาล (Salic Law of Succession) เหมือนประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์มายาวนาน

จากเงื่อนไขที่กล่าวไปข้างต้น เบลเยี่ยมจึงมีความพิเศษกว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอื่นๆ ส่วนใหญ่ นั่นคือ

1. สถาบันพระมหากษัตริย์เบลเยี่ยมไม่เคยอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาก่อนเลย 2. ปฐมบรมกษัตริย์ของเบลเยี่ยมมาจากการลงมติเลือกโดยสภาแห่งชาติ 3. ปฐมบรมกษัตริย์ของเบลเยี่ยมไม่ได้เป็นคนเบลเยี่ยม ซึ่งในข้อ 2 และ 3 นี้ เท่าที่พบ มีกรณีของสวีเดนที่คล้ายกันกับของเบลเยี่ยม

เจ้าหญิงชาร์ลอตต์

เจ้าหญิงหลุยส์-มารี
รัฐธรรมนูญเบลเยี่ยม ค.ศ. 1831 ได้กำหนดเงื่อนไขการสืบราชสันตติวงศ์ไว้ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เบลเยี่ยมดำรงอยู่ภายใต้การสืบสายโลหิตโดยรัชทายาทชายที่ชอบธรรมและเป็นสายตรงของเจ้าชายเลโอพ็อลท์ แห่งซัคเซิน-โคบวร์ค ภายใต้หลักสิทธิของบุตรคนแรก (primogeniture) และไม่ให้มีการสืบราชสันตติวงศ์โดยทายาทผู้หญิง

และหากไม่มีรัชทายาทชาย ให้เจ้าชายเลโอพ็อลท์ แห่งซัคเซิน-โคบวร์คเสนอชื่อผู้ที่พระองค์มีพระประสงค์จะให้เป็นผู้สืบราชสมบัติ และจะต้องให้สภาทั้งสองสภาลงมติเห็นชอบตามมาตรา 62 นั่นคือ จะต้องได้คะแนนเสียงเห็นชอบอย่างน้อยสองในสามของทั้งสองสภา และผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นพระมหากษัตริย์เบลเยี่ยมจะต้องไม่เป็นพระมหากษัตริย์หรือประมุขของรัฐอื่นในเวลาเดียวกัน ยกเว้นจะได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภา หากไม่มีการเสนอชื่อตามที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าราชบัลลังก์เบลเยี่ยมได้ว่างลง

 หญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ พระธิดาของเจ้าชายจอร์จ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งต่อมาเจ้าชายจอร์จได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจอร์จที่สี่แห่งสหราชอาณาจักร 

ต่อมาในปี ค.ศ. 1817 เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ได้ทรงพระครรภ์และทรงให้ประสูติแก่พระโอรส แต่พระโอรสสิ้นพระชนม์ และเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ทรงสิ้นพระชนม์ในวันต่อมา

 หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของเบลเยี่ยมในปี ค.ศ. 1831 ในปีต่อมา พระองค์ได้ตัดสินพระราชหฤทัยอภิเษกสมรสอีกครั้งกับเจ้าหญิงหลุยส์-มาร์ พระราชธิดาของพระเจ้าหลุยส์ ฟิลลิปที่หนึ่งแห่งฝรั่งเศส เจ้าหญิงหลุยส์-มารีเป็นพระภคิณีของเจ้าชายหลุยส์ ดุ๊คแห่งเนมัวส์ (Duke of Nemours) ที่สภาแห่งชาติเบลเยี่ยมเคยลงมติเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์มาก่อนหน้าเจ้าชายเลโอพ็อลท์ แต่สหราชอาณาจักรไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว จึงทำให้สภาฯ ต้องลงมติใหม่และเลือกเจ้าชายเลโอพ็อลท์แทน 

จะสังเกตได้ว่า สภาแห่งชาติเบลเยี่ยมมีความโน้มเอียงไปทางราชวงศ์ออร์ลีนของฝรั่งเศสไม่ว่าจะในการลงมติเลือกผู้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ในครั้งแรก หรือการตัดสินพระราชหฤทัยอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงหลุยส์-มารี ก็น่าจะมาจากการสนับสนุนของสภาแห่งชาติด้วยเช่นกัน น่าจะเป็นด้วยเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศและภูมิรัฐศาสตร์

พระเจ้าอัลเบิร์ตที่หนึ่ง

 พระเจ้าฟิลลิป พระมหากษัตริย์เบลเยี่ยม ปัจจุบัน
พระเจ้าเจ้าเลโอพ็อลท์ที่หนึ่งทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับเจ้าหญิงหลุยส์-มารีสี่พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ฟิลลิป สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงเป็นทารก พระชนมายุไม่ถึง 1 พรรษา เจ้าชายเลโอพ็อลท์ ประสูติ ค.ศ. 1835 เจ้าชายฟิลลิป ประสูติ ค.ศ. 1837 เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ ประสูติ ค.ศ. 1840

และเมื่อพระเจ้าเลโอพ็อลท์ที่หนึ่งเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1865 เจ้าชายเลโอพ็อลท์จึงเป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระเจ้าเลโอพ็อลท์ที่สอง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 60 ที่กำหนดให้พระราชโอรสอันชอบธรรมพระองค์ใหญ่เป็นผู้สืบราชบัลลังก์

นับว่าเป็นเรื่องโชคดีของพระเจ้าเลโอพ็อลท์ที่หนึ่ง ที่แม้นว่าพระองค์จะทรงเสียพระโอรสและพระราชโอรสไปถึงสองพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงมีพระราชโอรสอีกสองพระองค์ ทำให้ไม่มีปัญหาในการสืบราชบัลลังก์ตามมาตรา 60 ขณะเดียวกัน ก็นับว่าเป็นโชคดีของประเทศเบลเยี่ยมที่พระเจ้าเลโอพ็อลท์ที่หนึ่งไม่ทรงสิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระองค์จะทรงมีพระราชโอรส มิฉะนั้น สภาแห่งชาติก็จะต้องลงมติเลือกผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่เป็นเจ้าชายจากประเทศอื่น เพราะไม่สามารถตามมาตรา 60-62 ไม่เปิดให้มีการสืบราชสันตติวงศ์โดยผู้เป็น  “ญาติ”  ของพระองค์ในครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นเจ้าชายเลโอพ็อลท์ แห่งซัคเซิน-โคบวร์ค ยกเว้นว่าก่อนสิ้นพระชนม์ พระองค์จะทรงเสนอชื่อผู้ที่พระองค์มีพระประสงค์จะให้เป็นผู้สืบราชสมบัติ และสภาทั้งสองสภาลงมติเห็นชอบตามมาตรา 62

 ถ้าจะถามว่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าเลโอพ็อลท์ที่หนึ่งจนถึงพระมหากษัตริย์เบลเยี่ยมพระองค์ปัจจุบัน พระเจ้าฟิลลิป เคยมีการสืบราชบัลลังก์โดยใช้มาตรา 62 หรือไม่ ?

คำตอบคือ ไม่ เพราะแม้ว่าพระมหากษัตริย์บางพระองค์ของเบลเยี่ยมจะไม่มีพระราชโอรส อย่างในกรณีของพระเจ้าเลโอพ็อลท์ที่สอง เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1909 ผู้สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระองค์ก็คือ เจ้าชายฟิลลิป พระราชอนุชา แต่เจ้าชายฟิลลิปทรงสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ ค.ศ. 1905 ดังนั้น สิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์จึงตกอยู่แก่พระโอรสพระองค์ใหญ่ของเจ้าชายฟิลลิป นั่นคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต ที่ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ในพระนาม พระเจ้าอัลเบิร์ตที่หนึ่ง และต่อจากรัชสมัยของพระเจ้าอัลเบิร์ตที่หนึ่ง ก็มีการสืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา 60 จนถึงรัชสมัยปัจจุบัน เพราะพระมหากษัตริย์เบลเยี่ยมแต่ละพระองค์และพระราชอนุชาล้วนมีพระราชโอรสและพระโอรสมาโดยตลอด  





กำลังโหลดความคิดเห็น