xs
xsm
sm
md
lg

เส้นทางศรีวิชัย : เครือข่ายทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทะเลใต้ยุคโบราณ ตอน ที่มาของราชวงศ์ไศเลนทร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ดร.เกียรติกำจร มีขนอน

โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน

ราชวงศ์ไศเลนทร์ในเอกสารจีน
กา-ลิง (诃陵 เหอ-หลิง) ถูกบันทึกไว้ในไท่ผิงหวนหยู่จี๊ เล่มที่ 176-179 จิ่วถังชู้ เล่มที่ 197 ถังฮุ่ยเย่า เล่มที่ 94-100 ซินถังชู้ เล่มที่ 222 และบันทึกท่านอี้จิงตั้งอยู่ในชวากลางแถวเพคาลองกันหรือเจเปรา กา-ลิงส่งทูตไปจีนครั้งแรกในปีพ.ศ.1183 มาเยอร์เสนอว่ากา-ลิงมาจากกลิงคะในอินเดียตอนใต้ซึ่งมีประชากรมาตั้งถิ่นฐานในเกาะชวาทำให้นักวิชาการหลายท่าน เช่น ฌาแวนน์ เปลิโอต์ แฟร์รองด์ เซเดซ์ เคอร์น กรอม โวเกลและมาชุมดาร์ยอมรับแต่นักวิชาการเหล่านี้ไม่ลงในรายละเอียดเหมือนกับดาเมส์ ฟาน เดอร์ เมอเลน นาคาดะและอิวาโมโตะ

ดาเมส์เสนอว่า กา-ลิงน่าจะมาจากวาแลงในภาษาชวาโบราณที่ตั้งอยู่ชวากลางตอนใต้และเป็นเมืองตั้งแต่ พ.ศ.1183-1361 แต่นาคาดะเชื่อว่ากา-ลิงมีอยู่ก่อนพ.ศ.1183 ยาวจนถึงประมาณพ.ศ.1403-1418 จากพงศาวดารซินถังชู้ กา-ลิงส่งทูตไปจีน พ.ศ.1183 พ.ศ.1190 พ.ศ.1191 และพ.ศ.1209 ก่อนบันทึกของท่านอี้จิงและซินถังชู้ในชื่อเจีย-บัว (阇婆ตู่-โผหรือ เช-โผ) ในหลิ่งว่ายไต้ต่า เจีย-บัว ถูกเรียกว่า ปิว-กา-เลียง (莆家龙 ผู่-เจี๋ย-หลง)

ดังนั้นกา-ลิง อาจย่อมาจากเพคาลองกัน ท่าเรือของมะธะรัมที่ค้นพบจารึกโซโจเมร์โต้และตุก มาส (ไม่ได้ลงวันที่) ทางตอนเหนือของชวากลาง จูฟ่านจื้อกล่าวว่าเพคาลองกันเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของชวาโบราณ เพคาลองกันน่าจะเป็นอีกชื่อหนึ่งของเกาะชวา ในปีพ.ศ.1190 ทูตจากกา-ลิง ถวายดอกไม้ทองหรือบุหงา มาสให้จักรพรรดิจีนเพื่อแสดงความอ่อนน้อม หลังจากการถกเถียงกับนาคาดะ อิวาโมโตะ ยูทากะยอมรับว่ากา-ลิง คือราชวงศ์ไศเลนทร์ที่เป็นตระกูลมลายูจากศรีวิชัย หลังจากที่ซื่อซิต-ลี่-พุท-เจย ที่ใช้เรียกศรีวิชัยหายไปจากพงศาวดารจีน ในปีพ.ศ.1285 โดยไม่มีคำอธิบาย ศรีวิชัยอาจปรากฏตัวในนามกา-ลิงส่งทูตจากชวาไปราชวงศ์ถังในปีพ.ศ.1311 หลังจากที่ราชวงศ์ไศเลนทร์เป็นพันธมิตรกับศรีวิชัย

ที่มาของราชวงศ์ไศเลนทร์และสัญชัย
มีการค้นพบศิลาจารึก 7 หลักในเกาะชวาที่เขียนเป็นภาษามลายูโบราณ โดยมีจารึกโซโจเมร์โต (พ.ศ.1268) อยุ่ที่โบราณสถานบาตังที่เพคาลองกัน (Pekalongan) ตอนกลางของเกาะชวาระบุว่าฑปุนดาไศเลนทร์หรือไศเลนทรานามะว่าเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ไศเลนทร์ในภาคกลางของเกาะชวา สัง ระตู อิ ฮาลู บอกว่าตั้งราชวงศ์ไศเลนทร์ประมาณ พ.ศ.1311 อากุสติยันโตและเดอ กรูทและทจาห์โจโน อินดราจายาและเดอ กรูทระบุแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีใหม่ๆในชวากลาง เช่น บาตัง บาลิกัมบัง เปจาเตะห์ เรดู มาเกอลัง งลีมูท คอนโดดิมูโก และอาโกซูโมและเพงกิตัน อากุสติยันโต ซูเซตโยและเดอกรูทระบุที่ตั้งก่อนยุคมะธะรัมที่เบเลกัมบังและโบโตตุมปังที่แม่น้ำคูโตนอกเหนือจากเบนโดซารี สิดูโจ กรุงชิง บาตัง อารุเตินและตุก มาส จันฑิบาเลกัมบังได้รับอิทธิพลจากชวาตะวันตกแถวบาตูจายาในพุทธศตวรรษที่ 12 และอาจเป็นวัดพราหมณ์และพุทธที่เก่าแก่ที่สุดในชวากลางในฐานะที่เป็นอาณาจักรที่ถูกลืม ทูตคณะแรกจากกา-ลิงอาจจะมาจากแถวนี้ไปจีน

ฑปุนดาไศเลนทร์หรือไศเลนทรานามะ (ประมาณพ.ศ.1217-1246) ก่อตั้งราชวงศ์ไศเลนทร์ซึ่งมีศูนย์กลางในตอนแรกอยู่ที่เพคาลองกันแถวบาตังในเกาะชวาในปีพ.ศ.1217 เซเลนดราเป็นชื่อแบบอินโดนีเซียของไศเลนทร์ ไศเลนทร์เป็นชื่อบุคคล และไศเลนทราวงศ์หมายถึงครอบครัวและผู้สืบเชื้อสายจากไศเลนทร์ โดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าสันตานุและนางสัมภูละ (จารึกโซโจเมร์โต พ.ศ.1268)

จารึกนี้เขียนเป็นภาษามลายูโบราณไม่ใช่ภาษาชวาโบราณจึงสันนิษฐานได้ว่าต้นตระกูลของราชวงศ์ไศเลนทร์อาจจะอพยพมาจากเกาะสุมาตราหรือแหลมมลายูและเป็นชาวมลายูมากกว่าที่จะเป็นชาวชวา ตำแหน่ง “ฑปุนดา” ของฑปุนดาไศเลนทร์เหมือนกับตำแหน่งของฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศผู้ก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัย ฑปุนดา ที่เป็นทั้งตำแหน่งทางการเมืองและศาสนา จึงสันนิษฐานได้ว่าราชวงศ์ไศเลนทร์เป็นตระกูลผู้นำทางศาสนาชาวมลายูที่อาจจะมาจากเมืองหนึ่งเมืองใดในเกาะสุมาตราหรือแหลมมลายูที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแล้วไปตั้งถิ่นฐานที่เพคาลองกันใกล้กับบาตังและสร้างเมืองที่เกาะชวาภาคกลางไม่ใช่มาจากพนมหรือฟูนันตามที่เซเดซ์หรือธรรมทาส พานิชได้เคยสันนิษฐานเอาไว้ เป็นจารึกตามแบบลัทธิไศวนิกายของฮินดูบ่งชี้ว่าราชวงศ์เคยนับถือลัทธิไศวนิกายก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนานิกายมหายานเช่นเดียวกับราชวงศ์ศรีชยนาศแห่งสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่ปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา เพราะหลังจากพระองค์ก็เป็นชีมะ (พ.ศ.1217-1246) อินสิญัก (พ.ศ.1246-1253) และสันนะ (พ.ศ.1253-1260) ซึ่งมีแต่สันนะเท่านั้นที่ประทับอยู่ที่บาตังเหมือนกับฑปุนดาไศเลนทร์ จากนั้นจึงย้ายไปมะธะรัมบริเวณที่ราบสูงเกดูและเกวู

รูป 1.จารึกโซโจเมร์โต ที่ลบล้างความเชื่อที่ว่าราชวงศ์ไศเลนทรืมาจากฟูนัน แหล่งที่มาhttps://en.wikipedia.org/wiki/Sojomerto_inscription#/media/File:Sojomerto_Inscription.jpg
มีจารึกจังกัล (พ.ศ.1275) กล่าวถึงราไคสัญชัย (พ.ศ.1260-1289) สร้างวิหารศิวลึงค์หลังจากสืบราชสมบัติจากพระเจ้าสันนะที่มะธะรัมและก่อตั้งราชวงศ์สัญชัยซึ่งอาจเป็นลูกหลานของผู้ปกครองชวากลางในยุคแรกๆ ทำให้ปูร์บัทยาราคานักประวัติศาสตร์ชาวอินโดนีเซียสันนิษฐานว่าราชวงศ์สัญชัยอาจแตกสาขาออกไปจากราชวงศ์ไศเลนทร์เพราะมีต้นกำเนิดเดียวกัน จารึกราชัน สังฆาราที่ค้นพบในปีพ.ศ.2547-2548 และเรื่องเล่าปราฮยันกันของซุนดากล่าวถึงราไคสัญชัยขอร้องให้ผู้สืบราชบัลลังก์ของพระองค์คือราไคปนมกรณให้เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูนิกายไศวะมาเป็นพุทธมหายานเนื่องจากชาวบ้านกลัวลัทธิไศวะ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงที่ราชวงศ์ไศเลนทร์เปลี่ยนนับถือพุทธมหายานเนื่องจากราไคปนมกรณเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์แต่กริฟิทส์สงสัยเกี่ยวกับจารึกนี้ อาดัม มาลิกค้นพบจารึกนี้ลงวันที่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 หรือฮาปรัน (พ.ศ.1293) แต่กริฟฟิท เชื่อว่าราชัน สังฆาราเป็นกวี บูคารีที่ค้นพบจารึกนี้เป็นคนแรกต่อมาหายไปและพบอีกในปีพ.ศ.2561 แต่พบเฉพาะท่อนหลังไม่ใช่ทั้งหมดต่อมาราไคสัญชัยได้ยกกองทัพเรือบุกสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เกาะสุมาตราในปีพ.ศ.1275 และรบชนะราชาสังศรีวิชัยจากเรื่องเล่าปราฮยันกัน

เรื่องเล่าปราฮยันกันที่เขียนขึ้นภายหลังหลายร้อยปีกล่าวว่าราไคปนมกรณ์เป็นบุตรของราไคสัญชัยและเจ้าหญิงไศเลนทร์แต่ข้อสันนิษฐานที่ว่าราไคปนมกรณ์เป็นน้องชาย ลูกพี่ลูกน้องหรือหลานของราไคสัญชัยไม่อาจตัดไปได้ ที่วัดพุทธมหายานวันนัว เต็งกะแปลว่ากลางเมือง ราไคบาลิตุงสลักจารึกวันนัว เต็งกะที่ 3 (พ.ศ.1451) หนึ่งปีหลังจากจารึกมันธยาสิ (พ.ศ.1450) ระบุรายนามกษัตริย์มะธะรัม จารึกทั้ง 2 ไม่กล่าวถึงราชวงศ์ไศเลนทร์ ยกเว้นราไคปนมกรณดังนั้นยอร์ดานเชื่อว่าทั้ง 2 ราชวงศ์อยู่ร่วมสมัยกันเดอ คาสปาริสเชื่อว่าปนมกรณ์ส่งบรรณาการให้ราชวงศ์ไศเลนทร์และกษัตริย์ 4 พระองค์แรกมาจากคนละราชวงศ์เพราะโบราณสถานที่ๆราบสูงเดียงและกลาสานมีรูปแบบที่แตกต่างกันระหว่างราชวงศ์สัญชัยที่นับถือศาสนาพราหมณ์และราชวงศ์ไศเลนทร์ที่นับถือพุทธศาสนามหายาน นักประวัติศาสตร์หลายท่านเชื่อว่า 2 ราชวงศ์นี้แย่งอำนาจกันในชวา ฟาน เดอร์ เมอเลนเชื่อว่าปนมกรณ์เป็นกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์แต่มิคซิคและเดอ คาสปาริสไม่เห็นด้วยเพราะปรากฏพระนามในจารึกมันธยาสิและวันนัว เต็งกะที่ 3 แต่การปรากฏพระนามนี้น่าจะแสดงว่าทั้ง 2 ราชวงศ์มีต้นกำเนิดเดียวกันจึงไม่สามารถตัดข้อสันนิษฐานที่ว่าราชวงศ์สัญชัยเป็นสาขาของราชวงศ์ไศเลนทร์ได้ จากจารึกวันนัว เต็งกะที่ 3 ราไคปนาราบัน (ราไคปนุงกลันในจารึกมันธยาสิ) (6 มีนาคม พ.ศ.1327-1346) ไม่ใช่ธรณินทราชาที่สืบราชสมบัติต่อจากปนมกรณ์ในเกาะชวาในปีพ.ศ.1327

กล่าวโดยสรุป มหาราชาแห่งศรีวิชัยและกษัตริย์มะธะรัมไม่ใช่คนๆเดียวกันและปกครองคนละอาณาจักรกัน ดังนั้นอาณาจักรมะธะรัมจึงเป็นกลุ่มเมืองพันธมิตรกับศรีวิชัยในเกาะชวา โดยมีอาณาจักรกาจะยานะอยู่ที่ภูเขากะวิทางตะวันออกของเกาะชวาที่เป็นอิสระในปีพ.ศ.1303 ในช่วงแรกทั้ง 2 ราชวงศ์น่าจะเป็นมิตรที่ดีต่อกันหรือมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติจนกระทั่งเกิดความขัดแย้งระหว่างราไคปิกะตันกับมหาราชาพาลบุตร หลังจากพ.ศ.1285 ชื่อซยิต-ลี่-พุท-เจย (ซื่อ-ลี่-โฝ-ซื่อ หรือศรีวิชัย) ได้หายไปจากพงศาวดารจีนโดยไร้คำอธิบาย ซูซูกิสันนิษฐานว่าอาจเปลี่ยนชื่อไปเป็นกา-ลิง จากชวา หลังจากที่ราชวงศ์ไศเลนทร์ขึ้นปกครองสมาพันธรัฐศรีวิชัยแล้วมีการค้นพบคัมภีร์สัง ฮยัง กัมหายานิกัน (Sang Hyang Kamahayanikan) ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ในพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในเกาะชวาเขียนเป็นภาษาสันสกฤตและแปลความเป็นภาษาชวาโบราณทำให้มองเห็นทางในการศึกษาราชวงศ์ไศเลนทร์ได้ดียิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง
ธรรมทาส พานิช พ.ศ.๒๕๓๘ พนม ทวารวดี ศรีวิชัย สามอาณาจักรไทยโบราณ (ไศเลนทร์) กรุงเทพ: สุขภาพใจ.

Agustijanto, Indrajaya, and Véronique Degroot. 2012. "Propection archéologique de la Côté nord de Java Centre le District de Batang." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 99: 351-313.

Agustijanto, Indraraya, Sukawati Susetiyo, and Véronique Degroot. 2019. "Note on Two Pre-Mataram Sites Recently Discovered near Weleri, North Central Java." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 105: 323-330.

Damais, Louis-Charles,. 1952. "Études d'épigraphie indonésienne, III." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient XLVI.

Griffiths, Arlo. 2021. "The Sanskrit Inscription of Sankara and its Interpretation in the National History of Indonesia." Bijdragen tot de Taal-, Land-en Volkenkunde 177 (1): 1-26.

Iguchi Masatoshi 井口正俊. 2015. Java essay: The History and Culture of a South Country. Leicestershire, UK: Matador.

Iwamoto Yutaka 岩本裕. 1981. "The Sailendra Dynasty and Candi Borobudur." Southeast Asia: History and Culture 1981 (10): 17-38.

Jordaan, Roy E. 2006. "Why Sailendras Were not a Javanese Dynasty." Indonesia and the Malay World 34: 3-22.

Mayers, W. F. 1875. "Chinese Explorations of the Indian Ocean during the Fifteenth Century." The China Review 4 (3): 173-190.
Miksic, John Norman. 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, Maryland: Scarecrow Press.

Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.

Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.

Nakada Kozo 仲田浩三. 1972. "On the Name of the Kingdom of Ho-ling in Jawa." Southeast Asia: History and Culture 2: 100-121.

Poerbatjakara, Raden Mas Ngubehi. 1958. "Çrivijaya, de Çailendra en de Sañjayavamça." Bidjragen van het Koninklijk Instituut voor Taal –Leiden Volkenkunde 114: 254-264.

Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.

Tjahjono, Baskord, Indraraya Agustijanto, and Véronique Degroot. 2015. "Propection archéologique de la côté nord de Java Centre Le District de Kendal." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 101: 327-356.

Van der Meulen, W. J. 1979. "King Sanjaya and His Successor." Indonesia 28 (2): 17-54.

Zakharov, Anton O. 2012. The Shailendra Reconsidered. Singapore: ISEAS.



กำลังโหลดความคิดเห็น