โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
จารึก K.103 (พ.ศ.1313) ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 เป็นภาษาเขมรโบราณจากพระธาตุสรีมางในถบงขมุมทางใต้ของกำปงจามและจารึก K.134 (พ.ศ.1324) จากโลเบิกสโรตค้นพบบริเวณกระเตี้ยบริเวณสัมโบร์ (ศัมภูปุระ) ในกัมพูชาเป็นจารึกสุดท้ายของอาณาเจนละ ชาติกำเนิดของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ที่เป็นปริศนาเพราะนิยายปรัมปราของกัมพูชาเลี่ยงที่จะพูดถึงความอัปยศของชาวเขมรที่ถูกพวกชวกะหรือศรีวิชัยโจมตี ชาวศรีวิชัยเรียกกัมพูชาว่านครจำปากาปุระ จารึกเขมรในไทย เช่น สด๊กก๊อกธมแผ่นที่ 2 (พ.ศ.1595) ใน จ.สระแก้วได้เขียนการสืบตระกูลพราหมณ์ที่รับใช้กษัตริย์กัมพูชาถึง 12 รัชกาลในสมัยพระนครตั้งแต่ พ.ศ.1345-1575 เป็นจารึกในสมัยใดไม่ปรากฏแต่กล่าวลำดับกษัตริย์กัมพูชาตั้งแต่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จนถึงพระเจ้าอาทิตอุทัยวรมันเป็นเวลา 130 ปี
จารึกนี้กล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1345-1393) เสด็จมาจากเกาะชวาในปี พ.ศ.1346 ได้อัญเชิญพราหมณ์หิรันยทามะหรือศิวไกรวัลย์มาจากในป่าเพื่อประกอบพิธีกรรมพราหมณ์ใหญ่โตเพื่อไม่ให้อาณาจักรต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกชวกะหรือศรีวิชัยอีกต่อไปซึ่งเป็นการยืนยันว่ากัมพูชาเคยถูกศรีวิชัยยึดครองและพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้ก่อตั้งอาณาจักรพระนครนั้นเคยตกเป็นเชลยศึกของสมาพันธรัฐศรีวิชัยและอาศัยอยู่ที่มะธะรัมในเกาะชวาหลายปีจนเรียนรู้ลัทธิเทวราชาจากราชวงศ์สัญชัยที่เป็นฮินดูที่นั่นไม่ใช่ราชวงศ์ไศเลนทร์ที่เป็นพุทธมหายาน พระองค์คงจะถูกนำตัวไปที่นั่นหลังจากที่มหาราชาธรณินทราชาแห่งราชวงศ์ไศเลนทร์สืบราชสมบัติสมาพันธรัฐศรีวิชัยต่อจากราชาธรรมเสตุแล้ว การขุดค้นพบศิลปะชวาที่หมู่บ้านร่อลวยซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของหริหราลัยเมืองหลวงเมืองหนึ่งของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราสาทโอ พะองที่สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.1343 ได้รับอิทธิพลจากชวา ปราสาทกมา ดาปที่สร้างเมื่อ พ.ศ.1338 และปราสาทบากงที่ได้รับอิทธิพลจากบรมพุทโธบนเกาะชวา ยืนยันได้ว่าศรีวิชัยเคยมีอิทธิพลในกัมพูชา
สมาพันธรัฐศรีวิชัยน่าจะมีอิทธิพลเหนือกัมพูชาเฉพาะบริเวณเมืองท่าติดทะเลอย่างเช่น อนินทิตะปุระเพื่อควบคุมเส้นทางการค้าในอ่าวไทยเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีการสร้างพระโพธิสัตว์โลเกศวรแบบพุทธศาสนานิกายมหายานที่ปราสาทตาเกียมในกัมพูชาโดยพระราชนัดดาของพระเจ้าชเยนทรธิปติวรมันในปี พ.ศ.1334 อาจจะได้รับอิทธิพลจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็เป็นได้ จารึกของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ที่ปราสาทแปรรูปบันทึกว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 สืบเชื้อสายทางมารดาจากพระเจ้าปุษกราษเชื้อสายของพระเจ้าพลาทิตย์แห่งอาณาจักรเจนละน้ำ (อนินทิตะปุระ) พระเจ้าปุษกราษปกครองสัมโบร์ จารึกพระนางชเยษฐารยะซึ่งเป็นพระเชษฐภคนีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 บันทึกว่าพระนางเป็นราชินีแห่งสัมโบร์ดังนั้นพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จึงเป็นรัชทายาทแห่งสัมโบร์โดยมีเชื้อสายจันทวงศ์แห่งฟูนัน
การบุกโจมตีอาณาจักรเจนละของสมาพันธรัฐศรีวิชัยทำให้เมืองเขมรต่าง ๆ ที่อยู่ตอนในแตกแยกกันหลายปีจนพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ต้องมารวบรวมอีกครั้งหนึ่งจารึกซับบาก (พ.ศ.1609) ภาษาเขมรโบราณที่ค้นพบที่นครราชสีมากล่าวว่าพระเจ้าอาทิตย์อุทัยวรมันต้องทำพิธีไม่ให้อาณาจักรเขมรอยู่ใต้การปกครองของศรีวิชัยอีกแสดงว่าหลังจากยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 สมาพันธรัฐศรีวิชัยอาจโจมตีกัมพูชาอีก ปุโรหิตสดาศิวะพี่เขยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 กล่าวว่าศิวไกรวัลย์สร้างลัทธิเทวราชาเพื่อไม่ให้อาณาจักรเขมรต้องตกอยู่ขึ้นกับ (อยัตตา) ราชาแห่งภูเขา (ไศเลนทร์) และพวกชวกะ จารึกวัดสำโรง (K.356) วัดสิธอร์ (K.111,พ.ศ. 1480) และจารึกปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงพวกชวกะ แสดงว่าหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เขมรยังต้องเผชิญภัยจากพวกชวกะ
การบุกโจมตีอาณาจักรเจนละน้ำน่าจะเป็นยุทธศาสตร์ในการป้องกันไม่ให้อาณาจักรในกัมพูชาแผ่อิทธิพลเข้ามาขัดขวางและแทรกแซงการขยายอิทธิพลของสมาพันธรัฐศรีวิชัยขึ้นมาทางเหนือของแหลมมลายูและควบคุมการค้าในอ่าวไทยจากทั้งฝั่งคาบสมุทรมลายูและกัมพูชาเพื่อบีบบังคับให้เมืองทวาราวดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาค้าขายผ่านสมาพันธรัฐศรีวิชัยคงไม่ใช่เพราะต้องการลงโทษกษัตริย์เขมรตามที่ปรากฏ
ตำนานแห่งซาบากเป็นส่วนหนี่งของหนังสือ อักบาร์ อาส-ซิน วา’ล ฮินด์ (เรื่องราวจากจีนและอินเดีย) เขียนโดยสุไลมาน อัล-ทาจีร์ (Sulaiman al-Tajir) พ่อค้าชาวเปอร์เซียที่ได้ยินเรื่องราวจากคนในท้องถิ่นเมื่อเดินทางมาศรีวิชัยในปี พ.ศ.1393 โดยอบู ซัยยัด อัล-ซิราฟี่ (Abu Zayd al-Sirafi) ซึ่งเป็นนักเดินเรือชาวเปอร์เซียได้ให้ความเห็นเอาไว้ในส่วนหลังของหนังสือเล่มนี้ในปี พ.ศ.1458 ซึ่งประกอบกับส่วนแรกที่เขียนโดยนักเดินเรือนิรนาม 50 ปีก่อนหน้า อัล-ซิราฟี่กล่าวว่าซาบากคือศรีบูซ่าหรือศรีวิชัย ต่อมาอัล-มาซูดี (al-Masudi) นักประวัติศาสตร์ชาวอาหรับได้ตีพิมพ์ในหนังสือมิรุจ อัล-ดาหฮับวาม’อะดิน อัล-จาวาฮาร์ (ทุ่งหญ้าทองคำและเหมืองอัญมณี) ในปี พ.ศ.1490
หนังสือเล่มนี้ได้เขียนถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชาเขมรผู้โง่เขลาพระองค์หนึ่ง กล่าววาจาท้าทายดูหมิ่นพระราชอำนาจของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่แห่งซาบากที่มีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง ในที่สุดพระราชาเขมรผู้โง่เขลาพระองค์นั้นประสบชะตากรรมอย่างไร เขาได้เขียนขึ้นคล้ายกับเรื่องราวในเทพนิยายอาหรับราตรีซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงการที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยยกทัพบุกอาณาจักรเจนละนั่นเอง ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
วันหนึ่งด้วยความริษยา กษัตริย์หนุ่มเขมรได้ตรัสในท้องพระโรงดังนี้ “ข้าต้องทำอะไรสักอย่างให้พอใจ”
อำมาตย์กราบทูลว่า “ทรงปรารถนาสิ่งใดหรือ พระเจ้าข้า”
กษัตริย์หนุ่มตรัสว่า “ข้าต้องการหัวของกษัตริย์แห่งซาบากในจานของข้า”
อำมาตย์กราบทูลว่า “ข้าพระองค์มิได้หวังว่าพระองค์จะทรงตรัสเช่นนั้นพระเจ้าข้า เขมร และซาบากมิได้เคยชิงชังซึ่งกันและกันไม่ว่าจะด้วยวาจาหรือการกระทำ ซาบากไม่เคยเป็นอันตรายกับเรา สิ่งที่พระองค์ตรัสไว้มิบังควรตรัสซ้ำอีกพระเจ้าข้า”
กษัตริย์เขมรทรงกริ้วในคำกราบทูลของอำมาตย์ผู้นั้น พระองค์จึงส่งตรัสสิ่งที่ทรงปรารถนาดังขึ้นจนขุนนางที่มาเข้าเฝ้าในท้องพระโรงได้ยินทั่วกัน ซึ่งความปรารถนานี้ได้ยินไปถึงท้องพระโรงของมหาราชาแห่งซาบาก องค์มหาราชาจึงบอกให้เหล่าเสนาจัดเตรียมเรือพันลำเพื่อออกทะเล หลังจากเตรียมเรือเสร็จแล้วองค์มหาราชาทรงตรัสกับฝูงชนที่มาส่งเสด็จว่า “เราจะไปเที่ยวเกาะแก่งต่าง ๆ ในทะเลซักหน่อย” เมื่อออกเรือแล้วองค์มหาราชาสั่งให้กองทัพเรือยกพลขึ้นบกไปที่เมืองหลวงของกัมพูชาแบบสายฟ้าแลบ พวกเขาล้อมพระราชวังและจับกษัตริย์เขมรมาไว้ต่อหน้ามหาราชา
องค์มหาราชาตรัสถาม กษัตริย์เขมรว่า “เหตุใดพระองค์จึงมีความปรารถนาในสิ่งที่นอกเหนืออำนาจของพระองค์แม้ว่าสำเร็จแล้วก็ไม่ได้ทำให้พระองค์มีความสุขหรือแม้ว่ามันจะสำเร็จได้ง่ายไม่ก็มิใช่เหตุอันควรที่จะตรัสเช่นนั้น” กษัตริย์เขมรไม่ตรัสตอบ องค์มหาราชาจึงตรัสต่อไปว่า “พระองค์ปรารถนาที่จะเห็นศีรษะของหม่อมฉันในจานของพระองค์ ถ้าพระองค์ต้องการยึดประเทศของหม่อมฉันหรือแม้แต่ทำลายส่วนหนึ่งส่วนใดของมัน หม่อมฉันก็จะทำแบบนั้นกับพระองค์เช่นกัน แต่พระองค์แค่ปรารถนาที่จะเห็นศีรษะของหม่อมฉันในจานของพระองค์ หม่อมฉันก็จะทำกับพระองค์แค่นั้น หม่อมฉันจะไม่เอาสมบัติอะไรของเขมรกลับไปประเทศของหม่อมฉันแม้แต่ชิ้นเดียว”
องค์มหาราชาเสด็จกลับไปที่วังของพระองค์แล้วทรงนั่งบัลลังก์ และมีศีรษะของกษัตริย์เขมรอยู่ในจานของพระองค์
เอกสารอ้างอิง
กังวล คัชชิมา. พ.ศ.2550. "มุมมองด้านพิธีกรรม ศาสนา และชาตินิยม ในประวัติศาสตร์เขมร และจากจารึกซับบาก." ดำรงวิชาการ 6 (2): 126-144.
ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล. พ.ศ.2535. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ.2000. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์.
ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล. พ.ศ.2519. "อาณาจักรเจนละ." เมืองโบราณ 3 (1): 14-21.
อมรา ศรีสุชาติ. พ.ศ.2557. ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.
อภิชาติ ทวีโภคา. พ.ศ.2559. สด๊กก๊อกธม-บันเตียชมาร์ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี. สระแก้ว: ดำรงชัยการพิมพ์.
Al-Masudi. 1989 (947). The Meadow of Gold the Abbasid (Murūj al-dhahab wa m‘ādin al-jawhar). Translated by Paul Linde and Caroline Shore. London/New York: Kegan Publishing.
Cœdès, Georges. 1968. The Indianized States of Southeast Asia. Edited by Walter F. Vella. Translated by Susan Brown Cowing. Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press.
Griffiths, Arlo. 2013. "The Problem of the Ancient Name Java and the Role of Satyavarman in Southeast Asian International Relations around the Turn of the 9th Century CE." Archipel 85: 43-81.
Ibn Yazid Sirafi, Abu Zayd Hassan & Sulayman al-Tajir. 2010 (1718). Ancienne Relations de Indes et de la Chine de deux voyaguers Mahometans qui y allerent dans le le neuvième siècle de notre ere (Akhbār al-Şin wa’l-Hind). Translated by Renaudot Abbé Eusebius. Paris: Kissinger Legacy.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
จารึก K.103 (พ.ศ.1313) ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 เป็นภาษาเขมรโบราณจากพระธาตุสรีมางในถบงขมุมทางใต้ของกำปงจามและจารึก K.134 (พ.ศ.1324) จากโลเบิกสโรตค้นพบบริเวณกระเตี้ยบริเวณสัมโบร์ (ศัมภูปุระ) ในกัมพูชาเป็นจารึกสุดท้ายของอาณาเจนละ ชาติกำเนิดของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ที่เป็นปริศนาเพราะนิยายปรัมปราของกัมพูชาเลี่ยงที่จะพูดถึงความอัปยศของชาวเขมรที่ถูกพวกชวกะหรือศรีวิชัยโจมตี ชาวศรีวิชัยเรียกกัมพูชาว่านครจำปากาปุระ จารึกเขมรในไทย เช่น สด๊กก๊อกธมแผ่นที่ 2 (พ.ศ.1595) ใน จ.สระแก้วได้เขียนการสืบตระกูลพราหมณ์ที่รับใช้กษัตริย์กัมพูชาถึง 12 รัชกาลในสมัยพระนครตั้งแต่ พ.ศ.1345-1575 เป็นจารึกในสมัยใดไม่ปรากฏแต่กล่าวลำดับกษัตริย์กัมพูชาตั้งแต่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จนถึงพระเจ้าอาทิตอุทัยวรมันเป็นเวลา 130 ปี
จารึกนี้กล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1345-1393) เสด็จมาจากเกาะชวาในปี พ.ศ.1346 ได้อัญเชิญพราหมณ์หิรันยทามะหรือศิวไกรวัลย์มาจากในป่าเพื่อประกอบพิธีกรรมพราหมณ์ใหญ่โตเพื่อไม่ให้อาณาจักรต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกชวกะหรือศรีวิชัยอีกต่อไปซึ่งเป็นการยืนยันว่ากัมพูชาเคยถูกศรีวิชัยยึดครองและพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้ก่อตั้งอาณาจักรพระนครนั้นเคยตกเป็นเชลยศึกของสมาพันธรัฐศรีวิชัยและอาศัยอยู่ที่มะธะรัมในเกาะชวาหลายปีจนเรียนรู้ลัทธิเทวราชาจากราชวงศ์สัญชัยที่เป็นฮินดูที่นั่นไม่ใช่ราชวงศ์ไศเลนทร์ที่เป็นพุทธมหายาน พระองค์คงจะถูกนำตัวไปที่นั่นหลังจากที่มหาราชาธรณินทราชาแห่งราชวงศ์ไศเลนทร์สืบราชสมบัติสมาพันธรัฐศรีวิชัยต่อจากราชาธรรมเสตุแล้ว การขุดค้นพบศิลปะชวาที่หมู่บ้านร่อลวยซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของหริหราลัยเมืองหลวงเมืองหนึ่งของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราสาทโอ พะองที่สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.1343 ได้รับอิทธิพลจากชวา ปราสาทกมา ดาปที่สร้างเมื่อ พ.ศ.1338 และปราสาทบากงที่ได้รับอิทธิพลจากบรมพุทโธบนเกาะชวา ยืนยันได้ว่าศรีวิชัยเคยมีอิทธิพลในกัมพูชา
สมาพันธรัฐศรีวิชัยน่าจะมีอิทธิพลเหนือกัมพูชาเฉพาะบริเวณเมืองท่าติดทะเลอย่างเช่น อนินทิตะปุระเพื่อควบคุมเส้นทางการค้าในอ่าวไทยเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีการสร้างพระโพธิสัตว์โลเกศวรแบบพุทธศาสนานิกายมหายานที่ปราสาทตาเกียมในกัมพูชาโดยพระราชนัดดาของพระเจ้าชเยนทรธิปติวรมันในปี พ.ศ.1334 อาจจะได้รับอิทธิพลจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็เป็นได้ จารึกของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ที่ปราสาทแปรรูปบันทึกว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 สืบเชื้อสายทางมารดาจากพระเจ้าปุษกราษเชื้อสายของพระเจ้าพลาทิตย์แห่งอาณาจักรเจนละน้ำ (อนินทิตะปุระ) พระเจ้าปุษกราษปกครองสัมโบร์ จารึกพระนางชเยษฐารยะซึ่งเป็นพระเชษฐภคนีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 บันทึกว่าพระนางเป็นราชินีแห่งสัมโบร์ดังนั้นพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จึงเป็นรัชทายาทแห่งสัมโบร์โดยมีเชื้อสายจันทวงศ์แห่งฟูนัน
การบุกโจมตีอาณาจักรเจนละของสมาพันธรัฐศรีวิชัยทำให้เมืองเขมรต่าง ๆ ที่อยู่ตอนในแตกแยกกันหลายปีจนพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ต้องมารวบรวมอีกครั้งหนึ่งจารึกซับบาก (พ.ศ.1609) ภาษาเขมรโบราณที่ค้นพบที่นครราชสีมากล่าวว่าพระเจ้าอาทิตย์อุทัยวรมันต้องทำพิธีไม่ให้อาณาจักรเขมรอยู่ใต้การปกครองของศรีวิชัยอีกแสดงว่าหลังจากยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 สมาพันธรัฐศรีวิชัยอาจโจมตีกัมพูชาอีก ปุโรหิตสดาศิวะพี่เขยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 กล่าวว่าศิวไกรวัลย์สร้างลัทธิเทวราชาเพื่อไม่ให้อาณาจักรเขมรต้องตกอยู่ขึ้นกับ (อยัตตา) ราชาแห่งภูเขา (ไศเลนทร์) และพวกชวกะ จารึกวัดสำโรง (K.356) วัดสิธอร์ (K.111,พ.ศ. 1480) และจารึกปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงพวกชวกะ แสดงว่าหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เขมรยังต้องเผชิญภัยจากพวกชวกะ
การบุกโจมตีอาณาจักรเจนละน้ำน่าจะเป็นยุทธศาสตร์ในการป้องกันไม่ให้อาณาจักรในกัมพูชาแผ่อิทธิพลเข้ามาขัดขวางและแทรกแซงการขยายอิทธิพลของสมาพันธรัฐศรีวิชัยขึ้นมาทางเหนือของแหลมมลายูและควบคุมการค้าในอ่าวไทยจากทั้งฝั่งคาบสมุทรมลายูและกัมพูชาเพื่อบีบบังคับให้เมืองทวาราวดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาค้าขายผ่านสมาพันธรัฐศรีวิชัยคงไม่ใช่เพราะต้องการลงโทษกษัตริย์เขมรตามที่ปรากฏ
ตำนานแห่งซาบากเป็นส่วนหนี่งของหนังสือ อักบาร์ อาส-ซิน วา’ล ฮินด์ (เรื่องราวจากจีนและอินเดีย) เขียนโดยสุไลมาน อัล-ทาจีร์ (Sulaiman al-Tajir) พ่อค้าชาวเปอร์เซียที่ได้ยินเรื่องราวจากคนในท้องถิ่นเมื่อเดินทางมาศรีวิชัยในปี พ.ศ.1393 โดยอบู ซัยยัด อัล-ซิราฟี่ (Abu Zayd al-Sirafi) ซึ่งเป็นนักเดินเรือชาวเปอร์เซียได้ให้ความเห็นเอาไว้ในส่วนหลังของหนังสือเล่มนี้ในปี พ.ศ.1458 ซึ่งประกอบกับส่วนแรกที่เขียนโดยนักเดินเรือนิรนาม 50 ปีก่อนหน้า อัล-ซิราฟี่กล่าวว่าซาบากคือศรีบูซ่าหรือศรีวิชัย ต่อมาอัล-มาซูดี (al-Masudi) นักประวัติศาสตร์ชาวอาหรับได้ตีพิมพ์ในหนังสือมิรุจ อัล-ดาหฮับวาม’อะดิน อัล-จาวาฮาร์ (ทุ่งหญ้าทองคำและเหมืองอัญมณี) ในปี พ.ศ.1490
หนังสือเล่มนี้ได้เขียนถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชาเขมรผู้โง่เขลาพระองค์หนึ่ง กล่าววาจาท้าทายดูหมิ่นพระราชอำนาจของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่แห่งซาบากที่มีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง ในที่สุดพระราชาเขมรผู้โง่เขลาพระองค์นั้นประสบชะตากรรมอย่างไร เขาได้เขียนขึ้นคล้ายกับเรื่องราวในเทพนิยายอาหรับราตรีซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงการที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยยกทัพบุกอาณาจักรเจนละนั่นเอง ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
วันหนึ่งด้วยความริษยา กษัตริย์หนุ่มเขมรได้ตรัสในท้องพระโรงดังนี้ “ข้าต้องทำอะไรสักอย่างให้พอใจ”
อำมาตย์กราบทูลว่า “ทรงปรารถนาสิ่งใดหรือ พระเจ้าข้า”
กษัตริย์หนุ่มตรัสว่า “ข้าต้องการหัวของกษัตริย์แห่งซาบากในจานของข้า”
อำมาตย์กราบทูลว่า “ข้าพระองค์มิได้หวังว่าพระองค์จะทรงตรัสเช่นนั้นพระเจ้าข้า เขมร และซาบากมิได้เคยชิงชังซึ่งกันและกันไม่ว่าจะด้วยวาจาหรือการกระทำ ซาบากไม่เคยเป็นอันตรายกับเรา สิ่งที่พระองค์ตรัสไว้มิบังควรตรัสซ้ำอีกพระเจ้าข้า”
กษัตริย์เขมรทรงกริ้วในคำกราบทูลของอำมาตย์ผู้นั้น พระองค์จึงส่งตรัสสิ่งที่ทรงปรารถนาดังขึ้นจนขุนนางที่มาเข้าเฝ้าในท้องพระโรงได้ยินทั่วกัน ซึ่งความปรารถนานี้ได้ยินไปถึงท้องพระโรงของมหาราชาแห่งซาบาก องค์มหาราชาจึงบอกให้เหล่าเสนาจัดเตรียมเรือพันลำเพื่อออกทะเล หลังจากเตรียมเรือเสร็จแล้วองค์มหาราชาทรงตรัสกับฝูงชนที่มาส่งเสด็จว่า “เราจะไปเที่ยวเกาะแก่งต่าง ๆ ในทะเลซักหน่อย” เมื่อออกเรือแล้วองค์มหาราชาสั่งให้กองทัพเรือยกพลขึ้นบกไปที่เมืองหลวงของกัมพูชาแบบสายฟ้าแลบ พวกเขาล้อมพระราชวังและจับกษัตริย์เขมรมาไว้ต่อหน้ามหาราชา
องค์มหาราชาตรัสถาม กษัตริย์เขมรว่า “เหตุใดพระองค์จึงมีความปรารถนาในสิ่งที่นอกเหนืออำนาจของพระองค์แม้ว่าสำเร็จแล้วก็ไม่ได้ทำให้พระองค์มีความสุขหรือแม้ว่ามันจะสำเร็จได้ง่ายไม่ก็มิใช่เหตุอันควรที่จะตรัสเช่นนั้น” กษัตริย์เขมรไม่ตรัสตอบ องค์มหาราชาจึงตรัสต่อไปว่า “พระองค์ปรารถนาที่จะเห็นศีรษะของหม่อมฉันในจานของพระองค์ ถ้าพระองค์ต้องการยึดประเทศของหม่อมฉันหรือแม้แต่ทำลายส่วนหนึ่งส่วนใดของมัน หม่อมฉันก็จะทำแบบนั้นกับพระองค์เช่นกัน แต่พระองค์แค่ปรารถนาที่จะเห็นศีรษะของหม่อมฉันในจานของพระองค์ หม่อมฉันก็จะทำกับพระองค์แค่นั้น หม่อมฉันจะไม่เอาสมบัติอะไรของเขมรกลับไปประเทศของหม่อมฉันแม้แต่ชิ้นเดียว”
องค์มหาราชาเสด็จกลับไปที่วังของพระองค์แล้วทรงนั่งบัลลังก์ และมีศีรษะของกษัตริย์เขมรอยู่ในจานของพระองค์
เอกสารอ้างอิง
กังวล คัชชิมา. พ.ศ.2550. "มุมมองด้านพิธีกรรม ศาสนา และชาตินิยม ในประวัติศาสตร์เขมร และจากจารึกซับบาก." ดำรงวิชาการ 6 (2): 126-144.
ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล. พ.ศ.2535. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ.2000. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์.
ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล. พ.ศ.2519. "อาณาจักรเจนละ." เมืองโบราณ 3 (1): 14-21.
อมรา ศรีสุชาติ. พ.ศ.2557. ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.
อภิชาติ ทวีโภคา. พ.ศ.2559. สด๊กก๊อกธม-บันเตียชมาร์ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี. สระแก้ว: ดำรงชัยการพิมพ์.
Al-Masudi. 1989 (947). The Meadow of Gold the Abbasid (Murūj al-dhahab wa m‘ādin al-jawhar). Translated by Paul Linde and Caroline Shore. London/New York: Kegan Publishing.
Cœdès, Georges. 1968. The Indianized States of Southeast Asia. Edited by Walter F. Vella. Translated by Susan Brown Cowing. Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press.
Griffiths, Arlo. 2013. "The Problem of the Ancient Name Java and the Role of Satyavarman in Southeast Asian International Relations around the Turn of the 9th Century CE." Archipel 85: 43-81.
Ibn Yazid Sirafi, Abu Zayd Hassan & Sulayman al-Tajir. 2010 (1718). Ancienne Relations de Indes et de la Chine de deux voyaguers Mahometans qui y allerent dans le le neuvième siècle de notre ere (Akhbār al-Şin wa’l-Hind). Translated by Renaudot Abbé Eusebius. Paris: Kissinger Legacy.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.