โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
ในปี พ.ศ. 2513 บรอนสันและยอร์ดานไม่พบร่องรอยการเป็นเมืองที่ปาเล็มบังในพุทธศตวรรษที่ 13 และไม่พบโบราณวัตถุที่เก่ากว่าพุทธศตวรรษที่ 20-21 ในบริเวณปาเล็มบังทำให้พวกเขาสรุปว่าปาเล็มบังไม่เคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของศรีวิชัย แต่แม็คคินนอนเจอแหล่งขุดค้นใหม่ที่กะรังกันยาทางตะวันตกของปาเล็มบังที่บ่งบอกถึงการตั้งถิ่นฐานในบริเวณปาเล็มบังในยุคก่อนศรีวิชัยหลังจากที่บรอนสัน วิสเซอร์มันและยอร์ดานคว้าน้ำเหลวในการขุดค้นระหว่างปี พ.ศ.2513-2523 การค้นพบล่าสุดมีร่องรอย คลองขุด สระน้ำ เกาะเทียมและการกระจายการตั้งถิ่นฐานแสดงโดยเครื่องกระเบื้องจีนในข่วงเวลาก่อนพุทธศตวรรษที่ 10 ปาเล็มบังไม่หนาแน่นพอที่จะเป็นเมืองในสายตาชาวจีน อาหรับ เปอร์เซียและยุโรป แมงกินกล่าวว่าโกตากะปูร์ จันฑิซิวาในสุมาตราใต้และเกาะบังกามีการตั้งถิ่นฐานในราวพุทธศตวรรษที่ 10 แอร์ซุกิฮันใกล้ปาเล็มบังมีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ซึ่งอาจจะเป็นเมืองคันดิส (กัน-ดา-ลิ) ที่ก่อตั้งโดยราชวงศ์โคตมะ เกาะต่าง ๆ และปากแม่น้ำมีประชากรหลายกลุ่ม ในเวลาเดียวกันเช่นที่โชเลีย ซิบุส เบงกูลูและฟุนเนียยู (ทนาห์ อาบัง) สุไหง อาลันและการังอากุง เต็งกะห์ที่คล้ายคลึงกับ กลัง-ลางสาตในมาเลเซีย มัก-อา-ซิน (มุขอาซิน) คือเบนยัวซิน หลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้สนับสนุนเอกสารจีนและสมมติฐานที่ว่าปาเล็มบัง (วิชัย) มีมาก่อนที่ฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัย
การก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยต้องกล่าวถึงฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศหรือดาโต๊ะศรีชยนาศ (Datu Sri Jayanasa) หรือฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศ พงศาวดารมลายู (Sejarah Melayu) เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์แรกของศรีวิชัยว่า ศรี ตรีบัวนา กระรังกันยา (Sri Tribuana Krarangkanya) สมาพันธรัฐศรีวิชัยมีจารึกในช่วงก่อตั้งมากเช่น บูกิต เซกุนตัง จันฑิ อังโศก (Candi Angsoka) กะรังกันยาร์ ซะรังวัตถี ซาบกกิงกิง จากนั้นต้องดูเอกสารจีน อาหรับ จารึกอินเดีย จีน ชวา เขมร จามปา เดอ คาสปาริส เชื่อว่าตำแหน่งฑปุนดา หิยัม เป็นตำแหน่งทางศาสนา กริฟฟิทเชื่อว่าไม่มีพระนามส่วนพระองค์ในจารึก แต่ฮันเตอร์เชื่อว่าฑปุนดา หิยัม หมายถึงราชาที่ครองราชย์และเป็นผู้นำทางศาสนาในเวลาเดียวกัน ในความเป็นจริงแล้วน่าจะเป็นชื่อก่อนที่จะก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เพราะผู้สืบราชสมบัติต่อมาไม่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ ดาโต๊ะศรีวิชัย (Datu Srivijaya) คือตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของศรีวิชัยมีสร้อยพระนามดังนี้ ภาวันดัน ดาโต๊ะ ศรีวิชัย ภาวันฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศ ในจารึกซาบกกิงกิง อ่านโดย ฟาน รองเคล (Van Ronkel) อย่างไรก็ตามจารึกภาษามลายูและชวาโบราณหลายหลักระบุว่าตำแหน่งนี้เป็นคนธรรมดาไม่ใช่เชื้อพระวงศ์และจารึกโซโจเมร์โต้ (พ.ศ.1268) ที่ระบุว่า ฑปุนดา ไศเลนทร์ เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ไศเลนทร์หักล้างกับความเชื่อของเดอ คาสปาริสและกริฟฟิท นอกจากนี้จารึกแผ่นทองแดงกลาดี (พ.ศ.1452) ในเกาะชวากล่าวถึงนาม ฑปุนดาสุทธาระ และ ฑปุนดาดัมปิ ซึ่งสื่อว่าเป็นนามเฉพาะบุคคล ดังนั้นดาโต๊ะศรีชยนาศเป็นพระนามส่วนพระองค์ของผู้ก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัย โดยใช้ตำแหน่งนี้ทำการปราบดาภิเษก และอาจเป็นตำแหน่งศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการทำพิธีกรรมทางพุทธศาสนามหายานทำให้มีสาวกผู้ติดตามมากจนฑปุนดาบางท่านสามารถตั้งตัวเป็นกษัตริย์ได้ ดังนั้นปฐมกษัตริย์ที่มีตำแหน่งฑปุนดาอาจเป็นผู้นำทางศาสนามาก่อน ดังนั้นผู้ก่อตั้งราชวงศ์เหล่านี้น่าจะเป็นสามัญชนมาก่อน แต่ผู้ก่อตั้งเหล่านี้ไม่เคยก้าวก่ายแทรกแซงเมืองสมาชิกต่างๆหลังจากก่อตั้งเมือง
มีจารึก 8 หลักในช่วงก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่กล่าวถึงคำสาบานเหมือนกัน ได้แก่
1.จารึกเกดูกัน บูกิต พ.ศ.1225 ที่ตีนเขาเซกุนตัง (Bukit Seguntang) ใกล้เมืองปาเล็มบัง และมีเศษจารึกอีก 2 ชิ้น
2.จารึกตาลัง ตุโว พ.ศ.1227 สวนศรีเกษตร บริเวณปาเล็มบัง ห่างจากเซกุนตังไปทางเหนือ 5 กิโลเมตร
3.จารึก เตละกะ บาตูที่ซาบกกิงกิง สาบานตน และมีเศษจารึกอีก 3 ชิ้น
4.จารึกบูมบารุ ที่ปาเล็มบัง
5.จารึกโกตา กะปูร์ พ.ศ.1229 บนเกาะบังกา ปากแม่น้ำมูสิ
6.จารึกการัง เบราหิ ที่จัมบิ (สาบานตน)
7.จารึกปาลาส ปาเซมา บนเกาะลัมพุง
8.จารึก การิมุน ตั้งตรงด่านตรวจเรือในช่องแคบมะละกา
มีเพียงจารึกแรกของศรีวิชัยอ้างถึงสมารียันบาทซึ่งเป็นดินแดนตอนใน บูคารีกล่าวว่าจารึกปาลาส ปาเซมะห์มีข้อความเกือบจะเป็นอันเดียวกันกับจารึกการังเบราหิ จารึกโกตา กะปูร์กล่าวว่ากบฎที่เข้มแข็งอย่างกันดรา คาเยทสามารถเอาชนะทันดรุมเลอห์ที่เป็นขุนพลของศรีวิชัยแต่ก็แพ้ศรีวิชัยในเวลาต่อมาจากการตีความเรื่องสงครามในช่วงก่อตั้งสมาพันธรัฐของสลาเม็ต มุลยานะ
เอกสารอ้างอิง
มจ.จันทรืจิรายุ รัชนี พ.ศ.2530. อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา. กรุงเทพ: อรุณวิทยา.
Boechari. 2012. Melacak Sejarah Kuma Indonesia Lewet Prasasti (Tracing Ancient Indonesian History through Inscription). Jakarta: Kepustakaan Populer Gramedi.
Bronson, Bennett. 1979. The Archeology of Sumatra and the Problem of Srivijaya: Early Southeast Asia. Oxford: Oxford University Press.
Hunter, Thomas M. 2015. "Sanskrit in a Distant Land: The Sanskritized." In A 14th Century Malay Code of Laws: The Nitisarasmuccaya, by Uli Kozok, 281-379. Singapore: ISEAS.
Jordaan, Roy E. 1998. "The Tara Temple of Kalasan in Central Java." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 85: 163-183.
Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.
Manguin, Pierre-Yves. 2009a. "Southeast Sumatra in Prehistoric and Srivijaya Times: Upstream-Downstream Relations and the Settlement of the Paneplain." In From Distant Tales: Archeology and Ethnohistory in the Highland of Sumatra, by Dominik Bonatz, John Norman Miksic, J. David Neidel and Mai Lin Tjoa-Bonatz, 434-481. New Castle, UK: Cambridge Scholar Publishing.
Manguin, Pierre-Yves. 2017. "At the Origin of Srivijaya: The Emergence of State and City in Southeast Sumatra." In State Formation and Social Integration in Pre-Islamic South and Southeast Asia: A Compararive Study of Asian Society, by Noburu
Karashima 辛岛昇and Hirosue Masashi弘末雅士, 89-114. Tokyo: Toyo Bunko.
McKinnon, Edmund Edwards. 1985. "Early Polities in Southern Sumatra: Some Preliminary Observations Based on Archeological Evidence." Indonesia 40 (1): 1-36.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Muljana, Slamet. 2006. Sriwijaya. Yogyakarta: LKiS.
Nayenggita, A. 2012. Prasasti Kaladi 831 Saka. Jakarta: Perpustakaan Universitas Indonesia (Library of University of Indonesia).
ในปี พ.ศ. 2513 บรอนสันและยอร์ดานไม่พบร่องรอยการเป็นเมืองที่ปาเล็มบังในพุทธศตวรรษที่ 13 และไม่พบโบราณวัตถุที่เก่ากว่าพุทธศตวรรษที่ 20-21 ในบริเวณปาเล็มบังทำให้พวกเขาสรุปว่าปาเล็มบังไม่เคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของศรีวิชัย แต่แม็คคินนอนเจอแหล่งขุดค้นใหม่ที่กะรังกันยาทางตะวันตกของปาเล็มบังที่บ่งบอกถึงการตั้งถิ่นฐานในบริเวณปาเล็มบังในยุคก่อนศรีวิชัยหลังจากที่บรอนสัน วิสเซอร์มันและยอร์ดานคว้าน้ำเหลวในการขุดค้นระหว่างปี พ.ศ.2513-2523 การค้นพบล่าสุดมีร่องรอย คลองขุด สระน้ำ เกาะเทียมและการกระจายการตั้งถิ่นฐานแสดงโดยเครื่องกระเบื้องจีนในข่วงเวลาก่อนพุทธศตวรรษที่ 10 ปาเล็มบังไม่หนาแน่นพอที่จะเป็นเมืองในสายตาชาวจีน อาหรับ เปอร์เซียและยุโรป แมงกินกล่าวว่าโกตากะปูร์ จันฑิซิวาในสุมาตราใต้และเกาะบังกามีการตั้งถิ่นฐานในราวพุทธศตวรรษที่ 10 แอร์ซุกิฮันใกล้ปาเล็มบังมีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ซึ่งอาจจะเป็นเมืองคันดิส (กัน-ดา-ลิ) ที่ก่อตั้งโดยราชวงศ์โคตมะ เกาะต่าง ๆ และปากแม่น้ำมีประชากรหลายกลุ่ม ในเวลาเดียวกันเช่นที่โชเลีย ซิบุส เบงกูลูและฟุนเนียยู (ทนาห์ อาบัง) สุไหง อาลันและการังอากุง เต็งกะห์ที่คล้ายคลึงกับ กลัง-ลางสาตในมาเลเซีย มัก-อา-ซิน (มุขอาซิน) คือเบนยัวซิน หลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้สนับสนุนเอกสารจีนและสมมติฐานที่ว่าปาเล็มบัง (วิชัย) มีมาก่อนที่ฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัย
การก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยต้องกล่าวถึงฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศหรือดาโต๊ะศรีชยนาศ (Datu Sri Jayanasa) หรือฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศ พงศาวดารมลายู (Sejarah Melayu) เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์แรกของศรีวิชัยว่า ศรี ตรีบัวนา กระรังกันยา (Sri Tribuana Krarangkanya) สมาพันธรัฐศรีวิชัยมีจารึกในช่วงก่อตั้งมากเช่น บูกิต เซกุนตัง จันฑิ อังโศก (Candi Angsoka) กะรังกันยาร์ ซะรังวัตถี ซาบกกิงกิง จากนั้นต้องดูเอกสารจีน อาหรับ จารึกอินเดีย จีน ชวา เขมร จามปา เดอ คาสปาริส เชื่อว่าตำแหน่งฑปุนดา หิยัม เป็นตำแหน่งทางศาสนา กริฟฟิทเชื่อว่าไม่มีพระนามส่วนพระองค์ในจารึก แต่ฮันเตอร์เชื่อว่าฑปุนดา หิยัม หมายถึงราชาที่ครองราชย์และเป็นผู้นำทางศาสนาในเวลาเดียวกัน ในความเป็นจริงแล้วน่าจะเป็นชื่อก่อนที่จะก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เพราะผู้สืบราชสมบัติต่อมาไม่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ ดาโต๊ะศรีวิชัย (Datu Srivijaya) คือตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของศรีวิชัยมีสร้อยพระนามดังนี้ ภาวันดัน ดาโต๊ะ ศรีวิชัย ภาวันฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศ ในจารึกซาบกกิงกิง อ่านโดย ฟาน รองเคล (Van Ronkel) อย่างไรก็ตามจารึกภาษามลายูและชวาโบราณหลายหลักระบุว่าตำแหน่งนี้เป็นคนธรรมดาไม่ใช่เชื้อพระวงศ์และจารึกโซโจเมร์โต้ (พ.ศ.1268) ที่ระบุว่า ฑปุนดา ไศเลนทร์ เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ไศเลนทร์หักล้างกับความเชื่อของเดอ คาสปาริสและกริฟฟิท นอกจากนี้จารึกแผ่นทองแดงกลาดี (พ.ศ.1452) ในเกาะชวากล่าวถึงนาม ฑปุนดาสุทธาระ และ ฑปุนดาดัมปิ ซึ่งสื่อว่าเป็นนามเฉพาะบุคคล ดังนั้นดาโต๊ะศรีชยนาศเป็นพระนามส่วนพระองค์ของผู้ก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัย โดยใช้ตำแหน่งนี้ทำการปราบดาภิเษก และอาจเป็นตำแหน่งศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการทำพิธีกรรมทางพุทธศาสนามหายานทำให้มีสาวกผู้ติดตามมากจนฑปุนดาบางท่านสามารถตั้งตัวเป็นกษัตริย์ได้ ดังนั้นปฐมกษัตริย์ที่มีตำแหน่งฑปุนดาอาจเป็นผู้นำทางศาสนามาก่อน ดังนั้นผู้ก่อตั้งราชวงศ์เหล่านี้น่าจะเป็นสามัญชนมาก่อน แต่ผู้ก่อตั้งเหล่านี้ไม่เคยก้าวก่ายแทรกแซงเมืองสมาชิกต่างๆหลังจากก่อตั้งเมือง
มีจารึก 8 หลักในช่วงก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่กล่าวถึงคำสาบานเหมือนกัน ได้แก่
1.จารึกเกดูกัน บูกิต พ.ศ.1225 ที่ตีนเขาเซกุนตัง (Bukit Seguntang) ใกล้เมืองปาเล็มบัง และมีเศษจารึกอีก 2 ชิ้น
2.จารึกตาลัง ตุโว พ.ศ.1227 สวนศรีเกษตร บริเวณปาเล็มบัง ห่างจากเซกุนตังไปทางเหนือ 5 กิโลเมตร
3.จารึก เตละกะ บาตูที่ซาบกกิงกิง สาบานตน และมีเศษจารึกอีก 3 ชิ้น
4.จารึกบูมบารุ ที่ปาเล็มบัง
5.จารึกโกตา กะปูร์ พ.ศ.1229 บนเกาะบังกา ปากแม่น้ำมูสิ
6.จารึกการัง เบราหิ ที่จัมบิ (สาบานตน)
7.จารึกปาลาส ปาเซมา บนเกาะลัมพุง
8.จารึก การิมุน ตั้งตรงด่านตรวจเรือในช่องแคบมะละกา
มีเพียงจารึกแรกของศรีวิชัยอ้างถึงสมารียันบาทซึ่งเป็นดินแดนตอนใน บูคารีกล่าวว่าจารึกปาลาส ปาเซมะห์มีข้อความเกือบจะเป็นอันเดียวกันกับจารึกการังเบราหิ จารึกโกตา กะปูร์กล่าวว่ากบฎที่เข้มแข็งอย่างกันดรา คาเยทสามารถเอาชนะทันดรุมเลอห์ที่เป็นขุนพลของศรีวิชัยแต่ก็แพ้ศรีวิชัยในเวลาต่อมาจากการตีความเรื่องสงครามในช่วงก่อตั้งสมาพันธรัฐของสลาเม็ต มุลยานะ
เอกสารอ้างอิง
มจ.จันทรืจิรายุ รัชนี พ.ศ.2530. อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา. กรุงเทพ: อรุณวิทยา.
Boechari. 2012. Melacak Sejarah Kuma Indonesia Lewet Prasasti (Tracing Ancient Indonesian History through Inscription). Jakarta: Kepustakaan Populer Gramedi.
Bronson, Bennett. 1979. The Archeology of Sumatra and the Problem of Srivijaya: Early Southeast Asia. Oxford: Oxford University Press.
Hunter, Thomas M. 2015. "Sanskrit in a Distant Land: The Sanskritized." In A 14th Century Malay Code of Laws: The Nitisarasmuccaya, by Uli Kozok, 281-379. Singapore: ISEAS.
Jordaan, Roy E. 1998. "The Tara Temple of Kalasan in Central Java." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 85: 163-183.
Kulke, Hermann. 2016. "Srivijaya Revisited: Reflection on State Formation of Southeast Asian Thalassocracy." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 102: 45-95.
Manguin, Pierre-Yves. 2009a. "Southeast Sumatra in Prehistoric and Srivijaya Times: Upstream-Downstream Relations and the Settlement of the Paneplain." In From Distant Tales: Archeology and Ethnohistory in the Highland of Sumatra, by Dominik Bonatz, John Norman Miksic, J. David Neidel and Mai Lin Tjoa-Bonatz, 434-481. New Castle, UK: Cambridge Scholar Publishing.
Manguin, Pierre-Yves. 2017. "At the Origin of Srivijaya: The Emergence of State and City in Southeast Sumatra." In State Formation and Social Integration in Pre-Islamic South and Southeast Asia: A Compararive Study of Asian Society, by Noburu
Karashima 辛岛昇and Hirosue Masashi弘末雅士, 89-114. Tokyo: Toyo Bunko.
McKinnon, Edmund Edwards. 1985. "Early Polities in Southern Sumatra: Some Preliminary Observations Based on Archeological Evidence." Indonesia 40 (1): 1-36.
Miksic, John Norman, and Geok Yian Goh. 2017. Ancient Southeast Asia. London: Routledge World Archeology.
Muljana, Slamet. 2006. Sriwijaya. Yogyakarta: LKiS.
Nayenggita, A. 2012. Prasasti Kaladi 831 Saka. Jakarta: Perpustakaan Universitas Indonesia (Library of University of Indonesia).