โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
เส้นทางการค้าเครื่องเทศ
ชาวออสโตรเนเซียนใช้ลมค้าตะวันตกและลมค้าตะวันออกในการเดินเรือค้าขายเครื่องเทศจากอุษาคเนย์ไปยังแอฟริกาและคาบสมุทรอาหรับผ่านอินเดียใต้และศรีลังกาซึ่งเชื่อมอินเดีย จีน อารเบียและเปอร์เซีย เส้นทางอบเชยและกานพลูเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าที่ขยายตัวจากจีนสู่อุษาคเนย์ อินเดีย อารเบีย อียิปต์ และแอฟริกาตะวันออก ทำให้อินเดียกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและค้าเครื่องเทศ มีการค้นพบเทคโนโลยีในการออกแบบสร้างเรือแค่ที่เกาะมาดากัสการ์ เกาะแซนซิบาร์และชายฝั่งแอฟริกาบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น (บริเวณสวาฮิลี) เส้นทางอบเชยเป็นการเดินเรือ 6,000 กิโลเมตรจากชายฝั่งเกาะสุมาตราไปยังเกาะมาดากัสการ์แล้วเดินเรืออ้อมเกาะขึ้นเหนือไปยังโมซัมบิก แทนซาเนีย เคนยาและโซมาเลียก่อนวกกลับไปอุษาคเนย์ อินเดียกลายเป็นศูนย์กลางในการค้าเครื่องเทศ ชาวโรมันนำเข้าเครื่องเทศจากอินเดียและอินเดียนำเข้าเครื่องเทศจากอุษาคเนย์จนกระทั่งมีการค้นพบเหรียญโรมันในภูมิภาค
พ่อค้าชาวอินเดียเดินทางมาค้าขายเครื่องเทศและตั้งถิ่นฐานหลายแห่งในอุษาคเนย์ เช่น ปากแม่น้ำโขง ชายฝั่งเวียดนาม แหลมมลายู อ่าวไทยและหมู่เกาะทะเลใต้อย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ผ่านเส้นทางกานพลู ชาวอินเดียเหล่านี้ได้นำศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาเข้ามาสู่ภูมิภาค จนชนพื้นเมืองสามารถก่อตั้งอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลอินเดีย เช่นฟูนัน ทวารวดี อาณาจักรมลายูต่างๆ จามปา เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับเส้นทางการค้าเครื่องเทศของอุษาคเนย์ ศรีลังกาและอินเดีย อุษาคเนย์จึงเป็นใหญ่ทางการค้าในมหาสมุทรอินเดีย
เครือข่ายทางการค้าในยุคก่อนสมาพันธรัฐศรีวิชัย
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเลและเส้นทางการค้าเครื่องเทศที่ขยายตัวจากจีนไปยังอุษาคเนย์ อินเดีย เปอร์เซีย คาบสมุทรอาหรับและแอฟริกาตะวันออกที่ครอบคลุมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ เส้นทางการค้ายุคก่อนรวมเป็นสมาพันธรัฐศรีวิชัยเกิดจากการที่ชาวออสโตรเนเซียนตั้งถิ่นฐานจนกลายเป็นชาวชวาและมลายูได้ควบคุมเส้นทางสายไหมทางทะเลที่ช่องแคบมะละกาที่เป็นแกนกลางของเครือข่ายการค้านี้ในราว 200-300 ปีก่อนพุทธศตวรรษที่ 6 เครือข่ายการค้านี้เชื่อมโยง จามปา จีน อินเดียและอุษาคเนย์เข้าด้วยกัน เพราะชาวออสโตรเนเซียนตั้งถิ่นฐานในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและโพลีเนเซียในยุคหิน การค้นพบตราแกะสลักยุคแรกๆในโลกมลายูที่ตันจงราวา กัวลา ซาลินซิงในรัฐเปรัก มาเลเซียในปีพ.ศ.2473 ระบุอายุไปถึงพุทธศตวรรษที่ 10-11 เป็นหลักฐานการก่อตั้งรัฐในยุคก่อนศรีวิชัย เกาะบอร์เนียวและชวามีนครรัฐมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 ฟูนันหรือปิวนามตั้งขึ้นที่ออกแอวบริเวณปากแม่น้ำโขงโดยควบคุมท่าเรือหลายแห่งในแหลมมลายูที่ออกแอวซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า ฟูนันกระตุ้นการพัฒนาของกลุ่มนครรัฐทวารวดีรอบอ่าวไทยและพระภิกษุอี้จิงก็กล่าวถึงทวารวดี ในพุทธศตวรรษที่ 11 เจนละที่ใช้ภาษาเขมรโบราณผงาดขึ้นมาแทนที่ฟูนันที่ปากแม่น้ำโขง มีเมืองจากทั้งแหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวา และบอร์เนียวส่งบรรณาการไปจีนและฟูนันที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำโขง
เมืองเหล่านี้มีการติดต่อกับอินเดียและชุมชนในอ่าวไทยและจีนเมืองเหล่านี้ค้าขายกับจีนมายาวนานก่อนตั้งราชวงศ์ถังและสมาพันธรัฐศรีวิชัย ตามพงศาวดารจีนเมืองที่ระบุสถานที่ได้แน่นอนได้แก่ ไชยา (ครหิ) เคดาห์ มลายู (จัมบิ) ลังกาสุกะ และทะรุมะนคร นอกนั้นเป็นโบราณสถานที่ไม่อาจจะระบุชื่อได้แน่นอน เช่นตามพรลิงค์ โดยส่งสินค้าไปจีนที่เมืองกว่างโจวในกว่างตง อันเป็นต้นทางของพระภิกษุอี้จิงที่เดินทางมาศรีวิชัย (ศรีพุทชัย) อาจจะเป็นปาเล็มบังหรือจัมบิ เมืองเหล่านี้ค้าขายกับอินเดียและตะวันออกกลาง เนื่องจากโบราณสถานและศิลปวัตถุของเมืองเหล่านี้ได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธศาสนาจากอินเดีย ในมหาสมุทรอินเดียประชาชนจากนครรัฐเหล่านี้เดินทางค้าขายจากชายฝั่งอุษาคเนย์ไปเกาะมาดากัสการ์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7-11๑ โดยอาจแวะที่หมู่เกาะมัลดีฟซึ่งมีหลักฐานเทคโนโลยีการออกแบบเรือและตกปลาแบบอินโดนีเซียโบราณอยู่ นักเดินเรือเหล่านี้รู้จักเกาะมาดากัสการ์ก่อนที่ราชวงศ์ไศเลนทร์จะอพยพคนไปที่นั่นในหลายศตวรรษต่อมา
การติดต่อระหว่างชาวออสโตรเนเซียนกับจีนและอินเดียกระตุ้นให้เกิดการก่อตั้งนครรัฐในสุมาตราและชวาแม้ว่าจะเป็นในทิศทางที่ต่างกัน สินค้าแสดงสถานภาพทางสังคมใช้ดีบุกและทองคำเป็นแร่วัตถุดิบ กลังในมาเลเซียเป็นที่ถลุงแร่ทองคำ แม่น้ำเทมเบอลิงทางตอนเหนือของรับปาหังมีการค้นพบวัตถุโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้ากับโรมันเสื่อมลงในพุทธศตวรรษที่ 8 ตามมาด้วยความรุ่งเรืองทางการค้าระหว่างอินเดียและอุษาคเนย์ข้ามอ่าวเบงกอลจาก พ.ศ.850-1150 มีการก่อตั้งรัฐในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของอุษาคเนย์โดยมีศูนย์กลาง 2 แห่งคือช่องแคบมะละกาและเมืองชายฝั่งทะเลตอนเหนือของเกาะชวาซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวและเครื่องเทศ รัฐในอินเดียเปิดกว้างกว่าจีนเพราะระบบการเขียนและภาษาจีนเป็นอุปสรรคทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ชาวทมิฬและเปอร์เซียเข้าร่วมในเครือข่ายการค้านี้ พระภิกษุซวนจ้างกล่าวถึงเมืองท่ากาลกตปัตนะและมานิกะปัตนะ อี้จิงเรียกนาคปฏินัมว่า นาควัฒนาซึ่งเป็นเมืองท่าทางชายฝั่งตะวันออกของอินเดียที่ติดต่อกับเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีนักเดินเรือจากภูมิภาคอื่น เช่นโรมัน อินเดีย เปอร์เซียและอียิปต์เดินทางมาอุษาคเนย์และทิ้งร่องรอยเอาไว้ เช่น ซากเรือจม เหรียญกษาปณ์และวัตถุโบราณอื่นๆ นักแสวงบุญเหล่านี้ใช้เส้นทางต่างกันขึ้นกับต้นหนเรือแต่เส้นทางตามปกติคือ เจี่ยวจื้อ ออกแอว คันดิส (ปาเล็มบัง) นิโคบาร์และศรีลังกา ซึ่งศูนย์กลางทั้ง 2 แห่งเริ่มมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12-14
พนมหรือฟูนันก่อตั้งที่ออกแอวบริวเณปากแม่น้ำโขง บูรดอนโน เชื่อว่าฟูนันเป็นอาณาจักรแรกของชาวเขมรแต่ก็ยังไม่แน่ คังไท่ (康泰) และ จูอิง (朱應) ซิ่งเป็นฆราวาสชาวจีนรุ่นแรกๆที่เดินทางมายังอุษาคเนย์ในสมัยสามก๊กแต่บันทึกของพวกเขาสูญหายไปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับฟูนันเอาไว้ในหนังสืออู๋ชื่อว่ายกั๋วจ๋วน (吳時外国传 เรื่องเล่าจากต่างแดนในสมัยอู๋) เนื่องจากพนมเป็นศูนย์กลางการค้าและการเปลี่ยนถ่ายเรือใกล้ปากแม่น้ำโขงมาหลายศตวรรษ พ่อค้าจากตะวันออกกลางและอินเดียต้องมาเปลี่ยนเรือไปจีนและขากลับจากจีนก้ต้องเปลี่ยนเรือกลับไปทางตะวันตก เซเดซ์เชื่อว่าฟูนันก่อตั้งราวพุทธศตวรรษที่ 6 และปราบปรามนครรัฐมลายูต่างๆมาไว้ในอำนาจแต่ซูกิโมโต้และนาคาดะเชื่อว่าน่าจะประมาณ 100 ปีหลังจากนั้น ในความเป็นจริงแล้วพนมไม่สามารถเอาชนะเมืองมลายูได้ แต่เมืองเหล่านี้ส่งบรรณาการให้พนมเพราะต้องอาศัยพนมเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าก่อนที่จะส่งออกไปจีน เพราะออกแอวเป็นประตูไปสู่จีนและเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค คุวาตะเชื่อว่าพนมล่มสลายไปก่อนการก่อตั้งราชวงศ์ถังในปี พ.ศ.๑๑๖๑
พนม คันดิส (ปาเล็มบัง) เจินละ รักตมฤติกา และกาลิงเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญ ตันซุนน่าจะอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนาม พนมกระตุ้นให้เกิดอารยธรรมทวารวดีในอ่าวไทยซึ่งท่านอี้จิงได้กล่าวถึงในบันทึกของท่าน ลุกปัดทวารวดีที่เขาศรีวิชัย จ.สุราษฎรืธานี มีการค้นพบวัตถุโบราณมอญในยุคก่อนศรีวิชัยจากยุคพุทธศตวรรษที่ 10-13 ในภาคใต้ของไทย นอกจากพุทธศาสนาเถรวาทแบบทวาราวดีแล้ว ผู้คนก็ยังนับถือศาสนาพราหมณ์ด้วย พงศาวดารเฉินชู้และซินถังชู้กล่าวว่าทวาราวดีอยู่ทางใต้ของเจินละ ในพุทธศตวรรษที่ 11 เจินละที่ใช้ภาษาเขมรโบราณได้เข้าแทนที่พนมในปากแม่น้ำโขง ศิลาจารึกหลายหลักของเขมร เช่น K.400 K.499 K.1009 K.1141 และ K.1155 กล่าวถึงอาณาจักรก่อนยุคพระนคร เช่น พนม เจินละ พระเจ้าปฤษกรต์เป็นบรรพบุรุษของพระเจ้าชัยวรมันจากศิลาจารึกมหินทรวรมัน (K.496 พ.ศ.1259) ที่ปากแม่น้ำมูล
จากพุทธศตวรรษที่ 11-12 นครรัฐหลายแห่งในแหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวาและเกาะบอร์เนียวเริ่มส่งทูตไปจีนและพนมที่ปากแม่น้ำโขง ซากเรือจมปอนเตียนจากชายฝั่งตะวันออกของแหลมมลายูที่มีเครื่องกระเบื้องเคลือบแบบออกแอว และซากเรือจมที่บูตวนในฟิลิปปินส์บ่งชี้โครงเรือแบบออสโตรเนเซียน มีการค้นพบศิลาจารึกทางชายฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู เกาะชวาและบอร์เนียว การก่ออิฐที่ทะรุมะนครในเกาะชวาคล้ายคลึงกับภาคใต้ของไทยและชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซียที่ตันจงราวาแสดงถึงความเกี่ยวข้องกัน วัตถุโบราณโรมัน ฮินดูที่แหล่งโบราณคดีบูนิคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ แสดงว่านครรัฐเหล่านี้ค้าขายกับอินเดีย ชุมชนรอบอ่าวไทยและจีนมาก่อนการก่อตั้งราชวงศ์ถังและศรีวิชัยมานาน พระภิกษุซวนจ้างกล่าวถึง กาลกะปัตตนะและมานิกกปัตนะ และพระภิกษุอี้จิงกล่าวถึงนาควัฒนะหรือนาคปฏินัมที่อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของอินเดียที่ค้าขายกับอุษาคเนย์ โดยพ่อค้าชาวอาหรับและเปอร์เซียยังคงเดินทางผ่านช่องแคบมะละกาจากพ.ศ.1166-1296
นครรัฐเหล่านี้ส่งออกสินค้าไปจีนที่กว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งซึ่งท่านอี้จิงใช้ลงเรือมาศรีวิชัย (คันดิสหรือปาเล็มบัง) ซึ่งค้าขายกับอินเดียและตะวันออกกลางจากหลักฐานทางโบราณคดีและโบราณวัตถุที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และพุทธจากอินเดีย ในมหาสมุทรอินเดียมีผู้คนจากนครรัฐเหล่านี้เดินเรือไปทางทิศตะวันตกจากชายฝั่งทะเลตะวันตกของอุษาคเนย์ถึงเกาะมาดากัสการืระหว่างพ.ศ.593-1043 ซึ่งอาจแวะที่หมู่เกาะมัลดีฟซึ่งมีหลักฐานเรือแบบอินโดนีเซียและเทคโนโลยีในการจับปลาที่ยังคงอยู่มาถึงยุคปัจจุบัน นักเดินเรือเหล่านี้รู้จักเกาะมาดากัสการ์ก่อนที่ราชวงศ์ไศเลนทร์จะอพยพคนไปตั้งถิ่นฐานที่นั่น
เอกสารอ้างอิง
Agallop Annabel The. 2016. “The early use of seals in Malay world.” Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient, 102: 79-118
Bourdonneau, Éric. 2007. "Réhabiliter le Funan Óc Eo ou la première Angkor." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 94: 111-158.
Cœdès, Georges. 1968. The Indianized States of Southeast Asia. Edited by Walter F. Vella. Translated by Susan Brown Cowing. Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press.
Dayalan Duraiswamy. 2019. “Ancient seaports on the Eastern coast of India.” Acta via Serica” 4(1): 25-69
Keay, John. 2006. The Spice Route: A History. Berkley, CA: University of California Press.
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1972. "A Study of Srivijaya." Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko 30: 1-33.
Manguin, Pierre-Yves. 2009b. "The Southeast Asian Ships: A Historical Approach." Journal of Southeast Asian Studies 11 (2): 266-276.
Nakada Kozo 仲田浩三. 1973. "東南アジアのBrahmi系文字の cerebral NA-扶南国の滅亡と詞陵国 Srivijaya 国の勃興の史的状況についての予備的考察 [Cerebral NA in One of the Variety Old Brahmi Script in Southeast Asia: A Preliminary Study on the Historical Situation of the Fall of Funan and the Rise of Ka-Ling and Srivijaya]." Toho Gaku 東方学 45.
Ptak, Roderich 2007. Kang Tai and Zhu Ying (authors), Chen jiarong (compiler) Tan Guanglian (plan.) Waiguo zhuan. Archipel, 74: หน้า ๒๓๖-๒๓๗
Sen, Tansen. 2014a. "Buddhism and the Maritime Crossing." In China and Beyond the Mediaval Period: Cultural Crossing and Inter-regional Connections, by D. C. Wong and G. Heldt, 39-62. Amherstand Delhi: Cambria Press and Manoha.
Sugimoto Naojiro 杉本直治郎. 1968. Dongnan shiyanjiu 东南史研究 translated from Tōnan Ajia shi Kenkyū 東南アジア史研究 (1956CE). Dingbu zaiban. Tokyo: Yannantang shuju 严南堂书局/Nihon gakujutsu shinkōkai 日本学術振興会.
Zakharov, Anton O. 2019. "State Formation in First Millenium Southeast Asia: A Reappraisal." Social Evolution & History 18 (1): 217-240.
เส้นทางการค้าเครื่องเทศ
ชาวออสโตรเนเซียนใช้ลมค้าตะวันตกและลมค้าตะวันออกในการเดินเรือค้าขายเครื่องเทศจากอุษาคเนย์ไปยังแอฟริกาและคาบสมุทรอาหรับผ่านอินเดียใต้และศรีลังกาซึ่งเชื่อมอินเดีย จีน อารเบียและเปอร์เซีย เส้นทางอบเชยและกานพลูเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าที่ขยายตัวจากจีนสู่อุษาคเนย์ อินเดีย อารเบีย อียิปต์ และแอฟริกาตะวันออก ทำให้อินเดียกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและค้าเครื่องเทศ มีการค้นพบเทคโนโลยีในการออกแบบสร้างเรือแค่ที่เกาะมาดากัสการ์ เกาะแซนซิบาร์และชายฝั่งแอฟริกาบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น (บริเวณสวาฮิลี) เส้นทางอบเชยเป็นการเดินเรือ 6,000 กิโลเมตรจากชายฝั่งเกาะสุมาตราไปยังเกาะมาดากัสการ์แล้วเดินเรืออ้อมเกาะขึ้นเหนือไปยังโมซัมบิก แทนซาเนีย เคนยาและโซมาเลียก่อนวกกลับไปอุษาคเนย์ อินเดียกลายเป็นศูนย์กลางในการค้าเครื่องเทศ ชาวโรมันนำเข้าเครื่องเทศจากอินเดียและอินเดียนำเข้าเครื่องเทศจากอุษาคเนย์จนกระทั่งมีการค้นพบเหรียญโรมันในภูมิภาค
พ่อค้าชาวอินเดียเดินทางมาค้าขายเครื่องเทศและตั้งถิ่นฐานหลายแห่งในอุษาคเนย์ เช่น ปากแม่น้ำโขง ชายฝั่งเวียดนาม แหลมมลายู อ่าวไทยและหมู่เกาะทะเลใต้อย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ผ่านเส้นทางกานพลู ชาวอินเดียเหล่านี้ได้นำศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาเข้ามาสู่ภูมิภาค จนชนพื้นเมืองสามารถก่อตั้งอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลอินเดีย เช่นฟูนัน ทวารวดี อาณาจักรมลายูต่างๆ จามปา เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับเส้นทางการค้าเครื่องเทศของอุษาคเนย์ ศรีลังกาและอินเดีย อุษาคเนย์จึงเป็นใหญ่ทางการค้าในมหาสมุทรอินเดีย
เครือข่ายทางการค้าในยุคก่อนสมาพันธรัฐศรีวิชัย
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเลและเส้นทางการค้าเครื่องเทศที่ขยายตัวจากจีนไปยังอุษาคเนย์ อินเดีย เปอร์เซีย คาบสมุทรอาหรับและแอฟริกาตะวันออกที่ครอบคลุมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ เส้นทางการค้ายุคก่อนรวมเป็นสมาพันธรัฐศรีวิชัยเกิดจากการที่ชาวออสโตรเนเซียนตั้งถิ่นฐานจนกลายเป็นชาวชวาและมลายูได้ควบคุมเส้นทางสายไหมทางทะเลที่ช่องแคบมะละกาที่เป็นแกนกลางของเครือข่ายการค้านี้ในราว 200-300 ปีก่อนพุทธศตวรรษที่ 6 เครือข่ายการค้านี้เชื่อมโยง จามปา จีน อินเดียและอุษาคเนย์เข้าด้วยกัน เพราะชาวออสโตรเนเซียนตั้งถิ่นฐานในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและโพลีเนเซียในยุคหิน การค้นพบตราแกะสลักยุคแรกๆในโลกมลายูที่ตันจงราวา กัวลา ซาลินซิงในรัฐเปรัก มาเลเซียในปีพ.ศ.2473 ระบุอายุไปถึงพุทธศตวรรษที่ 10-11 เป็นหลักฐานการก่อตั้งรัฐในยุคก่อนศรีวิชัย เกาะบอร์เนียวและชวามีนครรัฐมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 ฟูนันหรือปิวนามตั้งขึ้นที่ออกแอวบริเวณปากแม่น้ำโขงโดยควบคุมท่าเรือหลายแห่งในแหลมมลายูที่ออกแอวซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า ฟูนันกระตุ้นการพัฒนาของกลุ่มนครรัฐทวารวดีรอบอ่าวไทยและพระภิกษุอี้จิงก็กล่าวถึงทวารวดี ในพุทธศตวรรษที่ 11 เจนละที่ใช้ภาษาเขมรโบราณผงาดขึ้นมาแทนที่ฟูนันที่ปากแม่น้ำโขง มีเมืองจากทั้งแหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวา และบอร์เนียวส่งบรรณาการไปจีนและฟูนันที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำโขง
เมืองเหล่านี้มีการติดต่อกับอินเดียและชุมชนในอ่าวไทยและจีนเมืองเหล่านี้ค้าขายกับจีนมายาวนานก่อนตั้งราชวงศ์ถังและสมาพันธรัฐศรีวิชัย ตามพงศาวดารจีนเมืองที่ระบุสถานที่ได้แน่นอนได้แก่ ไชยา (ครหิ) เคดาห์ มลายู (จัมบิ) ลังกาสุกะ และทะรุมะนคร นอกนั้นเป็นโบราณสถานที่ไม่อาจจะระบุชื่อได้แน่นอน เช่นตามพรลิงค์ โดยส่งสินค้าไปจีนที่เมืองกว่างโจวในกว่างตง อันเป็นต้นทางของพระภิกษุอี้จิงที่เดินทางมาศรีวิชัย (ศรีพุทชัย) อาจจะเป็นปาเล็มบังหรือจัมบิ เมืองเหล่านี้ค้าขายกับอินเดียและตะวันออกกลาง เนื่องจากโบราณสถานและศิลปวัตถุของเมืองเหล่านี้ได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธศาสนาจากอินเดีย ในมหาสมุทรอินเดียประชาชนจากนครรัฐเหล่านี้เดินทางค้าขายจากชายฝั่งอุษาคเนย์ไปเกาะมาดากัสการ์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7-11๑ โดยอาจแวะที่หมู่เกาะมัลดีฟซึ่งมีหลักฐานเทคโนโลยีการออกแบบเรือและตกปลาแบบอินโดนีเซียโบราณอยู่ นักเดินเรือเหล่านี้รู้จักเกาะมาดากัสการ์ก่อนที่ราชวงศ์ไศเลนทร์จะอพยพคนไปที่นั่นในหลายศตวรรษต่อมา
การติดต่อระหว่างชาวออสโตรเนเซียนกับจีนและอินเดียกระตุ้นให้เกิดการก่อตั้งนครรัฐในสุมาตราและชวาแม้ว่าจะเป็นในทิศทางที่ต่างกัน สินค้าแสดงสถานภาพทางสังคมใช้ดีบุกและทองคำเป็นแร่วัตถุดิบ กลังในมาเลเซียเป็นที่ถลุงแร่ทองคำ แม่น้ำเทมเบอลิงทางตอนเหนือของรับปาหังมีการค้นพบวัตถุโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้ากับโรมันเสื่อมลงในพุทธศตวรรษที่ 8 ตามมาด้วยความรุ่งเรืองทางการค้าระหว่างอินเดียและอุษาคเนย์ข้ามอ่าวเบงกอลจาก พ.ศ.850-1150 มีการก่อตั้งรัฐในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของอุษาคเนย์โดยมีศูนย์กลาง 2 แห่งคือช่องแคบมะละกาและเมืองชายฝั่งทะเลตอนเหนือของเกาะชวาซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวและเครื่องเทศ รัฐในอินเดียเปิดกว้างกว่าจีนเพราะระบบการเขียนและภาษาจีนเป็นอุปสรรคทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ชาวทมิฬและเปอร์เซียเข้าร่วมในเครือข่ายการค้านี้ พระภิกษุซวนจ้างกล่าวถึงเมืองท่ากาลกตปัตนะและมานิกะปัตนะ อี้จิงเรียกนาคปฏินัมว่า นาควัฒนาซึ่งเป็นเมืองท่าทางชายฝั่งตะวันออกของอินเดียที่ติดต่อกับเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีนักเดินเรือจากภูมิภาคอื่น เช่นโรมัน อินเดีย เปอร์เซียและอียิปต์เดินทางมาอุษาคเนย์และทิ้งร่องรอยเอาไว้ เช่น ซากเรือจม เหรียญกษาปณ์และวัตถุโบราณอื่นๆ นักแสวงบุญเหล่านี้ใช้เส้นทางต่างกันขึ้นกับต้นหนเรือแต่เส้นทางตามปกติคือ เจี่ยวจื้อ ออกแอว คันดิส (ปาเล็มบัง) นิโคบาร์และศรีลังกา ซึ่งศูนย์กลางทั้ง 2 แห่งเริ่มมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12-14
พนมหรือฟูนันก่อตั้งที่ออกแอวบริวเณปากแม่น้ำโขง บูรดอนโน เชื่อว่าฟูนันเป็นอาณาจักรแรกของชาวเขมรแต่ก็ยังไม่แน่ คังไท่ (康泰) และ จูอิง (朱應) ซิ่งเป็นฆราวาสชาวจีนรุ่นแรกๆที่เดินทางมายังอุษาคเนย์ในสมัยสามก๊กแต่บันทึกของพวกเขาสูญหายไปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับฟูนันเอาไว้ในหนังสืออู๋ชื่อว่ายกั๋วจ๋วน (吳時外国传 เรื่องเล่าจากต่างแดนในสมัยอู๋) เนื่องจากพนมเป็นศูนย์กลางการค้าและการเปลี่ยนถ่ายเรือใกล้ปากแม่น้ำโขงมาหลายศตวรรษ พ่อค้าจากตะวันออกกลางและอินเดียต้องมาเปลี่ยนเรือไปจีนและขากลับจากจีนก้ต้องเปลี่ยนเรือกลับไปทางตะวันตก เซเดซ์เชื่อว่าฟูนันก่อตั้งราวพุทธศตวรรษที่ 6 และปราบปรามนครรัฐมลายูต่างๆมาไว้ในอำนาจแต่ซูกิโมโต้และนาคาดะเชื่อว่าน่าจะประมาณ 100 ปีหลังจากนั้น ในความเป็นจริงแล้วพนมไม่สามารถเอาชนะเมืองมลายูได้ แต่เมืองเหล่านี้ส่งบรรณาการให้พนมเพราะต้องอาศัยพนมเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าก่อนที่จะส่งออกไปจีน เพราะออกแอวเป็นประตูไปสู่จีนและเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค คุวาตะเชื่อว่าพนมล่มสลายไปก่อนการก่อตั้งราชวงศ์ถังในปี พ.ศ.๑๑๖๑
พนม คันดิส (ปาเล็มบัง) เจินละ รักตมฤติกา และกาลิงเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญ ตันซุนน่าจะอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนาม พนมกระตุ้นให้เกิดอารยธรรมทวารวดีในอ่าวไทยซึ่งท่านอี้จิงได้กล่าวถึงในบันทึกของท่าน ลุกปัดทวารวดีที่เขาศรีวิชัย จ.สุราษฎรืธานี มีการค้นพบวัตถุโบราณมอญในยุคก่อนศรีวิชัยจากยุคพุทธศตวรรษที่ 10-13 ในภาคใต้ของไทย นอกจากพุทธศาสนาเถรวาทแบบทวาราวดีแล้ว ผู้คนก็ยังนับถือศาสนาพราหมณ์ด้วย พงศาวดารเฉินชู้และซินถังชู้กล่าวว่าทวาราวดีอยู่ทางใต้ของเจินละ ในพุทธศตวรรษที่ 11 เจินละที่ใช้ภาษาเขมรโบราณได้เข้าแทนที่พนมในปากแม่น้ำโขง ศิลาจารึกหลายหลักของเขมร เช่น K.400 K.499 K.1009 K.1141 และ K.1155 กล่าวถึงอาณาจักรก่อนยุคพระนคร เช่น พนม เจินละ พระเจ้าปฤษกรต์เป็นบรรพบุรุษของพระเจ้าชัยวรมันจากศิลาจารึกมหินทรวรมัน (K.496 พ.ศ.1259) ที่ปากแม่น้ำมูล
จากพุทธศตวรรษที่ 11-12 นครรัฐหลายแห่งในแหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวาและเกาะบอร์เนียวเริ่มส่งทูตไปจีนและพนมที่ปากแม่น้ำโขง ซากเรือจมปอนเตียนจากชายฝั่งตะวันออกของแหลมมลายูที่มีเครื่องกระเบื้องเคลือบแบบออกแอว และซากเรือจมที่บูตวนในฟิลิปปินส์บ่งชี้โครงเรือแบบออสโตรเนเซียน มีการค้นพบศิลาจารึกทางชายฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู เกาะชวาและบอร์เนียว การก่ออิฐที่ทะรุมะนครในเกาะชวาคล้ายคลึงกับภาคใต้ของไทยและชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซียที่ตันจงราวาแสดงถึงความเกี่ยวข้องกัน วัตถุโบราณโรมัน ฮินดูที่แหล่งโบราณคดีบูนิคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ แสดงว่านครรัฐเหล่านี้ค้าขายกับอินเดีย ชุมชนรอบอ่าวไทยและจีนมาก่อนการก่อตั้งราชวงศ์ถังและศรีวิชัยมานาน พระภิกษุซวนจ้างกล่าวถึง กาลกะปัตตนะและมานิกกปัตนะ และพระภิกษุอี้จิงกล่าวถึงนาควัฒนะหรือนาคปฏินัมที่อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของอินเดียที่ค้าขายกับอุษาคเนย์ โดยพ่อค้าชาวอาหรับและเปอร์เซียยังคงเดินทางผ่านช่องแคบมะละกาจากพ.ศ.1166-1296
นครรัฐเหล่านี้ส่งออกสินค้าไปจีนที่กว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งซึ่งท่านอี้จิงใช้ลงเรือมาศรีวิชัย (คันดิสหรือปาเล็มบัง) ซึ่งค้าขายกับอินเดียและตะวันออกกลางจากหลักฐานทางโบราณคดีและโบราณวัตถุที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และพุทธจากอินเดีย ในมหาสมุทรอินเดียมีผู้คนจากนครรัฐเหล่านี้เดินเรือไปทางทิศตะวันตกจากชายฝั่งทะเลตะวันตกของอุษาคเนย์ถึงเกาะมาดากัสการืระหว่างพ.ศ.593-1043 ซึ่งอาจแวะที่หมู่เกาะมัลดีฟซึ่งมีหลักฐานเรือแบบอินโดนีเซียและเทคโนโลยีในการจับปลาที่ยังคงอยู่มาถึงยุคปัจจุบัน นักเดินเรือเหล่านี้รู้จักเกาะมาดากัสการ์ก่อนที่ราชวงศ์ไศเลนทร์จะอพยพคนไปตั้งถิ่นฐานที่นั่น
เอกสารอ้างอิง
Agallop Annabel The. 2016. “The early use of seals in Malay world.” Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient, 102: 79-118
Bourdonneau, Éric. 2007. "Réhabiliter le Funan Óc Eo ou la première Angkor." Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 94: 111-158.
Cœdès, Georges. 1968. The Indianized States of Southeast Asia. Edited by Walter F. Vella. Translated by Susan Brown Cowing. Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press.
Dayalan Duraiswamy. 2019. “Ancient seaports on the Eastern coast of India.” Acta via Serica” 4(1): 25-69
Keay, John. 2006. The Spice Route: A History. Berkley, CA: University of California Press.
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1972. "A Study of Srivijaya." Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko 30: 1-33.
Manguin, Pierre-Yves. 2009b. "The Southeast Asian Ships: A Historical Approach." Journal of Southeast Asian Studies 11 (2): 266-276.
Nakada Kozo 仲田浩三. 1973. "東南アジアのBrahmi系文字の cerebral NA-扶南国の滅亡と詞陵国 Srivijaya 国の勃興の史的状況についての予備的考察 [Cerebral NA in One of the Variety Old Brahmi Script in Southeast Asia: A Preliminary Study on the Historical Situation of the Fall of Funan and the Rise of Ka-Ling and Srivijaya]." Toho Gaku 東方学 45.
Ptak, Roderich 2007. Kang Tai and Zhu Ying (authors), Chen jiarong (compiler) Tan Guanglian (plan.) Waiguo zhuan. Archipel, 74: หน้า ๒๓๖-๒๓๗
Sen, Tansen. 2014a. "Buddhism and the Maritime Crossing." In China and Beyond the Mediaval Period: Cultural Crossing and Inter-regional Connections, by D. C. Wong and G. Heldt, 39-62. Amherstand Delhi: Cambria Press and Manoha.
Sugimoto Naojiro 杉本直治郎. 1968. Dongnan shiyanjiu 东南史研究 translated from Tōnan Ajia shi Kenkyū 東南アジア史研究 (1956CE). Dingbu zaiban. Tokyo: Yannantang shuju 严南堂书局/Nihon gakujutsu shinkōkai 日本学術振興会.
Zakharov, Anton O. 2019. "State Formation in First Millenium Southeast Asia: A Reappraisal." Social Evolution & History 18 (1): 217-240.