"ปัญญาพลวัตร"
"ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"
ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 52,195,920 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 39,514,973 คน คิดเป็นร้อยละ 75.71 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่มีการใช้สิทธิสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองร่วมสมัย
การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตมีบัตรดี 37,190,071 บัตร คิดร้อยละ 94.12 บัตรเสีย 1,457,899 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3.69 และไม่บัตรไม่ประสงค์เลือกผู้ใด 866,885 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.19 พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่ง ส.ส. มากที่สุดและจำนวนเท่ากันคือ 112 เสียง
ด้าน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ บัตรดี 37,522,746 บัตร คิดเป็นร้อยละ 94.96 บัตรเสีย 1,509,836 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3.82 บัตรไม่ประสงค์เลือกผู้ใด 482,303 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.22โดยผลการคิดคำนวณ คะแนนค่าเฉลี่ย ส.ส. 1 คน คือ 375,227.34 คะแนน ทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนมาจาก 17 พรรคการเมือง พรรคก้าวไกลมาในลำดับหนึ่งได้คะแนน 14,438,851 คะแนน ได้ส.ส. 39 คน รองลงมาคือพรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 10,962,522 คะแนน ได้ส.ส. 29 คน ส่วนพรรคที่เหลือได้ที่นั่งลดหลั่นลงมาตามลำดับ
พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งรวมทั้งหมด 151 ที่นั่ง กลายเป็นพรรคที่ชนะเป็นลำดับหนึ่ง ซึ่งสร้างความประหลาดใจแก่ผู้คนจำนวนมาก ขณะที่พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีคะแนนนิยมนำมาโดยตลอดกลับร่วงลงเป็นลำดับสอง ก่อนการยุบสภาช่วงต้นเดือนมีนาคมคะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลอยู่ที่ประมาณ 17 % หลังยุบสภาและเริ่มมีการรณรงค์หาเสียงอย่างจริงจัง คะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปลายเดือนเมษายน คะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 35 % และช่วงสองสัปดาห์สุดท้าย ซึ่งนิด้าโพลสำรวจระหว่าง 7-11 พฤษภาคม 2566 คะแนนนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นไปถึง 45 %
ส่วนคะแนนจากการเลือกตั้งจริง พรรคก้าวไกลได้ประมาณ 39 % ซึ่งน้อยกว่าคะแนนสำรวจประมาณ 6 % แต่ก็ถือว่าใกล้เคียงพอสมควร สาเหตุอาจเกิดจากหลายประการ เช่น มีการแทรกแซงการตัดสินใจผู้เลือกตั้งด้วยการซื้อเสียงในช่วง 2-3 วันก่อนเลือกตั้ง บัตรเสีย และการกากบาทที่ไม่ตรงเจตนารมณ์เพราะผู้เลือกตั้งจำหมายเลขพรรคไม่ได้ รวมทั้งอาจมีความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างอยู่บ้าง
เมื่อเจาะลึกลงไป โดยเปรียบเทียบคะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลระหว่างช่วงต้นเดือนมีนาคมกับช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง เริ่มจากประเด็นภูมิภาค คะแนนนิยมของก้าวไกลเพิ่มขึ้นทุกภาค ภาคที่มีสัดส่วนคะแนนนิยมสูงสุดคือภาคตะวันออก ถัดมาเป็นกรุงเทพมหานคร ตามมาด้วยภาคกลางและอีสานซึ่งได้ใกล้เคียงกัน จากนั้นก็เป็นภาคเหนือและภาคใต้ตามลำดับ
ช่วงสองเดือนของการรณรงค์หาเสียง ภาคที่พรรคก้าวไกลมีคะแนนนิยมเพิ่มมากที่สุดคือภาคตะวันออก หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 6 เท่า ภาคอีสานเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า ภาคเหนือเพิ่มขึ้น 2.6 เท่า ส่วนกลางกลางและกรุงเทพเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ในกรุงเทพฯและภาคตะวันออกการเพิ่มขึ้นของคะแนนนิยม ส.ส.บัญชีรายชื่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเลือก ส.ส.เขตด้วย ส่งผลให้พรรคก้าวไกลสามารถกวาดที่นั่ง ส.ส.เขตได้เกือบทั้งหมดในสองพื้นที่นั้น ส่วนภาคอื่น ๆ ก็กวาดที่นั่ง ส.ส.แบบแบ่งเขตได้เหนือความคาดหมายเช่นเดียวกัน
ประเด็นเรื่องเพศ ในภาพรวมทั้งผู้ชายและผู้หญิงนิยมพรรคก้าวไกลพอ ๆ กัน ทั้งช่วงก่อนยุบสภาและช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ผู้หญิงและผู้ชายนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าเศษ ผู้หญิงเพิ่มจาก 17.63 % เป็น 46.4 % และผู้ชายเพิ่มจาก 16.63 % เป็น 45.05 % เป็นการเพิ่มในสัดส่วนที่พอ ๆ กัน และคงเส้นคงวา ข้อมูลนี้อาจมีนัยถึงการที่ผู้เลือกตั้งรับรู้อุดมการณ์ที่เน้นความเท่าเทียมทางเพศของพรรคก้าวไกลก็เป็นได้
ในเรื่องอายุ เป็นที่ทราบกันมาก่อนหน้านี้ว่า กลุ่มที่มีอายุน้อยนิยมพรรคก้าวไกลมากกว่ากลุ่มสูงวัย และมีความเชื่อว่ากลุ่มสูงอายุไม่นิยมพรรคก้าวไกล ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ทุกกลุ่มอายุนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่ม 18-25 ปีนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้น 2.28 เท่า พุ่งจาก 36.42 % ไปสู่ระดับ 83.2 % กล่าวได้ว่ากลุ่มอายุช่วงนี้เกือบทั้งหมดนิยมพรรคก้าวไกล จนแทบไม่เหลือใจให้กับพรรคการเมืองอื่น ๆ เลย เช่นเดียวกันกลุ่มอายุ 26-35 ปี ก็นิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่า กลุ่ม 36-45 ปี นิยมเพิ่มขึ้น 2.9 เท่า
ส่วนกลุ่มที่มีอายุ 46-59 ปี ซึ่งช่วงต้นเดือนมีนาคมนิยมพรรคก้าวไกลไม่มากนัก หรือมีเพียง 9.9 % เท่านั้นที่นิยมพรรคก้าวไกล ทว่าเมื่อใกล้เลือกตั้ง สถานการณ์เปลี่ยนแปลง กลุ่มนี้กลับนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นเป็น 28.46 % หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2.9 เท่า แต่ที่น่าประหลาดมากที่สุดเห็นจะเป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งปกติไม่ค่อยชื่นชอบพรรคก้าวไกล ช่วงต้นมีนาคม มีคนกลุ่มนี้เพียง 6.3 % เท่านั้นที่ชอบพรรคก้าวไกล ทว่า ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง คนกลุ่มนี้จำนวนมากได้สลัดอคติของตนออกไป จะด้วยการที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจุดยืนและนโยบายของพรรคก้าวไกลมากขึ้น หรืออาจได้รับการขอร้องจากบุตรหลานให้ช่วยลงคะแนนแก่พรรคก้าวไกลก็ตามที ทำให้คนกลุ่มนี้ถึง 21.21 % หันมาเลือกพรรคก้าวไกล หรือเพิ่มขึ้นจากต้นเดือนมีนาคมถึงประมาณ 3.4 เท่าทีเดียว
เมื่อดูในเรื่องอาชีพ ข้อมูลจากการสำรวจครั้งก่อน ๆ เห็นได้ชัดว่า พรรคก้าวไกลยังไม่อาจสร้างความนิยมใน กลุ่มเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน ได้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง ช่วงต้นเดือนมีนาคม มีกลุ่มเกษตรกรเพียง 5.49 % และกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพียง 8.95 % เท่านั้นที่นิยมพรรคก้าวไกล ทว่า เมื่อใกล้เลือกตั้งทั้งสองกลุ่มกลับนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นหลายเท่า โดยกลุ่มเกษตรกรนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นเป็น 25.87 % หรือเพิ่มขึ้น 4.7 เท่า และผู้ใช้แรงงานนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นเป็น 40. 21 % หรือ เพิ่มขึ้น 4.5 เท่า อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสัดส่วนของสองกลุ่มนี้ที่นิยมพรรคก้าวไกลบ่งบอกว่า ในอนาคตพรรคก้าวไกลยังสามารถแสวงหาความนิยมเพิ่มขึ้นจากทั้งสองกลุ่มได้อีก แต่คงต้องทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง
อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนเกษียณอายุและพ่อบ้านแม่บ้าน กลุ่มนี้มีความนิยมพรรคก้าวไกลน้อยเช่นเดียวกัน สาเหตุหลักมาจากพรรคก้าวไกลถูกปล่อยข่าวปลอมจากคู่แข่งเรื่องการตัดเงินบำนาญข้าราชการ อย่างไรก็ตาม ด้วยการทำงานหนักในการชี้แจงความจริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ทำให้คนกลุ่มนี้จำนวนมากเปลี่ยนใจจากที่ไม่ชอบกลายเป็นนิยมชมชอบขึ้นมา เห็นได้จากช่วงต้นเดือนมีนาคมที่มีเพียง 11.76 % ของกลุ่มนี้ที่นิยมพรรคก้าวไกล ครั้นใกล้ถึงวันเลือกตั้ง กลับกลายเป็นว่ามีถึง 28.32 % ที่นิยมพรรคก้าวไกล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ภายในช่วงสองเดือน ผู้เกษียณอายุประมาณ 16.56 % เปลี่ยนใจไปเลือกพรรคก้าวไกล
กลุ่มนักธุรกิจ และอาชีพอิสระ ก็นิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นประมาณ 2.8 เท่า เมื่อเทียบต้นเดือนมีนาคม ขณะที่ กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ นิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นประมาณ 1.9 เท่า ความนิยมของทั้งสองกลุ่มที่มีต่อพรรคก้าวไกลในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้งอยู่ที่ 47.53 % และ 45.36 % ตามลำดับ
อีกสองกลุ่มที่กล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มที่สนับสนุนพรรคก้าวไกลอย่างเหนียวแน่นคือ พนักงานเอกชนและนักศึกษา ปรากฏว่าหนึ่งสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง 65.3 % ของพนักงานเอกชนนิยมพรรคก้าวไกล เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นเดือนมีนาคมประมาณ 2.26 เท่า ส่วนนักศึกษาเกือบทั้งหมด หรือ 90.83 % เลือกพรรคก้าวไกล เพิ่มขึ้นจากต้นเดือนมีนาคมประมาณ 2 เท่าเช่นเดียวกัน สมารถสรุปได้ว่า กลุ่มนักศึกษาทั้งหมดเทใจให้แก่พรรคก้าวไกล และแทบไม่เหลือเผื่อใจให้กับพรรคการเมืองอื่น ๆ เลย
ชัยชนะของพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งครั้งนี้มีนัยว่า ผู้เลือกตั้งไทยจำนวนมาก หรือ ประมาณ 14.5 ล้านคนมีการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดในการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญ คนกลุ่มนี้ต้องการแก้ไขปัญหาและเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยให้มีการพัฒนาก้าวหน้าเทียบเคียงกับนานาประเทศในสากลมากขึ้น คนเหล่านี้ปฏิเสธการเมืองแบบเก่า การเมืองแบบซื้อเสียง การเมืองแบบอุปถัมภ์ และการเมืองแบบบ้านใหญ่อย่างสิ้นเชิง พวกเขาต้องการปักธงการเมืองแบบใหม่ การเมืองแบบพลเมืองและการเมืองแบบมีส่วนร่วมขึ้นมา ผ่านพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นพรรคที่มีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของพวกเขา ปรากฎการณ์นี้ย่อมสร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มชนชั้นนำ ผู้สูญเสียผลประโยชน์ และผู้สมาทานการเมืองแบบเก่า ทว่าสังคมก็ต้องพัฒนาตามวิถี สิ่งเก่าที่ล้าหลังก็ย่อมเสื่อมโทรม และสิ่งใหม่ที่ก้าวหน้ากว่าก็จะมาแทนที่ อันเป็นอนิจจังของสังคมนั่นเอง
"ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"
ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 52,195,920 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 39,514,973 คน คิดเป็นร้อยละ 75.71 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่มีการใช้สิทธิสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองร่วมสมัย
การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตมีบัตรดี 37,190,071 บัตร คิดร้อยละ 94.12 บัตรเสีย 1,457,899 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3.69 และไม่บัตรไม่ประสงค์เลือกผู้ใด 866,885 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.19 พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่ง ส.ส. มากที่สุดและจำนวนเท่ากันคือ 112 เสียง
ด้าน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ บัตรดี 37,522,746 บัตร คิดเป็นร้อยละ 94.96 บัตรเสีย 1,509,836 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3.82 บัตรไม่ประสงค์เลือกผู้ใด 482,303 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.22โดยผลการคิดคำนวณ คะแนนค่าเฉลี่ย ส.ส. 1 คน คือ 375,227.34 คะแนน ทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนมาจาก 17 พรรคการเมือง พรรคก้าวไกลมาในลำดับหนึ่งได้คะแนน 14,438,851 คะแนน ได้ส.ส. 39 คน รองลงมาคือพรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 10,962,522 คะแนน ได้ส.ส. 29 คน ส่วนพรรคที่เหลือได้ที่นั่งลดหลั่นลงมาตามลำดับ
พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งรวมทั้งหมด 151 ที่นั่ง กลายเป็นพรรคที่ชนะเป็นลำดับหนึ่ง ซึ่งสร้างความประหลาดใจแก่ผู้คนจำนวนมาก ขณะที่พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีคะแนนนิยมนำมาโดยตลอดกลับร่วงลงเป็นลำดับสอง ก่อนการยุบสภาช่วงต้นเดือนมีนาคมคะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลอยู่ที่ประมาณ 17 % หลังยุบสภาและเริ่มมีการรณรงค์หาเสียงอย่างจริงจัง คะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปลายเดือนเมษายน คะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 35 % และช่วงสองสัปดาห์สุดท้าย ซึ่งนิด้าโพลสำรวจระหว่าง 7-11 พฤษภาคม 2566 คะแนนนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นไปถึง 45 %
ส่วนคะแนนจากการเลือกตั้งจริง พรรคก้าวไกลได้ประมาณ 39 % ซึ่งน้อยกว่าคะแนนสำรวจประมาณ 6 % แต่ก็ถือว่าใกล้เคียงพอสมควร สาเหตุอาจเกิดจากหลายประการ เช่น มีการแทรกแซงการตัดสินใจผู้เลือกตั้งด้วยการซื้อเสียงในช่วง 2-3 วันก่อนเลือกตั้ง บัตรเสีย และการกากบาทที่ไม่ตรงเจตนารมณ์เพราะผู้เลือกตั้งจำหมายเลขพรรคไม่ได้ รวมทั้งอาจมีความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างอยู่บ้าง
เมื่อเจาะลึกลงไป โดยเปรียบเทียบคะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลระหว่างช่วงต้นเดือนมีนาคมกับช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง เริ่มจากประเด็นภูมิภาค คะแนนนิยมของก้าวไกลเพิ่มขึ้นทุกภาค ภาคที่มีสัดส่วนคะแนนนิยมสูงสุดคือภาคตะวันออก ถัดมาเป็นกรุงเทพมหานคร ตามมาด้วยภาคกลางและอีสานซึ่งได้ใกล้เคียงกัน จากนั้นก็เป็นภาคเหนือและภาคใต้ตามลำดับ
ช่วงสองเดือนของการรณรงค์หาเสียง ภาคที่พรรคก้าวไกลมีคะแนนนิยมเพิ่มมากที่สุดคือภาคตะวันออก หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 6 เท่า ภาคอีสานเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า ภาคเหนือเพิ่มขึ้น 2.6 เท่า ส่วนกลางกลางและกรุงเทพเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ในกรุงเทพฯและภาคตะวันออกการเพิ่มขึ้นของคะแนนนิยม ส.ส.บัญชีรายชื่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเลือก ส.ส.เขตด้วย ส่งผลให้พรรคก้าวไกลสามารถกวาดที่นั่ง ส.ส.เขตได้เกือบทั้งหมดในสองพื้นที่นั้น ส่วนภาคอื่น ๆ ก็กวาดที่นั่ง ส.ส.แบบแบ่งเขตได้เหนือความคาดหมายเช่นเดียวกัน
ประเด็นเรื่องเพศ ในภาพรวมทั้งผู้ชายและผู้หญิงนิยมพรรคก้าวไกลพอ ๆ กัน ทั้งช่วงก่อนยุบสภาและช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ผู้หญิงและผู้ชายนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าเศษ ผู้หญิงเพิ่มจาก 17.63 % เป็น 46.4 % และผู้ชายเพิ่มจาก 16.63 % เป็น 45.05 % เป็นการเพิ่มในสัดส่วนที่พอ ๆ กัน และคงเส้นคงวา ข้อมูลนี้อาจมีนัยถึงการที่ผู้เลือกตั้งรับรู้อุดมการณ์ที่เน้นความเท่าเทียมทางเพศของพรรคก้าวไกลก็เป็นได้
ในเรื่องอายุ เป็นที่ทราบกันมาก่อนหน้านี้ว่า กลุ่มที่มีอายุน้อยนิยมพรรคก้าวไกลมากกว่ากลุ่มสูงวัย และมีความเชื่อว่ากลุ่มสูงอายุไม่นิยมพรรคก้าวไกล ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ทุกกลุ่มอายุนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่ม 18-25 ปีนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้น 2.28 เท่า พุ่งจาก 36.42 % ไปสู่ระดับ 83.2 % กล่าวได้ว่ากลุ่มอายุช่วงนี้เกือบทั้งหมดนิยมพรรคก้าวไกล จนแทบไม่เหลือใจให้กับพรรคการเมืองอื่น ๆ เลย เช่นเดียวกันกลุ่มอายุ 26-35 ปี ก็นิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่า กลุ่ม 36-45 ปี นิยมเพิ่มขึ้น 2.9 เท่า
ส่วนกลุ่มที่มีอายุ 46-59 ปี ซึ่งช่วงต้นเดือนมีนาคมนิยมพรรคก้าวไกลไม่มากนัก หรือมีเพียง 9.9 % เท่านั้นที่นิยมพรรคก้าวไกล ทว่าเมื่อใกล้เลือกตั้ง สถานการณ์เปลี่ยนแปลง กลุ่มนี้กลับนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นเป็น 28.46 % หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2.9 เท่า แต่ที่น่าประหลาดมากที่สุดเห็นจะเป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งปกติไม่ค่อยชื่นชอบพรรคก้าวไกล ช่วงต้นมีนาคม มีคนกลุ่มนี้เพียง 6.3 % เท่านั้นที่ชอบพรรคก้าวไกล ทว่า ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง คนกลุ่มนี้จำนวนมากได้สลัดอคติของตนออกไป จะด้วยการที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจุดยืนและนโยบายของพรรคก้าวไกลมากขึ้น หรืออาจได้รับการขอร้องจากบุตรหลานให้ช่วยลงคะแนนแก่พรรคก้าวไกลก็ตามที ทำให้คนกลุ่มนี้ถึง 21.21 % หันมาเลือกพรรคก้าวไกล หรือเพิ่มขึ้นจากต้นเดือนมีนาคมถึงประมาณ 3.4 เท่าทีเดียว
เมื่อดูในเรื่องอาชีพ ข้อมูลจากการสำรวจครั้งก่อน ๆ เห็นได้ชัดว่า พรรคก้าวไกลยังไม่อาจสร้างความนิยมใน กลุ่มเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน ได้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง ช่วงต้นเดือนมีนาคม มีกลุ่มเกษตรกรเพียง 5.49 % และกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพียง 8.95 % เท่านั้นที่นิยมพรรคก้าวไกล ทว่า เมื่อใกล้เลือกตั้งทั้งสองกลุ่มกลับนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นหลายเท่า โดยกลุ่มเกษตรกรนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นเป็น 25.87 % หรือเพิ่มขึ้น 4.7 เท่า และผู้ใช้แรงงานนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นเป็น 40. 21 % หรือ เพิ่มขึ้น 4.5 เท่า อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสัดส่วนของสองกลุ่มนี้ที่นิยมพรรคก้าวไกลบ่งบอกว่า ในอนาคตพรรคก้าวไกลยังสามารถแสวงหาความนิยมเพิ่มขึ้นจากทั้งสองกลุ่มได้อีก แต่คงต้องทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง
อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนเกษียณอายุและพ่อบ้านแม่บ้าน กลุ่มนี้มีความนิยมพรรคก้าวไกลน้อยเช่นเดียวกัน สาเหตุหลักมาจากพรรคก้าวไกลถูกปล่อยข่าวปลอมจากคู่แข่งเรื่องการตัดเงินบำนาญข้าราชการ อย่างไรก็ตาม ด้วยการทำงานหนักในการชี้แจงความจริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ทำให้คนกลุ่มนี้จำนวนมากเปลี่ยนใจจากที่ไม่ชอบกลายเป็นนิยมชมชอบขึ้นมา เห็นได้จากช่วงต้นเดือนมีนาคมที่มีเพียง 11.76 % ของกลุ่มนี้ที่นิยมพรรคก้าวไกล ครั้นใกล้ถึงวันเลือกตั้ง กลับกลายเป็นว่ามีถึง 28.32 % ที่นิยมพรรคก้าวไกล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ภายในช่วงสองเดือน ผู้เกษียณอายุประมาณ 16.56 % เปลี่ยนใจไปเลือกพรรคก้าวไกล
กลุ่มนักธุรกิจ และอาชีพอิสระ ก็นิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นประมาณ 2.8 เท่า เมื่อเทียบต้นเดือนมีนาคม ขณะที่ กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ นิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นประมาณ 1.9 เท่า ความนิยมของทั้งสองกลุ่มที่มีต่อพรรคก้าวไกลในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้งอยู่ที่ 47.53 % และ 45.36 % ตามลำดับ
อีกสองกลุ่มที่กล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มที่สนับสนุนพรรคก้าวไกลอย่างเหนียวแน่นคือ พนักงานเอกชนและนักศึกษา ปรากฏว่าหนึ่งสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง 65.3 % ของพนักงานเอกชนนิยมพรรคก้าวไกล เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นเดือนมีนาคมประมาณ 2.26 เท่า ส่วนนักศึกษาเกือบทั้งหมด หรือ 90.83 % เลือกพรรคก้าวไกล เพิ่มขึ้นจากต้นเดือนมีนาคมประมาณ 2 เท่าเช่นเดียวกัน สมารถสรุปได้ว่า กลุ่มนักศึกษาทั้งหมดเทใจให้แก่พรรคก้าวไกล และแทบไม่เหลือเผื่อใจให้กับพรรคการเมืองอื่น ๆ เลย
ชัยชนะของพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งครั้งนี้มีนัยว่า ผู้เลือกตั้งไทยจำนวนมาก หรือ ประมาณ 14.5 ล้านคนมีการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดในการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญ คนกลุ่มนี้ต้องการแก้ไขปัญหาและเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยให้มีการพัฒนาก้าวหน้าเทียบเคียงกับนานาประเทศในสากลมากขึ้น คนเหล่านี้ปฏิเสธการเมืองแบบเก่า การเมืองแบบซื้อเสียง การเมืองแบบอุปถัมภ์ และการเมืองแบบบ้านใหญ่อย่างสิ้นเชิง พวกเขาต้องการปักธงการเมืองแบบใหม่ การเมืองแบบพลเมืองและการเมืองแบบมีส่วนร่วมขึ้นมา ผ่านพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นพรรคที่มีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของพวกเขา ปรากฎการณ์นี้ย่อมสร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มชนชั้นนำ ผู้สูญเสียผลประโยชน์ และผู้สมาทานการเมืองแบบเก่า ทว่าสังคมก็ต้องพัฒนาตามวิถี สิ่งเก่าที่ล้าหลังก็ย่อมเสื่อมโทรม และสิ่งใหม่ที่ก้าวหน้ากว่าก็จะมาแทนที่ อันเป็นอนิจจังของสังคมนั่นเอง