คอลัมน์ ศิลปะแห่งศรัทธา
โดย ARTMULET
สวัสดี ครับในสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้นำเรื่องราวของผลงานประติมากรรมพระพุทธปฏิมากรที่ยังเป็นเพียงต้นแบบที่ปั้นจากขี้ผึ้งอันมีพระนามว่า “พระพุทธธรรมราชาอินทราทิตย์” วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง พระนามอันมีที่มาจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต้นราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัยอันเป็นอาณาจักรเริ่มแรกของไทย เป็นงานประติมากรรมศิลปะบายนหรือเรียกว่าศิลปะขอมอันถือเป็นศิลปะยุคต้นแห่งสุโขทัยที่มีความงดงาม อลังการ คลาสสิก และเป็นผลงานต่อเนื่องมาจากงานพระพุทธรูปในชุด “มหาไตรภาคี” พระพุทธลีลานฤมิตมิ่งมงคลและพระชัยพุทธมหานาถ โดยครั้งนี้เป็นพระพุทธรูปปางเปิดโลกอันมีที่มาจากพุทธประวัติเมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงกระทำโลกวิวรณปาฏิหาริย์ คือทรงเปิดโลกทั้ง ๓ อันได้แก่ สวรรค์ มนุษย์ และบาดาลหรือยมโลก ให้ได้มองเห็นกันทั้งหมดเพื่อร่วมกันอนุโมทนาบุญที่พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดทั้งพรรษาก่อนที่จะเสด็จลีลาลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่สังกัสสนคร ดังนั้นพระพุทธรูปองค์นี้จึงถือเป็นมหามงคล เมื่อได้มีไว้สักการะบูชาประดุจดังเป็นการเปิดโลก เปิดดวงชะตาพบหนทางสว่าง เกิดความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลมาสู่ตนและครอบครัว และยังเป็นพระประจำตระกูลเพื่อสืบทอดมายังลูกหลานและเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
สำหรับในสัปดาห์นี้ผมจะขอย้อนกลับมากล่าวถึงเรื่องราวของผลงานประติมากรรมองค์ก่อนหน้าอันเป็นงานประติมากรรมศิลปะขอมหรือบายนเช่นเดียวกัน พระพุทธปฏิมากรอันมีพระนามว่า “พระชัยพุทธมหานาถ” วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง อันเป็นพระพุทธรูปนาคปรกที่มีพญานาค ๗ เศียร ซึ่งการนำมากล่าวกันอีกในครั้งนี้เนื่องจากผู้เขียนเองมีเจตนาจะนำภาพผลงานประติมากรรมที่ได้หล่อองค์ตัวอย่างสำเร็จแล้ว ซึ่งมีความงดงามประณีต วิจิตร บรรจงเป็นอย่างมากหลากหลายสีสัน มาให้ท่านผู้อ่านและผู้ที่ได้ติดตามรอชมผลงานประติมากรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ได้เห็นโดยทั่วกัน ส่วนเรื่องราวและเนื้อหาที่มาก็ยังคงเป็นเนื้อหาเดิม ดังนั้นสำหรับท่านที่เคยได้อ่านผ่านตามาบ้างแล้วก็ชมกันแต่ภาพนะครับ แต่สำหรับท่านที่เพิ่งเข้ามาติดตามก็ขอแนะนำให้อ่านเนื้อหาควบคู่ไปด้วย จะได้รับทราบถึงรายละเอียดและที่มาของการจัดสร้างอันจะทำให้เห็นถึงคุณค่าของผลงานประติมากรรมอันทรงคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณของมวลมนุษย์ชาติตั้งแต่ครั้งอดีตจวบจนถึงปัจจุบันอันเป็นที่มาของชื่อคอลัมน์ “ศิลปะแห่งศรัทธา”
ในสมัยอดีตกาลนั้นชนชาติขอมยังคงนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ต่อมาในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ทรงกลับมานับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน มีการสร้างประติมากรรมเป็นพระพุทธรูปนาคปรกศิลาแบบลอยตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในอาณาจักรขอม และส่งอิทธิพลให้แก่ศิลปะสมัยนครวัดจนถึงสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ มีการสร้างประติมากรรมพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่องที่มีความงดงามอย่างยิ่งและส่งผลต่อ ศิลปะขอมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระองค์ทรงรับนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายานเป็นศาสนาประจำพระราชอาณาจักรพระองค์ ทรงสร้างเมืองพระนครหลวงที่มีปราสาทบายนอยู่ใจกลางเมือง ทรงเปลี่ยน จากลัทธิการเคารพบูชาเทวราชมาเป็นลัทธิคารพบูชาพุทธราชา
ถือได้ว่า พระชัยพุทธมหานาถ เป็นพระพุทธรูปนาคปรกได้รับความนิยมและมีความรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แห่งอาณาจักรขอมมีการระบุว่าทรงสร้างพระชัยพุทธมหานาถส่งไปตามหัวเมืองขึ้น ๒๓ หัวเมืองเพื่อสักการะบูชารวมทั้งเมืองลโวทยปุระหรือละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบันด้วย ปัจจุบันพระชัยพุทธมหานาถองค์ที่มีความสมบูรณ์นั้นเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากแล้ว ทางวัดขุนอินทประมูลจึงมีแนวคิดที่จะจัดสร้าง “พระชัยพุทธมหานาถ” ขึ้นมาใหม่ทั้งนี้จังหวัดลพบุรีและจังหวัดอ่างทองเป็นพื้นที่ติดต่อกันมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจึงมีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งวัดขุนอินทประมูลนั้นถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะจัดสร้าง “พระชัยพุทธมหานาถ” ขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา คณะกรรมการวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ได้มอบหมายให้ อ.ธนทัศน์ ทองเนียม เป็นประธานดำเนินงาน มี ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล เป็นที่ปรึกษาในโครงการจัดสร้าง “พระชัยพุทธมหานาถ” พระพุทธรูปนาคปรกศิลปะขอมที่มีการประยุกต์เรื่องราวอันสื่อความหมายถึงอาณาจักรอันเป็นที่มาของพระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ และต้องมีความงดงาม ประณีต วิจิตรบรรจง เพื่อมอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมสร้างที่พักสถานปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ภายในวัดขุนอินทประมูล ไว้สำหรับเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติและสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
พระชัยพุทธมหานาถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปะขอมบายนที่มีความงดงามตามพุทธลักษณะทุกประการ มีพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเบิกโพลง พระขนงเป็นรูปปีกกา สวมเครื่องทรงแบบเทวรูป อันได้แก่กระบังหน้า รัดเกล้า และกุณฑล พระวรกายครองจีวรและเครื่องทรง ประทับเหนือเมืองนครวัดอันเป็นต้นกำเนิดพระชัยพุทธมหานาถจนมาถึงเมืองละโว้ เศียรนาคมี ๗ เศียร เศียรกลางใหญ่ที่สุด เศียรด้านข้างหันเข้าหาเศียรกลาง หางของพญานาคม้วนเข้าหากันพันรอบเมืองประดุจดังคอยระวังป้องกันรักษาทั้งอายุ วัณโณ
สุขัง พลัง และนำพาความรุ่งเรืองมาสู่ผู้สักการะบูชาพระชัยพุทธมหานาถ ถือเป็นสุดยอดแห่งความเป็นสิริมงคลเมื่อได้มีไว้บูชาและยังถือเป็นพระประจำตระกูล เพื่อความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลและเป็นมรดกสืบทอดไปยังลูกหลานในภายหน้า
พระชัยพุทธมหานาถ
ผู้ออกแบบแนวคิดและรังสรรค์ผลงาน : ARTMULET
ออกแบบ : อ.เกียงกมล นาคบางแก้ว
ประติมากร : อ.สุชาติ แซ่จิว
หล่อด้วยโลหะบรอนซ์ออสเตรเลีย (สำริด)
พิธีบวงสรวงเทวาภิเษกและพุทธาภิเษก : วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
สำหรับท่านที่มีศรัทธาและต้องการเก็บสะสมผลงานประติมากรรม พระพุทธชัยมหานาถในครั้งนี้ ท่านสามารถเลือกสั่งจองได้แล้วตามรายการต่างๆ ดังนี้ครับ
พระพุทธชัยมหานาถ เป็นงานประติมากรรมแบบถอดประกอบ 3 ชิ้น จัดทำขึ้นเป็น 3 ขนาด คือ
1.ขนาดความสูง 27 นิ้ว
ฐานถึงปลายเศียรพญานาค 27 นิ้ว
หน้าตักองค์พระกว้าง 9 นิ้ว สูง 11 นิ้ว
ฐานกว้าง 14 นิ้ว ลึก 10 นิ้ว
จัดสร้างทั้งหมด 9 สี สีละ 9 องค์
ราคาสั่งจอง 49,900.- (ปิดจอง)
2.ขนาดความสูง 16 นิ้ว
ฐานถึงปลายเศียรพญานาค 16 นิ้ว
หน้าตักองค์พระกว้าง 5.4 นิ้ว สูง 6.6 นิ้ว
ฐานกว้าง 8 นิ้ว ลึก 6 นิ้ว
จัดสร้างทั้งหมด 3 สี สีละ 99 องค์
ราคาสั่งจอง 29,900.– ถึง 32,900.-
3.ขนาดความสูง 12 นิ้ว
ฐานถึงปลายเศียรพญานาค 12 นิ้ว
หน้าตักองค์พระกว้าง 4 นิ้ว สูง 4.9 นิ้ว
ฐานกว้าง 6.2 นิ้ว ลึก 4.4 นิ้ว
จัดสร้างทั้งหมด 3 สี สีละ 999 องค์
ราคาสั่งจอง 16,900.– ถึง 17,900.-
ค่าจัดส่งขนาด 27 นิ้ว 500 บาท ต่อ 1 องค์ (ปิดจอง)
ค่าจัดส่งขนาด 16 นิ้ว 400 บาท ต่อ 1 องค์
ค่าจัดส่งขนาด 12 นิ้ว 300 บาท ต่อ 1 องค์
กรณีรับที่วัดขุนอินทประมูลจ.อ่างทอง ไม่มีค่าส่ง
รายการจองครั้งนี้มีกำหนดประมาณการจัดส่งตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป หลังผ่านพิธีบวงสรวงเทวาภิเษกและพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับท่านที่สนใจต้องการสั่งจองหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
Facebook Inbox : Artmulet
Facebook Inbox : Artmulet Official
Line ID : @artmulet
เว็บไซต์: www.artmulet.com
และที่วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
Tel. 0925577511
รายได้ร่วมจัดสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง