ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
สำหรับการเกิดโรคระบาดในเรื่องฝีดาษในประเทศไทยนั้น ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายระลอกตั้งแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นจึงเป็นโรคที่อยู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน
สำหรับตำรับยาไทยที่เกี่ยวกับโรคระบาดมีประวัติเก่าแก่ที่สุดก็คือพระคัมภีร์ตักศิลาซึ่งมีการบันทึกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ซึ่งได้เป็นคนในสมัยอยุธยาได้สืบทอดภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยโดยแต่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑
โดยในพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์นี้ได้กล่าวความบทหนึ่ง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักศิลา”[๑] ซึ่งเป็นการอธิบายถึงวิธีการดำเนินการรับมือกับโรคระบาด เปรียบเหมือนคู่มือการใช้พระคัมภีร์ตักกะศิลาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้
สำหรับช่วงเวลาระหว่างมีไข้ ได้มีข้อห้ามที่สำคัญคือ ห้ามวางยารสร้อน เผ็ด เปรี้ยว, ห้ามปล่อยปลิง(เพื่อดูดเลือดออก), ห้ามถูกเหล้า, ห้ามถูกน้ำมัน, ห้ามกินน้ำร้อน, ห้ามอาบน้ำร้อน, ห้ามกินส้มมีผิวมีควัน, ห้ามกะทิ ห้ามน้ำมัน, ห้ามนวด และห้ามประคบ[๑]
แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ายังไม่แน่ใจว่าโรคระบาดนั้นเป็นอย่าง่ไร แต่ถ้าในช่วงมีไข้นั้นให้ใช้ ”ยาเย็น รสขม ฝาด จืด” เป็นตัวนำเอาไว้ก่อน[๑]
สำหรับการเห็นโรคระบาดที่มีการแสดงออกทางผิวหนังทางใดทางหนึ่ง แม้การระบาดของโรคจะมีหลายชนิดที่แตกต่างกัน แต่กลับมีบทสรุปรวบยอดในการรักษาไม่แตกต่างกัน โดยให้ดำเนินการแบ่งออกเป็นการให้ยา ๓ ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ ๑ ยากระทุ้งพิษไข้
ขั้นตอนที่ ๒ ยาแปรภายใน (ทั้งกินและพ่น)
ขั้นตอนที่ ๓ ยาครอบไข้
โดยในขั้นตอนเหล่านี้ได้ถูกแบ่งออกเป็นยา ๗ ขนานตามลำดับดังนี้
ขนานที่ ๑ กระทุ้งพิษไข้ ให้รับประทานยาห้ารากให้ออกมาทางผิวหนัง ซึ่งได้แก่ รากเท้ายายม่อม, ร่างมะเดื่อชุมพร, รากคนทา, รากชิงชี่, รากหญ้านาง โดยยาทั้งหมดเอามาเสมอภาคกันแล้วต้มรับประทาน [๒]
ขนานที่ ๒ยาประสะผิวภายนอก (พ่นภายนอก)ให้กระทุ้งออกมานอกผิวให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยใช้ใบหญ้านาง, ใบมะขาม, เถาวัลย์เปรียง, โดยนำมาเสมอภาคกัน บดแทรกดินประสิวละลายน้ำซาวข้าว [๒]
ขนานที่ ๓ ยาพ่นผิวภายนอก ให้เอารากฟักข้าว, เถาขี้กาแดง บดแทรกดินประสิวละลายน้ำซาวข้าวทั้งกินและพ่นภายนอก[๒] ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ใช้ยาขนานถัดไป [๒]
ขนานที่ ๔ ยาพ่นและยากิน ได้แก่ ใบและเปลือกทองหลางใบมน ข้าวสารน้ำหนักเสมอภาค บดแทรกดินประสิว ทั้งกิน ทั้งพ่นเป่นการกระทุ้งพิษภายใน [๓]
ขนานที่ ๕ยาแปรไข้ ใช้ใบหมากผู้, ใบหมากเมีย, ใบมะยม, ใบมะเฟือง, ใบมะกรูด, ใบมะนาว, ใบคนทีสอ, หญ้าแพรก ใบมะตูม ขมิ้นอ้อย เสมอภาค บดปั้นละลายน้ำซาวข้าวกินแปรรร้ายกลายเป็นดี [๒]
ขนานที่ ๖ ยาแปรผิวภายนอก ได้แก่ รังหมาร่าค้างแรมปี, หญ้าแพรก, ใบมะเฟือง นำมาน้ำหนักเสมอภาคกันปั้นเป็นแท่งละลายน้ำซาวขาวเป็นกระสายยา พ่นแปรผิว ๓ ครั้งเท่านั้น [๒]
ขนานที่ ๗ยาครอบไข้ ซึ่งระบุว่าแก้สารพัดไข้ตักกะศิลา จันทน์แดง จันทน์ขาว ใบสวาท หัวคล้า ง้วนหมู กระลำพัก รากสะแก รากจิงจำ ฟักข้าวไหม้ ใบผักหวานบ้าน พิมเสนแซก เถาหญ้านาง ใบมะนาว นำมาเสมอภาคแล้วใช้น้ำซาวข้าวละลาย เป็นยากินสำหรับภายในจนกว่าจะหาย [๒],[๓]
แม้แนวทางในคัมภีร์ตักศิลาจะเป็นไปตามแนวทางหลัก ของการรับมือกับโรคระบาดโดยรวมมาตั้งแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ก็ตาม แต่ต่อมาได้มีหลักฐานปรากฏในเรื่อง“โรคฝีดาษ”เป็นการเฉพาะในศิลาจารึกวัดราชโอรสมหวรวิหาร ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงดำเนินการสก่อสร้างวัดจอมทอง (พ.ศ. ๒๓๖๔-๒๓๗๘) รวมระยะเวลา ๑๑ ปี ซึ่งต่อมาสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชทานชื่อว่า“วัดราชโอรส”ซึ่งหมายถึงวัดที่พระราชโอรสสถาปนา[๔]

โดยตำรับยาโรค“ฝีดาษ”ที่วัดราชโอรสมหาวรวิหารนั้น ได้ปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกแผ่นที่ ๑๘ โดยระบุชื่อโรค “ฝีดาษ” ตั้งแต่ข้อความแรกของแผ่นศิลานี้ความว่า:
“๏ สิทธิการิยะ จกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ เดือน ๑ ทั้ง ๓ เดือนนี้เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เยนในอกแลมักตกมูกตกเลือด….”[๕]
สำหรับตำรับยาโรคฝีดาษนั้น ยังคงมีทั้งยาพ่น ยากิน ทั้งให้ฝีขึ้นออกมา ดับพิษฝี แก้พิษฝี ตามลำดับตำรับยามีทั้งสิ้น ๕ ขนานดังนี้
ขนานที่ ๑ใช้ใบมะอึก, ผักบุ้งร้วม, ใบผักบุ้งขัน(ผักบุ้งทะเล),ใบก้างปลาแดง ใบก้างปลาขาว, ใบพุงดอ, ใบผักขวง, ใบหมาก, ใบทองพันชั่ง เอาเสมอาภาค ตำคั้นเอาแต่น้ำ เป็นยาน้ำและพ่นดับพิษฝี รักษาหนองให้หาย [๕]
ขนานที่ ๒กะทิมะพร้าว, น้ำคาวปลาไหล (นำใบมะเดื่อปล้องรูดตัวปลาไหลจนเลือดซึม เอาตัวปลาไปล้างน้ำ), ไข่เป็ด, มูลของโคสีดำ, แก่นประดู่ บดเป็นผง รักษาฝีหนอง ทำให้ฝีที่ฝังอยู่ในปะทุขึ้นมา ที่ด้านอยู่นั้นขึ้น ทำาให้ฝีร้าย อาการดีขึ้น [๕]
ขนานที่ ๓น้ำลูกตำลึง, น้ำมันงา, น้ำมันหัวกุ้ง, น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค รักษาฝีหนอง เป็นยาน้ำพ่นฝี ทำให้ดันให้ยอดข้ึน ทำให้หนองแตกออกมา [๕]
ขนานที่ ๔ เห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคาดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขัณฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคทำเป็นผงละเอียด ผสมน้ำมะนาว ปั้นเป็นแท่ง ละลายน้ำสุราแทรกดีงูเหลือมเล็กน้อยกิน แก้คอแหบแห้ง มีเสียงแหบ แก้คอเครือ (มีเสมหะในลำคอ) [๕]
ขนานที่ ๕ ใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค ทำเป็นผงปั้นเป็นแท่งละลายน้ำสุรากิน แแก้พิษฝี ที่ก่อพิษจนทำให้สลบไป รักษาหนอง (เพื่อเสมหะ) [๕]
โดยตำรับยาฝีดาษนั้นระบุให้มีพิธีกรรม: ให้เสียแม่แสลงพ่อ แสลงนุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่ง ทิศอุดรและทิศอีสาน จึงจะดี [๕]
อย่างไรก็ตามยังมีข้อน่าสังเกตุว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีการนำตำรับยามากมายจารึกอยู่ในศิลาติดอยู่ตามผนังวัดรอบวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) แต่กลับไม่พบตำรับยาที่เรียกว่า “ฝีดาษ” ไม่มีแม้แต่ในตำรายาศิลาจารึกวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) เช่นกัน
อย่างไรก็ตามตามแนวทางพระคัมภีร์ตักกะศิลาซึ่งได้รวบรวมการเกิดโรคระบาดหลายชนิดตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ระบุโรคที่มีความคล้ายคลึงกับฝีดาษความตอนหนึ่งเรียกว่า“ไข้ประกายดาษ”โดยปรากฏคำอธิบายในพระคัมภีร์ตักกะศิลาความว่า
“ประกายดาษนั้น มีลักษณไข้จับสท้านร้อนสท้านหนาวให้จับเท้าเย็นมือเย็น ให้ปวดสีสะให้จักษุแดงดังโลหิต ให้เชื่อมมัวเปนกำลัง ให้ปวดกระดูกให้ปวดในเนื้อ ลิ้นกระด้างคางแขง ให้หอบให้สอึก ผุดขึ้นมาเหมือนเม็ดฝีดาษทั่วตัว ทำพิษให้สลบ ให้เร่งวางยาให้จงดีแก้ไม่ดีตาย”[๖]
ดังนั้นถ้าข้อสันนิษฐานว่าไข้ประกายดาษที่เหมือนกับเม็ดฝีดาษทั่วตัวหรือเป็นโรคเดียวกันแล้ว แนวทางการรักษาก็คงไปตามแนวทางของพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลาของ เจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบุรี ซึ่งบันทึกเอาไว้ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทั้ง ๓ ขั้นตอน คือ ยากระทุ้งพิษไข้, ยาแปรภายใน (ทั้งกินและพ่น), และยาครอบไข้ และมียา ๗ ขนานดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น [๒], [๓]
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาคำอธิบายของ“ขุนนิเทสสุขกิจ”(นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี) ได้เขียนบันทึกเอาไว้ใน “ตำราอายุรเวทศึกษา” ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งกระทรวงสาธารณาสุข ได้ออกประกาศลงในราชกิจจานุกเบกษาว่าเป็นหนึ่งในตำราการแพทย์แผนไทยของชาติเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ อธิบายความตอนหนึ่งในเรื่องไข้ประกายดาษว่า :
“ไข้ประกายดาษ ไข้ประกายเพลิง โบราณอธิบายว่าเป็นเม็ดทั่วไปและร้อนมาก กระทำพิษเป็นกำลัง ไข้นี้สันนิษฐานว่า เป็นไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาด (Small pox) อาจเป็นชนิดร้ายเรียกว่าดาดตะกั่วก็ได้ แต่โบราณไม่เรียกไข้ทรพิษหรือฝีดาดแต่เรียกว่าไข้ประกายดาด ไข้ประกายเพลิง”[๗]
ดังจะเห็นได้จากวิวัฒนาการจากเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ซึ่งได้จัดทำพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลาซึ่งจัดทำตำรับยาสำหรับไข้ประกายดาษเอาไว้ตามขั้นตอนยากระทุ้งพิษไข้, ยาแปรภายใน (ทั้งกินและพ่น), และยาครอบไข้ ในสม้ยรัชกาลที่ ๑ จำนวน ๗ ขนานก็ดี มาจนถึงศิลาจารึกวัดวัดราชโอรสมหาวรวิหารในเรื่องตำรับยาสำหรับโรคฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ ๒ จำนวนตำรับยา ๕ ขนานก็ดี ขั้นตอนการใช้ยาหลายขนานนั้นค่อนข้างมีความสลับซับซ้อนและตัวยามาก จึงย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับโรคที่ระบาดหนักและระบาดเร็ว
วิวัฒนาการดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แม้จะไม่ปรากฏว่าได้มีตำรับยาสำหรับไข้ประกายดาษ ไข้ประกายเพลิง หรือแม้แต่ฝีดาษเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตามปรากฏตาม “ตำรายาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕” พบว่ามีอยู่หนึ่งตำรับที่ใช้สำหรับการรักษาโรคระบาดหลายชนิดภายในตำรับยาเดียว ซึ่งรวมถึงไข้ประกายดาษรวมอยู่ด้วย

การบันทึกตำรายาในตำรับยานี้ได้ถูกบันทึกเอาไว้ว่านำมาจาก “จารึกซึ่งรื้อจากศาลาต่างๆ”ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) แต่จะเป็นด้วยเหตุไม่ทราบได้ จารึกแผ่นนี้ได้สูญหายไปแล้ว คงเหลือเอาไว้ในการบันทึกผ่านตำรายาศึลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ว่าเคยมีตำรับยานี้มาก่อนในแผ่นศิลา
ซึ่งแน่นอนว่าตำรายาศึลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ได้ถูกประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นตำรายาการแพทย์แผนไทยของชาติเช่นเดียวกัน
โดยตำรับยาดังกล่าวนี้เขียนเอาไว้ความว่า
“๏ ขนาน ๑ เอา กะเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปนมหาวิเศษนัก ฯ ๛”[๘]
ตำรับยาดังกล่าวคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว” โดยที่มาของชื่อตำรับยานี้ได้ถูกอธิบายเอาไว้โดยกลุ่มงานวิชาการความรู้ กองวิชาและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุขสรุปความว่า :
ยาขาว เพื่อครอบไข้ (รักษาอาการไข้ และจะไม่กลับมาเป็นอีก) เป็นตำรับยาที่ปรากฏในตำรายาศิลาจารึกวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ซึ่งเป็นตำราที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็นตำราการแพทย์แผนไทยของชาติแก้สรรพไข้ โดยในตำรับยาไม่ได้แจ้งชื่อตำรับยาขาว ไว้ ถูกระบุชื่อในภายหลังโดยครูชุบ แป้นคุ้มญาติ ครูการแพทย์แผนไทย จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีประสบการณ์ในการรักษาไข้กับผู้ป่วยจำนวนหลายพันรายในคลินิกมาเป็นระยะเวลานานเกินกว่า ๑๐ ปี [๓]

ซึ่งเมื่อพิจารณาตำรับยาแก้ไข้ดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีตัวยาหลายชนิดที่อยู่ในตำรับยาครอบไข้ตามพระคัมภีร์ตักกะศิลา แต่มีตัวยามากกว่ายาครอบไข้ อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ตามรสยาตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยพบว่าเครื่องยาดังกล่าวมีรสประธาน (รสยาทั้งตำรับ) เป็นรสสุขุมเย็น ซึ่งเหมาะกับการนำมาดูแลรักษาไข้ [๓]
ซึ่งสอดคล้องกับรสยาในพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลาความว่า
“ถ้ายังไม่รู้ ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เยนเป็นอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[๑]
ดังนั้นแม้ในวันนี้โรคฝีดาษลิงจะยังไม่ระบาดในเมืองไทย แต่การเตรียมองค์ความรู้ในยามที่วัคซีนไข้ทรพิษยังไม่ได้กลับมาผลิตหรือยังไม่ผลิตได้มาก การรู้ไว้ตั้งแต่วันนี้จะได้เตรียมตัวเพื่อไม่ประมาทก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อ้างอิง
[๑] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรม หายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, ๑,๐๒๕ หน้า องค์การค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๔, จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม, ISBN: ๙๗๘-๙๗๔-๐๑-๙๗๔๒-๓, หน้า ๓๗
[๒] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๐-๔๑
[๓] กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, องค์ความรู้การรักษาไข้ตามแนวทางในคัมภีร์ตักศิลา, เว็บไซต์กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
https://www.dtam.moph.go.th/images/morthai-covid/Thai-Med-fever/morthai-covid-Thai-Med-fever14-Khampi.pdf
[๔] กลุ่มงานวิชาการและคลังความรู้ กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, คำาอธิบายจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร. -- นนทบุรี: 2563. 376 หน้า, พิมพ์ที่ บริษัท เอส. บี. เค. การพิมพ์ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวน ๑๐๐ เล่ม, วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๓, หน้า ๓
https://tpd.dtam.moph.go.th/images/ak/ebook/watrattemple/Book-19-Book_mark-2.pdf
[๕] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๑๙-๑๒๕
[๖] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรม หายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, ๑,๐๒๕ หน้า องค์การค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๔, จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม, ISBN: ๙๗๘-๙๗๔-๐๑-๙๗๔๒-๓, หน้า ๗๐๒
[๗] ขุนนิทเทศสุขกิจ (นิทเทศ (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี, อายุรเวทศึกษา (วิชาแพทย์แผนโบราณ) พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๖๑, หน้า ๓๘๑
[๘] ตำรายาศึลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ จัดทำโดยร.ร.แพทย์แผนโบราณ พุทธศักราช ๒๕๑๖, หน้า ๖๒-๖๔
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
สำหรับการเกิดโรคระบาดในเรื่องฝีดาษในประเทศไทยนั้น ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายระลอกตั้งแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นจึงเป็นโรคที่อยู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน
สำหรับตำรับยาไทยที่เกี่ยวกับโรคระบาดมีประวัติเก่าแก่ที่สุดก็คือพระคัมภีร์ตักศิลาซึ่งมีการบันทึกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ซึ่งได้เป็นคนในสมัยอยุธยาได้สืบทอดภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยโดยแต่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑
โดยในพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์นี้ได้กล่าวความบทหนึ่ง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักศิลา”[๑] ซึ่งเป็นการอธิบายถึงวิธีการดำเนินการรับมือกับโรคระบาด เปรียบเหมือนคู่มือการใช้พระคัมภีร์ตักกะศิลาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้
สำหรับช่วงเวลาระหว่างมีไข้ ได้มีข้อห้ามที่สำคัญคือ ห้ามวางยารสร้อน เผ็ด เปรี้ยว, ห้ามปล่อยปลิง(เพื่อดูดเลือดออก), ห้ามถูกเหล้า, ห้ามถูกน้ำมัน, ห้ามกินน้ำร้อน, ห้ามอาบน้ำร้อน, ห้ามกินส้มมีผิวมีควัน, ห้ามกะทิ ห้ามน้ำมัน, ห้ามนวด และห้ามประคบ[๑]
แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ายังไม่แน่ใจว่าโรคระบาดนั้นเป็นอย่าง่ไร แต่ถ้าในช่วงมีไข้นั้นให้ใช้ ”ยาเย็น รสขม ฝาด จืด” เป็นตัวนำเอาไว้ก่อน[๑]
สำหรับการเห็นโรคระบาดที่มีการแสดงออกทางผิวหนังทางใดทางหนึ่ง แม้การระบาดของโรคจะมีหลายชนิดที่แตกต่างกัน แต่กลับมีบทสรุปรวบยอดในการรักษาไม่แตกต่างกัน โดยให้ดำเนินการแบ่งออกเป็นการให้ยา ๓ ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ ๑ ยากระทุ้งพิษไข้
ขั้นตอนที่ ๒ ยาแปรภายใน (ทั้งกินและพ่น)
ขั้นตอนที่ ๓ ยาครอบไข้
โดยในขั้นตอนเหล่านี้ได้ถูกแบ่งออกเป็นยา ๗ ขนานตามลำดับดังนี้
ขนานที่ ๑ กระทุ้งพิษไข้ ให้รับประทานยาห้ารากให้ออกมาทางผิวหนัง ซึ่งได้แก่ รากเท้ายายม่อม, ร่างมะเดื่อชุมพร, รากคนทา, รากชิงชี่, รากหญ้านาง โดยยาทั้งหมดเอามาเสมอภาคกันแล้วต้มรับประทาน [๒]
ขนานที่ ๒ยาประสะผิวภายนอก (พ่นภายนอก)ให้กระทุ้งออกมานอกผิวให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยใช้ใบหญ้านาง, ใบมะขาม, เถาวัลย์เปรียง, โดยนำมาเสมอภาคกัน บดแทรกดินประสิวละลายน้ำซาวข้าว [๒]
ขนานที่ ๓ ยาพ่นผิวภายนอก ให้เอารากฟักข้าว, เถาขี้กาแดง บดแทรกดินประสิวละลายน้ำซาวข้าวทั้งกินและพ่นภายนอก[๒] ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ใช้ยาขนานถัดไป [๒]
ขนานที่ ๔ ยาพ่นและยากิน ได้แก่ ใบและเปลือกทองหลางใบมน ข้าวสารน้ำหนักเสมอภาค บดแทรกดินประสิว ทั้งกิน ทั้งพ่นเป่นการกระทุ้งพิษภายใน [๓]
ขนานที่ ๕ยาแปรไข้ ใช้ใบหมากผู้, ใบหมากเมีย, ใบมะยม, ใบมะเฟือง, ใบมะกรูด, ใบมะนาว, ใบคนทีสอ, หญ้าแพรก ใบมะตูม ขมิ้นอ้อย เสมอภาค บดปั้นละลายน้ำซาวข้าวกินแปรรร้ายกลายเป็นดี [๒]
ขนานที่ ๖ ยาแปรผิวภายนอก ได้แก่ รังหมาร่าค้างแรมปี, หญ้าแพรก, ใบมะเฟือง นำมาน้ำหนักเสมอภาคกันปั้นเป็นแท่งละลายน้ำซาวขาวเป็นกระสายยา พ่นแปรผิว ๓ ครั้งเท่านั้น [๒]
ขนานที่ ๗ยาครอบไข้ ซึ่งระบุว่าแก้สารพัดไข้ตักกะศิลา จันทน์แดง จันทน์ขาว ใบสวาท หัวคล้า ง้วนหมู กระลำพัก รากสะแก รากจิงจำ ฟักข้าวไหม้ ใบผักหวานบ้าน พิมเสนแซก เถาหญ้านาง ใบมะนาว นำมาเสมอภาคแล้วใช้น้ำซาวข้าวละลาย เป็นยากินสำหรับภายในจนกว่าจะหาย [๒],[๓]
แม้แนวทางในคัมภีร์ตักศิลาจะเป็นไปตามแนวทางหลัก ของการรับมือกับโรคระบาดโดยรวมมาตั้งแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ก็ตาม แต่ต่อมาได้มีหลักฐานปรากฏในเรื่อง“โรคฝีดาษ”เป็นการเฉพาะในศิลาจารึกวัดราชโอรสมหวรวิหาร ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงดำเนินการสก่อสร้างวัดจอมทอง (พ.ศ. ๒๓๖๔-๒๓๗๘) รวมระยะเวลา ๑๑ ปี ซึ่งต่อมาสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชทานชื่อว่า“วัดราชโอรส”ซึ่งหมายถึงวัดที่พระราชโอรสสถาปนา[๔]
โดยตำรับยาโรค“ฝีดาษ”ที่วัดราชโอรสมหาวรวิหารนั้น ได้ปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกแผ่นที่ ๑๘ โดยระบุชื่อโรค “ฝีดาษ” ตั้งแต่ข้อความแรกของแผ่นศิลานี้ความว่า:
“๏ สิทธิการิยะ จกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ เดือน ๑ ทั้ง ๓ เดือนนี้เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เยนในอกแลมักตกมูกตกเลือด….”[๕]
สำหรับตำรับยาโรคฝีดาษนั้น ยังคงมีทั้งยาพ่น ยากิน ทั้งให้ฝีขึ้นออกมา ดับพิษฝี แก้พิษฝี ตามลำดับตำรับยามีทั้งสิ้น ๕ ขนานดังนี้
ขนานที่ ๑ใช้ใบมะอึก, ผักบุ้งร้วม, ใบผักบุ้งขัน(ผักบุ้งทะเล),ใบก้างปลาแดง ใบก้างปลาขาว, ใบพุงดอ, ใบผักขวง, ใบหมาก, ใบทองพันชั่ง เอาเสมอาภาค ตำคั้นเอาแต่น้ำ เป็นยาน้ำและพ่นดับพิษฝี รักษาหนองให้หาย [๕]
ขนานที่ ๒กะทิมะพร้าว, น้ำคาวปลาไหล (นำใบมะเดื่อปล้องรูดตัวปลาไหลจนเลือดซึม เอาตัวปลาไปล้างน้ำ), ไข่เป็ด, มูลของโคสีดำ, แก่นประดู่ บดเป็นผง รักษาฝีหนอง ทำให้ฝีที่ฝังอยู่ในปะทุขึ้นมา ที่ด้านอยู่นั้นขึ้น ทำาให้ฝีร้าย อาการดีขึ้น [๕]
ขนานที่ ๓น้ำลูกตำลึง, น้ำมันงา, น้ำมันหัวกุ้ง, น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค รักษาฝีหนอง เป็นยาน้ำพ่นฝี ทำให้ดันให้ยอดข้ึน ทำให้หนองแตกออกมา [๕]
ขนานที่ ๔ เห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคาดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขัณฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคทำเป็นผงละเอียด ผสมน้ำมะนาว ปั้นเป็นแท่ง ละลายน้ำสุราแทรกดีงูเหลือมเล็กน้อยกิน แก้คอแหบแห้ง มีเสียงแหบ แก้คอเครือ (มีเสมหะในลำคอ) [๕]
ขนานที่ ๕ ใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค ทำเป็นผงปั้นเป็นแท่งละลายน้ำสุรากิน แแก้พิษฝี ที่ก่อพิษจนทำให้สลบไป รักษาหนอง (เพื่อเสมหะ) [๕]
โดยตำรับยาฝีดาษนั้นระบุให้มีพิธีกรรม: ให้เสียแม่แสลงพ่อ แสลงนุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่ง ทิศอุดรและทิศอีสาน จึงจะดี [๕]
อย่างไรก็ตามยังมีข้อน่าสังเกตุว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีการนำตำรับยามากมายจารึกอยู่ในศิลาติดอยู่ตามผนังวัดรอบวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) แต่กลับไม่พบตำรับยาที่เรียกว่า “ฝีดาษ” ไม่มีแม้แต่ในตำรายาศิลาจารึกวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) เช่นกัน
อย่างไรก็ตามตามแนวทางพระคัมภีร์ตักกะศิลาซึ่งได้รวบรวมการเกิดโรคระบาดหลายชนิดตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ระบุโรคที่มีความคล้ายคลึงกับฝีดาษความตอนหนึ่งเรียกว่า“ไข้ประกายดาษ”โดยปรากฏคำอธิบายในพระคัมภีร์ตักกะศิลาความว่า
“ประกายดาษนั้น มีลักษณไข้จับสท้านร้อนสท้านหนาวให้จับเท้าเย็นมือเย็น ให้ปวดสีสะให้จักษุแดงดังโลหิต ให้เชื่อมมัวเปนกำลัง ให้ปวดกระดูกให้ปวดในเนื้อ ลิ้นกระด้างคางแขง ให้หอบให้สอึก ผุดขึ้นมาเหมือนเม็ดฝีดาษทั่วตัว ทำพิษให้สลบ ให้เร่งวางยาให้จงดีแก้ไม่ดีตาย”[๖]
ดังนั้นถ้าข้อสันนิษฐานว่าไข้ประกายดาษที่เหมือนกับเม็ดฝีดาษทั่วตัวหรือเป็นโรคเดียวกันแล้ว แนวทางการรักษาก็คงไปตามแนวทางของพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลาของ เจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบุรี ซึ่งบันทึกเอาไว้ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทั้ง ๓ ขั้นตอน คือ ยากระทุ้งพิษไข้, ยาแปรภายใน (ทั้งกินและพ่น), และยาครอบไข้ และมียา ๗ ขนานดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น [๒], [๓]
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาคำอธิบายของ“ขุนนิเทสสุขกิจ”(นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี) ได้เขียนบันทึกเอาไว้ใน “ตำราอายุรเวทศึกษา” ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งกระทรวงสาธารณาสุข ได้ออกประกาศลงในราชกิจจานุกเบกษาว่าเป็นหนึ่งในตำราการแพทย์แผนไทยของชาติเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ อธิบายความตอนหนึ่งในเรื่องไข้ประกายดาษว่า :
“ไข้ประกายดาษ ไข้ประกายเพลิง โบราณอธิบายว่าเป็นเม็ดทั่วไปและร้อนมาก กระทำพิษเป็นกำลัง ไข้นี้สันนิษฐานว่า เป็นไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาด (Small pox) อาจเป็นชนิดร้ายเรียกว่าดาดตะกั่วก็ได้ แต่โบราณไม่เรียกไข้ทรพิษหรือฝีดาดแต่เรียกว่าไข้ประกายดาด ไข้ประกายเพลิง”[๗]
ดังจะเห็นได้จากวิวัฒนาการจากเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ซึ่งได้จัดทำพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลาซึ่งจัดทำตำรับยาสำหรับไข้ประกายดาษเอาไว้ตามขั้นตอนยากระทุ้งพิษไข้, ยาแปรภายใน (ทั้งกินและพ่น), และยาครอบไข้ ในสม้ยรัชกาลที่ ๑ จำนวน ๗ ขนานก็ดี มาจนถึงศิลาจารึกวัดวัดราชโอรสมหาวรวิหารในเรื่องตำรับยาสำหรับโรคฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ ๒ จำนวนตำรับยา ๕ ขนานก็ดี ขั้นตอนการใช้ยาหลายขนานนั้นค่อนข้างมีความสลับซับซ้อนและตัวยามาก จึงย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับโรคที่ระบาดหนักและระบาดเร็ว
วิวัฒนาการดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แม้จะไม่ปรากฏว่าได้มีตำรับยาสำหรับไข้ประกายดาษ ไข้ประกายเพลิง หรือแม้แต่ฝีดาษเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตามปรากฏตาม “ตำรายาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕” พบว่ามีอยู่หนึ่งตำรับที่ใช้สำหรับการรักษาโรคระบาดหลายชนิดภายในตำรับยาเดียว ซึ่งรวมถึงไข้ประกายดาษรวมอยู่ด้วย
การบันทึกตำรายาในตำรับยานี้ได้ถูกบันทึกเอาไว้ว่านำมาจาก “จารึกซึ่งรื้อจากศาลาต่างๆ”ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) แต่จะเป็นด้วยเหตุไม่ทราบได้ จารึกแผ่นนี้ได้สูญหายไปแล้ว คงเหลือเอาไว้ในการบันทึกผ่านตำรายาศึลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ว่าเคยมีตำรับยานี้มาก่อนในแผ่นศิลา
ซึ่งแน่นอนว่าตำรายาศึลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ได้ถูกประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นตำรายาการแพทย์แผนไทยของชาติเช่นเดียวกัน
โดยตำรับยาดังกล่าวนี้เขียนเอาไว้ความว่า
“๏ ขนาน ๑ เอา กะเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปนมหาวิเศษนัก ฯ ๛”[๘]
ตำรับยาดังกล่าวคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว” โดยที่มาของชื่อตำรับยานี้ได้ถูกอธิบายเอาไว้โดยกลุ่มงานวิชาการความรู้ กองวิชาและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุขสรุปความว่า :
ยาขาว เพื่อครอบไข้ (รักษาอาการไข้ และจะไม่กลับมาเป็นอีก) เป็นตำรับยาที่ปรากฏในตำรายาศิลาจารึกวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ซึ่งเป็นตำราที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็นตำราการแพทย์แผนไทยของชาติแก้สรรพไข้ โดยในตำรับยาไม่ได้แจ้งชื่อตำรับยาขาว ไว้ ถูกระบุชื่อในภายหลังโดยครูชุบ แป้นคุ้มญาติ ครูการแพทย์แผนไทย จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีประสบการณ์ในการรักษาไข้กับผู้ป่วยจำนวนหลายพันรายในคลินิกมาเป็นระยะเวลานานเกินกว่า ๑๐ ปี [๓]
ซึ่งเมื่อพิจารณาตำรับยาแก้ไข้ดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีตัวยาหลายชนิดที่อยู่ในตำรับยาครอบไข้ตามพระคัมภีร์ตักกะศิลา แต่มีตัวยามากกว่ายาครอบไข้ อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ตามรสยาตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยพบว่าเครื่องยาดังกล่าวมีรสประธาน (รสยาทั้งตำรับ) เป็นรสสุขุมเย็น ซึ่งเหมาะกับการนำมาดูแลรักษาไข้ [๓]
ซึ่งสอดคล้องกับรสยาในพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลาความว่า
“ถ้ายังไม่รู้ ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เยนเป็นอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[๑]
ดังนั้นแม้ในวันนี้โรคฝีดาษลิงจะยังไม่ระบาดในเมืองไทย แต่การเตรียมองค์ความรู้ในยามที่วัคซีนไข้ทรพิษยังไม่ได้กลับมาผลิตหรือยังไม่ผลิตได้มาก การรู้ไว้ตั้งแต่วันนี้จะได้เตรียมตัวเพื่อไม่ประมาทก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อ้างอิง
[๑] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรม หายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, ๑,๐๒๕ หน้า องค์การค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๔, จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม, ISBN: ๙๗๘-๙๗๔-๐๑-๙๗๔๒-๓, หน้า ๓๗
[๒] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๐-๔๑
[๓] กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, องค์ความรู้การรักษาไข้ตามแนวทางในคัมภีร์ตักศิลา, เว็บไซต์กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
https://www.dtam.moph.go.th/images/morthai-covid/Thai-Med-fever/morthai-covid-Thai-Med-fever14-Khampi.pdf
[๔] กลุ่มงานวิชาการและคลังความรู้ กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, คำาอธิบายจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร. -- นนทบุรี: 2563. 376 หน้า, พิมพ์ที่ บริษัท เอส. บี. เค. การพิมพ์ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวน ๑๐๐ เล่ม, วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๓, หน้า ๓
https://tpd.dtam.moph.go.th/images/ak/ebook/watrattemple/Book-19-Book_mark-2.pdf
[๕] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๑๙-๑๒๕
[๖] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรม หายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, ๑,๐๒๕ หน้า องค์การค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๔, จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม, ISBN: ๙๗๘-๙๗๔-๐๑-๙๗๔๒-๓, หน้า ๗๐๒
[๗] ขุนนิทเทศสุขกิจ (นิทเทศ (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี, อายุรเวทศึกษา (วิชาแพทย์แผนโบราณ) พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๖๑, หน้า ๓๘๑
[๘] ตำรายาศึลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ จัดทำโดยร.ร.แพทย์แผนโบราณ พุทธศักราช ๒๕๑๖, หน้า ๖๒-๖๔