ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen data sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
นับจากการปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๐ มีการปล้นพระราชทรัพย์และศึกชิงพระคลังข้างที่โดยผู้ก่อการ คณะราษฎร ด้วยการนำที่ดินพระคลังข้างที่ออกมาขายผ่อนให้พรรคพวกในหมู่ผู้ก่อการเป็นจำนวนมาก หลายคนไม่ยอมผ่อนถือโอกาสชักดาบและพยายามที่จะครองปรปักษ์ นอกจากนี้ยังมีการผ่องถ่ายเงินพระคลังข้างที่มาลงทุนก่อตั้งธนาคารเพื่อเป็นทุนสำหรับคณะราษฎร โดยเฉพาะในสายของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และมีขุนนิรันดรชัยเป็นมือขวาของจอมพลแปลกเข้าไปเป็นผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์และต่อมาราชเลขานุการในพระองค์
สาเหตุที่ผ่องถ่ายและปล้นพระราชทรัพย์โดยผู้ก่อการคณะราษฎรได้เป็นจำนวนมากเพราะพระคลังข้างที่ยังมีสถานะไม่ชัดเจน ไม่มีกฎหมายรองรับ ในขณะที่กระทรวงวังถูกลดฐานะเปลี่ยนแปลงไปมาอีกหลายรอบจนระส่ำระส่ายและมีการลดบทบาทความสำคัญลดลงไปมาก ทำให้พระคลังข้างที่ย่อมได้รับผลกระทบกระเทือนไปด้วย โปรดอ่านได้จากบทความกว่าจะเป็นหน่วยราชการในพระองค์: ประวัติอันระหกระเหินของสำนักพระราชวังและสำนักงานองคมนตรี https://mgronline.com/daily/detail/9640000092793
จนท้ายที่สุดมีการยื่นกระทู้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรต่อรัฐบาลที่มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีถึงประเด็นการขายที่ดินพระคลังข้างที่ในราคาถูกด้วยผ่อนให้กับผู้ก่อการคณะราษฎรเป็นจำนวนมาก ผู้ดำเนินการอภิปรายคือนายไต๋ ปาณิกบุตร และนายเลียง ไชยกาล
และท้ายที่สุดอาจจะมีส่วนสร้างความกดดันให้คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการยิงพระแสงปืนเข้าในพระโอษฐ์ สิ้นพระชนม์บนที่บรรทมเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระองค์ถัดไปคือพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา ถูกผูกอภิปรายโดยนายเลียง ไชยกาลว่าพระคลังข้างที่ซื้อที่ดินจากพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภาในราคาแพงกว่าราคาตลาดมาก ทำให้ต้องทรงลาออกจากตำแหน่งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ผลของการอภิปรายทำให้นายกรัฐมนตรีคือพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายได้สอบสวนตามความชอบธรรมและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็ขอลาออกด้วยและน่าจะเป็นแรงผลักดันให้รัฐบาลต้องตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ๒๔๗๙ ให้เกิดความชัดเจน
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ดังกล่าวคือ
ประการแรก มีการแบ่งประเภททรัพย์สินออกเป็นสามหมวดคือ
หนึ่ง ทรัพย์สินส่วนพระองค์ อันเป็นสิทธิส่วนพระองค์ตั้งแต่ก่อนครองราชสมบัติ ในที่นี้คือทรัพย์สินของราชสกุลมหิดล ซึ่งสืบทอดมาจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สอง ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หมายความถึงทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง
สาม ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หมายถึงทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว (มาตรา ๔)
ประการที่สอง มีการมอบหมายให้สำนักพระราชวังดูแลทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในส่วนของเครื่องอุปโภคบริโภค
และมอบหมายให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เหลือทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของ
กระทรวงการคลัง มีคณะกรรมการชุดหนึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และมีกรรมการอีก ๔ นายซึ่งได้จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุมัติ (มาตรา ๕)
ประการที่สาม รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้นำทูลเกล้าถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในฐานะองค์พระประมุข (มาตรา ๖)
ประการที่สี่ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็โดยพระบรมราชานุมัติเท่านั้น เพื่อสาธารณประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (มาตรา ๗)
ประการที่ห้า ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องเสียภาษี ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินยกเว้นภาษี
ในปี ๒๔๘๔ มีการตราแก้ไขพ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ โดยมีการแก้ไขเพียงมาตราเดียวคือมาตรา ๕ ที่เพิ่มจำนวนกรรมการ แก้ไขให้เป็นอย่างน้อย ๔ ราย
การตราและการแก้ไข พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๙ นั้นเป็นผลมาจากการที่เกิดการปล้นพระราชทรัพย์และศึกชิงพระคลังข้างที่อันฉาวโฉ่มีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร จนรัฐบาลต้องลาออก และมีการอัตวินิบาตกรรมของประธานคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์และการลาออกจากตำแหน่งของประธานคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์-พระองค์ใหม่เพราะมีข่าวว่าพระคลังข้างที่ได้ซื้อที่ของประธานคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์ในราคาสูงมาก ทำให้เห็นว่าหากไม่มีการดูแลทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยรอบคอบรัดกุมตามระเบียบราชการและต้องมีกฎหมายรองรับอย่างถูกต้องแล้วจะเกิดการรั่วไหลหรือการยักยอกทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปมากกว่านี้อีก
พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๙ และฉบับแก้ไข พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้ใช้ต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๑๕ ปี จนกระทั่งเกิดคณะทหารแห่งชาติ นำโดยหัวหน้าคณะจอมพล ผิน ชุณหะวัณ ผู้นำรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยมีพันตรีควง อภัยวงศ์จากพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี พันตรีควง อภัยวงศ์มีทัศนคติที่รักษาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์แม้จะเคยเป็นส่วนหนึ่งของผู้ก่อการคณะราษฎรก็ตามและได้ผลักดันให้เกิด พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งใช้มาตลอดจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นอกจากนี้ยังมีการรื้อฟื้นคณะองคมนตรีขึ้นมาใหม่ และคณะราษฎรค่อยหมดอำนาจไปอย่างสมบูรณ์เมื่อเกิดการรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen data sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
นับจากการปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๐ มีการปล้นพระราชทรัพย์และศึกชิงพระคลังข้างที่โดยผู้ก่อการ คณะราษฎร ด้วยการนำที่ดินพระคลังข้างที่ออกมาขายผ่อนให้พรรคพวกในหมู่ผู้ก่อการเป็นจำนวนมาก หลายคนไม่ยอมผ่อนถือโอกาสชักดาบและพยายามที่จะครองปรปักษ์ นอกจากนี้ยังมีการผ่องถ่ายเงินพระคลังข้างที่มาลงทุนก่อตั้งธนาคารเพื่อเป็นทุนสำหรับคณะราษฎร โดยเฉพาะในสายของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และมีขุนนิรันดรชัยเป็นมือขวาของจอมพลแปลกเข้าไปเป็นผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์และต่อมาราชเลขานุการในพระองค์
สาเหตุที่ผ่องถ่ายและปล้นพระราชทรัพย์โดยผู้ก่อการคณะราษฎรได้เป็นจำนวนมากเพราะพระคลังข้างที่ยังมีสถานะไม่ชัดเจน ไม่มีกฎหมายรองรับ ในขณะที่กระทรวงวังถูกลดฐานะเปลี่ยนแปลงไปมาอีกหลายรอบจนระส่ำระส่ายและมีการลดบทบาทความสำคัญลดลงไปมาก ทำให้พระคลังข้างที่ย่อมได้รับผลกระทบกระเทือนไปด้วย โปรดอ่านได้จากบทความกว่าจะเป็นหน่วยราชการในพระองค์: ประวัติอันระหกระเหินของสำนักพระราชวังและสำนักงานองคมนตรี https://mgronline.com/daily/detail/9640000092793
จนท้ายที่สุดมีการยื่นกระทู้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรต่อรัฐบาลที่มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีถึงประเด็นการขายที่ดินพระคลังข้างที่ในราคาถูกด้วยผ่อนให้กับผู้ก่อการคณะราษฎรเป็นจำนวนมาก ผู้ดำเนินการอภิปรายคือนายไต๋ ปาณิกบุตร และนายเลียง ไชยกาล
และท้ายที่สุดอาจจะมีส่วนสร้างความกดดันให้คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการยิงพระแสงปืนเข้าในพระโอษฐ์ สิ้นพระชนม์บนที่บรรทมเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระองค์ถัดไปคือพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา ถูกผูกอภิปรายโดยนายเลียง ไชยกาลว่าพระคลังข้างที่ซื้อที่ดินจากพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภาในราคาแพงกว่าราคาตลาดมาก ทำให้ต้องทรงลาออกจากตำแหน่งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ผลของการอภิปรายทำให้นายกรัฐมนตรีคือพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายได้สอบสวนตามความชอบธรรมและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็ขอลาออกด้วยและน่าจะเป็นแรงผลักดันให้รัฐบาลต้องตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ๒๔๗๙ ให้เกิดความชัดเจน
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ดังกล่าวคือ
ประการแรก มีการแบ่งประเภททรัพย์สินออกเป็นสามหมวดคือ
หนึ่ง ทรัพย์สินส่วนพระองค์ อันเป็นสิทธิส่วนพระองค์ตั้งแต่ก่อนครองราชสมบัติ ในที่นี้คือทรัพย์สินของราชสกุลมหิดล ซึ่งสืบทอดมาจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สอง ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หมายความถึงทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง
สาม ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หมายถึงทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว (มาตรา ๔)
ประการที่สอง มีการมอบหมายให้สำนักพระราชวังดูแลทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในส่วนของเครื่องอุปโภคบริโภค
และมอบหมายให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เหลือทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของ
กระทรวงการคลัง มีคณะกรรมการชุดหนึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และมีกรรมการอีก ๔ นายซึ่งได้จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุมัติ (มาตรา ๕)
ประการที่สาม รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้นำทูลเกล้าถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในฐานะองค์พระประมุข (มาตรา ๖)
ประการที่สี่ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็โดยพระบรมราชานุมัติเท่านั้น เพื่อสาธารณประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (มาตรา ๗)
ประการที่ห้า ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องเสียภาษี ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินยกเว้นภาษี
ในปี ๒๔๘๔ มีการตราแก้ไขพ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ โดยมีการแก้ไขเพียงมาตราเดียวคือมาตรา ๕ ที่เพิ่มจำนวนกรรมการ แก้ไขให้เป็นอย่างน้อย ๔ ราย
การตราและการแก้ไข พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๙ นั้นเป็นผลมาจากการที่เกิดการปล้นพระราชทรัพย์และศึกชิงพระคลังข้างที่อันฉาวโฉ่มีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร จนรัฐบาลต้องลาออก และมีการอัตวินิบาตกรรมของประธานคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์และการลาออกจากตำแหน่งของประธานคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์-พระองค์ใหม่เพราะมีข่าวว่าพระคลังข้างที่ได้ซื้อที่ของประธานคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์ในราคาสูงมาก ทำให้เห็นว่าหากไม่มีการดูแลทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยรอบคอบรัดกุมตามระเบียบราชการและต้องมีกฎหมายรองรับอย่างถูกต้องแล้วจะเกิดการรั่วไหลหรือการยักยอกทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปมากกว่านี้อีก
พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๙ และฉบับแก้ไข พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้ใช้ต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๑๕ ปี จนกระทั่งเกิดคณะทหารแห่งชาติ นำโดยหัวหน้าคณะจอมพล ผิน ชุณหะวัณ ผู้นำรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยมีพันตรีควง อภัยวงศ์จากพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี พันตรีควง อภัยวงศ์มีทัศนคติที่รักษาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์แม้จะเคยเป็นส่วนหนึ่งของผู้ก่อการคณะราษฎรก็ตามและได้ผลักดันให้เกิด พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งใช้มาตลอดจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นอกจากนี้ยังมีการรื้อฟื้นคณะองคมนตรีขึ้นมาใหม่ และคณะราษฎรค่อยหมดอำนาจไปอย่างสมบูรณ์เมื่อเกิดการรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐