ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ
คณะสถิติประยุกต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หน่วยราชการในพระองค์นั้นตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัวประกอบด้วย 3 หน่วยงานคือ หนึ่ง สำนักพระราชวัง สอง สำนักงานองคมนตรี และสาม หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
การก่อตั้งหน่วยราชการในพระองค์นั้นเป็นไปตามมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ที่บัญญัติไว้ว่า
การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตําแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา
ทำให้มีการตรากฎหมายอีกหลายฉบับเกี่ยวกับหน่วยราชการในพระองค์ คือ
หนึ่ง พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
สอง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
สาม พระราชบัญญัติการถวายความปลอดภัย พ.ศ. 2560
และ สี่ พระราชกำหนด โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562
ในบทความนี้จะเล่าถึงประวัติความเป็นอันอันระหกระเหินของสำนักพระราชวังและสำนักงานองคมนตรี สองหน่วยราชการในพระองค์
ที่ต้องใช้คำว่าระหกระเหินนั้น ก็เพราะว่าหน่วยราชการในพระองค์ เคยถูกยุบ ลดระดับ ลดขนาดองค์การ โอนไปให้สังกัดในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี โอนหน่วยงานที่เคยสังกัดออกไปให้เหลือน้อยที่สุด แยกหน่วยงานออกจากกันให้มีลักษณะที่แตกแยกเป็นส่วน ๆ (Fragmented) เพื่อให้มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 8 จนถึงต้นรัชกาลที่ 9 มีความพยายามลิดรอนพระราชอำนาจ ด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนพยายามไม่ให้สถาบันทรงมีพระราชกรณียกิจใด ๆ เพื่อไม่ให้ได้รับความนิยมจากประชาชน ประวัติอันระหกระเหินเหล่านี้เห็นได้ชัดเจน และมีข้อที่น่าตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการ
ประวัติความเป็นมาของสำนักพระราชวัง
ประวัติสำนักพระราชวังโดยละเอียดนั้นเขียนโดยหม่อมราชวงศ์แสงสูรย์ ลดาวัลย์ ซึ่งเป็นบุตรหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ และเป็นน้องชายต่างมารดาของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 คุณชายแสงสูรย์เริ่มเข้ารับราชการในกระทรวงวัง จนเกษียณอายุราชการ แล้วได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักพระราชวัง จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ.2536
หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ โดยสำนักพระราชวังดังภาพปกด้านล่างนี้ ขอให้สังเกตว่าตราสำนักพระราชวังเป็นพระมหามงกุฎ ภายใต้พระมหามงกุฎ มีตราอุณาโลม อันเป็นตราประจำพระบรมราชจักรีวงศ์ ในขณะเดียวกันก็มองเห็นเป็นเลขเก้าไทยได้เช่นกัน จึงเป็นตราของสำนักพระราชวังในสมัยรัชกาลที่ 9
จากประวัติสำนักพระราชวังโดยละเอียดสามารถวาดไทม์ไลน์หรือแผนภาพเส้นเวลาได้ดังรูปด้านล่าง
ประเทศไทยเราเดิมแบ่งส่วนราชการในรูปแบบของจตุสดมภ์ 4 อันมีมาแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยานับแต่แต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง โดยแบ่งเป็น เวียง วัง คลัง นา สำหรับกรมวังทำหน้าที่ดูแลพระมหากษัตริย์และกิจการในพระราชสำนักและพิพากษาคดีให้ราษฎร (เดิมกรมวังทำหน้าที่ตุลาการด้วย)
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปรูปแบบการปกครอง ได้ทรงเปลี่ยนชื่อ กรมวัง เป็น กรมธรรมาธิกรณ์ คำว่าธรรมาธิกรณ์ นี้มาจาก ธรรม+อธิกรณ์ อธิกรณ์นั้นแปลว่าระงับคดี ตัดสินคดีความต่าง ๆ ด้วยธรรม แต่กรมธรรมาธิกรณ์นี้ทำหน้าที่ธุรการและทำหน้าที่ดูแลงานในพระราชสำนักด้วย
คำนี้ยังตกทอดมาถึงจนปัจจุบันที่วงการสงฆ์ที่ต้องมีการชำระอธิกรณ์ พระที่ถูกกล่าวหาก็เรียกว่าต้องอธิกรณ์ และธรรมเนียมการถวายฎีกาให้พระเจ้าแผ่นดินพิจารณาทั้งโดยตรงและโดยผ่านสำนักพระราชวังก็คงเป็นธรรมเนียมสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้เช่นกัน ตำแหน่งเสนาบดีของกรมวังเนื่องจากต้องพิพากษาคดีจึงได้แก่ พระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เป็นต้น
กรมวังหรือกรมธรรมาธิกรณ์แต่งตั้งยกกระบัตรไปดูแลหัวเมืองต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเคยรับราชการในกรมวัง เป็นยกกระบัตรเมืองราชบุรี ทำหน้าที่ชำระคดีต่าง ๆ ในแต่ละเมืองต่างพระเนตรพระกรรณ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ จากจตุสดมภ์ ให้เป็นกระทรวง และกรมวัง ได้เปลี่ยนฐานะเป็นกระทรวงวัง แต่ทรงโปรดให้โอนงานที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีไปขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งหมดแทน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อน 2475 ได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้โอนกรมธรรมการ กรมสังฆการี กรมราชบัณฑิต กรมกัลปนา และกรมศิลปากร ไปสังกัดกระทรวงธรรมการ หรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน
ข้อนี้ขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโอนงานของกระทรวงวังออกไปสู่กระทรวงใหม่ที่มีพันธกิจเฉพาะ และมีความชำนาญโดยตรง อันได้แก่การพิพากษาชำระคดีไปยังกระทรวงยุติธรรม งานด้านกิจการสงฆ์ ศิลปากร และราชบัณฑิตไปยังกระทรวงธรรมการ ด้วยพระองค์เอง
แต่ส่วนหนึ่งในรัชกาลที่ 7 การโอนหน่วยงานออกไปจากกระทรวงวังในช่วงก่อนปี 2475 น่าจะเกิดจากความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (The great depression) ทำให้ต้องมีการลดค่าใช้จ่ายในกระทรวงวังลงให้มากที่สุด
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 จึงเปลี่ยนกระทรวงวังเป็นศาลาว่าการพระราชวังและเปลี่ยนจากเสนาบดีกระทรวงวังเป็นผู้สำเร็จราชการพระราชวัง
แต่พอปี 2476 ก็มีการเปลี่ยนศาลาว่าการพระราชวังกลับมาเป็นกระทรวงวังดังเดิมและเปลี่ยนตำแหน่งผู้สำเร็จราชการพระราชวังไปสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง
ครั้นปี 2478 ก่อนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปรักษาพระเนตรที่อังกฤษ และสละราชสมบัติในภายหลัง ได้มีการยุบกระทรวงวังลงเป็นหน่วยงานระดับกรมในชื่อของสำนักพระราชวัง ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478 และให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีโดยตรง (จอมพลแปลก พิบูลสงคราม) โดยมีหัวหน้าหน่วยงานคือเลขาธิการพระราชวัง
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นการพยายามลิดรอนพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน กระจายแยกงานของกระทรวงวังให้เป็นการกระจายอำนาจมากที่สุด ไม่ให้พระเจ้าแผ่นดินใช้พระราชอำนาจได้ ลดความสำคัญจากหน่วยงานใหญ่ระดับกระทรวงและเคยเป็นถึงหนึ่งในจตุสดมภ์ 4 ลงมาเป็นกรมเล็กๆ ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ทำให้นายกรัฐมนตรีควบคุมบังคับบัญชาราชการส่วนพระองค์ได้สะดวกขึ้น
นอกจากนี้ยังโอนกรมทหารรักษาวังไปสังกัดกระทรวงกลาโหม (อันได้แก่ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กองพันทหารราบที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นต้น เพื่อมิให้พระเจ้าแผ่นดินมีอำนาจทางการทหารใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการลดทอนพระราชอำนาจขององค์จอมทัพไทย ของหลวงพิบูลสงครามเพื่อไม่ให้พระมหากษัตริย์สามารถควบคุมทหารหรือมีทหารได้อีกต่อไป อันอาจจะเป็นผลพวงของกบฏบวรเดชในปี 2476 ก็เป็นได้
โอนกรมราชเลขานุการในพระองค์ไปเป็นทบวงการเมืองอิสระในชื่อสำนักราชเลขานุการในพระองค์ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ดังนั้นเรื่องที่เป็นราชการแผ่นดินทั้งหมดจึงโยกไปอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ต่อมาเปลี่ยนนามเป็น "สำนักราชเลขาธิการ" ในรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9
นอกจากนี้ยังโอนงานกรมวังนอก งานนาฎศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทั้งหมดไปกระทรวงธรรมการ
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงวังเปลี่ยนโครงสร้าง ฐานะ ระหกระเหิน เปลี่ยนแปลงไปมาตลอดเวลาจนกลายเป็นหน่วยงานเล็กระดับกรมในชื่อสำนักพระราชวัง
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คณะราษฎร ได้พยายามทำลายอำนาจของกระทรวงวัง ลดความสำคัญลง และทำให้หน่วยงานต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับงานในพระองค์ที่เดิมเคยอยู่ในกระทรวงวัง ให้แบ่งแยก และกระจายลงไปตามกระทรวงอื่นๆ ให้มากที่สุด เพื่อลดอำนาจของกระทรวงวังลงดังนี้
การลดทอนพระราชอำนาจของคณะราษฎร ทำให้การที่แม้แต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันมหิดล สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อเสด็จนิวัติพระนครใหม่ๆ หากจะเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใดก็ตาม ต้องขออนุญาตใช้รถยนต์พระที่นั่งของสำนักพระราชวังจากจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของสำนักพระราชวัง
ในตอนต้นรัชกาลที่ 9 แม้กระทั่งงานพระเมรุมาศ พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทั้งยังทรงเป็นพระมาตุจฉา (ป้า) ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็ได้รับการปฏิเสธจากสำนักพระราชวังและนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (จอมพลแปลก พิบูลสงคราม) ว่าไม่มีเงินสำหรับการจัดการพระราชทานเพลิงพระศพและพระเมรุมาศกลางสนามหลวง
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (ย่าของในหลวงรัชกาลที่ 9) ต้องทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดงานพระเมรุมาศให้พระราชธิดาด้วยพระองค์เอง เพราะรัฐบาลและสำนักพระราชวังไม่จัดงานพระศพและงานพระเมรุมาศถวายแต่อย่างใด นับว่าเป็นการออกพระเมรุมาศที่อนาถ ไม่เรียบร้อย และน่าเศร้ามากที่สุดครั้งหนึ่ง
หลังจากต้นรัชกาลที่ 9 ได้ทรงงานอย่างหนัก จนทรงมีพระราชบารมีเปี่ยมล้น และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รัฐประหารจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ลงจากอำนาจ ทำให้รัฐบาลเริ่มสนองพระราชดำริ และให้สำนักพระราชวังถวายงานพระเจ้าอยู่หัวได้ราบรื่นมากขึ้น ทั้งยังมีการปรับโครงสร้างสำนักพระราชวัง มาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง อันได้แก่
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักพระราชวัง พ.ศ. 2541 https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/34065
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักพระราชวัง พ.ศ. 2547
https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/273554
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักพระราชวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/273554 เป็นต้น
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 ซึ่งมาตรา 15(2) กำหนดให้มีหน่วยราชการในพระองค์โดยการตราพระราชกฤษฎีกา
โดยพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ 2560
โอนและยกระดับสำนักพระราชวังเทียบเท่ากระทรวง มีราชเลขานุการในพระองค์เป็นหัวหน้าหน่วยงาน และให้โอนสำนักราชเลขาธิการมาเป็นกรมราชเลขานุการในพระองค์ในสำนักพระราชวัง เปลี่ยนจากตำแหน่งราชเลขาธิการเป็นอธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์
ในปัจจุบันสำนักพระราชวังมีหน่วยงานในสังกัดเจ็ดกรมคือ หนึ่ง กรมบังคับการสำนักพระราชวัง สอง กรมราชเลขานุการในพระองค์ สาม กรมกิจการในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี สี่ กรมกิจการในพระบรมวงศานุวงศ์ ห้า กรมมหาดเล็ก หก กรมสนับสนุน และเจ็ด กรมกิจการพิเศษ
ประวัติความเป็นมาของสำนักงานองคมนตรี
สำนักงานองคมนตรี เป็นหน่วยงานที่มีประวัติความเป็นมาและพัฒนาการอันยาวนาน สามารถนำมาวาดรูปเป็นแผนภาพเส้นเวลาดังแสดงด้านล่างนี้
เริ่มตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏตำแหน่งที่เรียกว่า “เคลิกออฟเคาน์ซิลลอร์” ในพระราชบัญญัติ ปรีวีเคาน์ซิลคือที่ปฤกษาในพระองค์ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 1 วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 10 ค่ำ ปีจอฉศก จุลศักราช 1236 มีหน้าที่ในการจดรายชื่อจำนวนที่ปฤกษาราชการในพระองค์ การรับแจ้งกรณีที่ปฤกษาราชการในพระองค์จะเดินทางออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน และ การร่างจดหมายเชิญประชุมที่ปฤกษาราชการในพระองค์
ต่อมาใน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตรา “พระราชบัญญัติองคมนตรี” ขึ้นแทน “พระราชบัญญัติ ปรีวีเคาน์ซิลคือที่ปฤกษา ในพระองค์” ซึ่งในมาตรา 10 ได้บัญญัติถึงตำแหน่ง “เลขาธิการองคมนตรี” ไว้ว่า “พระเจ้าแผ่นดินจะได้ทรงตั้งข้าราชการในกรมราชเลขาธิการคนหนึ่งขึ้นไว้ในตำแหน่งเลขาธิการองคมนตรีเป็นเจ้าพนักงานประจำ มีหน้าที่เป็นผู้รักษาทะเบียนองคมนตรีและเป็นเลขาธิการของที่ประชุมสภากรรมการองคมนตรี” และมี “กองเลขาธิการองคมนตรี” เป็นส่วนราชการระดับกองในกรมราชเลขาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับองคมนตรีในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ได้มีการตราประกาศยกเลิก พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470 ส่งผลให้ตำแหน่งองคมนตรีถูกยุบเลิกไป และมีผลต่อการยุบเลิกข้าราชการ ในกองเลขาธิการองคมนตรีไปด้วย
ตำแหน่งองคมนตรีถูกยุบและยกเลิกไป ราว 15 ปีจนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2490 ฉบับชั่วคราว ได้มีการรื้อฟื้นตำแหน่งองคมนตรีขึ้นในรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ยังไม่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก) มีการประกาศใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492” ซึ่งในมาตรา 13 ได้บัญญัติถึงคณะองคมนตรีและหน้าที่ขององคมนตรี ความว่า
“พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอีกไม่มากกว่าแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้”
ต้องถือเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกที่บัญญัติถึงคณะองคมนตรีและหน้าที่ของคณะองคมนตรี จากนั้นได้มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ “หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล” ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะองคมนตรี ควบคู่กับตำแหน่งราชเลขาธิการ
“ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 297” ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 ธันวาคม 2515 ซึ่งให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักราชเลขาธิการ พ.ศ. 2506 และให้แบ่งส่วนราชการสำนักราชเลขาธิการออกเป็น 6 กอง โดยมี “สำนักเลขาธิการองคมนตรี” เป็นส่วนราชการระดับกองเพิ่มขึ้นมาจากเดิม และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรี” นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักราชเลขาธิการ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา
เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 จึงมีการยกระดับฐานะของสำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรี ในฐานะกองหนึ่งในสำนักราชเลขาธิการขึ้นมาเป็น “สำนักงานองคมนตรี” อันเป็นส่วนราชการในพระองค์หน่วยหนึ่งในทั้งหมด ๓ หน่วยราชการในพระองค์ โดยมีหน่วยงานย่อยสองหน่วยงานคือ สำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรี และกองนิติการ มีหน้าที่สนับสนุนภารกิจขององคมนตรีในการปฏิบัติหน้าที่ถวายพระมหากษัตริย์และการอื่นตามพระราชอัธยาศัย โดยมีเลขาธิการองคมนตรีซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการปฏิบัติราชการ
ทำเนียบองคมนตรีเป็นที่ตั้งของสำนักงานองคมนตรี ก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 9 ในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์
จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของหน่วยราชการในพระองค์ 2 หน่วยงานคือสำนักพระราชวังและสำนักงานองคมนตรีมีข้อค้นพบดังนี้
หนึ่ง สำนักพระราชวังเคยเป็นหนึ่งในสี่จตุสดมภ์ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมากและมีภารกิจหน้าที่กว้างขวางทั้งกิจการในพระราชสำนักตลอดจนการพิพากษาคดีและกระบวนการยุติธรรม
และแม้หลังการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังเกิดวิกฤตการณ์รศ. 112 กระทรวงวังก็ยังเป็นกระทรวงสำคัญ 1 ใน 12 กระทรวง
สอง สำนักงานองคมนตรีไม่ได้เป็นหน่วยงานขนาดใหญ่แต่อย่างใด ทำหน้าที่เป็นสำนักงานขนาดเล็กหรือทำหน้าที่เลขานุการของคณะองคมนตรี
ในสมัยรัชกาลที่ 9 สํานักงานองคมนตรีมีฐานะเป็นกองในสำนักราชเลขาธิการ
จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 10 ยกระดับฐานะจากกองในสำนักราชเลขาธิการ มาเป็นสำนักงานองคมนตรีขึ้นมาเป็น 1 ใน 3 ของหน่วยราชการในพระองค์ ถึงแม้จะยกระดับขึ้นมาเป็น 1 ใน 3 ของหน่วยราชการในพระองค์ก็ตาม ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นหน่วยงานที่มีขนาดเล็กที่สุดของหน่วยราชการในพระองค์ โดยมีจำนวนข้าราชการในพระองค์เพียงประมาณร้อยกว่าคน
สาม ทั้งสำนักพระราชวังและสำนักงานองคมนตรีมีประวัติความเป็นมาอันระหกระเหินโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งประสบปัญหาทั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกหรือ Great depression และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475
ทั้งนี้มีความพยายามจะลิดรอนพระราชอำนาจโดยพยายามโยกย้าย โอนออก ยุบ ลดฐานะ ลดขนาดของหน่วยราชการในพระองค์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 7 รัชกาลที่ 8 และต้นรัชกาลที่ 9
กระทรวงวังถูกยุบและลดขนาดลงไปเป็นหน่วยงานระดับกรมอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีเรียกว่าสำนักพระราชวัง ในขณะที่กรมราชเลขานุการในพระองค์ก็ถูกโยกไปอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน ส่วนตำแหน่งองคมนตรีและงานธุรการที่เกี่ยวข้องกับองคมนตรีทั้งหมดถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2475 นานเป็นเวลา 15 ปีจึงได้กลับมาฟื้นฟูตำแหน่งองคมนตรีในราวปี 2490 และมีการจัดตั้งสํานักงานเลขาธิการองคมนตรีขึ้นมาในสำนักราชเลขาธิการในภายหลัง
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ
คณะสถิติประยุกต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หน่วยราชการในพระองค์นั้นตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัวประกอบด้วย 3 หน่วยงานคือ หนึ่ง สำนักพระราชวัง สอง สำนักงานองคมนตรี และสาม หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
การก่อตั้งหน่วยราชการในพระองค์นั้นเป็นไปตามมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ที่บัญญัติไว้ว่า
การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตําแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา
ทำให้มีการตรากฎหมายอีกหลายฉบับเกี่ยวกับหน่วยราชการในพระองค์ คือ
หนึ่ง พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
สอง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
สาม พระราชบัญญัติการถวายความปลอดภัย พ.ศ. 2560
และ สี่ พระราชกำหนด โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562
ในบทความนี้จะเล่าถึงประวัติความเป็นอันอันระหกระเหินของสำนักพระราชวังและสำนักงานองคมนตรี สองหน่วยราชการในพระองค์
ที่ต้องใช้คำว่าระหกระเหินนั้น ก็เพราะว่าหน่วยราชการในพระองค์ เคยถูกยุบ ลดระดับ ลดขนาดองค์การ โอนไปให้สังกัดในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี โอนหน่วยงานที่เคยสังกัดออกไปให้เหลือน้อยที่สุด แยกหน่วยงานออกจากกันให้มีลักษณะที่แตกแยกเป็นส่วน ๆ (Fragmented) เพื่อให้มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 8 จนถึงต้นรัชกาลที่ 9 มีความพยายามลิดรอนพระราชอำนาจ ด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนพยายามไม่ให้สถาบันทรงมีพระราชกรณียกิจใด ๆ เพื่อไม่ให้ได้รับความนิยมจากประชาชน ประวัติอันระหกระเหินเหล่านี้เห็นได้ชัดเจน และมีข้อที่น่าตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการ
ประวัติความเป็นมาของสำนักพระราชวัง
ประวัติสำนักพระราชวังโดยละเอียดนั้นเขียนโดยหม่อมราชวงศ์แสงสูรย์ ลดาวัลย์ ซึ่งเป็นบุตรหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ และเป็นน้องชายต่างมารดาของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 คุณชายแสงสูรย์เริ่มเข้ารับราชการในกระทรวงวัง จนเกษียณอายุราชการ แล้วได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักพระราชวัง จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ.2536
หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ โดยสำนักพระราชวังดังภาพปกด้านล่างนี้ ขอให้สังเกตว่าตราสำนักพระราชวังเป็นพระมหามงกุฎ ภายใต้พระมหามงกุฎ มีตราอุณาโลม อันเป็นตราประจำพระบรมราชจักรีวงศ์ ในขณะเดียวกันก็มองเห็นเป็นเลขเก้าไทยได้เช่นกัน จึงเป็นตราของสำนักพระราชวังในสมัยรัชกาลที่ 9
จากประวัติสำนักพระราชวังโดยละเอียดสามารถวาดไทม์ไลน์หรือแผนภาพเส้นเวลาได้ดังรูปด้านล่าง
ประเทศไทยเราเดิมแบ่งส่วนราชการในรูปแบบของจตุสดมภ์ 4 อันมีมาแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยานับแต่แต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง โดยแบ่งเป็น เวียง วัง คลัง นา สำหรับกรมวังทำหน้าที่ดูแลพระมหากษัตริย์และกิจการในพระราชสำนักและพิพากษาคดีให้ราษฎร (เดิมกรมวังทำหน้าที่ตุลาการด้วย)
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปรูปแบบการปกครอง ได้ทรงเปลี่ยนชื่อ กรมวัง เป็น กรมธรรมาธิกรณ์ คำว่าธรรมาธิกรณ์ นี้มาจาก ธรรม+อธิกรณ์ อธิกรณ์นั้นแปลว่าระงับคดี ตัดสินคดีความต่าง ๆ ด้วยธรรม แต่กรมธรรมาธิกรณ์นี้ทำหน้าที่ธุรการและทำหน้าที่ดูแลงานในพระราชสำนักด้วย
คำนี้ยังตกทอดมาถึงจนปัจจุบันที่วงการสงฆ์ที่ต้องมีการชำระอธิกรณ์ พระที่ถูกกล่าวหาก็เรียกว่าต้องอธิกรณ์ และธรรมเนียมการถวายฎีกาให้พระเจ้าแผ่นดินพิจารณาทั้งโดยตรงและโดยผ่านสำนักพระราชวังก็คงเป็นธรรมเนียมสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้เช่นกัน ตำแหน่งเสนาบดีของกรมวังเนื่องจากต้องพิพากษาคดีจึงได้แก่ พระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เป็นต้น
กรมวังหรือกรมธรรมาธิกรณ์แต่งตั้งยกกระบัตรไปดูแลหัวเมืองต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเคยรับราชการในกรมวัง เป็นยกกระบัตรเมืองราชบุรี ทำหน้าที่ชำระคดีต่าง ๆ ในแต่ละเมืองต่างพระเนตรพระกรรณ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ จากจตุสดมภ์ ให้เป็นกระทรวง และกรมวัง ได้เปลี่ยนฐานะเป็นกระทรวงวัง แต่ทรงโปรดให้โอนงานที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีไปขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งหมดแทน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อน 2475 ได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้โอนกรมธรรมการ กรมสังฆการี กรมราชบัณฑิต กรมกัลปนา และกรมศิลปากร ไปสังกัดกระทรวงธรรมการ หรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน
ข้อนี้ขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโอนงานของกระทรวงวังออกไปสู่กระทรวงใหม่ที่มีพันธกิจเฉพาะ และมีความชำนาญโดยตรง อันได้แก่การพิพากษาชำระคดีไปยังกระทรวงยุติธรรม งานด้านกิจการสงฆ์ ศิลปากร และราชบัณฑิตไปยังกระทรวงธรรมการ ด้วยพระองค์เอง
แต่ส่วนหนึ่งในรัชกาลที่ 7 การโอนหน่วยงานออกไปจากกระทรวงวังในช่วงก่อนปี 2475 น่าจะเกิดจากความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (The great depression) ทำให้ต้องมีการลดค่าใช้จ่ายในกระทรวงวังลงให้มากที่สุด
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 จึงเปลี่ยนกระทรวงวังเป็นศาลาว่าการพระราชวังและเปลี่ยนจากเสนาบดีกระทรวงวังเป็นผู้สำเร็จราชการพระราชวัง
แต่พอปี 2476 ก็มีการเปลี่ยนศาลาว่าการพระราชวังกลับมาเป็นกระทรวงวังดังเดิมและเปลี่ยนตำแหน่งผู้สำเร็จราชการพระราชวังไปสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง
ครั้นปี 2478 ก่อนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปรักษาพระเนตรที่อังกฤษ และสละราชสมบัติในภายหลัง ได้มีการยุบกระทรวงวังลงเป็นหน่วยงานระดับกรมในชื่อของสำนักพระราชวัง ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478 และให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีโดยตรง (จอมพลแปลก พิบูลสงคราม) โดยมีหัวหน้าหน่วยงานคือเลขาธิการพระราชวัง
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นการพยายามลิดรอนพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน กระจายแยกงานของกระทรวงวังให้เป็นการกระจายอำนาจมากที่สุด ไม่ให้พระเจ้าแผ่นดินใช้พระราชอำนาจได้ ลดความสำคัญจากหน่วยงานใหญ่ระดับกระทรวงและเคยเป็นถึงหนึ่งในจตุสดมภ์ 4 ลงมาเป็นกรมเล็กๆ ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ทำให้นายกรัฐมนตรีควบคุมบังคับบัญชาราชการส่วนพระองค์ได้สะดวกขึ้น
นอกจากนี้ยังโอนกรมทหารรักษาวังไปสังกัดกระทรวงกลาโหม (อันได้แก่ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กองพันทหารราบที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นต้น เพื่อมิให้พระเจ้าแผ่นดินมีอำนาจทางการทหารใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการลดทอนพระราชอำนาจขององค์จอมทัพไทย ของหลวงพิบูลสงครามเพื่อไม่ให้พระมหากษัตริย์สามารถควบคุมทหารหรือมีทหารได้อีกต่อไป อันอาจจะเป็นผลพวงของกบฏบวรเดชในปี 2476 ก็เป็นได้
โอนกรมราชเลขานุการในพระองค์ไปเป็นทบวงการเมืองอิสระในชื่อสำนักราชเลขานุการในพระองค์ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ดังนั้นเรื่องที่เป็นราชการแผ่นดินทั้งหมดจึงโยกไปอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ต่อมาเปลี่ยนนามเป็น "สำนักราชเลขาธิการ" ในรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9
นอกจากนี้ยังโอนงานกรมวังนอก งานนาฎศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทั้งหมดไปกระทรวงธรรมการ
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงวังเปลี่ยนโครงสร้าง ฐานะ ระหกระเหิน เปลี่ยนแปลงไปมาตลอดเวลาจนกลายเป็นหน่วยงานเล็กระดับกรมในชื่อสำนักพระราชวัง
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คณะราษฎร ได้พยายามทำลายอำนาจของกระทรวงวัง ลดความสำคัญลง และทำให้หน่วยงานต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับงานในพระองค์ที่เดิมเคยอยู่ในกระทรวงวัง ให้แบ่งแยก และกระจายลงไปตามกระทรวงอื่นๆ ให้มากที่สุด เพื่อลดอำนาจของกระทรวงวังลงดังนี้
การลดทอนพระราชอำนาจของคณะราษฎร ทำให้การที่แม้แต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันมหิดล สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อเสด็จนิวัติพระนครใหม่ๆ หากจะเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใดก็ตาม ต้องขออนุญาตใช้รถยนต์พระที่นั่งของสำนักพระราชวังจากจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของสำนักพระราชวัง
ในตอนต้นรัชกาลที่ 9 แม้กระทั่งงานพระเมรุมาศ พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทั้งยังทรงเป็นพระมาตุจฉา (ป้า) ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็ได้รับการปฏิเสธจากสำนักพระราชวังและนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (จอมพลแปลก พิบูลสงคราม) ว่าไม่มีเงินสำหรับการจัดการพระราชทานเพลิงพระศพและพระเมรุมาศกลางสนามหลวง
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (ย่าของในหลวงรัชกาลที่ 9) ต้องทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดงานพระเมรุมาศให้พระราชธิดาด้วยพระองค์เอง เพราะรัฐบาลและสำนักพระราชวังไม่จัดงานพระศพและงานพระเมรุมาศถวายแต่อย่างใด นับว่าเป็นการออกพระเมรุมาศที่อนาถ ไม่เรียบร้อย และน่าเศร้ามากที่สุดครั้งหนึ่ง
หลังจากต้นรัชกาลที่ 9 ได้ทรงงานอย่างหนัก จนทรงมีพระราชบารมีเปี่ยมล้น และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รัฐประหารจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ลงจากอำนาจ ทำให้รัฐบาลเริ่มสนองพระราชดำริ และให้สำนักพระราชวังถวายงานพระเจ้าอยู่หัวได้ราบรื่นมากขึ้น ทั้งยังมีการปรับโครงสร้างสำนักพระราชวัง มาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง อันได้แก่
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักพระราชวัง พ.ศ. 2541 https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/34065
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักพระราชวัง พ.ศ. 2547
https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/273554
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักพระราชวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/273554 เป็นต้น
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 ซึ่งมาตรา 15(2) กำหนดให้มีหน่วยราชการในพระองค์โดยการตราพระราชกฤษฎีกา
โดยพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ 2560
โอนและยกระดับสำนักพระราชวังเทียบเท่ากระทรวง มีราชเลขานุการในพระองค์เป็นหัวหน้าหน่วยงาน และให้โอนสำนักราชเลขาธิการมาเป็นกรมราชเลขานุการในพระองค์ในสำนักพระราชวัง เปลี่ยนจากตำแหน่งราชเลขาธิการเป็นอธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์
ในปัจจุบันสำนักพระราชวังมีหน่วยงานในสังกัดเจ็ดกรมคือ หนึ่ง กรมบังคับการสำนักพระราชวัง สอง กรมราชเลขานุการในพระองค์ สาม กรมกิจการในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี สี่ กรมกิจการในพระบรมวงศานุวงศ์ ห้า กรมมหาดเล็ก หก กรมสนับสนุน และเจ็ด กรมกิจการพิเศษ
ประวัติความเป็นมาของสำนักงานองคมนตรี
สำนักงานองคมนตรี เป็นหน่วยงานที่มีประวัติความเป็นมาและพัฒนาการอันยาวนาน สามารถนำมาวาดรูปเป็นแผนภาพเส้นเวลาดังแสดงด้านล่างนี้
เริ่มตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏตำแหน่งที่เรียกว่า “เคลิกออฟเคาน์ซิลลอร์” ในพระราชบัญญัติ ปรีวีเคาน์ซิลคือที่ปฤกษาในพระองค์ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 1 วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 10 ค่ำ ปีจอฉศก จุลศักราช 1236 มีหน้าที่ในการจดรายชื่อจำนวนที่ปฤกษาราชการในพระองค์ การรับแจ้งกรณีที่ปฤกษาราชการในพระองค์จะเดินทางออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน และ การร่างจดหมายเชิญประชุมที่ปฤกษาราชการในพระองค์
ต่อมาใน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตรา “พระราชบัญญัติองคมนตรี” ขึ้นแทน “พระราชบัญญัติ ปรีวีเคาน์ซิลคือที่ปฤกษา ในพระองค์” ซึ่งในมาตรา 10 ได้บัญญัติถึงตำแหน่ง “เลขาธิการองคมนตรี” ไว้ว่า “พระเจ้าแผ่นดินจะได้ทรงตั้งข้าราชการในกรมราชเลขาธิการคนหนึ่งขึ้นไว้ในตำแหน่งเลขาธิการองคมนตรีเป็นเจ้าพนักงานประจำ มีหน้าที่เป็นผู้รักษาทะเบียนองคมนตรีและเป็นเลขาธิการของที่ประชุมสภากรรมการองคมนตรี” และมี “กองเลขาธิการองคมนตรี” เป็นส่วนราชการระดับกองในกรมราชเลขาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับองคมนตรีในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ได้มีการตราประกาศยกเลิก พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470 ส่งผลให้ตำแหน่งองคมนตรีถูกยุบเลิกไป และมีผลต่อการยุบเลิกข้าราชการ ในกองเลขาธิการองคมนตรีไปด้วย
ตำแหน่งองคมนตรีถูกยุบและยกเลิกไป ราว 15 ปีจนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2490 ฉบับชั่วคราว ได้มีการรื้อฟื้นตำแหน่งองคมนตรีขึ้นในรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ยังไม่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก) มีการประกาศใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492” ซึ่งในมาตรา 13 ได้บัญญัติถึงคณะองคมนตรีและหน้าที่ขององคมนตรี ความว่า
“พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอีกไม่มากกว่าแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้”
ต้องถือเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกที่บัญญัติถึงคณะองคมนตรีและหน้าที่ของคณะองคมนตรี จากนั้นได้มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ “หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล” ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะองคมนตรี ควบคู่กับตำแหน่งราชเลขาธิการ
“ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 297” ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 ธันวาคม 2515 ซึ่งให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักราชเลขาธิการ พ.ศ. 2506 และให้แบ่งส่วนราชการสำนักราชเลขาธิการออกเป็น 6 กอง โดยมี “สำนักเลขาธิการองคมนตรี” เป็นส่วนราชการระดับกองเพิ่มขึ้นมาจากเดิม และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรี” นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักราชเลขาธิการ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา
เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 จึงมีการยกระดับฐานะของสำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรี ในฐานะกองหนึ่งในสำนักราชเลขาธิการขึ้นมาเป็น “สำนักงานองคมนตรี” อันเป็นส่วนราชการในพระองค์หน่วยหนึ่งในทั้งหมด ๓ หน่วยราชการในพระองค์ โดยมีหน่วยงานย่อยสองหน่วยงานคือ สำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรี และกองนิติการ มีหน้าที่สนับสนุนภารกิจขององคมนตรีในการปฏิบัติหน้าที่ถวายพระมหากษัตริย์และการอื่นตามพระราชอัธยาศัย โดยมีเลขาธิการองคมนตรีซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการปฏิบัติราชการ
ทำเนียบองคมนตรีเป็นที่ตั้งของสำนักงานองคมนตรี ก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 9 ในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์
จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของหน่วยราชการในพระองค์ 2 หน่วยงานคือสำนักพระราชวังและสำนักงานองคมนตรีมีข้อค้นพบดังนี้
หนึ่ง สำนักพระราชวังเคยเป็นหนึ่งในสี่จตุสดมภ์ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมากและมีภารกิจหน้าที่กว้างขวางทั้งกิจการในพระราชสำนักตลอดจนการพิพากษาคดีและกระบวนการยุติธรรม
และแม้หลังการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังเกิดวิกฤตการณ์รศ. 112 กระทรวงวังก็ยังเป็นกระทรวงสำคัญ 1 ใน 12 กระทรวง
สอง สำนักงานองคมนตรีไม่ได้เป็นหน่วยงานขนาดใหญ่แต่อย่างใด ทำหน้าที่เป็นสำนักงานขนาดเล็กหรือทำหน้าที่เลขานุการของคณะองคมนตรี
ในสมัยรัชกาลที่ 9 สํานักงานองคมนตรีมีฐานะเป็นกองในสำนักราชเลขาธิการ
จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 10 ยกระดับฐานะจากกองในสำนักราชเลขาธิการ มาเป็นสำนักงานองคมนตรีขึ้นมาเป็น 1 ใน 3 ของหน่วยราชการในพระองค์ ถึงแม้จะยกระดับขึ้นมาเป็น 1 ใน 3 ของหน่วยราชการในพระองค์ก็ตาม ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นหน่วยงานที่มีขนาดเล็กที่สุดของหน่วยราชการในพระองค์ โดยมีจำนวนข้าราชการในพระองค์เพียงประมาณร้อยกว่าคน
สาม ทั้งสำนักพระราชวังและสำนักงานองคมนตรีมีประวัติความเป็นมาอันระหกระเหินโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งประสบปัญหาทั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกหรือ Great depression และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475
ทั้งนี้มีความพยายามจะลิดรอนพระราชอำนาจโดยพยายามโยกย้าย โอนออก ยุบ ลดฐานะ ลดขนาดของหน่วยราชการในพระองค์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 7 รัชกาลที่ 8 และต้นรัชกาลที่ 9
กระทรวงวังถูกยุบและลดขนาดลงไปเป็นหน่วยงานระดับกรมอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีเรียกว่าสำนักพระราชวัง ในขณะที่กรมราชเลขานุการในพระองค์ก็ถูกโยกไปอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน ส่วนตำแหน่งองคมนตรีและงานธุรการที่เกี่ยวข้องกับองคมนตรีทั้งหมดถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2475 นานเป็นเวลา 15 ปีจึงได้กลับมาฟื้นฟูตำแหน่งองคมนตรีในราวปี 2490 และมีการจัดตั้งสํานักงานเลขาธิการองคมนตรีขึ้นมาในสำนักราชเลขาธิการในภายหลัง