ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen data sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงผ่านพระชะตาชีวิตที่ทรงพบกับความพลัดพราก การสูญเสีย ทรงขึ้นแล้วก็ทรงตก แต่ก็ดำรงพระองค์ได้ด้วยความไม่ประมาท การทิวงคตของพระราชโอรสคือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย ทำให้มีการสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชโอรสในสมเด็จพระนางเจ้าเสาภาผ่องศรี และทำให้พระฐานะของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวีได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปด้วยทรงเป็นสมเด็จรีเยนต์-ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แม้จะไม่มีการลดพระฐานะของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าลงแต่ประการใด แต่ไม่ทรงเป็นพระภรรยาเจ้าลำดับที่หนึ่งเช่นดังเดิม ข้อนี้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเคยมีพระราชดำรัสว่า
"...ฉันน่ะไม่เคยขี้เหนียวหรอก แต่เห็นเสียแล้ว เมื่อเวลาฉันมีบุญน่ะ ล้วนแต่มาห้อมล้อมฉันทั้งนั้นแหละ เวลามีงานมีการอะไร ฉันก็ช่วยเต็มที่ไม่ขัด แต่พอฉันตกก็หันหนีหมด ไปเข้าตามผู้มีบุญต่อไป ฉะนั้นฉันจึงตัดสินใจไม่ทำบุญกับคนรู้จัก แต่จะทำการกุศลทั่วไปโดยไม่เลือก..."
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงมีพระนิสัยประหยัดมัธยัสถ์ เช่น การจัดผักถวายให้เสวยกับน้ำพริกไม่ต้องแกะสลักและถวายเพียงเล็กน้อยเท่าที่จะทรงเสวยเท่านั้น ไม่ให้เสียของ
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงโปรดการทรงงาน โปรดการทอผ้า ทรงตั้งโรงงานทอผ้า มีกี่ทอผ้าที่ทรงจ้างช่างต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่นให้มาสอนการทอผ้า และทรงทอผ้าอย่างเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่พระตำหนักสวนหงส์ พระราชวังดุสิต ทำรายได้เป็นอย่างดีให้กับพระองค์ท่านและเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมทอผ้าด้วยกี่และช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไม่ให้สูญหายไปอีกโสดหนึ่งด้วย
การที่สมเด็จทรงสะสมทรัพย์ได้มากเพราะทรงโปรดการทรงงาน ทรงมีหัวทางค้าขาย และทรงประหยัดมัธยัสถ์ ทำให้แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงตรัสว่า แม่กลางร่ำรวย
ความประหยัดมัธยัสถ์ของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ายังเห็นได้จากคราวจำเป็นฉุกเฉิน การที่ทรงสะสมซองเงินปีไว้หลายปีที่ได้รับพระราชทานมาโดยตลอดไม่ทรงใช้ เมื่อคราวพระราชนัดดาหม่อมเจ้าในราชสกุลรังสิตมีเหตุต้องลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ เพราะพระราชโอรสบุญธรรมถูกถอดพระอิสริยยศลงมาเป็นนักโทษชายรังสิต สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงแกะซองเงินปีที่ไม่เคยทรงใช้เก็บสะสมไว้พระราชทานให้หม่อมเจ้าพระราชนัดดาในราชสกุลรังสิตได้ใช้ไปในการเดินทางไปยังต่างประเทศ เป็นต้น
ความประหยัดมัธยัสถ์ของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านั้นทรงสั่งสอนอบรมถ่ายทอดให้เจ้านายเล็กๆ พระราชนัดดาผู้เป็นยุวกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ดังที่เล่ากันว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ เสด็จกลับมาประเทศไทย ทั้งสองพระองค์ไม่ทรงรู้จักกับธนบัตรไทย เมื่อทอดพระเนตร เห็นในพระหัตถ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าก็ทูลถาม สมเด็จฯก็ทูลตอบเป็นต้นว่า “นี่ใบละบาท ไม่เคยเห็นหรือ เอ้า เอาไป”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทรงได้ธนบัตรอยู่เป็นนิจ ตั้งแต่ราคาฉบับละ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท คราวหนึ่งทอดพระเนตรเห็นธนบัตรราคาฉบับละ ๑๐๐ บาท ก็ทูลถามอีก สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าตรัสว่า “นี่ใบละ ๑๐๐ มากไป อย่าเอาเลย”
แม้จะทรงมีพระฐานะสูงส่งอันเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนต่างๆ แต่ก็ทรงโปรดการซื้อที่ดินแปลงงามเพื่อสะสมเก็งราคาที่ดินและเก็บค่าเช่า ทรงซื้อตึกแถว ที่ดินผืนงาม เช่นในย่านสำเพ็งไว้เป็นจำนวนมาก โดยทรงใช้ภรรยาขุนนางที่รับใช้ใกล้ชิดเป็นนอมินีหรือเป็นผู้คอยเสาะแสวงหาที่ดินผืนงามมาให้ทรงพิจารณาซื้อสะสม
พระนิสัยในการที่ทรงชอบลงทุนซื้อที่ดินนี้ แม้ภายหลังสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกมาประทับที่วังสระปทุมได้เสด็จประพาสไปตามคลองแสนแสบก็ได้ทรงซื้อที่ดินผืนงามที่เหมาะกับการทำนาปลูกข้าวตามริมคลองแสนแสบไว้อีกเป็นจำนวนมาก ที่ดินเหล่านี้ต่อมาได้กลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินหมู่บ้านสัมมากร ถนนรามคำแหง หมู่บ้านขนาดใหญ่ราวห้าพันหลัง ก็เป็นที่น่าของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ามาก่อน ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงนำออกมาจัดสรรให้คนที่มีสัมมาชีพมีฐานะปานกลางได้ผ่อนชำระและมีบ้านเป็นของตนเอง เป็นต้น
การทรงมีที่ดินเป็นจำนวนมาก แม้ที่ดินบริเวณวังสระปทุมเองสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าก็โปรดทรงปลูกผักสวนครัว/ผลไม้ยืนต้น ไว้เป็นจำนวนมาก สำหรับไว้ตัดถวายเจ้านาย/ปรุงอาหาร หรือหากเหลือมากก็จำหน่ายเป็นรายได้พิเศษ
นอกจากนี้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงปราดเปรื่อง รอบคอบ ในเชิงกฎหมาย การลงทุนค้าขายใด ๆ ก็ทรงทำสัญญาเป็นหนังสือต่าง ๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน เช่น การซื้อหรือรับจำนองที่ดินก็ต้องมีหลักฐานโฉนดรัดกุมทุกครั้งไป หรือต้องมีหนังสือจำนองเป็นต้น ด้วยเหตุที่ทรงระมัดระวังป้องกันความเสียหายและแม้แต่การโกงพระราชทรัพย์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทำให้การลงทุนของพระองค์ท่านได้ผลตอบแทนงดงามเสมอ และไม่ถูกโกงแม้แต่น้อย
ย้อนกลับมาที่นอมินีที่ช่วยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าในการลงทุนและค้าขายนั้น รศ.ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ ได้เขียนไว้ในบทความ ต้นธารแห่งทรัพย์สินส่วนพระองค์ สมเด็จฯพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดอ่านได้จาก https://mgronline.com/daily/detail/9630000123178
ตัวแทนท่านแรกคือท่านผู้หญิงเอี่ยม ภรรยาเอกของเจ้าพระยาอภัยราชา (ม.ร.ว. ลพ สุทัศน์) เมื่อครั้งยังเป็นพระยาอินทราธิบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาลในสมัยรัชกาลที่ ๕
ท่านผู้หญิงเอี่ยม เป็นคนซื่อตรงจงรักภักดี เมื่อได้เงินที่มาขอรับพระราชทานไปทําผลประโยชน์ ก็ส่งคืนทั้งต้นและดอก ไม่เคยขาดหายเลยสักครั้ง จึงเป็นที่ไว้วางพระทัยให้ดำเนินงานต่อไป เพื่อเพิ่มพระราชทรัพย์ขึ้นโดยตลอดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ดินมีราคาถูก แต่คนส่วนใหญ่ในเมืองหลวงไม่นิยมซื้อที่ดินมากเกินกว่าที่อยู่อาศัยของตน เพราะที่ดินในเมืองถ้าไม่ใช่ที่สวนหรือนาแล้วก็นึกไม่ออกว่าจะซื้อมาทำประโยชน์อย่างใดได้ แต่สมเด็จพระพันวัสสาเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ด้านอสังหาริมทรัพย์ จึงทรงเล็งเห็นว่าที่ดินแห่งใดอยู่ในทําเลดีเช่นทำเลค้าขาย ก็โปรดฯให้ท่านผู้หญิงเอี่ยมเป็นธุระจัดการซื้อถวาย หรือรับจํานองจากเจ้าของที่ดิน
นอมินีคนที่สองคือคุณแพ ภรรยาพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้ สารสิน) เริ่มต้นด้วยการเข้ามาเป็นตัวกลางติดต่อซื้อขายที่ดินย่านสำเพ็งถวายสมเด็จพระพันวัสสา ทำธุรกิจได้มากกว่าท่านผู้หญิงเอี่ยมเคยทำมาก่อน
ที่มาของเรื่องคือหลังจากเกิดเพลิงไหม้สำเพ็งเมื่อ พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างถนนทรงวาดเป็นถนนเลียบแม่น้ำ จากท่าราชวงศ์ไปถึงวัดปทุมคงคา เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงได้ข่าว ก็เสด็จไปทอดพระเนตรพื้นที่ที่ถูกเพลิงไหม้ ทรงต้องพระทัยที่ดินแปลงหนึ่งที่สำเพ็ง เมื่อทรงทราบต่อมาว่าเป็นของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (ในตอนนั้นยังเป็นพระมนตรีพจนกิจ) จึงมีรับสั่งให้ท่านผู้หญิงเอี่ยมเป็นผู้ไปติดต่อขอซื้อที่ดิน
พระยาสารสินฯแจ้งแก่ท่านผู้หญิงเอี่ยมว่า เป็นที่ดินที่รับจำนองมาในราคา ๒๐๐๐ บาท แต่ยินดีถวาย แล้วแต่จะประทานราคา สมเด็จพระพันวัสสาพอพระทัย จึงประทานค่าที่ดินให้เป็นเงินมากกว่าถึง ๑๐ เท่าคือ ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมกับรับสั่งผ่านท่านผู้หญิงเอี่ยมว่า
“ขอบใจหมอมาก แต่วันนี้ต่อไป ถ้ามีธุระเรื่องเงินก็ให้แม่แพเข้ามาเถอะ เงินของฉันก็เหมือนเงินของหมอเหมือนกัน แบ่งกันกินกําไร”
คุณแพจึงเริ่มเข้านอกออกในพระตำหนัก ในเมื่อสามีเป็นคนไทยเชื้อสายจีน รู้จักมักคุ้นกับชาวจีนจำนวนมาก คุณแพจึงเห็นเป็นโอกาส ที่จะเป็นนายหน้า รับพระราชทานเงินส่วนพระองค์ ไปให้พ่อค้าและบรรดาเถ้าแก่โรงสีหลายสิบโรงบริเวณคลองรังสิตกู้ยืม เป็นเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ทำให้มีรายได้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นที่ลูกหนี้ผ่อนชำระ กลับมาถวายเป็นจำนวนมาก เพิ่มพูนพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว
นอมินีคนที่สามที่ช่วยดูแลธุรกิจการเกษตร โดยเฉพาะการหาเครื่องสีข้าวที่ทันสมัยมาใช้ในโรงสีข้าวคือ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) ทำให้สีข้าวได้คุณภาพดีมีจำนวนมากและมีกำไรดี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็นเจ้าของโรงสีหลายแห่ง เพราะทรงมีที่นาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในจังหวัดปทุมธานี
ทั้งนี้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์อันมีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินส่วนพระองค์ในราชสกุลมหิดลนั้นก่อนยุบรวมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปี 2561 ก็มีสำนักงานในบริเวณวังสระปทุมมาโดยตลอด
สาเหตุที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยุบสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ไปรวมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เพราะกรรมการเป็นชุดเดียวกันทั้งสิ้นจึงเป็นความซ้ำซ้อนและควรมีกรรมการชุดเดียวกัน ภายหลังยุบรวมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ไปรวมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์นั้นไม่ได้เป็นการยุบรวมทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มารวมเป็นกองเดียวกันดังที่มีคนเข้าใจผิดอยู่จำนวนหนึ่ง
หากแต่ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ประกอบด้วยทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์-เดิม) และทรัพย์สินในพระองค์ (ทรัพย์สินส่วนพระองค์-เดิม) บริหารแยกกองทรัพย์สินออกจากกันแต่รวมกันเรียกว่าทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และมีสำนักงานเหลือเพียงสำนักงานเดียวคือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์บริเวณวังลดาวัลย์ (วังแดง) บริเวณเทเวศร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen data sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงผ่านพระชะตาชีวิตที่ทรงพบกับความพลัดพราก การสูญเสีย ทรงขึ้นแล้วก็ทรงตก แต่ก็ดำรงพระองค์ได้ด้วยความไม่ประมาท การทิวงคตของพระราชโอรสคือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย ทำให้มีการสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชโอรสในสมเด็จพระนางเจ้าเสาภาผ่องศรี และทำให้พระฐานะของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวีได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปด้วยทรงเป็นสมเด็จรีเยนต์-ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แม้จะไม่มีการลดพระฐานะของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าลงแต่ประการใด แต่ไม่ทรงเป็นพระภรรยาเจ้าลำดับที่หนึ่งเช่นดังเดิม ข้อนี้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเคยมีพระราชดำรัสว่า
"...ฉันน่ะไม่เคยขี้เหนียวหรอก แต่เห็นเสียแล้ว เมื่อเวลาฉันมีบุญน่ะ ล้วนแต่มาห้อมล้อมฉันทั้งนั้นแหละ เวลามีงานมีการอะไร ฉันก็ช่วยเต็มที่ไม่ขัด แต่พอฉันตกก็หันหนีหมด ไปเข้าตามผู้มีบุญต่อไป ฉะนั้นฉันจึงตัดสินใจไม่ทำบุญกับคนรู้จัก แต่จะทำการกุศลทั่วไปโดยไม่เลือก..."
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงมีพระนิสัยประหยัดมัธยัสถ์ เช่น การจัดผักถวายให้เสวยกับน้ำพริกไม่ต้องแกะสลักและถวายเพียงเล็กน้อยเท่าที่จะทรงเสวยเท่านั้น ไม่ให้เสียของ
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงโปรดการทรงงาน โปรดการทอผ้า ทรงตั้งโรงงานทอผ้า มีกี่ทอผ้าที่ทรงจ้างช่างต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่นให้มาสอนการทอผ้า และทรงทอผ้าอย่างเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่พระตำหนักสวนหงส์ พระราชวังดุสิต ทำรายได้เป็นอย่างดีให้กับพระองค์ท่านและเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมทอผ้าด้วยกี่และช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไม่ให้สูญหายไปอีกโสดหนึ่งด้วย
การที่สมเด็จทรงสะสมทรัพย์ได้มากเพราะทรงโปรดการทรงงาน ทรงมีหัวทางค้าขาย และทรงประหยัดมัธยัสถ์ ทำให้แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงตรัสว่า แม่กลางร่ำรวย
ความประหยัดมัธยัสถ์ของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ายังเห็นได้จากคราวจำเป็นฉุกเฉิน การที่ทรงสะสมซองเงินปีไว้หลายปีที่ได้รับพระราชทานมาโดยตลอดไม่ทรงใช้ เมื่อคราวพระราชนัดดาหม่อมเจ้าในราชสกุลรังสิตมีเหตุต้องลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ เพราะพระราชโอรสบุญธรรมถูกถอดพระอิสริยยศลงมาเป็นนักโทษชายรังสิต สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงแกะซองเงินปีที่ไม่เคยทรงใช้เก็บสะสมไว้พระราชทานให้หม่อมเจ้าพระราชนัดดาในราชสกุลรังสิตได้ใช้ไปในการเดินทางไปยังต่างประเทศ เป็นต้น
ความประหยัดมัธยัสถ์ของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านั้นทรงสั่งสอนอบรมถ่ายทอดให้เจ้านายเล็กๆ พระราชนัดดาผู้เป็นยุวกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ดังที่เล่ากันว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ เสด็จกลับมาประเทศไทย ทั้งสองพระองค์ไม่ทรงรู้จักกับธนบัตรไทย เมื่อทอดพระเนตร เห็นในพระหัตถ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าก็ทูลถาม สมเด็จฯก็ทูลตอบเป็นต้นว่า “นี่ใบละบาท ไม่เคยเห็นหรือ เอ้า เอาไป”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทรงได้ธนบัตรอยู่เป็นนิจ ตั้งแต่ราคาฉบับละ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท คราวหนึ่งทอดพระเนตรเห็นธนบัตรราคาฉบับละ ๑๐๐ บาท ก็ทูลถามอีก สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าตรัสว่า “นี่ใบละ ๑๐๐ มากไป อย่าเอาเลย”
แม้จะทรงมีพระฐานะสูงส่งอันเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนต่างๆ แต่ก็ทรงโปรดการซื้อที่ดินแปลงงามเพื่อสะสมเก็งราคาที่ดินและเก็บค่าเช่า ทรงซื้อตึกแถว ที่ดินผืนงาม เช่นในย่านสำเพ็งไว้เป็นจำนวนมาก โดยทรงใช้ภรรยาขุนนางที่รับใช้ใกล้ชิดเป็นนอมินีหรือเป็นผู้คอยเสาะแสวงหาที่ดินผืนงามมาให้ทรงพิจารณาซื้อสะสม
พระนิสัยในการที่ทรงชอบลงทุนซื้อที่ดินนี้ แม้ภายหลังสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกมาประทับที่วังสระปทุมได้เสด็จประพาสไปตามคลองแสนแสบก็ได้ทรงซื้อที่ดินผืนงามที่เหมาะกับการทำนาปลูกข้าวตามริมคลองแสนแสบไว้อีกเป็นจำนวนมาก ที่ดินเหล่านี้ต่อมาได้กลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินหมู่บ้านสัมมากร ถนนรามคำแหง หมู่บ้านขนาดใหญ่ราวห้าพันหลัง ก็เป็นที่น่าของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ามาก่อน ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงนำออกมาจัดสรรให้คนที่มีสัมมาชีพมีฐานะปานกลางได้ผ่อนชำระและมีบ้านเป็นของตนเอง เป็นต้น
การทรงมีที่ดินเป็นจำนวนมาก แม้ที่ดินบริเวณวังสระปทุมเองสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าก็โปรดทรงปลูกผักสวนครัว/ผลไม้ยืนต้น ไว้เป็นจำนวนมาก สำหรับไว้ตัดถวายเจ้านาย/ปรุงอาหาร หรือหากเหลือมากก็จำหน่ายเป็นรายได้พิเศษ
นอกจากนี้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงปราดเปรื่อง รอบคอบ ในเชิงกฎหมาย การลงทุนค้าขายใด ๆ ก็ทรงทำสัญญาเป็นหนังสือต่าง ๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน เช่น การซื้อหรือรับจำนองที่ดินก็ต้องมีหลักฐานโฉนดรัดกุมทุกครั้งไป หรือต้องมีหนังสือจำนองเป็นต้น ด้วยเหตุที่ทรงระมัดระวังป้องกันความเสียหายและแม้แต่การโกงพระราชทรัพย์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทำให้การลงทุนของพระองค์ท่านได้ผลตอบแทนงดงามเสมอ และไม่ถูกโกงแม้แต่น้อย
ย้อนกลับมาที่นอมินีที่ช่วยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าในการลงทุนและค้าขายนั้น รศ.ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ ได้เขียนไว้ในบทความ ต้นธารแห่งทรัพย์สินส่วนพระองค์ สมเด็จฯพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดอ่านได้จาก https://mgronline.com/daily/detail/9630000123178
ตัวแทนท่านแรกคือท่านผู้หญิงเอี่ยม ภรรยาเอกของเจ้าพระยาอภัยราชา (ม.ร.ว. ลพ สุทัศน์) เมื่อครั้งยังเป็นพระยาอินทราธิบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาลในสมัยรัชกาลที่ ๕
ท่านผู้หญิงเอี่ยม เป็นคนซื่อตรงจงรักภักดี เมื่อได้เงินที่มาขอรับพระราชทานไปทําผลประโยชน์ ก็ส่งคืนทั้งต้นและดอก ไม่เคยขาดหายเลยสักครั้ง จึงเป็นที่ไว้วางพระทัยให้ดำเนินงานต่อไป เพื่อเพิ่มพระราชทรัพย์ขึ้นโดยตลอดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ดินมีราคาถูก แต่คนส่วนใหญ่ในเมืองหลวงไม่นิยมซื้อที่ดินมากเกินกว่าที่อยู่อาศัยของตน เพราะที่ดินในเมืองถ้าไม่ใช่ที่สวนหรือนาแล้วก็นึกไม่ออกว่าจะซื้อมาทำประโยชน์อย่างใดได้ แต่สมเด็จพระพันวัสสาเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ด้านอสังหาริมทรัพย์ จึงทรงเล็งเห็นว่าที่ดินแห่งใดอยู่ในทําเลดีเช่นทำเลค้าขาย ก็โปรดฯให้ท่านผู้หญิงเอี่ยมเป็นธุระจัดการซื้อถวาย หรือรับจํานองจากเจ้าของที่ดิน
นอมินีคนที่สองคือคุณแพ ภรรยาพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้ สารสิน) เริ่มต้นด้วยการเข้ามาเป็นตัวกลางติดต่อซื้อขายที่ดินย่านสำเพ็งถวายสมเด็จพระพันวัสสา ทำธุรกิจได้มากกว่าท่านผู้หญิงเอี่ยมเคยทำมาก่อน
ที่มาของเรื่องคือหลังจากเกิดเพลิงไหม้สำเพ็งเมื่อ พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างถนนทรงวาดเป็นถนนเลียบแม่น้ำ จากท่าราชวงศ์ไปถึงวัดปทุมคงคา เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงได้ข่าว ก็เสด็จไปทอดพระเนตรพื้นที่ที่ถูกเพลิงไหม้ ทรงต้องพระทัยที่ดินแปลงหนึ่งที่สำเพ็ง เมื่อทรงทราบต่อมาว่าเป็นของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (ในตอนนั้นยังเป็นพระมนตรีพจนกิจ) จึงมีรับสั่งให้ท่านผู้หญิงเอี่ยมเป็นผู้ไปติดต่อขอซื้อที่ดิน
พระยาสารสินฯแจ้งแก่ท่านผู้หญิงเอี่ยมว่า เป็นที่ดินที่รับจำนองมาในราคา ๒๐๐๐ บาท แต่ยินดีถวาย แล้วแต่จะประทานราคา สมเด็จพระพันวัสสาพอพระทัย จึงประทานค่าที่ดินให้เป็นเงินมากกว่าถึง ๑๐ เท่าคือ ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมกับรับสั่งผ่านท่านผู้หญิงเอี่ยมว่า
“ขอบใจหมอมาก แต่วันนี้ต่อไป ถ้ามีธุระเรื่องเงินก็ให้แม่แพเข้ามาเถอะ เงินของฉันก็เหมือนเงินของหมอเหมือนกัน แบ่งกันกินกําไร”
คุณแพจึงเริ่มเข้านอกออกในพระตำหนัก ในเมื่อสามีเป็นคนไทยเชื้อสายจีน รู้จักมักคุ้นกับชาวจีนจำนวนมาก คุณแพจึงเห็นเป็นโอกาส ที่จะเป็นนายหน้า รับพระราชทานเงินส่วนพระองค์ ไปให้พ่อค้าและบรรดาเถ้าแก่โรงสีหลายสิบโรงบริเวณคลองรังสิตกู้ยืม เป็นเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ทำให้มีรายได้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นที่ลูกหนี้ผ่อนชำระ กลับมาถวายเป็นจำนวนมาก เพิ่มพูนพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว
นอมินีคนที่สามที่ช่วยดูแลธุรกิจการเกษตร โดยเฉพาะการหาเครื่องสีข้าวที่ทันสมัยมาใช้ในโรงสีข้าวคือ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) ทำให้สีข้าวได้คุณภาพดีมีจำนวนมากและมีกำไรดี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็นเจ้าของโรงสีหลายแห่ง เพราะทรงมีที่นาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในจังหวัดปทุมธานี
ทั้งนี้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์อันมีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินส่วนพระองค์ในราชสกุลมหิดลนั้นก่อนยุบรวมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปี 2561 ก็มีสำนักงานในบริเวณวังสระปทุมมาโดยตลอด
สาเหตุที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยุบสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ไปรวมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เพราะกรรมการเป็นชุดเดียวกันทั้งสิ้นจึงเป็นความซ้ำซ้อนและควรมีกรรมการชุดเดียวกัน ภายหลังยุบรวมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ไปรวมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์นั้นไม่ได้เป็นการยุบรวมทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มารวมเป็นกองเดียวกันดังที่มีคนเข้าใจผิดอยู่จำนวนหนึ่ง
หากแต่ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ประกอบด้วยทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์-เดิม) และทรัพย์สินในพระองค์ (ทรัพย์สินส่วนพระองค์-เดิม) บริหารแยกกองทรัพย์สินออกจากกันแต่รวมกันเรียกว่าทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และมีสำนักงานเหลือเพียงสำนักงานเดียวคือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์บริเวณวังลดาวัลย์ (วังแดง) บริเวณเทเวศร์