"ปัญญาพลวัตร"
"พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"
นิด้าโพลได้สำรวจความนิยมต่อพรรคการเมืองครั้งที่สามในรอบปี 2564 เมื่อปลายเดือนกันยายน ในภาพรวมท่านผู้อ่านก็คงได้รับทราบผ่านสื่อมวลชนแล้ว ก็จะไม่ขอเขียนให้ยืดยาว แต่ในรายละเอียดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค อาชีพ และอายุ กับการสนับสนุนพรรคการเมือง หลายท่านอาจยังทราบไม่ชัดเจนนัก ในวันนี้ก็ขอวิเคราะห์รายละเอียดในส่วนนี้ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการมองทิศทางการเมืองในอนาคตต่อไป แม้ว่าการสนับสนุนของประชาชนต่อพรรคการเมืองในอนาคตจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นสิ่งที่แปรผันตามเงื่อนไขและการกระทำของพรรคการเมืองแต่ละพรรค แต่การสำรวจที่ผ่านมาก็เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการทำความเข้าใจความคิดของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองได้เป็นอย่างดี
เผื่อบางท่านอาจจะลืมไป เลยขอทวนความจำสักเล็กน้อยในการสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในภาพรวม ประชาชนประมาณหนึ่งในสามหรือร้อยละ 30.82 ระบุว่ายังไม่สนับสนุนพรรคใดเลยในขณะที่สำรวจ ซึ่งแสดงว่ากลุ่มเหล่านี้ยังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจ และในอนาคตอาจจะไปสนับสนุนพรรคการเมืองใดก็ได้ นับว่าเป็นกลุ่มที่เป็นตัวแปรสำคัญ และเป็นโอกาสให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ทั้งพรรคที่ยังมีคะแนนนิยมน้อย และพรรคที่มีคะแนนนิยมสูง ได้แข่งขันเสนอผลงานเพื่อโน้มน้าวจูงใจคนกลุ่มนี้มาสนับสนุนพรรคตนเองในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ก่อนการเลือกตั้ง
สำหรับผู้ที่ตัดสินใจสนับสนุนพรรคการเมืองแล้วมีอยู่ร่วมสองในสามของประชาชนทั้งหมด และดูเป็นกลุ่มที่มีความมั่นคงต่อพรรคการเมืองที่ตนเองสนับสนุนมากอยู่พอสมควร เพราะว่าการสำรวจของนิด้าโพลตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปลายเดือนกันยายน สัดส่วนการสนับสนุนต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ ค่อนข้างมีเสถียรภาพ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่มากนัก
พรรคที่ประชาชนสนับสนุนมากที่สุดหรือร้อยละ 22.50 คือพรรคเพื่อไทย รองลงมาลำดับสอง หรือร้อยละ 15.11 สนับสนุนพรรคก้าวไกล ลำดับสามหรือร้อยละ 9.51 สนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ ลำดับสี่หรือร้อยละ 7.78 สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับห้า หรือร้อยละ 2.68 สนับสนุนพรรคเสรีรวมไทย ลำดับหกหรือร้อยละ 1.93 สนับสนุนพรรคไทยสร้างไทย ลำดับเจ็ด หรือร้อยละ 1.39 สนับสนุนพรรคกล้า และลำดับแปด หรือร้อยละ 1.14 สนับสนุนพรรคภูมิใจไทย ส่วนพรรคการเมืองที่เหลือ มีประชาชนสัดส่วนค่อนข้างน้อยไม่ถึงร้อยละ 1 ที่สนับสนุนพรรคการเมืองเหล่านั้น
บางท่านอาจแปลกใจว่า ทำไมพรรคการเมืองบางพรรคที่มีจำนวน ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรค่อนมากข้าง จึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนต่อพรรคค่อนข้างต่ำ คำตอบของประเด็นนี้ สำหรับการเมืองไทยไม่ยากครับ นั่นคือในการเลือกตั้งจริง โดยเฉพาะการเลือกตั้งในระดับเขตนั้น แต่ละเขตนั้นมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง นอกเหนือจากคะแนนนิยมของพรรค เช่น ปัจจัยเรื่องคุณลักษณะของผู้สมัคร กลไกเครือข่ายหัวคะแนน และการมีทรัพยากรที่ใช้ในการเลือกตั้ง โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกกันในวงการการเมืองไทยว่า “กระสุน” นั่นแหละครับ ปัจจัยเหล่านี้ยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้เลือกตั้งในระดับพื้นที่ค่อนข้างมากทีเดียว
ในทุกภูมิภาค สัดส่วนของผู้ที่ตอบว่าไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดมีความใกล้เคียงกันคือ ประมาณร้อยละ 30 ซึ่งหมายความว่า ทุกภาคก็ยังมีพื้นที่ให้กับพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้ช่วงชิงการสนับสนุนจากประชาชนอยู่ถึงหนึ่งในสามของผู้เลือกตั้งทั้งหมด สำหรับในกรุงเทพมหานคร พรรคที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดคือพรรคก้าวไกล ซึ่งมีผู้สนับสนุนร้อยละ 22.37 รองลงมาคือพรรคเพื่อไทย มีผู้สนับสนุนร้อยละ 14.71 ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคพลังประชารัฐมีผู้สนับสนุนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ ประมาณร้อยละ 9 ด้วยกันทั้งคู่ ส่วนพรรคที่ดูเหมือนจะมีเสียงสนับสนุนอยู่บ้าง แม้ว่าจะตั้งพรรคไม่นานคือ พรรคกล้า ซึ่งมีเสียงสนับสนุนมากกว่าพรรคเสรีรวมไทย และพรรคไทยสร้างไทยอยู่เล็กน้อย ณ ขณะนี้สามารถกล่าวได้ในเบื้องต้นว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครมีพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยครองการนำอยู่ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์และพลังประชารัฐตามมาอยู่ห่าง ๆ
สำหรับ ปริมณฑลและภาคกลาง ไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงสนับสนุนเกินร้อยละ 20 ซึ่งสะท้อนว่า การสนับสนุนของประชาชนต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ มีลักษณะกระจัดกระจาย อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยได้รับรับการสนับสนุนในสัดส่วนมากที่สุด โดยมีสัดส่วนของคะแนนนิยมร้อยละ 18.16 ขณะที่พรรคก้าวไกลก็ตามมาอย่างอย่างใกล้ชิด โดยได้รับคะแนนสนับสนุนร้อยละ 16.63 ขณะที่พรรคพลังประชารัฐตามมาห่าง ๆ คู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ที่น่าสนใจคือ พรรคเสรีรวมไทย ซึ่งได้รับคะแนนนิยมไม่น้อยที่เดียวกับหรับพื้นที่ส่วนนี้ นั่นคือร้อยละ 3.44 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่เหลือ
ใน ภาคเหนือ ไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก พรรคเพื่อไทยได้รับการสนับสนุนมากเป็นลำดับหนึ่ง โดยได้ประมาณหนึ่งในสาม หรือร้อยละ 32.34 และเป็นการนำที่ขาดลอย มากกว่าพรรคอื่น ๆ ถึงสามเท่า พรรคที่ได้รับการสนับสนุนมากลำดับสอง และสามตามมาค่อนข้างห่าง พรรคที่ได้รับการสนับสนุนเป็นลำดับสองคือ พรรคก้าวไกล ซึ่งได้รับการสนับสนุนร้อยละ 10.6 และลำดับสามคือ พรรคพลังประชารัฐ ได้รับการสนับสนุนร้อยละ 10.33 ซึ่งสัดส่วนของการสนับสนุนที่ใกล้เคียงกับพรรคก้าวไกล ส่วนพรรคประชาธิปัตย์และพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามมาห่าง ๆ
ด้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ไม่น่าแปลกใจเช่นเดียวกัน พรรคเพื่อไทยยังครองการสนับสนุนมากที่สุดได้ร้อยละ 29.65 ลำดับสองตามมาห่างพอสมควรคือ พรรคก้าวไกล ซึ่งได้รับการสนับสนุนร้อยละ 17.11 ถัดมาลำดับสามคือพรรคพลังประชารัฐ และลำดับสี่คือพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งสองพรรคได้รับการสนับสนุนใกล้เคียงกันคือร้อยละ 6.34 และ 5.46 ตามลำดับ แต่ก็เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างห่างจากลำดับหนึ่งอย่างเพื่อไทยและลำดับสองอย่างก้าวไกลค่อนข้างมากทีเดียว น้อยกว่าพรรคก้าวไกลประมาณสามเท่า และน้อยกว่าเพื่อไทยประมาณห้าเท่า และที่น่าสนใจคือ พรรคเสรีรวมไทยกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่น้อยทีเดียว และน่าประหลาดใจคือ ได้รับการสนับสนุนมากกว่าพรรคภูมิไทยอยู่เล็กน้อยเสียด้วย ปัจจัยที่ทำให้พรรคเสรีรวมไทยกับพรรคไทยสร้างนั้น คาดว่าน่าจะมาจากคะแนนนิยมในตัวหัวหน้าพรรคทั้งสองเป็นหลัก (หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทยคือ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส่วนหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทยคือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์)
และใน ภาคใต้ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่มั่นคงของพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน บัดนี้ความเปลี่ยนแปลงก็ได้เกิดขึ้นอย่างแล้ว สภาพในภาคใต้ปัจจุบัน ไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับการสนับสนุนเกินร้อยละ 20 ส่วนพรรคที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดคือ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้รับการสนับสนุนร้อยละ 17.22 ที่ตามมาชนิดหายใจรดต้นคอคือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนร้อยละ 16.12 กล่าวได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์สูญเสียการนำในภาคใต้ให้แก่พลังประชารัฐไปเสียแล้ว ลำดับสามคือ พรรคก้าวไกล ซึ่งได้รับการสนับสนุนร้อยละ 8.42 แม้จะได้รับการสนับสนุนเป็นลำดับสาม แต่สัดส่วนที่ได้รับการสนับสนุนก็มีนัยอยู่ไม่น้อย และที่สำคัญได้มากกว่าพรรคเพื่อไทยถึงสองเท่าทีเดียว ส่วนพรรคเพื่อไทยได้รับการสนับสนุนค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 4.76 ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องปกติ เพราะแบบแผนเดิมก็มีลักษณะแบบนี้อยู่แล้ว

ในภาพรวม พรรคเพื่อไทยยังคงรักษาการนำ และนำที่ห่างจากพรรคอื่น ๆ มาก ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับคู่แข่งของพรรคเพื่อไทยในภาคเหนือคือ พรรคก้าวไกล กับพรรคพลังประชารัฐ ถึงแม้ว่าทั้งสองพรรคมีคะแนนนิยมตามหลังเพื่อไทยค่อนข้างมาก แต่ก็ถือว่าเป็นคู่แข่งขันที่น่าจับตามองทั้งสองพรรค และสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ยังมีพรรคที่น่าสนใจอีกพรรคคือ พรรคภูมิใจไทย ถึงแม้ว่การสนับสนุนต่อพรรคค่อนข้างต่ำ แต่พรรคนี้มีทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเลือกตั้งค่อนข้างมาก และมีเครือข่ายหัวคะแนนในพื้นที่อีสานตอนใต้ค่อนข้างแข็งแกร่ง ซึ่งปัจจัยทั้งสองมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชัยชนะในระดับเขตเลือกตั้ง จึงทำให้พรรคนี้เป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขามอยู่ไม่น้อยของพรรคเพื่อไทย
พรรคก้าวไกลนำพรรคอื่น ๆ อยู่มากพอสมควรในกรุงเทพมหานคร ขณะที่พรรคเพื่อไทยตามมาไม่ห่างนัก ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังประชารัฐตามหลังสองพรรคแรกอยู่ไม่น้อย นอกจากนั้นในสนามกรุงเทพมีพรรคการเมืองใหม่ อย่างพรรคกล้าที่มีนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคไทยสร้างไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาโดยคุณหญิงสุดารัตน์เกยุราพันธ์ นักการเมืองเก่าของพรรคเพื่อไทย ทั้งสองคนมีฐานความนิยมไม่น้อยในกรุงเทพ กรณีพรรคกล้ามีความเป็นไปสูงว่าจะแย่งชิงคะแนนนิยมจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคไทยสร้างไทยก็มีศักยภาพในการสั่นคลอนฐานเดิมของพรรคเพื่อไทยไม่น้อยทีเดียว
พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลได้รับการสนับสนุนมากกว่าพรรคอื่น ๆ ในภาคกลาง แต่ภาคกลางเป็นภาคที่มีความนิยมต่อพรรคการเมืองค่อนข้างกระจัดกระจาย และมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง และแม้ว่า พรรคเพื่อไทยและก้าวไกลจะนำพรรคการเมืองอื่น ๆ แต่ก็ไม่ได้นำห่างจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์มากนัก และที่สำคัญคือในภาคกลาง ปัจจัยหลักที่มีผลต่อชัยชนะของ ส.ส. มีแนวโน้มขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้สมัคร การมีทรัพยากร และกลไกเครือข่ายหัวคะแนนเป็นหลัก ซึ่งทำให้การต่อสู้ในระดับเขตเป็นอย่างเข้มข้นทีเดียว
ภาคที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการเลือกตั้งมากที่สุดเห็นจะเป็นภาคใต้ ในอดีตประชาชนภาคใต้ให้ความสำคัญกับพรรคการเมืองมาก แต่การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ตลอดจนผลการสำรวจความนิยมต่อพรรคการเมืองหลายครั้งของนิด้าโพลชี้ให้เห็นว่า มนต์ขลังของพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ได้อ่อนตัวลงไปอย่างมาก ในปัจจุบัน กลายเป็นว่า พรรคพลังประชารัฐได้รับการสนุนมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าจะนำไม่มากก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่บอกได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้สูญเสียการนำในภาคนี้ไปแล้ว สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ประชาชนในภาคนี้จำนวนไม่น้อยให้การสนับสนุนพรรคก้าวไกล ซึ่งตามมาเป็นลำดับสาม แม้การสนับสนุนที่ได้รับยังห่างจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์อยู่ไม่น้อย แต่ก็ยังมากกว่าพรรคเพื่อไทยถึงสองเท่าทีเดียว
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า)
"พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"
นิด้าโพลได้สำรวจความนิยมต่อพรรคการเมืองครั้งที่สามในรอบปี 2564 เมื่อปลายเดือนกันยายน ในภาพรวมท่านผู้อ่านก็คงได้รับทราบผ่านสื่อมวลชนแล้ว ก็จะไม่ขอเขียนให้ยืดยาว แต่ในรายละเอียดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค อาชีพ และอายุ กับการสนับสนุนพรรคการเมือง หลายท่านอาจยังทราบไม่ชัดเจนนัก ในวันนี้ก็ขอวิเคราะห์รายละเอียดในส่วนนี้ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการมองทิศทางการเมืองในอนาคตต่อไป แม้ว่าการสนับสนุนของประชาชนต่อพรรคการเมืองในอนาคตจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นสิ่งที่แปรผันตามเงื่อนไขและการกระทำของพรรคการเมืองแต่ละพรรค แต่การสำรวจที่ผ่านมาก็เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการทำความเข้าใจความคิดของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองได้เป็นอย่างดี
เผื่อบางท่านอาจจะลืมไป เลยขอทวนความจำสักเล็กน้อยในการสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในภาพรวม ประชาชนประมาณหนึ่งในสามหรือร้อยละ 30.82 ระบุว่ายังไม่สนับสนุนพรรคใดเลยในขณะที่สำรวจ ซึ่งแสดงว่ากลุ่มเหล่านี้ยังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจ และในอนาคตอาจจะไปสนับสนุนพรรคการเมืองใดก็ได้ นับว่าเป็นกลุ่มที่เป็นตัวแปรสำคัญ และเป็นโอกาสให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ทั้งพรรคที่ยังมีคะแนนนิยมน้อย และพรรคที่มีคะแนนนิยมสูง ได้แข่งขันเสนอผลงานเพื่อโน้มน้าวจูงใจคนกลุ่มนี้มาสนับสนุนพรรคตนเองในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ก่อนการเลือกตั้ง
สำหรับผู้ที่ตัดสินใจสนับสนุนพรรคการเมืองแล้วมีอยู่ร่วมสองในสามของประชาชนทั้งหมด และดูเป็นกลุ่มที่มีความมั่นคงต่อพรรคการเมืองที่ตนเองสนับสนุนมากอยู่พอสมควร เพราะว่าการสำรวจของนิด้าโพลตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปลายเดือนกันยายน สัดส่วนการสนับสนุนต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ ค่อนข้างมีเสถียรภาพ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่มากนัก
พรรคที่ประชาชนสนับสนุนมากที่สุดหรือร้อยละ 22.50 คือพรรคเพื่อไทย รองลงมาลำดับสอง หรือร้อยละ 15.11 สนับสนุนพรรคก้าวไกล ลำดับสามหรือร้อยละ 9.51 สนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ ลำดับสี่หรือร้อยละ 7.78 สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับห้า หรือร้อยละ 2.68 สนับสนุนพรรคเสรีรวมไทย ลำดับหกหรือร้อยละ 1.93 สนับสนุนพรรคไทยสร้างไทย ลำดับเจ็ด หรือร้อยละ 1.39 สนับสนุนพรรคกล้า และลำดับแปด หรือร้อยละ 1.14 สนับสนุนพรรคภูมิใจไทย ส่วนพรรคการเมืองที่เหลือ มีประชาชนสัดส่วนค่อนข้างน้อยไม่ถึงร้อยละ 1 ที่สนับสนุนพรรคการเมืองเหล่านั้น
บางท่านอาจแปลกใจว่า ทำไมพรรคการเมืองบางพรรคที่มีจำนวน ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรค่อนมากข้าง จึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนต่อพรรคค่อนข้างต่ำ คำตอบของประเด็นนี้ สำหรับการเมืองไทยไม่ยากครับ นั่นคือในการเลือกตั้งจริง โดยเฉพาะการเลือกตั้งในระดับเขตนั้น แต่ละเขตนั้นมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง นอกเหนือจากคะแนนนิยมของพรรค เช่น ปัจจัยเรื่องคุณลักษณะของผู้สมัคร กลไกเครือข่ายหัวคะแนน และการมีทรัพยากรที่ใช้ในการเลือกตั้ง โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกกันในวงการการเมืองไทยว่า “กระสุน” นั่นแหละครับ ปัจจัยเหล่านี้ยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้เลือกตั้งในระดับพื้นที่ค่อนข้างมากทีเดียว
ในทุกภูมิภาค สัดส่วนของผู้ที่ตอบว่าไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดมีความใกล้เคียงกันคือ ประมาณร้อยละ 30 ซึ่งหมายความว่า ทุกภาคก็ยังมีพื้นที่ให้กับพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้ช่วงชิงการสนับสนุนจากประชาชนอยู่ถึงหนึ่งในสามของผู้เลือกตั้งทั้งหมด สำหรับในกรุงเทพมหานคร พรรคที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดคือพรรคก้าวไกล ซึ่งมีผู้สนับสนุนร้อยละ 22.37 รองลงมาคือพรรคเพื่อไทย มีผู้สนับสนุนร้อยละ 14.71 ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคพลังประชารัฐมีผู้สนับสนุนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ ประมาณร้อยละ 9 ด้วยกันทั้งคู่ ส่วนพรรคที่ดูเหมือนจะมีเสียงสนับสนุนอยู่บ้าง แม้ว่าจะตั้งพรรคไม่นานคือ พรรคกล้า ซึ่งมีเสียงสนับสนุนมากกว่าพรรคเสรีรวมไทย และพรรคไทยสร้างไทยอยู่เล็กน้อย ณ ขณะนี้สามารถกล่าวได้ในเบื้องต้นว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครมีพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยครองการนำอยู่ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์และพลังประชารัฐตามมาอยู่ห่าง ๆ
สำหรับ ปริมณฑลและภาคกลาง ไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงสนับสนุนเกินร้อยละ 20 ซึ่งสะท้อนว่า การสนับสนุนของประชาชนต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ มีลักษณะกระจัดกระจาย อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยได้รับรับการสนับสนุนในสัดส่วนมากที่สุด โดยมีสัดส่วนของคะแนนนิยมร้อยละ 18.16 ขณะที่พรรคก้าวไกลก็ตามมาอย่างอย่างใกล้ชิด โดยได้รับคะแนนสนับสนุนร้อยละ 16.63 ขณะที่พรรคพลังประชารัฐตามมาห่าง ๆ คู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ที่น่าสนใจคือ พรรคเสรีรวมไทย ซึ่งได้รับคะแนนนิยมไม่น้อยที่เดียวกับหรับพื้นที่ส่วนนี้ นั่นคือร้อยละ 3.44 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่เหลือ
ใน ภาคเหนือ ไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก พรรคเพื่อไทยได้รับการสนับสนุนมากเป็นลำดับหนึ่ง โดยได้ประมาณหนึ่งในสาม หรือร้อยละ 32.34 และเป็นการนำที่ขาดลอย มากกว่าพรรคอื่น ๆ ถึงสามเท่า พรรคที่ได้รับการสนับสนุนมากลำดับสอง และสามตามมาค่อนข้างห่าง พรรคที่ได้รับการสนับสนุนเป็นลำดับสองคือ พรรคก้าวไกล ซึ่งได้รับการสนับสนุนร้อยละ 10.6 และลำดับสามคือ พรรคพลังประชารัฐ ได้รับการสนับสนุนร้อยละ 10.33 ซึ่งสัดส่วนของการสนับสนุนที่ใกล้เคียงกับพรรคก้าวไกล ส่วนพรรคประชาธิปัตย์และพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามมาห่าง ๆ
ด้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ไม่น่าแปลกใจเช่นเดียวกัน พรรคเพื่อไทยยังครองการสนับสนุนมากที่สุดได้ร้อยละ 29.65 ลำดับสองตามมาห่างพอสมควรคือ พรรคก้าวไกล ซึ่งได้รับการสนับสนุนร้อยละ 17.11 ถัดมาลำดับสามคือพรรคพลังประชารัฐ และลำดับสี่คือพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งสองพรรคได้รับการสนับสนุนใกล้เคียงกันคือร้อยละ 6.34 และ 5.46 ตามลำดับ แต่ก็เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างห่างจากลำดับหนึ่งอย่างเพื่อไทยและลำดับสองอย่างก้าวไกลค่อนข้างมากทีเดียว น้อยกว่าพรรคก้าวไกลประมาณสามเท่า และน้อยกว่าเพื่อไทยประมาณห้าเท่า และที่น่าสนใจคือ พรรคเสรีรวมไทยกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่น้อยทีเดียว และน่าประหลาดใจคือ ได้รับการสนับสนุนมากกว่าพรรคภูมิไทยอยู่เล็กน้อยเสียด้วย ปัจจัยที่ทำให้พรรคเสรีรวมไทยกับพรรคไทยสร้างนั้น คาดว่าน่าจะมาจากคะแนนนิยมในตัวหัวหน้าพรรคทั้งสองเป็นหลัก (หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทยคือ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส่วนหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทยคือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์)
และใน ภาคใต้ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่มั่นคงของพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน บัดนี้ความเปลี่ยนแปลงก็ได้เกิดขึ้นอย่างแล้ว สภาพในภาคใต้ปัจจุบัน ไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับการสนับสนุนเกินร้อยละ 20 ส่วนพรรคที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดคือ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้รับการสนับสนุนร้อยละ 17.22 ที่ตามมาชนิดหายใจรดต้นคอคือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนร้อยละ 16.12 กล่าวได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์สูญเสียการนำในภาคใต้ให้แก่พลังประชารัฐไปเสียแล้ว ลำดับสามคือ พรรคก้าวไกล ซึ่งได้รับการสนับสนุนร้อยละ 8.42 แม้จะได้รับการสนับสนุนเป็นลำดับสาม แต่สัดส่วนที่ได้รับการสนับสนุนก็มีนัยอยู่ไม่น้อย และที่สำคัญได้มากกว่าพรรคเพื่อไทยถึงสองเท่าทีเดียว ส่วนพรรคเพื่อไทยได้รับการสนับสนุนค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 4.76 ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องปกติ เพราะแบบแผนเดิมก็มีลักษณะแบบนี้อยู่แล้ว
ในภาพรวม พรรคเพื่อไทยยังคงรักษาการนำ และนำที่ห่างจากพรรคอื่น ๆ มาก ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับคู่แข่งของพรรคเพื่อไทยในภาคเหนือคือ พรรคก้าวไกล กับพรรคพลังประชารัฐ ถึงแม้ว่าทั้งสองพรรคมีคะแนนนิยมตามหลังเพื่อไทยค่อนข้างมาก แต่ก็ถือว่าเป็นคู่แข่งขันที่น่าจับตามองทั้งสองพรรค และสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ยังมีพรรคที่น่าสนใจอีกพรรคคือ พรรคภูมิใจไทย ถึงแม้ว่การสนับสนุนต่อพรรคค่อนข้างต่ำ แต่พรรคนี้มีทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเลือกตั้งค่อนข้างมาก และมีเครือข่ายหัวคะแนนในพื้นที่อีสานตอนใต้ค่อนข้างแข็งแกร่ง ซึ่งปัจจัยทั้งสองมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชัยชนะในระดับเขตเลือกตั้ง จึงทำให้พรรคนี้เป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขามอยู่ไม่น้อยของพรรคเพื่อไทย
พรรคก้าวไกลนำพรรคอื่น ๆ อยู่มากพอสมควรในกรุงเทพมหานคร ขณะที่พรรคเพื่อไทยตามมาไม่ห่างนัก ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังประชารัฐตามหลังสองพรรคแรกอยู่ไม่น้อย นอกจากนั้นในสนามกรุงเทพมีพรรคการเมืองใหม่ อย่างพรรคกล้าที่มีนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคไทยสร้างไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาโดยคุณหญิงสุดารัตน์เกยุราพันธ์ นักการเมืองเก่าของพรรคเพื่อไทย ทั้งสองคนมีฐานความนิยมไม่น้อยในกรุงเทพ กรณีพรรคกล้ามีความเป็นไปสูงว่าจะแย่งชิงคะแนนนิยมจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคไทยสร้างไทยก็มีศักยภาพในการสั่นคลอนฐานเดิมของพรรคเพื่อไทยไม่น้อยทีเดียว
พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลได้รับการสนับสนุนมากกว่าพรรคอื่น ๆ ในภาคกลาง แต่ภาคกลางเป็นภาคที่มีความนิยมต่อพรรคการเมืองค่อนข้างกระจัดกระจาย และมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง และแม้ว่า พรรคเพื่อไทยและก้าวไกลจะนำพรรคการเมืองอื่น ๆ แต่ก็ไม่ได้นำห่างจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์มากนัก และที่สำคัญคือในภาคกลาง ปัจจัยหลักที่มีผลต่อชัยชนะของ ส.ส. มีแนวโน้มขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้สมัคร การมีทรัพยากร และกลไกเครือข่ายหัวคะแนนเป็นหลัก ซึ่งทำให้การต่อสู้ในระดับเขตเป็นอย่างเข้มข้นทีเดียว
ภาคที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการเลือกตั้งมากที่สุดเห็นจะเป็นภาคใต้ ในอดีตประชาชนภาคใต้ให้ความสำคัญกับพรรคการเมืองมาก แต่การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ตลอดจนผลการสำรวจความนิยมต่อพรรคการเมืองหลายครั้งของนิด้าโพลชี้ให้เห็นว่า มนต์ขลังของพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ได้อ่อนตัวลงไปอย่างมาก ในปัจจุบัน กลายเป็นว่า พรรคพลังประชารัฐได้รับการสนุนมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าจะนำไม่มากก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่บอกได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้สูญเสียการนำในภาคนี้ไปแล้ว สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ประชาชนในภาคนี้จำนวนไม่น้อยให้การสนับสนุนพรรคก้าวไกล ซึ่งตามมาเป็นลำดับสาม แม้การสนับสนุนที่ได้รับยังห่างจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์อยู่ไม่น้อย แต่ก็ยังมากกว่าพรรคเพื่อไทยถึงสองเท่าทีเดียว
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า)